เบื้องหลัง USE LOOP REPEAT อีเวนต์โดย Loopers ที่อยากชวนทุกคนมาจอยน์ไลฟ์สไตล์ยั่งยืนอย่างสนุก

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ Urban Creature มีโอกาสนั่งคุยกับ Loopers แพลตฟอร์มส่งต่อเสื้อผ้าที่อยากให้การซื้อขายเสื้อผ้ามือสองนั้นเป็นเรื่องง่ายและไม่น่ากลัว จำได้ว่าวันที่เราเจอกันครั้งแรก Loopers ยังมีเสื้อผ้าอยู่ในแพลตฟอร์มไม่ถึง 200 ตัว แต่ในขวบปีที่ 3 ‘เกด-พิชามาศ ชัยงาม’ ผู้ก่อตั้งเล่าอย่างตื่นเต้นว่า ตอนนี้ในแพลตฟอร์มมีเสื้อผ้าทั้งหมดในสต๊อกกว่า 20,000 ตัว มี ‘นักลูป’ ที่กลับมาซื้อขายซ้ำกันมากมาย และมีแผนจะขยับขยายให้ด้อมนักลูปนั้นแข็งแรงกว่าเดิม แต่ความสำเร็จเหล่านั้นไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่พาให้เรามานั่งคุยกับ Loopers ในวันนี้ อันที่จริงมันคืออีเวนต์ชื่อ USE LOOP REPEAT ที่นับว่าเป็นแผนการขยับขยายที่เกดพูดถึง และสำหรับเธอ อีเวนต์นี้ถือว่าเป็นอีเวนต์แรกของ Loopers ที่มีสเกลใหญ่เกินตัวไปมาก แม้ไม่เคยผ่านงานด้านออร์แกไนเซอร์มาก่อน แต่เธอก็อยากลงมือทำมันให้สำเร็จ อธิบายคร่าวๆ USE LOOP REPEAT คืออีเวนต์ที่รวมทั้งตลาด ทอล์ก และเวิร์กช็อปเกี่ยวกับความยั่งยืนมาไว้ในงานเดียว โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 24 – 28 เมษายน 2567 ที่จะถึงนี้ บน Open House ชั้น […]

ตัวช่วยจัดการอดีตที่ผิดพลาด แจ้งลบภาพหรือคลิปโป๊เปลือยผ่านเว็บไซต์ ‘Take It Down’

การแอบปล่อยภาพหลุดหรือคลิปโป๊เปลือยตามโลกออนไลน์โดยที่เจ้าตัวไม่ยินยอม เป็นปัญหาที่สร้างแผลในใจให้เยาวชน และทำให้เกิดความอับอายอย่างที่ใครคนใดคนหนึ่งไม่สมควรต้องเจอ อีกทั้งการกำจัดภาพหรือคลิปเหล่านั้นออกจากโลกออนไลน์ก็ยังดูเป็นเรื่องยากหรือแทบเป็นไปไม่ได้ แต่ความหวังที่จะลบอดีตที่ผิดพลาดยังคงมี เมื่อ ‘Take It Down’ เว็บไซต์ที่ให้บริการฟรีสำหรับช่วยเหลือเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่กังวลเรื่องรูปภาพหรือคลิปเปลือยของตัวเองในโลกออนไลน์ เปิดให้แจ้งลบรูปภาพหรือคลิปเหล่านั้นออกจากอินเทอร์เน็ตโดยไม่จำเป็นต้องเปิดเผยชื่อ ตัวตน หรือข้อมูลส่วนตัว การทำงานของ Take It Down จะกำหนดลายนิ้วมือดิจิทัลที่ไม่ซ้ำกันซึ่งเรียกว่า ‘ค่าแฮช หรือ Hash Value’ ให้กับรูปภาพหรือวิดีโอภาพเปลือยที่เราต้องการลบ โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกแจ้งไปยังแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เป็นพันธมิตรเช่น Facebook, Instagram, OnlyFans และ Pornhub ผู้แจ้งสามารถใช้ค่าแฮชที่ได้มาเพื่อตรวจหารูปภาพหรือวิดีโอเหล่านั้นในแพลตฟอร์มต่างๆ และลบเนื้อหาเหล่านั้นได้ โดยทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นโดยที่ไม่มีใครได้เห็นภาพเหล่านั้นของคุณ การมีภาพเปลือยทางออนไลน์นั้นน่ากลัว แต่ถึงอย่างนั้นเราก็ยังมีความหวังที่จะลบมันได้ หากเด็กหรือเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปีที่มีความกังวลว่ารูปภาพโป๊เปลือยส่วนตัวของตัวเองจะถูกเผยแพร่บนโลกออนไลน์ เข้าไปแจ้งลบได้ที่ takeitdown.ncmec.org/th

