‘แพรรี่ ธัญพิชชา’ Set Designer คนไทยในฮอลลีวูดที่ได้ออกแบบฉากให้ซีรีส์ Netflix

ภาพเฟดดำ ก่อนจะค่อยๆ ปรากฏภาพหญิงสาวผู้สวมแว่นตาที่นั่งอยู่หน้าคอมฯ บนหน้าจอเต็มไปด้วยภาพทำเนียบขาวของประเทศสหรัฐอเมริกาในยุคอดีตจนถึงปัจจุบัน พร้อมคำอธิบายประกอบอย่างละเอียด เร็วเท่าความคิด, ภาพทำเนียบขาวที่เธอดีไซน์ในหัวปรากฏขึ้นในพื้นที่ว่างเปล่าข้างตัว…ถ้าเรื่องราวดำเนินในยุคนี้ มีตัวละครหลักเป็นคนนิสัยแบบนี้ ทำเนียบขาวควรจะมีหน้าตาเป็นยังไง…เธอออกแบบตั้งแต่ข้างนอกตึกไปจนถึงพื้นที่ภายใน ชั้นที่ 1 ถึง 5 เจาะลงไปถึงรายละเอียดเล็กๆ กระทั่งสีผนังและกลอนประตู นี่คือสิ่งที่ ‘แพรรี่-ธัญพิชชา ไตรวุฒิ’ ต้องทำในซีรีส์ใหม่ของ Netflix เรื่อง The Residence ซึ่งว่าด้วยคดีฆาตกรรมในทำเนียบขาว ย้อนกลับไปราวต้นปี 2023 เธอได้มีโอกาสเข้าไปเป็นหนึ่งในทีมนักออกแบบฉาก (Set Designer) ประจำโปรเจกต์นี้ ความเจ๋งคือเธอเป็นคนไทยเพียงคนเดียวที่เป็นทีมงานเบื้องหลัง และเท่าที่เรารู้ เธอเป็นคนไทยหนึ่งในไม่กี่คนที่มีโอกาสได้ทำงานให้หนังและซีรีส์ฮอลลีวูด ไม่เคยฝันว่าจะมาถึงตรงนี้ได้เหมือนกัน-เธอสารภาพกับเราในเช้าที่เราวิดีโอคอลคุยกัน ก่อนจะเริ่มเล่าเรื่องราวอดีตเด็กสาวช่างฝันผู้รักศิลปะ ผู้ที่กว่าจะค้นพบว่าตัวเองชอบออกแบบฉากก็ตอนได้ทำละคอนถาปัดในรั้วจามจุรี ก่อนจะตัดสินใจเดินตามฝันในวัยใกล้ 30 จนสำเร็จ แน่นอนว่าหลังจากฟังเธอเล่าจบ ภาพจำที่เรามีต่อฉากในหนังหรือซีรีส์ก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ซีนแรกกรุงเทพฯ, 2011 ภาพเฟดดำ ก่อนจะค่อยๆ ปรากฏภาพเด็กหญิงธัญพิชชาในโรงภาพยนตร์ หน้าจอปรากฏภาพจากหนังในตำนานอย่าง Star Wars และ Jurassic Park เด็กหญิงหัวเราะคิกคัก สนุกสนานไปกับเรื่องราว ไม่รู้หรอกว่าวันหนึ่งตัวเองจะได้ทำงานเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างโลกในจอ […]

กิจกรรม My Story, Our Story ฉายหนังจากกองทุน Netflix เพื่อความหลากหลายบนหน้าจอ

ในเดือนแห่งความหลากหลายนี้ นอกจากเรื่องเพศที่สังคมควรให้ความสำคัญและผลักดันอย่างเต็มที่แล้ว ภายใต้ร่มของความหลากหลายก็ยังมีมิติอื่นๆ ที่มองข้ามไปไม่ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเชื้อชาติ สีผิว หรือความเชื่อ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายนที่ผ่านมา Netflix ได้จัดงานฉายภาพยนตร์ ‘My Story, Our Story’ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการสนับสนุนผู้สร้างผลงานจากประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ไม่ได้มีโอกาสถ่ายทอดผลงานของตัวเอง ให้ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานและร่วมเฉลิมฉลองการเล่าเรื่องที่แตกต่างหลากหลาย ภายในกิจกรรมมีการจัดฉายภาพยนตร์สั้นที่ได้รับการสนับสนุนและสร้างขึ้นจากกองทุน ‘Netflix Fund for Creative Equity’ ที่ทาง Netflix ลงทุนมากกว่า 100 ล้านดอลลาร์ตลอดระยะเวลา 5 ปี เพื่อปูเส้นทางให้แก่ผู้สร้างผลงานที่ไม่ได้มีโอกาสถ่ายทอดผลงานของตัวเองทั่วโลก ภาพยนตร์ที่ฉายในงานมีทั้งหมด 3 เรื่อง ประกอบด้วย ‘Dear You’ (ประเทศไทย) โดย ‘เหมือนดาว กมลธรรม’ ที่เล่าเรื่องของแม่เลี้ยงเดี่ยวผู้ต่อสู้ดิ้นรนในช่วงโรคระบาด ‘Soul-Kadhi’ (ประเทศอินเดีย) โดย ‘Sameeha Sabnis’ ที่หยิบเอาความแฟนตาซีมาผสมกับดราม่า เพื่อสำรวจถึงเสรีภาพผ่านสายสัมพันธ์ของลูกสะใภ้และแม่สามี และ ‘Pao’s Forest’ (ประเทศเวียดนาม) โดย […]

