Abang Adik สองพี่น้องผู้ยังมีกันและกัน และความสัมพันธ์ที่ไม่เคยถูกเหลียวแล ณ ซอกหลืบที่ลึกสุดของความชายขอบ

ภาพยนตร์จากประเทศมาเลเซีย คงไม่ได้เป็นสิ่งที่หาชมได้บ่อยนักในโรงหนังไทย อีกทั้งน่าจะมีภาพจำว่าต้องเป็นหนังที่นำเสนอความเป็นศาสนาอิสลามแน่ๆ ยังไม่นับรวมกฎการเซนเซอร์หนังที่เคร่งครัดเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ หลายๆ คนอาจจะเข้าใจผิด ไม่คิดว่า Abang Adik หนังที่คว้ารางวัลนักแสดงนำชายจากเวทีม้าทองคำ (Golden Horse Awards) ที่ได้ชื่อว่าเป็นออสการ์ของจีน ซึ่งมีตัวละครนำเป็นชาวจีนจะเป็นหนังมาเลเซียไปได้ มากไปกว่านั้น มันยังเป็นหนังแนวชีวิตรันทด ขื่นขม และโหดร้าย ที่ตัวละครต้องการจะหลีกหนีจากโชคชะตาอันต้อยต่ำในสังคม ตะเกียกตะกายหาหนทางไปสู่ชีวิตที่ดีกว่าผ่านเส้นทางอันสุดแสนยากลำบาก ที่ไม่ว่ายังไงก็แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่พวกเขาจะหลุดออกจากวงจรเหล่านั้น เนื่องจากระบบสังคมกดทับพวกเขาอยู่ เราแทบไม่เคยเห็นเรื่องราวลักษณะนี้จากฟากฝั่งของหนังมาเลเซีย ทั้งที่หนังแนวนี้ในระดับสากลถูกเล่ามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสถานที่และเวลา ยกตัวอย่าง Rosetta (1999) ของพี่น้อง Dardenne ที่ว่าด้วยเด็กสาวผู้พยายามต่อสู้เอาชีวิตรอดเพียงหวังแค่การงานที่มั่นคง, Lilya 4-Ever (2002) ของ Lukas Moodysson ที่เล่าถึงชีวิตเด็กสาวที่ถูกพ่อแม่ทอดทิ้งในเมืองที่เคยเป็นสหภาพโซเวียต และถูกหลอกไปค้าประเวณีในสวีเดน, An Elephant Sitting Still (2018) หนังจีนของ Hu Bo ผู้ล่วงลับ ที่ฉายภาพของกลุ่มคนหลากวัยที่หมดหวังกับเมืองของเขา หรือ A Sun (2019) […]

Silent Emergency Party สัมผัสและเข้าใจวิกฤตผู้ลี้ภัยที่ถูกลืม ผ่านมื้ออาหารจากฝีมือผู้ลี้ภัย

ถ้าวันหนึ่งคุณต้องกลายเป็น ‘ผู้ลี้ภัย’ คุณจะรู้สึกอย่างไร ปัจจุบันทั่วโลกมีวิกฤตที่สื่อมวลชนให้ความสำคัญและเป็นที่สนใจของผู้คนอย่างมาก เช่น สงครามรัสเซีย-ยูเครน และสงครามซีเรีย แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า ในทวีปแอฟริกายังมีหลายประเทศที่กำลังเผชิญวิกฤตมากมาย เช่น เอธิโอเปีย ซูดาน ซูดานใต้ โมซัมบิก สาธารณรัฐแอฟริกากลาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ฯลฯ รวมไปถึงประเทศที่เราอาจไม่คุ้นหู เช่น ชาด เอริเทรีย บูร์กินาฟาโซ แองโกลา มาลาวี ฯลฯ  รายชื่อเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเหล่าประเทศที่กำลังเผชิญวิกฤตอย่างรุนแรง ขณะเดียวกันก็กำลังถูกลืมเลือน เสมือนว่าถูกทำให้เลือนหายไปจากแผนที่โลก เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นเพราะวิกฤตในประเทศแถบแอฟริกาเกิดขึ้นเป็นเวลาต่อเนื่องและยาวนาน แต่แทบไม่ได้รับการมองเห็นและการสนับสนุนช่วยเหลือจากสังคม ทำให้หลายชีวิตต้องดิ้นรนเอาตัวรอด เพื่อให้ยังมีชีวิตก้าวข้ามวันพรุ่งนี้ไปได้ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2566 ซึ่งตรงกับวันมนุษยธรรมโลก สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ UNHCR ประเทศไทย ได้จัดงาน ‘Silent Empathy Emergency Fund มื้อฉุกเฉินเพื่อผู้ลี้ภัย…ที่ถูกลืม’ ที่ Na Café at Bangkok 1899 เพื่อสร้างความตระหนักรู้และระดมทุนช่วยเหลือสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วโลก ภายในงาน […]