‘Pecgo’ ตลาดสัตว์เลี้ยงออนไลน์ ตัวกลางตรวจสอบทุกการซื้อขาย ครอบคลุมสัตว์เลี้ยงกว่า 18 ชนิด

หากจะหาซื้อสัตว์เลี้ยงสักตัว ทางเลือกที่ง่ายที่สุดคงเป็นตลาดนัดหรือช่องทางออนไลน์อย่างเพจเฟซบุ๊ก แต่ข้อเสียของการซื้อสัตว์เลี้ยงผ่านช่องทางเหล่านี้คือ ความเสี่ยงที่เราอาจถูกผู้ขายหลอกขายสัตว์เลี้ยงที่ไม่ตรงปก หรือสัตว์เลี้ยงที่ป่วยและไม่แข็งแรง ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมและยังเป็นการทำร้ายสัตว์เลี้ยงทางอ้อมอีกด้วย ชวนมารู้จักกับแอปพลิเคชัน ‘Pecgo’ แพลตฟอร์มซื้อ-ขายสัตว์เลี้ยงออนไลน์ที่มีความน่าเชื่อถือและตรวจสอบได้ อีกทั้งยังมีสัตว์เลี้ยงให้เลือกมากกว่า 18 ชนิด แอปฯ นี้เกิดขึ้นโดย ‘ต้า-ปธานิน เจนณรงค์ศักดิ์’ ‘บุ๋น-ชนก พลายทรัพย์’ และ ‘กานต์-พุฒิสรรค์ ตันสุวรรณนนท์’ ที่มีความฝันและต้องการเปลี่ยนแปลงรูปแบบตลาดสัตว์เลี้ยงที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ เพื่อไม่ให้มีคนต้องถูกโกงเพิ่ม และช่วยให้คุณภาพชีวิตของสัตว์เลี้ยงดีขึ้น Pecgo มีระบบการจัดการหลังบ้านที่ช่วยคัดกรองร้านค้าที่มีโปรไฟล์ดีและน่าเชื่อถือ พร้อมลงทะเบียนยืนยันตัวตนของผู้ขายผ่านบัตรประชาชน หน้าสมุดบัญชี และสถานที่เพาะสัตว์เลี้ยง เพื่อให้ลูกค้าเลือกซื้อสัตว์เลี้ยงได้อย่างสบายใจ นอกจากนี้ แอปฯ ยังมีมาตรการจัดการกับร้านค้าที่โกงโดยการฟ้องเอาผิด พร้อมประกาศรายชื่อร้านค้าที่โกงในทุกช่องทางของ Pecgo และทำการแบนไม่ให้สามารถเข้ามาขายในระบบได้อีก สำหรับฟาร์มสัตว์เลี้ยงที่สนใจ ลงทะเบียนเข้าร่วมเป็นร้านค้าได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งทาง Pecgo จะคอยเป็นที่ปรึกษาเรื่องการขายและช่วยขยายฐานลูกค้า พร้อมทั้งยังป้องกันความเสี่ยงจากการทิ้งมัดจำของผู้ซื้ออีกด้วย สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการเข้าร่วมเป็นพาร์ตเนอร์เพิ่มเติมได้ที่ Pecgo.Official ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Pecgo ได้แล้ว ทั้งในระบบ Android ทาง Google Play และ iOS ทาง […]

Drinks On Me แพลตฟอร์มบาร์ทิพย์สู่บาร์จริง ที่ชวนคนแปลกหน้ามาฮีลใจ ด้วยบทสนทนาจากค็อกเทล

