กางพิมพ์เขียว ‘หมู่บ้านนักกีฬา’ ปารีส โอลิมปิก 2024 ที่ออกแบบมาให้ยั่งยืน ช่วยพลิกฟื้นเมืองในอนาคต

ค.ศ. 1924 คือปีที่ปารีสได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกเป็นครั้งแรก และเป็นปีแรกของโอลิมปิกที่มีการสร้าง ‘หมู่บ้านนักกีฬา’ ขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้เหล่านักกีฬา เพราะก่อนหน้านั้น นักกีฬาต้องหอบหิ้วกระเป๋าไปนอนตามโรงแรม โรงเรียน หรือแม้แต่บนเรือที่พวกเขาใช้เดินทางมาแข่งขัน หมู่บ้านนักกีฬาตอนนั้นเป็นเพียงโครงสร้างชั่วคราว เมื่อการแข่งขันปิดฉาก อาคารทั้งหลายก็ถูกรื้อทิ้งจนหมด แม้หมู่บ้านนักกีฬาแห่งแรกจะถึงจุดจบ แต่นี่คือจุดเริ่มต้นของประเพณีการสร้างหมู่บ้านนักกีฬาในงานโอลิมปิกครั้งต่อๆ มา ค.ศ. 2024 หนึ่งร้อยปีให้หลัง ปารีสได้โอกาสเป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกอีกครั้ง พร้อมการเตรียมตัวขนานใหญ่เพื่อให้เมืองสามารถรองรับนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ชมหลายแสนหลายล้านคนที่แห่แหนมาในเมือง แน่นอน ‘หมู่บ้านนักกีฬา’ ก็เกิดขึ้นตามมาด้วย ในบริบทโลกที่เผชิญปัญหาสิ่งแวดล้อม แทนที่หมู่บ้านนักกีฬาจะสร้างมาแล้วรื้อทิ้ง หมู่บ้านนักกีฬาแห่งใหม่ในปารีส โอลิมปิก 2024 กลับสร้างด้วยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยึดหลักความยั่งยืนเป็นสำคัญ และคิดมาตั้งแต่แรกเลยว่า อาคารทั้งหลายจะกลายสภาพเป็นเมืองขนาดย่อมที่ประกอบด้วยที่อยู่อาศัย ร้านค้า ออฟฟิศ สวนสาธารณะ เป็นต้น หมู่บ้านนักกีฬาแห่งนี้ตั้งอยู่ในจังหวัดแซน-แซ็ง-เดอนี (Seine-Saint-Denis) จังหวัดชานเมืองตอนเหนือของปารีส และอยู่ติดกับแม่น้ำแซน (Seine) แม่น้ำสายหลักของกรุงปารีส โครงการมีพื้นที่ใหญ่โตกว่า 119,000 ตารางเมตร และได้ Dominique Perrault Architecture ออฟฟิศสถาปัตยกรรมจากฝรั่งเศส เป็นหัวเรือวางแผนแม่บท (Master […]

The Bangkok 2040 Summer Olympics ธีสิสพัฒนาท่าเรือคลองเตยให้กลายเป็นฮับใหม่ สำหรับรองรับการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก 2040

