เปิดไทม์ไลน์ ‘สร้าง เสริม ซ่อม’ ถนนพระราม 2 ถนนสายประวัติศาสตร์ที่กำลังสร้างมากว่าครึ่งศตวรรษ

แม้จะเป็นเหมือนมุกตลกร้าย แต่เมื่อมองให้ลึกถึงสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคเก่าและยุคใหม่อย่าง ‘มหาพีระมิด เมืองกีซา ประเทศอียิปต์’ และ ‘ทัชมาฮาล เมืองอาครา ประเทศอินเดีย’ ทั้งสองแห่งใช้เวลาในการสร้างรวมกันแล้วยังน้อยกว่า ‘ถนนพระราม 2’ เสียอีก ถนนพระราม 2 หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 ถือเป็นหนึ่งเส้นทางหลักในการเดินทางของพี่น้องชาวฝั่งธนฯ และเป็นถนนสายสำคัญที่เชื่อมไปยังภาคใต้ ซึ่งแท้จริงถนนเส้นนี้สร้างเสร็จมานานแล้ว แต่มีโครงการเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร และยังคงมีการก่อสร้างอยู่เป็นเวลา 54 ปีหากนับถึงตอนนี้ จนทำให้การจราจรติดขัดและเกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เราขออาสาพาไปดูไทม์ไลน์ถนนประวัติศาสตร์เส้นนี้ว่ามีจุดเริ่มต้นอย่างไร เพื่อคลายข้อสงสัยว่าทำไมมันถึงสร้างไม่เสร็จสักที ยุคแรกสร้างถนนพระราม 2 (พ.ศ. 2513 – 2516) ก่อนที่จะมีการสร้างถนนพระราม 2 ประเทศไทยมี ‘ถนนเพชรเกษม’ เป็นถนนสายหลักที่มุ่งสู่ภาคใต้อยู่แล้ว แต่ในช่วงสมัยรัฐบาลของ ‘จอมพล ถนอม กิตติขจร’ มีนโยบายให้สร้างถนนพระราม 2 ขึ้น ตัดผ่านกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดราชบุรี โดยเริ่มจากถนนสุขสวัสดิ์ (เขตจอมทอง กรุงเทพฯ) ไปบรรจบกับถนนเพชรเกษม (วังมะนาว […]

ป้ายบอกทางพื้นเขียวฟอนต์ขาว ดูยังไงว่าถูกกฎหมายหรือไม่

การเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ที่ไม่คุ้นเคย แม้ว่าจะเปิดดูตาม Google Maps แล้วก็ตาม แต่ถ้ามีป้ายบอกทางสักหน่อยก็คงจะทำให้ผู้ขับขี่หรือผู้ไม่คุ้นชินเส้นทางสบายใจไม่น้อยเลยทีเดียว ในบรรดาป้ายที่เราเห็นกันมักจะเป็น ‘ป้ายบอกทาง’ (Guide Sign) ที่มีลักษณะเป็นป้ายสีเขียวตัวหนังสือสีขาว หรือป้ายสีขาวตัวหนังสือสีดำ เหมือนกับป้ายบอกทางบนถนนหลวงทั่วไป แต่บางป้ายก็ติดตั้งกีดขวางทางเดิน ทำให้ไม่เหลือพื้นที่บนทางเท้าราวกับไม่ได้รับอนุญาต หรือบางครั้งก็ดูแตกต่างจากป้ายอื่นๆ ทั่วไป จนทำให้เกิดคำถามว่า แล้วป้ายทั้งหมดที่เราเห็นตามทางเหล่านี้ถูกกฎหมายหรือไม่ คอลัมน์ Curiocity อาสาพาไปไขข้อข้องใจเกี่ยวกับป้ายบอกทางไปยังสถานที่ต่างๆ ว่า ป้ายแบบไหนที่ผิดกฎหมายบ้าง และถ้าต้องติดตั้งป้ายแบบไหนถึงจะถูกต้องตามกฎหมาย ป้ายแบบไหนที่ไม่สามารถติดตั้งบนพื้นที่สาธารณะได้ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการติดตั้งป้ายโฆษณาในที่สาธารณะของกรุงเทพมหานคร มีป้ายทั้งหมด 7 ประเภทที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ติดตั้ง คือ ป้ายเกาะกลางถนน ป้ายบนสะพานลอย ป้ายหน้าปากซอย ป้ายที่อยู่ในเขตทาง ป้ายอวยพรในเทศกาลต่างๆ ป้ายติดตามผนังกำแพงบ้านเรือนประชาชน และป้ายลอกเลียนแบบ กทม. อ่านๆ ดูป้ายประเภทอื่นๆ ก็พอเข้าใจได้ แต่ป้ายลอกเลียนแบบ กทม. คืออะไร ทุกคนสงสัยไหม ป้ายประเภทนี้เรามักพบเห็นได้ทั่วไป จนแทบแยกไม่ออกว่าอันไหนคือป้ายที่ถูกกฎหมาย หรืออันไหนคือป้ายเลียนแบบเพื่อเลี่ยงภาษีป้าย โดยปกติแล้วหากมีผู้พบเห็นและแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ ทาง กทม.ก็จะรื้อถอนหากไม่มีเจ้าของป้ายมาแสดงตน แต่ถ้าในกรณีที่ป้ายติดตั้งในพื้นที่เอกชน เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบหาเจ้าของว่าได้เสียภาษีป้ายอย่างถูกต้องตาม […]