‘หนังไทยแท้ๆ แต่ทำไมฉายในไทยยากจัง’ ส่องปรากฏการณ์หนังไทยไม่มีที่อยู่

เมื่อไม่นานมานี้มีประเด็นหนังไทยถึงสองเรื่องที่เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน ถึงแม้จะเป็นคนละประเด็นก็ตาม เรื่องหนึ่งประสบปัญหาการถูกลดรอบฉายหนัง ส่วนอีกเรื่องต้องเลื่อนฉายเพราะเนื้อหาไม่ผ่านกองเซนเซอร์ ทำให้เราสงสัยว่า ทั้งๆ ที่เป็นหนังไทยแท้ๆ แต่ทำไมการฉายหนังในประเทศบ้านเกิดถึงยากเหลือเกิน คอลัมน์ Curiocity จึงอยากชวนมาร่วมกันหาคำตอบของปัญหาหนังไทย ว่าทำไมการฉายหนังไทยสู่สาธารณะในไทยถึงเป็นเรื่องยาก และความยากนี้ส่งผลถึงวงการหนังอย่างไรบ้าง พร้อมกับฟังความคิดเห็นจากมุมของคนทำหนังอย่าง ‘บี๋-คัทลียา เผ่าศรีเจริญ’ โปรดิวเซอร์หนังอิสระ ที่ต้องประสบปัญหาเหล่านี้โดยตรง หนังไทยเข้าโรงทั้งทีต้องมีประเด็น อุตสาหกรรมหนังไทยถูกตั้งคำถามมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการส่งเสริมจากภาครัฐ ค่าตอบแทนแรงงานที่ไม่สอดคล้องกับชั่วโมงการทำงาน คนไทยไม่สนับสนุนหนังไทยด้วยกันเอง หรือแม้แต่เรื่องคุณภาพของหนังไทยที่มักโดนนำไปเปรียบเทียบกับหนังต่างประเทศอยู่บ่อยครั้ง ปัญหาข้างต้นที่ยกตัวอย่างมานั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาหนังไทยที่มักพูดถึงกันอยู่เรื่อยๆ แต่ปัญหาที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นถกเถียงทุกครั้งที่มีหนังเตรียมฉาย มีแผนจะฉาย กำลังจะฉาย และฉายแล้วในโรงภาพยนตร์คือ เรื่องความไม่ยุติธรรมที่ส่งผลกระทบต่อวงการหนังไทย อย่างประเด็นของการลดจำนวนรอบฉายหนังเรื่อง ‘ขุนพันธ์ 3’ ที่เป็นการตัดโอกาสจนอาจทำให้ผู้สร้างไม่กล้าลงทุนกับหนังไทย หรือเรื่อง ‘หุ่นพยนต์’ ที่เกือบไม่ได้ฉายเพียงเพราะใช้แค่การตัดสินใจของคณะกรรมการเป็นหลักมากกว่าการทำความเข้าใจการสื่อสารของตัวหนัง การถกเถียงถึงประเด็นเหล่านี้ไม่ได้ส่งผลเสียกับวงการหนังไทยแต่อย่างใด แต่เป็นการจุดประกายเพื่อให้คนสนใจและหันมาให้ความสำคัญของการมีอยู่ของหนังไทยมากขึ้น เพราะเราเชื่อว่ายังมีคนจำนวนมากที่มองเห็นศักยภาพของหนังไทย และยังรอวันที่จะเห็นหนังไทยมีพื้นที่ในประเทศไทยมากกว่าเดิม เข้าพร้อมหนังดังก็ต้องทำใจ หลายคนน่าจะเคยเจอเหตุการณ์เช็กรอบหนังว่าตอนนี้มีหนังเรื่องใดฉายบ้าง แต่กลับพบว่าเกินกว่าครึ่งของรอบหนังที่เข้าฉายทั้งหมดในวันนั้นคือหนังเรื่องเดียวกัน ทำให้หนังเรื่องอื่นต้องแบ่งสันปันส่วนเวลาและโรงฉายเพื่อให้มีพื้นที่ในการเข้าถึงผู้ชม  ถึงแม้จะไม่ใช่แค่หนังไทยอย่างเดียวที่ต้องเจอกับการเบียดโรงจากหนังฟอร์มยักษ์แบบนี้ แต่หลายๆ ครั้งก็มักเป็นหนังไทยทุกทีที่ถูกตัดโอกาส จนกลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่ยังไม่มีทางแก้เสียที การลดจำนวนรอบฉายอาจไม่ได้มีปัญหาอะไรถ้าหลายคนเชื่อว่า ถ้าหนังดียังไงก็มีคนดู แต่ในทางกลับกัน คนดูจะรู้ได้อย่างไรว่าหนังเรื่องนั้นดีหรือไม่ หากรอบฉายและระยะเวลาที่ฉายมีน้อยจนไม่มีทางเลือกอื่น สุดท้ายแล้วหนังเรื่องนั้นๆ […]

