สำรวจสถาปัตยกรรมร่วมสมัยไทย-ไต้หวัน ในนิทรรศการ ‘Infinity Ground’ วันที่ 18 ก.ค. – 6 ส.ค. ที่หอศิลปฯ (BACC) 

นอกจากขึ้นชื่อเรื่องอาหารและศิลปวัฒนธรรมแล้ว ไต้หวันยังโดดเด่นในด้านการออกแบบและสถาปัตยกรรมอาคารสิ่งก่อสร้างไม่แพ้กัน หากใครเคยไปเยือนสักครั้งคงต้องสนุกกับการเดินชมบ้านเมืองของประเทศนี้แน่ๆ ‘Infinity Ground – Thailand and Taiwan Contemporary Architecture Exhibition’ คืองานนิทรรศการที่รวบรวมสถาปัตยกรรมร่วมสมัยของไทยและไต้หวันไว้ในที่เดียว ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ และสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย ที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงวัฒนธรรม สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ร่วมกับคณะสายออกแบบจาก 4 มหาวิทยาลัยในไทย ถือเป็นครั้งแรกของปีที่มีการจัดแสดงผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมจาก 8 บริษัทสถาปนิก ทั้งจากประเทศไทยและไต้หวัน ผ่านมุมมองของ ‘การเลื่อนไหล’ และ ‘การรวมตัว’ ของโลก เพื่อเป็นตัวแทนของความหลากหลายทางวัฒนธรรม สภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาสังคมที่ส่งผลต่องานสถาปัตยกรรมทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ภายในงาน Infinity Ground แบ่งการนำเสนอสถาปัตยกรรมร่วมสมัยของไทยและไต้หวันออกเป็น 2 หมวด ได้แก่ ‘การแลกเปลี่ยนบนผืนดิน’ (Ground Exchanges) และ ‘ความรู้สึกจากผืนดิน’ (Feeling Grounds) ที่แสดงวิถีชีวิตใหม่ของมนุษย์และธรรมชาติผ่านสถาปัตยกรรมบนพื้นฐานร่วมกัน เพื่อให้ผู้เข้าชมงานได้ร่วมหาคำตอบถึงอนาคตของหน้าที่สถาปัตยกรรมต่อผืนดินที่ตั้งอยู่ รวมถึงมองหาการบรรจบกันของสถาปัตยกรรมที่สนองต่อบริบทของถิ่นที่ร่วมกัน นอกจากนี้ยังมีเสวนาและการบรรยายในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวงการสถาปัตย์อีกด้วย ใครที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ลงทะเบียนโดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้ที่ forms.gle/C8T22yDZ8dXVaEEu5 […]

Architecture and the Machine สถาปัตยกรรมที่พื้นที่ทุกระดับเชื่อมถึงกัน ผนวกฟอร์มและฟังก์ชันเข้าไว้เป็นหนึ่งเดียว

‘Georges Batzios’ สตูดิโอออกแบบสถาปัตยกรรมในประเทศกรีซ ได้คิดค้นรูปแบบการสร้างสถาปัตยกรรมที่ผนวกเข้ากับความงามตามแบบศิลปะ เกิดเป็นโปรเจกต์ ‘Architecture and the Machine’ ที่มีความตั้งใจจะหลุดพ้นจากขอบเขตที่มนุษย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล โปรเจกต์นี้เป็นการกำหนดนิยามใหม่ของภูมิสถาปัตย์ด้วยการสร้างลูกผสมที่หลอมรวมรูปแบบงานประติมากรรมให้เข้ากับการใช้งานจริง ในสถานที่ที่ครอบคลุมพื้นที่กว่า 1,600 ตารางเมตร บริเวณตอนเหนือของกรีซ โครงสร้างสถาปัตยกรรมแห่งนี้ถูกออกแบบให้มีลักษณะเป็นทางลาดหลายระดับ ที่จะช่วยให้ผู้เข้าใช้บริการสามารถเดินชมพื้นที่ทุกระดับได้อย่างราบรื่น “ในโปรเจกต์นี้ เราได้ค้นพบและพัฒนาเงื่อนไขการทำงานที่ทำให้ใช้ดีไซน์ได้อย่างอิสระ โดยไม่มีเงื่อนไขใดมาจำกัดมิติศิลปะของเรา เช่น ความไฮบริดในเชิงสถาปัตยกรรม ซึ่งรวมฟอร์มและฟังก์ชันเข้าไว้ด้วยกัน” ตัวแทนสตูดิโอกล่าว ทางเดินหมุนเวียนเหล่านี้ยังทำหน้าที่เป็นเฉลียงกลางแจ้ง 4 ระดับ เกิดเป็นรูปทรงระนาบที่เชื่อมต่อกัน สร้างความรู้สึกของการเคลื่อนไหว เมื่อเส้นที่คมชัดตัดกับโครงสร้างหลัก จะแสดงให้เห็นถึงพื้นผิวที่โฉบเฉี่ยวกับด้านหน้าที่เป็นรูปทรงเรขาคณิต พื้นที่ใช้สอยด้านล่างใช้กระจกล้อมรอบ เพิ่มความโปร่งแสงภายในอาคาร เพื่อที่มองออกไปด้านนอกแล้วจะได้เชื่อมต่อกับภูมิทัศน์ทางธรรมชาติโดยรอบ และสถานที่แห่งนี้ยังมีความกลมกลืนกับธรรมชาติด้วยเหล่าต้นไม้เล็กๆ ที่เรียงรายตามลานลาดชัน แถมเมื่อยืนอยู่บนดาดฟ้าก็มองเห็นวิวของสวนสาธารณะได้อีกด้วย Source :Designboom | bit.ly/3Nfm1tF