คุยเรื่องสิทธิมนุษยชนและมนุษยธรรมกับ ‘กัณวีร์ สืบแสง’ ว่าที่ ส.ส. ที่อยากสร้างสันติภาพ

หลังจากการเลือกตั้งใหญ่เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ชื่อของ ‘พรรคเป็นธรรม’ ก็ปรากฏตามหน้าข่าวอย่างแพร่หลาย และได้รับความสนใจจากคนไทยที่ติดตามการเมืองอย่างเข้มข้น ที่เป็นแบบนั้นเพราะพรรคเป็นธรรมมี ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์เพียงคนเดียวที่ได้รับเชิญจากพรรคก้าวไกลเพื่อร่วมจัดตั้งรัฐบาล จนหลายคนมองว่า นี่คือหนึ่งพรรคการเมืองม้ามืดที่จะมาช่วยขับเคลื่อนให้ระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยเต็มใบอีกครั้ง ใช่แล้ว เรากำลังพูดถึง ‘กัณวีร์ สืบแสง’ เลขาธิการพรรคเป็นธรรม และ ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ลำดับที่ 1 ที่ประชาชนจรดปากกาเลือกให้เป็นผู้แทนเข้าไปทำงานในสภาฯ ก่อนกระโดดเข้ามาทำงานการเมือง กัณวีร์เคยรับราชการที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) จากนั้นเขามีโอกาสทำงานด้านมนุษยธรรมที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยในพื้นที่สงครามและความขัดแย้งนาน 12 ปี ใน 8 ประเทศ ได้แก่ ซูดานใต้ ซูดานเหนือ ชาด ยูกันดา บังกลาเทศ ฟิลิปปินส์ เมียนมา และไทย ทำให้กัณวีร์มีความเชี่ยวชาญด้านผู้ลี้ภัย มนุษยธรรม สิทธิมนุษยชน สันติภาพ ความมั่นคง ไปจนถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กัณวีร์และพรรคเป็นธรรมตั้งใจที่จะสร้าง ‘การเมืองใหม่’ ที่เน้นคุณค่าของประชาธิปไตยและประชาชนเป็นหลัก รวมถึงผลักดันแนวคิดมนุษยธรรมนำการเมือง สันติภาพกินได้ และการสร้างเสรีภาพโดยเฉพาะในพื้นที่ปาตานี […]

