เจาะเวลาหาอดีตที่ถูกลบเลือน อนาคตที่ไร้หนทาง และความหวังที่จะก้าวต่อไป ในหนังไซไฟไทย ‘Taklee Genesis ตาคลี เจเนซิส’

การเดินทางข้ามเวลา ไคจู ไดโนเสาร์ โลกอนาคต ความไซไฟทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมาดูเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยปรากฏบนประวัติศาสตร์หนังไทย และน้อยครั้งมากที่จะประสบความสำเร็จในด้านคำวิจารณ์และรายได้ หลายครั้งที่คนทำหนังไทยริอ่านท้าทายขนบ ทะเยอทะยานจินตนาการถึงสิ่งเหล่านี้ แต่สุดท้ายล้วนแล้วแต่ออกมาเป็นภาพที่เกินฝันชาวไทยเสมอ และต้องเจอข้อครหามากมายรอบด้านจนต้องละทิ้งความฝันนี้ไปในที่สุด ทั้งที่หากมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไซไฟเชื้อสายไทยนั้นก็ไม่ได้มีให้พบเห็นบ่อยมากอยู่แล้ว นับตั้งแต่ ‘มันมากับความมืด’ (2514), ‘ขอชื่อ สุธี สามสี่ชาติ’ (2532), ‘กาเหว่าที่บางเพลง’ (2537), ‘สลิธ โปรเจกต์ล่า’ (2566) มาจนถึง ‘Uranus 2324’ (2567) แต่ดูเหมือนความฝันในการพยายามเนรมิตไซไฟแบบไทยๆ จะยังไม่หมดลงแต่อย่างใด ผู้กำกับ ‘มะเดี่ยว-ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล’ ที่แม้จะเพิ่งผ่านผลงานที่มีความเป็นไซไฟผสมอยู่อย่าง ‘มอนโด รัก | โพสต์ | ลบ | ลืม’ (2566) มาไม่นาน ก็ขอสานต่อความกล้าที่จะท้าทายผู้ชมชาวไทยด้วยผลงานไซไฟเต็มรูปแบบอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนใน ‘Taklee Genesis’ ซึ่งถือว่าเป็นวาระสำคัญของประวัติศาสตร์หนังไทย ที่จะมีทั้งผู้กำกับไทย และค่ายหนังอย่าง ‘เนรมิตรหนัง ฟิล์ม’ ร่วมด้วยสตูดิโอระดับโลกอย่าง ‘Warner Bros.’ ที่กล้าบ้าบิ่นกันขนาดนี้ […]

ชวนอ่าน ‘วัตถุสร้างชาติ : 50 ศิลปะไทยสมัยใหม่กับความเปลี่ยนแปลงของสังคมทศวรรษ 2470 – 2520’ ที่รวบรวมสิ่งละอันพันละน้อยที่สะท้อนความเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ไทย

เวลาจะย้อนไปดูความเป็นมาของชาติ นอกจากคนและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่บอกเล่าถึงบริบทของสังคมที่ผ่านมา ‘สิ่งของ’ ก็เป็นอีกเครื่องมือสำคัญที่นำมาใช้ศึกษาที่มาที่ไป เบื้องหลังความคิดการออกแบบ หรือกระทั่งอุดมการณ์ในการมีอยู่ของมัน ‘วัตถุสร้างชาติ : 50 ศิลปะไทยสมัยใหม่กับความเปลี่ยนแปลงของสังคมทศวรรษ 2470 – 2520’ คือหนังสือที่ปรับจากงานวิจัยเรื่อง ‘ศิลปะไทยสมัยใหม่กับความเปลี่ยนแปลงของสังคมทศวรรษ 2470 – 2520’ โดยคณะผู้เขียน ได้แก่ ‘วิชญ มุกดามณี’, ‘ชาตรี ประกิตนนทการ’, ‘วิจิตร อภิชาติเกรียงไกร’ และ ‘กฤติยา กาวีวงศ์’ ซึ่งโครงการนี้เป็นงานวิจัยระยะยาว 3 ปี ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2565 เป้าหมายของโครงการนี้คือ เพื่อศึกษา รวบรวม และคัดเลือกผลงานศิลปะ งานสร้างสรรค์ หรือวัตถุชิ้นสำคัญที่ส่งผลและสะท้อนความเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์และสังคมในยุครัตนโกสินทร์ เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการจัดแสดงนิทรรศการและจัดทำองค์ความรู้ทางศิลปะของประเทศไทยตามโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ เนื้อหาภายในหนังสือต้องการนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างงานศิลปะกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคมระหว่างทศวรรษ 2470 – 2520 และเพื่อรวบรวมงานศิลปะชิ้นสำคัญที่ส่งผลต่อสังคมไทยในช่วงเวลาเดียวกัน โดยเน้นศึกษาที่ตัวชิ้นงานศิลปะเป็นศูนย์กลาง และวิธีการศึกษาทางประวัติศาสตร์เป็นหลัก จนออกมาเป็น 50 ผลงานที่บอกเล่าบริบทในช่วงเวลาต่างๆ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช […]

