สำรวจอำนาจภายในรั้วโรงเรียน ที่สะท้อนถึงการจัดการปัญหาของสังคม ในหนังเยอรมนี The Teachers’ Lounge

ครั้งนี้ครูจะต้องได้เจอ ‘บทเรียน’ เมื่ออำนาจในโรงเรียนไม่ได้อยู่ที่การกะเกณฑ์บังคับผ่านการแต่งกายหรือกฎระเบียบเท่านั้น แต่ยังเคลือบอยู่กับท่าที การตัดสินใจ หรือกระทั่งการลงโทษ ซึ่งเราสัมผัสได้อย่างชัดเจนจากการชม The Teachers’ Lounge (ห้องเรียนเดือด) หนังสัญชาติเยอรมันโดย อิลเคอร์ ชาทัค ผู้กำกับชาวเยอรมันเชื้อสายตุรกี ลูกศิษย์คนเก่งของผู้กำกับ วิม เวนเดอร์ส ที่ติดอันดับหนังยอดเยี่ยมของนักวิจารณ์หลายคนในปี 2023 อีกทั้งยังเป็นหนัง 5 เรื่องสุดท้ายที่ได้เข้าชิงสาขาภาพยนตร์นานาชาติ บนเวทีออสการ์ปีล่าสุด The Teachers’ Lounge เป็นหนังที่ว่าด้วยเรื่องราวปัญหาภายในโรงเรียน โดยมีจุดเริ่มต้นจากเหตุลักขโมยซ้ำแล้วซ้ำเล่าและไม่สามารถหาคนผิดได้ ทำให้ความรู้สึกกดดันกลายเป็นความเดือดดาล และพุ่งทะยานขึ้นไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง ความน่าสนใจคือ ประเด็นการตัดสินคนผิด-ถูกที่สะท้อนผ่านภาพในรั้วโรงเรียนเล็กๆ ถูกขยายไปมากกว่าใครเป็นคนร้ายตัวจริง ทำให้เราเห็นถึงผลกระทบที่ตามมาจากการตัดสินคนผิดที่ไม่ใช่แค่บุคคลที่โดนกล่าวหา ทว่ารวมไปถึงปฏิกิริยาของผู้คนในสังคมที่ตอบรับกับปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งนั่นทำให้เรานึกถึงการลงโทษทางสังคม (Social Sanction) เมื่อผู้คนต่างเห็นพ้องตรงกันว่าคนผิดสมควรถูกลงโทษ (แม้จะยังไม่รู้แน่ชัดว่าผิดจริงไหมก็ตาม) มากไปกว่านั้น ยังมีมิติความสัมพันธ์ของครูที่ตั้งใจจะทำให้โรงเรียนโปร่งใส กับนักเรียนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นขโมย โดยไม่ได้แสดงออกผ่านถ้อยคำ แต่เห็นผ่านการกระทำที่เปิดช่องว่างให้คนดูคิดถึงความจริงใจของทั้งสองคนนี้ได้เป็นอย่างดี คล้ายเป็นการต่อสู้ของคนตัวเล็กสองคนที่เข้าอกเข้าใจกัน รับชมภาพยนตร์ The Teachers’ Lounge ได้แล้ววันนี้ที่โรงภาพยนตร์ SF, Major […]

ชวนครูมาเติมพลังและหาไอเดียสอน ในมหกรรม insKru Festival 2023 ที่สวนโมกข์ กรุงเทพฯ 29 – 30 เม.ย. 66