นอกจาก ‘กีฬา’ จะเป็นยาวิเศษแล้ว กีฬายังเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างชาติอีกด้วย ที่ผ่านมาประเทศไทยเคยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมกีฬาโอลิมปิกมาแล้วทั้งหมด 2 ครั้ง ทั้งการเสนอเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก ปี 2008 และยูธโอลิมปิก ปี 2010 แต่ก็ต้องคว้าน้ำเหลว เนื่องด้วยความไม่พร้อมในด้านต่างๆ แต่ความหวังยังไม่หมดไป หลายครั้งเราจึงเห็นคนบนโลกออนไลน์ออกมาถกเถียงกันในประเด็นนี้อยู่บ่อยๆ ว่า แล้วเราต้องทำอย่างไร ประเทศไทยถึงจะเป็นเจ้าภาพจัดงานกีฬาของมวลมนุษยชาติกับเขาสักครั้ง เช่นเดียวกับ ‘จอม-ปภัสสร นพไพบูลย์รัตน์’ นิสิตจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มองว่าการจัดมหกรรมกีฬาระดับโลกเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการพัฒนาเมือง ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาและกระตุ้นการพลิกฟื้นของเมืองได้ จนเกิดเป็น ‘The Bangkok 2040 Summer Olympics’ ธีสิสออกแบบวางผังและจัดทำแผนพัฒนาเมืองสู่การเสนอตัวมหกรรมกีฬากรุงเทพฯ โอลิมปิกในปี 2040 กีฬาสร้างคน คนสร้างชาติ จอมเล่าว่า จุดเริ่มต้นที่ทำให้ตนตัดสินใจทำธีสิสในหัวข้อเกี่ยวกับโอลิมปิกเกิดขึ้นเพราะสไลด์วิชาเรียนเกี่ยวกับการออกแบบเมืองในช่วงชั้นปีที่ 4 เพียงสไลด์เดียวที่พูดถึง ‘คน กิจกรรม และเมือง’ “ผมคิดว่าโอลิมปิกเป็นคำตอบสำหรับการพัฒนาเมืองที่เป็นไปได้และอิมแพกต์มากที่สุด เพราะการจัดมหกรรมกีฬาระดับโลกเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาเมืองที่ช่วยแก้ไขปัญหา กระตุ้นการพลิกฟื้นของเมือง และขับเคลื่อนเมืองได้” เมื่อได้หัวข้ออย่างเป็นทางการ และหาข้อมูลไปได้ประมาณหนึ่ง จอมก็พบว่าความจริงแล้ว ประเทศไทยเคยยื่นเป็นเจ้าภาพในการจัดแข่งขันไปแล้วทั้งหมด 2 […]

ผ่าแผนเดินเกมของปารีส​ โอลิมปิก 2024 เพื่อพิชิตเส้นชัยโอลิมปิกที่รักษ์โลกที่สุด

การจัดงานโอลิมปิกให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ฟังแล้วช่างเหนือจริง เพราะงานโอลิมปิกคือมหกรรมกีฬาระดับโลกที่มีการแข่งขันเกิดขึ้นกว่าหลายร้อยรายการ มีนักกีฬาเข้าร่วมหลักหมื่น มีผู้ชมมาเกาะติดขอบสนามกันหลักล้าน การจัดงานระดับยักษ์แบบนี้ หลีกหนีไม่พ้นต้องเผาผลาญทรัพยากรมหาศาลเพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก รองรับมวลมหาประชาชนที่หลั่งไหลมา แต่เพราะวิกฤตสิ่งแวดล้อมโลกทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน การหันมาใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมเลยเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกต่อไป เมื่อปารีสได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกและพาราลิมปิกฤดูร้อน 2024 เมืองน้ำหอมจึงตั้งปณิธานว่า โอลิมปิกครั้งนี้จะเป็นโอลิมปิกที่เป็นมิตรกับโลกที่สุด มีการประเมินไว้ว่า งานโอลิมปิกในกรุงรีโอเดจาเนโร ปี 2016 และกรุงลอนดอน ปี 2012 ปล่อยคาร์บอนออกมากว่า 3.5 ล้านตัน สำหรับโอลิมปิกครั้งนี้ ปารีสตั้งเป้าสุดทะเยอทะยานไว้ว่าจะหั่นตัวเลขเหลือเพียงครึ่งหนึ่ง คือ 1.75 ล้านตัน น้อยกว่างานโอลิมปิก 2020 ที่โตเกียวซึ่งจัดในช่วงล็อกดาวน์ และปล่อยก๊าซออกมา 1.9 ล้านตันเสียด้วยซ้ำ งานนี้ปารีสพร้อมเดินเกมทุกวิถีทาง ตั้งแต่เรื่องใหญ่อย่างการก่อสร้าง การเดินทาง ไปจนถึงเรื่องเล็กอย่างอาหารการกิน มาเรียนรู้ไปด้วยกันว่าปารีสวางแผนไว้อย่างไร เพื่อพิชิตเส้นชัยการเป็นโอลิมปิกที่รักษ์โลกที่สุด ไม่เน้นสร้างใหม่ เน้นใช้สถานที่เดิม 95 เปอร์เซ็นต์ของการแข่งขันโอลิมปิกทั้งหมดจะจัดขึ้นในสนามกีฬาที่มีอยู่เดิม หรือในแลนด์มาร์กของเมืองที่ได้รับการปรับปรุงขึ้นใหม่ เช่น กีฬาฟันดาบและเทควันโด ที่จะประชันกันในอาคาร Grand Palais ซึ่งสร้างมาตั้งแต่ปี 1897 หรือกีฬาขี่ม้า ปัญจกีฬา […]

