ฟังเสียงคนไทย สบายดีไหมปีนี้

ปีที่ผ่านมาเป็นยังไงบ้าง สบายดีไหมทุกคน ในปี 2022 มีการเปลี่ยนแปลงในสังคมมากมาย ที่เห็นชัดๆ ก็คงเป็นข่าวดีที่ชาวกรุงเทพฯ ได้ผู้ว่าฯ คนใหม่มาช่วยแก้ไขปัญหาและพัฒนาชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น ส่วนผู้คนก็เริ่มออกมาใช้ชีวิตและทำงานได้ตามปกติ หลังจากต้องกักตัวอยู่บ้านนานกว่าสองปีเพราะโรคระบาด ในช่วงสัปดาห์ส่งท้ายปีแบบนี้ Soundcheck อยากพาทุกคนไปฟังเสียงของชาวเมืองจากหลากหลายสายอาชีพว่า ชีวิตของพวกเขาเป็นอย่างไรบ้างในปีที่ผ่านมา มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือแย่ลงบ้าง พร้อมทิ้งท้ายด้วยคำอวยพรเพื่อเป็นกำลังใจให้กับตัวเองและคนอื่นๆ _____________________________________

ขับเคลื่อนเมืองผ่านศิลปะ แสงสี และดนตรี กับงานใหญ่ ‘Colorful Bangkok 2022’ ปลายปีนี้ ตั้งแต่ พ.ย. 65 – ม.ค. 66

สำหรับงานเทศกาลปลายปี คงหนีไม่พ้นเรื่องของแสงสี ดนตรี และศิลปะ ที่จัดอยู่ตามสถานที่ต่างๆ รอให้คนเข้าไปสัมผัสและถ่ายรูปเก็บความทรงจำ เป็นของขวัญส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศนั้น กทม. จึงจัดงาน ‘Colorful Bangkok 2022’ หรือ ‘ฤดูกาลศิลปะกรุงเทพฯ’ ขึ้นตามนโยบาย 12 เทศกาลตลอดปีของผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ครอบคลุมตลอด 3 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2565 ไปจนถึงมกราคม 2566  ภายใต้ชื่องาน ‘Colorful Bangkok 2022’ จะมีการแบ่งเทศกาลย่อยลงไปอีกในแต่ละเดือน ประกอบด้วย ‘เทศกาลศิลปะสร้างสรรค์’ ในเดือนพฤศจิกายน ‘เทศกาลแสงสี’ ในเดือนธันวาคม และ ‘เทศกาลดนตรี’ ในเดือนมกราคม เพื่อจุดมุ่งหมายในการเปิดพื้นที่สาธารณะให้คนกรุงเทพฯ และจังหวัดอื่นๆ รวมไปถึงนักท่องเที่ยวได้มีกิจกรรมให้เข้าร่วมได้ตลอดทั้งปี ทั้งยังเป็นการช่วยส่งเสริมการขับเคลื่อนธุรกิจโดยรอบ กระตุ้นยอดขายจากการจัดงานเทศกาล และเกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ ความน่าสนใจคือ งานนี้เกิดขึ้นจากการร่วมมือของภาคีเครือข่ายกว่า 250 องค์กร ในการจัดงานกว่า 120 งาน เพื่อทำให้กรุงเทพฯ […]

Expectation VS Reality ชีวิตวุ่นๆ ในเมืองกรุงของหนุ่มขี้เหงากับภารกิจตามหารักแท้แบบฉบับหนังรัก