ในแต่ละวันเราคงมีปัญหาอัดอั้นที่ต้องการระบาย แต่พอจะคุยกับคนรอบตัวก็กลัวเขาลำบากใจ ครั้นจะให้ออกไปพบปะสังสรรค์กับคนแปลกหน้าในสถานที่ต่างๆ ก็อาจไม่สะดวกใจขนาดนั้น ด้วยเหตุนี้ ทำให้ใครหลายคนเริ่มมองหาการพูดคุยแลกเปลี่ยนบทสนทนากับคนแปลกหน้าในโลกออนไลน์มากขึ้น แอปพลิเคชันประเภทหาเพื่อนคุยจึงได้รับความนิยมเป็นจำนวนมาก และแอปฯ เหล่านี้ก็เริ่มเข้ามามีอิทธิพลต่อผู้คนในเมืองขึ้นเรื่อยๆ หนึ่งในนั้นคือ ‘Drinks On Me’ แพลตฟอร์มบาร์ทิพย์ออนไลน์ ที่เปลี่ยนบรรยากาศการพูดคุยแบบเดิมๆ ในห้องแชตเปล่าๆ ให้ได้ความรู้สึกใหม่เหมือนกับไปอยู่ในบาร์จริงๆ โดยมีคาแรกเตอร์การ์ตูนน่ารักๆ มาสร้างความเป็นมิตรให้ตัวเว็บไซต์ พร้อมกิมมิกเจ๋งๆ อย่างการเลือกค็อกเทลที่บ่งบอกอารมณ์ความรู้สึกของผู้ใช้งาน เพื่อใช้เป็นจุดเริ่มต้นบทสนทนา จนกลายเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้ใครหลายๆ คนกล้าแชร์ความคิดและความรู้สึกออกไป หลังจากเคยนำเสนอแพลตฟอร์มนี้ในช่วงแรกๆ ที่เปิดตัวไปแล้ว คอลัมน์ Re-desire ถือโอกาสชวน ‘นะโม-ชลิพา ดุลยากร’ และ ‘ปั่น-วศิน วัฒนศรีส่ง’ ผู้ก่อตั้ง Drinks On Me ที่เพิ่งครบ 1 ปีไปเมื่อเดือนกันยายนปีก่อน มาพูดคุยถึงตัวแพลตฟอร์มที่มีการพัฒนาแนวคิดมาเรื่อยๆ ถึงขนาดมีโอกาสร่วมงานกับแบรนด์ใหญ่ และขยายขอบเขตกิจกรรมพาผู้คนบนโลกออนไลน์มาสัมผัสประสบการณ์ใหม่ที่บาร์จริง รวมถึงเป้าหมายในอนาคตหลังจากนี้ของพวกเขา เริ่มต้นจากความสนุกที่อยากชวนคนมาชนแก้วบนโลกออนไลน์ ถ้าหลายคนจะคุ้นหน้าหญิงสาวในภาพก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะนะโมคือ TikToker ช่อง ‘รุงรังDiary’ ที่มีผู้ติดตามถึง 1.3 ล้านแอ็กเคานต์ และอีกบทบาทเธอก็เป็นเจ้าของ […]

Co-Cave ถ้ำของคนทำงานสร้างสรรค์ ที่เป็นคอมมูนิตี้และ One-stop Service เพื่อซัพพอร์ตสายงานสร้างสรรค์ในไทย

ช่วงนี้สายผลิตหรือกลุ่มคนทำงานสร้างสรรค์กำลังบูมสุดๆ โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ที่ไม่ว่าใครก็ค้นพบคนทำงานสร้างสรรค์เจ๋งๆ ได้ผ่านแฮชแท็กหรือการแนะนำของคนอื่นๆ อีกทั้งในโลกออฟไลน์ก็เริ่มมีพื้นที่จัดแสดงงานหรืออีเวนต์ที่เปิดโอกาสให้สายผลิตปล่อยของกันมากขึ้น แต่ในความบูมนั้น Pain Point หนึ่งที่ตามมาของคนทำงานสร้างสรรค์หน้าใหม่ที่ต้องการยืนระยะอยู่ในเส้นทางนี้ได้ยาวๆ คือ การมีเครือข่ายชุมชนที่สนับสนุนกันและกัน รวมไปถึงการเสาะหาคนทำงานสายงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตชิ้นงานให้ออกมาสำเร็จได้อย่างมีคุณภาพ ตั้งแต่คนสร้างสรรค์คอนเทนต์ นักออกแบบ นักพิสูจน์อักษร โรงงานผลิต เป็นต้น ด้วยความที่มีประสบการณ์อยู่ในวงการนักสร้างสรรค์มาก่อน ‘อ้น-อาภัสพร สุภาภา’ มองเห็นปัญหาเหล่านี้มาตลอด เธอจึงได้ไอเดียสร้างแพลตฟอร์ม Co-Cave ขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่เป็นคอมมูนิตี้ที่คอยซัพพอร์ตสายสร้างสรรค์ ทั้งฝั่งของคนทำงานเองและคนที่ต้องการใช้งานสร้างสรรค์ “อาจเรียกได้ว่าเว็บไซต์นี้เป็นกึ่งๆ Matchmaker ระหว่างผู้ว่าจ้างและคนทำงาน ในช่วงแรกเริ่มเรายึดการสร้างกลุ่มจากการทำหนังสือเป็นหลักเพราะเป็นสิ่งที่ถนัด ทำให้มีฟรีแลนซ์ในกลุ่มของการทำหนังสืออยู่มาก ทั้งบรรณาธิการ นักพิสูจน์อักษร นักวาด ฯลฯ แต่ต่อไปเมื่อ Co-Cave ขยายขึ้นเรื่อยๆ นักเขียนเองจะกลายเป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่สายงานต่างๆ สามารถเข้ามาเฟ้นเลือกคนที่ตรงใจไปร่วมงานกันได้ “ส่วนจุดเด่นของ Co-Cave ที่ทำให้หลายคนสนใจน่าจะเพราะเป็น One-stop Service ของคนทำงานสร้างสรรค์ ซึ่งเราออกแบบเว็บไซต์ให้มีความเรียบง่าย ใช้งานง่าย เน้นสีขาวดำเพื่อให้หน้าโปรไฟล์ของชาว Co-Cave โดดเด่นกว่า และเรามีพื้นที่สำหรับทุกกลุ่มการใช้งาน ประกอบกับโซเชียลมีเดียยอดนิยมก็ลดเอนเกจเมนต์ บ้างก็มีการเปลี่ยนแปลงรายวัน หลายๆ […]