ชนะโอลิมปิก = ได้หอไอเฟลกลับบ้าน เหรียญโอลิมปิกปารีส 2024 รีไซเคิลได้ ที่ภายในมีชิ้นส่วนจากเศษเหล็กหอไอเฟล

เหรียญรางวัลสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่แสดงถึงความพิเศษและแนวคิดการจัดงานของปีนั้นๆ เช่นเดียวกับ ‘เหรียญโอลิมปิกปารีส 2024’ ที่เปิดตัวได้อย่างน่าสนใจ ด้วยการบรรจุเศษเหล็กขนาดหกเหลี่ยมที่มาจากชิ้นส่วนจริงที่เหลือใช้จากการสร้างหอไอเฟลในปี 1889 ถือเป็นการผสมผสานเหรียญรางวัลเข้ากับสัญลักษณ์ที่โดดเด่นที่สุดของประเทศฝรั่งเศสอย่างหอไอเฟล จากฝีมือการออกแบบของแบรนด์ Chaumet บริษัทอัญมณีและนาฬิกาสุดหรูสัญชาติฝรั่งเศสที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1780 โดยแต่ละมุมของชิ้นส่วนหกเหลี่ยมจากหอไอเฟลจะถูกตรึงไว้ด้วย ‘กรงเล็บ’ (Claw) ด้วยเทคนิคการทำเครื่องประดับแบบดั้งเดิม จนมีรูปร่างออกมาเป็นลวดลาย ‘Clous de Paris’ ที่มักใช้ในงานหน้าปัดนาฬิกา นอกจากนี้ ส่วนรอบนอกของเหรียญรางวัลทั้งในเหรียญทองและเหรียญเงิน ยังทำมาจากโลหะที่ได้รับการรับรองจาก Responsible Jewellery Council (RJC) ว่ารีไซเคิลได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่เหรียญทองแดงจะทำมาจากเศษวัสดุจากการผลิตเหรียญของโรงกษาปณ์ Monnaie de Paris ที่มีอายุมานานกว่าพันปี ถือเป็นอีกหนึ่งส่วนที่ทำให้เห็นว่าโอลิมปิกปารีส 2024 นี้ให้ความสำคัญกับโลก และมุ่งเป้าในการเป็นโอลิมปิกที่ยั่งยืนที่สุด ไม่เว้นแม้กระทั่งตัวเหรียญรางวัลเอง Sources :Dezeen | t.ly/YSLrwOlympics | t.ly/Hwxby, t.ly/3oveD

‘Bangkok 21xx Olympics’ จะเป็นอย่างไร ถ้ากรุงเทพฯ เป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมกีฬาระดับโลก และใช้พื้นที่เมืองเป็นสเตเดียมแข่งขัน