สงสัยไหม ทำไมกรุงเทพฯ มีซอยตันเยอะ

หลายครั้งการขับรถผิดทางทำให้เราต้องเกิดอาการหัวร้อนหงุดหงิด โดยเฉพาะเวลาเลี้ยวเข้าผิดซอย แต่ก็ไม่สามารถไปต่อหรือกลับรถตรงนั้นได้ เพราะซอยที่ว่านั้นทั้งแคบและยังเป็น ‘ซอยตัน’ ที่บังคับให้คนขับรถต้องเข้าเกียร์ R ถอยหลังออกไปตั้งหลักใหม่อย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งคนที่ขับรถในกรุงเทพฯ จะรู้ว่าเมืองหลวงของเรามีซอยตันเยอะมากเสียด้วย ทำให้เกิดความสงสัยว่า ทำไมในมหานครแห่งนี้ถึงได้มีซอยตันกระจายตัวแทบจะทุกพื้นที่เลย นอกจากจะเป็นอุปสรรคในการขับรถแล้ว ซอยตันยังส่งผลอะไรต่อการใช้ชีวิตของคนกรุงเทพฯ อีกบ้าง คอลัมน์ Curiocity จะพาไปเปิดทางตันและหาคำตอบของเส้นทางเล็กๆ เหล่านี้กัน เมืองขยายตัว เกิดซอยจำนวนมาก ในยุคหนึ่งที่เป็นช่วงการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ประเทศไทยเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม ซึ่งกรุงเทพฯ ได้กลายเป็นจุดมุ่งหมายที่ผู้คนหลากหลายกลุ่มจากหลากหลายจังหวัดเดินทางเข้ามาทำงาน เกิดความหนาแน่นของประชากร ตามมาด้วยการขยายงานและที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน เพราะเหตุนี้ เมืองจึงขยายตัวออกไปในแถบชานเมืองและรอบนอกที่ยังมีพื้นที่สำหรับก่อสร้างอาคารและที่อยู่อาศัยเพิ่มเติม โดยที่ดินแถบนั้นส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่สำหรับทำเกษตรกรรม ซึ่งเจ้าของพื้นที่มักจะตัดแบ่งที่ดินเพื่อขายหรือสร้างสิ่งปลูกสร้างให้ได้จำนวนมากขึ้น จึงเกิด ‘ซอย’ หรือ ‘ถนนเส้นเล็กๆ’ เชื่อมต่อถนนหลักขึ้นตามการแบ่งพื้นที่ขายในหลายพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ นั่นเอง กว่า 45 เปอร์เซ็นต์ของความยาวถนนในกรุงเทพฯ เป็นซอยตัน เมื่อการแบ่งที่ดินและการสร้างถนนเล็กๆ เพื่อขายเกิดขึ้นโดยไม่ได้คำนึงถึงผังเมืองกรุงเทพฯ หรือไม่ได้วางแผนเพื่อเชื่อมต่อซอยต่างๆ กับถนนหลัก จึงทำให้ซอยเหล่านี้กระจายตัวอย่างไม่เป็นระเบียบ ทั้งมีขนาดเล็ก มีความซับซ้อน รวมถึงยังเป็นซอยที่มีทางเข้า-ออกเพียงแค่ทางเดียว โดยปลายทางของถนนเล็กๆ เหล่านี้ยังไม่สามารถทะลุออกไปไหนได้ หรือที่เรียกกันว่า ‘ซอยตัน’ นั่นเอง ปี […]