Six Frames เปลี่ยนโฉมโรงนาเก่าให้เป็นบ้านร่วมสมัยที่มีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ชั้นแรกถึงห้องใต้หลังคา

‘Lukas Lenherr Architektur’ คือสตูดิโอสถาปัตยกรรมในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ที่แปลงโฉมโรงนาเก่ายุค 1850 ในเมือง Männedorf ให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งในร่างของบ้านที่น่าอยู่และมีหน้าตาร่วมสมัย บริษัทผู้ออกแบบได้เพิ่มโครงสร้างไม้สปรูซ 6 ชิ้นที่มีความแข็งแรงและซับซ้อนภายในโรงนาที่มีอยู่ก่อน เพื่อรองรับโครงสร้างเดิมของโรงนาแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี โครงการนี้จึงถูกตั้งชื่อว่า ‘Six Frames’ โรงนาแห่งนี้มี 3 ชั้น ภายในถูกตกแต่งด้วยไม้ทั้งหมด โดดเด่นด้วยบันไดไม้ที่ใช้เดินไปยังทุกชั้นของบ้าน ส่วนการออกแบบพื้นที่นั้นเป็นไปตามการจัดวางโครงสร้างที่เชื่อมต่อกัน ซึ่งทำให้เกิดพื้นที่ใหม่ที่มีช่องเปิดและแนวสายตาที่หลากหลาย แถมยังช่วยให้มีพื้นที่ใช้สอยขนาดใหญ่ตั้งแต่ชั้นแรกไปจนถึงชั้นใต้หลังคาเลยทีเดียว ผนังของอาคารสร้างจากไม้ใหม่เป็นไม้สนสีเงิน เลือกตกแต่งด้วยวิธี Yakusuzgi เป็นภูมิปัญญาของชาวญี่ปุ่น คือการทำให้ไม้ไหม้เกรียมเพื่อรักษาไม้ให้สามารถคงอยู่ได้นานหลายชั่วอายุคน เมื่อมองจากภายนอก จะเห็นบ้านที่ทำให้รู้สึกถึงโรงนาในชนบทแสนเรียบง่ายแต่ซ่อนดีไซน์สมัยใหม่ไว้ด้านใน Lukas Lenherr Architektur สามารถเปลี่ยนโรงนาที่ค่อนข้างเก่าและธรรมดาให้กลายเป็นที่อยู่อาศัยที่ได้รับการปรับปรุงใหม่พร้อมการตกแต่งภายในที่ละเอียดอ่อน ทำให้บ้านดูน่าสนใจ ถือเป็นอีกหนึ่งไอเดียสำหรับการแปลงโฉมอาคารเก่าหรือสถาปัตยกรรมให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้น  Sources :Designboom | bit.ly/3x61u1MYanko Design | bit.ly/3lqO2mj

Urban Farming Office เปลี่ยนสำนักงานตึกสูงเป็นสวนแนวตั้ง แวดล้อมด้วยธรรมชาติ ผักผลไม้ และสมุนไพร