สวัสดีครับ เหล่าคนเหงาในเมืองใหญ่ทุกคน  ผม ‘แทน แทนทะเล’ นะครับ หลายคนอาจจะเห็นหน้าค่าตาผมจากรายการ ‘Urban เจอนี่’ มาบ้าง แต่วันนี้ผมไม่ได้จะมาชวนไปดูรายการหรือทำอะไรประหลาดๆ หรอกนะ แค่เห็นว่าวีกนี้ Urban Creature เขาทำคอนเทนต์ธีม ‘Bangkok Zombie Town’ ที่ตีแผ่ชีวิตสุดห่วยในเมืองกัน ผมเลยอยากนำเสนอชีวิตหนึ่งวันในฐานะของผู้ชายขี้เหงาคนหนึ่งที่ก็อาศัยอยู่ในเมืองหลวงแห่งนี้ ‘คนเดียว’ มานานกับเขาบ้าง หลังจากปัด Tinder จนนิ้วด้าน โหลดแอปฯ เดตติงจนความจำในโทรศัพท์เต็ม ผมก็ฝันถึงผู้หญิงคนหนึ่งที่ทำให้หัวใจเจ้ากรรมที่เริ่มด้านชากลับมามีสีสันมากขึ้น ผมจึงตัดสินใจว่า “วันนี้แหละที่เราจะไปปฏิบัติการตามหารักแท้ในเมืองด้วยตัวเอง เอง เอง” (ใส่เอกโค่เพิ่มความดราม่า) แต่แหม จะให้ไปตามหาคนในฝันแบบธรรมดาๆ ก็ดูไม่ค่อยเหมาะกับพิธีกรรายการดังแบบผมเท่าไหร่ ด้วยความที่เป็นอดีตนักเรียนฟิล์มและชอบดูหนังมากๆ ผมเลยขอหยิบเอาหนังรักโรแมนติกมาใช้เป็น Reference สร้างซีนประทับใจในหนึ่งวันที่ผมออกไปเจอเธอสักหน่อย จะได้รู้ดำรู้แดงกันไปเลยว่า ‘เมืองกรุงเทพฯ’ จะ ‘โรแมนติก’ แบบเมืองในหนังรักกับเขาได้ไหม รับบทเป็นธีโอดอร์ ใน Herมองเมืองแบบเหงาๆ คิดถึงเขาทำไงดี ก่อนออกไปตามหารักแท้ในเมืองใหญ่ ผมก็ขอทำตัวเลียนแบบ ‘ธีโอดอร์’ ในหนังคนเหงาเรื่อง ‘Her’ […]

Bangkok Zombie Town ใช้ชีวิตแบบไร้ชีวิตในเมืองกรุง

ปฏิเสธไม่ได้ว่ากรุงเทพฯ คือพื้นที่ในการไขว่คว้าหาโอกาสและใช้ชีวิตของใครหลายคน เพราะที่นี่เต็มไปด้วยความหลากหลาย ความบันเทิง และสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย เป็นศูนย์กลางความเจริญในทุกๆ ด้าน จึงไม่แปลกใจที่คนจำนวนไม่น้อยจะมองว่า กรุงเทพฯ กลายเป็นภาพแทนประเทศไทยไปเสียแล้ว แต่สุดท้ายการใช้ชีวิตอยู่ในเมืองหลวงอันศิวิไลซ์แห่งนี้อาจไม่ได้สนุกหรือน่าตื่นเต้นอย่างที่หลายคนวาดฝันไว้ และจบอยู่ที่การไม่ได้ใช้ชีวิตจริงๆ เพราะมัวแต่กังวลเรื่องเวลาเดินทางที่เผื่อเท่าไรก็ไม่เคยพอ ค่าครองชีพที่สูงจนแซงรายรับที่ได้ในแต่ละเดือน เป็นความกดดันที่ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ต้องก้มหน้าก้มตาใช้ชีวิตแบบไร้ชีวิตชีวา ทำให้ตอนนี้กรุงเทพฯ แทบไม่ต่างอะไรกับเมืองที่เต็มไปด้วยซอมบี้ ที่ต้องหาทางมีชีวิตให้รอดไปวันๆ ท่ามกลางความเครียดที่อยู่รอบตัว การฆ่าตัวตายสูงขึ้นเมื่อเกิดวิกฤต หากพูดถึงความเครียด สิ่งที่ตามมามักจะเป็นข่าวการฆ่าตัวตายที่เราเห็นกันอยู่บ่อยครั้ง แม้จะไม่ถี่ทุกวัน แต่จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกนั้นพบว่า ทุกปีมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายเฉลี่ย 1 คน ทุกๆ 40 วินาที ซึ่งรายงานของ World Population Review เผยว่า อัตราฆ่าตัวตายของไทยในปี 2565 นั้นสูงเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน โดยตัวเลขอยู่ที่ 8.8 รายต่อประชากรหนึ่งแสนคน ที่น่าสังเกตก็คือ จำนวนผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายในแต่ละปีสูงขึ้นเมื่อเกิดวิกฤตต่างๆ อย่างการทำรัฐประหารในปี 2557 ส่งผลให้ช่วง 1 – 2 ปีให้หลังมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายสูงถึง 6.47 คน/ประชากรหนึ่งแสนคน/ปี และ […]