เปลี่ยนถนนให้เป็นมิตรกับมอ’ไซค์ ขับขี่ปลอดภัย ไม่ต้องกลัวอุบัติเหตุ

ไปเลยค่ะพี่สุชาติ! ในช่วงเวลาเร่งด่วนของแต่ละวัน ไม่มีการเดินทางไหนที่จะสะดวกไปกว่าการใช้บริการมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ไม่ว่าจะเป็นพี่วินฯ พี่แกร็บ หรือใครมีมอเตอร์ไซค์เป็นของตัวเองก็คงจะเลือกขับพาหนะสองล้อแทนการใช้รถยนต์ เพราะการจราจรในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ ไม่ค่อยน่าไว้ใจ อย่างน้อยถ้าหากรถติดจนเกินไป มอเตอร์ไซค์เหล่านี้ก็ยังพาเราลัดเลาะไปตามช่องทางเล็กๆ เพื่อให้ไปถึงจุดหมายได้ทันเวลา แม้ว่าสัดส่วนของมอเตอร์ไซค์บนท้องถนนจะมีอยู่มาก แต่ถนนหลายๆ เส้นกลับไม่ค่อยเป็นมิตรกับจักรยานยนต์เท่าไหร่ อาจเป็นเพราะมองว่ารถประเภทนี้มีความคล่องตัว สามารถหลบเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้เกิดอันตรายได้ง่ายกว่า จนลืมนึกไปว่าถนนควรให้ความสะดวกแก่ผู้ขับขี่ทุกคน ไม่ว่าจะใช้พาหนะแบบไหนก็ตาม คอลัมน์ Urban Sketch ขออาสาออกแบบพื้นที่และเส้นทางต่างๆ ที่จะช่วยให้ผู้ใช้มอเตอร์ไซค์ขับขี่ได้อย่างสบายใจ และใช้ถนนได้อย่างเต็มที่แบบไม่ต้องเสี่ยงเจ็บตัวจากอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด 1) สะพานกลับรถสำหรับมอเตอร์ไซค์  ปัญหาที่คนขี่มอเตอร์ไซค์เจออยู่เสมอคือการกลับรถ เพราะต้องใช้จุดกลับรถเดียวกันกับรถยนต์ ทำให้เสี่ยงที่จะโดนรถใหญ่เบียดจนรถล้มหรือเกิดอุบัติเหตุได้ เราจึงอยากช่วยลดอุบัติเหตุจากเหตุการณ์เหล่านี้ด้วยการเพิ่ม ‘สะพานกลับรถสำหรับมอเตอร์ไซค์โดยเฉพาะ’ ในบริเวณที่มีพาหนะต่างๆ กลับรถเป็นจำนวนมาก เพื่อเปิดเส้นทางและป้องกันไม่ให้มอเตอร์ไซค์ต้องไปเบียดกับรถยนต์ประเภทอื่นๆ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว สะพานกลับรถมอเตอร์ไซค์ก็มีให้เห็นอยู่บ้าง แต่บางที่อาจถูกปิดการใช้งานไปเพราะเชื่อว่าหลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่าเป็นสะพานลอย และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุลอยฟ้า สะพานกลับรถของเรานั้นจะทำการกั้นโซนแบ่งสัดส่วนพื้นที่สำหรับคนเดินเท้าที่มาใช้สะพานนี้ด้วย 2) พื้นที่หลบฝน ลดอุบัติเหตุ ภาพที่เห็นกันจนชินตาคือ เวลาที่ฝนตกหนักๆ มอเตอร์ไซค์ทั้งหลายจะต้องรีบหาที่จอดรถใต้สะพานหรือพื้นที่ที่มีหลังคาเพื่อหลบฝนและรอให้ฝนเบาลงก่อนถึงจะออกเดินทางต่อ เพราะถ้าฝืนขับขี่ต่อไปก็อาจจะเจอน้ำท่วมขังหรือเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ แต่ไม่ใช่ถนนทุกเส้นที่จะมีสะพานให้หลบฝน ดังนั้นเราจึงอยากเพิ่ม ‘พื้นที่หลบฝน’ บริเวณริมฟุตพาท ที่มาพร้อมหลังคาและเสากั้นสำหรับป้องกันไม่ให้รถยนต์เข้าไปจอดขวางทาง ซึ่งการทำพื้นที่หลบฝนของเรานี้อาจจะต้องกระจายไปหลายๆ จุด เนื่องจากฟุตพาทในเมืองค่อนข้างเล็กและจะต้องลดทางเดินเท้าลง ทำให้ไม่สามารถทำจุดพักขนาดใหญ่เพื่อรองรับมอเตอร์ไซค์หลายคันได้ […]