ในยุคสมัยที่ ‘การศึกษา’ ถูกท้าทายด้วยความเปลี่ยนแปลงอย่างรอบด้าน ทั้งจากปัจจัยสังคม การเมือง และเทคโนโลยี ‘คุณครู’ ยังคงเป็นฟันเฟืองสำคัญที่จะถ่ายทอดความรู้ให้นักเรียน และส่งเสริมให้พวกเขาเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ขณะเดียวกัน การต้องพัฒนาตัวเองและทุ่มเทกับการเรียนการสอนอย่างหนัก เพื่อทำให้การศึกษาไทยเท่าทันโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อาจทำให้บรรดาคุณครูหมดแรงกายและแรงใจได้ Urban Creature จึงอยากชวนผู้สอนมารวมตัวกัน เพื่อเติมพลังและฮีลใจตัวเองจากความเหนื่อยล้ากับ ‘insKru Festival 2023’ เทศกาลที่จัดขึ้นเพื่อครู โดย ‘insKru’ คอมมูนิตี้แลกเปลี่ยนไอเดียการสอน สำหรับคนรักการเรียนรู้ ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ทาง insKru จัดเทศกาลเพื่อครูขึ้นโดยใช้ชื่อตอนว่า ‘ริเริ่มสร้างฉัน’ ซึ่งเป็นมหกรรมไอเดียการสอน ความหวัง และพลังในตัวครู ที่ต้องการส่งต่อความหวัง และจับมือกันสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้การศึกษาไทย เพราะเชื่อว่าทุกคนมีส่วนช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงให้การศึกษาไทยในแบบของตัวเองได้ ภายในงานมีกิจกรรมมากมาย ตั้งแต่เวิร์กช็อปเพื่อคุณครู เช่น กลวิธีสร้างโรงเรียนให้เป็นพื้นที่ทำงานที่มีความสุข เปิดประตูหัวใจผู้เรียนด้วยจิตวิทยาเชิงบวก ทำไมคุณครูต้องเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กับเด็ก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆ ให้ร่วมสนุกอีกเพียบ เช่น – เดินเล่นในนิทรรศการ ‘ริเริ่มสร้างฉัน’ สะท้อนคิดตั้งคำถามถึงตัวตน ทบทวนความฝัน ชวนคิดถึงความหวังของคนเป็นครู– ชมผลงานศิลปะจากไอเดียการสอนของครูในคอมมูนิตี้ insKru ผ่านการตีความของศิลปินชื่อดัง– เล่นบอร์ดเกมเพื่อการเรียนรู้ที่ออกแบบและสร้างสรรค์โดยครูไทย– […]

Dropout Crisis เทอม 1/2565 มีนักเรียน กทม. หลุดจากระบบการศึกษากี่คน

ตั้งแต่เมื่อไหร่กันนะ ที่ปัญหาเด็กไทยหลุดออกจากระบบการศึกษากลายเป็นเรื่องธรรมดาสามัญที่พบได้ตามข่าวสารทั่วไป ย้อนกลับไปในวัยเด็ก สมัยที่เราศึกษาอยู่ในรั้วโรงเรียน ก็เคยได้ยินว่ามีเพื่อนบางคนต้องหยุดเรียนหรือหลุดออกจากการศึกษากลางคัน เนื่องจากปัญหาทางการเงิน ปัญหาในโรงเรียน หรือปัญหาส่วนตัว แต่ในอดีตปัญหาเด็กไม่ได้เรียนต่อก็ไม่ได้มีให้เห็นบ่อยเท่ายุคปัจจุบัน ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าสังคมยุคนี้ถูกซ้ำเติมด้วยวิกฤตรอบด้าน ทั้งความเหลื่อมล้ำในสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ รวมไปถึงวิกฤตโรคระบาด ที่ทำให้หลายครอบครัวมีรายได้ลดลงหรือต้องหยุดงานชั่วคราว ขณะเดียวกัน พวกเขายังคงต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ในครัวเรือน ซึ่งดูเหมือนจะมากขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ โดยค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา ช่วงที่นักเรียนต้องเปลี่ยนไปเรียนออกไลน์ ครอบครัวที่ไม่ได้มีความพร้อมตั้งแต่แรกต้องเสียเงินเพิ่มกับค่าอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โทรศัพท์ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ ค่าอินเทอร์เน็ต และค่าอุปโภคบริโภคอื่นๆ ส่วนช่วงที่โรงเรียนกลับมาเปิดตามปกติ ก็ยังจะต้องเจอกับภาวะเงินเฟ้อ ที่ทำให้เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์การเรียน และของอื่นๆ ที่จำเป็นต้องซื้อใหม่มีราคาแพงขึ้นตามไปด้วย  เมื่อครอบครัวไม่มีความพร้อมทางการเงิน นักเรียนหลายคนจึงไม่ได้เรียนต่อ และต้องออกจากระบบการศึกษากลางคันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งผลสำรวจข้อมูลนักเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครทั้งหมด 258,124 คน ของภาคเรียนที่ 2/2564 พบว่า มีผู้ที่ไม่ได้รับศึกษาต่อในภาคเรียนถัดมาหรือภาคเรียนที่ 1/2565 มากถึง 2,582 คน จากเดิมที่มีเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษาเพียง 434 คนในภาคเรียนที่แล้ว  หมายความว่า ในช่วงระยะเวลาเพียงหนึ่งภาคเรียน มีเด็กกรุงเทพฯ ที่ไม่ได้เรียนต่อเพิ่มขึ้นถึง 5.8 […]

Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน แสนสิริออกหุ้นกู้ 100 ล้านบาทเพื่อการศึกษาไทย ลดจำนวนเด็กหลุดระบบการศึกษาเป็น ‘ศูนย์’

