‘Q-CHANG’ แพลตฟอร์มรวมสารพัดช่างซ่อมให้บริการทั่วไทย ที่วางตัวเป็น ‘แบ็คอัพทุกเรื่องบ้าน’

หลังคาบ้านโดนลูกเห็บตกใส่จนเป็นรูรั่ว แต่ไม่รู้จักช่างซ่อมหลังคาที่ไว้ใจได้เลย แอร์ที่บ้านไม่เย็น พอเรียกช่างมาล้างเขากลับเติมน้ำยาแอร์ให้ แถมคิดตังค์เพิ่มอีก! ก๊อกในห้องน้ำมีรอยแตก แต่ภารกิจชีวิตเยอะจนไม่มีเวลาซ่อม หากคุณเคยเจอปัญหาอีหรอบเดียวกัน เราขอแนะนำให้รู้จัก ‘Q-CHANG (คิวช่าง)’ แพลตฟอร์มที่เปรียบเสมือนเพื่อนคู่ใจที่จะช่วยแก้ปัญหาในที่อยู่อาศัยของคุณได้แบบครบจบในที่เดียว เกริ่นมาอย่างกับสปอตโฆษณา แต่สัญญาว่าไม่ได้พูดเกินเลยสักนิด นั่นเพราะแพลตฟอร์มนี้รวบรวมช่างสารพัดแบบเอาไว้ ไล่ตั้งแต่ช่างล้างแอร์ ช่างซ่อมหลังคา ไปจนถึงแม่บ้านทำความสะอาด Q-CHANG เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาความยากลำบากในการหาช่างฝีมือดีและไว้ใจได้ นั่นคือเป้าหมายแรก ทว่ามากกว่าการอำนวยความสะอาดให้เจ้าของที่พักเพื่อให้พวกเขากดจองคิวช่างได้ง่ายๆ แค่ปลายนิ้วคลิก Q-CHANG ยังมีฝันใหญ่คือการสร้างงานสร้างอาชีพให้ช่างไทยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้พวกเขามีคุณภาพชีวิตที่ดี เพียง 5 ปีนับตั้งแต่ก่อตั้ง Q-CHANG มีลูกค้าใช้แพลตฟอร์มเรือนแสน มีช่างในระบบกว่าพันคนกระจายไป 77 จังหวัดทั่วไทย และมีรายได้มากกว่า 250 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา  มองเผินๆ ตัวเลขเหล่านี้อาจบอกว่าตลาดของลูกค้าที่ต้องการช่างนั้นแสนกว้างใหญ่ แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่าเบื้องหลังตัวเลขเหล่านี้คือการทำงานหนักของทีมงาน และการเอาใจใส่ทั้งลูกค้าและช่างอย่างจริงจัง อะไรทำให้ Q-CHANG มาถึงจุดนี้ได้ บ่ายวันฟ้าเปิด เราบุกออฟฟิศ Q-CHANG ไปคุยกับ ‘บอย-ศรัณย์วิศว์ ภักดีนอก’ ผู้ก่อตั้งแพลตฟอร์ม ช่างคิด ก่อนจะมาเป็นผู้ก่อตั้ง Q-CHANG อย่างเต็มตัว […]

นาซาเตรียมเปิดตัวบริการสตรีมมิง NASA+ ฉายวิดีโอตอนทำภารกิจและการสำรวจอวกาศ ปลายปีนี้