PARK :D แพลตฟอร์มจัดการที่จอดรถในอารีย์ เพิ่มการรองรับรถโดยไม่ต้องสร้างที่จอดเพิ่ม

ใครที่เคยไปเดินเล่นหรือทำธุระในย่านอารีย์ก็คงทราบกันดีว่า ปัญหา ‘ที่จอดรถไม่เพียงพอ’ นั้นสร้างความลำบากให้ผู้ใช้งานในพื้นที่มาอย่างยาวนานและสม่ำเสมอ จนหลายครั้งผู้ขับขี่ที่จำเป็นต้องเข้าใช้งานในพื้นที่ต้องยอมจ่ายค่าจอดรถที่มีราคาสูงถึง 50 – 100 บาทต่อชั่วโมง หรือหากเป็นพนักงานออฟฟิศจะมีรายจ่ายค่าที่จอดรถราว 4,500 บาทต่อเดือนอย่างไม่สามารถเลี่ยงได้ ด้วยเหตุนี้ ‘จ๋า-ชัญญา เตชวิริยะ’ และ ‘เต้-กันต์กวี บุญเพ็ง’ ที่ก่อนหน้านี้ได้มีโอกาสพบกันในบริษัทแห่งหนึ่งหลังจบการศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรม จึงปิ๊งไอเดียสร้างแพลตฟอร์มช่วยบริหารจัดการที่จอดรถในย่านอารีย์ขึ้นมาชื่อ ‘PARK :D’ แพลตฟอร์มนี้เป็นไอเดียสำหรับเข้าร่วมกิจกรรมประกวดออกแบบสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อพัฒนาย่านอารีย์ให้น่าอยู่ (ARID Hackathon 2023 : Innovation for Well-being) จนได้รับรางวัลชนะเลิศและเงินรางวัลเพื่อนำไอเดียจากการประกวดไปพัฒนาต่อ “ปัจจุบันอารีย์มีปัญหาเรื่องที่จอดรถจริงๆ เราเลยมองหาว่ามีวิธีอะไรบ้างที่จะมาแก้ปัญหานี้ ทำให้รถที่เข้ามาในย่านอารีย์มีปริมาณที่จอดเพียงพอโดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มที่จอดรถ แต่เป็นการเพิ่ม Capacity ของที่จอดรถที่มีอยู่เดิม” เต้เล่าถึงโจทย์แรกที่เขาและจ๋าต้องการแก้ไขในเบื้องต้น โดยการทำงานแพลตฟอร์ม PARK 😀 คือ การเป็นตัวกลางให้ผู้ที่มีที่จอดรถเป็นของตัวเองจับกับผู้ต้องการที่จอดรถในราคาถูกได้มากขึ้นผ่านรูปแบบ ‘Parking Lot-Sharing’ เพราะที่จอดรถ 1 ที่ มีเวลาการใช้ที่ต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น ที่จอดรถของสำนักงานที่มักว่างในช่วงวันเสาร์อาทิตย์ ที่จอดรถของคอนโดฯ ที่มักว่างช่วงเวลากลางวัน หรือบ้านบางหลังที่มีที่จอดรถเหลือ การปล่อยเช่าที่จอดรถเหล่านี้จะช่วยเพิ่มปริมาณที่จอดรถในย่านอารีย์ได้ง่ายๆ […]

‘Q-CHANG’ แพลตฟอร์มรวมสารพัดช่างซ่อมให้บริการทั่วไทย ที่วางตัวเป็น ‘แบ็คอัพทุกเรื่องบ้าน’