Urban Eyes 08/50 เขตประเวศ

เขตประเวศเป็นเขตที่ห่างไกลจากชาวธนบุเรี่ยนอย่างเราพอสมควร ภาพแรกๆ ของเขตนี้ที่เรานึกถึงคือ รถติดหน้าซีคอนฯ และสวนหลวง ร.9 ทีนี้พอมาศึกษาอย่างจริงจังว่าเขตนี้มีอะไรบ้าง ก็แอบตกใจที่เพิ่งรู้ว่าเขตนี้กินพื้นที่ขนาดใหญ่มากๆ เราเดินทางด้วยเท้าไม่ได้ ต้องใช้วิธีการขับรถตระเวนเอา ถึงจะได้ไปทั่วทั้งเขต โชคดีที่มีเพื่อนเจ้าถิ่นชื่อ ‘หมอปิง’ มาคอยแนะนำเพิ่มเติมด้วย หลังจากเก็บเกี่ยวข้อมูลและได้ไปสำรวจเขตประเวศมา เราพบว่าเขตนี้มีถนนกาญจนาภิเษกที่ตัดผ่านทางด้านตะวันออกของพื้นที่ ทำให้การเดินทางไปฝั่งนั้นไม่สะดวกสบายนัก ต้องขับรถอ้อมกันสักหน่อย แต่ขณะเดียวกันก็มีจุดเด่นตรงสวนเรียนรู้ป่าในกรุง ที่มีการสร้างสิ่งแวดล้อมเสมือนว่าเราอยู่ในป่าจริงๆ โดยที่ผู้เยี่ยมชมสามารถเดินบนทาง Sky Walk ไปได้รอบสถานที่ และมีหอคอยไว้ชมวิวป่าจากมุมสูงได้อีก ถ้าทางสวนจัดอีเว้นต์บ่อยๆ น่าจะทำให้สถานที่มีชีวิตชีวามากขึ้น ส่วนทางด้านตะวันตกของเขตประเวศก็เขียวขจีไปด้วยสวนสาธารณะที่ใหญ่มากๆ ของกรุงเทพฯ ไม่ว่าจะเป็นสวนหลวง ร.9 หรือบึงหนองบอน ราวกับเป็นตัวแทนพื้นที่ด้านธรรมชาติของเมืองเลยทีเดียว เล่นเอาเราอยากมาพักผ่อนดื่มด่ำกับสายลมแสงแดดที่นี่บ่อยๆ เลย  พอตกเย็นพลบค่ำก็มีตลาดนัดรถไฟข้างหลังซีคอนสแควร์ให้นั่งชิลล์ๆ นอกจากมีร้านอาหารเพียบแล้ว ก็มีข้าวของให้เลือกช้อปปิ้งมากมายก่ายกอง และอีกความน่าสนใจคือ ข้างในซีคอนสแควร์มีแกลเลอรี่ชื่อ Hub of Photography (HOP) ที่จัดแสดงนิทรรศการและผลงานของศิลปินมากหน้าหลายตาหมุนเวียนกันไป เหมาะกับคนที่อยากหาแรงบันดาลใจสุดๆ ถึงแม้ว่าเราจะยังไปฝั่งเหนือและใต้ของเขตนี้ไม่ทั่วเท่าไหร่ แต่ระหว่างทางที่เดินทางก็สัมผัสได้ถึงบรรยากาศความเป็นชานเมืองกึ่งๆ เมือง บางจุดให้ความรู้สึกเหมือนขับรถอยู่ต่างจังหวัดด้วยซ้ำ เป็นความหลากหลายในแบบเฉพาะตัวของเขตประเวศดี

