เทพโลเคชัน หาโลเคชันถ่ายหนังแบบเทพๆ

เวลาเราดูภาพยนตร์สักเรื่องหนึ่ง เราจะเห็นตัวละครอาศัยอยู่ในสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโดฯ ห้างฯ หรือโรงเรียน ซึ่งเป็นสถานที่ที่พบเห็นได้ทั่วไปในเมืองของเรา แต่คนที่ทำหน้าที่สรรหาและจัดการให้สถานที่เหล่านี้มาปรากฏบนจอคือคนทำอาชีพ Location Manager ที่ต้องตามหาโลเคชันตามโจทย์ของผู้กำกับ และดูแลความเป็นไปของกองถ่ายและสถานที่ให้ออกมาอย่างราบรื่นที่สุด “อาชีพ Location Manager คือการดูแลความรู้สึกของเจ้าของสถานที่และกองถ่าย ต้องเยียวยาจิตใจของทั้งสองฝ่าย” Urban Creature ในคอลัมน์ The Professional ชวนคุยกับ ‘เทพ-ธัญญเทพ สุวรรณมงคล’ เจ้าของเพจ ThepLocation (เทพโลเคชัน) ที่ทำอาชีพ Location Manager มาถึง 20 ปี มีผลงานทั้งภาพยนตร์ ละคร โฆษณา และซีรีส์ โดยพูดถึงเบื้องหลังการจัดการโลเคชันถ่ายทำ และการเล่าเรื่องสถานที่ที่ไม่ได้เป็นแค่สถานที่ แต่คือผู้คน

สวมวิญญาณนักเดินทาง สำรวจดาวอาร์ราคิสใน Dune ตามหา ‘สไปซ์’ เพื่อกลับไปช่วยโลก

ในอนาคตอันแสนไกลนับหมื่นปี เทคโนโลยีเดินทางในอวกาศได้ก้าวล้ำจนมนุษย์อาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วทั้งกาแล็กซี ด้วยการใช้ ‘สไปซ์ เมลานจ์’ (Spice Melange) สารเสพติดที่มีค่ามากที่สุดในจักรวาล เพราะใช้ในการเดินทางในอวกาศได้อย่างปลอดภัย ยืดอายุขัย และช่วยเพิ่มพูนทักษะต่างๆ ทว่าสิ่งนี้กลับมีอยู่แค่ในดาว ‘อาร์ราคิส’ (Arrakis) เพียงดวงเดียวในจักรวาลเท่านั้น ในขณะที่ดาวโลกสีน้ำเงินของเรากำลังตกอยู่ในวิกฤตโลกเดือด และทุกพื้นที่กำลังกลายเป็นทะเลทรายจนมนุษย์ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ ทำให้เราต้องรีบค้นหาดาวเคราะห์ดวงใหม่สำหรับมนุษยชาติด้วยการตามหา ‘สไปซ์’ ชาว Urban Creature ขออาสาเป็นนักเดินทางจากดาวโลก พาทุกคนมาสำรวจดวงดาวอาร์ราคิสอันโด่งดังในจักรวาล ‘Dune’ กัน นอกจากการตามหาสไปซ์แล้ว เรายังควรดูดาวอาร์ราคิสเป็นกรณีศึกษาในกรณีที่โลกทั้งใบได้กลายเป็นทะเลทรายไปแล้วจริงๆ เทียบท่าจอด ณ ‘อาร์ราคิส’ ดวงดาวที่ร้อนกว่าประเทศไทย แค่ก้าวเท้าลงมาจากยาน อากาศที่ร้อนระอุกว่า 60 องศาเซลเซียสก็พัดกระแทกหน้าอย่างจัง ที่นี่ร้อนกว่าเมืองไทยของเราเสียอีก มองไปทางไหนก็เห็นแต่เนินทรายสีทองกว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตา ก่อนเราจะก้าวลงเดินบนพื้นทราย ไกด์นำทางของเราได้ยื่นชุด ‘สติลสูท’ (Stillsuit) ให้ เพราะชุดนี้จะรีไซเคิลของเหลวในร่างกายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นของเสีย เหงื่อ ปัสสาวะ หรือแม้แต่ลมหายใจของเรา ให้กลับมาเป็นน้ำใช้ใหม่อีกครั้ง เพื่อป้องกันผู้สวมใส่ไม่ให้ขาดน้ำตายบนความแห้งแล้งของอาร์ราคิส คืนนี้เราจะนอนกันที่ ‘อาร์ราคีน’ (Arrakeen) เมืองหลวงของดาวอาร์ราคิส ก่อนที่จะออกไปตามล่าสไปซ์ในวันรุ่งขึ้น […]