‘ตรอกสลักหิน’ ย่านชาวจีนหลังหัวลำโพงที่ขับเคลื่อนชุมชนด้วยวัฒนธรรมและศิลปะ

ระยะนี้ชื่อของ ‘ชุมชนตรอกสลักหิน’ ในโซเชียลมีเดียน่าจะผ่านตาของใครหลายคน เมื่อสปอตไลต์ฉายไปยังชุมชนกลางเมืองที่บางคนอาจยังไม่รู้จัก จนเป็นเหมือนแม่เหล็กดูดคนจากต่างถิ่นให้ปักหมุดมายังตรอกเล็กๆ หลังสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) แห่งนี้ ถัดจากด่านเก็บเงินทางพิเศษศรีรัช ขนาบข้างด้วยทางรถไฟ เดินไปตามถนนรองเมือง ไม่ทันไรก็มาถึงใต้ชายคาบ้านไม้สองชั้นที่แปรเปลี่ยนหน้าที่เป็นมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก สถานที่พักใจของเด็กๆ ในวันหยุดด้านหลังวัดดวงแข วันนี้เป็นวันธรรมดา มูลนิธิไร้เงาเด็กน้อยเพราะไปเรียนหนังสือ เสียงจอแจเงียบหายไปเหมือนเสียงหวีดรถไฟที่ซาลงไปไม่กี่ปีมานี้ แต่จุดประสงค์ของเราไม่ใช่เยาวชนชาวตรอกสลักหิน ทว่าเป็นเบื้องหลังของกลุ่มเด็ก เพื่อฟังเรื่องราวจากปากชาวชุมชนที่ผลักดันให้เกิดทริปนี้ขึ้นมา แหล่งอโคจรยุคอันธพาลครองเมือง “ผมเห็นตั้งแต่ชุมชนไม่มีอะไร จนมูลนิธิฯ เข้ามาพัฒนา เอาศิลปะมาลง” ‘ปีโป้-เศรษฐศักดิ์ จตุปัญญาโชติกุล’ เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ เริ่มต้นเล่าถึงตรอกสลักหินที่เขารู้จัก “เมื่อก่อนใครจะเข้าชุมชนก็โดนตี ในช่วงอันธพาลครองเมือง ยาเสพติด การพนัน ค้าประเวณี” ในช่วงปี 2499 ยุคอันธพาลครองเมือง บริเวณตรอกสลักหินและพื้นที่รอบๆ มีกลุ่มเจ้าถิ่นดูแลอยู่ตลอด เป็นพื้นที่อโคจรที่เต็มไปด้วยสิ่งผิดกฎหมาย ชื่อของตรอกเป็นที่รู้จักของคนวัยเก๋าในฐานะบ้านเกิดของ แดง ไบเลย์ หนึ่งในอันธพาลตัวเอ้ของพระนคร ย้อนไปในอดีต ด้วยระยะทางที่ใกล้กับขนส่งมวลชนสำคัญในขณะนั้น ทำให้ผู้คนจากหลากที่มาต่างเข้ามาจับจองพื้นที่ในตรอกสลักหินเพื่อพักผ่อน เช้าก็ออกไปประกอบอาชีพรองรับผู้เดินทาง เช่น แม่ค้าส้มตำที่หาบจากในตรอกไปนั่งรอลูกค้าด้านหน้าสถานีหัวลำโพง จนเป็นเหมือนสัญลักษณ์ในวันวานที่หลายคนคุ้นตา “บางคนก็อาศัยอยู่ในนี้ บางคนก็อาศัยในชุมชนวัดดวงแข มีห้องเช่าทั้งรายวัน รายเดือน […]