10 Censored Thai Cinemas ลิสต์หนังไทยที่รัฐไทยไม่ให้ไปต่อ

เคยสงสัยไหมว่า นี่ก็ปี 2023 แล้ว ทำไมประเทศไทยยังมีข่าวคราวการแบนหนังไทยให้ได้เห็นกันอีก ทั้งที่อุตสาหกรรมภาพยนตร์บ้านเราก็ไม่ได้สู้ดีนัก โดยเฉพาะในช่วงหลังๆ ที่ปีปีหนึ่งหนังไทยเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ไม่กี่สิบเรื่อง และส่วนใหญ่ก็เป็นแนวใกล้ๆ กัน เช่น หนังผี หนังตลก หนังรัก เป็นต้น โดนกีดกันประเด็นหรือแนวหนังยังไม่พอ พอผู้กำกับและทีมงานก่อร่างสร้างหนังไทยสักเรื่องมาจนเสร็จเรียบร้อย ก็ยังต้องมาไหว้พระสวดมนต์ให้ผ่าน ‘กองเซนเซอร์’ หรือ ‘คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์’ ที่รัฐเป็นกำลังสำคัญในการกำกับดูแลอีก Urban Creature ชวนพังกำแพงแห่งศีลธรรมอันดีงาม ความมั่นคงของชาติ และนานาเหตุผล แล้วมาย้อนดูหนังไทย 10 เรื่องที่โดนแบนในช่วงสิบกว่าปีนี้กัน แสงศตวรรษ (2551) ก่อนหน้านี้มีภาพยนตร์ไทยที่โดนเซนเซอร์หรือห้ามฉายบ้าง แต่ ‘แสงศตวรรษ’ ซึ่งเป็นผลงานของ ‘อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล’ ผู้กำกับไทยที่เป็นที่รู้จักในเวทีระดับโลก ก็ทำให้การเซนเซอร์ในวงการภาพยนตร์เป็นที่พูดถึงและถกเถียงกันอย่างกว้างขวางมากขึ้น ‘แสงศตวรรษ’ กล่าวถึงชีวิตของแพทย์หญิงในโรงพยาบาลเล็กๆ ที่ต่างจังหวัด ที่มีความทรงจำที่ดีต่อผู้ป่วยและความรัก และอีกชีวิตของแพทย์ทหารหนุ่มในโรงพยาบาลในเมือง กับผู้ป่วยพิการและคู่รักของเขาที่จะจากไป หนังเรื่องนี้มีกำหนดฉายในประเทศไทยในเดือนเมษายน ปี 2550 แต่ไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เพราะชี้ว่ามีฉากที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ขององค์กรศาสนาและองค์กรทางการแพทย์ โดยมีเงื่อนไขให้ตัด 4 ฉากออกไป ได้แก่ […]