เปลี่ยน ‘5 สถานที่สุดหลอน’ ในกรุงเทพฯ ให้เป็น ‘พื้นที่สาธารณะ’ ใช้งานได้จริง

จะดีแค่ไหนถ้ากรุงเทพฯ มี ‘พื้นที่สาธารณะ’ ให้ผู้คนเข้าถึงและใช้งานได้มากกว่านี้ แม้ว่ากรุงเทพฯ จะได้รับฉายาว่ามหานครที่ไม่เคยหลับใหล เพราะเต็มไปด้วยแสงสี ความสว่างไสว และความคึกคักจากกิจกรรมของคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว แต่ถ้าสังเกตดีๆ เมืองหลวงแห่งนี้ยังเต็มไปด้วยพื้นที่ที่ถูกปล่อยทิ้งไว้ให้รกร้าง ว่างเปล่า หรือใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ แถมหลายแห่งยังขึ้นชื่อเรื่องความเฮี้ยน ความหลอน จนน้อยคนนักจะกล้าไปเยือน สิ้นเดือนนี้ก็จะถึงเทศกาลฮาโลวีนแล้ว คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองเปลี่ยน ‘5 สถานที่สุดหลอน’ ที่ซุกซ่อนอยู่ตามย่านต่างๆ ในกรุงเทพฯ ให้เป็น ‘พื้นที่สาธารณะ’ ที่ตอบโจทย์วิถีชีวิตและไลฟ์สไตล์คนเมืองยุคใหม่มากขึ้น มีหลากหลายไอเดียตั้งแต่การปรับปรุงตึกร้างให้เป็นสวนแนวตั้ง ไปจนถึงเปลี่ยนสุสานเครื่องบินให้เป็นพื้นที่ศิลปะเท่ๆ ก็มี ถ้าพร้อมแล้ว เราขอชวนทุกคนไปล่าท้าผี เอ้ย! ไปสำรวจการออกแบบสนุกๆ พร้อมกันตอนนี้เลย เปลี่ยน ‘ตึกสาธรยูนีค’ ให้เป็น ‘สวนแนวตั้ง’ ที่ชมวิวแม่น้ำเจ้าพระยาได้ไม่อั้น หากใครเดินทางไปบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา จะเห็นตึกร้างสูง 49 ชั้น สิ่งก่อสร้างที่เป็นมรดกตกทอดจากวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ที่ถึงแม้ว่าจะสร้างเสร็จไปถึง 80 เปอร์เซ็นต์แล้ว แต่สุดท้ายโครงการนี้ก็ต้องหยุดชะงัก ไม่เสร็จสมบูรณ์พร้อมเปิดใช้งานได้อย่างที่หวัง ตึกหลังนี้มีชื่อว่า ‘ตึกสาธรยูนีค ทาวเวอร์’ หรือที่ต่างชาติต่างขนานนามให้เป็น […]

เปลี่ยนศาลาว่าการ กทม. เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ

สืบเนื่องจากนโยบายของชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่มีแผนย้ายศาลาว่าการ กทม. จากเสาชิงช้าไปย่านดินแดง และเปลี่ยนอาคารหลังเก่านี้ให้เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ พื้นที่สาธารณะและพื้นที่สร้างสรรค์แห่งใหม่ของเมืองในอนาคต ด้วยพื้นที่อาคารขนาดใหญ่ประมาณ 7 ไร่ และลานคนเมืองประมาณ 6.5 ไร่ ตีเลขกลมๆ ทั้งหมดเกือบ 14 ไร่ หรือเทียบเท่าพื้นที่ 3 สนามฟุตบอลเลยทีเดียว คอลัมน์ Urban Sketch จึงขออาสาเปิดพื้นที่รวบรวมไอเดียว่า ศาลาว่าการ กทม. ควรเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์แบบใดจึงจะตอบโจทย์คนเมืองอย่างแท้จริง ผ่านการสัมภาษณ์ตัวแทนในแวดวงต่างๆ เช่น คนรักพิพิธภัณฑ์จากกลุ่ม ‘ไปพิพิธภัณฑ์แล้วหัวใจเบิกบาน’, คนชื่นชอบศิลปะดิจิทัลจากเพจ ‘NFT Thailand’, ตัวแทนกระบอกเสียงคนพิการจากเพจ ‘ThisAble.me’ และเยาวชนที่สนใจเรื่องเมืองจาก ‘เยาวชนริทัศน์บางกอก (ReThink Urban Spaces – RTUS)’ ที่มาช่วยกันดีไซน์พิพิธภัณฑ์ในแต่ละมุมมองที่น่าสนใจ ถ้าพร้อมแล้ว เราขอพาทุกคนไปทัวร์พิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ ในฝันพร้อมกันตอนนี้เลย! Bangkok Time Machine Museumพิพิธภัณฑ์ท่องประวัติศาสตร์ ย้อนเหตุการณ์กรุงเทพฯ พิพิธภัณฑ์กรุงเทพฯ ควรเล่าเนื้อหาประวัติศาสตร์ที่ครอบคลุมทั้งเมืองและเข้าถึงคนทุกกลุ่ม […]

