คนกรุงเทพฯ เสียเวลาชีวิตกับการเดินทางไปทำงานนานถึง 2 ชั่วโมง/วัน

ช่วงเวลาเช้า-เย็นในวันทำงาน ถือเป็นโมเมนต์สุดเร่งรีบของคนเมือง ที่ทุกคนต้องแข่งขันกับการจราจรแสนติดขัด หรือต่อแถวขึ้นขนส่งสาธารณะสุดหนาแน่น  อ้างอิงข้อมูลจาก Baania องค์กรที่รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ประเทศไทยเผยว่า ส่วนใหญ่คนเมืองใช้เวลาเดินทางไปทำงานเฉลี่ย 2 ชั่วโมง/วัน หรือประมาณนั่งเครื่องบินไปสิงคโปร์ได้ 1 เที่ยว มิหนำซ้ำรายงานจาก TOMTOM องค์กรผู้ให้บริการข้อมูลทางสัญจรทั่วโลกยังเผยว่า ปี 2564 คนกรุงเทพฯ เสียเวลาบนท้องถนนไปทั้งหมดเฉลี่ยแล้ว 71 ชั่วโมง/ปี หรือประมาณ 3 วันเลยทีเดียว ตามหลักสากลที่ควรจะเป็น ผู้คนควรใช้เวลาเดินทางไป-กลับจากธุระนอกบ้านไม่เกิน 1 ชั่วโมง โดยแต่ละเที่ยวไม่เกิน 30 นาที หากเราต้องใช้เวลาเดินทางไป-กลับที่ทำงานวันละหลายชั่วโมง ก็คงต้องคิดหนักและเริ่มมองหาที่อยู่อาศัยใกล้ที่ทำงานมากขึ้น หรือไม่ก็ต้องเปลี่ยนมาทำงานที่เดินทางสะดวกแทนน่าจะดีกว่า  แต่ถึงอย่างนั้น เมื่อชาวเมืองต้องเสียเวลาไปกับการเดินทางอยู่ในระดับสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด จึงน่าตั้งคำถามไม่ใช่น้อยว่า อะไรคือต้นตอที่ทำให้คนต้องใช้เวลาบนท้องถนนมากขนาดนี้ และทำไมปัญหานี้ถึงเกิดขึ้นมานานหลายสิบปีแล้ว แต่ก็ยังแก้ไขไม่ได้สักท งานกระจุกในเมือง หนึ่งในปัญหาใหญ่ของการเดินทางคือ การเสียเวลากับรถติด เนื่องจากระบบและจำนวนเส้นถนนในกรุงเทพฯ ที่มีอยู่อย่างจำกัด สวนทางกับปริมาณรถที่วิ่งขวักไขว่เต็มท้องถนน แต่หากมองลึกลงไปถึงต้นตอของปัญหา ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนเมืองต้องกัดฟันทนฝ่ารถติดให้ไปถึงที่หมายทุกวันนั้นเกิดจาก ‘แหล่งงานส่วนใหญ่กระจุกในเมือง’ กรุงเทพฯ ไม่ใช่แค่เมืองหลวง แต่ยังเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจหลักของไทยที่มีแหล่งงานมากมายเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี […]

น้ำมันแพง ประชาชนลำบากทั้งประเทศ รถโดยสารลดเที่ยววิ่ง 80 % และปิดกิจการ กระทบการเดินทางข้ามจังหวัด