TÁR : เมื่อเวลาสัมพันธ์กับวัฒนธรรมคว่ำบาตร และพลวัตของอำนาจไม่อาจแยกจากเรื่องเพศ

บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาของภาพยนตร์ หลังห่างหายจากงานกำกับไปนานกว่า 16 ปี ล่าสุดผู้กำกับมากฝีมืออย่าง Todd Field ก็กลับมาพร้อมกับผลงานภาพยนตร์เรื่อง Tár ที่เปิดตัวครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิส (Venice Film Festival) เมื่อปีที่ผ่านมา และล่าสุดก็ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ถึง 6 สาขาด้วยกัน รวมถึงสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมด้วย สำหรับภาพยนตร์เรื่อง Tár นั้นเป็นการบอกเล่าเรื่องราวของ Lydia Tár (รับบทโดย Cate Blanchett) วาทยกรหญิงผู้แสนเก่งกาจและมากประสบการณ์ ความสามารถของเธออยู่ในระดับที่หาตัวจับได้ยากในแวดวงดนตรี แน่นอนว่าสถานะทางสังคมที่เป็นทั้งวาทยกรเอกและอาจารย์ที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์นับร้อยพัน นั่นอาจเป็นจุดสูงสุดของอาชีพการงานที่ใครคนหนึ่งจะไปถึงได้ หากแต่ช่วงชีวิตคนเราต่างก็แปรผันไปตามสถานการณ์ เมื่อมือเอื้อมแตะถึงขอบฟ้า แต่เท้ายังย่ำอยู่ในโคลนตม ก็ไม่แปลกที่ต่อให้แม้จะยืนอยู่ในจุดที่สูงแค่ไหนก็พร้อมร่วงหล่นลงมาได้ทุกเมื่อ โดยเฉพาะกับ Tár ศิลปินมากความสามารถที่เต็มไปด้วยรอยด่างพร้อยและข้อบกพร่องนับไม่ถ้วน ซ้ำยังทำในสิ่งที่ก้าวข้ามเส้นแบ่งศีลธรรมและจริยธรรมอยู่หลังม่านมานานแรมปี แน่นอนว่าความสำเร็จในแง่ของรายได้และคำวิจารณ์ของภาพยนตร์เรื่องนี้คงเป็นที่ประจักษ์อย่างไม่มีข้อกังขา แต่ความสำเร็จอีกนัยหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ การหยิบจับประเด็นที่สังคมให้ความสนใจมาบอกเล่า โดยทำให้เรื่องราวเหล่านั้นยังคงอยู่ในบทสนทนา จนเกิดการพูดคุยถกเถียงกันต่ออย่างไม่รู้จบหลังจากที่ลุกออกจากโรงหนังไป ‘เวลา’ คือตัวแปรสำคัญของวัฒนธรรมคว่ำบาตร ในช่วงปีหลังมานี้ ทุกครั้งที่มีประเด็นร้อนของเหล่าคนดังที่เกิดข้อโต้แย้งกันบนโซเชียลมีเดีย หลายคนอาจคุ้นหูและผ่านตากับคำว่า ‘วัฒนธรรมคว่ำบาตร (Cancel Culture)’ มาไม่มากก็น้อย ซึ่งความหมายโดยกว้างของคำนี้คือ การเลิกสนับสนุนผลงานของเหล่าศิลปินที่มีปัญหา (Problematic) […]

สำรวจดราม่า ความรัก และวิถีชีวิตญี่ปุ่น ใน Japanese Film Festival 2023 วันที่ 10 – 19 / 25 – 26 ก.พ. 2566 กทม.และเชียงใหม่

หนึ่งในเทศกาลภาพยนตร์ที่คอหนังชาวไทยรอมากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ คงหนีไม่พ้น Japanese Film Festival หรือเทศกาลภาพยนตร์ญี่ปุ่น ที่ทางเจแปนฟาวน์เดชั่นเป็นตัวตั้งตัวตีจัดมาหลายปี เพราะนี่คือโอกาสดีที่ชาวไทยจะได้ชมภาพยนตร์ญี่ปุ่นนอกกระแสที่ปกติอาจไม่มีโอกาสชมในโรงภาพยนตร์ ทั้งยังมีหลากหลายแนวและรสชาติให้ได้เปิดมุมมองทำความเข้าใจญี่ปุ่นในบริบทอื่นๆ ด้วย ปีนี้ Japanese Film Festival 2023 กลับมาพร้อมโปรแกรมภาพยนตร์คุณภาพกว่า 10 เรื่อง ยิ่งไปกว่านั้นยังมีกิจกรรมอื่นๆ ให้ผู้ชมภาพยนตร์ร่วมสนุกที่โรงหนัง House Samyan ซึ่งเป็นสถานที่ฉายหนังของเทศกาลที่กรุงเทพฯ ส่วนชาวเชียงใหม่ชมฟรี 4 เรื่องที่สมาคมฝรั่งเศสเชียงใหม่ โปรแกรมภาพยนตร์ใน Japanese Film Festival 2023 มีดังนี้ – 𝗕𝗟 𝗠𝗲𝘁𝗮𝗺𝗼𝗿𝗽𝗵𝗼𝘀𝗶𝘀 (2022)– 𝗜𝗡𝗨-𝗢𝗛 (2021)– 𝗞𝗶𝗱𝘀 𝗞𝗼𝗻𝗳𝗲𝗿𝗲𝗻𝗰𝗲 (2022)– 𝗧𝗵𝗲 𝗙𝗶𝘀𝗵 𝗧𝗮𝗹𝗲 ลูกปลาน้อย (2022)– 𝗔𝗻𝗱 𝗦𝗼 𝘁𝗵𝗲 𝗕𝗮𝘁𝗼𝗻 𝗶𝘀 𝗣𝗮𝘀𝘀𝗲𝗱 แล้วไม้วิ่งผลัดก็ถูกส่งต่อ (2021)– 𝗠𝗮𝘆 […]

