กชกร วรอาคม กับปณิธานการออกแบบพื้นที่สาธารณะเพื่อผู้คนในยุคนี้และยุคหน้า

“Can we fix the climate problem in one generation?” เป็นคำถามที่กชกร วรอาคม ถามกับตัวเอง เป็นคำถามที่ทำให้เธอที่เป็นมนุษย์ตัวเล็กๆ บนโลก เริ่ม ‘ลงมือทำ’ หลายสิ่งหลายอย่าง เป็นคำถามที่เธอพูดในคลิป ที่ท่านเซอร์ เดวิด แอทเทนเบอเรอห์ นักธรรมชาติวิทยาคนสำคัญ นำไปเปิดประกอบสปีชที่ COP26 หรือการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 ณ เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ เมื่อเดือนที่ผ่านมา ซึ่งกชกรได้เข้าร่วมเพื่อรับรางวัลด้านการออกแบบจาก UN เป็นคำถามที่เธอถามกับผู้คนที่มาร่วมงานประกาศเดินหน้าธุรกิจควบคู่กับการกู้วิกฤตโลกของ SCG หรือ SCG ESG Pathway เริ่มด้วยกัน เพื่อเรา เพื่อโลก ในครั้งนี้ และ My answer would be yes. We have to. เป็นประโยคที่เธอตอบคำถามของตัวเอง ‘กชกร วรอาคม’ หรือที่หลายคนเรียกว่า ‘อาจารย์กช’ ตามบทบาทภูมิสถาปนิก พ่วงด้วยอาจารย์พิเศษด้านภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เป็นทีมงานออกแบบโปรเจกต์พื้นที่สาธารณะเด่นๆ หลายที่ ไม่ว่าจะเป็นโครงการอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ, สวนหลังคาอุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี ที่ธรรมศาสตร์ รังสิต, Siam Green Sky สวนเกษตรลอยฟ้า สยามสแควร์, สวนบำบัดลอยฟ้าที่โรงพยาบาลรามาธิบดี, ทางเดินคนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา ที่ดัดแปลงจากโครงสร้างเดิมของโครงการรถไฟฟ้าลาวาลิน, สวนสาธารณะเลียบคลองช่องนนทรี และงานอื่นๆ อีกมากมาย สาวแพสชันสูงคนนี้ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในเวทีระดับโลกต่างๆ เธอเป็นคนไทย 1 ใน 3 คน ที่ติดอยู่ในลิสต์ ‘TIME 100 […]

Sher Maker : สตูดิโอสถาปนิกที่หยิบภูมิปัญญาและงานช่างถิ่นเชียงใหม่มาสร้างสรรค์งาน

Sher Maker คือสตูดิโอสถาปนิกขนาดเล็กๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งโดยสองสถาปนิก ‘ตุ๋ย-พัชรดา อินแปลง’ และ ‘โอ๊ต-ธงชัย จันทร์สมัคร’  สตูดิโอแห่งนี้มีมาตั้งแต่ปี 2561 เต็มไปด้วยผลงานสร้างสรรค์ที่คว้ารางวัลด้านสถาปัตยกรรมจำนวนมาก แม้แต่สตูดิโอของพวกเขาก็เพิ่งได้รับรางวัลสูงสุดในสาขา Small working interior of the year จาก Dezeen นิตยสารสถาปัตยกรรมชื่อดังระดับโลก และได้รับการกล่าวขวัญจากสื่อต่างๆ ทั้งไทยและต่างประเทศบ่อยครั้ง ที่สำคัญสถาปัตยกรรมของสองผู้ก่อตั้งยังเต็มไปด้วยการขับเน้นเสน่ห์ของบรรยากาศให้แสดงออกมาได้อย่างเต็มที่ รายละเอียดอันเป็นเอกลักษณ์ในงานของ Sher Maker มาจากการที่ทั้งคู่ต่างเคยเป็นคนทำงานคราฟต์มาก่อน ตุ๋ยเคยทำสมุดทำมือกับเพื่อนในนามแบรนด์ ดิบดี (Dibdee.Binder) ซึ่งได้รับความนิยมมาก ส่วนโอ๊ตเคยมีชื่อเสียงอย่างมากจาก Brown Bike จักรยานที่ทำด้วยวัสดุไม้ไผ่ จนมีผู้สนใจจากทั่วโลกเดินทางมาร่ำเรียนกับเขาถึงเชียงใหม่ เมื่อสองสถาปนิกสายคราฟต์จับมือกันทำงาน ทำให้งานสถาปัตยกรรมของพวกเขามีการนำเสนองานฝีมือต่างๆ มาใช้กับทั้งภายในและภายนอกอาคารอย่างน่าสนใจ และยังสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้กับงานฝีมือในภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วย Sher Maker เชื่อมศาสตร์เหล่านี้เข้าด้วยกันอย่างลงตัวได้อย่างไร วันนี้เราจะชวนตุ๋ยมาพูดคุยเพื่อถอดโครงสร้างทางความคิดเบื้องหลังงานออกแบบสถาปัตยกรรมต่างๆ ของพวกเขาให้ทุกคนได้รู้กัน สองสถาปนิกสาย Maker นักทำงานคราฟต์ตัวยง “เราและพี่โอ๊ตต่างเป็น Maker เป็นคนชอบงานคราฟต์ […]