‘คนไทยขับรถไม่ดี เพราะนิสัยหรือความเหลื่อมล้ำบนท้องถนน’ คุยกับอ. ดร.เปี่ยมสุข สนิท

ย้อนกลับไปปี 2018 องค์การอนามัยโลกได้จัดทำรายงานสถานการณ์โลกด้านความปลอดภัยพบว่า ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงที่สุดเป็นลำดับที่ 9 ของโลก โดยประมาณการผู้เสียชีวิต 32.7 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน แม้ว่าปีต่อมาสถานการณ์อุบัติเหตุไทยดีขึ้นเล็กน้อย แต่ประเทศไทยยังคงเป็นประเทศที่มีผู้เสียชีวิตสูงที่สุดอันดับ 1 ในเอเชียและภูมิภาคอาเซียน ต่อมาในปี 2019 เป็นที่ฮือฮามากที่ The New York Times รายงานข่าวเป็นเวอร์ชันภาษาไทยครั้งแรก ในหัวข้อ ‘ถนนในเมืองไทยเป็นถนนที่อันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณเป็นคนจน’ และนั่นกลายเป็นจุดเริ่มต้นให้หลายๆ คนเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำบนท้องถนนที่คนจนตกเป็นเหยื่ออุบัติเหตุมากกว่าคนมีฐานะ จากระบบบัญชีข้อมูลด้านคมนาคม รายงานอุบัติเหตุปี 2564 เผยว่า อุบัติเหตุที่เกิดจากรถยนต์มีทั้งหมด 5,246 ครั้ง ส่วนอุบัติเหตุจากมอเตอร์ไซค์ 2,069 ครั้ง แต่ตัวเลขผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เทมาที่ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ร้อยละ 41 ส่วนผู้ใช้รถยนต์เสียชีวิตแค่ร้อยละ 17 เท่านั้น นอกจากนี้ ข้อมูลจากกลุ่มสถิติการขนส่ง กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบกที่อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2565 ระบุว่า ประเภทรถที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศคือ รถจักรยานยนต์ 22.2 ล้านคัน ส่วนรถยนต์ส่วนบุคคล 11.9 […]

Silom Master Plan เปลี่ยนทางเท้าสีลมให้เขียวขจีและน่าเดิน ด้วยโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ถนนสีลม ปี 2564

