ถอด 7 ประเด็นน่ารู้เรื่องการพัฒนาเมืองจากนโยบาย Car Free Day ที่ กทม. พยายามผลักดัน

แนวคิด Car Free หรือแนวคิดปลอดรถยนต์ คือการลดการขับขี่รถยนต์ เพื่อลดปัญหารถติด มลภาวะทางอากาศ มลพิษทางเสียง รวมถึงเป็นการคืนพื้นที่ถนนให้คนเมือง ด้วยการใช้การเดินทางในรูปแบบการเดินเท้า ปั่นจักรยาน และขนส่งสาธารณะ ซึ่งในหลายๆ ประเทศทั่วโลกก็นำมาใช้งานกับเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ๆ จนได้ผลที่น่าพอใจไปแล้วไม่น้อย ที่ผ่านมากรุงเทพฯ เองมีความพยายามผลักดันนโยบาย Car Free มาตลอด อาจจะเป็นรูปแบบของการเชิญชวนบ้าง การรณรงค์บ้าง หรือการจัดกิจกรรมปั่นจักรยานบ้าง แต่ในปีนี้ แนวคิด Car Free ดูจะเป็นรูปเป็นร่าง มีการนำมาทำให้เห็นภาพมากขึ้นจากกิจกรรม Car Free Day ที่ กทม.ร่วมมือกับภาคีเปลี่ยนถนนบรรทัดทองในระยะทาง 350 เมตรให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะ จัดกิจกรรมอื่นๆ ให้คนเมืองได้ออกมาพักผ่อนหย่อนใจ และมองเห็นความเป็นไปได้ของการลดพื้นที่ถนน แล้วนำมาสร้างความเป็นไปได้อื่นๆ ในการพัฒนาเมือง หลังจบกิจกรรม แน่นอนว่าย่อมมีเสียงสะท้อนที่หลากหลายจากคนเมือง ทั้งในแง่ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย Urban Creature จึงนัดคุยกับ ‘วันพัฒน์ มาตังคะ’ และ ‘ศิรดา ดาริการ์นนท์’ สถาปนิกผังเมืองอาวุโสของ Healthy Space […]

ปั่นรถถีบในเชียงใหม่ เพจบ่นเรื่องถนนหนทางของคนขี่จักรยานที่อยากให้เชียงใหม่เป็นเมืองที่ Bicycle-friendly มากขึ้น

บอส-สิทธิชาติ สุขผลธรรม ไม่ใช่คนเชียงใหม่ แต่เขาคือเจ้าของเพจ ‘Chiang Mai Urban Cyclist: ปั่นรถถีบในเชียงใหม่’ ที่อยากผลักดันให้การขับขี่จักรยานในเชียงใหม่นั้นปลอดภัย มีถนนหนทางและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นมิตรต่อนักปั่นกว่าที่เคย จะพูดว่าบอสชอบปั่นจักรยานจนต้องลุกขึ้นมาก่อตั้งเพจก็อาจพูดได้ไม่เต็มปาก แต่หากจะกล่าวว่าชายหนุ่มชินกับการใช้จักรยาน บวกกับความอินเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ติดตัวมาตั้งแต่วัยรุ่น นั่นอาจนับเป็นแรงจูงใจในการทำเพจได้ เพราะมากกว่าการเรียกร้องเรื่องถนนหนทางและความปลอดภัย เพจของบอสยังอยากผลักดันไปถึงการตั้งนโยบายและพัฒนาเมืองในสเกลใหญ่ ที่ผู้ได้ประโยชน์จะไม่ใช่แค่นักปั่น แต่คือคนเชียงใหม่ทุกคน เวลา 3 ปีที่มาอยู่เชียงใหม่ทำให้คนที่ขับขี่จักรยานในชีวิตประจำวันเช่นเขามองเห็นอะไรบ้าง และแรงผลักดันหน้าตาแบบไหนที่ทำให้เขาเชื่อว่าเชียงใหม่จะเป็นเมือง Bicycle-friendly ได้ในที่สุด เรานัดเจอบอสเพื่อสนทนาเรื่องนี้กัน แน่นอนว่าในวันที่นัดเจอ เขาปรากฏตัวพร้อมกับจักรยานคู่ใจที่ขี่ไปไหนมาไหนรอบเมือง “เราเริ่มขี่จักรยานเพราะมันเป็นการเดินทางที่สะดวกและถูกที่สุด” “เราสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่เรียนจบ ม.6 พอขึ้นมหาวิทยาลัยก็ไปอยู่ชมรมอนุรักษ์ งานหลักๆ ของชมรมคือจัดค่ายและแคมเปญ แต่จริงๆ มันเป็นเรื่องการปลูกจิตสำนึกให้คนเข้าใจประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมมากกว่า  “พอเรียนปริญญาตรีจบ เราไปเรียนต่อโทด้านวิศวกรรมทางทะเลที่ฮาวาย ที่นั่นทำให้เราเริ่มขี่จักรยานเพราะมันเป็นการเดินทางที่สะดวกและถูกที่สุด เราใช้รถเมล์บ้าง แต่บางทีรถเมล์ก็ไม่ได้พาเราไปสุดทางที่อยากไป และบางทีมันก็ช้ากว่าขี่จักรยานเสียอีก “ฮาวายเป็นเกาะที่เป็นมิตรกับคนขี่จักรยาน ด้วยเพราะต้นไม้เยอะ ถนนมีร่มเงา คนที่นั่นจึงใช้จักรยานกันค่อนข้างเยอะ ถนนจะมีเลนจักรยานโดยเฉพาะในบางพื้นที่ ส่วนโซนที่ไม่มีเขาก็จะมีป้ายเขียนว่า Share the Road เพื่อให้คนขับรถให้ทางกับคนขี่จักรยานด้วย แม้แต่บนรถเมล์ก็จะมีพื้นที่ให้วางจักรยานบนนั้น   “เราอยู่ฮาวายได้สามปี […]