Wuhan City Pavilion & Kindergarten อาคารในอู่ฮั่นที่เป็นทั้งพาวิลเลียน โรงเรียนอนุบาล และที่จัดนิทรรศการ

เมื่อไม่นานมานี้ ทีมสตูดิโอสถาปนิกสัญชาติจีนชื่อ ATELIER XI ได้ออกแบบสร้างอาคารพาวิลเลียนและโรงเรียนอนุบาลเมืองอู่ฮั่น (Wuhan City Pavilion & Kindergarten) จนเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งตัวอาคารแห่งนี้ตั้งอย่างโดดเด่นอยู่ใน Hankou ซึ่งห่างจากจุดที่เคยมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ครั้งแรกเพียง 1 กิโลเมตร สถาปัตยกรรมนี้เพิ่งสร้างเสร็จแบบสดๆ ร้อนๆ หลังแผนการสร้างได้ถูกระงับไปในช่วงครึ่งหลังของปี 2019 เพราะเชื้อโควิดที่ปะทุขึ้นมาทั่วทั้งเมือง ทว่าเมื่อเมืองกลับมาเปิดได้ใหม่อีกครั้ง โครงการก็สามารถดำเนินการต่อได้อย่างราบรื่นดี ในปี 2019 ทีมสถาปนิก ATELIER XI ได้รับการว่าจ้างให้ดีไซน์โรงเรียนอนุบาลที่มีขนาด 6 ห้องเรียนมาตรฐานในเมืองอู่ฮั่น นอกจากความท้าทายด้านงานก่อสร้างตึกในช่วงวิกฤติเชื้อไวรัสแพร่ระบาด โจทย์แสนยากต่อมา ก็คือการสร้างอาคารที่รับบทบาทเป็นทั้งพาวิลเลียนขายสินค้าชั่วคราว เป็นห้องโถงจัดแสดงนิทรรศการในปีแรกที่สร้างแล้วเสร็จ และจะเป็นโรงเรียนอนุบาลสำหรับเด็กๆ ในภายหลัง โดยทำให้อาคารมีความพร้อมต่อการปรับเปลี่ยนฟังก์ชันได้ในช่วงเวลาต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ โครงการนี้จึงตั้งใจสร้างด้วยแนวคิดการประหยัดต้นทุน เพื่อให้ใช้สอยพื้นที่ได้อย่างคุ้มค่าและอรรถประโยชน์ โดยหลีกเลี่ยงการรื้อถอนตึกซึ่งจะสร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้ในอนาคต ทีมออกแบบ ATELIER XI พยายามจะแบ่งย่อยอาคารนี้ให้เป็นยูนิตต่างๆ ที่ปรับเปลี่ยนได้ ฟังก์ชันเชิงพื้นที่จึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้เรื่อยๆ โดยตัวโครงสร้างที่เสร็จสมบูรณ์ของอาคารจะมี ‘ช่องว่าง’ ต่างๆ ที่เชื่อมต่อกันด้วยช่องว่างภายในที่มีรอยพับอันซับซ้อน ซึ่งเราสังเกตเห็นได้ทั้งในบริเวณด้านหน้าและหลังคาที่อยู่ภายนอกอาคาร ช่วงเริ่มต้นของการออกแบบ […]