ฐาปณี หลูสุวรรณ ผู้กำกับ Blue Again กับสถานะ ‘ไม่เป็นคนของที่ไหนเลย’ ในชีวิตและวงการหนัง

ฐาปณี หลูสุวรรณ เป็นลูกครึ่งอีสาน-จีน เกิดที่กรุงเทพฯ แต่ไปโตที่สกลนคร ก่อนจะเข้ามาเรียนหนังและทำงานในกรุงเทพฯ อีกครั้ง เธอพูดอีสานไม่คล่องปร๋อ แต่พอพูดไทยกลางก็ติดเหน่ออีสานจนโดนล้อ เหนือความซับซ้อนและย้อนแย้งทั้งปวงในตัวเธอ สิ่งหนึ่งที่แน่ชัดและไม่เคยเปลี่ยนแปลงคือ ฐาปณีไม่เคยรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนของที่ไหนเลย เหมือนกับ ‘เอ’ ตัวละครเอกใน Blue Again หนังเรื่องแรกในชีวิตของเธอ ผู้เป็นลูกครึ่งที่มีพ่อเป็นคนขาว แม่เป็นคนสกลนคร แต่ตัวเองกลับรู้สึกแปลกแยกจากสังคมรอบตัวไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน หากจะมีใครหรือสิ่งใดที่เอเรียกว่าเพื่อนได้เต็มปาก หนึ่งคือ ‘เมธ’ เพื่อนชายที่รู้จักกันตั้งแต่มัธยมฯ แต่ต้องแยกย้ายกันไปหลังเรียนจบ อีกสิ่งคือ ‘คราม’ วัตถุดิบย้อมผ้าที่เธอเติบโตมาด้วยกันตั้งแต่เด็ก ในทางหนึ่ง Blue Again คือเครื่องบันทึกความรู้สึกโดดเดี่ยวและเป็นอื่นที่ผู้กำกับอย่างฐาปณีรู้สึกมาตลอด แต่ในอีกทางหนึ่ง นี่คือผลพิสูจน์ความรักที่มีต่อการทำหนังของผู้หญิงคนหนึ่ง ผู้นิยามตัวเองว่าเป็นคนกลางๆ ไม่โดดเด่น และแม้จะไม่รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนของที่ไหน แต่แวดวงที่มั่นใจว่าอยากผลักตัวเองเข้าไปคือวงการผู้กำกับ นับแต่วันแรกเริ่ม Blue Again ใช้เวลาถึง 8 ปีกว่าจะได้ออกมาสู่สายตาผู้ชม และหนังเรื่องนี้ยังได้เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลไปฉายที่เทศกาลหนังปูซานในสาขา New Currents ที่มีหนังเพียงไม่กี่เรื่องได้เข้ารอบ พิสูจน์ในตัวมันเองแล้วว่าเป็นหนังที่พิเศษแค่ไหน แต่ใน 8 ปีของ Blue Again […]

สัมผัสฮ่องกงในซีนหนังของหว่อง กาไว กับนิทรรศการภาพถ่าย โดย Wing Shya วันนี้ – 29 ม.ค. 66 ที่ HOP ศรีนครินทร์

‘ฮ่องกง’ ของคุณหน้าตาเป็นแบบไหน  เรามั่นใจว่าคำตอบของหลายๆ คนน่าจะเป็นฮ่องกงที่เป็นเมืองคนเหงา ซึ่งทั้งเศร้าและโรแมนติก เนื่องจากได้รับอิทธิพลมาจากภาพยนตร์ของผู้กำกับ ‘Wong Kar-Wai (หว่อง กาไว)’ ใครที่ยังติดตรึงกับภาพเมืองฮ่องกงที่ฉาบไปด้วยแสงไฟสีแดง และปกคลุมไปด้วยบรรยากาศที่ให้ความรู้สึกแสนโดดเดี่ยว HOP หรือ Hub Of Photography ได้จัดนิทรรศการภาพถ่ายของศิลปินชาวฮ่องกง ‘Wing Shya’ ผู้ทำงานบันทึกเบื้องหลังภาพยนตร์ของผู้กำกับ หว่อง กาไว ที่เป็นดั่งสื่อกลางช่วยให้ผู้คนเข้าใจภาพของฮ่องกงในเฟรมหนังที่คุ้นเคย Wing Shya คือช่างภาพที่ถ่ายภาพเบื้องหลังภาพยนตร์ชื่อดังอย่าง Happy Together (1997) และ In the Mood for Love (2000) จนถูกใจผู้ชมจำนวนมาก นอกจากนี้ เขายังเป็นผู้อยู่เบื้องหลังภาพถ่ายของภาพยนตร์ Eros (2004) และ 2046 (2004) อีกด้วย นอกจากจะเป็นการย้อนกลับไปรำลึกถึงภาพเมืองฮ่องกงเมื่อหลายสิบปีก่อนในความทรงจำ ที่หลายๆ คนรับรู้ผ่านภาพยนตร์ของผู้กำกับชาวฮ่องกงแล้ว ภาพถ่ายของ Wing Shya ยังงดงาม ดูเป็นธรรมชาติ ให้แรงบันดาลใจ […]