‘ปารีส’ เมือง 15 นาที ที่อยากให้ผู้คน ‘ใกล้ชิด’ กับ ‘ชีวิตดีๆ’ มากขึ้น

ย้อนไปเมื่อปี 2020 แอนน์ อีดัลโก (​​Anne Hidalgo) นายกเทศมนตรีแห่งกรุงปารีส ได้เสนอแนวคิดที่จะเปลี่ยนเมืองหลวงของฝรั่งเศสที่แสนจะวุ่นวายและเต็มไปด้วยกิจกรรมคึกคัก ให้กลายเป็น ‘เมือง 15 นาที’ (15-minute City) แนวคิดนี้คือการปรับปรุงและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คน โดยการสร้างเมืองที่ผู้อยู่อาศัยสามารถเข้าถึงสิ่งที่พวกเขาต้องการได้ในระยะเวลา 15 นาทีด้วยการเดินหรือปั่นจักรยาน เพื่อลดการเดินทางจากบ้านไปยังสถานที่ต่างๆ ให้เหลือน้อยที่สุด เช่น สถานที่ทำงาน โรงเรียน โรงพยาบาล สวนสาธารณะ ร้านอาหาร ร้านค้า ฯลฯ ทั้งหมดนี้เป็นไปโดยหวังว่าปารีสโฉมใหม่จะช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนให้คล่องตัว มีสุขภาพดี และยืดหยุ่นมากขึ้น รวมถึงต้องการสร้างสังคมที่โอบรับคนทุกกลุ่มและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านมา 4 ปี มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นกับปารีสบ้าง และมหานครแห่งนี้เข้าใกล้การเป็นเมือง 15 นาทีมากขนาดไหนแล้ว คอลัมน์ City in Focus ขอชวนไปสำรวจและหาคำตอบพร้อมกัน เปลี่ยนจากการขับรถเป็นปั่นจักรยาน เป้าหมายแรกของกรุงปารีสคือการเปลี่ยนให้คนใช้รถยนต์น้อยลง และหันมาปั่นจักรยานมากขึ้น นายกฯ อีดัลโกอธิบายว่า การใช้จักรยานในเมืองจะแสดงให้เห็นว่าชาวปารีสสามารถปรับวิถีชีวิตของตัวเองได้ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กรุงปารีสได้ออกข้อจำกัดเกี่ยวกับการใช้รถยนต์ เช่น กำหนดให้เขตเมืองเป็นเขตควบคุมมลพิษต่ำ และกำหนดให้ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือนเป็นวันปลอดรถยนต์ […]

London Cycling Campaign ประท้วงของนักปั่นจักรยานในกรุงลอนดอน เพื่อทวงคืนถนนที่ปลอดภัยสำหรับผู้หญิง