ภายใต้การขยายของเมืองที่เติบโตอย่างรวดเร็ว คอนกรีตได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้มีหลากหลายปัญหาตามมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขาดพื้นที่สีเขียวจากธรรมชาติ มลพิษทางอากาศ น้ำท่วมและนำไปสู่สภาวะน้ำเค็ม ปรากฏการณ์เกาะความร้อน ฯลฯ  ด้วยเหตุนี้ สตูดิโอสัญชาติเวียดนาม ‘Vo Trong Nghia Architects’ ได้ออกแบบและสร้าง ‘Urban Farming Office’ ออฟฟิศสำนักงานใหญ่ของตัวเองในนครโฮจิมินห์ เป็นอาคารโครงคอนกรีตที่ปกคลุมด้วยฟาร์มแนวตั้ง แวดล้อมไปด้วยพรรณไม้สีเขียวอย่างผักผลไม้และสมุนไพร แกนกลางของอาคารสำนักงานสร้างโดยใช้โครงคอนกรีตเปลือย ในขณะที่โครงสร้างภายนอกทำจากเหล็กบางๆ ทำหน้าที่คล้ายชั้นวางเหล่ากระถางต้นไม้ เพื่อเอื้อต่อการจัดเรียงต้นไม้ใหม่อย่างยืดหยุ่น หรือในกรณีที่ต้นไม้เติบโตขึ้น อาคารสำนักงานแห่งนี้ถูกออกแบบให้เป็นส่วนหนึ่งกับธรรมชาติ ด้วยการมีผนังต้นไม้ที่ปกคลุมด้านทิศใต้ของอาคาร เป็นตัวช่วยทำหน้าที่กรองแสงแดดและอากาศ ป้องกันความร้อนที่สูงเกินไป ทั้งยังสร้างร่มเงาและช่วยตกแต่งภายในสำนักงานอีกด้วย ภายในออฟฟิศ พื้นที่ทำงานถูกจัดไว้รอบๆ โถงกลาง และมีประตูกระจกบานเลื่อน เพื่อเปิดไปยังระเบียงสำหรับเคลื่อนย้ายพืชหรือเก็บเกี่ยวผลผลิตจากกระถาง พร้อมสวนบนชั้นดาดฟ้าสำหรับปลูกพืชที่ต้องการได้อีกในอนาคต  นอกจากนี้ ตัวโครงสร้างคอนกรีตยังถูกปล่อยให้เปิดโล่งทั้งหมด โดยเสริมด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้สีเข้มและไฟประดับแบบมินิมอล เพื่อให้ตัดกับเหล่าต้นไม้ใบเขียวสดใสของฟาซาดอาคารที่เต็มไปด้วยพืชพันธุ์ Urban Farming Office โดย Vo Trong Nghia Architects ถือเป็นอีกหนึ่งสถาปัตยกรรมที่ออกแบบมาเพื่อประโยชน์ใช้สอย และเป็นได้มากกว่าแค่สำนักงานอย่างแท้จริง  Source :Dezeen | bit.ly/3XCW4XN

FYI

Mobility Data Dashboard แพลทฟอร์มช่วยแนะนำนโยบายส่งเสริมท่องเที่ยว ตามศักยภาพเมือง ในวันที่นโยบายท่องเที่ยวแบบเดียวใช้ไม่ได้กับทุกจังหวัด

ปฏิเสธไม่ได้ว่ายุคนี้ข้อมูลคือสิ่งสำคัญในการกำหนดทิศทางของธุรกิจไปจนถึงเศรษฐกิจของประเทศ อุตสาหกรรมรอบตัวเราเริ่มต้นวางแผนงานจากการวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติกันทั้งนั้น เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ถือเป็นส่วนหลักในการขับเคลื่อนประเทศ ถ้าคุณคือคนออกแบบนโยบายสาธารณะหรือเจ้าของธุรกิจสักแบรนด์ที่กำลังมองหาฐานข้อมูลนักท่องเที่ยว เพื่อนำไปพัฒนาแผนงานหรือสินค้าบริการของตัวเอง ‘Mobility Data Dashboard’ คือเครื่องมือที่ช่วยคุณทำแบบนั้นได้อย่างง่ายดาย โปรเจกต์นี้เกิดจากการที่ ดีแทค คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ และบุญมีแล็บ จับมือกันสร้างแพลตฟอร์มเจาะลึกการท่องเที่ยวภายในประเทศผ่านข้อมูลมือถือ ต่อยอดจากการวิจัย ‘Mobility Data เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองรอง’ ให้นักออกแบบนโยบายสาธารณะ ผู้ประกอบการ ผู้สนใจด้านข้อมูล รวมถึงประชาชนทั่วไปเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกด้านการท่องเที่ยวของทั้ง 77 จังหวัดได้อย่างง่ายๆ ละเอียดถึงระดับอำเภอ แถมยังมีบทวิเคราะห์เมืองรอง ที่บอกว่าเมืองรองจังหวัดไหนมีศักยภาพด้านไหน นักท่องเที่ยวกลุ่มไหนชอบไปจังหวัดนั้น และคนในท้องที่ควรพัฒนาสินค้าและบริการของตัวเองแบบไหนเพื่อให้ตอบโจทย์นักท่องเที่ยวได้มากที่สุด ตัวเว็บไซต์ยังถูกออกแบบมาให้ใช้งานง่าย สามารถคลิกดูได้เป็นรายจังหวัดเลยว่ามีอัตราการกระจุกตัวในแต่ละช่วงเวลามากน้อยแค่ไหนในแต่ละพื้นที่ ใครสนใจลองเข้าไปเล่นได้เลยที่ dtac.co.th/mobility-data/dashboard/ หรือถ้าใครอยากรู้ว่าแพลตฟอร์มนี้เจ๋งยังไง เราจะพาไปสำรวจอย่างละเอียดในอัลบั้มนี้กัน ดีแทค คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ และบุญมีแล็บ ได้นำข้อมูลการกระจุกตัวและต้นทาง-ปลายทางของนักท่องเที่ยวจาก Mobility Data Dashboard มาวิเคราะห์ว่ามวยรองอย่างเมืองรองมีศักยภาพในการเป็นเมืองท่องเที่ยวที่ดีขึ้นได้อย่างไร โดยนำข้อมูลเหล่านี้มาจัดทำเป็น ‘ดัชนี’ วัดศักยภาพตามรูปแบบของการเดินทางท่องเที่ยว ประกอบด้วยการท่องเที่ยวไปเช้า-เย็นกลับ การท่องเที่ยวแบบค้างคืน และการท่องเที่ยวแบบกลุ่มจังหวัดหรือคลัสเตอร์ ดัชนีนี้สามารถนำมาวิเคราะห์ศักยภาพของเมืองรองแต่ละจังหวัดว่าควรส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวในรูปแบบไหน จากข้อมูล Mobility Data […]