คุยเบื้องหลังหนังธีสิสเด็กฟิล์ม กับ ‘อาจารย์ญาณิน พงศ์สุวรรณ’

การจะทำหนังสักเรื่องให้ออกมามีคุณภาพ ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญมากมาย ไม่ว่าจะเป็นผู้กำกับ นักแสดง คนเขียนบท ไปจนถึงทีมโปรดักชัน กระบวนการสร้างภาพยนตร์เรื่องหนึ่งจึงต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง แม้แต่หนังสั้นนักศึกษาของเอกภาพยนตร์ที่มีต้นทุนสูงขึ้นทุกปี Urban Creature ชวนมาสนทนาประเด็นนี้กับ ‘อาจารย์ญาณิน พงศ์สุวรรณ’ อาจารย์เอกภาพยนตร์ คณะไอซีที ของมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยพูดถึงเบื้องหลังการศึกษาหลักสูตรภาพยนตร์ ที่ไม่ใช่แค่สอนทำหนัง แต่ยังรวมถึงการบริหารจัดการกับทุนสร้างให้พอดีและสอดคล้องกับคุณภาพของหนังที่ฉาย โดยที่อาจารย์ไม่ต้องกำหนดขอบเขตความคิดของนักศึกษาเพื่อที่จะลดต้นทุนในการสร้างหนังสั้น ตามไปฟังเบื้องหลังการเรียนของเด็กฟิล์มในบทสัมภาษณ์นี้

ค้นหาความพิเศษของวันธรรมดาในหนังเรื่อง Perfect Days

ไม่เกินจริงแต่อย่างใดที่จะกล่าวว่า Perfect Days คือหนังที่มอบการมองหาความสุขเล็กๆ น้อยๆ ของแต่ละวันในการใช้ชีวิต และเป็นความสุขให้การใช้ชีวิตทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นวันที่ดีดั่งฝัน วันที่ผิดหวังเกินทน วันหลังจากนี้ หรือวันนี้ในชั่วขณะที่กำลังเกิดขึ้นก็ตาม ทุกๆ วันคือวันวันหนึ่งที่ผ่านเข้ามา ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ เราไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แน่นอนว่าฟังดูคลิเชและไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรเลย แต่หนังญี่ปุ่นที่เข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์นานาชาติยอดเยี่ยมเรื่องนี้กลับมอบประสบการณ์ที่ต่างออกไปให้ผู้ชมอย่างเราได้ หนังเรื่องนี้เล่าเรื่องราวผ่านตัวละครชายผู้ประกอบอาชีพเป็นคนทำความสะอาดห้องน้ำสาธารณะ ซึ่งเป็นงานหนักหนาที่หลายคนในสังคมแสนรังเกียจ ดูไม่น่ามีความสุขได้เลย แต่เรากลับมองเห็นความมุ่งมั่นตั้งใจในการออกไปทำงานในแต่ละวันอย่างเปี่ยมล้นจนน่าประหลาดใจ รู้ตัวอีกที การได้เฝ้ามองเขาทำสิ่งต่างๆ ก็กลายเป็นความเพลิดเพลินใจอย่างที่หาไม่ได้ในหนังเรื่องไหนมาก่อน ไม่ว่าแต่ละวันจะเป็นวันที่ดี วันที่ผิดหวัง วันที่ผ่านไปแล้ว หรือวันที่ยังมาไม่ถึง ตัวละครนั้นยังคงมีจิตใจที่อยู่กับปัจจุบันชั่วขณะนั้น แม้ฟังดูเรียบง่ายและไร้ซึ่งแก่นสาร แต่การใช้ชีวิตในแต่ละวันอันธรรมดาที่ไม่ได้มีอะไรพิเศษแต่อย่างใดนั้นกลับสอนใจเราให้ลองหยุดชื่นชมกับสิ่งที่เกิดขึ้นในห้วงเวลานั้นและละทิ้งทุกสิ่งไว้ก่อน  อะไรที่ทำให้ผู้กำกับชาวเยอรมันถ่ายทอดหนังที่สะท้อนชีวิตของชายชาวญี่ปุ่นออกมาแบบนั้น คอลัมน์เนื้อหนังอยากพาไปสำรวจแนวคิดและวิถีการทำงานของคนญี่ปุ่นใน Perfect Days กัน วันธรรมดาที่เปลี่ยนไปเพราะวิธีคิดในการใช้ชีวิต เมื่อมองดูชั้นหนังสือตามร้านหนังสือบ้านเรา บรรดาหนังสือพัฒนาตนเองในชั้นเหล่านั้นมักเป็นหนังสือที่หยิบยกคำญี่ปุ่นมาใช้เป็นชื่อหนังสือปรัชญาชีวิต ไม่ว่าจะ ‘อิคิไก’, ‘อิจิโกะ-อิจิเอะ’ หรือ ‘มตไตไน’ เป็นต้น แต่สำหรับคนญี่ปุ่นคงจะมองเป็นคำทั่วๆ ไป เป็นวิถีชีวิตที่พวกเขาใช้เป็นธรรมดาอยู่แล้ว เพราะมันฝังรากลึกในทุกสิ่งที่คนญี่ปุ่นเป็น ซึ่งคงยากที่จะสอนสิ่งเหล่านี้หรืออธิบายให้เข้าใจได้อย่างที่พวกเขาเข้าใจ แม้แต่จะอธิบายความหมายของคำเหล่านี้ออกมาให้คนญี่ปุ่นฟังเองยังเป็นเรื่องยาก เพราะมันคือเรื่องธรรมดาในชีวิตประจำวันของพวกเขา น่าสนใจที่คนญี่ปุ่นให้ความหมายกับสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน […]