หลังคาบ้านโดนลูกเห็บตกใส่จนเป็นรูรั่ว แต่ไม่รู้จักช่างซ่อมหลังคาที่ไว้ใจได้เลย แอร์ที่บ้านไม่เย็น พอเรียกช่างมาล้างเขากลับเติมน้ำยาแอร์ให้ แถมคิดตังค์เพิ่มอีก! ก๊อกในห้องน้ำมีรอยแตก แต่ภารกิจชีวิตเยอะจนไม่มีเวลาซ่อม หากคุณเคยเจอปัญหาอีหรอบเดียวกัน เราขอแนะนำให้รู้จัก ‘Q-CHANG (คิวช่าง)’ แพลตฟอร์มที่เปรียบเสมือนเพื่อนคู่ใจที่จะช่วยแก้ปัญหาในที่อยู่อาศัยของคุณได้แบบครบจบในที่เดียว เกริ่นมาอย่างกับสปอตโฆษณา แต่สัญญาว่าไม่ได้พูดเกินเลยสักนิด นั่นเพราะแพลตฟอร์มนี้รวบรวมช่างสารพัดแบบเอาไว้ ไล่ตั้งแต่ช่างล้างแอร์ ช่างซ่อมหลังคา ไปจนถึงแม่บ้านทำความสะอาด Q-CHANG เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาความยากลำบากในการหาช่างฝีมือดีและไว้ใจได้ นั่นคือเป้าหมายแรก ทว่ามากกว่าการอำนวยความสะอาดให้เจ้าของที่พักเพื่อให้พวกเขากดจองคิวช่างได้ง่ายๆ แค่ปลายนิ้วคลิก Q-CHANG ยังมีฝันใหญ่คือการสร้างงานสร้างอาชีพให้ช่างไทยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้พวกเขามีคุณภาพชีวิตที่ดี เพียง 5 ปีนับตั้งแต่ก่อตั้ง Q-CHANG มีลูกค้าใช้แพลตฟอร์มเรือนแสน มีช่างในระบบกว่าพันคนกระจายไป 77 จังหวัดทั่วไทย และมีรายได้มากกว่า 250 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา  มองเผินๆ ตัวเลขเหล่านี้อาจบอกว่าตลาดของลูกค้าที่ต้องการช่างนั้นแสนกว้างใหญ่ แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่าเบื้องหลังตัวเลขเหล่านี้คือการทำงานหนักของทีมงาน และการเอาใจใส่ทั้งลูกค้าและช่างอย่างจริงจัง อะไรทำให้ Q-CHANG มาถึงจุดนี้ได้ บ่ายวันฟ้าเปิด เราบุกออฟฟิศ Q-CHANG ไปคุยกับ ‘บอย-ศรัณย์วิศว์ ภักดีนอก’ ผู้ก่อตั้งแพลตฟอร์ม ช่างคิด ก่อนจะมาเป็นผู้ก่อตั้ง Q-CHANG อย่างเต็มตัว […]

นาซาเตรียมเปิดตัวบริการสตรีมมิง NASA+ ฉายวิดีโอตอนทำภารกิจและการสำรวจอวกาศ ปลายปีนี้

ทุกคนน่าจะรู้จัก NASA ในฐานะของหน่วยงานด้านอวกาศและวิทยาศาสตร์สุดล้ำ ซึ่งหลายๆ ครั้งเรามักได้รับข้อมูล ภาพถ่าย และวิดีโอจากอวกาศที่ช่วยเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้นว่านอกจากโลกของเรา ยังมีความหลากหลายอีกกว้างใหญ่ไพศาลที่ประเมินขอบเขตไม่ได้ หลังจากก่อตั้งและดำเนินการในโครงการอวกาศและงานวิจัยห้วงอวกาศมาตั้งแต่ปี 1958 ปีนี้นาซามีแผนการยกระดับแพลตฟอร์มด้วยการปรับปรุงเว็บไซต์และเพิ่มบริการสตรีมมิงแบบออนดีมานด์ รวมถึงอัปเกรดแอปฯ NASA เพื่อที่ทุกคนจะได้เข้าถึงโลกใหม่ที่อุดมไปด้วยคอนเทนต์จากหน่วยงานอวกาศแห่งนี้ได้อย่างสะดวก “วิสัยทัศน์ของเราคือการสร้างแรงบันดาลใจให้มนุษยชาติผ่านประสบการณ์บนเว็บระดับโลกหนึ่งเดียวของ NASA” Jeff Seaton หัวหน้าเจ้าหน้าที่สารสนเทศประจำสำนักงานใหญ่ของหน่วยงานในเมืองวอชิงตันกล่าว และจากความตั้งใจนี้ เว็บใหม่ของนาซาจะทำหน้าที่เป็นฐานบ้านที่ขยายใหญ่ขึ้น สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภารกิจและการวิจัยของหน่วยงาน ข้อมูลสภาพอากาศ การอัปเดตของโปรเจกต์ Artemis ที่จะพานักบินอวกาศกลับไปเหยียบดวงจันทร์อีกครั้ง และอื่นๆ อีกมากมาย มากไปกว่านั้น ในช่วงปลายปีนี้นาซาจะเปิดตัวแพลตฟอร์มสตรีมมิงใหม่ในชื่อ NASA+ ที่ไม่มีโฆษณา ไม่เก็บค่าเข้าชม และเหมาะสำหรับครอบครัว โดยจะมีการถ่ายทอดสดเวทีรางวัล Emmy Award ภารกิจของ NASA ในรูปแบบวิดีโอที่เป็นเนื้อหาออริจินัล รวมถึงซีรีส์ใหม่จำนวนหนึ่งที่เปิดตัวพร้อมบริการสตรีมมิง NASA+ ใช้งานได้บนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต iOS และ Android พร้อมกับเครื่องเล่นสตรีมมิง เช่น Roku, Apple TV และ Fire TV ส่วนใครอยากลองใช้งานเว็บไซต์ใหม่ในเวอร์ชันเบตา […]