รู้หรือไม่ว่า มีเด็กยากจนมากมายกำลังจะหลุดจากระบบการศึกษากว่า 1.9 ล้านคน สาเหตุหลักเกิดจากผู้ปกครองมีฐานะยากจน ประกอบกับวิกฤตโรคระบาด ที่ทำให้พ่อแม่มีรายได้น้อยลง ถูกพักงานชั่วคราว หรือตกงาน จึงจำเป็นต้องให้ลูกออกจากระบบการศึกษากลางคัน และตัวเลขของเด็กเหล่านี้ยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ   ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาจึงเป็นที่มาของโครงการ ‘Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน’ โครงการที่ ‘แสนสิริ’ ร่วมกับ ‘กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)’ จัดทำขึ้นเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาไทยและลดจำนวนเด็กหลุดจากระบบการศึกษาเป็น ‘ศูนย์’ และแสนสิริต้องการสร้างแรงกระเพื่อมในสังคมให้คนไทยรับรู้และตระหนักถึงปัญหาด้านการศึกษา จึงได้ออกหุ้นกู้แสนสิริ ระดมทุน 100 ล้านบาท บริจาคให้กับ กสศ. เพื่อใช้ในการดำเนินการโครงการดังกล่าว  สำหรับโครงการ ‘Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน’ นี้จะสร้าง ‘ราชบุรีโมเดล’ เป็นจังหวัดต้นแบบ เนื่องจากราชบุรีมีเด็กฐานะยากจน และยากจนพิเศษที่เสี่ยงหลุดจากระบบการศึกษาอยู่ประมาณ 10,000 คน ซึ่งเหมาะสมกับจำนวนเงินระดมทุน 100 ล้านบาท อีกทั้งยังเป็นจังหวัดที่ใกล้กับกรุงเทพฯ เดินทางสะดวก เพื่อให้พนักงานทุกคนของแสนสิริ ลูกค้า และพันธมิตร ได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมช่วยเหลือเด็กอย่างใกล้ชิด ที่สำคัญ แสนสิริไม่มีโครงการในจังหวัดนี้ ทำให้มีความโปร่งใสและไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน  แสนสิริและ กสศ. […]

ร่วมลงชื่อปกป้องเสรีภาพการใช้หลักสูตรของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อให้เด็กไทยเปิดกว้างทางการศึกษามากขึ้น

ประเด็นที่กำลังถูกถกเถียงบนโซเชียลมีเดียอย่างกว้างขวางก็คือ กระแสข่าวที่ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และสื่อบางสำนักระบุว่า หลักสูตรของ ‘โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์’ อาจบิดเบือนประวัติศาสตร์และสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้นายกฯ สั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแลเรื่องนี้ ทั้งนี้ ทางโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงว่า กระแสข่าวในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับหลักสูตรและแนวทางการเรียนการสอน อาจทำให้เกิดความสับสน คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง ลดทอนคุณค่าและความมุ่งมั่นอันแท้จริงของโรงเรียน  ความเคลื่อนไหวทั้งหมดเกิดขึ้นหลังจาก รศ. ดร.อนุชาติ พวงสำลี ประธานบริหารโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กขอบคุณ ศ. ดร.ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีส่วนร่วมในการออกแบบ ‘แนวทางการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์’ ของโรงเรียน ทำให้นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระชื่อดัง หยิบเรื่องดังกล่าวมาพูดถึงในหัวข้อ ‘การศึกษาหรือล้างสมอง’ เพราะกังวลว่า นักเรียนจะได้เรียนเนื้อหาผิดๆ และ ‘ถูกล้างสมองตามแนวคิดที่จะนำไปสู่การปฏิรูปที่ซ่อนเร้น’ นอกจากนั้น ยังแสดงความไม่เห็นด้วยต่อแนวทางของโรงเรียนที่ไม่มีเครื่องแบบนักเรียน ไม่สอนวิชาพระพุทธศาสนา ไม่ให้เด็กยืนเคารพธงชาติตอนเช้า และไม่มีสวดมนต์ตอนเช้า ทางโรงเรียนได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า โรงเรียนได้พัฒนาหลักสูตรที่ช่วยเตรียมความพร้อมให้เยาวชนเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก ที่พร้อมใช้วิจารณญาณในการเผชิญความเปลี่ยนแปลงอย่างเท่าทัน นอกจากนั้น ยังให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนที่ทันสมัยและครอบคลุมเนื้อหาการเรียนรู้ของแต่ละช่วงชั้น ซึ่งนอกจากวิชาสาระหลัก ทางโรงเรียนยังมีวิชาเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้เรียนนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้จริง เช่น วิชาอยู่รอดปลอดภัย วิชาว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด วิชาวัยรุ่นศาสตร์ วิชารู้ทันการเงิน […]