ทุกคนน่าจะรู้จัก NASA ในฐานะของหน่วยงานด้านอวกาศและวิทยาศาสตร์สุดล้ำ ซึ่งหลายๆ ครั้งเรามักได้รับข้อมูล ภาพถ่าย และวิดีโอจากอวกาศที่ช่วยเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้นว่านอกจากโลกของเรา ยังมีความหลากหลายอีกกว้างใหญ่ไพศาลที่ประเมินขอบเขตไม่ได้ หลังจากก่อตั้งและดำเนินการในโครงการอวกาศและงานวิจัยห้วงอวกาศมาตั้งแต่ปี 1958 ปีนี้นาซามีแผนการยกระดับแพลตฟอร์มด้วยการปรับปรุงเว็บไซต์และเพิ่มบริการสตรีมมิงแบบออนดีมานด์ รวมถึงอัปเกรดแอปฯ NASA เพื่อที่ทุกคนจะได้เข้าถึงโลกใหม่ที่อุดมไปด้วยคอนเทนต์จากหน่วยงานอวกาศแห่งนี้ได้อย่างสะดวก “วิสัยทัศน์ของเราคือการสร้างแรงบันดาลใจให้มนุษยชาติผ่านประสบการณ์บนเว็บระดับโลกหนึ่งเดียวของ NASA” Jeff Seaton หัวหน้าเจ้าหน้าที่สารสนเทศประจำสำนักงานใหญ่ของหน่วยงานในเมืองวอชิงตันกล่าว และจากความตั้งใจนี้ เว็บใหม่ของนาซาจะทำหน้าที่เป็นฐานบ้านที่ขยายใหญ่ขึ้น สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภารกิจและการวิจัยของหน่วยงาน ข้อมูลสภาพอากาศ การอัปเดตของโปรเจกต์ Artemis ที่จะพานักบินอวกาศกลับไปเหยียบดวงจันทร์อีกครั้ง และอื่นๆ อีกมากมาย มากไปกว่านั้น ในช่วงปลายปีนี้นาซาจะเปิดตัวแพลตฟอร์มสตรีมมิงใหม่ในชื่อ NASA+ ที่ไม่มีโฆษณา ไม่เก็บค่าเข้าชม และเหมาะสำหรับครอบครัว โดยจะมีการถ่ายทอดสดเวทีรางวัล Emmy Award ภารกิจของ NASA ในรูปแบบวิดีโอที่เป็นเนื้อหาออริจินัล รวมถึงซีรีส์ใหม่จำนวนหนึ่งที่เปิดตัวพร้อมบริการสตรีมมิง NASA+ ใช้งานได้บนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต iOS และ Android พร้อมกับเครื่องเล่นสตรีมมิง เช่น Roku, Apple TV และ Fire TV ส่วนใครอยากลองใช้งานเว็บไซต์ใหม่ในเวอร์ชันเบตา […]

Mappa บ้านของนักออกแบบการเรียนรู้ที่อยากให้คนรุ่นใหม่ได้ร่วมกันดีไซน์สังคมที่ดีกว่าเดิม

ในฐานะคนที่เรียนหนังสือแบบท่องจำมาตลอด การได้ฟัง ‘มิรา เวฬุภาค’ ผู้ก่อตั้ง Mappa และทีมเล่าเรื่องราวการเรียนรู้แบบใหม่ที่เราไม่คุ้นเคยนั้นช่างน่าฉงนสงสัย ในขณะเดียวกันก็น่าตื่นเต้นเหลือเกิน เราเคยได้ยินเรื่องโรงเรียนทางเลือก โฮมสคูล และแอปฯ ส่งเสริมการเรียนรู้มาบ้าง ทั้งยังเคยฟังเด็กๆ โอดครวญด้วยความห่อเหี่ยวใจเรื่องระบบการศึกษาบ้านเราหลายหน ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือ Pain Point และแรงบันดาลใจสำคัญที่ทำให้เกิด Mappa ในวันนี้ หลายคนรู้จักพวกเขาในฐานะสื่อออนไลน์ที่ผลิตคอนเทนต์สนุกๆ บนพื้นฐานความเชื่อว่าความรู้เกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ และสร้างได้จากทุกสิ่ง แต่แท้จริงแล้ว Mappa ไม่ใช่แค่สื่อ พวกเขาคือแพลตฟอร์มเพื่อการศึกษาที่อยากผลักดันให้การเรียนรู้ของเด็กไทยไปไกลกว่ากรอบเดิมๆ ผ่านเครื่องมืออันหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชัน เว็บไซต์ บอร์ดเกม สื่อการเรียนรู้ ไปจนถึงคอร์สอบรมมนุษย์ผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของเด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ คุณครู หรือคนที่มีพื้นที่เรียนรู้ ไม่ได้เรียนแค่เรื่องวิชาการจ๋า แต่อยากให้เด็กๆ ได้มีสกิลซึ่งโรงเรียนอาจจะลืมสอนไป เช่น การสร้างความสัมพันธ์ การเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและสังคม สุนทรียภาพ กระบวนการคิด ฯลฯ มากกว่านั้น ผู้ก่อตั้งอย่างมิรายังอยากปลุกปั้น ‘Learning Designer’ หรือ ‘นักออกแบบการเรียนรู้’ ที่เป็นคนรุ่นใหม่ เพื่อช่วยยกระดับการศึกษาในอนาคตให้เด็กเจเนอเรชันต่อไปได้มีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายกว่าเก่า เช้านี้ที่น่าฉงนสงสัยและน่าตื่นเต้นเป็นพิเศษ ทีม […]

สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นในเมืองปี 2022 ที่ชาว Urban Creature ยกนิ้วให้

ดนตรีในสวน เทศกาลกรุงเทพฯ กลางแปลง แคมเปญการเมือง พื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ ฯลฯ เหล่านี้คือตัวอย่างมูฟเมนต์ที่เกิดขึ้นในเมืองตั้งแต่เดือนแรกจนถึงเดือนสุดท้ายของปี 2022 ปฏิเสธไม่ได้ว่าปีนี้เป็นปีที่มีหลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเวลาหลังโรคระบาดที่สถานการณ์เริ่มกลับมาเป็นปกติ ผู้คนกล้าออกไปใช้ชีวิต อีเวนต์มากมายเกิดขึ้น ความคิดสร้างสรรค์และพลังการขับเคลื่อนได้รับการเติมเชื้อเพลิง ชาว Urban Creature เลยขอคัดเลือกมูฟเมนต์เจ๋งๆ ที่เกิดขึ้นในเมืองปีนี้ มารวบรวมให้ทุกคนย้อนนึกถึงกันอีกครั้ง เพื่อเป็นหลักฐานของความหวังต่อบ้านเมืองนี้ เราจะได้มีแรงไปใช้ชีวิตและขับเคลื่อนความเชื่อของตัวเองกันต่อในปีหน้า ปลดล็อกท้องถิ่น โดยคณะก้าวหน้าชื่อผู้เลือก : เดือนเพ็ญ จุ้ยประชาตำแหน่ง : Senior Content Creator  ด้วยความที่ย้ายจากนครปฐมไปอยู่ชลบุรีตั้งแต่ตอนเรียนประถมฯ ผสมกับเข้ากรุงเทพฯ อยู่เนืองๆ จนสุดท้ายได้มาเรียนมหาวิทยาลัยและทำงานที่กรุงเทพฯ ประสบการณ์และความเป็นอยู่ทั้งชีวิตสอนให้รู้ว่า ถ้าอยากมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในแง่สาธารณูปโภคและการงานกับเงินเดือน ให้ย้ายมาอยู่กรุงเทพฯ  เพราะต่อให้เมืองมันจะไม่น่าอยู่ เต็มไปด้วยมลพิษและปัญหารถติด แต่อย่างน้อยการมีขนส่งสาธารณะที่ค่อนข้างครอบคลุม เดินทางไปไหนมาไหนสะดวก ได้ทำงานในสายงานที่สนใจ มีร้านหนังสืออิสระ โรงหนัง แกลเลอรี และสวนสาธารณะดีๆ รายล้อม ยังไงมันก็ดีกว่าการอยู่ในที่ที่ถ้าไม่มีรถยนต์ก็ไปไหนเองแทบไม่ได้ ไม่มีสายงานที่สนใจให้ทำ และมีแต่ห้างฯ กับสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติให้ไปเยือน เราจึงดีใจมากที่เห็นคณะก้าวหน้าออกมาขับเคลื่อนเรื่องการเมืองในสเกลย่อย และได้มีการล่ารายชื่อปลดล็อกท้องถิ่น เพื่อกระจายอำนาจจากส่วนกลางมาให้คนทำงานในพื้นที่ได้มีอำนาจอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยสักที ยิ่งพอได้ไปพูดคุยกับอาจารย์ปิยบุตร […]