เข้าสู่ช่วงยากลำบากของประชาชนของจริง เพราะนอกจากเศรษฐกิจที่ย่ำแย่แล้ว สินค้าเกือบทุกรายการก็ปรับราคาสูงขึ้นจนหลายคนตั้งตัวไม่ทัน แต่ถึงกระนั้น สิ่งที่ปรับราคาสูงขึ้นแล้วกระทบชีวิตประชาชนอย่างเห็นได้ชัด คงหนีไม่พ้นราคาน้ำมันที่แพงขึ้นเรื่อยๆ ว่ากันว่าจากเดิมที่เติมน้ำมันเต็มถังราคา 1,000 บาท แต่ตัดภาพมาปัจจุบัน ราคากลับดีดตัวสูงขึ้นไปเกือบอีกเท่าหนึ่ง ควักแบงค์พันสองใบมาจ่ายก็เหลือเงินทอนไม่เท่าไหร่แล้ว นอกจากผู้ใช้รถยนต์ส่วนตัวที่อ่วมกับค่าน้ำมันแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจรถโดยสารเองก็หนักหนาสาหัสไม่แพ้กัน ล่าสุดเมื่อวันที่ 20 มิถุนายนที่ผ่านมา นายกกิจการรถโดยสารประเทศไทย ได้ประชุมหารือกับผู้ประกอบการขนส่ง และบริษัทรถร่วมทั่วประเทศ เนื่องจากต้องแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง จนได้เป็นมติกำหนดให้รถโดยสารลดเที่ยววิ่งลง 80 % ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป โดยจะมีการประเมินสถานการณ์กันว่าจะสามารถดำเนินกิจการต่อได้หรือไม่ โดยประชาชนที่จะเดินทาง สามารถตรวจสอบเที่ยววิ่งรถในแต่ละวันได้ทางเว็บไซต์หรือช่องทางติดต่อของทุกบริษัท ที่เป็นแบบนั้นเพราะอัตราค่าโดยสารปัจจุบันที่ใช้กันอยู่คือ อัตราที่ใช้เมื่อปี 2562 เป็นตอนที่น้ำมันเชื้อเพลิงราคาลิตรละ 27 บาท แต่ตอนนี้น้ำมันเชื้อเพลิงปรับราคาขึ้นมาที่ลิตรละ 35 บาท ทั้งยังมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ที่ผ่านมาผู้ประกอบการหลายเจ้าก็แบกค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นส่วนนี้ไม่ไหวแล้ว บางเจ้าถึงกับขายรถไปเป็นร้อยคัน หรือกระทั่งตัดเป็นเศษเหล็กชั่งกิโลขายก็มี หากพิจารณาดีๆ จะเห็นว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ไม่ใช่ปรากฏการณ์แรกที่สะท้อนถึงวิกฤติค่าน้ำมันที่ส่งผลต่อรถโดยสารในไทย เพราะเมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 เจ๊เกียว หรือ นางสุจินดา เชิดชัย นายกสมาคมผู้ประกอบการรถร่วมโดยสาร บขส.และเจ้าของอู่เชิดชัย […]

รอรถเมล์แบบไม่กลัวร้อน! ชวนสำรวจป้ายรถเมล์อัจฉริยะเกาหลีใต้ มีแอร์ Wi-Fi ฟรี ป้องกันโควิด-19 ได้

