ชวนเดินเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน ในงาน Night at the Museum ที่มิวเซียมสยาม 17 – 19 ธ.ค. 64

ปลายปีแบบนี้ ใครคิดถึงการเดินเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืนบ้าง ยกมือขึ้น! กลับมาอีกครั้งแล้วกับงานน่ารักๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ของมิวเซียมสยามอย่าง Night at the Museum กับคอนเซปต์ Night Talk ‘กลับกาลเก่ามาเล่ากัน’ ด้วยการมาย้อนดูย้อนฟัง เพื่อเข้าใจประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม ผังเมือง และอนาคตคนเมืองกรุง พร้อมไฮไลต์นิทรรศการพิเศษ กิจกรรม และเวิร์กช็อปอีกมากมาย ด้วยความที่ปีนี้ตารางกิจกรรมแน่นมาก เราจึงขอคัดเลือกกิจกรรมน่าสนใจๆ มาให้ทุกคนปักหมุดกันก่อน ดังนี้  – ทอล์กแบบเดี่ยวไมโครโฟนจากเหล่าคนดังและนักวิชาการ จัดเต็มด้วยเนื้อหาประวัติศาสตร์ในแง่มุมต่างๆ พร้อมพูดคุยในประเด็นร่วมสมัย ตัวอย่างรายชื่อ ได้แก่ จอมขวัญ หลาวเพ็ชร์, นักรบ มูลมานัส, บอล-ยอด หนังพาไป, Point of View, ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นต้น – กิจกรรม Night Walk X Talks in the Old Town (เดินลุยคุยเรื่องเมืองเก่า) โดย […]

สนุกกับประวัติศาสตร์นวัตกรรมผ่านโทรศัพท์กว่า 2,000 รุ่นที่ Mobile Phone Museum

เรามักได้ยินข่าวเปิดตัวโทรศัพท์ใหม่ พร้อมนวัตกรรมมากมายที่ชวนร้องว้าว เพราะเดี๋ยวนี้โทรศัพท์เครื่องหนึ่งทำอะไรได้มากมาย แต่คุณเคยสงสัยหรือนึกย้อนไปไหมว่าสมัยก่อนโทรศัพท์ที่เราใช้ๆ กันมีหน้าตายังไง ทำอะไรได้บ้าง เพราะนอกจากยี่ห้อดังๆ ที่คนไทยคุ้นเคยแล้ว ในโลกนี้ยังมีโทรศัพท์ยี่ห้ออื่นๆ และมีหน้าตาล้ำๆ อีกเยอะแยะเลย หากมีคำกล่าวว่าศิลปะสะท้อนถึงยุคสมัยได้ยังไง เราคิดว่าเทคโนโลยีก็ทำหน้าที่นี้ไม่ต่างกัน และหนึ่งในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่บ่งบอกความสนใจ พฤติกรรมการใช้งานของผู้คน และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีได้ดีที่สุดคงหนีไม่พ้นเจ้าโทรศัพท์หรือมือถือที่เปรียบเป็นอวัยวะอีกส่วนของร่างกายเราไปแล้ว ด้วยเหตุนี้ กลุ่มคนทำงานสาย Tech ผู้มีความหลงใหลในโทรศัพท์จึงได้รวมตัวกันทำ mobilephonemuseum.com หรือพิพิธภัณฑ์โทรศัพท์มือถือขึ้นมา Ben Wood คือผู้ริเริ่มโปรเจกต์นี้ขึ้นในปี 2004 ก่อนจะจอยน์กับเพื่อนนักสะสมโทรศัพท์มือถือชื่อ Matt Chatterley และอีกหนึ่งปีต่อมาพวกเขาก็ทำงานร่วมกับทีมเล็กๆ กลายเป็นองค์กรนิติบุคคลไม่แสวงหากำไร เพื่อดูแลป้องกันคอลเลกชันโทรศัพท์ที่มี ทั้งยังช่วยกันจัดการเรื่องกองทุนด้วย ปัจจุบันโทรศัพท์ในคอลเลกชันมีมากกว่า 2,000 รุ่นจากมากกว่า 200 แบรนด์ทั่วโลก โดยนับเป็นจำนวนทั้งหมด 3,500 เครื่องเมื่อรวมรายการที่ซ้ำกันแล้ว ครอบคลุมย้อนหลังไปถึงเครื่องที่ผลิตตั้งแต่ปี 1984 Ben เล่าว่า เมื่อมีคนบริจาคโทรศัพท์มา ทางทีมจะนำไปจัดทำทะเบียน ติดฉลาก ถ่ายภาพ และย้ายไปยังพื้นที่ปลอดภัย ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังมีผู้บริจาคอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีบางรุ่นที่เป็นโทรศัพท์หายาก จึงจำเป็นต้องประกาศหาในเว็บไซต์ หากเข้าไปชมนิทรรศการ คุณจะได้พบกับเหล่าโทรศัพท์หลากหลายหน้าตาที่มีการจัดประเภทเป็นรุ่นแรก […]