เป็นเวลากว่า 90 นาทีที่กลุ่มนักปั่นจักรยานกว่า 100 คนในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ รวมตัวกันปั่นจักรยานประท้วงเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2566 เพื่อรณรงค์และทวงคืนเส้นทางจักรยานที่ปลอดภัยสำหรับนักปั่นเพศหญิงในเมืองเนื่องในวันสตรีสากล ภายใต้แคมเปญที่ชื่อว่า ‘London Cycling Campaign (LCC)’ London Cycling Campaign เกิดขึ้นจากความร่วมมือขององค์กร ‘Women’s Network’, ‘The Joyriders Women’s Cycling Organisation’ และ ‘Londra Bisiklet Kulübü’ หลังจากพบว่าการขี่จักรยานในเพศหญิงหลายครั้งมักเกิดอันตรายจากความไม่ปลอดภัยในเส้นทาง รวมไปถึงการก่อกวนและคุกคามจากปัจจัยภายนอก การออกมาประท้วงเดินขบวนในครั้งนี้จึงเป็นเหมือนการส่งสารจากผู้ใช้ถนนจริง ไปถึงนายกเทศมนตรีกรุงลอนดอน เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในอนาคต  โดยเหล่านักปั่นเริ่มเดินขบวนผ่านสถานที่สำคัญในเมืองตั้งแต่ Marble Arch, Buckingham Palace, Palace of Whitehall ไปจนถึง Trafalgar Square ก่อนจะวนกลับมาที่จุดเริ่มต้น เป็นภาพที่สร้างความสนใจให้แก่ผู้พบเห็นเพราะนักปั่นหลายคนต่างแต่งตัวด้วยชุดแปลกตา พร้อมพาสัตว์เลี้ยงสุดน่ารักไม่ว่าจะเป็นสุนัขหรือแมวนั่งในตะกร้าหน้ารถจักรยานมาด้วย หลังการประท้วงจบลง Sadiq Khan นายกเทศมนตรีกรุงลอนดอนได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า ตนเองต้องการให้ผู้หญิงรู้สึกปลอดภัยไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในลอนดอนเช่นกัน […]

Fietsenstalling Stationsplein เปลี่ยนใต้น้ำให้เป็นอาคารจอดจักรยาน จอดฟรี 24 ชม. และจอดได้สูงสุด 11,000 คัน

เมื่อนึกถึงการเดินทางด้วยจักรยาน ภาพเมืองอัมสเตอร์ดัมในประเทศเนเธอร์แลนด์มักจะผุดขึ้นตามมา นั่นเพราะว่าผู้คนในเมืองแห่งนี้นิยมปั่นจักรยาน เพื่อลดการใช้รถยนต์บนท้องถนนซึ่งเป็นสาเหตุหลักของมลภาวะทางอากาศนั่นเอง  เมื่อทางการรณรงค์ให้ผู้คนเลือกใช้จักรยานมากขึ้น และที่ทางบนพื้นดินก็ดูเหมือนจะจัดสรรได้ยากในปัจจุบัน เนเธอร์แลนด์จึงขยายพื้นที่จอดรถและจักรยานไปยังพื้นที่ใต้ดิน เพื่อแก้ปัญหาการจอดจักรยานบนท้องถนนที่ดูเกะกะตาหรือสร้างความไม่เป็นระเบียบให้กับเมือง ถัดมาในปี 2019 เมืองหลวงของเนเธอร์แลนด์แดนจักรยานก็ได้เริ่มสร้างโปรเจกต์อาคารจอดจักรยานใต้น้ำ เพื่อเปิดพื้นที่แห่งใหม่เป็นตัวช่วยจัดการพาหนะหลักของชาวเมืองอีกหนึ่งแรง โดยอาคารจอดจักรยานแห่งนี้ชื่อว่า ‘Fietsenstalling Stationsplein’ อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับสถานีกลาง ‘Amsterdam Central Station’ ซึ่งเป็นสถานีสำหรับขนส่งสาธารณะอย่างรถไฟฟ้าและรถใต้ดิน  อาคารจอดจักรยานใต้น้ำจะแบ่งเป็นสองส่วนหลักๆ เปิดใช้ส่วนแรกไปเมื่อมกราคมที่ผ่านมา และส่วนที่สองก็กำลังมีแผนเปิดให้บริการในปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้ และหากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง อาคารจอดจักรยานทั้งสองจะสามารถช่วยรองรับจักรยานของชาวเมืองได้ถึง 11,000 คัน โดยสตูดิโอ ‘wUrck Architecture’ ที่รับหน้าที่ออกแบบอาคารแห่งนี้บอกว่า แรงบันดาลใจนั้นมาจากหอยนางรม เสมือนว่าชาวเมืองกำลังพาจักรยานคันโปรดไปตามบันไดเลื่อนผ่านโค้งเลี้ยวลงไปจอดรถในหอยยักษ์ใต้น้ำ เมื่อเข้ามาสู่ด้านในหอยยักษ์หรือตัวอาคาร จะพบกับโถงขนาดใหญ่ที่แบ่งแถวจัดเรียงแนวจอด และแบ่งกติกาต่างๆ ไว้อย่างเป็นระเบียบ โดยพื้นผิวด้านในที่แห่งนี้จะใช้โทนขาวนวลของไข่มุกมาเป็นแสงสีหลักในพื้นที่ ส่วนด้านบนเพดานถูกออกแบบให้มีกระจกโค้งมนที่ใช้สีฟ้าประดับตกแต่งให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ใต้น้ำ แต่ไม่อึดอัดเพราะพื้นที่ด้านในยังถูกดีไซน์ให้รู้สึกสว่างไสว มองเห็นความเรียบง่ายที่กว้างขวางและให้ความรู้สึกนุ่มนวลเย็นสบาย โรงจอดจักรยานใต้น้ำแห่งนี้สามารถมาจอดได้ฟรี 24 ชั่วโมง หรือถ้าใครมีธุระต้องจอดข้ามวันจะคิดค่าจอดวันละ 1.35 ยูโร (ประมาณ 50 บาท) และนอกจากจะเป็นพื้นที่จอดจักรยานของประชาชนทั่วไปแล้ว ที่จอดจักรยานแห่งนี้ยังเริ่มต้นทดลองบริการจักรยานส่วนกลาง (OV-Fiets Bikeshares) เพื่อให้ทุกคนใช้ขี่สัญจรไปมายังที่ต่างๆ […]