ใครใช้รถเมล์เป็นประจำคงรู้ดีว่า ป้ายรถเมล์อาจเป็นหนึ่งอุปสรรคของการเดินทางในแต่ละวัน เพราะจุดรอรถเมล์หลายแห่งในไทยยังไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานเท่าที่ควร เช่น ไม่มีไฟส่องสว่าง ไม่มีหน้าจอแสดงข้อมูลและระยะเวลารอรถ ที่แย่ไปกว่านั้น บางแห่งยังไม่มีหลังคากันแดด กันฝน ทำให้คนเดินทางต้องรอรถเมล์อย่างเหน็ดเหนื่อยและยากลำบากในช่วงสภาพอากาศแปรปรวน ทั้งนี้ ป้ายรถเมล์ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานของระบบขนส่งสาธารณะที่หลายประเทศให้ความสำคัญ และพยายามปรับปรุงให้ทันสมัยและตอบโจทย์ประชาชนมากที่สุด หนึ่งในประเทศที่พัฒนาป้ายรถเมล์อย่างต่อเนื่องก็คือ ‘เกาหลีใต้’  เพราะเหตุนี้ เราจึงอยากพาทุกคนไปสำรวจ ‘ป้ายรถเมล์อัจฉริยะ’ หรือ ‘Smart Shelter’ ที่เกาหลีใต้ออกแบบขึ้นเพื่อส่งเสริมการเดินทางของผู้คนอย่างรอบด้าน หน้าตาของป้ายรถเมล์นี้คล้ายกับตู้กระจกขนาดใหญ่ที่มาพร้อมกับอุปกรณ์และเทคโนโลยีทันสมัยมากมาย ก่อนเข้าใช้บริการ ผู้ใช้งานต้องสแกนใบหน้าเพื่อตรวจจับความร้อนเพื่อคัดกรองและรับมือกับการระบาดของโควิด-19 โดยประตูจะเลื่อนเปิดให้กับผู้ที่มีอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่า 37.5 องศาเซลเซียสเท่านั้น ส่วนภายในได้ติดตั้งระบบปรับอากาศและหลอดไฟอัลตราไวโอเลต สำหรับควบคุมอากาศให้เย็นสบายไปและฆ่าเชื้อไวรัสไปพร้อมๆ กัน โดยระบบนี้สามารถฆ่าเชื้อโรคและเชื้อไวรัสได้มากถึง 99 เปอร์เซ็นต์ ช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไวรัสและทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น อุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่นๆ ได้แก่ เครื่องกดแอลกอฮอล์อัตโนมัติ ปลั๊กชาร์จไฟ Wi-Fi ฟรี และหน้าจอดิจิทัลแสดงตารางรถเมล์ เพื่อแจ้งเตือนผู้โดยสารว่ารถเมล์กำลังจะมาถึง ที่สำคัญ ยังมีกล้องวงจรปิด กระดิ่งแจ้งเตือน และเซนเซอร์ตรวจจับเสียง ที่เชื่อมต่อกับสถานีตำรวจและสถานีดับเพลิงสำหรับกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ส่วนหลังคาป้ายรถเมล์ก็มีแผงโซลาร์เซลล์สำหรับกักเก็บไฟสำรองด้วย เกาหลีใต้เริ่มติดตั้งป้ายรถเมล์อัจฉริยะกรุงโซลตั้งแต่ปี 2020 และตอนนี้เมืองหลวงของประเทศมีป้ายรถเมล์โมเดลนี้ทั้งหมด 28 แห่งแล้ว ข้อมูลล่าสุดเปิดเผยว่า […]

น้ำมันแพง คนใช้รถสาธารณะลำบาก เมื่อค่ารถไฟฟ้าสูงลิบและค่ารถเมล์ขึ้นรวดเดียว 17 บาท

เชื่อไหม ถ้าเราบอกว่า เดือนมีนาคม 2565 คือเดือนที่มีแต่ของขึ้นราคา ไม่ใช่เรื่องเกินจริง เพราะราคาน้ำมันที่กลับมาสูงแตะราคา 50 บาทต่อลิตร ทำให้หน่วยงานรัฐออกมาบอกประชาชนว่าต้องใช้ขนส่งสาธารณะเพื่อประหยัดน้ำมันแทน ตัดภาพมาที่อีกมุมหนึ่งของกรุงเทพฯ ในวันที่ 1 มีนาคม 2565 มีการประกาศยกเลิกให้บริการรถเมล์ครีม-แดงในเส้นทาง ‘สาย 7 คลองขวาง-หัวลำโพง’ ซึ่งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) เดินรถเมล์ธรรมดาในเส้นทางสายนี้มากว่า 46 ปี โดยได้ส่งไม้ต่อให้กับบริษัทเอกชนที่ใช้รถเมล์ปรับอากาศพลังงานไฟฟ้าเพื่อให้บริการในเส้นทาง ‘สาย 7 ศึกษานารีวิทยา-หัวลำโพง’ ฟังเผินๆ ดูจะมีแต่ข้อดี เพราะการผลัดใบให้ภาคเอกชนที่มีศักยภาพนำรถเมล์ไฟฟ้าเข้ามาให้บริการแทนรถเมล์เก่า ถือเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของทุกคนในเมืองให้ดียิ่งขึ้น แต่ทำไมรถเมล์ใหม่นี้กลับกลายเป็นเรื่องคนนำมาถกเถียงขึ้นมาได้… ว่าแต่จะเถียงกันเรื่องอะไร ตามเรามาสำรวจการเปลี่ยนแปลงนี้ไปพร้อมๆ กันได้เลย รถเมล์ใหม่มาพร้อมราคาใหม่ที่สูงขึ้น แม้ข้อดีของรถเมล์ไฟฟ้ามาใหม่ จะมาพร้อมกับความเป็นมิตรต่อผู้คนในเมืองมากขึ้น ทั้งเรื่องมลภาวะทางอากาศและมลภาวะทางเสียงที่หายไป ผู้ใช้รถเข็นก็สามารถขึ้นรถได้ง่ายกว่าเดิม เพราะทางขึ้นรถเมล์รุ่นนี้ไม่มีขั้นบันได แต่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกลับมาพร้อมกับค่าเดินทางที่สูงขึ้นเป็นเงาตามตัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากรถเมล์ สีครีม-แดงธรรมดา ที่เก็บค่าโดยสารราคา 8 บาทตลอดสาย เมื่อเปลี่ยนเป็นรถใหม่ก็เปลี่ยนการคิดค่าโดยสารมาเป็นเรตตามระยะทาง เริ่มต้นที่ 15 บาท แตะเรตสูงสุด 25 บาท […]