HAUP แอปฯ รถเช่าที่ลูกค้าเลือกจ่ายได้ตามเวลาที่ใช้ แถมยังได้ช่วยเมืองแก้ปัญหารถติด

เรื่องทั้งหมดเริ่มต้นในสุดสัปดาห์นั้น มันเป็นสุดสัปดาห์ที่คนกรุงเทพฯ ได้หยุดยาวติดกันหลายวัน หลายคนจึงแพลนไปเที่ยวต่างจังหวัดเพื่อใช้วันหยุดให้คุ้มค่าที่สุด ฉันกับเพื่อนก็ไม่ต่าง แต่เรามีเวลาว่างตรงกันแค่ 1 วัน เลยวางแผนจะขับรถออกไปเที่ยวจังหวัดใกล้ๆ แบบวันเดย์ทริป ติดตรงที่โทรไปขอเช่ารถที่ไหนเขาก็ไม่ให้ “ถ้าจะเช่าต้องเช่าสองวันขึ้นไป” ทุกที่พูดเหมือนกันหมด ฉันเกือบถอดใจ จนกระทั่งเพื่อนทักมาบอกว่า “ไปเจอนี่มา ลองไหม” ‘นี่’ ที่เพื่อนหมายถึงคือบริการรถเช่าที่คิดค่าเช่ารถตามระยะทางและเวลาที่ใช้ ในระบบมีรถยนต์หลายแบบให้เลือกขับ แถมยังมีจุดให้บริการกระจายอยู่ทั่วทุกมุมเมือง พอฉันคำนวณราคาดูแล้วก็ไม่ได้แตกต่างจากราคาเช่ารถต่อวันเท่าไหร่ เราจึงไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไม่ลอง นั่นคือครั้งแรกที่ฉันได้ลองใช้บริการของ HAUP ประสบการณ์การเช่ารถ 1 วันนั้นเต็มไปด้วยเรื่องเซอร์ไพรส์ ตั้งแต่การควบคุมระบบทุกอย่างของรถได้จากแอปฯ การที่ HAUP มีบัตรเติมน้ำมันฟรีให้ หรือแม้กระทั่งความสะดวกสบายจากการเช่ารถได้โดยไม่ต้องเจอเจ้าของรถตัวจริงเลย สิ่งที่เซอร์ไพรส์ฉันมากที่สุดเกิดขึ้นหลังจากที่ลองเสิร์ชข้อมูลของ HAUP เล่นๆ และพบว่า HAUP ไม่ใช่บริการที่ก่อตั้งใหม่ แต่เปิดมาแล้วถึง 6 ปี มากกว่านั้นคือพวกเขาไม่ใช่บริการรถเช่าอย่างที่ฉันคิด แต่นิยามตัวเองว่าเป็นบริการ ‘Carsharing’ หรือการชวนคนที่มีรถอยู่แล้วมาปล่อยให้เช่า โดยมีเป้าหมายคือการทำให้อัตราการซื้อรถของคนเมืองน้อยลง  เมื่อคนซื้อรถน้อยลง การจราจรและสภาพอากาศในเมืองจะดีขึ้น ‘กฤษฏิ์ วิชัยวัฒนาพาณิชย์’ CEO ของ HAUP สรุปให้ฉันฟังอย่างนั้น […]

We Chef Thailand แพลตฟอร์มที่อยากให้ผู้ประกอบการฟู้ดทรักไทยเติบโตได้ โดยไม่ต้องง้ออีเวนต์