หอภาพยนตร์เปิด 2 เส้นทางท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยและเทศ เข้าชมฟรี ทุกวันอังคาร-อาทิตย์

‘หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)’ เป็นหน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่อนุรักษ์ภาพยนตร์ของประเทศไทย ที่ได้ทำหน้าที่จัดเก็บภาพยนตร์ไทยและเผยแพร่องค์ความรู้ต่างๆ และภาพยนตร์ให้กับประชาชนได้เรียนรู้ เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับชาวไทย และเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่หอภาพยนตร์เปิดทำการมาจนครบรอบ 40 ปี ทางหอภาพยนตร์จึงได้เปิดตัว 2 เส้นทางท่องเที่ยวใหม่ ที่จะพาไปเรียนรู้ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ผ่านการนำชมอาคารสถานที่ต่างๆ ที่หอภาพยนตร์ได้จำลองขึ้น ได้แก่ – รูต A เส้นทางกำเนิดภาพยนตร์โลก ที่บอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์การกำเนิดภาพยนตร์โลก มีรอบเข้าชมเวลา 10.00 น., 13.00 น. และ 15.00 น.– รูต B เส้นทางศตวรรษภาพยนตร์ไทย ที่จะพาไปพบเรื่องราวประวัติศาสตร์ของภาพยนตร์ไทยในหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา มีรอบเข้าชมเวลา 11.00 น., 14.00 น. และ 16.00 น. ในแต่ละรอบใช้เวลาในการชมตั้งแต่จุดแรกจนถึงจุดสุดท้ายประมาณ 1 ชั่วโมง โดยมีวิทยากรนำชม ผู้ที่สนใจสามารถจองรอบโดยไม่เสียค่าเข้าชมได้ที่หอภาพยนตร์ ทุกวันอังคาร-อาทิตย์ (ปิดวันจันทร์) โดยในวันเด็กที่ 13 มกราคมนี้ ทางหอภาพยนตร์เองก็ได้เปิด 2 เส้นทางเที่ยวชมตามเส้นทางกำเนิดภาพยนตร์โลกและเส้นทางศตวรรษภาพยนตร์ไทยตามปกติ รวมไปถึงมีนิทรรศการ กิจกรรม […]

สำรวจคลื่นทะเลในใจและปัญหาชายหาดสงขลาใน ‘Solids by the Seashore’ หนังแซฟฟิกไทยที่ไปคว้ารางวัลที่เกาหลีใต้

ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน (Busan International Film Festival : BIFF) ครั้งที่ 28 ที่ผ่านมา มีสองหนังไทยที่ได้เข้าฉายในเทศกาลและได้รับรางวัลติดไม้ติดมือกลับมาด้วย หนึ่งในนั้นคือ ‘Solids by the Seashore ทะเลของฉัน มีคลื่นเล็กน้อย ถึงปานกลาง’ โดยผู้กำกับ ‘อิฐ-ปฏิภาณ บุณฑริก’ น่าเสียดายที่แม้ว่าจะไปคว้าถึงสองรางวัลจากเทศกาลหนังระดับนานาชาติ แต่ Solids by the Seashore กลับมีที่ทางในการฉายแสนจำกัดแค่ในกรุงเทพฯ เท่านั้น เพราะนอกจากรางวัลที่การันตีคุณภาพแล้ว หนังเรื่องนี้ยังมีประเด็นที่น่าสนใจซึ่งไม่ค่อยมีหนังไทยเลือกหยิบมาบอกเล่านัก ตั้งแต่การพาไปสำรวจความซับซ้อนในใจของมุสลิมที่มีหัวก้าวหน้าและเป็นเควียร์ การเมืองท้องถิ่น ปัญหาสิ่งแวดล้อมชายหาดกัดเซาะ ไปจนถึงการใช้งานศิลปะสะท้อนความในใจของสองตัวละครหลัก ซึ่งคนหนึ่งเป็นหญิงสาวชาวใต้ที่มีครอบครัวมุสลิมอนุรักษนิยม และอีกคนคือศิลปินหญิงหัวขบถจากในเมืองที่เดินทางมาจัดนิทรรศการศิลปะ พ้นไปจากความรักความสัมพันธ์ของหญิงสาวทั้งสองที่พยายามหาที่ทางให้ตัวเองภายใต้กรอบที่ขีดกั้น การที่ฉากหลังของความสัมพันธ์เป็นสิ่งแวดล้อมของทะเลที่งดงามและความอัปลักษณ์ของเขื่อนหินกันคลื่นกับเม็ดทรายแปลกปลอม ก็สื่อสารถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาเมืองได้อย่างแยบคาย คงดีไม่น้อยถ้าคนในจังหวัดอื่นๆ จะได้ชมหนังเรื่องนี้ด้วย Solids by the Seashore ฉายแล้ววันนี้ในโรงภาพยนตร์ House Samyan และ Doc Club & Pub.

รอชม ‘ดอยบอย’ ที่ได้ไปฉายในเกาหลีใต้ หนังไทยว่าด้วยชนกลุ่มน้อยที่ลี้ภัยมาในไทย สตรีมทั่วโลก 24 พ.ย. 66 ทาง Netflix

หาก ‘ดินไร้แดน (Soil without Land)’ คือภาพยนตร์สารคดีที่ว่าด้วยชาวไทใหญ่ผู้อยากมีชีวิตที่ดีแต่ต้องไปเข้ากองทัพในรัฐฉานเพื่อปลดแอกจากรัฐพม่า ‘ดอยบอย (Doi Boy)’ ก็คือเรื่องปรุงแต่งที่ยังคงมีกลิ่นอายความรู้สึกของชาวไทใหญ่ในดินไร้แดนนั้นอยู่ หากแต่คราวนี้ได้เสริมเติมแต่งเรื่องราวหรือความรู้สึกของชีวิตที่มากกว่าใครคนใดคนหนึ่งในประเทศแห่งนี้เพียงคนเดียว ‘นนทวัฒน์ นำเบญจพล’ ยังคงนำเรื่องราวของความเป็นชนกลุ่มน้อยที่คราวนี้ยิ่งทำให้เห็นว่าไม่ใช่แค่ชาวไทใหญ่เท่านั้นที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ แต่คือเราทุกคนที่อยู่ในชนชั้นใดของสังคมก็ตามด้วยเช่นกัน เพราะหากโครงสร้างทางการเมืองยังไม่ถูกแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนให้เราในฐานะประชาชนของประเทศมีอำนาจมากพอที่จะเป็นเจ้าของอำนาจ หรืออย่างน้อยที่สุดในฐานะมนุษย์คนหนึ่งที่พึงมีสิทธิเสรีภาพ ผู้มีอำนาจในโครงสร้างนั้นก็จะยังคงกดขี่หรือคอยกัดกินหาผลประโยชน์จากเราไล่ลงมาเรื่อยๆ และพยายามทำให้โครงสร้างนี้ยังคงอยู่ต่อไป อย่างในเรื่องดอยบอย หากพื้นที่และโครงสร้างของรัฐพม่าโอบอุ้มชีวิตทุกชีวิตมากพอ ‘ศร’ เด็กหนุ่มไทใหญ่ที่ลี้ภัยเข้ามาทำงานค้าประเวณีในบาร์เกย์ที่เชียงใหม่ อาจไม่ต้องเข้าไปร่วมกับกองกำลังเพื่อต่อสู้กับรัฐพม่า หรือหากรัฐไทยเป็นประชาธิปไตยที่รองรับสิทธิมนุษยชนมากพอ เขาอาจได้สิทธิในการเป็นพลเมืองเฉกเช่นมนุษย์คนหนึ่ง หรือหากรัฐไทยมีมาตรการรองรับในช่วงโควิด-19 มากพอ เขาอาจไม่ต้องเข้าไปพัวพันกับสถานการณ์ทางการเมืองไทยจนกลายเป็นเพียงแค่หมากตัวหนึ่งที่รัฐใช้ผลประโยชน์จากเขา หรือหากรัฐไทยให้สิทธิเสรีภาพมากพอ สถานการณ์ของศรที่ต้องไปพบเจอกับนักกิจกรรมทางการเมืองอาจถูกเปลี่ยนไปเป็นสิ่งอื่น ปัญหาเหล่านี้ที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์ เราไม่อาจบอกได้เลยว่าทั้งหมดไม่ใช่เรื่องจริงที่เกิดขึ้นในรัฐไทย อาจกล่าวได้ว่า ดอยบอยคือภาพยนตร์ที่บันทึกปัญหาของรัฐไทยที่เกิดขึ้น อีกทั้งยังบันทึกเรื่องราวของชาวไทใหญ่ให้พวกเขาได้มีตัวตนมากขึ้น ให้สังคมได้รับรู้ถึงปัญหาของชายแดนไทย-พม่าที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดมา มากกว่าประเด็นที่จะได้พบเจอในภาพยนตร์ สิ่งที่ดอยบอยกำลังแสดงออกมาคือหัวจิตหัวใจของมนุษย์ที่มีทั้งดี เลว เทา สุข เศร้า และปลง ชีวิตของตัวละครที่ไม่ได้มีเฉดสีขาวหรือดำแต่ล้วนเป็นสีเทาทั้งหมด ทุกคนมีความฝันหรือความหวังในชีวิตที่อยากจะมีความสุขหรืออย่างน้อยก็ปกติสุขที่สุดในขณะที่เรามีลมหายใจ แต่ความฝันเหล่านี้ก็คงเป็นไปได้ยากหากโครงสร้างของรัฐยังกดขี่พวกเราทุกคน ความรู้สึกนี้จึงหนักอึ้งเสียกว่าประเด็นในหนังที่แสดงออกมาเสียอีก ที่ผ่านมา ดอยบอยได้ไปฉาย World Premiere ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน ครั้งที่ 28 […]