อีสานสร้างสรรค์ 2022 ขอนแก่นเปิดตัว ‘แทรม’ ฝีมือคนไทย มุ่งหน้าสู่รถไฟฟ้าสายแรกใน ตจว.

รถไฟฟ้า นับเป็นทางเลือกหนึ่งของการเดินทางสัญจรภายในเมืองที่สะดวกสบาย ใช้เวลาน้อย และลดปัญหารถติด ทว่าเมื่อเหลียวมองประเทศไทย จะเห็นได้ว่ารถไฟฟ้ามีให้บริการเฉพาะคนกรุงเทพฯ และปริมณฑลเท่านั้น คนไทยไม่เคยสัมผัสถึงประสบการณ์การใช้รถไฟฟ้าเดินทางตามต่างจังหวัดเลย แม้ในช่วง 10 ปีมานี้ตามจังหวัดใหญ่ๆ ได้มีการประกาศแผนการก่อสร้าง ‘แทรม’ หรือรถไฟฟ้ารางเบาทั้งจากภาครัฐและเอกชน เพื่อยกระดับขนส่งสาธารณะในท้องถิ่น แต่น่าเสียดายที่สุดท้ายแล้วยังไม่มีจังหวัดไหนที่สร้างเสร็จพร้อมใช้งาน ที่ดูเป็นความหวังของหมู่บ้านหน่อยก็แทรมขอนแก่นที่มีอัปเดตข่าวคราวความเคลื่อนไหวของโปรเจกต์บ้าง ล่าสุด เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ขอนแก่นได้เผยโฉมแทรมต้นแบบ ที่เกิดจากการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบรถไฟฟ้ารางเบาโดยใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตภายในประเทศไทย เพื่อต่อยอดไปสู่การผลิตในภาคอุตสาหกรรม โดย ดร.ไพวรรณ เกิดตรวจ และคณะ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น จากการสนับสนุนโดย สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ตัวต้นแบบแทรมน้อยขบวนนี้จะนำไปจัดแสดงในนิทรรศการ ‘Khon Kaen Urban Transit : ขนส่งสาธารณะเชื่อมเมือง’ บริเวณป้ายรถเมล์หน้าขอนแก่นวิทยายน ซึ่งนิทรรศการนี้มีจุดประสงค์ในการนำเสนอต้นแบบรถไฟฟ้ารางเบาที่จะให้บริการจริงในอนาคต เพื่อเป็นสื่อกลางในการเล่าเรื่องระบบการขนส่งสาธารณะของเมืองขอนแก่นที่จะเกิดขึ้น เช่น โครงการแทรมน้อยรอบสวนสาธารณะบึงแก่นนคร โครงการ LRT และโครงการ Smart สองแถวฯ […]

เมื่อกรุงเทพฯ มีรถเมล์ไฟฟ้าวิ่งครั้งแรก สิ่งนี้จะทำให้ชีวิตคนเมืองดีขึ้นได้ยังไง?