เบื้องหลังความเปล่งประกายของวงการ K-POP ที่เต็มไปด้วยความจริงอันยากจะยอมรับ

‘เกาหลีใต้’ คือหนึ่งในประเทศที่ตลาดเพลงเติบโตเร็วที่สุดในโลก ส่วนสำคัญเกิดจากอุตสาหกรรม ‘เคป็อป (K-POP)’ ที่สร้างรายได้ให้กับประเทศมากถึง 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี (ราว 327,000 ล้านบาท) สื่อบันเทิงประเภทนี้กำลังสร้างปรากฏการณ์และได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ทั่วโลก จึงไม่แปลกใจที่เคป็อปจะกลายเป็นหนึ่งใน Soft Power ส่งออกวัฒนธรรมเกาหลีใต้ได้อย่างทรงพลัง เคป็อปก้าวเข้าสู่เวทีระดับโลกจากแนวดนตรีที่มีเมโลดีฟังง่าย สนุกสนาน ฟังครั้งแรกก็ติดหู พร้อมกับการเต้นที่แข็งแรง พร้อมเพรียง และเป๊ะแบบสุดๆ ไม่เพียงเท่านั้น ‘ศิลปินเคป็อป’ หรือ ‘ไอดอลเคป็อป’ ยังมีภาพลักษณ์ที่โดดเด่น น่าหลงใหล และมีเสน่ห์เฉพาะตัว แต่เบื้องหลังของวงการที่หลายคนมองว่าสมบูรณ์แบบนั้นอาจไม่ได้น่าชื่นชมเหมือนภาพลักษณ์ที่ถูกนำเสนอ คอลัมน์ Report ประจำเดือนนี้ขอพาไปสำรวจหลากหลายด้านมืดของวงการเคป็อป ไม่ว่าจะเป็นสัญญาทาสที่เอาเปรียบศิลปิน การล่วงละเมิดทางเพศ และการทำให้ผู้เยาว์เป็นวัตถุทางเพศ ซึ่งล้วนเป็นพิษและอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อทั้งศิลปินและแฟนคลับทั่วโลก Promise Youสัญญาทาสที่เอาเปรียบศิลปิน ช่วงเวลาก่อนไอดอลเคป็อปไม่ว่าเดี่ยวหรือกลุ่มจะเปิดตัวในฐานะศิลปินสู่สาธารณชนอย่างเป็นทางการ หรือที่เรียกว่า ‘เดบิวต์’ พวกเขาต้องผ่านการเข้าร่วมโปรแกรมเทรนนิงในฐานะ ‘เด็กฝึก’ หรือ ‘เทรนนี’ ของค่ายเพลง เพื่อพัฒนาและฝึกฝนทักษะต่างๆ อย่างหนักหน่วง ทั้งการเต้น การร้องเพลง การแสดง ฯลฯ ภายใต้ตารางกิจวัตรประจำวันและกฎที่เข้มงวด […]

ผู้หญิงอิหร่านนำประท้วงใหญ่ในรอบ 40 ปี เรียกร้องสิทธิสตรี เสรีภาพ และขับไล่เผด็จการ

ศตวรรษที่ 21 ถือเป็นยุคที่โลกล้ำหน้าแบบสุดขีด ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์ เทคโนโลยี ไปจนถึงวงการอวกาศที่ไปไกลถึงขั้นค้นพบดาวดวงใหม่นอกระบบสุริยจักรวาล แต่ขณะเดียวกัน โลกของเราก็ยังมีปัญหาเดิมๆ ที่พัฒนาช้ามากๆ หรือไม่ถูกแก้ไขสักที โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ทำให้ทั่วโลกมีการประท้วงเรียกร้องสิทธิ ความเท่าเทียม รวมถึงคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิมออกมาให้เห็นกันอยู่เรื่อยๆ เหมือนเมื่อหลายร้อยปีก่อน หนึ่งในมูฟเมนต์ที่น่าจับตามองและได้รับการพูดถึงมากที่สุดในปีนี้คือ ‘การประท้วงในประเทศอิหร่าน’ ที่ประชาชนทั่วประเทศต่างลงถนนประท้วงเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพของผู้หญิง หลังเหตุการณ์เสียชีวิตของ ‘มาห์ซา อามินี’ หญิงสาววัย 22 ปี ที่ถูกตำรวจศีลธรรมจับกุมตัวเพียงเพราะเธอสวมฮิญาบคลุมศีรษะไม่มิดชิดมากพอ นอกจากจะเรียกร้องความยุติธรรม การประท้วงครั้งนี้ยังนำไปสู่การประท้วงเชิงสัญลักษณ์ของสตรีอิหร่าน ทั้งตัดผม เผาฮิญาบ ชูนิ้วกลางใส่รูปผู้นำสูงสุด เป็นการแสดงออกถึงความโกรธแค้นที่ไม่เคยเกิดขึ้นให้เห็นมาก่อนในรัฐอิสลามแห่งนี้  มากไปกว่านั้น การใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่รัฐและกฎหมายที่กดขี่เอาเปรียบผู้หญิงมาอย่างยาวนาน ยังนำไปสู่การต่อต้านรัฐบาลเผด็จการที่อาจเปลี่ยนความเชื่อและค่านิยมในสังคมอิหร่านไปตลอดกาล ชนวนประท้วงครั้งใหญ่ในอิหร่าน เริ่มกันที่สาเหตุของการลุกฮือครั้งนี้ ด้วยการย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2565 ซึ่งเป็นวันที่ ‘มาห์ซา อามินี’ หญิงสาวชาวเคิร์ดวัย 22 ปี ถูกกลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เรียกว่า ‘ตำรวจศีลธรรม (Morality Police)’ จับกุมตัวในกรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน […]