หลังจากเปิดตัว ‘โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ถนนสีลม พ.ศ. 2564 หรือ Silom Master Plan’ อย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา ในที่สุดก็มีภาพอัปเดตโครงการล่าสุดออกมาให้ชาวกรุงเทพฯ ได้ชมกันแล้ว Silom Master Plan เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของกรุงเทพมหานคร สมาคมเรารักสีลม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักการโยธา และสำนักผังเมือง เพื่อจุดประสงค์ในการปรับปรุงทางเท้าในย่านสีลมให้เกิด Active Transport อย่างการเดินเท้าในกรุงเทพที่มากขึ้น ทางโครงการได้ศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) มาร่วมจัดทำผังแนวความคิด (Conceptual Plan) และผังแม่บท (Master Plan) และบริษัท ฉมา จำกัด ร่วมออกแบบรายละเอียดภูมิสถาปัตยกรรมที่จะสร้างสรรค์พื้นที่และทัศนียภาพโดยรอบให้เกิดความสะดวก สบาย และความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานอย่างเป็นรูปธรรม  แนวคิดการออกแบบของ Silom Master Plan คือ การให้ความสำคัญกับคนเดินเท้าเป็นลำดับแรก (Pedestrian First) ประกอบกับการสร้างสวนสาธารณะแนวยาว (Linear Park) […]

จัดอันดับจุดเช็กอิน ‘รถติด’ ในกรุงเทพฯ

ถนนกรุงเทพฯ ครั้งหนึ่งเคยขึ้นชื่อเรื่องรถติดที่สุดในโลกมาแล้ว ไม่ว่าใครก็ปวดใจหากอยู่ในสถานการณ์ติดไฟแดงบนถนนเป็นเวลาหลายชั่วโมง มิหนำซ้ำรายงานจาก TOMTOM องค์กรผู้ให้บริการข้อมูลทางสัญจรทั่วโลกยังเผยว่า ปี 2564 คนกรุงเทพฯ เสียเวลาบนถนนไปทั้งหมดเฉลี่ย 71 ชั่วโมง/ปี หรือประมาณ 3 วันเต็มเลยทีเดียว ถนนกรุงเทพฯ ทั้งจราจรติดขัดและเสียเวลารอนาน จึงไม่แปลกใจถ้าจะมีคนหัวร้อนกับรถติดบนถนน แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะฉะนั้นทางเดียวที่จะระบายความอัดอั้นในใจก็คงมีแค่กดเช็กอินสถานที่และแชร์ความรู้สึกออกไปผ่านโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook และแน่นอนว่า ถนนที่เป็นขวัญใจมหาชนที่เจอรถติด ได้แก่… ‘ถนนลาดพร้าว’ กับประโยคที่ว่า ‘รถติดนรกแตก แดงชาตินี้ เขียวชาติหน้า’ รวมจำนวนคนเช็กอิน ‘รถติดถนนลาดพร้าว’ จาก Facebook ทั้งหมดประมาณ 92,000 ครั้ง รองลงมาเป็นถนนพระราม 2 ทางด่วนพระราม 9 ถนนเพชรเกษม และถนนประชาอุทิศ 9 (ข้อมูล ณ วันที่ 19 พ.ย. 2565) ซึ่งสาเหตุที่ถนนเหล่านี้รถติดจนคนต้องพูดถึง เป็นเพราะอะไรตามไปหาคำตอบกัน  ถนนเส้นหลักเส้นเดียว เชื่อมหลายย่าน  สาเหตุที่ถนนดังกล่าวขึ้นชื่อเรื่องรถติดสุดเรื้อรัง ส่วนใหญ่มีลักษณะถนนเป็นเส้นวิ่งตรงยาวๆ ทำหน้าที่เป็นเส้นหลักเพียงเส้นเดียวที่เชื่อมต่อย่านอื่นๆ […]

ทางด่วน วิวัฒนาการจากสนามแข่งรถ สิ่งก่อสร้างแก้รถติด สู่ยุครื้อทิ้งเพราะทำให้เมืองพัง