กล่องพิพิธภัณฑ์ส่งตรงถึงบ้าน มิวเซียมยืม-คืนที่พาวัด 9 วัด ไปหาผู้สูงวัยติดเตียงถึงบ้าน

การออกไปไหนมาไหนในยุคนี้ต้องระวังเป็นพิเศษ ยิ่งเป็นผู้สูงวัยติดเตียง หรือผู้สูงวัยที่ไม่สะดวกเดินทางด้วยแล้ว อาจสร้างอุปสรรคทั้งต่อเจ้าตัวและลูกหลานเอง ‘ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา คุ้มเจ้าบุรีรัตน์’ และ ‘โครงการพิพิธภัณฑ์สายตายาว มองการณ์ไกลเพื่อผู้สูงวัย มิวเซียมสยาม’ เลยผุดโปรเจกต์กล่องพิพิธภัณฑ์ส่งถึงบ้าน เพื่อผู้สูงวัยติดเตียง ครั้งที่ 1 เพื่อช่วยลดปัญหาการเดินทางของผู้สูงวัย และเป็นการใช้เวลาร่วมกันของคนในครอบครัว กล่องพิพิธภัณฑ์ที่ส่งตรงถึงบ้าน จะมาพร้อมแว่น VR Headset (Virtual Reality) เพื่อเติมเต็มประสบการณ์เสมือนจริง แถมยังมีโมเดลกระดาษรูปสถาปัตยกรรมล้านนาอย่างง่าย เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมของคนต่างช่วงวัย โปรเจกต์นี้ได้จัดทำเพื่อครอบครัวที่มีผู้สูงวัยติดเตียงที่อาศัยในจังหวัดเชียงใหม่ ให้สามารถท่องเที่ยว และเพลิดเพลินไปกับวัด บ้าน คุ้ม จากศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา ในรูปแบบการพาไปเที่ยว 9 วัดในเชียงใหม่ และมีกิจกรรมวัตถุระลึกความทรงจำหลังการชมวิดีโอ ซึ่งจะเป็นการใช้งานในลักษณะยืมคืน ผู้ที่สนใจลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายนนี้ และติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

Osaka กับแผน Soft Power เรียกคืนเสน่ห์ Manchester of East Asia ด้วยมิวเซียมบ้านโอซาก้าแท้แห่งแรกในญี่ปุ่น

Osaka Museum of Housing and Living พิพิธภัณฑ์โอซาก้าบรรยากาศ Machiya ที่สร้างโดยช่างผู้เคยสร้าง Katsura Imperial Villa

Edo-Tokyo มิวเซียม 70,000 ตร.ม. ที่ยกบ้านหลังประวัติศาสตร์มาทำหมู่บ้านแห่งสถาปัตย์ญี่ปุ่น

ในวันที่รู้สึกเบื่อๆ เคยลองเสิร์ชเล่นๆ ว่าโตเกียวมีพิพิธภัณฑ์อะไรน่าสนใจบ้าง ผลลัพธ์ที่ออกมาชวนกรี๊ดมาก เมืองนี้ช่างอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพิพิธภัณฑ์นานาประเภท สิ่งพื้นฐานอย่างอาร์ตมิวเซียมและพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์มีแทบทุกแขนง พิพิธภัณฑ์การ์ตูนก็เนืองแน่น ของแปลกที่ไม่น่าเชื่อว่าจะมีก็มากมาย เช่น พิพิธภัณฑ์เกลือ พิพิธภัณฑ์อุปกรณ์และประวัติศาสตร์การดับเพลิง พิพิธภัณฑ์ค่าเงิน พิพิธภัณฑ์ปรสิต ฯลฯ ใครจะไปคิดว่าโตเกียวซึ่งเป็นเมืองหลวงมาตั้งแต่ปี 1869 เพิ่งนึกขึ้นได้ว่า… เฮ้ย! เรายังไม่มีพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์! หลังจากทางการโตเกียวไหวตัวทันว่ายังไม่มีพิพิธภัณฑ์ที่เล่าประวัติศาสตร์ความเป็นมาของกรุงโตเกียวเลย Edo-Tokyo Museum จึงถูกก่อตั้งในปี 1993 ที่เขต Sumida โดยมีสาขาย่อยที่เล่าเรื่องราวผ่านสถาปัตยกรรมและชีวิตของผู้คนคือ Edo-Tokyo Open-Air Architectural Museum ที่เขต Musashino ซึ่งตั้งอยู่คนละฟากของเมืองเลยทีเดียว เพราะต้องใช้พื้นที่ในการจัดแสดง นอกจากจะเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง Edo-Tokyo Open-Air Architectural Museum ยังต่างกับพิพิธภัณฑ์อื่นๆ ตรงที่ไม่ได้เล่าแค่ประวัติศาสตร์และคุณค่าของสิ่งก่อสร้าง แต่เน้นเรื่องวิถีชีวิตของคนสมัยก่อนไม่แพ้กัน เดินดูเองก็ว่าสนุกแล้ว แต่เมื่อได้ Hidehisa Takahashi ภัณฑารักษ์ผู้คร่ำหวอดในวงการจาก Edo-Tokyo Open-Air Architectural Museum มาเล่าให้ฟังถึงความพิเศษของอาคาร 30 หลังบนพื้นที่ […]