ทำไมบางเมืองถึงยอมแลกความเจริญกับการถูกถอดออกจากมรดกโลก

‘รักษาสิ่งเก่า’ หรือ ‘พัฒนาไปสู่สิ่งใหม่’ ถ้าสองอย่างนี้สามารถดำเนินไปด้วยกันได้คงจะดี แต่บางครั้งเราก็จำเป็นต้องเลือก โดยเฉพาะยามที่มีเรื่องผลประโยชน์ของส่วนรวมเข้ามาพัวพันด้วย ‘เมืองอยุธยาเสี่ยงจะถูกถอดออกจากมรดกโลกเพราะรถไฟความเร็วสูง’ หากมองจากสายตาคนนอก คงเป็นเรื่องน่ากังวลสำหรับโบราณสถานที่มีอายุมากกว่าหลายร้อยปี แต่ในสายตาของคนท้องถิ่น คนจำนวนไม่น้อยต้องการความเจริญอย่างรถไฟความเร็วสูงมากกว่าการเป็นมรดกโลก และสิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในไทย ก่อนอื่นขออธิบายก่อนว่า ‘แหล่งมรดกโลก’ คือพื้นที่ทางธรรมชาติหรือสิ่งก่อสร้างรวมไปถึงเมือง ที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือด้านอื่นๆ ซึ่งได้รับการปกป้องคุ้มครองทางกฎหมายตามอนุสัญญาว่าด้วยเรื่อง ‘มรดกโลก’ ของยูเนสโก เพื่อให้ประชาชนเกิดการตระหนักรู้ในการอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบทอดต่อไป และที่สำคัญคือ การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์จะนำรายได้ไม่น้อยมาให้ท้องถิ่นและชุมชน ทุกอย่างเหมือนจะดูดี แต่เหรียญย่อมมีสองด้านเสมอ บางครั้งกฎเกณฑ์ที่มากเกินไปอาจทำให้การพัฒนาพื้นที่ทำได้ยากกว่าเดิม จึงมีบางประเทศเลือกที่จะยอมถูกถอดออกจากมรดกโลกเพื่อต้องการพัฒนาเมืองให้ดีกว่าเดิม ยกตัวอย่าง เมืองลิเวอร์พูล (Liverpool) ประเทศอังกฤษ และเมืองเดรสเดิน (Dresden) ประเทศเยอรมนี ที่ชาวเมืองสนับสนุนการพัฒนาเมืองมากกว่าการเป็นเมืองมรดกโลก หรือมรดกโลกอาจขัดขวางการพัฒนาเมือง จากความจริงที่ว่า ‘เมืองไม่เคยหยุดนิ่ง’ จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและเม็ดเงินที่ไหลเวียนเข้ามา ย่อมนำมาซึ่งการขยับขยายพัฒนาเมืองเพื่อตอบโจทย์ชาวเมือง ปฏิเสธไม่ได้ว่า การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทำให้เมืองไม่สามารถขยับตัวพัฒนาในบางจุดได้เท่าที่ควร และในเมื่อต้องเลือกเพียงแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง หนึ่งในเมืองที่ขึ้นทะเบียนเมืองมรดกโลกอย่าง ‘ลิเวอร์พูล’ จึงเลือกหันหลังให้มรดกโลกเพื่อแลกกับความเจริญ ‘ลิเวอร์พูล มาริไทม์ เมอร์แคนไทล์ ซิตี’ (Maritime Mercantile City) […]