ท่องกรุงเทพฯ ส่องสถาปัตยกรรม พา New Honda Civic e:HEV RS ไปสร้างไลฟ์สไตล์ในเมือง

ถ้าเป็นคนเราอาจสังเกตรูปร่างหน้าตาภายนอกและพูดคุยเพื่อรับรู้ได้ประมาณหนึ่งว่าเขาเป็นคนแบบไหน แต่สำหรับ ‘เมือง’ การได้ออกไปเห็นอาคาร บ้านเรือน และสถาปัตยกรรมต่างๆ เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เราเข้าใจเรื่องราวความเป็นมาของย่านนั้นๆ ได้เป็นอย่างดีเช่นเดียวกัน  ซึ่งทุกเมืองทั่วโลกล้วนมีเสน่ห์ในตัว ไม่ต่างจากกรุงเทพฯ ที่อัดแน่นด้วยเอกลักษณ์มากมายและยังมีอะไรให้น่าค้นหาอยู่ ไปย่านหนึ่งเราอาจได้บรรยากาศแบบหนึ่ง และเพียงเดินทางไม่นานไปอีกย่านหนึ่ง อาคาร บ้านเรือน และบริบทโดยรอบที่เปลี่ยนไปก็ทำให้เราได้ซึมซับบรรยากาศแปลกใหม่แล้ว จึงไม่แปลกที่ชาวต่างชาติส่วนใหญ่มาเที่ยวในกรุงเทพฯ จะชื่นชอบ จนเอ่ยปากชมกันนักต่อนัก ไหนๆ วันนี้มีเวลาได้ชิล เราขอพาเพื่อนสาวชาว Urban Creature จัดทริปออกไปสำรวจเมืองให้กว้างขึ้น ส่องสถาปัตยกรรมในย่านต่างๆ แวะตามคาเฟ่สุดชิก พร้อมทำคอนเทนต์กับ New Honda Civic e:HEV RS ที่เป็นเจเนอเรชัน 11 ของรุ่น Civic ที่อยู่คู่คนไทยมานาน และครั้งนี้ก้าวสู่มิติใหม่ด้วยระบบขับเคลื่อนฟูลไฮบริด ประหยัดน้ำมันยิ่งกว่าเดิม แต่ยังให้อัตราเร่งที่เร็วแรงเหมือนกับดีไซน์ตัวรถที่ดูสปอร์ตพรีเมียม หรูหราในทุกมุมมอง สอดรับกับไลฟ์สไตล์คนเมืองได้อย่างลงตัว เมื่อเป็นรถที่เข้ากับคนเมืองอย่างเราขนาดนี้แล้ว…งั้นขอสตาร์ทขับไปทั่วเมือง และแวะถ่ายรูปรถคู่กับเมืองย่านต่างๆ มาฝากชาว Urban Creature จะได้เห็นชัดกันเลยว่า New Honda Civic e:HEV RS ดีงามขนาดไหน ความโฮมมี่ ในย่านใจกลางเมือง เริ่มต้นเช้าแบบนี้ ต้องขอแวะดื่มกาแฟกันก่อนที่ […]