Rijksmuseum อัปโหลดผลงานกว่า 700,000 ชิ้น ให้เข้าชมออนไลน์ฟรี ช่วง COVID-19

เรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่สาหัสสำหรับพิพิธภัณฑ์ทั่วทุกมุมโลก เพราะตั้งแต่ COVID-19 เริ่มแพร่ระบาด วงการพิพิธภัณฑ์ก็ซบเซาไปมาก เช่นเดียวกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างมากในปีที่ผ่านมา นอกจากนิทรรศการที่วางแผนไว้จะถูกเลื่อนไปแล้ว จำนวนผู้คนที่แวะเวียนมาชื่นชมศิลปะยังลดลงเหลือเพียงแค่ 1 ใน 4 ของปีก่อนหรือประมาณ 675,000 คน ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่น้อยที่สุดตั้งแต่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินี้เปิดทำการมา แต่ด้วยแรงสนับสนุนจากรัฐบาลและภาคประชาชนที่โหยหาประสบการณ์การรับชมงานศิลปะนี้เอง ทำให้พิพิธภัณฑ์เยียวยาประชาชนและวงการศิลปะด้วยการอัปโหลดผลงานในครอบครองกว่า 700,000 ชิ้น ให้ประชาชนเข้าชมออนไลน์ฟรี แบบ HD ผ่านแคมเปญ #Rijksmuseumfromhome นอกจากนั้น ทางพิพิธภัณฑ์ยังให้บริการ Virtual Tour หรือระบบนำทัวร์พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง ให้ทุกคนได้รับชมผลงานระดับโลกได้อย่างใกล้ชิดทั้งภาพและเสียงราวกับเดินอยู่แต่ละห้องของพิพิธภัณฑ์ด้วยตัวเอง เข้าไปเยี่ยมชมคลังผลงานศิลปะดีๆ ได้ที่ www.rijksmuseum.nl/en/

เปิดตำราวิชาพิพิธภัณฑ์ กับอาจารย์และนิสิตที่ผูกพันกับพิพิธภัณฑ์ไทย

คุยกับอาจารย์และนิสิตหลักสูตรการจัดการทางวัฒนธรรม กับประเด็นการเรียนหลักสูตรพิพิธภัณฑ์ และมุมมองต่อวงการพิพิธภัณฑ์ไทย

ไกด์วัยเกษียณ พาชมมิวเซียมได้อย่างเก๋าในวัยหกสิบยังแจ๋ว

ทุกครั้งที่ไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์ เรามักได้ยินเสียงบอกเล่าเรื่องราวของงานที่จัดแสดงอยู่เสมอ นั่นคือเสียงที่เปล่งออกมาจาก ‘คนนำชมพิพิธภัณฑ์’ หรือเรียกว่า ‘มัคคุเทศก์’ ที่ตั้งใจ เต็มใจ และใส่ใจลงไปในทุกถ้อยคำที่กล่าวออกมา ซึ่งปกติมักจะเห็นคนนำชมตั้งแต่วัยเด็กประถม ไล่ระดับมาเรื่อยๆ จนถึงวัยทำงาน แต่ครั้งนี้ นับว่าเป็นโชคดีของเราไม่น้อย ที่ได้เดินเที่ยวพิพิธภัณฑ์ไปพร้อมกับ ไกด์วัยหกสิบกว่ายังแจ๋ว อย่าง ‘คุณพี่ซ้วง – สุมิตรา ชาคริยานุโยค’

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.