เดินทางผ่าน Hexgate สำรวจเมืองต่างๆ ในดินแดน Runeterra ของแอนิเมชัน ARCANE

ในเวลานี้แอนิเมชันที่มาแรงที่สุดคงหนีไม่พ้น ‘Arcane’ ซีรีส์แอนิเมชันแห่งยุคจาก Riot Games ค่ายเพลงที่ทำเกมได้นิดหน่อย เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาซีรีส์ได้ปิดตัวไปอย่างสวยงามด้วยจำนวนทั้งหมด 18 ตอน แบ่งเป็น 2 ซีซัน ซีซันละ 9 ตอน ทิ้งความคาดหวังให้เหล่าแฟนๆ ว่าเมื่อไหร่จะมีแอนิเมชันคุณภาพแบบนี้ออกมาให้ดูกันอีก จนทุกคนอยากให้ Riot Games เลิกทำเกมแล้วนำเวลามาทำแอนิเมชันดีกว่า เนื้อเรื่องหลักของ Arcane เล่าถึงพื้นที่เมือง Piltover มหานครแห่งความก้าวหน้า และ Zaun เมืองใต้ดินแห่งความเสื่อมโทรม ซึ่งพื้นที่นี้เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ในดินแดน Runeterra อันกว้างใหญ่ คอลัมน์เนื้อหนังอยากพาไปสำรวจเมืองอื่นๆ ในจักรวาล League of Legends ว่ามีสังคมเมือง ชีวิตความเป็นอยู่ รวมถึงค่านิยมและความเชื่ออย่างไรบ้าง เอาละ ถ้าพร้อมแล้วก็ขึ้นเรือเหาะเตรียมตัวเข้า Hexgate ได้เลย เราจะออกเดินทางกันแล้ว! Demacia เมืองแห่งความเที่ยงธรรม “หัวใจและดาบของข้าก็เพื่ออาณาจักรเดมาเซีย” DEMACIA!!!!!! การกู่ร้องที่ภาคภูมิและองอาจนี้เปรียบเหมือนหัวใจหลักของอาณาจักรเดมาเซียได้อย่างตรงไปตรงมาที่สุด เดมาเซียเป็นนครที่ตั้งอยู่บริเวณตะวันตกของดินแดนรูนเทอร์รา ในพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับการเกษตร สามารถพึ่งพาตัวเองได้โดยสมบูรณ์ โดยเกิดจากการรวมตัวของผู้อพยพจากมหาสงครามเวทมนตร์ […]

สำรวจ ‘ฉงชิ่ง’ เมืองแห่งภูเขากับความซับซ้อนทางภูมิทัศน์และดาวรุ่งเศรษฐกิจจากการพัฒนาสถาปัตยกรรมล้ำยุค