ในที่สุดก็มาถึงช่วงเวลาที่ทุกคนตั้งตาคอยกับมหกรรมกีฬาระดับโลก ‘Paris 2024 Olympics’ ที่ฝรั่งเศสกลับมาเป็นเจ้าภาพในรอบ 100 ปี ความน่าสนใจของโอลิมปิกครั้งนี้คือ การกำหนดสถานที่สำคัญของฝรั่งเศสให้เป็นสนามกีฬา เช่น หอไอเฟล พระราชวังแวร์ซาย แม่น้ำแซน เป็นต้น นอกจากเป็นฉากหลังที่สวยงามระหว่างการแข่งขันแล้ว ยังอาจช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจท่องเที่ยวได้อีกด้วย แต่จะเป็นอย่างไร ถ้าประเทศไทยของเราได้เป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมกีฬาสุดยิ่งใหญ่นี้บ้าง โดยใช้คอนเซปต์เดียวกันกับฝรั่งเศสอย่างการใช้สถานที่สำคัญสำหรับการแข่งขันในกรุงเทพมหานคร คอลัมน์ Urban Sketch ขอเสนอสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ สำหรับจัดการแข่งขัน ‘Bangkok 21xx Olympics’ ให้พิจารณา เผื่อถึงเวลาเกิดเป็นเจ้าภาพจริงๆ เราอาจจะได้เห็นการแข่งกีฬาตามสถานที่เหล่านี้ก็ได้นะ ตีเทนนิส ตบวอลเลย์บอลชายหาด กลางท้องสนามหลวง ‘ท้องสนามหลวง’ เป็นพื้นที่ลานโล่งใกล้กำแพงพระบรมมหาราชวังและสถานที่สำคัญใจกลางพระนคร ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นพื้นที่สาธารณะให้ผู้คนมาใช้พักผ่อนหย่อนใจ หากจะนำกลับมาใช้งานอีกครั้ง ก็ดูจะเป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การจัดการแข่งขันกีฬากลางแจ้ง โดยจะสร้างสเตเดียมชั่วคราวให้การแข่งขัน ‘เทนนิส’ หรือจะปูสนามทรายสำหรับ ‘วอลเลย์บอลชายหาด’ ก็ได้เหมือนกัน รวมไปถึงการมีฉากหลังเป็นวัดพระแก้วยังช่วยสร้างภาพบรรยากาศที่สวยงามระหว่างการแข่งขันและการถ่ายทอดสดได้อีกด้วย เปิดศึกสังเวียนที่สนามมวยเวทีราชดำเนิน แม้ ‘มวยไทย’ จะยังไม่ถูกบรรจุเป็นกีฬาที่จัดแข่งในโอลิมปิกอย่างเป็นทางการ แต่โอลิมปิกปีนี้เริ่มมีการจัดแข่งขันสาธิตในโปรแกรมเสริมที่กรุงปารีส จึงเป็นไปได้ว่าในอนาคต เราอาจได้เห็นการแข่งกีฬามวยไทยในโอลิมปิกก็เป็นได้ แน่นอนว่าสถานที่ที่เหมาะสำหรับจัดการแข่งมวยไทยในกรุงเทพฯ คงหนีไม่พ้น ‘สนามมวยเวทีราชดำเนิน’ […]

Cycloïd Piazza ลานสเกตเฉดสีภาพวาดในยุคเรเนซองส์ สำหรับโอลิมปิกเกมส์ 2024 ที่กรุงปารีส

นอกจากการแข่งขันกีฬาต่างๆ ที่ถูกจับตามองเป็นอย่างมากในช่วงใกล้แข่งขันโอลิมปิกเกมส์ 2024 ก็มีอีกหนึ่งสิ่งที่ถูกพูดถึงอยู่บ่อยๆ นั่นก็คือการออกแบบหรือปรับปรุงสถานที่ต่างๆ ในกรุงปารีสให้สอดคล้องไปกับมหกรรมกีฬา Cycloïd Piazza คือลานสเกตจากฝีมือของ ‘Jean-Benoît Vétillard’ และนักออกแบบ ‘Raphaël Zarka’ ที่หยิบเอาโทนสีเดียวกันกับภาพวาดในยุคเรเนซองส์มารวมเข้ากับรูปทรงเรขาคณิตที่หลากหลาย โดยเฉดสีที่พวกเขาเลือกใช้คือ สีแดง สีเขียว และสีเหลือง ที่สร้างขึ้นในปี 1931 โดย ‘Le Corbusier’ นักออกแบบสถาปัตยกรรมในตำนานที่หลายคนคุ้นหู ที่แม้จะมีความหม่นแต่ก็ยังให้ความรู้สึกมีชีวิตชีวา ลานสเกตชั่วคราวแห่งนี้เปิดให้นักเล่นสเกตมือสมัครเล่นและมืออาชีพมาประลองฝีมือกัน บริเวณหน้าอาคารศูนย์วัฒนธรรมสมัยใหม่ที่เป็นพื้นที่สาธารณะแนวตั้ง ‘Centre Pompidou’ ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน และจะอยู่ไปจนถึงวันที่ 15 กันยายน 2024 ถือเป็นประติมากรรมชั่วคราวที่สร้างทัศนียภาพอันสดใสให้กับพื้นที่สาธารณะ แถมยังสอดคล้องไปกับการจัดแข่งขันกีฬาสเกตบอร์ดที่บริเวณ ‘Place de la Concorde’ หนึ่งในจัตุรัสสาธารณะที่สำคัญของเมือง ตามที่ตัว Raphaël Zarka ตั้งใจ หากใครได้ไปเยือนกรุงปารีสในช่วงนี้ไม่ควรพลาด Sources :Centre Pompidou | t.ly/bEuI-Designboom | […]