เข้าใจสิทธิกับสิ่งแวดล้อมผ่าน 4 สารคดีที่ยืนยันว่าทุกคนควรเข้าถึงอากาศสะอาด ชมฟรีที่ House Samyan 9 – 12 ธ.ค. 65

ปัจจุบันโลกของเรากำลังเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การจัดการทรัพยากร การอพยพย้ายถิ่นฐาน สาธารณสุข และความขัดแย้งระดับนานาชาติที่ล้วนเชื่อมโยงกัน ความเสียหายที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในหลายพื้นที่จึงกลายเป็นภัยคุกคามต่อการเข้าถึงสิทธิมนุษยชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้เมื่อเดือนกรกฎาคม 2565 ที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้รับรองว่า การเข้าถึงสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ดีต่อสุขภาพ และยั่งยืน เป็นสิทธิมนุษยชนที่มนุษย์ทุกคนพึงมี เนื่องจากวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปีตรงกับ ‘วันสิทธิมนุษยชนสากล’ เราจึงอยากชวนทุกคนร่วมงาน ‘Our Right to Live on a Healthy Planet’ เพื่อทำความเข้าใจความสัมพันธ์ของสิทธิมนุษยชนและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมกับสภาพภูมิอากาศให้มากขึ้น ผ่าน 4 ภาพยนตร์สารคดี ได้แก่ 1) สายเลือดแม่น้ำโขง Special : Edition (2022)ผู้กำกับ : ธีรยุทธ์ วีระคำประเทศ : ไทย 2) Losing Alaska (2018)ผู้กำกับ : ทอม เบิร์กประเทศ : ไอร์แลนด์ 3) สายน้ำติดเชื้อ (2013)ผู้กำกับ […]

ลาก่อนกิจกรรมที่สร้างความไม่เท่าเทียม สโมสรนักศึกษา ม.มหิดล ประกาศยกเลิกประชุมเชียร์และกิจกรรมประกวดดาวเดือน