Mappa บ้านของนักออกแบบการเรียนรู้ที่อยากให้คนรุ่นใหม่ได้ร่วมกันดีไซน์สังคมที่ดีกว่าเดิม

ในฐานะคนที่เรียนหนังสือแบบท่องจำมาตลอด การได้ฟัง ‘มิรา เวฬุภาค’ ผู้ก่อตั้ง Mappa และทีมเล่าเรื่องราวการเรียนรู้แบบใหม่ที่เราไม่คุ้นเคยนั้นช่างน่าฉงนสงสัย ในขณะเดียวกันก็น่าตื่นเต้นเหลือเกิน เราเคยได้ยินเรื่องโรงเรียนทางเลือก โฮมสคูล และแอปฯ ส่งเสริมการเรียนรู้มาบ้าง ทั้งยังเคยฟังเด็กๆ โอดครวญด้วยความห่อเหี่ยวใจเรื่องระบบการศึกษาบ้านเราหลายหน ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือ Pain Point และแรงบันดาลใจสำคัญที่ทำให้เกิด Mappa ในวันนี้ หลายคนรู้จักพวกเขาในฐานะสื่อออนไลน์ที่ผลิตคอนเทนต์สนุกๆ บนพื้นฐานความเชื่อว่าความรู้เกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ และสร้างได้จากทุกสิ่ง แต่แท้จริงแล้ว Mappa ไม่ใช่แค่สื่อ พวกเขาคือแพลตฟอร์มเพื่อการศึกษาที่อยากผลักดันให้การเรียนรู้ของเด็กไทยไปไกลกว่ากรอบเดิมๆ ผ่านเครื่องมืออันหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชัน เว็บไซต์ บอร์ดเกม สื่อการเรียนรู้ ไปจนถึงคอร์สอบรมมนุษย์ผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของเด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ คุณครู หรือคนที่มีพื้นที่เรียนรู้ ไม่ได้เรียนแค่เรื่องวิชาการจ๋า แต่อยากให้เด็กๆ ได้มีสกิลซึ่งโรงเรียนอาจจะลืมสอนไป เช่น การสร้างความสัมพันธ์ การเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและสังคม สุนทรียภาพ กระบวนการคิด ฯลฯ มากกว่านั้น ผู้ก่อตั้งอย่างมิรายังอยากปลุกปั้น ‘Learning Designer’ หรือ ‘นักออกแบบการเรียนรู้’ ที่เป็นคนรุ่นใหม่ เพื่อช่วยยกระดับการศึกษาในอนาคตให้เด็กเจเนอเรชันต่อไปได้มีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายกว่าเก่า เช้านี้ที่น่าฉงนสงสัยและน่าตื่นเต้นเป็นพิเศษ ทีม […]

สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นในเมืองปี 2022 ที่ชาว Urban Creature ยกนิ้วให้