สำรวจพื้นที่ระหว่างความเชื่อ ความตาย และความเป็นชุมชนในภาพยนตร์ ‘สัปเหร่อ’

หลังจากการเดินทางของหนังชุด ‘ไทบ้านเดอะซีรีส์’ ที่เล่าเรื่องของบรรดาตัวละครมาเป็นจำนวน 3 ภาค โดยมีภาคแยกของตัวละครในจักรวาลนี้ด้วยกันหนึ่งเรื่อง นั่นคือ ‘หมอปลาวาฬ’ รวมไปถึงหนังที่แยกออกจากจักรวาลหลักอย่าง ‘รักหนูมั้ย’ และ ‘เซียนหรั่ง’ ในที่สุดก็มาถึงคราวหนังภาคแยกเรื่องราวของตัวละครที่ทุกคนต่างรอคอยใน ‘สัปเหร่อ’ ซึ่งเป็นเสมือนภาคที่จะคลี่คลายเรื่องราวของตัวละคร ‘เซียง’ และ ‘ใบข้าว’ เมื่อดูผิวเผินจากตัวอย่างและใบปิด เราอาจรู้สึกเหมือนว่า หรือทีมคนทำหนังชุดไทบ้านต้องการทำหนังผีเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดหนังไทย เพราะด้วยภาพต่างๆ ที่เผยออกมาให้ได้ชม เป็นเรื่องราวของคนในหมู่บ้านที่ถูกวิญญาณผีใบข้าวตามหลอกหลอนจนหัวโกร๋น แต่เมื่อได้รับชมตัวหนังจริงๆ ปรากฏว่าเรื่องราวในเรื่องกลับเป็นสิ่งที่ไม่ได้ถูกนำเสนอบ่อยนักในหนังไทย เราจึงไม่แปลกใจที่ผู้ชมที่เริ่มต้องการสิ่งแปลกใหม่จากหนังไทยจะแห่กันไปดูหนังเรื่องนี้อย่างล้นหลาม จนรายได้จะทะลุ 1,000 ล้านแล้วในขณะนี้ นอกจากความแปลกใหม่ของรสชาติที่หนังไทยไม่ค่อยนำเสนอ หนังเรื่องนี้ยังหยิบเอาประเด็นความเป็น-ความตาย ที่เชื่อมโยงกับความเป็นชุมชนในต่างจังหวัดมาบอกเล่าได้อย่างเรียบง่ายและสมจริง ผ่านสายตาของลูกหลานผู้เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ คอลัมน์เนื้อหนังขอถือโอกาสพาผู้อ่านไปสำรวจแง่มุมเหล่านี้ในสัปเหร่อ เพื่อทำความเข้าใจบริบทประเทศไทยในพื้นที่ที่อาจห่างไกลจากตัวผู้อ่าน ไม่ว่าจะเป็นในเชิงกายภาพหรือความเข้าใจก็ตาม พื้นที่ของความเชื่อ สิ่งที่ทำให้สัปเหร่อโดดเด่นกว่าหนังไทยเรื่องอื่นๆ คือการเข้าไปลงลึกถึงอาชีพของสัปเหร่อ ราวกับเป็นสารคดีงานศพตามหลักความเชื่อและความต้องการของผู้ตายหรือผู้จัดงานให้ หนังค่อยๆ พาผู้ชมไปสำรวจการแสดงความรักต่อผู้ที่จากไปในรูปแบบต่างๆ นานา จากการที่ ‘เจิด’ (นฤพล ใยอิ้ม) ลูกชายคนเล็กของ ‘ศักดิ์’ (อัจฉริยะ ศรีทา) สัปเหร่อประจำหมู่บ้านที่กลับมาบ้านหลังจากไปร่ำเรียนมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ซึ่งนำพาเขาไปพบกับความหลากหลายของการจัดทำพิธีแก่ผู้ที่จากไป ไม่ว่าจะแบบท้องถิ่นของชาวไทยอีสานที่มีวัฒนธรรมการตั้งวงเล่นพนันกันในงานศพ […]