Dropout Crisis เทอม 1/2565 มีนักเรียน กทม. หลุดจากระบบการศึกษากี่คน

ตั้งแต่เมื่อไหร่กันนะ ที่ปัญหาเด็กไทยหลุดออกจากระบบการศึกษากลายเป็นเรื่องธรรมดาสามัญที่พบได้ตามข่าวสารทั่วไป ย้อนกลับไปในวัยเด็ก สมัยที่เราศึกษาอยู่ในรั้วโรงเรียน ก็เคยได้ยินว่ามีเพื่อนบางคนต้องหยุดเรียนหรือหลุดออกจากการศึกษากลางคัน เนื่องจากปัญหาทางการเงิน ปัญหาในโรงเรียน หรือปัญหาส่วนตัว แต่ในอดีตปัญหาเด็กไม่ได้เรียนต่อก็ไม่ได้มีให้เห็นบ่อยเท่ายุคปัจจุบัน ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าสังคมยุคนี้ถูกซ้ำเติมด้วยวิกฤตรอบด้าน ทั้งความเหลื่อมล้ำในสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ รวมไปถึงวิกฤตโรคระบาด ที่ทำให้หลายครอบครัวมีรายได้ลดลงหรือต้องหยุดงานชั่วคราว ขณะเดียวกัน พวกเขายังคงต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ในครัวเรือน ซึ่งดูเหมือนจะมากขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ โดยค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา ช่วงที่นักเรียนต้องเปลี่ยนไปเรียนออกไลน์ ครอบครัวที่ไม่ได้มีความพร้อมตั้งแต่แรกต้องเสียเงินเพิ่มกับค่าอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โทรศัพท์ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ ค่าอินเทอร์เน็ต และค่าอุปโภคบริโภคอื่นๆ ส่วนช่วงที่โรงเรียนกลับมาเปิดตามปกติ ก็ยังจะต้องเจอกับภาวะเงินเฟ้อ ที่ทำให้เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์การเรียน และของอื่นๆ ที่จำเป็นต้องซื้อใหม่มีราคาแพงขึ้นตามไปด้วย  เมื่อครอบครัวไม่มีความพร้อมทางการเงิน นักเรียนหลายคนจึงไม่ได้เรียนต่อ และต้องออกจากระบบการศึกษากลางคันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งผลสำรวจข้อมูลนักเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครทั้งหมด 258,124 คน ของภาคเรียนที่ 2/2564 พบว่า มีผู้ที่ไม่ได้รับศึกษาต่อในภาคเรียนถัดมาหรือภาคเรียนที่ 1/2565 มากถึง 2,582 คน จากเดิมที่มีเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษาเพียง 434 คนในภาคเรียนที่แล้ว  หมายความว่า ในช่วงระยะเวลาเพียงหนึ่งภาคเรียน มีเด็กกรุงเทพฯ ที่ไม่ได้เรียนต่อเพิ่มขึ้นถึง 5.8 […]

MRT สายสีน้ำเงินจ่อขึ้นค่าโดยสาร ตรึงราคาเดิม 17 – 42 บาท ถึงสิ้นปี 65 ปรับขึ้น 1 บาท เริ่ม ม.ค. 66