หลงเหลือ เหนือกาลเวลา ตามหาร่องรอยเก่าในกรุงเทพฯ

ระหว่างแวะทานราดหน้าแถวบางโพ เราเหลือบไปเห็นแท่งเหล็กแท่งหนึ่งแปะข้างผนังตึกที่ถัดจากร้านนี้ไปประมาณ 2 – 3 คูหา จากรูปทรงเป็นเกลียวๆ ก็พอเดาได้ว่าเคยเป็นร้านทำผมมาก่อนแน่ๆ ทำให้นึกถึงตัวเองที่ชอบถ่ายรูปตามตึกต่างๆ ในเวลาว่าง อย่างล่าสุดช่วงปีใหม่ เราไปย่านประดิพัทธ์แล้วเจอใบปลิวอายุไม่ต่ำกว่า 50 ปีซ่อนอยู่ใต้ระแนงเหล็ก นี่เลยเป็นที่มาของ One Day Trip กับตัวเอง ที่พกกล้องไปตามหาตึกเก่าในกรุงเทพฯ ว่ามีร่องรอยอะไรหลงเหลืออยู่ โดยเฉพาะร่องรอยที่ดู ‘เหนือกาลเวลา’ แต่จะให้ตระเวนทั่วกรุงเทพฯ อาจจะไม่ไหว เลยจำกัดเอาเฉพาะย่านที่เคยไปบ่อยๆ อย่างเขตดุสิต บางซื่อ ถนนประดิพัทธ์ สวนมะลิ และตรอกโรงเลี้ยงเด็ก และนี่คือตัวอย่างภาพที่ได้จากการท้าทายตัวเอง ตามหาสิ่งของที่ยังหลงเหลืออยู่แต่ปัจจุบันนี้เลิกใช้ หรือร้านที่เลิกกิจการไปแล้วแต่คงเหลือไว้แค่รอยป้าย หรือป้ายที่ยังสภาพสมบูรณ์แต่แค่ซีดจางไปตามกาลเวลา สัญลักษณ์อะไรสักอย่างตรงทางเข้าชุมชนบ้านพักองค์การทอผ้า คาดว่าเป็นสัญลักษณ์ขององค์การทอผ้า เพราะเท่าที่พยายามค้นหาจาก Google ก็ไม่พบสัญลักษณ์ที่พอจะเทียบได้ พบเพียงแต่เอกสารพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การทอผ้า พ.ศ. 2498 จากเว็บไซต์ของคลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ (parliament.go.th) ไฟหมุนร้านทำผม ดูจากลักษณะของฟอนต์ที่กล่องเหล็กด้านหลังไฟหมุนนั้น คาดว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี ติดอยู่ข้างร้านชำแห่งหนึ่งที่อยู่ถัดจากร้านราดหน้าบางโพไปประมาณ 3 – 4 คูหา […]

หอภาพยนตร์เปิด 2 เส้นทางท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยและเทศ เข้าชมฟรี ทุกวันอังคาร-อาทิตย์