ประเด็นเรื่องสิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมได้กลายเป็นคุณค่าที่สังคมไทยเริ่มตระหนักรู้และยึดถือ นอกจากมีกลุ่มคนที่ออกมาเคลื่อนไหวรณรงค์เกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้อย่างขันแข็งแล้ว หน่วยงาน องค์กร และสถานศึกษาจำนวนไม่น้อยก็ขยับปรับตัวให้ทันตามยุคสมัย เห็นได้จากโรงเรียนและมหาวิทยาลัยหลายแห่งที่ออกมายกเลิกกิจกรรมกับวัฒนธรรมที่ล้าสมัย ไม่สอดคล้องกับเทรนด์สังคมปัจจุบัน ล่าสุด สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลก็ได้ออกมาประกาศยกเลิกกิจกรรมประชุมเชียร์ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน และยกเลิกกิจกรรม MU Ambassador หรือที่หลายคนคุ้นชินกันในชื่อกิจกรรมประกวดดาว-เดือน รวมถึงกิจกรรมที่ส่งเสริมสิทธิพิเศษของคนที่มีหน้าตาดีตรงตามมาตรฐานสังคม (Beauty Privilege) ทุกรูปแบบ ตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป นี่ไม่ใช่แค่สิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นเท่านั้น แต่หากย้อนไปดูปรากฏการณ์ทำนองนี้ในช่วง 2 – 3 ปี จะพบว่ามีมหาวิทยาลัยจำนวนไม่น้อยที่ออกมาเคลื่อนไหวในประเด็นความไม่เท่าเทียมที่เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัย ตั้งแต่ยกเลิกกิจกรรมรับน้องที่เข้มงวด ระบบโซตัสที่แบ่งแยกรุ่นพี่-รุ่นน้อง ห้องเชียร์ที่บังคับนิสิตนักศึกษาเข้าร่วม ไปจนถึงกิจกรรมประกวดหาตัวแทนคณะและมหาวิทยาลัยที่มีหน้าตากับบุคลิกภาพดี เป็นต้น ยกตัวอย่างเมื่อปี 2020 องค์การบริหาร องค์การนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ก็ออกมายกเลิกการประกวดทูตกิจกรรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน หลังจากสำรวจความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อกิจกรรมนี้ พบว่า 55.6% ของผู้เข้าร่วมทำแบบสอบถามทั้งหมด 1,272 คน ไม่เห็นด้วยกับการประกวด และเห็นควรให้ยกเลิกการประกวดดังกล่าว นอกจากนี้ องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ก็ออกมาประกาศยกเลิกกิจกรรมการประกวดดาว-เดือน และอีกหลายๆ คณะของมหาวิทยาลัยในไทยก็ตบเท้าเข้าร่วมมูฟเมนต์นี้เช่นกัน แม้แต่ในงานบอลประเพณี […]

สื่อไทยต้องกล้าเปลี่ยน : ‘พัชญ์สิตา ไพบูลย์ศิริ’ สื่อมวลชนที่อยากผลักดันเพศเท่าเทียม

กรกฎาคม 2021 Thaipublica.org รายงานว่า ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ไทยผลิตซีรีส์วายมากถึง 40 เรื่อง และในปีเดียวกันนั้น คาดว่าจะมีซีรีส์มากถึง 90 เรื่อง มองเผินๆ คุณคงคิดว่า ประเทศนี้เฟรนด์ลี่กับคนที่มีความหลากหลายทางเพศเอามากๆ แต่เปล่าเลย นี่เป็นเพียงฟิกชันในหนังสือ และสื่อเพื่อเอนเตอร์เทนเมนต์ ไม่ใช่เรื่องจริง  เช่นเดียวกับมายาคติ ‘ไทยคือสรวงสวรรค์ของ LGBTQ+’ ที่ผลิตซ้ำพร่ำเพรื่อ แต่ในชีวิตจริงคือขั้วตรงข้าม คู่รักเพศเดียวกันยังลงเอยทางกฎหมายไม่ได้ มิหนำซ้ำชุมชนเพศหลากหลายยังคงเผชิญอคติ ถูกลิดรอนสิทธิซ้ำๆ โดยไม่มีกฎหมายหรือนโยบายมารองรับสิทธิที่ควรจะเป็น จนทุกวันนี้ สังคมไทยยังสะสมการกดทับนานหลายเจเนอเรชัน มีการเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมประเด็นเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า เมื่อความเท่าเทียมทางเพศไม่มีจริง การเรียกร้องเรื่องซ้ำๆ จึงเป็นสัจธรรมของรัฐแห่งการเพิกเฉย นั่นคือเหตุผลที่ผลักให้ อั้ม-พัชญ์สิตา ไพบูลย์ศิริ สื่อมวลชนรุ่นใหม่ เดินหน้านำเสนอประเด็นซัปพอร์ตสิทธิความเท่าเทียมทางเพศตั้งแต่เธอเรียนจบปริญญาตรีด้านวารสารศาสตร์ อั้มเคยเขียนบทความสิทธิมนุษยชนจากประสบการณ์ส่วนตัวเรื่อง ประเทศไทย : ดินแดนสวรรค์ (หลอกๆ) ที่คนข้ามเพศถูกผลักออกได้ทุกวินาที จนได้รับรางวัล Writers that Matters : นัก (อยาก) เขียน […]