ช่วงนี้ค่าใช้จ่ายทุกอย่างปรับตัวขึ้นพร้อมกันอย่างถ้วนหน้า แม้แต่ 1 บาท แต่หากเป็นสิ่งที่ประชาชนต้องใช้จ่ายทุกวันก็กระทบกับชีวิตประจำวันแล้ว ล่าสุด MRT สายสีน้ำเงินยังยืนยันจะตรึงราคาเดิมไว้ที่ 17 – 42 บาท ต่อไปจนถึงสิ้นปี 65 และอาจจะปรับราคาขึ้นอีกครั้งในปี 66  นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในการประชุม เรื่องมาตรการเกี่ยวกับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล หรือรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ร่วมกับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) ในฐานะผู้รับสัมปทาน  ล่าสุด ยืนยันจะคงอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ในราคาเดิม เริ่มต้นที่ 17 บาท สูงสุด 42 บาท (ก่อนหน้านี้ปรับจาก 16 บาท ขึ้นเป็น 17 บาทแล้วเมื่อ 1 ม.ค. 65 ที่ผ่านมา) พร้อมส่วนลดพิเศษสำหรับเด็กและผู้สูงอายุ 50 […]

กรุงเทพฯ ไฟไหม้บ่อยแค่ไหน? เปิดสถิติปี 2560 – 2565 สาธารณภัยอันดับหนึ่งของกรุงเทพฯ

กรุงเทพฯ ไฟไหม้บ่อยแค่ไหน? เปิดสถิติไฟไหม้ปี 2560 – 2565 สาธารณภัยอันดับหนึ่งของกรุงเทพฯ ในเดือนมิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา มีข่าวไฟไหม้ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ถึง 3 ครั้ง ตั้งแต่เหตุการณ์ที่สีลมซอย 2 บ่อนไก่ ไปจนถึงสำเพ็ง ซึ่งแต่ละครั้งห่างกันเพียง 1 สัปดาห์เท่านั้น ‘ไฟไหม้’ จึงเป็นภัยอันดับต้นๆ ที่คนกรุงต้องระวังและควรมีแผนป้องกันในอนาคต เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งคือความสูญเสียของประชาชนที่ประเมินค่าไม่ได้  หลายคนอาจตั้งคำถามว่าทำไมช่วงนี้ถึงเกิดไฟไหม้บ่อยครั้ง แต่ในความเป็นจริงแล้ว กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีไฟไหม้บ่อยมาก ไม่ใช่แค่ช่วงนี้ที่เป็นข่าวเท่านั้น Urban Creature จึงอยากพาไปดูตัวเลขจากสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยว่าแต่ละปีกรุงเทพฯ ไฟไหม้ไปกี่ครั้ง และเกิดขึ้นที่เขตไหนบ้าง  ในระยะเวลา 6 ปี กรุงเทพฯ มีไฟไหม้กี่ครั้ง? ปี 2560 ไฟไหม้หญ้า/ขยะ 2,170 ครั้ง และไฟฟ้าลัดวงจร 785 ครั้งปี 2561 ไฟไหม้หญ้า/ขยะ 1,413 ครั้ง ไฟฟ้าลัดวงจร 654 ครั้งปี […]