Masterplan Esbjerg Strand โปรเจกต์สร้างอาคารการเรียนรู้แห่งใหม่ของเดนมาร์ก ที่ส่งเสริมการใช้ชีวิตและสร้างระบบนิเวศยั่งยืน

หนึ่งในบริษัทสถาปนิกไฟแรงชื่อดังระดับโลกอย่าง ‘Bjarke Ingels Group’ หรือ ‘BIG’ ได้เปิดเผยโปรเจกต์การออกแบบ ‘วิทยาเขตการศึกษาแห่งใหม่’ หรือ ‘New Education Campus’ บนเกาะเอสบีเยร์ (Esbjerg) เมืองท่าทางทะเลของประเทศเดนมาร์ก โดยมีเป้าหมายสร้างสภาพแวดล้อมของเมืองและพื้นที่แคมปัสเพื่อรองรับแพลตฟอร์มการเรียนรู้ใหม่ๆ รวมถึงเปลี่ยนระบบการศึกษาแบบเดิมของประเทศด้วย โครงการนี้ตั้งใจดำเนินการบริเวณพื้นที่ท่าเรือที่เดิมมีขนาด 15,000 ตารางเมตร โดยสถาปัตยกรรมแห่งใหม่นี้จะใช้พื้นที่เพียง 13,700 ตารางเมตร เนื่องจาก BIG ตั้งใจออกแบบอาคารโดยเหลือพื้นที่บริเวณโดยรอบไว้สำหรับสร้างสวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่จะช่วยปกป้องผู้คนในแคมปัสจากลมแรงและเสียงรบกวน ทั้งยังเหมาะกับการนั่งชมทิวทัศน์ของท่าเรือและทะเลด้วย  แคมปัสแห่งใหม่บนเกาะเอสบีเยร์แห่งนี้จะมีความสูงทั้งหมด 7 ชั้นเพื่อป้องกันน้ำท่วมตัวอาคาร ส่วนรูปทรงของตึกจะมีรูปทรงคล้ายคลื่นที่มีความสูงไม่เสมอกัน ซึ่งแนวคิดการออกแบบนี้จะช่วยลดเสียงรบกวน ปรับสภาพลมทั้งบนพื้นดินและบนหลังคาให้เหมาะสม รับแสงแดดให้ได้มากที่สุด และเอื้อให้ทุกคนสามารถมองเห็นวิวของท้องทะเลได้  ที่สำคัญ บริเวณหลังคายังสร้างเป็นสวนดาดฟ้าความยาวหนึ่งกิโลเมตรที่เชื่อมต่อกันทั้งหมด ส่วนพื้นที่ตรงกลางอาคารจะเปลี่ยนให้เป็นสวนที่เต็มไปด้วยต้นไม้เขียวชอุ่ม ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่สงบร่มรื่นภายในแคมปัส ค่อนข้างแตกต่างจากบรรยากาศของอุตสาหกรรมท่าเรือภายนอกมากเลยทีเดียว ไอเดียออกแบบอาคารที่น่าตื่นเต้นของ BIG ชิ้นนี้คือส่วนหนึ่งของแผนการขับเคลื่อนเมืองอย่าง Esbjerg of the Future Vision 2025 ที่มีเป้าหมายเพิ่มประชากรในพื้นที่และผลักดันให้เอสบีเยร์กลายเป็นเมืองที่โดดเด่นด้านการศึกษา โดยมีการอ้างว่าแผนดังกล่าวจะทำให้เมืองนี้มีตำแหน่งแรงงานฝีมือ (Skilled Labor) ที่รองรับทุกคน กลายเป็นผู้ผูกขาดทางพลังงานยั่งยืน […]