ดนตรีในสวน เทศกาลกรุงเทพฯ กลางแปลง แคมเปญการเมือง พื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ ฯลฯ เหล่านี้คือตัวอย่างมูฟเมนต์ที่เกิดขึ้นในเมืองตั้งแต่เดือนแรกจนถึงเดือนสุดท้ายของปี 2022 ปฏิเสธไม่ได้ว่าปีนี้เป็นปีที่มีหลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเวลาหลังโรคระบาดที่สถานการณ์เริ่มกลับมาเป็นปกติ ผู้คนกล้าออกไปใช้ชีวิต อีเวนต์มากมายเกิดขึ้น ความคิดสร้างสรรค์และพลังการขับเคลื่อนได้รับการเติมเชื้อเพลิง ชาว Urban Creature เลยขอคัดเลือกมูฟเมนต์เจ๋งๆ ที่เกิดขึ้นในเมืองปีนี้ มารวบรวมให้ทุกคนย้อนนึกถึงกันอีกครั้ง เพื่อเป็นหลักฐานของความหวังต่อบ้านเมืองนี้ เราจะได้มีแรงไปใช้ชีวิตและขับเคลื่อนความเชื่อของตัวเองกันต่อในปีหน้า ปลดล็อกท้องถิ่น โดยคณะก้าวหน้าชื่อผู้เลือก : เดือนเพ็ญ จุ้ยประชาตำแหน่ง : Senior Content Creator  ด้วยความที่ย้ายจากนครปฐมไปอยู่ชลบุรีตั้งแต่ตอนเรียนประถมฯ ผสมกับเข้ากรุงเทพฯ อยู่เนืองๆ จนสุดท้ายได้มาเรียนมหาวิทยาลัยและทำงานที่กรุงเทพฯ ประสบการณ์และความเป็นอยู่ทั้งชีวิตสอนให้รู้ว่า ถ้าอยากมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในแง่สาธารณูปโภคและการงานกับเงินเดือน ให้ย้ายมาอยู่กรุงเทพฯ  เพราะต่อให้เมืองมันจะไม่น่าอยู่ เต็มไปด้วยมลพิษและปัญหารถติด แต่อย่างน้อยการมีขนส่งสาธารณะที่ค่อนข้างครอบคลุม เดินทางไปไหนมาไหนสะดวก ได้ทำงานในสายงานที่สนใจ มีร้านหนังสืออิสระ โรงหนัง แกลเลอรี และสวนสาธารณะดีๆ รายล้อม ยังไงมันก็ดีกว่าการอยู่ในที่ที่ถ้าไม่มีรถยนต์ก็ไปไหนเองแทบไม่ได้ ไม่มีสายงานที่สนใจให้ทำ และมีแต่ห้างฯ กับสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติให้ไปเยือน เราจึงดีใจมากที่เห็นคณะก้าวหน้าออกมาขับเคลื่อนเรื่องการเมืองในสเกลย่อย และได้มีการล่ารายชื่อปลดล็อกท้องถิ่น เพื่อกระจายอำนาจจากส่วนกลางมาให้คนทำงานในพื้นที่ได้มีอำนาจอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยสักที ยิ่งพอได้ไปพูดคุยกับอาจารย์ปิยบุตร […]

HAUP แอปฯ รถเช่าที่ลูกค้าเลือกจ่ายได้ตามเวลาที่ใช้ แถมยังได้ช่วยเมืองแก้ปัญหารถติด

เรื่องทั้งหมดเริ่มต้นในสุดสัปดาห์นั้น มันเป็นสุดสัปดาห์ที่คนกรุงเทพฯ ได้หยุดยาวติดกันหลายวัน หลายคนจึงแพลนไปเที่ยวต่างจังหวัดเพื่อใช้วันหยุดให้คุ้มค่าที่สุด ฉันกับเพื่อนก็ไม่ต่าง แต่เรามีเวลาว่างตรงกันแค่ 1 วัน เลยวางแผนจะขับรถออกไปเที่ยวจังหวัดใกล้ๆ แบบวันเดย์ทริป ติดตรงที่โทรไปขอเช่ารถที่ไหนเขาก็ไม่ให้ “ถ้าจะเช่าต้องเช่าสองวันขึ้นไป” ทุกที่พูดเหมือนกันหมด ฉันเกือบถอดใจ จนกระทั่งเพื่อนทักมาบอกว่า “ไปเจอนี่มา ลองไหม” ‘นี่’ ที่เพื่อนหมายถึงคือบริการรถเช่าที่คิดค่าเช่ารถตามระยะทางและเวลาที่ใช้ ในระบบมีรถยนต์หลายแบบให้เลือกขับ แถมยังมีจุดให้บริการกระจายอยู่ทั่วทุกมุมเมือง พอฉันคำนวณราคาดูแล้วก็ไม่ได้แตกต่างจากราคาเช่ารถต่อวันเท่าไหร่ เราจึงไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไม่ลอง นั่นคือครั้งแรกที่ฉันได้ลองใช้บริการของ HAUP ประสบการณ์การเช่ารถ 1 วันนั้นเต็มไปด้วยเรื่องเซอร์ไพรส์ ตั้งแต่การควบคุมระบบทุกอย่างของรถได้จากแอปฯ การที่ HAUP มีบัตรเติมน้ำมันฟรีให้ หรือแม้กระทั่งความสะดวกสบายจากการเช่ารถได้โดยไม่ต้องเจอเจ้าของรถตัวจริงเลย สิ่งที่เซอร์ไพรส์ฉันมากที่สุดเกิดขึ้นหลังจากที่ลองเสิร์ชข้อมูลของ HAUP เล่นๆ และพบว่า HAUP ไม่ใช่บริการที่ก่อตั้งใหม่ แต่เปิดมาแล้วถึง 6 ปี มากกว่านั้นคือพวกเขาไม่ใช่บริการรถเช่าอย่างที่ฉันคิด แต่นิยามตัวเองว่าเป็นบริการ ‘Carsharing’ หรือการชวนคนที่มีรถอยู่แล้วมาปล่อยให้เช่า โดยมีเป้าหมายคือการทำให้อัตราการซื้อรถของคนเมืองน้อยลง  เมื่อคนซื้อรถน้อยลง การจราจรและสภาพอากาศในเมืองจะดีขึ้น ‘กฤษฏิ์ วิชัยวัฒนาพาณิชย์’ CEO ของ HAUP สรุปให้ฉันฟังอย่างนั้น […]