ชวนดู 3 หนังสารคดีบอกเล่าแม่โขง พูดคุยกับผู้กำกับและบุคคลในสารคดี วันที่ 11 – 12 พ.ย. 66 ที่ Doc Club & Pub.

ในวันที่วิถีชีวิตของคนในลุ่มแม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลงไป จากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม และสังคมโลก Urban Creature อยากชวนมาร่วมรับชม 3 ภาพยนตร์สารคดีกับนิทรรศการ ‘แม่โขงเรา เสียงของเรา เสียงและตัวตนที่อาจเลือนหาย ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงจากผลกระทบข้ามพรมแดน’ ที่จะทำให้เรามองแม่โขงในมุมมองที่แตกต่างออกไป งานนี้จัดฉายภาพยนตร์ทั้งหมด 2 รอบ ในวันที่ 11 – 12 พฤศจิกายน 2566 ที่ Doc Club & Pub. โดยในรอบวันที่ 11 พฤศจิกายน (เต็มทุกที่นั่งแล้ว) จะจัดขึ้นในเวลา 15.00 – 18.00 น. พร้อมวงเสวนาพิเศษจาก 4 ผู้กำกับจาก 3 สารคดี ได้แก่ รวมไปถึงวงเสวนากับคนในสารคดีแต่ละเรื่องที่จะมาพูดถึง ‘อนาคตคนลุ่มน้ำโขง เมื่อแม่น้ำ อากาศ และวัฒนธรรมแปรสภาพ’ ไปด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น อ้อมบุญ ทิพย์สุนา จาก Lost in […]

‘กรุงเทพกลางแปลง’ กลับมาอีกครั้ง ชมหนัง 22 เรื่อง ใน 7 สถานที่ทั่วเมือง ยาวๆ ตั้งแต่วันนี้ – 12 พฤศจิกายน 66

หนึ่งในกิจกรรมที่ทำให้กรุงเทพฯ ปีที่แล้วมีสีสันและทำให้คนอยากออกไปนอกบ้านมากขึ้นคือเทศกาลฉายหนัง ‘กรุงเทพกลางแปลง’ ที่แม้จะจัดหน้าฝน แต่คนเมืองหลายคนก็พร้อมกางร่ม สวมชุดกันฝนไปชมภาพยนตร์ดีๆ ร่วมกัน ปีนี้กรุงเทพมหานคร ร่วมกับสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) และสมาคมหนังกลางแปลงแห่งประเทศไทย นำกรุงเทพกลางแปลงกลับมาอีกครั้งกับโปรแกรมภาพยนตร์ 22 เรื่องหลากหลายรสชาติ ตลอดทั้ง 6 สัปดาห์ ใน 7 สถานที่ทั่วเมือง นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมน่าสนใจให้เข้าร่วมอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการฉายหนังสั้นนักศึกษาและหนังสั้นจากโครงการ Today at Apple ที่ทาง กทม.จัดอบรมร่วมกับสมาคมผู้กำกับฯ ในทุกสัปดาห์ การเสวนาพิเศษ คอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดัง รวมถึงการฉายภาพยนตร์ต่างประเทศจากสถานทูต ที่สวนป่าเบญจกิติ ในวันที่ 3 – 5 พ.ย. และวันที่ 10 – 12 พ.ย. ที่เพิ่มเข้ามาจากโปรแกรมเดิม และนี่คือลิสต์หนังที่ฉายทั้งหมด พร้อมกับสถานที่ฉายที่มีทั้งรูปแบบอินดอร์และเอาต์ดอร์ เหมาะกับช่วงนี้ที่ฟ้าฝนไม่ค่อยเป็นใจให้อยู่กลางแจ้งเท่าไหร่ โดยหนังจะเริ่มฉาย 19.00 น. เป็นต้นไป 1) หัวลำโพง– 7 ต.ค. […]