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปฏิเสธไม่ได้ว่าหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจและโรคระบาดมากที่สุดคือธุรกิจ F&B (Food and Beverage) ความพยายามเอาตัวรอดในยุคโควิดทำให้เราได้เห็นการมาถึงของนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ Disrupt ธุรกิจอาหารแบบเดิมๆ เจ้าของร้านที่สร้างรายได้จากของกินต้องปรับตัวไปสู่โลกใหม่เพื่อให้ตัวเองอยู่รอดได้ และหนึ่งในการปรับตัวที่น่าจับตามองไม่น้อย คือธุรกิจรถเข็นอาหารหรือ Food Truck  ด้วยเงินลงทุนที่น้อยกว่าการเปิดร้านอาหาร และความสามารถในการย้ายร้านไปทดลองขายได้หลายพื้นที่ ทำให้ผู้ประกอบการหลายคนหันมาเอาดีทางนี้มากขึ้น เห็นได้ชัดจากจำนวนธุรกิจอาหารบนฟู้ดทรักที่เปิดใหม่ไปทั่วมุมเมือง แต่เมื่อมีผู้เข้าแข่งขันหน้าใหม่เข้ามาในตลาด หนึ่งในปัญหาสำคัญที่เห็นได้ชัดไม่แพ้กันคือตลาดฟู้ดทรักมีความเป็นคอขวด เติบโตช้า เพราะชีวิตของผู้ประกอบการฟู้ดทรักมักฝากไว้กับอีเวนต์ ถ้าไม่มีออร์แกไนเซอร์ชวนไปออกอีเวนต์ที่ไหน พวกเขาก็ไม่มีรายได้ มากกว่านั้น ตลาดฟู้ดทรักในไทยยังขาดการบริหารจัดการที่เป็นระบบ ไม่มีคนแจกแจงงานและสร้างพื้นที่ใหม่ๆ ในการทำธุรกิจ ‘วินิจ ลิ่มเจริญ’ มองเห็น Pain Point นี้ จึงก่อตั้ง We Chef Thailand แพลตฟอร์มที่ช่วยบริหาร จัดคิว และบอกต่อพื้นที่การขายให้ผู้ประกอบการฟู้ดทรักไทย ที่น่าสนใจคือแพลตฟอร์มของเขาไม่ได้ช่วยประชาสัมพันธ์พื้นที่ขายของเท่านั้น แต่ยังมุ่งสร้างพื้นที่ใหม่ๆ จากพื้นที่ที่ใครหลายคนไม่เหลียวแล เพราะคิดว่าไม่เหมาะกับการขายของ เช่น ปั๊มน้ำมันหรือสวนสาธารณะในหมู่บ้าน โดยมีเป้าหมายใหญ่คือการสร้างระบบนิเวศที่ดีให้กับแวดวงผู้ประกอบการฟู้ดทรักไทย ให้ ‘อยู่ได้’ โดยชีวิตไม่ต้องขึ้นอยู่กับอีเวนต์เลย เรานัดพบวินิจในวันฝนพรำ ท่ามกลางฟู้ดทรักนับสิบที่จอดเรียงรายกันอยู่ในลานกว้างริมน้ำของห้างฯ ICONSIAM […]

พบทางเท้าพัง เจอถนนเป็นหลุม ฯลฯ แจ้งผ่านไลน์ @traffyfondue พร้อมส่งปัญหาไปถึงผู้รับผิดชอบโดยตรง