WAY รีดีไซน์ท่าเรือรีสอร์ตดังในจีนเป็นท่าเรือทอดสู่ทะเล

สตูดิโอสถาปัตยกรรม WAY ในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ได้รับมอบหมายจากรีสอร์ต Aranya (安啊呀) จุดท่องเที่ยวยอดฮิตของชาวจีนในเขตเป่ยไต้เหอ เพื่อรับหน้าที่ออกแบบท่าเรือคนเดินที่เคยมีอยู่แต่เดิมเสียใหม่ การออกแบบใหม่นี้คือการสร้างท่าเรือออร์แกนิกทอดยาวสู่มหาสมุทร ทำให้ผู้เข้าชมได้โต้ตอบกับสภาพแวดล้อมได้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น การออกแบบท่าเทียบเรือใหม่โดยสตูดิโอ WAY ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติโดยรอบ ท่าเรือจะมีรูปร่างและโครงสร้างออร์แกนิกเรียบง่ายและผสานเข้ากับทะเลและท้องฟ้า เพื่อขับเน้นบรรยากาศอันเงียบสงบของชายทะเลได้อย่างลงตัว  ผลงานของกลุ่มสถาปนิกจากปักกิ่งนี้ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากงานของ Isamu Noguchi ศิลปินและภูมิสถาปนิกชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการออกแบบสร้างเชิงนามธรรมและการตีความพื้นที่ของเขา ที่ช่วยกระตุ้นความคิดจากภายใน มิหนำซ้ำเมื่อมองท่าเรือยื่นออกไปในทะเล ท่าเรือใหม่นี้ก็จะดูลื่นไหลและนุ่มนวล ราวกับว่ามันถือกำเนิดมาจากมหาสมุทรเลยทีเดียว สตูดิโอ WAY เล่าคอนเซปต์ของงานออกแบบไว้ว่า เมื่อพิจารณาจากปัญหาเดิมของท่าเรือ จึงทำช่องเปิดสองช่องขึ้นมาบนแท่นเพื่อช่วยลดแรงดันจากคลื่นทะเล เมื่อคลื่นซัดผ่านโพรงนี้ จะมีน้ำพุ่งขึ้นมาเหมือนน้ำพุ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนปรากฏการณ์ธรรมชาติให้เป็นงานเพอร์ฟอร์แมนซ์ การออกแบบท่าเรือที่เพรียวบางได้รับแรงบันดาลใจมาจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล ไม่เพียงมีความเบาและหน้าตาสวยงาม แต่ยังใช้งานได้จริงและปลอดภัยต่อผู้ใช้ด้วย ทั้งนี้ การออกแบบยังคงรักษาโครงเสาแต่เดิมไว้ให้มากที่สุด เพื่อลดปริมาณการก่อสร้างใต้น้ำลง ทีนี้เลยเป็นมิตรกับทั้งงบประมาณและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากเสียด้วย Sources : Designboom STUDIO WAY ARCHITECTS

The Vessel สถาปัตยกรรมเก๋ทำให้คนอยากตายจริงหรือ?