We Chef Thailand แพลตฟอร์มที่อยากให้ผู้ประกอบการฟู้ดทรักไทยเติบโตได้ โดยไม่ต้องง้ออีเวนต์

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปฏิเสธไม่ได้ว่าหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจและโรคระบาดมากที่สุดคือธุรกิจ F&B (Food and Beverage) ความพยายามเอาตัวรอดในยุคโควิดทำให้เราได้เห็นการมาถึงของนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ Disrupt ธุรกิจอาหารแบบเดิมๆ เจ้าของร้านที่สร้างรายได้จากของกินต้องปรับตัวไปสู่โลกใหม่เพื่อให้ตัวเองอยู่รอดได้ และหนึ่งในการปรับตัวที่น่าจับตามองไม่น้อย คือธุรกิจรถเข็นอาหารหรือ Food Truck  ด้วยเงินลงทุนที่น้อยกว่าการเปิดร้านอาหาร และความสามารถในการย้ายร้านไปทดลองขายได้หลายพื้นที่ ทำให้ผู้ประกอบการหลายคนหันมาเอาดีทางนี้มากขึ้น เห็นได้ชัดจากจำนวนธุรกิจอาหารบนฟู้ดทรักที่เปิดใหม่ไปทั่วมุมเมือง แต่เมื่อมีผู้เข้าแข่งขันหน้าใหม่เข้ามาในตลาด หนึ่งในปัญหาสำคัญที่เห็นได้ชัดไม่แพ้กันคือตลาดฟู้ดทรักมีความเป็นคอขวด เติบโตช้า เพราะชีวิตของผู้ประกอบการฟู้ดทรักมักฝากไว้กับอีเวนต์ ถ้าไม่มีออร์แกไนเซอร์ชวนไปออกอีเวนต์ที่ไหน พวกเขาก็ไม่มีรายได้ มากกว่านั้น ตลาดฟู้ดทรักในไทยยังขาดการบริหารจัดการที่เป็นระบบ ไม่มีคนแจกแจงงานและสร้างพื้นที่ใหม่ๆ ในการทำธุรกิจ ‘วินิจ ลิ่มเจริญ’ มองเห็น Pain Point นี้ จึงก่อตั้ง We Chef Thailand แพลตฟอร์มที่ช่วยบริหาร จัดคิว และบอกต่อพื้นที่การขายให้ผู้ประกอบการฟู้ดทรักไทย ที่น่าสนใจคือแพลตฟอร์มของเขาไม่ได้ช่วยประชาสัมพันธ์พื้นที่ขายของเท่านั้น แต่ยังมุ่งสร้างพื้นที่ใหม่ๆ จากพื้นที่ที่ใครหลายคนไม่เหลียวแล เพราะคิดว่าไม่เหมาะกับการขายของ เช่น ปั๊มน้ำมันหรือสวนสาธารณะในหมู่บ้าน โดยมีเป้าหมายใหญ่คือการสร้างระบบนิเวศที่ดีให้กับแวดวงผู้ประกอบการฟู้ดทรักไทย ให้ ‘อยู่ได้’ โดยชีวิตไม่ต้องขึ้นอยู่กับอีเวนต์เลย เรานัดพบวินิจในวันฝนพรำ ท่ามกลางฟู้ดทรักนับสิบที่จอดเรียงรายกันอยู่ในลานกว้างริมน้ำของห้างฯ ICONSIAM […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.