“เมื่อไหร่กรุงเทพฯ จะมีรถเมล์ใหม่สักที” คือคำถามยอดฮิตของคนกรุงตลอดหลายปีที่ผ่านมา และในเวลาเดียวกันก็มีข่าวคราวจากเพื่อนบ้านอาเซียนที่เปิดตัวรถเมล์ใหม่เรื่อยๆ ทั้ง พนมเปญ ย่างกุ้ง สิงคโปร์ ปีนัง หรือฮานอย เห็นรถเมล์ใหม่ๆ ของเหล่าเพื่อนบ้านก็อย่าเพิ่งน้อยใจไป เพราะกรุงเทพฯ ก็มีรถเมล์ใหม่แกะกล่องอย่าง ‘รถเมล์ไฟฟ้า’ กับเขาเหมือนกัน โดยเจ้ารถเมล์ไฟฟ้าได้เริ่มออกวิ่งตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 ในนาม ‘ไทยสมายล์บัส’ บริษัทเอกชนเจ้าใหม่แห่งวงการขนส่งสาธารณะไทย (ชื่อฟังดูคุ้นเหมือนสายการบิน แต่ไม่เกี่ยวอะไรกับไทยสมายล์แอร์เวย์) รถเมล์ไฟฟ้ามาใหม่ดียังไงบ้าง? 1. ทางขึ้นที่สะดวกยิ่งขึ้น นอกจากประตูที่ไม่มีบันไดสูงอีกต่อไป นี่คือรถเมล์ที่ทำให้คนทุกวัยขึ้นลงรถได้สะดวก สิ่งแรกที่อาจต้องรู้ก่อนขึ้นรถเมล์ไฟฟ้าคันนี้ก็คือ กติกาที่รณรงค์ให้ผู้ใช้งาน ‘ขึ้นรถประตูหน้า-ลงรถประตูหลัง’ ถือเป็นการเปลี่ยนประสบการณ์ผู้ใช้งานรถเมล์กรุงเทพฯ ให้เป็นระบบเดียวกับรถเมล์หลายๆ เมืองในต่างประเทศ ส่วนใครที่เคยใช้งานรถเมล์ ปอ.พ. ของ Metro Bus ช่วงปี 2550 – 2557 ก็น่าจะคุ้นกับระบบนี้มาบ้างแล้ว รถเมล์ไฟฟ้าของไทยสมายล์เลือกใช้วิธีการติดตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิ (Hand temperature scanner) ไว้ข้างห้องคนขับ เมื่อก้าวขึ้นรถไป ทุกคนต้องสแกนวัดอุณหภูมิก่อนเป็นอันดับแรก ไม่แน่ใจว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ใช้งานรถสาธารณะท่ามกลางวิกฤต COVID-19 หรือเป็นกุศโลบายให้ต้องขึ้นประตูหน้า-ลงประตูหลังไปในตัว แต่อย่างไรก็ตามถือเป็นการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ดีทีเดียว […]

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ : ไทยจะรอดโควิดได้ รัฐต้องไว้ใจศักยภาพประชาชน