‘หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)’ เป็นหน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่อนุรักษ์ภาพยนตร์ของประเทศไทย ที่ได้ทำหน้าที่จัดเก็บภาพยนตร์ไทยและเผยแพร่องค์ความรู้ต่างๆ และภาพยนตร์ให้กับประชาชนได้เรียนรู้ เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับชาวไทย และเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่หอภาพยนตร์เปิดทำการมาจนครบรอบ 40 ปี ทางหอภาพยนตร์จึงได้เปิดตัว 2 เส้นทางท่องเที่ยวใหม่ ที่จะพาไปเรียนรู้ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ผ่านการนำชมอาคารสถานที่ต่างๆ ที่หอภาพยนตร์ได้จำลองขึ้น ได้แก่ – รูต A เส้นทางกำเนิดภาพยนตร์โลก ที่บอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์การกำเนิดภาพยนตร์โลก มีรอบเข้าชมเวลา 10.00 น., 13.00 น. และ 15.00 น.– รูต B เส้นทางศตวรรษภาพยนตร์ไทย ที่จะพาไปพบเรื่องราวประวัติศาสตร์ของภาพยนตร์ไทยในหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา มีรอบเข้าชมเวลา 11.00 น., 14.00 น. และ 16.00 น. ในแต่ละรอบใช้เวลาในการชมตั้งแต่จุดแรกจนถึงจุดสุดท้ายประมาณ 1 ชั่วโมง โดยมีวิทยากรนำชม ผู้ที่สนใจสามารถจองรอบโดยไม่เสียค่าเข้าชมได้ที่หอภาพยนตร์ ทุกวันอังคาร-อาทิตย์ (ปิดวันจันทร์) โดยในวันเด็กที่ 13 มกราคมนี้ ทางหอภาพยนตร์เองก็ได้เปิด 2 เส้นทางเที่ยวชมตามเส้นทางกำเนิดภาพยนตร์โลกและเส้นทางศตวรรษภาพยนตร์ไทยตามปกติ รวมไปถึงมีนิทรรศการ กิจกรรม […]

หลบร้อนมาอ่านหนังสือศิลปะในมุมสงบ ที่ ‘ห้องสมุดลับ’ กลิ่นอายประวัติศาสตร์ ชั้น 2 หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน

อากาศร้อนๆ แบบนี้ แวะไปหลบแดดในสถานที่เย็นฉ่ำ และดื่มด่ำกับบรรยากาศกลิ่นอายประวัติศาสตร์ด้วยกันไหม ถ้าสนใจ เราขอแนะนำห้องสมุดเล็กๆ จนเกือบลับอย่าง ‘ห้องสมุดศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย’ ที่มีแอร์ ปลั๊ก และหนังสือให้อ่านฟรี ซ่อนตัวอยู่ใน ‘หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน’ บนถนนราชดำเนินใจกลางกรุงเทพฯ ห้องสมุดศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย แทรกตัวอยู่กับพื้นที่นิทรรศการในอาคารหอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนินที่มีความสูง 3 ชั้น พื้นที่ใช้สอยกว่า 5 พันตารางเมตร แม้ห้องสมุดที่อยู่บนชั้น 2 ของอาคารแห่งนี้จะมีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด แต่ก็ครบครันไปด้วยหนังสือ วารสาร เอกสารวิชาการ ด้านศิลปะร่วมสมัยที่มีคุณค่าและหาชมได้ยากเก็บสะสมไว้ เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้เข้ามาศึกษาและค้นคว้าหาองค์ความรู้เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายและไม่ต้องสมัครสมาชิก ซึ่งนอกจากห้องสมุด ตัวหอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนินเองก็ยังคงบอกเล่าเรื่องราวของศิลปะ ผ่านการจัดแสดงผลงานนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทยหลากหลายแขนง ตลอดจนส่งเสริมการเรียนรู้ด้านศิลปะร่วมสมัยของไทย เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอด สู่การสร้างมูลค่าเพิ่มอันมีรากฐานต่อยอดมาจากศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิม ภายใต้การบริหารงานโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ห้องสมุดศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ตั้งอยู่บนชั้น 2 อาคารหอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน เปิดให้บริการทุกวันอังคาร-อาทิตย์ (หยุดวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 10.00 – 17.30 น. ใช้บริการได้ฟรี ไม่ต้องสมัครสมาชิก ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.rcac84.com หรือโทร. […]