ในช่วงระยะเวลาเพียงปีกว่าๆ The Vessel แลนด์มาร์กไอคอนิกสุดหรูในแมนฮัตตัน มหานครนิวยอร์ก มีคนเลือกมาจบชีวิตแล้วถึง 4 คน และใช่ ที่น่าตกใจกว่าเดิมคือทั้งสี่เป็นเพียงคนหนุ่มสาวอายุ 14, 19, 21 และ 24 ปีเท่านั้น ทำไมสถานที่พักผ่อนหย่อนใจภาพลักษณ์หรูมากด้วยดีเทลนี้ ถึงกลายเป็นพื้นที่ของการฆ่าตัวตายติดต่อกันเสียอย่างนั้น ทั้งๆ ที่ภาคเอกชนก็พยายามปั้นให้เป็นพื้นที่ที่มีดีไซน์แปลกใหม่ แถมยังมองเห็นทิวทัศน์ของนิวยอร์กได้อย่างน่าตื่นใจ ใครผ่านไปมาก็ต้องหยุดมองเพราะมันโดดเด้งจากพื้นที่แบบไม่มีใครเทียบรัศมี The Vessel เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาสเปซริมแม่น้ำ Hudson ฝั่งตะวันตกของเมือง โปรเจกต์นี้มีทั้งสำนักงานออฟฟิศ ที่พักอาศัย ห้างร้าน และพื้นที่สาธารณะ บนเนื้อที่ 70 ไร่ ซึ่งถูกเรียกว่า Pseudo-Public Space ถ้าให้นิยามง่ายๆ มันคือพื้นที่สาธารณะที่สร้างและพัฒนาโดยเอกชน กรณีของสถาปัตยกรรมวงกตที่หลายคนขนานนามว่ามีลักษณะเหมือนรวงผึ้ง เป็นส่วนหนึ่งในโปรเจกต์อลังการงานสร้างของ Hudson Yards Redevelopment พื้นที่นี้เปิดให้เข้าชมฟรีในชั่วโมงแรกที่เปิดทำการ นอกเหนือจากเวลานี้จะคิดค่าตั๋วบุคคลทั่วไปราคา 10 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบก็เข้าชมได้แบบฟรีๆ  ก่อนไปถึงเรื่องการฆ่าตัวตาย สถาปัตยกรรมนี้เป็นงานศิลปะแบบ Interactive ที่คิดค้นโดย […]

หอพักพยาบาลจุฬาฯ ลบภาพอาคารซ้ำๆ ปั๊มๆ ด้วยฟังก์ชันที่พยาบาลเลือกเอง

มองไกลๆ ‘หอพักพยาบาล’ หลังใหม่ ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ประกอบด้วยอาคารสูงฉาบปูนสีขาวสบายตา 26 ชั้น เรียงรายไปด้วยห้องพัก 523 ห้อง ดีไซน์ระเบียงสลับเป็นแพตเทิร์นฟันปลายึกยัก (นึกถึงศิลปะกระดาษแบบ Pop-up Craft เหมือนกัน) กลางตึกคว้านเป็นรูปทรงบวก หรือสัญลักษณ์อุณาโลมแดง โลโก้สภากาชาดไทยในอดีต  มากกว่าดีไซน์ด้านนอกที่ไม่ค้านสายตาว่าสวย เก๋ ปัง เขยิบไปมองใกล้ๆ อีกนิด จะพบฟังก์ชันที่ตอบโจทย์การใช้งานจริงมากมาย ทั้งอาคารหอพักถูกแยกออกเป็นสองซีก เว้นตรงกลางและด้านข้างไว้รับลมธรรมชาติ พร้อมเปลี่ยนลานจอดรถเก่าให้เป็นพื้นที่สีเขียวหรือ Public Space ที่พยาบาลสามารถออกมานั่งหย่อนใจ คลายเครียดระหว่างพัก เช่นเดียวกับบริเวณตราอุณาโลมแดงที่ตั้งใจไว้เป็นส่วนกลาง ให้นำต้นไม้มาปลูกได้ แค่นั้นยังไม่พอ มุมอินไซด์ใกล้ชิดคนอยู่อาศัยสุดๆ ที่ Plan Architect บริษัทออกแบบสถาปัตยกรรม เจ้าของผลงานลงไปนั่งล้อมคุยกับพยาบาลว่า “หอพักแบบไหนโดนใจทุกคน” ก็ว้าวตั้งแต่ดีไซน์ระเบียงห้องให้มีองศาเฉียงหลบตาตึกตรงข้ามเพื่อเพิ่มความเป็นส่วนตัว แยกฝั่งห้องนอนและสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นสองฝั่ง เพราะไม่ใช่ทุกคนจะสนิทกับรูมเมต (โคตรเรียล) และคำนึงถึงการลดค่าแอร์สูงลิ่วจากสภาพอากาศบ้านเราด้วยเทคนิคระบายความร้อนรอบอาคารยันห้องนอน 01 หอพักพยาบาลที่เป็นมากกว่าห้องติดๆ กัน วรา จิตรประทักษ์ และ เมฆ-นภสร เกียรติวิญญู […]