ถ้าพูดถึง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ วัย 55 ปี บทบาทและหน้าที่ไหนของเขาที่อยู่ในความทรงจำคุณ นักการเมือง อาจารย์ วิศวกร หรือบุรุษผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี  ไม่ว่าบทบาทไหน แต่ทุกวันนี้หัวใจของชัชชาติยังคงเต้นเป็นคำว่า “ทำงาน ทำงาน ทำงาน” จนเป็นที่มาของคำตัวเป้งบนเสื้อยืดสกรีนทีมงานตัวเอง และไม่ใช่แค่งานที่ทำเพื่อส่วนตัวหรอก เพราะทุกๆ งานที่ชัชชาติทำมักมีคนอื่นๆ อยู่ในสมการเสมอ 2 ปีผ่านไป แม้ไม่ได้เห็นเขาในสภา แต่บุรุษคนแกร่งไม่ได้หายตัวไปไหน เขายังขยันลงพื้นที่ตามชุมชนต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร เพราะมนุษย์พลังล้นอย่างชัชชาติได้ก่อตั้งกลุ่ม Better Bangkok ขึ้นเพื่อช่วยชุมชนแก้ไขปัญหาที่กำลังเผชิญ และนำองค์ความรู้ไปสนับสนุนการพัฒนาคนและพื้นที่อย่างยั่งยืน ยิ่งในภาวะวิกฤติการณ์โควิด-19 ของไทยทวีความสาหัส จนไม่มีทีท่าจะเห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ ทีม Better Bangkok ยิ่งทำงานหนัก  ขณะที่ปัญหาโควิดอยู่กับไทยมานาน ถ้ามองแง่โอกาส ภาครัฐน่าจะได้พิสูจน์ตัวผ่านการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ผลกลับตรงข้าม ถ้าพูดกันตรงๆ หลายคนส่ายหน้าให้กับการบริหารงานในปัจจุบัน ซ้ำร้ายยังทำให้รอยร้าวระหว่างรัฐ เอกชน และประชาชนแตกร้าวเกินกอบกู้ โควิดจึงไม่ใช่แค่เรื่องระบบสาธารณสุข  แต่ปัญหาที่ชัชชาติเห็นชัดเจนคือเรื่องความไว้ใจ ไม่สิ ความไม่ไว้ใจที่รัฐไม่คิดจะมอบให้ประชาชนต่างหาก เมื่อรัฐบาลแก้ปัญหาอย่างไร้แก่น มิหนำซ้ำยังไม่กล้ามอบความไว้เนื้อเชื่อใจให้คนในสังคมร่วมจัดการปัญหา การเปลี่ยนสังคมให้ดีจึงดูเป็นความหวังลมๆ แล้งๆ  ถึงอย่างนั้นบทสนทนากับชัชชาติต่อจากนี้ ก็ยังทำให้เรามองเห็นสิ่งที่เรียกว่าความหวัง […]

ตำนานสาย 8 สุดซิ่งจาก พ.ศ. 2498 สู่รถแบบใหม่ล่าสุดของไทยโดย ขสมก.

สาย 8 เจ้าเก่ามีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2498 ถ้าพูดถึงรถเมล์กรุงเทพฯ ที่คนจดจำมากที่สุดสายหนึ่ง เชื่อว่าผู้ถูกเสนอชื่อเข้าชิงต้องมี ‘สาย 8 แฮปปี้แลนด์-สะพานพุทธ’ อย่างแน่นอน… ตำนานรถเมล์สายซิ่ง ที่ขึ้นชื่อลือชาขนาดนี้…ก็เพราะรถเมล์สาย 8 แห่งกรุงเทพมหานคร ถูกขนานนามเป็นรถโดยสารที่ให้บริการด้วยความไวดุจสายฟ้า บูมเมอร์สรู้ มิลเลนเนียลส์รู้ เอ็กซ์แพต (Expat) บางคนยังรู้ ผมเองก็ไม่ทันถามคนรุ่นคุณปู่เหมือนกันว่ารถเมล์สาย 8 ยุคแรกๆ วิ่งแรงแซงทุกคันขนาดไหน แต่ภาพสาย 8 เกิดอุบัติเหตุจนหน้าบู้บี้นี้มีให้เห็นตั้งแต่สมัยเป็นภาพฟิล์มขาวดำแล้ว และไม่ว่าภาพขาวดำนั้นจะเป็นเครื่องยืนยันความเก๋ามาตั้งแต่รุ่นคุณพ่อยังเด็ก หรือเป็นแค่เหตุการณ์เดียวที่บังเอิญมาตรงกับความรู้สึกในใจของคนยุคปัจจุบัน แต่ในปีนี้…ภาพลักษณ์ของรถเมล์สาย 8 จะเปลี่ยนไป หลังจาก ขสมก. กลับมาวิ่งรถเมล์สายนี้เองอีกครั้งในรอบสามสิบกว่าปี… วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 อาจเรียกได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของสาย 8 ก็ว่าได้ หลังเอกชนผู้เดินรถปรับอากาศเจ้าเดิมอย่าง บริษัท ซิตี้บัส จำกัด ผลัดใบให้หน่วยงานรัฐอย่าง ขสมก. เข้ามาเดินรถแทนที่ ซึ่งงานนี้ ขสมก. ก็ทุ่มทุนด้วยการนำรถเมล์ปรับอากาศรุ่นใหม่เข้ามาให้บริการถึง […]