‘Nang Loeng-BKKDW 2023’ เอนจอยกับแสงสี เรียนรู้ประวัติศาสตร์ย่านนางเลิ้ง

ปีนี้ ‘ย่านนางเลิ้ง’ ได้ร่วมเป็นอีกหนึ่งย่านใหม่ของเทศกาล Bangkok Design Week 2023 ด้วย นอกจากการเป็นต้นตำรับความอร่อยและบรรยากาศชุมชนเก่า ย่านนี้ยังมีอะไรอีกมากมายให้ไปทำความรู้จักและเรียนรู้ กว่าสิบกิจกรรมในย่านนางเลิ้งเกิดขึ้นโดยคนในชุมชน ศิลปิน ผู้ประกอบการภายในย่าน ไปจนถึงหน่วยงานมากมายที่มุ่งมั่นอยากทำให้ย่านนี้มีชีวิตชีวามากขึ้น รวมถึงทดลองหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้พื้นที่ที่อุดมไปด้วยชุมชนเก่าและสิ่งก่อสร้างที่มีคุณค่า กิจกรรมที่ว่ามีตั้งแต่นิทรรศการศิลปะ การแสดงศิลปะชุมชนผสมผสานกับละครชาตรี การจัดแสดงแสงสีกับพื้นที่ของเมืองและอาคารเก่า การสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะเมืองรูปแบบต่างๆ ไปจนถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่เพื่อนำเสนออาหารในย่าน ใครที่เลือกไม่ถูก ไม่รู้ว่าจะไปย่านไหนในงานนี้ดี แถมเวลาก็เหลืออีกไม่กี่วันแล้ว ตามลิสต์นี้มาได้เลย ชื่นชมความงามของสถาปัตยกรรมเก่า ที่บ้าน Bangkok 1899 เริ่มต้นกันที่บ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ที่มีอายุมากกว่าร้อยปี และออกแบบโดย ‘มาริโอ ตามัญโญ (Mario Tamagno)’ สถาปนิกชาวอิตาเลียน ปัจจุบันที่นี่ได้ถูกปรับเปลี่ยนมาเป็นศูนย์กลางทางด้านสังคมและศิลปวัฒนธรรม โดยประกอบไปด้วยที่พักสำหรับศิลปินนานาชาติ คาเฟ่ พื้นที่จัดนิทรรศการ และพื้นที่สวนสาธารณะ ภายใต้ชื่อโครงการ Bangkok 1899 นอกจากความสวยงามของสถานที่แล้ว ที่นี่ก็มีนิทรรศการ ‘A New Thai Alphabet Typography’ โดย Elvire Bonduelle […]

เจอเพื่อนใหม่ผ่านเส้นทางแบบไร้ไกด์กับ ‘ทัวร์สุ่มสี่สุ่มให้’ โดย ILI.U ย่านอารีย์-ประดิพัทธ์ 11 – 12 ก.พ. 66

โอกาสเจอเพื่อนใหม่ในยุคนี้ช่างแสนยาก ส่วนเพื่อนเก่าที่มีก็นัดเจอลำบากเหลือเกิน เราจึงอยากชวนทุกคนไปเดินสำรวจเมืองกับ ‘ทัวร์สุ่มสี่สุ่มให้’ ที่จะสุ่มให้ทั้งเส้นทางเดิน เพื่อนใหม่ และภารกิจที่มาพร้อมประสบการณ์สุดพิเศษ มิตรสหายรักเมืองของเรา ‘ไอแอลไอยู’ จับมือกับ ‘Bangkok Design Week 2023’ จัดกิจกรรมนี้ขึ้นมา เพื่อพาคนที่ชอบและอยากลองท่องเที่ยวในเมืองไปซอกแซกเข้าซอยนู้นโผล่ซอยนี้ใน ‘ย่านอารีย์-ประดิพัทธ์’ รวมถึงสัมผัสประวัติศาสตร์ย่านในมุมที่ไม่เคยรู้มาก่อน  ความแปลกใหม่ของการเดินทางครั้งนี้คือ ทางไอแอลไอยูจะทำหน้าที่สุ่มเพื่อนร่วมเดินทาง และออกแบบวิธีเที่ยวให้คุณทดลองใช้ชีวิตหนึ่งวันกับเพื่อนใหม่ พร้อมกับทำความรู้จักย่านนี้ในมุมใหม่ๆ ไปด้วยกัน การ ‘สุ่มเพื่อน’ ที่ว่าคือ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้เพื่อนใหม่เพิ่มขึ้นหนึ่งกลุ่มเล็กๆ ผ่านการเดินเที่ยวย่าน แวะชิมของอร่อย ลัดเลาะเข้าร้านต่างๆ หรือต่อให้จบทัวร์แล้วจะไปเที่ยวกันยาวๆ อีกก็ยังได้ ส่วนการ ‘สุ่มทาง’ คือ แต่ละกลุ่มจะได้รับเส้นทางแบบสุ่มที่ผู้จัดเตรียมไว้ให้ใน ‘Self-Guided Tour Manual คู่มือเดินทัวร์แบบสุ่มสี่สุ่มให้ ในย่านอารีย์-ประดิพัทธ์’ ภายในเล่มประกอบด้วยเส้นทางที่ออกแบบมาให้ผู้ร่วมทัวร์ได้สุ่มทำความรู้จักย่าน ผ่านประวัติศาสตร์ฉบับย่อโดยไม่ต้องมีไกด์ พร้อมภารกิจสนุกๆ ที่จะสร้างประสบการณ์สุดพิเศษให้เฉพาะผู้ร่วมทัวร์สุ่มสี่สุ่มให้เท่านั้น ทัวร์มีให้เลือก 2 วัน ได้แก่ วันเสาร์ที่ 11 และวันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566 […]