Olympic Games 2024 มหกรรมกีฬาแห่งการพัฒนาปารีส และนำเสนอตัวตนของฝรั่งเศส

ผ่านมา 100 ปีพอดีหลังจากเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกเกมส์ครั้งสุดท้ายของประเทศฝรั่งเศสในปี 1924 กลับมาคราวนี้ 2024 ประเทศฝรั่งเศส ณ กรุงปารีส รับไม้ต่อจากโตเกียวในการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนและพาราลิมปิกอีกครั้งในรอบศตวรรษ มหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ครั้งนี้ได้มีการนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นฝรั่งเศสผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ ทั้งโลโก้ มาสคอต โปสเตอร์ และชุดกีฬา โดยมุ่งเน้นเรื่องของเสรีภาพและการเปิดรับความหลากหลายที่พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวและนักกีฬาจากทั่วโลก มากไปกว่านั้น การเตรียมพร้อมเพื่อรองรับนักกีฬามากกว่า 14,500 คนและนักท่องเที่ยวหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก ทำให้ปารีสต้องขยับตัวเปลี่ยนแปลง หนึ่งในนั้นคือการสร้างอาคารใหม่หรือปรับปรุงให้ดีขึ้น บวกกับต้องสอดคล้องกับความยั่งยืน และเปลี่ยนกรุงปารีสให้กลายเป็นเมืองสีเขียวสำหรับทุกคน คอลัมน์ Report เดือนนี้อยากพาไปดูว่า การรับไม้ต่อเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ จะทำให้เมืองชั้นนำของโลกทั้งในด้านศิลปะและแฟชั่นอย่างปารีสที่เคยเป็นเมืองที่วุ่นวายและสกปรก พิสูจน์ถึงศักยภาพความพร้อมของตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน แล้วเมืองน้ำหอมจะใช้โอกาสนี้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงเมืองไปอย่างไรบ้าง พัฒนาเมืองเพื่อรองรับมหกรรมกีฬาระดับโลก การเป็นเจ้าภาพการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ 2024 ของฝรั่งเศสในครั้งนี้ เมืองปารีสจำเป็นต้องเตรียมตัวมากมายทั้งด้านสถานที่และผู้คน จึงมีการวางแผนพัฒนาเมืองโดยเน้นการใช้สถานที่ที่มีอยู่แล้วหรือไม่ก็สร้างขึ้นชั่วคราว เพื่อลดค่าใช้จ่ายและลดการปล่อยคาร์บอนสู่ธรรมชาติ กรุงปารีสเริ่มปรับภูมิทัศน์เมืองโดยคำนึงถึงนวัตกรรม พื้นที่สีเขียว และความยั่งยืน เริ่มจากการปรับโครงสร้างเมืองทั้งหอไอเฟลและสถานที่สำคัญทั้งหมดให้ถูกล้อมรอบด้วยสวน ซึ่งจะกลายเป็นสวนสาธารณะที่ใหญ่ติดอันดับโลก พร้อมปรับเส้นทางภายในเมืองให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับการเดิน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้คนเข้าถึงการแข่งขันได้ง่ายขึ้น และยังทำกิจกรรมต่างๆ ในสถานที่สำคัญอันเก่าแก่ เพื่อทำให้พื้นที่เหล่านั้นกลายเป็นที่นิยมมากขึ้น หลักการสำคัญของโปรเจกต์นี้คือ การลากเส้นเชื่อมต่อพื้นที่สำคัญๆ โดยมีหอไอเฟลและแลนด์มาร์กรอบๆ ได้แก่ ปลาส ดู ทรอกาเดโร […]