ชวนดูหนังไทยชีวิตวัยรุ่น ‘Blue Again’ ที่ใช้เวลาสร้าง 8 ปีและได้ฉายในปูซาน วันที่ 8 ธ.ค.นี้ ที่ SF และ House Samyan

หลังจากที่ภาพยนตร์ ‘Blue Again’ ได้บินไกลไปฉายถึงเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน ครั้งที่ 27 (Busan International Film Festival : BIFF) เมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ในที่สุดก็ได้ฤกษ์ฉายในประเทศไทยอย่างเป็นทางการแล้ว Blue Again เป็นผลงานของผู้กำกับหญิง ‘ฐาปณี หลูสุวรรณ’ ร่วมกับโปรดิวเซอร์ ‘ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต’ และเหล่าทีมงาน ที่ใช้เวลาสร้างกว่า 8 ปี ผ่านเรื่องราวความสัมพันธ์แบบบลูๆ ของ 3 ตัวละครในความยาว 3 ชั่วโมง 10 นาที  ว่าด้วยชีวิตของ ‘เอ’ หญิงสาวลูกครึ่งอีสาน-ตะวันตก จากหมู่บ้านคาทอลิกที่ใหญ่ที่สุดในไทย เธอดิ้นรนเข้ามาเรียนออกแบบแฟชั่นในกรุงเทพฯ โดยหวังว่าจะสามารถชุบชีวิตโรงย้อมครามของครอบครัวที่กำลังจะตาย โดยมี ‘แพร’ เพื่อนสนิทคนแรกในมหาวิทยาลัยที่ถูกดึงดูดเข้ามาอยู่ในวงโคจรของเธอ เนื่องจากต้นทุนทางสังคมและความฝันที่คล้ายกัน  ทว่าในขณะที่หญิงสาวพยายามปกป้องความฝันของตัวเอง ไปพร้อมๆ กับถักทอความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเอาไว้ เส้นด้ายเหล่านั้นกลับเหมือนจะขาดลง และเหมือนชีวิตเอจะยุ่งยากไม่พอ เมื่อ ‘สุเมธ’ เพื่อนรักคนเดียวในวัยเด็กผู้เป็นเซฟโซน ได้กลับมาในวงโคจรของเธออีกครั้งในค่ำคืนวันคริสต์มาสตามสัญญา แต่มันยิ่งกลับทำให้หญิงสาวตั้งคำถามกับตัวเองว่า ‘บนโลกนี้…ที่ตรงไหนคือที่ของเธอจริงๆ’ […]