‘Gooutride’ ปั่นหาเส้นทาง มุมมองบนอานจักรยาน

“จักรยานและภาพถ่าย คือสิ่งที่เราเรียกได้ว่าเป็นผลงานศิลปะที่สื่อสารและถ่ายทอดความคิดในแบบของตัวเอง” ตอนที่อยู่บนอานจักรยาน ทุกสิ่งรอบตัวดูช้าไปหมด ผมมีสมาธิมากขึ้น อยู่กับตัวเองมากขึ้น ขณะเดียวกันมันทำให้เรารู้สึกถึงเพื่อนร่วมทางและวิวทิวทัศน์ข้างทางมากกว่าการเดินหรือขี่มอเตอร์ไซค์ อาจเพราะเราต้องใช้แรงกายแรงใจในการโฟกัสกับการเดินทางก็ได้ นอกจากชอบปั่นจักรยานแล้ว ผมยังชอบถ่ายภาพด้วย สองสิ่งนี้ดูเหมือนจะทำไปพร้อมๆ กันได้ไม่ง่ายในสายตาคนทั่วไป แต่ตัวผมสามารถพกกล้อง ปั่นจักรยาน และถ่ายภาพไปพร้อมๆ กันได้โดยไม่เป็นอุปสรรคเลย  Gooutride เป็นชุดภาพถ่ายที่นำเสนอการเดินทางด้วยจักรยาน กับการปั่นหาเส้นทาง สถานที่ใหม่ๆ ในชนบท ทั้งหมดอัดแน่นไปด้วยเรื่องราวของเพื่อนร่วมทาง สิ่งของ หรืออะไรก็ตามที่เราอยากให้ผู้ชมรู้สึกเหมือนได้ร่วมเดินทางไปกับเรา ติดตามผลงานของ ชาคริสต์ เจือจ้อย ต่อได้ที่ Instagram : bombaychakrist และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected]

คอร์สออนไลน์ฟรีจาก ม.อัมสเตอร์ดัม สอนสร้างเมืองให้เป็นมิตรต่อคนเดินเท้าและจักรยาน