ทัวร์กินของอร่อยและสำรวจสตอรี่เก่าๆ ย่านสุขุมวิท-บางนา กับเพจ SUNA 21 – 22 และ 28 – 29 ม.ค. 66

SUNA – สุนา คือแพลตฟอร์มออนไลน์ที่บอกเล่าประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมย่อย ธุรกิจหลากไซซ์ รวมถึงสถานที่ ‘ของดี’ ในย่าน ‘สุขุมวิท-บางนา’ โดยมีเป้าหมายหลักคือการสื่อสารให้คนทั่วไปรู้จักความพิเศษของย่าน และส่งเสริมให้เพื่อนบ้านร่วมย่านได้สนับสนุนชุมชน ขับเคลื่อนเรื่องคุณภาพชีวิต และดูแลสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน  หลังจากแบ่งปันข้อมูลดีๆ ผ่านโลกออนไลน์มานานเกือบหนึ่งปี ทางเพจสุนาก็ถือโอกาสนี้ชวนชาวสุนาเนี่ยนไปรู้จักของดีที่เคยพูดถึงและยกนิ้วให้ ผ่านกิจกรรมออฟไลน์ครั้งแรกที่ชื่อว่า ‘SUNA ว่าดี TOUR’ ความพิเศษของ SUNA ว่าดี TOUR คือการมี 2 เส้นทางให้เลือกตามความสนใจ ได้แก่1) ‘สายกินทุกวันเสาร์’ เหมาะกับคนชอบเรื่องกิน (Foodie-friendly)2) ‘สายเก๋าทุกวันอาทิตย์’ เหมาะกับคนชอบเรื่องประวัติศาสตร์ (Nerdie-friendly) ส่วนไฮไลต์ที่เราประทับใจจนขอขีดเส้นใต้สองเส้นก็คือความ Local-Eco-Friendly ของทัวร์ ที่ไม่ใช่แค่การเปิดประสบการณ์ผ่านการกินจริง เดินจริง รู้จริง อุดหนุนจริง และเจอเพื่อนบ้านตัวจริง แต่ผู้ร่วมทริปยังได้สัมผัสประสบการณ์การเดินทางในย่านที่สะดวกสบายและดีต่อโลกกับ MuvMi ตุ๊กตุ๊กพลังงานไฟฟ้า และ NEX Point รถบัสไฟฟ้าที่ขับเคลื่อนเรื่องพลังงานสะอาด  มากไปกว่านั้น ทางสุนายังชวนให้ผู้ร่วมทริปพกขวดน้ำส่วนตัวเพื่อลดการใช้แก้วพลาสติก Single-use มีระบบคัดแยกและจัดการขยะด้วยวิธีแบบ […]

เข้าใจ ‘ประวัติศาสตร์’ ในยุคสมัยใหม่ กับ ‘นิธิ เอียวศรีวงศ์’ | Somebody Ordinary EP.13