กฎหมายใหม่อาจทำให้เยาวชนข้ามเพศในสหรัฐอเมริกา เสี่ยงไม่ได้รับการรับรองเพศและการรักษาพยาบาล

เยาวชนและคนหนุ่มสาวข้ามเพศในสหรัฐอเมริกาจำนวนมาก มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับการดูแลด้านสุขภาพและการยืนยันเรื่องเพศ เพราะการประกาศห้ามในรัฐมากกว่า 12 รัฐ  ทั้งนี้จำนวนเยาวชนข้ามเพศอายุ 13-17 ปี ประมาณ 150,000 คน ซึ่งกว่า 10,000 คนอาศัยในรัฐเท็กซัสและอาร์คันซอซึ่งเป็นรัฐแรกที่เริ่มประกาศใช้กฎหมายและข้อบังคับแล้ว โดยยังมีเยาวชนข้ามเพศจำนวนอีกประมาณ 43,000 คนอาศัยในรัฐอื่นๆ ซึ่งกำลังมีการพิจารณาข้อบังคับเหล่านี้อยู่ด้วย สถานการณ์ในเท็กซัส เมื่อเดือนที่แล้ว ผู้ว่าการ Greg Abbott สั่งให้หน่วยงานของรัฐตรวจสอบครอบครัวของเยาวชนข้ามเพศ พบว่ามีเยาวชนมากถึง 23,700 คนกำลังเสี่ยงต่อการสูญเสียสิทธิที่จะยืนยันเพศในทางสาธารณสุข แม้มีวิจัยจำนวนมากชี้ให้เห็นว่าการดูแลเรื่องเพศช่วยซัปพอร์ตสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของคนข้ามเพศในภาพรวม แต่นโยบายทั้งในเท็กซัสและอาร์คันซอกลับเป็นไปตามคำสั่งศาล  ส่วนในรัฐอื่นๆ อีกหลายสิบแห่ง ก็ได้ออกกฎหมายจำกัดสิทธิรักษาพยาบาลที่จะช่วยยืนยันเรื่องเพศสำหรับผู้เยาว์ในทำนองเดียวกันออกมา เช่น บุคลากรทางการแพทย์และครอบครัวที่ช่วยให้เยาวชนข้ามเพศเข้าถึงการดูแลสุขภาพจะกลายเป็นอาชญากร รวมถึงการห้ามไม่ให้สิทธิต่างๆ ครอบคลุมในประกันสุขภาพ หรือการเข้าถึงกองทุนรัฐ โดยกฎหมายมักพุ่งเป้าไปที่ขั้นตอนการผ่าตัดแปลงเพศ  ตัวอย่างเช่น ในไอดาโฮ ร่างกฎหมายที่ผ่านสภาในเดือนนี้ จะตั้งข้อหาทางอาญากับพ่อแม่และผู้ให้บริการทางการแพทย์ และหากช่วยเหลือผู้เยาว์ที่เป็นคนข้ามเพศให้ได้รับการเปลี่ยนเพศตรงตามอัตลักษณ์จะต้องถูกจำคุกตลอดชีวิต  ผู้นำ GOP (พรรคริพับลิกัน) กล่าวไว้ว่ากฎหมาย HB 675 ตัวนี้ ลิดรอนสิทธิของผู้ปกครอง โดยรัฐบาลเข้าไปบงการอำนาจการตัดสินใจทางการแพทย์ของพ่อแม่และลูกๆ ซึ่งเขาเชื่อว่าการตัดสินใจที่ดีที่สุดเกี่ยวกับทางเลือกด้านการรักษาพยาบาลสำหรับเด็กนั้นควรมาจากพ่อแม่และผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ด้วย Source : VICE […]

‘คุก’ พื้นที่ไร้สิทธิที่ไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของเมืองในมุมมอง ‘รุ้ง ปนัสยา’

รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล แกนนำนักศึกษาหญิงจากแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ ถูกจองจำในเรือนจำมาแล้ว 3 ครั้ง ส่วนอีก 1 ครั้งหลังคือ การใส่กำไล EM จำกัดพื้นที่ในเคหสถาน ถ้าย้อนกลับไปเกือบสามปีก่อน เราคงจินตนาการไม่ออกเลยว่าการเรียกร้องประชาธิปไตยจะมาไกลและมีการพูดถึงปัญหาตรงไปตรงมาอย่างในตอนนี้ แต่การกล้าตั้งคำถาม การเสนอแนวทางให้สถาบันปรับตัว และการขับไล่เผด็จการ ก็ต้องแลกมาด้วยพันธนาการผู้เรียกร้องครั้งแล้วครั้งเล่า  จากการติดตามข่าวคราวของรุ้งและแกนนำคนอื่นๆ ช่วงที่อยู่ในเรือนจำ เราสังเกตเห็นว่าข่าวเหล่านี้ถูกเล่าในวงจำกัด มีการนำเสนอเฉพาะกลุ่มบนโซเชียลมีเดีย จากบุคคลหรือสำนักข่าวเจ้าเดิมๆ ส่วนสื่อกระแสหลัก หรือสื่ออนุรักษนิยม เราไม่เคยได้รับข้อมูลที่ตีแผ่ความเป็นจริงส่วนนี้เลย ช่วงเกือบสิ้นปีที่แล้ว ก่อนรุ้งเข้าเรือนจำเป็นครั้งที่สาม เราถามเธอ จากข้อสังเกตส่วนตัวว่า คิดยังไงที่ ‘ทัณฑสถาน’ หรือ ‘คุก’ เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของเมืองที่แทบไม่เคยถูกพูดถึง และแน่นอน มันเป็นพื้นที่ลับแลที่คนส่วนหนึ่งไม่แยแสว่ามีปัญหามากมายสะสม นั่นหมายถึงคุณภาพชีวิตต่ำเตี้ยเรี่ยดินของผู้ต้องขังที่ไม่เคยถูกยกระดับ และกระบวนการยุติธรรมบิดเบี้ยวที่ไม่เคยได้รับการแก้ไข คุก : พื้นที่ห่างไกลเมืองและศิวิไลซ์  “คุก ส่วนใหญ่อยู่ไกลจากพื้นที่ชุมชน โดยเฉพาะคุกที่เกิดขึ้นใหม่ หรือคุกในต่างจังหวัด เพื่อให้ตั้งอยู่ไกลจากเมือง และเพื่อให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่ เขาคงไม่อยากให้คุกอยู่ในชุมชน แต่ถ้าคุกอยู่ไกลชุมชนมากๆ ก็จะทำให้ผู้ต้องขังลำบากมาก เพราะทนายความและญาติไปเยี่ยมได้ยาก สิ่งนี้สำคัญต่อผู้ต้องขังมาก ถ้าขาดตัวกลางนี้ไปก็แปลว่าคนข้างในจะไม่ได้รู้เรื่องข้างนอกเลย “มันจะทำให้คนข้างในมีความเครียดสูงขึ้นมากๆ […]

100 ภาคีจัด Good Society แบบ Virtual Event ธีม Hope In Crisis เพื่อสังคมที่ดีของทุกคน

เมื่อเชื่อว่าเราทุกคนต้องอยู่ด้วยกันให้ดีและมีความสุขให้ได้ Good Society หรือเครือข่ายสังคมดี เลยชักชวนทุกคนออกมาสร้างสรรค์สังคมที่พวกเราอยากจะอยู่ไปพร้อมกันในวันที่ 19-21 พฤศจิกายน 2564 ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังไม่หมดไป ในปีนี้เครือข่าย Good Society จึงกลับมาอีกครั้งในรูปแบบ Virtual Event ที่ชวนทุกคนมาร่วมกิจกรรมดีๆ อย่าง Good Society Summit 2021 และในช่วงเวลาเช่นนี้ ที่ ‘ความหวัง’ เป็นสิ่งสำคัญ งานในครั้งนี้จึงมาในธีม “Hope In Crisis ในวิกฤติยังมีหวัง” ครอบคลุมกิจกรรมที่น่าสนใจถึง 3 รูปแบบ ทั้ง Learn, Action และ Scale Impact จัดเต็มตลอด 3 วันแบบจุใจ หนึ่งคือ Learn เวทีระดมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาสังคม ที่จะชวนทุกคนร่วมกันคิดและพูดคุยถึงเป้าหมายของประชาชน ในประเด็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น การลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มคุณภาพชีวิต โดยไม่ลืมที่ชวนจะเป็น Active Citizen พลเมืองที่มีส่วนร่วมเพื่อส่วนรวม […]