เมื่อครึ่งศตวรรษก่อน เนเธอร์แลนด์เคยเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการใช้รถยนต์เป็นสำคัญ ในปี 1971 แค่ปีเดียว เกิดอุบัติเหตุทางถนนทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 3,300 คน และเป็นเด็กและเยาวชนกว่า 400 คน การสูญเสียที่เกิดขึ้นนี้ทำให้เกิดการรณรงค์เคลื่อนไหวเพื่อผลักดันให้เกิดเมืองเป็นมิตรต่อคนเดินเท้ารวมทั้งการใช้รถจักรยาน จนวันนี้เนเธอร์แลนด์มีทางจักรยานมากถึง 35,000 กิโลเมตรทั่วประเทศ และใน ‘เมืองหลวงของจักรยาน’ อย่างอัมสเตอร์ดัมนั้นมีสัดส่วนผู้ใช้จักรยานเป็นพาหนะมากถึง 38 เปอร์เซ็นต์ นี่จึงเป็นที่มาของ ‘Unraveling Cycling City’ (เสาะสำรวจเมืองจักรยาน) คอร์สออนไลน์จากมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม (University of Amsterdam) ที่เปิดให้เรียนฟรีในเว็บไซต์ Coursera  คอร์สเรียนที่เป็นผลจากการวิจัย เก็บข้อมูลและการตกตะกอนจากคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม จะพาเราสำรวจทั้งแง่มุมทางประวัติศาสตร์ การออกแบบเมือง แง่มุมทางสิ่งแวดล้อม รวมทั้งนโยบายสาธารณะที่จะชวนหาคำตอบว่าการออกแบบเมืองที่ดี เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คนเดินเท้า และพาหนะที่ไม่ทิ้งภาระต่อสิ่งแวดล้อมอย่างจักรยานนั้นเป็นอย่างไร ต้องผ่านอะไรมาบ้าง  คอร์สเรียนเป็นภาษาอังกฤษที่มีซับไตเติลรองรับ 5 ภาษา (แต่ยังไม่มีภาษาไทยนะ) รวมทั้งมีสื่อประกอบการเรียนตลอดทั้งคอร์สตั้งแต่คลิปวิดีโอ บทความ หนังสือที่แนะนำให้อ่าน รวมทั้งแบบฝึกหัดที่ชวนคิด ชวนหาคำตอบตลอดคอร์สเรียน  คอร์สเปิดให้เรียนฟรีตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป หากใครสนใจ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่เลย : https://bit.ly/3MLuano […]

มิลานสร้างทางจักรยาน 750 กม. ครอบคลุมการเดินทางทั่วเมือง ช่วยสุขภาพ ลดค่าใช้จ่ายระยะยาว

มิลานวางแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานครั้งใหญ่กับโปรเจกต์ Cambio เครือข่ายทางจักรยานระยะทาง 750 กิโลเมตร ที่วางแผนว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2035 ที่จะยกระดับให้การใช้จักรยานเป็นรูปแบบการคมนาคมท้องถิ่นที่สะดวกที่สุด ครอบคลุมการใช้งานของประชากร 86 เปอร์เซ็นต์ของเมือง และเชื่อมต่อบริการต่างๆ ทั้งโรงพยาบาล โรงเรียน ในระยะ 1 กิโลเมตรนับจากทางจักรยานมากถึง 80 เปอร์เซ็นต์  เมืองเอกแห่งอิตาลีคาดว่าเมื่อเครือข่ายทางหลวงสำหรับจักรยานทั้ง 24 สายจะเปิดให้บริการ การคมนาคมในเมือง 20 เปอร์เซ็นต์จะเป็นการใช้จักรยาน ซึ่งแนวคิดนี้เป็นส่วนหนึ่งในเป้าหมายใหญ่ของมิลานที่ต้องการเข้าถึงการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 สอดคล้องกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ในความตกลงปารีส “การปั่นจักรยานจะเป็นแรงผลักดันสำคัญในการพัฒนาเมือง เป็นส่วนผสมของการปกป้องสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย และการพัฒนาเศรษฐกิจ” สภาเมืองมิลานยังหวังว่านอกจากการลดก๊าซเรือนกระจก การสร้างทางปั่นจักรยานสีเขียวที่แยกออกมาอย่างชัดเจน จะทำให้การเดินทางปลอดภัยมากขึ้นสำหรับจักรยานทุกประเภท และการเดินทางประเภทนี้ยังส่งผลดีต่อสุขภาพประชากรด้วย  เครือข่าย Cambio มีลักษณะเป็นวงกลม 4 ชั้นที่ค่อยๆ ขยายตัวออกจากศูนย์กลางของเมือง และตัดด้วยเส้นรัศมีอีก 16 เส้นในลักษณะที่คล้ายกับใยแมงมุม เพื่อให้การเข้าถึงทุกส่วนของเมืองทำได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้นสภาเมืองยังวางแผนจัดทำจุดจอดจักรยานโดยเฉพาะ มีป้ายระบุแบบชัดเจนทั้งแบบแอนะล็อกและดิจิทัลที่อาศัยการชาร์จไฟในตอนกลางวันและส่องสว่างเวลากลางคืนเพื่อประหยัดพลังงานด้วย  โครงการดังกล่าวมีมูลค่า 250 ล้านยูโร แต่สภาเมืองมิลานได้คาดการณ์ออกมาแล้วว่า Cambio จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในอนาคตได้มากถึง 1,000 […]

นักปั่นสายติ่งและสายตื๊ดไม่ควรพลาด

ข่าวดีสัปดาห์นี้สำหรับสายปั่นในร่ม Indoor Cycling
RYDE Cycling Bangkok จัดคลาสใหม่ และคลาสพิเศษ เอาใจนักปั่นกันแบบเอาให้มันกันไปข้าง

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.