Ideal School ชวนนักเรียนออกแบบโรงเรียนในฝันที่ทั้งสนุกและตอบโจทย์ผู้เรียน

การระบาดของโควิด-19 ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ทำให้นักเรียนส่วนใหญ่ต้องเรียนออนไลน์อยู่บ้าน หลายคนเริ่มโอดครวญไม่อยากเรียนผ่านหน้าจอสี่เหลี่ยมแล้ว เพราะนอกจากนักเรียนจะไม่มีสมาธิ เนื้อหาไม่เข้าหัว จนรู้สึกหมดไฟไปตามๆ กัน และยังไม่มีใครฟันธงได้ว่าเด็กๆ จะได้กลับไปโรงเรียนแบบ 100% อีกเมื่อไหร่ Urban Creature จึงขอพักเบรกความรู้สึกห่อเหี่ยวและเหนื่อยล้าจากการเรียนออนไลน์ โดยการชวนนักเรียนชั้นประถมฯ จนถึงวัยมัธยมฯ มาร่วมกันระดมไอเดียสนุกๆ และสร้างสรรค์ เพื่อออกแบบ ‘โรงเรียนในอุดมคติ’ ตามแบบฉบับ Urban Sketch  จุดเริ่มต้นมาจากโรงเรียนไทยส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกออกแบบโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง นักเรียนไม่มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นหรือเสนอไอเดียเกี่ยวกับการออกแบบโรงเรียน ทำให้ห้องเรียน ตึก และอาคารส่วนใหญ่มีฟังก์ชันที่ไม่เหมาะกับการใช้งานของผู้เรียนเท่าที่ควร นอกจากนั้น เวลาซื้ออุปกรณ์หรือสร้างพื้นที่ใหม่ๆ โรงเรียนก็ไม่เคยถามความคิดเห็นจากเด็ก ว่าพวกเขาต้องการหรือคิดว่ามันเหมาะสมหรือไม่ ดังนั้น เราจึงอยากให้เด็กๆ ช่วยกันจินตนาการว่า ถ้าเลือกเองได้ โรงเรียนควรออกแบบอย่างไร หรือควรมีอะไรบ้าง พวกเขาถึงจะเรียนได้อย่างสบายกายและสบายใจ เพราะหลายโรงเรียนทั่วโลกก็ออกแบบโดยยึดโรงเรียนเป็นศูนย์กลางทั้งนั้น การออกแบบของเด็กๆ มีตั้งแต่ฟังก์ชันล้ำที่เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน การออกแบบห้องสมุดเพื่อความสะดวกสบาย ไปจนถึงการจัดวางห้องศิลปะและโรงอาหารที่ผู้ใหญ่อย่างเรานึกไม่ถึงมาก่อน ทั้งหมดนี้คือการออกแบบที่จะทำให้นักเรียนแฮปปี้และสนุกกับการไปโรงเรียนมากขึ้น ถ้าพร้อมแล้ว เราขอชวนทุกคนแพ็กกระเป๋า สวมจิตวิญญาณของนักเรียน และไปทัวร์โรงเรียนในฝันด้วยกันเลย! 01 | ห้องเรียนที่มีอิสรภาพและความเสมอภาคในการเรียน ห้องเรียนส่วนใหญ่ออกแบบให้คุณครูยืนสอนอยู่หน้าห้อง ทำให้นักเรียนหลายคนรู้สึกอึดอัด […]

เด็กเอ๋ย เด็กดี ต้องมีหน้าที่กี่อย่างด้วยกัน?

ภาพถ่ายชุด “เด็กเอ๋ยเด็กดี” เป็นการนำเพลง “เด็กเอ๋ยเด็กดี” ที่เราคุ้นหูกันมาตั้งแต่เด็กมาตีความใหม่ผ่านภาพถ่าย รวมถึงเล่าเรื่องให้สอดคล้องกับระบบการศึกษาและสังคมในปัจจุบัน

‘ตัดผมคือละเมิดสิทธิมนุษยชน’ คุยกับเคท ครั้งพิบูลย์ ถึงอำนาจนิยมผ่านการตัดผมนักเรียน

คุยกับ อาจารย์เคท ครั้งพิบูลย์ อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงประเด็นการบังคับให้อยู่ภายใต้อำนาจผ่านการตัดผมของนักเรียน คนบางอาชีพ หรือผู้ต้องหาในเรือนจำ ที่รู้ตัวอีกทีคนเหล่านั้นก็ถูกลดทอนความเป็นคนมาอย่างยาวนาน

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.