Letní kino Prachatice โรงภาพยนตร์กลางแจ้งกลางเมือง ที่ใช้ประโยชน์ได้มากกว่าแค่ฉายหนัง

หากสำรวจไปในเมืองต่างๆ เราจะพบเห็นพื้นที่เก่าที่มีเรื่องราวประวัติศาสตร์ผ่านความเป็นมาของยุคสมัยอยู่หลายแห่ง และมีจำนวนไม่น้อยที่ถูกทิ้งร้าง ไม่ได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใดๆ สถาปนิก ‘Mimosa Architects’ จากสาธารณรัฐเช็ก ได้เปลี่ยนโรงหนังเก่าแก่ที่มีความจุมหาศาลถึง 800 ที่นั่ง แต่อยู่ในสภาพทรุดโทรมในเมือง Prachatice ทางตอนใต้ ให้กลายเป็น ‘Letní kino Prachatice’ หรือโรงหนังกลางแจ้งขนาด 350 ที่นั่ง ที่มีจำนวนที่นั่งน้อยลงแต่ใช้งานได้คุ้มค่ากว่า แน่นอนว่าเหตุผลที่ต้องรื้อของเก่าแล้วสร้างใหม่นั้นก็เพราะโครงสร้างที่มีอยู่ยากเกินกว่าจะซ่อมแซมได้ บวกกับสภาพแวดล้อมที่ปรับปรุงยาก และในบางส่วนอย่างตัวกำแพงที่ใช้เป็นจอฉายหนังก็บดบังแสงแดด ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในสวนสาธารณะข้างๆ ด้วย หลังจากปรับปรุงแล้ว โรงหนังกลางแจ้งแห่งนี้ได้เพิ่ม 3 ส่วนใหม่ขึ้นมา ซึ่งใช้เป็นอาคารสำหรับขายตั๋ว ขายอาหาร และเป็นห้องฉายหนัง ส่วนบริเวณฝั่งจอภาพด้านหลังก็ยังใช้เป็นพื้นที่ห้องพักศิลปินและห้องเก็บของได้อีก โรงภาพยนตร์แห่งนี้ได้รับการดีไซน์ปรับเปลี่ยนให้กลมกลืนไปตามธรรมชาติ เช่น พื้นที่ลาดเอียงลงไปยังผนังฉายภาพ หรือการใช้วัสดุ ‘หิน’ ที่เมืองแห่งนี้ใช้กันทั่วไป ซึ่งบริเวณพื้นที่สาธารณะหรือโดยรอบเมืองจะปูหินแข็ง ในขณะที่ภายในบริเวณโรงภาพยนตร์จะใช้หินเจียระไนที่ให้ความรู้สึกอ่อนนุ่มและเป็นธรรมชาติมากกว่า แม้จะได้ชื่อว่าเป็นโรงหนังกลางแจ้ง แต่ไม่ว่าจะเป็นตอนบ่ายที่มีแดดจัดหรือบางคืนที่ฝนตก สถานที่แห่งนี้ก็มีหลังคาผ้าใบที่ขึงพาดไว้ระหว่างอาคาร เพื่อช่วยให้ร่มเงาแก่นักแสดงและผู้ชม นอกจากนี้ โครงสร้างด้านบนหลังคายังสะท้อนให้เห็นถึงแรงบันดาลใจในการออกแบบจากแกนม้วนแผ่นฟิล์ม แต่ในที่นี้จะใช้สายเคเบิลแทนเพื่อปรับความตึงของหลังคาได้นั่นเอง และขณะเดียวกัน การมีผ้าใบก็ยังเป็นส่วนช่วยซับเสียงจากโรงภาพยนตร์ได้ด้วย.จากประโยชน์ใช้สอยและการออกแบบที่ร่วมสมัย ทำให้ที่นี่กลายเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง เพราะเป็นพื้นที่สร้างความรื่นรมย์ให้กับคนในชุมชน แถมยังตั้งอยู่ใกล้กับจัตุรัสกลางเมืองและสวนสาธารณะ […]