คงไม่ผิดนักหากบอกว่า ‘ประวัติศาสตร์’ คือหนึ่งในวิชาความรู้ที่นับว่าถูกยุคสมัยเขย่าให้สั่นสะเทือน และเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในรอบไม่กี่ปีมานี้ของไทย ในวันที่คนรุ่นใหม่พากันเบือนหน้าหนีจากเนื้อหาอดีตในตำรา ไปเสาะหาศึกษาอ่านประวัติศาสตร์กระแสรอง จนหนังสือประเภทนี้ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า ‘ประวัติศาสตร์’ ยังทำหน้าที่และมีบทบาทใดต่อการสร้างชาติในปัจจุบันบ้าง Urban Creature ขอพาทุกคนไปสนทนากับ ‘อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์’ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ถึงความสำคัญและการเปลี่ยนแปลงของเรื่องเล่าที่ส่งต่อกันมาเหล่านี้ ในแง่มุมที่นอกเหนือไปจากการทำหน้าที่บอกเล่าเรื่องราวของชนชั้นนำ เพื่อปลูกฝังให้ประชาชนสยบยอมต่อผู้มีอำนาจขีดเขียนประวัติศาสตร์

นั่งรถรางส่องประวัติศาสตร์กับ Co-create Chiang Rai โปรเจกต์พัฒนาเชียงรายให้เป็นเมืองสร้างสรรค์

01 ความทรงจำน้อยนิดระหว่างเราและจังหวัดเชียงราย คงเป็นวันหนึ่งในฤดูฝน แดดเช้าเย็นฉ่ำด้วยอายกลิ่นเมฆครึ้มในร้านกาแฟ ชาวเมืองต่างแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดที่ต้องไปให้ได้เมื่อมาเยือนแดนเหนือถิ่นนี้ เช่น เดินชมงานที่ ขัวศิลปะ ไป วัดร่องขุ่น ดูลวดลายฝีมืออาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ และที่ขาดไม่ได้คือ บ้านดำ พิพิธภัณฑ์แห่งชีวิตของถวัลย์ ดัชนี ซึ่งทุกสถานที่ที่เอ่ยมาล้วนอยู่นอกเมือง วิธีเดินทางง่ายๆ ที่แนะนำต่อกันมาคือ การเช่ารถยนต์สักคันเพื่อประหยัดทั้งเงินและเวลา เราอดคิดซ้ำๆ ในใจไม่ได้ว่าขนส่งสาธารณะทุกๆ ที่ควรเร่งปรับปรุงแก้ไขได้เสียที กลับมาเชียงรายอีกครั้งในฤดูกาลเดียวกันกับคราวก่อน รอบนี้เราไม่ได้ออกไปนอกเมือง แต่กำลังนั่งอยู่บนรถรางไฟฟ้า  “วันนี้เป็น Test Day ทดลองใช้และดูระยะการปรับปรุงระบบขนส่งมวลชนขนาดเล็กภายในเมือง รวมถึงการพัฒนาพื้นที่ต่างๆ ในเมืองเชียงราย” อาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พูดผ่านไมค์เป็นการทักทายสำหรับการนำทัวร์เมืองล้านนาในวันนี้ ปกติแล้วรถรางไฟฟ้าของทางเทศบาลจะให้บริการในเมืองวันละ 2 รอบ แล่นไปยัง 4 จุดสำคัญ เป็นเส้นทางรถรางเชิงท่องเที่ยวสำหรับไหว้พระในเมืองเก่าเชียงรายที่มีหลายสิบวัด  แต่เพื่อการซัปพอร์ตมิติที่หลากหลายของผู้คนในเมืองมากขึ้น Test Day วันนี้เลยเพิ่มรอบรถรางเป็นทั้งหมด 8 รอบ ในบริเวณ 10 จุดสถานที่ที่ทางสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA), สำนักงานในจังหวัดเชียงราย, กลุ่มนักสร้างสรรค์ท้องถิ่น และคนในชุมชน […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.