ใช้ชีวิตเป็นชาววากานเดี้ยนไปสำรวจเมือง ‘Wakanda’ กับการใช้ไวเบรเนียมพัฒนาชาติ

ในตำนานเล่าว่า เมื่อประมาณสองล้านกว่าปีก่อน มีอุกกาบาตขนาดยักษ์ตกลงตรงใจกลางทวีปแอฟริกาในปัจจุบัน อุกกาบาตลูกนั้นอัดแน่นด้วยโลหะจากนอกโลก โดยได้รับการตั้งชื่อว่า ‘ไวเบรเนียม’ ต่อมาได้มีมนุษย์จากห้าชนเผ่าเดินทางมายังดินแดนดังกล่าวเพื่อทำสงครามแย่งชิงแร่ไวเบรเนียมเป็นเวลายาวนาน จนกระทั่งนักรบคนหนึ่งได้นิมิตเห็นร่างเสือดำ ซึ่งนำพาให้เขาได้พบกับสมุนไพรรูปหัวใจ หลังจากกินเข้าไป เขาได้รับพลังเหนือมนุษย์จนสามารถยุติสงคราม แย่งชิงไวเบรเนียมแล้วรวบรวมชนเผ่าโดยรอบให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้ นั่นคือจุดเริ่มต้นของราชวงศ์ ‘วากานด้า’ โดยประชาชนได้อยู่ร่วมกันภายใต้กษัตริย์เสือดำหรือแบล็กแพนเตอร์ (Black Panther) ผู้ทำหน้าที่คอยปกปักรักษาอาณาจักรแห่งนี้ไว้โดยไม่เปิดเผยการมีอยู่ให้โลกได้รับรู้ เพราะเกรงว่าเทคโนโลยีสุดล้ำจากการใช้แร่ไวเบรเนียมจะแพร่งพรายออกไป จนทำให้วากานด้าอาจถูกศัตรูเข้ามารุกราน เพื่อแย่งชิงทรัพยากรล้ำค่าที่ดินแดนมีไว้ในครอบครอง  แม้วากานด้าจะปิดประเทศแต่ก็มีการส่งประชาชนบางส่วนไปยังประเทศต่างๆ เพื่อศึกษาดูงานและนำองค์ความรู้จากทั่วโลกกลับมาพัฒนาประเทศ จนมาถึงยุคของ กษัตริย์ทีชาลา (T’Challa) บุตรชายของทีชากา ที่ตัดสินใจประกาศเปิดประเทศ เพื่อกระจายแร่ไวเบรเนียมให้นานาประเทศนำไปใช้พัฒนาบ้านเมืองให้มีความยั่งยืนและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ได้เวลาที่วากานด้าเปิดประเทศแล้ว เราเลยขอใช้ชีวิตเป็นชาววากานเดี้ยนสักหนึ่งวัน เพื่อเดินทางไปศึกษาดูงานว่าในดินแดนแห่งนี้ใช้ไวเบรเนียมทำอะไรบ้าง และมีนโยบายใดที่น่าสนใจนำมาประยุกต์ใช้กับบ้านเมืองของเรา  Eco Futurism Urban Core ศูนย์กลางเมืองที่ผสมผสานธรรมชาติและเทคโนโลยี ดินแดนของวากานด้ามีภูเขาลูกใหญ่ที่ลดหลั่นระดับล้อมรอบอาณาจักร ที่ตั้งของเมืองหลวงอยู่ตรงกลางคล้ายแอ่งกระทะ มีช่องลมที่แบ่งโดยระยะห่างของภูเขา วากานด้ามีตึกที่กระจายตัวออกจากเมืองหลวงอยู่หนาตา แต่ไม่ได้หนาแน่นแออัดแข่งกันสูง ทำให้เกิดการระบายอากาศได้ดี  อาคารของวากานด้ามีองค์ประกอบแบบแอฟริกันดั้งเดิม ซึ่งมีลักษณะเป็นหลังคามุงจากและปลูกสวนไว้ด้านบน เมืองแห่งนี้มีพื้นที่สีเขียวที่ช่วยให้เมืองกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม อีกทั้งยังไม่มีพื้นที่ชานเมืองที่ต้องตัดถนนยิบย่อยให้เสียระบบนิเวศใดๆ แถมรอบตัวเมืองยังมีทางเดินให้สายน้ำไหลผ่าน เป็นเมืองที่ติดชายฝั่งทะเล มีท่าเทียบเรือสำหรับธุรกิจประมง ชาวเมืองสามารถใช้ประโยชน์จากผืนดินของธรรมชาติ ซึ่งส่งผลดีต่อการทำเกษตรและการเลี้ยงปศุสัตว์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  Futurist Transit […]

ชายผู้ลาออกมาประดิษฐ์ ‘Lightsaber’ จากภาพยนตร์ Star Wars จนกลายเป็นอาชีพ

A (not) long time agoin a galaxy (not) far,far away… มีหนุ่มไทยคนหนึ่งตัดสินใจลาออกจากงานประจำของตนเอง เพื่อหันมาทุ่มเวลาให้การประดิษฐ์ไลต์เซเบอร์จากภาพยนตร์สตาร์วอร์สเป็นอาชีพ ค่อยๆ เรียนรู้ พัฒนาวงจรภายในไลต์เซเบอร์ให้มีลูกเล่นน่าสนใจมากขึ้นจากเดิม ตกแต่งให้สวยงามยิ่งขึ้น กลายเป็นที่ต้องการของแฟนๆ สตาร์วอร์ส และนักสะสมจำนวนมากจากทั่วโลก ไลต์เซเบอร์ที่เขาขายมีราคาตั้งแต่ 3 – 4 หมื่นบาท และปัจจุบันมีคิวออเดอร์ยาวไปจนถึงปีหน้า อะไรทำให้ไลต์เซเบอร์ของเขามีมูลค่า ได้รับความสนใจจากแฟนๆ สตาร์วอร์สทั่วโลกจนสามารถกลายเป็นอาชีพได้ วันนี้ ‘เย่-ธนวัฒน์ ใจกล้า’ ชายผู้มีอาชีพเป็นนักประดิษฐ์ไลต์เซเบอร์ในนาม LIGHTSABER Thailand จะมาถอดสิ่งที่ทำทีละชิ้นส่วน เล่าเรื่องราวการประกอบเป็นไลต์เซเบอร์ให้ฟัง เริ่มต้นจากความชอบ… ชีวิตของเย่เริ่มต้นมาไม่ต่างจากแฟนคลับสตาร์วอร์สหลายคน ที่มีโอกาสได้รับชมภาพยนตร์แล้วเกิดความหลงใหลเรื่องราวสงครามจากกาแล็กซีอันไกลโพ้นเรื่องนี้ “พ่อเคยเล่าให้ฟังว่า ผมชอบดูสตาร์วอร์สตั้งแต่เด็ก และชอบไลต์เซเบอร์มาก เวลากลับไปต่างจังหวัดผมจะชอบหยิบไม้มาเหลาทำเป็นไลต์เซเบอร์ฟันเล่นกับเพื่อน ใช้ปากทำเสียงเอฟเฟกต์แบบในหนังกันเอง สนุกกันตามประสาเด็ก” ในเวลาต่อมา จากการเหลาไม้ทำเป็นไลต์เซเบอร์ เย่ก็ค่อยๆ เริ่มต้นขยับมาซื้อเครื่องมือกลึงเหล็ก ทำกระบี่แสงให้ใกล้เคียงกับในหนังมากขึ้นทุกที “ช่วงที่ผมได้ทำงานประจำในโปรดักชันเฮาส์ พอหาตังค์เองได้ เราก็เริ่มซื้อของจากสตาร์วอร์สที่ชื่นชอบมาสะสม ซึ่งบางชิ้นไม่มีขายในไทย เราก็ฝากเพื่อนซื้อไลต์เซเบอร์จากต่างประเทศส่งมาให้ […]