จับตามอง 5 อีเวนต์และความเปลี่ยนแปลงทั่วโลก ที่จะเกิดขึ้นภายในปี 2024

เริ่มต้นปีใหม่แบบนี้ หลายคนคงสงสัยว่าตลอดทั้งปีจะมีเหตุการณ์สำคัญอะไรเกิดขึ้นบ้าง และเราจำเป็นต้องรู้มากน้อยขนาดไหน Urban Creature รวบรวม 5 กิจกรรมและความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นทั่วโลกภายในปี 2024 ให้ทุกคนเตรียมตัวและตั้งตารอไปพร้อมกัน มีตั้งแต่มหกรรมกีฬาระดับโลก การย้ายเมืองหลวงของอินโดนีเซีย ไปจนถึงการเลือกตั้งใหญ่ในหลายประเทศทั่วโลก รับรองว่าน่าสนใจและน่าติดตามไม่แพ้ปีที่ผ่านมาแน่นอน! มหกรรมกีฬา ‘โอลิมปิก ปารีส 2024’ อย่างที่รู้กันว่า ทุก 4 ปีจะมีการจัดมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติที่ทั่วโลกตั้งตารอ นั่นคือ ‘โอลิมปิกฤดูร้อน’ และในปี 2024 ก็เป็นอีกครั้งที่การแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศจะถูกจัดขึ้นโดยเมืองเจ้าภาพอย่างกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม – 11 สิงหาคม 2024 ต่อด้วย ‘พาราลิมปิก ปารีส 2024’ ระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม – 8 กันยายน 2024 ความพิเศษของโอลิมปิก ปารีส 2024 คือ จะเป็นการแข่งขันครั้งแรกที่บรรลุความเท่าเทียมทางเพศได้อย่างสมบูรณ์ (Gender Parity) เพราะมีจำนวนนักกีฬาชายและหญิงที่เข้าร่วมแข่งขันเท่ากันในสัดส่วน 50 […]

Chosen Family เพลงส่งท้ายโอลิมปิกที่บรรเลงให้โลกรู้ว่า ‘ความหลากหลายของมนุษย์’ งดงาม

Chosen Family เพลงส่งท้ายโอลิมปิกที่บรรเลงให้โลกรู้ว่า ‘ความหลากหลายของมนุษย์’ งดงาม

FINA กลับคำหลังกระแสตีกลับ ไม่ให้คนดำสวมหมวกว่ายน้ำสำหรับผม Afro ในโอลิมปิก

ห่างหายไปนานกับการแข่งขันกีฬาระดับชาติอย่างโอลิมปิก ไม่ใช่แค่กองเชียร์ทั่วโลกที่พร้อมแต่นักกีฬาหลายเชื้อชาติก็พร้อมเต็มที่เช่นกัน โดยในปีนี้แบรนด์อุปกรณ์ดูแลผมและหมวกว่ายน้ำอย่าง ‘Soul Cap’ ได้เข้าสนับสนุนนักกีฬาว่ายน้ำผิวดำ แต่กลับถูกสหพันธ์ว่ายน้ำระหว่างประเทศ (FINA) ปฏิเสธคำขอให้นักกีฬาใช้หมวกว่ายน้ำของแบรนด์นี้ในการแข่งขันโอลิมปิกเสียอย่างนั้น FINA ให้เหตุผลว่าหมวกว่ายน้ำของ Soul Cap นั้นไม่เหมาะสมเพราะ ‘ไม่เป็นไปตามรูปทรงธรรมชาติของศีรษะ’ หมวกว่ายน้ำของ Soul Cap นั้นคิดค้นมาให้ขนาดเหมาะสมกับผมทรง Dreadlock, Afro ผมที่ได้รับการต่อมา ผมที่หยิกฟูและหนาของนักกีฬาหลายๆ คน เพราะหมวกว่ายน้ำที่มีอยู่ในตลาดนั้นเล็กเกินกว่าจะครอบผมของนักกีฬาได้หมด อีกทั้งสภาพผม Afro ยังแห้งกว่าสภาพผมอื่นๆ ทำให้ได้รับความเสียหายจากสารเคมีในสระว่ายน้ำมากกว่า นักว่ายน้ำผิวดำหลายคนออกมาแสดงความเห็นถึงการตัดสินในครั้งนี้ว่า FINA ‘ไม่สนใจ’ อุปสรรคเรื่องการดูแลรักษาผมของนักว่ายน้ำผิวดำซึ่งทำให้นักกีฬาว่ายน้ำผิวดำหลายคนต้องล้มเลิกความฝันที่จะเป็นนักกีฬาไป ปัญหานี้ยังส่งผลถึงสัดส่วนนักกีฬาผิวดำในวงการนักว่ายน้ำที่มีไม่มากเท่านักว่ายน้ำเชื้อชาติอื่นๆ ทำให้เด็กและเยาวชนขาดบุคคลสร้างแรงบันดาลใจ คำปฏิเสธในครั้งนี้ทำให้นักกีฬาว่ายน้ำผิวดำหลายคนผิดหวังและใจสลาย และเกิดกระแสวิจารณ์อย่างหนัก จนในที่สุด FINA ออกมาประกาศว่าอยู่ในขั้นตอน ‘ทบทวนการตัดสินใจ’ เรื่องคำขอใช้หมวกว่ายน้ำของ Soul Cap Sources : BBC News | https://www.bbc.com/news/newsbeat-57688380, https://www.bbc.com/news/newsbeat-57687096