Navakitel โรงแรมที่บอกเล่าความเป็นนครศรีฯ ผ่านสถาปัตยกรรมและงานดีไซน์

หากพูดถึงนครศรีธรรมราช ภาพของธรรมชาติอันสวยงาม สถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อทั้งทะเลและภูเขา รวมไปถึงการท่องเที่ยวด้านความศรัทธาอย่างไอ้ไข่หรือจตุคามรามเทพคงขึ้นมาในใจใครๆ หลายคน  จากเมืองรองที่เป็นเหมือนแค่ทางผ่านไปสู่จังหวัดอื่น ปัจจุบันนครศรีธรรมราชคึกคักไปด้วยธุรกิจน้อยใหญ่ของคนรุ่นใหม่ที่กลับบ้านมาพัฒนาเมือง Navakitel Design Hotel คือโรงแรมในจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ไม่เพียงเห็นโอกาสของจังหวัด ทว่าสร้างขึ้นโดยใช้ดีไซน์ที่สะท้อนถึงเรื่องราวในตัวจังหวัดมาเป็นหนึ่งในจุดขาย เป็นทางเลือกให้แขกบ้านแขกเมืองเข้าพัก  ‘เฟิส-วาริชัย บุญประดิษฐ์’ หนึ่งในคนรุ่นใหม่ที่กลับบ้านมาดูแลโรงแรมซึ่งเป็นกิจการของครอบครัว อยากใช้พื้นที่แห่งนี้เป็นหนึ่งในสถานที่จุดประกาย สร้างโอกาสทางการงานให้คนนครฯ ที่อยู่ไกลบ้านได้มีโอกาสกลับมาอยู่ในพื้นที่อีกครั้ง กลับบ้านเพราะเห็นโอกาสในจังหวัด เฟิสเล่าให้ฟังว่า นาวากีเทลเริ่มต้นจากความตั้งใจของครอบครัวที่อยากต่อยอดที่ดินผืนแรกของที่บ้านให้เกิดประโยชน์ โดยที่ตัวเขาเองเพิ่งกลับมาช่วยที่บ้านบริหารหลังจากโรงแรมสร้างเสร็จเมื่อ 3 ปีก่อน “ตอนที่ที่บ้านมีแพลนจะสร้างโรงแรม เรายังเรียนอยู่ที่กรุงเทพฯ ตอนนั้นเลยยังไม่ได้รับรู้ข้อมูลอะไรมากนัก ไม่รู้หรอกว่าเขาจะทำอะไรยังไงบ้าง แต่โรงแรมมาสร้างเสร็จตอนเราเรียนจบพอดี ก็เลยตัดสินใจกลับมาทำ” ผู้บริหารหน้าใหม่อย่างเขาเปิดใจเล่าให้ฟังตรงๆ เขาบอกว่าสาเหตุที่ทำให้ตัดสินใจกลับบ้านมาดูแลธุรกิจของครอบครัวเป็นเพราะตัวเองย้ายออกจากนครฯ ไปใช้ชีวิต เรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่จบชั้นมัธยมต้น แต่ถึงจะใช้เวลานานขนาดนั้น เขาก็ยังรู้สึกว่ากรุงเทพฯ ไม่ใช่ที่ที่ใช่ของตัวเองอยู่ดี  “เราไปเรียนที่กรุงเทพฯ เจ็ดถึงแปดปี แต่ไม่อินกับกรุงเทพฯ เลย ไปอยู่ที่นั่นแน่นอนว่าการปรับตัวก็ไม่ง่าย กว่าจะเดินทางไปนู่นมานี่เป็น กว่าจะเข้ากับเพื่อนได้ เราเลยตั้งคำถามระหว่างทางตลอดว่าทำไมต้องกรุงเทพฯ ทำไมต้องเป็นแบบนั้น “พอมาฉุกคิดเลยเจอว่าเราเองก็เป็นเหมือนหนึ่งในผลผลิตของค่านิยมสังคมไทยที่ถูกบีบให้มาที่นี่ อยู่โรงเรียนประจำจังหวัด แล้วต้องไปโรงเรียนระดับประเทศให้ได้ ต้องอยู่มหา’ลัยระดับประเทศให้ได้ ทุกอย่างเต็มไปด้วยการแข่งขัน และโอกาสทุกอย่างมันก็กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ […]

การอนุรักษ์อาคารเก่าในเมือง กับ Foto_momo | Unlock the City EP.06

หัวข้อการอนุรักษ์อาคารและสถาปัตยกรรมเก่า มักได้รับการหยิบยกมาพูดถึงบ่อยครั้ง เพราะนอกจากคุณค่าทางใจและความทรงจำของผู้คนที่เป็นส่วนหนึ่งของสถานที่เหล่านั้นแล้ว ยังมีมิติของกฎหมายและธุรกิจที่ซ้อนทับอยู่ด้วย ซึ่งเขตแดนพวกนี้ช่างพร่าเลือนและมักนำมาซึ่งข้อขัดแย้งอยู่บ่อยครั้ง การเปลี่ยนผ่านของยุคสมัย กระแสการท่องเที่ยวที่สุดโต่ง มูลค่าของที่ดิน หลักเกณฑ์การตัดสินและวัดคุณค่าอาคารเก่า ทั้งหมดนี้คือตัวอย่างสาเหตุที่ทำให้เกิดข้อพิพาทในการเลือกเก็บหรือไม่เก็บอาคารและสถาปัตยกรรมเก่าสักแห่งไว้  Unlock the City อีพีนี้ ‘พนิต ภู่จินดา’ พูดคุยกับ ‘วีระพล สิงห์น้อย’ ช่างภาพสถาปัตยกรรม เพจ Foto_momo ถึงเหตุการณ์ทุบทำลายอาคารเก่าที่เกิดขึ้น แนวทางในการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมในเมือง ไปจนถึงฮาวทูการอยู่ร่วมกันระหว่างคนในชุมชนกับเมืองที่พัฒนาก้าวหน้าไปทุกนาที