ดุกมั้ง : ร้านอาหารโฮมเมดที่รับลูกค้าวันละ 2 โต๊ะ และขายเฉพาะ ‘ปลาดุก’ เท่านั้น

คุณเคยไปทานอาหารร้านไหนที่มีวัตถุดิบหลักอย่างเดียวแต่ครีเอตได้หลากหลายเมนูไหม? ถ้ายังไม่เคยเจอร้านไหนใจกล้าขายแบบนี้ เราอยากแนะนำให้รู้จักกับ ‘ดุกมั้ง (Duke Munk)’ ร้านอาหารโฮมเมดในบ้านที่มีวัตถุดิบหลักอย่างเดียวคือ ‘ปลาดุก’ แถมยังมีเมนูไม่เยอะ และรับลูกค้ากลุ่มเล็กๆ แค่วันละ 2 โต๊ะ เท่านั้น  ดุกมั้ง คือร้านอาหารในบ้านของ ดอกฝิ่น-ธเนศ ทรัพย์ศาสตร์ และ เนย-ณัชชา วารีรัตนโรจน์ ในซอยชัยพฤกษ์ (ซอยสุขุมวิท 65) ที่เริ่มจากความชอบทำอาหาร เปิดขายเมนูปลาดุกเฉพาะเดลิเวอรีและเปิดบ้านให้เพื่อนมากินข้าวสังสรรค์ จนปัจจุบันเปิดบ้านเป็นร้านอาหารเล็กๆ ที่ช่วยกันทำแค่ 2 คน เหมือนมากินข้าวบ้านเพื่อน และต้องจองกันเป็นเดือนถึงจะได้กิน  ที่เปิดรับลูกค้าน้อยขนาดนี้ไม่ได้ต้องการจะเป็นร้านลับ หรือทำให้กินยากแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะทั้งคู่ไม่ใช่เชฟ เป็นแค่คนที่ชอบทำอาหารและอยากเปิดบ้านให้คนได้เข้ามากินอาหารฝีมือของตัวเองเท่านั้น จึงต้องใช้เวลาในการเตรียมวัตถุดิบและทำอาหารให้ได้คุณภาพเท่าที่ตัวเองจัดการไหว  นอกจากเมนูปลาดุกทุกจานในร้านนี้จะมีลูกเล่นน่าสนใจแล้ว เรื่องราวของปลาดุกก็สนุกไม่แพ้กัน เพราะกว่าจะทำอาหารจานปลาดุกได้หลากหลายแบบนี้ ดอกฝิ่นใช้เวลาศึกษาและทดลองอยู่นานพอสมควรกว่าจะค้นพบวิธีปรุงปลาดุกทุกจานให้ลงตัว ชื่อร้านดุกมั้ง (Duke Munk) ได้ไอเดียมาจากตอนที่ไปบวช ในวัดมีปลาดุกและเขาก็ชอบกินปลาดุกอยู่แล้ว จึงใช้คำว่า มั้ง (Monk) ที่แปลว่า พระ และอีกนัยหนึ่งคืออยากให้คนที่มากินตั้งคำถาม เกิดความสงสัยว่านี่ใช่ปลาดุกจริงๆ ไหม ปลาดุกมั้ง? […]

Open Bangkok นโยบายเปิดงบ กทม. ของชัชชาติ ที่ให้ประชาชนตรวจสอบได้ เว็บไซต์อ่านง่าย โหลดไฟล์ได้จริง

งบ กทม. มีเท่าไหร่ ใช้จ่ายไปกับอะไรบ้าง? เราเชื่อว่าคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ต้องเคยตั้งคำถามนี้อยู่หลายครั้งแต่ไม่รู้จะไปหาข้อมูลจากไหน เพราะที่ผ่านมา กทม. ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลหรือเอกสารการใช้งบประมาณให้ประชาชนได้ทราบอย่างละเอียด ทำให้ประชาชนไม่รู้ว่าที่ผ่านมาภาษีที่จ่ายไปนั้นถูกใช้จ่ายไปกับอะไรบ้าง แต่ยุคสมัยของผู้ว่าฯ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ได้เปลี่ยนไปแล้ว จะว่าเป็นการเซตมาตรฐานใหม่เลยก็ว่าได้ เพราะขณะได้เริ่มนโยบาย Open Bangkok ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายหลักใน 216 ข้อ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับการใช้จ่ายและการทำสัญญาต่างๆ ของ กทม. เพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้  โดยนโยบาย Open Bangkok ได้เริ่มทำ Open Data ด้วยการนำข้อมูลงบประมาณปี 2566 เผยแพร่บนเว็บไซต์ของ กทม. (https://official.bangkok.go.th/page/127) เป็นข้อมูลแผนภาพแสดงงบประมาณรายจ่ายของ กทม. ตามหมวดต่างๆ มีไฟล์สรุปเป็น PDF แยกตามประเภทรายจ่ายและตามด้าน เพื่อให้ประชาชนเข้าใจง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลในรูปแบบ Machine Readable เป็นไฟล์ Excel โดยแยกตามสำนักของ กทม. สามารถดูได้จากเว็บไซต์สำนักงบประมาณกรุงเทพฯ ที่ประชาชนสามารถดาวน์โหลดไปใช้งานต่อได้ (http://data.bangkok.go.th/dataset/budget2566) สำหรับใครที่อยากดูตัวเลขแบบ […]

1 2 3 4 13

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.