ทางเท้าพัง ถนนเป็นหลุม ไฟข้ามถนนไม่ทำงาน ป้ายบังทางเดิน ฯลฯ ทั้งหมดนี้คือสารพัดปัญหาเมืองที่คนไทยน่าจะประสบมาแล้วไม่มากก็น้อย และในขณะเดียวกัน Urban Creature เชื่อว่าคงมีหลายคนที่อยากแจ้งปัญหาให้หน่วยงานที่รับผิดชอบมาปรับปรุงแก้ไข แต่อุปสรรคใหญ่คือเรามักไม่รู้ว่าต้องแจ้งใคร และจะรู้ได้ยังไงว่าเรื่องไปถึงไหนแล้ว เพราะอยากให้ประชาชนกับหน่วยงานต่างๆ ร่วมมือทำงานพัฒนาเมืองไปด้วยกันอย่างสะดวก ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) จึงคิดค้น Traffy* Fondue (ทราฟฟี่ฟองดูว์/ท่านพี่ฟ้องดู) แพลตฟอร์มบริหารจัดการปัญหาเมืองด้วยการใช้ระบบแจ้งและบริหารจัดการด้วย AI Chatbot หลักการใช้งานของ Traffy* Fondue คือการให้หน่วยงานต่างๆ เช่น อบต. เทศบาล อาคารสำนักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดที่มีระบบรับแจ้งปัญหาอยู่แล้ว นำแพลตฟอร์มนี้มาใช้เพิ่มช่องทางใหม่ในการรับแจ้งและจัดการปัญหาที่พบผ่าน LINE Chatbot แบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดภาระการทำงานของเจ้าหน้าที่ และยกระดับการมีส่วนร่วมของพลเมือง (Citizen Engagement) และผู้เกี่ยวข้องได้ทุกพื้นที่และทุกเวลา นอกจากอำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้หน่วยงาน ฟากประชาชนเองก็สามารถมีส่วนร่วมในการสอดส่องดูแลเมืองได้ง่ายๆ แค่แจ้งปัญหาเมืองที่พบผ่าน LINE ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เราพบทั่วไปอย่างทางเท้าพัง ป้ายหาเสียงนักการเมืองบังทางเดิน ไฟถนนไม่ส่องสว่าง ไปจนถึงการแจ้งซ่อมในอาคารสำนักงาน สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ สาธารณภัย เป็นต้น จากนั้นระบบ AI […]

loopers แพลตฟอร์มส่งต่อเสื้อผ้ามือสองที่ทำให้การซื้อ-ขายเป็นเรื่องง่ายและได้ช่วยโลก

หากใครที่ติดตามกระแสสังคมอยู่แล้วคงทราบว่าในช่วง 1 – 2 ปีมานี้ อุตสาหกรรมเสื้อผ้าและแวดวงแฟชั่นมักถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นหัวข้อถกเถียงกันถึงการสร้างค่านิยมบริโภคนิยม และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งจากขยะสิ่งทอไปจนถึงคาร์บอนฟุตพรินต์ในกระบวนการผลิตเสื้อผ้าใหม่แต่ละชิ้น  นอกจากคนทำงานเพื่อสังคม แอ็กทิวิสต์ และคนมีชื่อเสียงที่ออกมาเรียกร้องเรื่องนี้แล้ว คนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยก็ตื่นตัวกับปัญหานี้ เกิดเป็นบทสนทนาการพูดคุยแลกเปลี่ยนถึงฮาวทูการลดการใช้แบรนด์ฟาสต์แฟชั่น (Fast Fashion) การใส่เสื้อผ้ายังไงให้ยั่งยืน และชี้แหล่งแลกเปลี่ยนกับซื้อ-ขายเสื้อผ้ามือสอง เพื่อหาทางดูแลรักษาโลกไปพร้อมๆ กับการสนุกกับการแต่งตัว ถ้าเป็นในต่างประเทศ การแลกเปลี่ยนหรือซื้อ-ขายเสื้อผ้ามือสองคงไม่ใช่เรื่องยากอะไร หลายประเทศเองมีแพลตฟอร์มที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางส่งต่อเสื้อผ้าและของมือสองให้คนได้เลือกใช้งาน จนกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาไปแล้ว แต่สำหรับบ้านเรา ดูเหมือนว่ายังมีตัวเลือกไม่มากนัก แหล่งซื้อขายที่มีก็ไม่ค่อยตอบโจทย์ผู้ใช้งานที่เป็นคนรุ่นใหม่เท่าไหร่ ไหนจะความยุ่งยากของการซื้อ-ขายที่มีรายละเอียดยิบย่อย ไม่ว่าจะเป็นคนขายถ่ายภาพเสื้อผ้าไม่ดี ระบุรายละเอียดไม่ครบ ซื้อมาแล้วใส่ไม่ได้ ไปจนถึงไม่กล้าซื้อเพราะไม่รู้ว่าเจ้าของก่อนหน้าเป็นใคร เป็นเสื้อผ้าคนตายหรือเปล่าก็ไม่รู้ ฯลฯ ทำเอาบางคนถอนหายใจล้มเลิกการซื้อเสื้อผ้ามือสองไปซะก่อน ทั้งๆ ที่ก็อยากลดการซื้อเสื้อผ้าใหม่เช่นกัน หรือสุดท้ายแล้วซื้อมาก็กลายเป็นขยะในตู้เสื้อผ้าเพราะวัดไซซ์ผิด แทนที่จะได้ใช้เสื้อผ้ามือสองวนไป แต่กลับต้องทิ้งไว้เพราะได้ของไม่ตรงปก เพราะประสบปัญหานี้เช่นเดียวกัน เราจึงอยากแนะนำทุกคนให้รู้จักกับ loopers แพลตฟอร์มส่งต่อเสื้อผ้ามือสองหน้าตาดูดีที่เพิ่งเปิดให้บริการเมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ความพิเศษของแพลตฟอร์มนี้คือ การทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการจัดการ รวบรวม และส่งต่อเสื้อผ้าใช้แล้ว โดยที่ตัวผู้ซื้อ-ผู้ขายแทบไม่ต้องทำอะไรเลย แถมตัวเว็บไซต์เองก็ใช้งานง่ายเหมือนเว็บไซต์ขายเสื้อผ้ามือหนึ่งทั่วไปที่บอกรายละเอียดยิบย่อยอย่างชัดเจน แตกต่างจากปกติที่ร้านเสื้อผ้ามือสองเน้นการซื้อมาขายไป ไม่ถ่ายรูปหรือระบุรายละเอียดชัดเจนขนาดนี้ สอดคล้องกับสโลแกน ‘เราจะทำให้การส่งต่อเสื้อผ้าเป็นเรื่องง่าย ดีต่อใจ และดีต่อโลก’ ด้วยเหตุนี้ […]