นาทีนี้คงไม่มีใครสามารถปฏิเสธความฮอตทั้งความเผ็ดชาและความนิยมของหมาล่าได้ แต่นอกจากความจัดจ้านจากพริกหมาล่าแล้ว เมืองผู้เป็นต้นกำเนิดหม้อไฟแสนอร่อยจากมณฑลเสฉวนอย่าง ‘ฉงชิ่ง’ เองก็กำลังร้อนแรงไม่แพ้กัน ฉงชิ่ง เป็นหนึ่งในเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของจีนในปัจจุบัน จากการปลุกปั้นโดยรัฐบาลในช่วงปลายยุค 90 ให้กลายเป็นเมืองเศรษฐกิจหลักของประเทศ แต่ด้วยภูมิทัศน์ประเทศที่เป็นภูเขาและเนินสูงต่ำมากมายจนเรียกได้ว่าเป็น ‘เมืองแห่งภูเขา’ จึงเป็นเหมือนข้อจำกัดหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงเมือง อย่างไรก็ตาม อุปสรรคเหล่านี้กลับกลายเป็นข้อดีในการสร้างเอกลักษณ์ด้านการวางผังเมือง ที่สามารถเชื่อมต่อระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านสถาปัตยกรรมอันโดดเด่น ทำไมรัฐบาลจึงเลือกเปลี่ยนเมืองชนบทกลางภูเขาให้กลายเป็นหนึ่งในเมืองที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจเร็วที่สุดในจีน รวมถึงแนวคิดการสร้าง ‘เมืองซ้อนเมือง’ เพื่อทลายข้อจำกัดด้านพื้นที่ และจุดยืนในการเป็นเมืองไฮเทคด้วยสถาปัตยกรรมล้ำสมัย ตามคอลัมน์ City in Focus ไปดูกัน เมืองซ้อนเมืองซ้อนภูเขาซ้อนถนน หากจะนิยามเมืองที่ ‘ซับซ้อน’ ฉงชิ่งคือตัวอย่างของเมืองที่มีผังเมือง ‘ซ้อน’ กันอย่างแท้จริง ด้วยภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาล้อมรอบและเนินเขาลาดชัน อีกทั้งยังมีพื้นที่ติดกับแม่น้ำสองสายสำคัญทั้งแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำเจียหลิง จุดโดดเด่นแรกคงหนีไม่พ้นการท่องเที่ยวทางธรรมชาติอันสวยงาม แต่เมื่อรัฐเลือกให้เป็นพื้นที่หลักทางเศรษฐกิจ การพัฒนาผังเมืองจำเป็นต้องยืดหยุ่นไปตามพื้นที่อย่างเลี่ยงไม่ได้ แนวคิดเมืองซ้อนเมืองจึงถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับปัญหานี้ ตึกระฟ้า อาคารสูง และถนน ถูกสร้างขึ้นแตกต่างหลายระดับเพื่อเชื่อมต่อพื้นที่ต่างๆ เข้าด้วยกัน อีกทั้งสะพานยกระดับข้ามแม่น้ำหรือบันไดวนสูงรอบภูเขาก็สามารถพบได้ทั่วไป จนทำให้มองเผินๆ ดูคล้ายกับว่ามีเมืองอีกเมืองหนึ่งซ้อนทับอยู่ด้านบน ด้วยความเป็นเอกลักษณ์​เกินปกติของผังเมือง การสัญจรภายในเมืองจึงซับซ้อนคดเคี้ยวราวกับเดินเขาอยู่ตลอดเวลา แต่ฉงชิ่งก็แก้เกมการเดินทางด้วยเทคโนโลยีด้านคมนาคมที่ราวกับหลุดออกมาจากหนังไซไฟอย่าง ‘รถไฟลอยฟ้าทะลุตึก’ เมื่อเศรษฐกิจเติบโต เทคโนโลยีจึงเติบใหญ่ เมื่อได้รับเลือกให้เป็นเมืองเศรษฐกิจหลักของประเทศ ฉงชิ่งกลายเป็นที่ตั้งของบริษัทขนาดใหญ่กว่า 500 […]

Warhammer 40K สำรวจ Hive City มหานครแห่งสหัสวรรษที่ 41 ในจักรวาลที่มีแต่สงครามและความมืดมิด