หากคุณอยากขับรถยนต์จากกรุงเทพฯ ไปเที่ยวทะเลที่ภูเก็ต ต้องใช้เส้นทางไหน หรือในช่วงเวลาสุดเร่งรีบบนท้องถนน ถ้าต้องการทางลัดที่จะให้ถึงที่หมายเร็วที่สุด ต้องทำอย่างไร เมื่อเจอคำถามแบบนี้ หลายคนคงนึกถึง ‘ทางด่วน’ เพื่อนแท้ยามคับขันของคนขับรถที่อยาก (รีบ) ให้ถึงจุดหมายนั่นเอง ปัจจุบันหน้าที่หลักของทางด่วนคือ ร่นระยะการเดินทางให้สั้นลงและประหยัดเวลาของผู้ขับมากยิ่งขึ้น หากอธิบายให้เห็นภาพ เช่น การขับรถยนต์จากกรุงเทพฯ ไปต่างจังหวัด หรือการเดินทางจากพื้นที่ในตัวเมืองไปชานเมือง ถ้าใช้ทางพิเศษนี้ การเดินทางก็จะราบรื่นและง่ายกว่าครั้งไหนๆ  ยิ่งไปกว่านั้น ทางด่วนยังเป็นทางเลือกหนึ่งในการหลีกเลี่ยงรถติด สำหรับคนที่เดินทางไกล ต้องการความเร่งด่วน แค่ยอมจ่ายค่าผ่านทาง ใครๆ ก็เข้าถึงความรวดเร็วและความสะดวกสบายบนท้องถนนได้ทันที ‘สนามแข่งรถ’ แรงบันดาลใจที่ทำให้เกิด ‘ทางด่วน’ ในอดีตกว่าร้อยปีที่แล้ว จุดเริ่มต้นของ ‘ทางด่วน’ ได้รับแรงบันดาลใจจาก ‘ความเร็ว’ ของการแข่งรถยนต์ในปี 1904 โดย William Kissam Vanderbilt นักธุรกิจสัญชาติอเมริกัน ผู้คลั่งไคล้การแข่งรถเป็นชีวิตจิตใจ คือตัวตั้งตัวตีในการจัดกิจกรรมแข่งรถชิงถ้วยรางวัล Vanderbilt Cup ในมณฑล Nassau County ประเทศสหรัฐอเมริกา การแข่งรถยนต์สมัยนั้นค่อนข้างอันตรายชวนหวาดเสียว เพราะพวกเขาขับรถแข่งกันบนถนนในตัวเมืองที่ไม่ได้ออกแบบรองรับความเร็วของรถแข่งหรือทางโค้งเวลารถเลี้ยว จนทำให้เกิดอุบัติเหตุถึงชีวิต เมื่อเริ่มมีข่าวคราวคนเสียชีวิตจากการแข่งขันบ่อยขึ้น […]

ส่องทางม้าลายในกรุงเทพฯ l Urban Eyes

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าคนไทยประสบอุบัติเหตุจากการเดินบนท้องถนนถึง 2,500-2,900 รายต่อปี กว่า 1 ใน 3 เป็นพื้นที่ กทม. เฉลี่ย 900 รายต่อปี ตัวเลขดังกล่าวมาจากการบันทึกไว้เป็นสถิติยังมีอีกหลายปัญหาที่อยู่นอกเหนือจากสถิติ ทั้งภาพที่เราเห็นกันบ่อยครั้ง เช่นเวลาจะข้ามทางม้าลายแต่กลับต้องหลบให้รถที่มาเร็วไปก่อน หรือทางม้าลายตรงทางแยกที่เต็มไปด้วยรถจอดทับ หรือแม้แต่ข่าวน่าเศร้าที่เราต่างรู้กันดี Urban Eyes ในตอนนี้เราจึงอยากจะถ่ายทอดภาพที่เราเห็นเหล่านั้นออกมา เพื่อสะท้อนปัญหาที่เราทุกคน ผู้ใช้เท้าย่างเดินบนท้องถนนกำลังเผชิญ #UrbanCreature #UrbanEye #ทางม้าลาย #กรุงเทพ

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.