Bangkok Women’s Film Festival โปรเจกต์ออกแบบที่อยากให้ผู้หญิงมีที่ทางในวงการภาพยนตร์ไทย

“ทำไมไม่ค่อยได้เห็นหนังของผู้กำกับหญิงไทยเลย” นี่คือคำถามตั้งต้นที่ทำให้ ‘เจ๋-กัลย์จรีย์ เงินละออ’ เริ่มต้นทำโปรเจกต์ส่วนตัวออกแบบ Identity Design เทศกาล Bangkok Women’s Film Festival (BKKWFF) ในไทย ด้วยความที่ทำงานเป็นกราฟิกดีไซเนอร์ มีความชื่นชอบภาพยนตร์ และอินเรื่องเฟมินิสต์ จึงทำให้เธอพยายามหาข้อมูลโดยการรีเสิร์ชตามแหล่งข้อมูลต่างๆ รวมถึงพูดคุยกับเพื่อนที่เรียนกับทำงานด้านนี้ เพื่อยืนยันว่าเธอไม่ได้คิดไปเองคนเดียว ก่อนจะใช้ความถนัดทำงานสื่อสารเรื่องนี้ออกมา แน่นอนใครๆ ต่างรู้ว่าภาพยนตร์ไทยเป็นอุตสาหกรรมที่รัฐและคนไทยส่วนใหญ่มักมองข้าม ทว่าในแวดวงที่ถูกหมางเมิน ไม่ให้ความสำคัญเท่าที่ควร ยังมีความกดทับอีกชั้นด้วยอคติทางเพศในวงการนี้ เห็นได้จากสัดส่วนอันน้อยนิดของผู้หญิงในงานภาพยนตร์ตั้งแต่ตำแหน่งเล็กจนถึงผู้บริหารใหญ่โต ยังไม่นับรวมความยากลำบาก และประสบการณ์การทำงานของคนทำงานผู้หญิงที่คนทั่วไปอาจไม่เคยรู้ในสายอาชีพที่ถูกครอบครองโดยผู้ชายอีก ด้วยเหตุนี้ เจ๋จึงอยากเป็นเสียงหนึ่งของการผลักดันประเด็นนี้ด้วยการสนับสนุนให้ประเทศไทยมีเทศกาลภาพยนตร์ของผู้กำกับหญิง เพื่อเป็นการสร้างพื้นที่และการันตีว่าผู้กำกับหญิงไทยมีความสามารถ ทำหนังได้หลากหลายแนว ควรได้รับการสนับสนุน แวดวงหนังไทยไม่มีผู้กำกับหญิง หรือไม่ได้รับการสนับสนุน ความสงสัยว่าทำไมแวดวงหนังไทยถึงไม่ค่อยมีผู้กำกับหญิงไม่ใช่คำถามที่เพิ่งเกิดขึ้น เจ๋คิดเรื่องนี้มาตลอดแต่ไม่เคยถึงขั้นค้นหาข้อมูลลงลึกจริงจัง จนกระทั่งไม่กี่ปีมานี้เธอสังเกตเห็นเวฟของหนังโดยผู้กำกับหญิงในหลายประเทศ ที่ค่อยๆ พัฒนาเติบโตมาเรื่อยๆ จนถึงปีนี้ยิ่งชัดเจนขึ้น ซึ่งตามมาด้วยเทศกาล Women’s Film Festival ที่จัดขึ้นในหลายเมืองทั่วโลก เธอเลยลองรีเสิร์ชดูว่าประเทศไทยเคยมีงานลักษณะนี้บ้างไหม “จริงๆ ที่ไทยเคยมีเทศกาลประมาณนี้ชื่อ Fem Film Festival จัดโดย Bangkok […]

1 2 3 4 5 6

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.