ภาคีSaveบางกลอย ชวนระดมอาหารช่วยคนบางกลอยที่ขาดสารอาหารอย่างหนัก

ชาวหมู่บ้านบางกลอยคือกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่มีบ้านอยู่ใน ‘ใจแผ่นดิน’ แถบจุดศูนย์กลางของป่าแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งแต่เดิมทุกคนอาศัยอยู่ที่นั่นมาเป็นเวลาร่วม 100 ปี ก่อนการเป็นอุทยานแห่งชาติ ด้วยวิถีการเกษตรที่มีความเกื้อกูลกันระหว่างคนและป่า แต่ในตอนนี้ชาวบางกลอยกลับถูกรัฐขับไล่ให้ออกจากบ้านที่เคยอยู่กันมาชั่วชีวิต ด้วยการให้เหตุผลว่าคนเหล่านี้บุกรุกพื้นที่ป่า จนต้องย้ายมาอยู่ที่บางกลอยล่าง และบ้านโป่งลึก สถานที่ที่ปลูกพืชไม่ได้ ทำเกษตรกรรมไม่ได้ ทำให้ชาวบางกลอยตัดสินใจเดินทางกลับบ้านที่เคยอยู่ ในขณะที่รัฐตอบโต้ด้วยวิธีการที่แข็งกร้าว และดำเนินคดีกับพี่น้องบางกลอยโดยไม่ใส่ใจมิติทางวัฒนธรรม ซึ่งแม้ช่วงต้นปี 2564 ชาวบางกลอยจะลุกขึ้นมาเรียกร้องความยุติธรรมให้ตัวเอง แต่จนปัจจุบันจะสิ้นปีแล้ว ก็ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ และแน่นอน ทุกคนยังคงมีชีวิตที่ยากลำบาก เพราะไม่มีที่ดินทำกิน ไม่มีรายได้ ไม่มีอาหาร นำมาสู่การตกงาน และการเข้ามาดิ้นรนในเมืองแต่กลับได้เงินค่าตอบแทนน้อยมาก  ที่สำคัญคือภาวะการขาดสารอาหารของคนในชุมชน โดยเฉพาะแม่ลูกอ่อนที่ไม่มีน้ำนมให้ลูกกิน เด็กจึงมีภาวะผอมหัวโต ทำให้สถานการณ์ต่างๆ อยู่ในระดับวิกฤติ และเมื่อมีความป่วยไข้ทั้งจากภาวะขาดสารอาหารหลักร้อยคน และจากการเกิดโรคระบาดตามฤดูกาล แต่พวกเขากลับเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ยากมากอีกด้วย ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการที่ ภาคี Saveบางกลอย ชวนทุกคนให้มาช่วยระดมอาหารและปัจจัยที่จำเป็นต่อสถานการณ์วิกฤติในตอนนี้อย่างเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น แม้ปัญหาเหล่านี้จะเป็นปัญหาลูกโซ่ที่รัฐไม่แก้ให้เหมาะสมสักทีก็ตาม  สิ่งที่ชาวหมู่บ้านบางกลอยจำเป็นต้องใช้อย่างมากก็คือ 1. ข้าวสาร 2. อาหารแห้ง จำพวกอาหารทะเลแห้ง ปลาแห้ง และหมูแห้ง เป็นต้น 3. นมผงสำหรับเด็กทารกและเด็กเล็ก […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.