Edo-Tokyo มิวเซียม 70,000 ตร.ม. ที่ยกบ้านหลังประวัติศาสตร์มาทำหมู่บ้านแห่งสถาปัตย์ญี่ปุ่น

ในวันที่รู้สึกเบื่อๆ เคยลองเสิร์ชเล่นๆ ว่าโตเกียวมีพิพิธภัณฑ์อะไรน่าสนใจบ้าง ผลลัพธ์ที่ออกมาชวนกรี๊ดมาก เมืองนี้ช่างอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพิพิธภัณฑ์นานาประเภท สิ่งพื้นฐานอย่างอาร์ตมิวเซียมและพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์มีแทบทุกแขนง พิพิธภัณฑ์การ์ตูนก็เนืองแน่น ของแปลกที่ไม่น่าเชื่อว่าจะมีก็มากมาย เช่น พิพิธภัณฑ์เกลือ พิพิธภัณฑ์อุปกรณ์และประวัติศาสตร์การดับเพลิง พิพิธภัณฑ์ค่าเงิน พิพิธภัณฑ์ปรสิต ฯลฯ ใครจะไปคิดว่าโตเกียวซึ่งเป็นเมืองหลวงมาตั้งแต่ปี 1869 เพิ่งนึกขึ้นได้ว่า… เฮ้ย! เรายังไม่มีพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์! หลังจากทางการโตเกียวไหวตัวทันว่ายังไม่มีพิพิธภัณฑ์ที่เล่าประวัติศาสตร์ความเป็นมาของกรุงโตเกียวเลย Edo-Tokyo Museum จึงถูกก่อตั้งในปี 1993 ที่เขต Sumida โดยมีสาขาย่อยที่เล่าเรื่องราวผ่านสถาปัตยกรรมและชีวิตของผู้คนคือ Edo-Tokyo Open-Air Architectural Museum ที่เขต Musashino ซึ่งตั้งอยู่คนละฟากของเมืองเลยทีเดียว เพราะต้องใช้พื้นที่ในการจัดแสดง นอกจากจะเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง Edo-Tokyo Open-Air Architectural Museum ยังต่างกับพิพิธภัณฑ์อื่นๆ ตรงที่ไม่ได้เล่าแค่ประวัติศาสตร์และคุณค่าของสิ่งก่อสร้าง แต่เน้นเรื่องวิถีชีวิตของคนสมัยก่อนไม่แพ้กัน เดินดูเองก็ว่าสนุกแล้ว แต่เมื่อได้ Hidehisa Takahashi ภัณฑารักษ์ผู้คร่ำหวอดในวงการจาก Edo-Tokyo Open-Air Architectural Museum มาเล่าให้ฟังถึงความพิเศษของอาคาร 30 หลังบนพื้นที่ […]

ถอดปรัชญาการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ว่าด้วยพื้นที่และเวลา l Shape of Wisdom EP.1

ชวนมาถอดปัญญาของ ‘ผู้ช่วยศาตราจารย์ พิรัส พัชรเศวต’ อาจารย์และอดีตหัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาปนิกผู้มีงานออกแบบอันเป็นเอกลักษณ์ และได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญงานในลักษณะ Modern Tropical เบื้องหลังงานเหล่านี้ล้วนมีที่มาจากแนวคิดที่คำนึงถึงผู้คน สถานที่ สภาพแวดล้อม ทั้งหมดนี้หลอมรวมเป็นปัญญาใน ‘Shape of Wisdom ปัญญาสภาวะ’ รายการที่ชวนนักออกแบบมาพูดคุยเพื่อถอดปัญญาของเขา เหล่านั้นผ่านการตกผลึก ความจริง ความดี และความงามที่อยู่ในงาน

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.