ชวนเข้าโรงแรม ชมงานศิลปะ ในงาน Cultural District 2022 ย่านเกาะรัตนโกสินทร์ 9 – 15 ก.ค. 65

ปีที่แล้ว เทศกาล ‘Cultural District’ โดยผู้จัด ‘มิวเซียมสยาม’ ชวนทุกคนไป ‘ติดเกาะกับตึกเก่า’ โดยพาไปสำรวจบรรยากาศของเกาะรัตนโกสินทร์ ชมภาพความงามทรงคุณค่าของสถาปัตยกรรมเก่าแก่อายุนับร้อยปี รวมถึงสัมผัสประวัติศาสตร์กันอย่างจุใจ  กลับมาปีนี้เตรียมเปิดเกาะรัตนโกสินทร์อีกรอบ ครั้งนี้มิวเซียมสยามพาเข้าโรงแรมในย่านประวัติศาสตร์ แต่ไม่ใช่เพียงการเดินชมภาพความงามของสถาปัตยกรรมเหมือนคราวก่อน เพราะ ‘Cultural District’ จะรังสรรค์ให้ทุกพื้นที่ในโรงแรมย่านเกาะรัตนโกสินทร์ รวมถึงตัวห้องพักแต่ละห้องแปรเปลี่ยนเป็นสตูดิโอและแกลเลอรีสำหรับจัดแสดงงานศิลปะภายใต้ธีม ‘Arts in the Hotel’  ภายในงานจัดแสดงผลงานศิลปะหลากหลายรูปแบบตั้งแต่ภาพวาด ภาพถ่าย กระทั่งเสียงเพลง โดยศิลปินร่วมสมัยหลากหลายสาขา เช่น ป๊อด-ธนชัย อุชชิน, วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์, วรรณฤทธิ์ พงศ์ประยูร, นักรบ มูลมานัส ฯลฯ และเหล่าหน่วยงานทางการศึกษาจากศิลปากร, เพาะช่าง, สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย เป็นต้น  ส่วนเหตุผลที่มิวเซียมสยามยกผลงานศิลปะมาไว้ที่โรงแรมย่านเมืองเก่านั้น เป็นเพราะว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้รู้สึกเหมือนเป็นนักท่องเที่ยว เดินเข้าออกชมความงามของสถานที่และงานศิลปะไปพร้อมๆ กัน ยกตัวอย่างสถานที่จัดงาน ดังนี้ – ‘Mojo Old Town’ อดีตร้านโชห่วยที่ถูกปรับโฉมให้เป็นคาเฟ่และที่พักบนถนนตะนาวตรงข้ามกับศาลเจ้าพ่อเสือ– ‘1905 Heritage Corner’ […]