‘โฆษณารถเมล์’ สิ่งกวนใจคนโหน มรดกยุค 60 ที่หันมาใช้เทคโนโลยีเดียวกับ ‘ผ้าม่านบังแสง’

‘รถเมล์ไทย’ กับ ‘โฆษณา’ ของคู่กันที่เกิดมาก่อน ขสมก. ตั้งแต่เวอร์ชันแปะท้าย Wrap รอบคัน จนสติกเกอร์ปรุ

ความจุของรถเมล์ กทม. กับ Social Distancing ช่วง COVID-19 สะเทือนอะไรวงการขนส่งฯ บ้าง

รู้ตัวอีกที เราก็อยู่กับ COVID-19 มาครบ 1 ปีแบบไม่ทันตั้งตัว 1 ปีที่หลายคนคงชินกับการใส่หน้ากากขึ้นรถสาธารณะไปแล้ว ขณะที่กำลังเผชิญการระบาดซ้ำระลอก 3 ‘ประเทศไทย’ เป็นหนึ่งในเมืองที่ยังคงมูฟออนไม่ได้ หลายคนเลยต้องวนลูป Work from Home บางถนนหนทางห้างร้านตลาดกลับมาโล่งจนพ่อค้าแม่ขายใจหายไปตามๆ กัน ‘รถเมล์’ บริการสาธารณะที่ถูกออกแบบมาให้รับ-ส่งคนไปไหนมาไหนได้ครั้งละมากๆ จึงหนีไม่พ้นตกเป็นอีกหนึ่งวงการที่พลอยได้รับผลกระทบในช่วงที่เราต้องรักษาระยะห่างในที่สาธารณะไปด้วย ย้อนกลับไปที่การระบาดระลอก 2 เมื่อต้นปี เป็นครั้งแรกในชีวิตที่ผมได้เป็นผู้โดยสารเพียง ‘หนึ่งเดียวคนนี้’ ตลอดทางที่นั่งรถเมล์ไปทำงาน ซึ่งระยะทางจากบ้านไปสถานีรถไฟฟ้าก็ไม่ใช่ใกล้ๆ ไกลกันเกือบสิบกิโลฯ จากเดิมรถเมล์ที่เคยขึ้นจะมีเพื่อนร่วมทางหลายสิบคน…จนบางวันแทบปิดประตูไม่ได้ ก็กลายเป็นเหมือนผมเช่ารถเมล์ 1 คันไปต่อรถไฟฟ้า และเป็นอย่างนั้นอยู่ 3 วันติดๆ!!! คิดขำๆ ก็ดูจะเป็นการนั่งรถเมล์ที่สบายดี…แม้บรรยากาศจะดูเหงาๆ เข้าโหมดกระทำความหว่องหน่อยๆ แต่ก็รักษาระยะห่าง (Physical Distancing) กับคนบนรถตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำไว้ว่าเราควรห่างกัน 1.8 เมตรได้จริง… ว่าแต่ ตอนรถติดไฟแดงนิ่งๆ มีใครเคยเล่นนับที่นั่งบนรถเมล์กันบ้าง? นี่คือกิจกรรมแรกๆ ที่ผมฝึกสังเกตตอนนั่งว่างๆ อยู่บนรถ เริ่มกันที่รถเมล์รุ่นที่ผมชอบที่สุดอย่าง รถปรับอากาศ […]

กำเนิด ‘วินมอเตอร์ไซค์’ แรกของกรุงเทพฯ เส้นเลือดฝอยของคนเมืองที่ต้องพึ่งความแว้นไว

ย้อนรอยประวัติศาสตร์วินมอเตอร์ไซค์แห่งแรกของกรุงเทพฯ สู่อัศวินผู้ทำหน้าที่พาเราไปทุกแห่งหน

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.