‘ป๊อก ป๊อก’ รถอาหารแสนอร่อย โมเดลจากรถพุ่มพวง ที่คอยเสิร์ฟเมนูเด็ด จากร้านดัง แถมค่าส่งฟรี!

ป๊อก ป๊อก ไม่ใช่เสียงสากกระทบครกแต่อย่างใด แต่เป็นแพลตฟอร์มน้องใหม่ที่อัปเกรดจากรถพุ่มพวง ที่ขนสารพัดเมนูมาเสิร์ฟให้เราถึงหน้าบ้าน! ไอเดีย ‘ป๊อก ป๊อก’ (Pok Pok) ธุรกิจรถจำหน่ายอาหารเคลื่อนที่มาจากการเห็นโอกาสช่วงแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ติดแหง็กอยู่ในบ้าน เพราะไม่กล้าก้าวเท้าออกไปไหนทำให้แอปพลิเคชันชื่อว่า ‘Pok Pok’ จึงอาสาเป็นตัวกลางที่รวมของอร่อยจากร้านเด็ด เมนูดัง ตั้งแต่มิชลินไปจนถึงอาหารริมทางมาให้ แล้วตระเวนขับส่งของอร่อยทั่วกรุงเทพฯ โดยมีทั้งอาหารคาว ของหวาน และเครื่องดื่ม ส่วนราคาขายไม่เกิน 100 – 120 บาท แถมส่งฟรีอีกด้วย! อีกทั้งเวลาจะซื้ออาหารจากรถพุ่มพวง บางครั้งก็ต้องชะเง้อคอมองว่าจะผ่านหน้าบ้านเราเมื่อไหร่ แต่ถ้าซื้ออาหารจากรถป๊อก ป๊อก บนแอปพลิเคชัน Pok Pok จะทำให้เราเช็กตำแหน่งรถได้แบบเรียลไทม์ รวมถึงเมนูอาหารในแต่ละวันที่พร้อมให้สั่งได้ทุกเมื่อ! ซึ่งใครที่สนใจอยากอุดหนุนป๊อก ป๊อก กดดาวน์โหลดแอปฯ ได้ที่ http://onelink.to/8tvxd8

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.