MILKBREW COFFEE ร้านกาแฟนมสุดชิกในอาคารมรดกทางวัฒนธรรมญี่ปุ่น

ความผูกพันที่มีกับจังหวัดซะกะพาเรากลับไปเยี่ยมที่นี่ทุกครั้งที่มีโอกาส เมืองลูกรักที่แอบแวะไปบ่อยๆ คือ Ureshino ซึ่งมีทั้งเครื่องปั้นดินเผาเก๋ไก๋ อนเซ็น ชาเขียวและคาเฟ่กรุบกริบ สร้างความเพลิดเพลินแบบไม่เคยทำให้ผิดหวัง และแล้วทริปล่าสุด ซะกะก็กัมบัตเตะ (พยายาม) นำความกรุบกริบใหม่ๆ มาทำให้ประหลาดใจอีกครั้ง คราวนี้ไม่ใช่ชาเขียวของดังประจำเมือง แต่เป็นร้านกาแฟในย่านอนุรักษ์อันเงียบสงบที่ได้รับความสนใจจากสื่อมากมายเพราะความกรุบกริบหลายสิ่ง คุณ MILKBREW COFFEE เป็นร้านกาแฟนมสุดชิกภายในอาคารที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรม การตกแต่งภายในดูล้ำอย่างไม่รุกรานความเก่าแก่ นอกจากนี้ยังนำเสนอกาแฟรูปแบบใหม่ที่นมได้รับบทเด่นไม่แพ้กันเพราะ Hirotaka Nakashima คุณพี่เจ้าของร้านคือทายาทของ Nakashima Farm ฟาร์มนมชื่อดังซึ่งเชี่ยวชาญด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากนมจนได้รับรางวัลระดับนานาชาติมาแล้ว ยามบ่ายวันอาทิตย์ที่มีแดดออกหลังหิมะเพิ่งหยุดโปรยปราย ฮิโระทะกะพร้อมแจกแจงความกรุบกริบที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้วให้เราฟังอย่างละเอียดยิบ เขาบอกว่าคาเฟ่แห่งนี้ไม่ใช่ร้านขายอาหารและเครื่องดื่ม แต่เป็นร้าน Monozukuri ที่แปลว่าการผลิต เพราะพวกเขามีแบ็กกราวนด์ที่แข็งแกร่งในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ยังไงล่ะ ชงนมกับกาแฟ ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันดีกว่าว่า MILKBREW COFFEE คืออะไร ทุกคนน่าจะรู้จักกาแฟ Cold Brew (กาแฟสกัดเย็น) อยู่แล้ว MILKBREW COFFEE เป็นกาแฟนมที่เกิดขึ้นจากหลักการเดียวกันนั้น แต่แทนที่จะนำกาแฟไปแช่น้ำก็แช่นมสดจากเต้าของพี่วัวในฟาร์มจนได้กาแฟนมที่มีความละมุน รสเบาๆ แต่สัมผัสได้ถึงกลิ่นหอมและเอกลักษณ์ของกาแฟได้อย่างชัดเจน ฮิโระทะกะค้นพบความอร่อยนี้โดยบังเอิญเมื่อเขาซื้อ Cold Brew Pack […]

Sara Cultural Centre อาคารไม้สูงที่สุดในโลก และลดการปล่อย CO₂ ตั้งแต่การก่อสร้าง

Sara Cultural Centre คือหนึ่งในโครงการออกแบบสถาปัตยกรรมแบบยั่งยืนที่ถูกนำเสนอใน Build Better Now นิทรรศการออนไลน์ในวาระการประชุม #COP26 ที่เพิ่งจบลงไป เป็นอาคารไม้ที่สูงที่สุดในโลกแห่งใหม่ล่าสุดในปี 2021 และเพิ่งเปิดให้ใช้งานเมื่อวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมา อาคารหลังนี้ไม่ได้เป็นเคสที่น่าสนใจแค่เรื่องสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวอย่างการออกแบบพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองขึ้นมาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและทำให้คนเข้าถึงศิลปะและวัฒนธรรมได้ง่ายยิ่งขึ้น อาคารไม้ 20 ชั้น ความสูง 80 เมตรแห่งนี้ เป็นโครงการของเมืองเชลเลฟเตโอ (Skellefteå) ในประเทศสวีเดน ที่เปิดให้มีการประกวดแบบเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและเฟ้นหาสถาปนิกมือดีที่จะทำให้พื้นที่ใจกลางเมืองแห่งนี้เป็นพื้นที่สาธารณะที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานจริงๆ ซึ่งผู้ชนะการออกแบบคือ White Arkitekter ที่เนรมิตอาคารไม้ให้ออกมาสวยงามและพลิกโฉมวงการก่อสร้างให้ดีต่อสิ่งแวดล้อมได้ในทุกมิติ ปัจจุบันเชลเลฟเตโอเป็นเมืองที่มีประชากรเพียง 72,000 คน แต่อาคารศูนย์วัฒนธรรมแห่งนี้เป็นอีกหนึ่งหมุดหมายสำคัญในแผนพัฒนาที่จะดึงดูดให้คนตัดสินใจย้ายมาอยู่ที่นี่ให้ได้มากขึ้นถึง 100,000 คนในปี 2030 เพราะอาคารแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้จัตุรัสใจกลางเมือง ใกล้กับศูนย์การท่องเที่ยว มีประตูให้เข้าได้จากทุกทิศทาง มีถนนล้อมรอบ ชั้นล่างยังเป็นกระจกใสที่ทำให้คนที่ผ่านไปมาสามารถมองเห็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในได้ตลอดเวลา และที่สำคัญยังอยู่ในจุดที่คนเมืองสามารถเข้าถึงง่ายๆ ด้วยขนส่งสาธารณะ  อาคารแห่งนี้มีทั้งหอศิลป์ พิพิธภัณฑ์ โรงละคร ห้องสมุดประจำเมืองแห่งใหม่ โรงแรม ร้านอาหาร สปา และศูนย์การประชุม เป็นพื้นที่สาธารณะในร่มที่เชิญชวนให้คนในเมืองได้ออกมาใช้เวลาและมีบทสนทนากันมากขึ้น โดยในแต่ละห้องจะมีพื้นที่ใช้สอยสำหรับทำกิจกรรมที่แตกต่างกัน […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.