Starboard แบรนด์กีฬาทางน้ำของแชมป์โลก Windsurf ที่ผลิตบอร์ดจากขยะทะเล ขยะครัวเรือน

ท่ามกลางฤดูกาลที่เงียบสงบสองฟากฝั่งของทะเลไทยทั้งอ่าวไทยและอันดามันกำลังเฝ้ารอวันที่คลื่นลมจะหวนกลับมา เพื่อต้อนรับนักเซิร์ฟจากทั่วทุกสารทิศให้กลับมาวาดลวดลายบนปลายคลื่นอีกครั้ง  ในฐานะกีฬาที่ต้องเอาร่างกายออกไปปะทะสายน้ำ จึงทำให้ความนิยมของกีฬาประเภทนี้เติบโตขึ้นไปพร้อมกับแนวคิดเรื่องการปกปักรักษาธรรมชาติ  เมื่อสองปัจจัยผสานกันไปราวกับเกลียวคลื่นเราเลือกที่จะเดินทางไปพูดคุยกับ สเวน รัสมุสเซ่น (Svein Rasmussen) อดีตนักกีฬาวินด์เซิร์ฟแชมป์โลก ผู้ก่อตั้ง Starboard ผู้ผลิตเซิร์ฟบอร์ดและอุปกรณ์กีฬาทางน้ำที่ไม่คิดจะทำ CSR แต่มีภารกิจหลักเพื่อสิ่งแวดล้อมที่เคยเก็บขยะบนชายหาดตั้งแต่บางแสนถึงสัตหีบ ปลูกต้นโกงกางเพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์นับ 650,000 ต้น แถมยังคิดภาษีให้ตัวเองเมื่อจำเป็นต้องใช้พลาสติก จนไม่ได้หยุดความนิยมอยู่ที่นักโต้คลื่น แต่กลายเป็นที่รักของทุกคนที่มีใจให้สิ่งแวดล้อม  แบรนด์ที่กำเนิดท่ามกลางดวงดาว  ย้อนกลับไปในปี 1994 ริมชายหาดแห่งหนึ่งของฮาวายในวันที่ฟ้าเปิดและมองเห็นดวงดาวได้ชัดเจน นักกีฬาวินด์เซิร์ฟที่ประสบความสำเร็จระดับโลกในวัย 30 ปี กำลังมองหาคลื่นลูกใหม่ให้กับชีวิตหลังเกษียณ  แม้จะมีไอเดียอยู่เต็มหัว แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับชายที่เอาจริงเอาจังเรื่องกีฬาตั้งแต่เด็ก และไม่ได้สนใจเรื่องโรงเรียนแม้แต่น้อยที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจสักอย่างหนึ่ง  “ตั้งแต่เด็กกีฬาเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้เลือดลมของผมสูบฉีด ผมไม่ได้รู้อะไรมากนักเพราะไม่เคยทุ่มเทให้การเรียน เพราะฉะนั้น คงไปสมัครงานที่ไหนไม่ได้แน่ๆ สิ่งที่แน่นอนคือเวลานี้เหมาะที่สุดในการจะเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ และผมรู้ดีมากเกี่ยวกับวินด์เซิร์ฟ ตอนนั้นไอเดียเกี่ยวกับธุรกิจอัดแน่นอยู่เต็มหัว สิ่งเดียวที่ผมยังไม่แน่ใจคือจะเรียกมันว่าอะไรดี “คืนนั้นผมนั่งอยู่ที่ฮาวาย พยายามค้นหาชื่อที่เหมาะ ในขณะที่คำตอบยังไม่ออกมาให้เห็นก็มองดูดวงดาวไปเรื่อยเปื่อย พร้อมคิดไปด้วยว่าดาวแต่ละดวงต้องการจะบอกอะไรเรา  “ผมชอบดาราศาสตร์ จึงพอรู้ว่าดาวแต่ละดวงมีความหมายในตัวเอง ตอนนั้นเองผมคิดว่าชื่อ Star (ดวงดาว) ก็เป็นอะไรที่โอเคแล้ว แต่ในเมื่อดวงดาวมันเรียงกันเป็นแนว (Border) และเรากำลังจะผลิตบอร์ด (Board) ก็เป็นที่แน่นอนแล้วว่าแบรนด์นี้ต้องชื่อ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.