‘แม้เราจะมีลูก แต่ก็ยังโดดเดี่ยว’ มองสังคมผู้สูงวัยแต่ละประเทศผ่าน 8 หนังและซีรีส์

แม้จะมีภาพยนตร์หรือซีรีส์จำนวนไม่มากที่เลือกถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตหรือบริบทสังคมผู้สูงอายุโดยมีพวกเขาเป็นคนแสดงนำ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า เมื่อใดก็ตามที่ผู้กำกับหยิบเรื่องของพวกเขาในแง่มุมต่างๆ มานำเสนอ ก็มักจะกินใจผู้ชมอยู่เสมอ เพราะไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของโลก กลุ่มผู้สูงอายุก็เป็นหนึ่งฟันเฟืองที่ทำให้สังคมดำเนินต่อไปได้  และในขณะเดียวกัน การนำเสนอภาพผู้สูงอายุจากฝั่งตะวันตกหรือฝั่งเอเชียที่อยู่ในบริบททางสังคมที่แตกต่างกันในจอภาพยนตร์ ยังเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้เราได้ทำความเข้าใจกับแนวคิดหรือปัญหาผู้สูงวัยที่แต่ละประเทศกำลังเผชิญ เพื่อเรียนรู้หรือหาหนทางแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นร่วมกัน คอลัมน์ ‘เนื้อหนัง’ ชวนทุกคนมาร่วมมองประเด็นสังคมผู้สูงอายุผ่าน 8 ภาพยนตร์และซีรีส์ที่ล้วนสะท้อนถึงบริบททางสังคมและการจัดการเมืองที่เกี่ยวข้องกับคนกลุ่มนี้ 01 | Plan 75 (2022)เมื่อญี่ปุ่นเปิดโอกาสให้คนอายุ 75 ปี เลือกตายอย่างสมัครใจ(การการุณยฆาตและสังคมที่ไม่มีโอกาสให้ผู้สูงอายุ) ถ้าพูดถึงหนังที่มีตัวเอกดำเนินเรื่องเป็นผู้สูงอายุในยุคนี้ คงหนีไม่พ้นเรื่อง ‘Plan 75’ (2022) ที่หยิบจับเอาประเด็นเรื่องสังคมผู้สูงอายุและการการุณยฆาตมาเล่าผ่านบริบทความเป็นประเทศญี่ปุ่นได้อย่างเจ็บแสบ จนได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนภาพยนตร์ญี่ปุ่นเข้าชิงรางวัลภาพยนตร์นานาชาติเวทีออสการ์ปี 2023 ผู้ชมจะรับรู้ถึงความยากลำบากของสถานการณ์ผู้สูงอายุประเทศนี้ได้ผ่านการเล่าเรื่องราวสุดดิสโทเปีย เมื่อรัฐบาลญี่ปุ่นออกกฎหมาย Plan 75 เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีอายุ 75 ปีขึ้นไป เลือกการุณยฆาตตนเองได้อย่างสมัครใจ แบบไม่เสียค่าใช้จ่าย พร้อมรับเงินชดเชยถึง 1 แสนเยน เพื่อหวังแก้ปัญหาตัวเลขผู้สูงอายุล้นเมือง และจากตัวกฎหมายนี้เองที่ทำให้เราเห็นถึงเบื้องลึกในจิตใจของคนแต่ละกลุ่ม ตั้งแต่คนที่มองว่าผู้สูงอายุเป็นภาระของสังคม ไปจนถึงตัวผู้สูงอายุบางคนที่มองว่าการการุณยฆาตอาจไม่ใช่สิ่งที่เขาต้องการ แต่เป็นเพราะสังคมที่ไม่มีโอกาสให้พวกเขาได้ใช้ชีวิตต่างหากที่กำลังบังคับให้พวกเขาเลือกเส้นทางนี้อย่างเลี่ยงไม่ได้ 02 | C’mon C’mon (2021)การออกเดินทางสัมภาษณ์เด็กในอเมริกาของลุงและหลาน(การมองโลกของคนสองวัยในมุมมองที่แตกต่างกัน) ‘เรานึกภาพอนาคตของตัวเองไว้แบบไหน’‘ถ้าเราสามารถมีพลังพิเศษได้ […]

1 2 3 4 6

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.