‘จงลืมเรื่องความก้าวหน้าและความเข้าใจใดๆ สงครามคือสิ่งเดียวในอนาคตอันมืดมิด จะไม่มีสันติสุขใดในมวลหมู่ดาว มีเพียงความบ้าคลั่งของสงครามนิรันดร์ และเสียงหัวเราะของทวยเทพผู้หิวกระหาย’ ตอนนี้จักรวาลของ Warhammer 40K ได้เฉิดฉายขึ้นมาเป็นกระแสหลัก หลังจากการปล่อยเกม Warhammer 40K : Space Marine 2 และการประกาศฉายแอนิเมชัน Secret Level บนสตรีมมิง Amazon Prime Warhammer 40K เล่าถึงช่วงสหัสวรรษที่ 41 หลังจากที่มวลมนุษยชาติได้เดินทางสู่ห้วงอวกาศอันไร้ที่สิ้นสุด เหล่ามนุษย์ก่อตั้งอาณานิคมบนหมู่ดาวนับล้านดวง แต่เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้มวลมนุษย์ในจักรวาลถูกตัดขาดจากกัน ชายผู้หนึ่งตั้งตนเป็นจักรพรรดิแห่งมวลมนุษย์ (The Emperor of Mankind) โดยมีพันธกิจอันยิ่งใหญ่ ตั้งใจรวบรวมมนุษย์ที่กระจัดกระจายอยู่ในจักรวาลให้กลับมาอยู่ภายใต้ธงผืนเดียวกัน ร่วมกับกองทัพชายหญิงผู้กล้าหาญในจักรวาลที่มีแต่ภยันตรายรอบด้าน คอลัมน์ Urban Isekai วันนี้ เราจะมารับบทนักวิชาการแห่งหน่วยงาน Adeptus Administratum เล่าถึงชีวิตความเป็นอยู่ สังคมเมืองในสหัสวรรษที่ 41 ในมหานครซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยหลักของมนุษย์ เรียกกันว่า ‘Hive City’ เมืองหอคอย Hive City เป็นมหานครแนวตั้งขนาดใหญ่ […]

ย้อนรอยความทรงจำย่านหัวลำโพงกับงาน ‘รื้อ เล่า ขาน ตำนานหัวลำโพง’ วันที่ 4 ส.ค. ที่ชุมชนตรอกสลักหิน

หัวลำโพงคือย่านที่อัดแน่นไปด้วยเรื่องเล่าและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ถึงหัวลำโพงจะผ่านการเปลี่ยนแปลงมานับครั้งไม่ถ้วน แต่เรื่องราวเหล่านี้ยังถูกจดจำไว้อย่างดีโดยชาวบ้านที่รอคอยโอกาสเล่าขานตำนานให้ผู้คนรับฟัง ชวนย้อนรอยความทรงจำย่านหัวลำโพงไปด้วยกัน ในงาน ‘Re-Tell The Details : รื้อ เล่า ขาน ตำนานหัวลำโพง’ กิจกรรมจากชุมชนตรอกสลักหิน ย่านหัวลำโพง กลุ่มริทัศน์บางกอก มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก และเครือข่ายรองเมืองเรืองยิ้ม งานนี้ประกอบด้วยกิจกรรมหลากหลายที่อัดแน่นตลอดทั้งวัน ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอผลงานการออกแบบสื่อเพื่อชุมชนจากนักศึกษา กิจกรรมเวิร์กช็อปโดยชุมชนตรอกสลักหิน ภาคีเครือข่าย และเวทีดนตรีโดยเยาวชนในชุมชน การพาทัวร์ชุมชนตรอกสลักหินโดยไกด์วัยจิ๋วของชุมชน และการเสวนาของกลุ่มคนหลายภาคส่วนที่ร่วมสร้างสรรค์ย่านหัวลำโพง ถ้าหากใครสนใจไปรื้อฟื้นความหลังของหัวลำโพง ไปเข้าร่วมกันได้เลยที่พื้นที่สร้างสรรค์ ใต้ทางด่วนชุมชนตรอกสลักหิน ในวันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 10.00 – 18.00 น.

คุยเรื่องเมืองและอุตสาหกรรมดนตรีกับเจ้าของค่ายเพลง ‘บอล – What The Duck’

หลายคนคงรู้จัก ‘บอล Scrubb’ หนึ่งในนักดนตรีไทยที่มีผลงานเพลงติดหูมามากมายกว่า 20 ปี แต่ในฐานะเจ้าของค่ายเพลง ‘What The Duck, MILK! BKK Music Label และ MILK! Artist Service Platform’ อาจมีบางคนที่ยังไม่รู้ว่ามีเขาเป็นเบื้องหลังกำลังหลักคอยขับเคลื่อนอยู่ “เมืองหมายถึงความเจริญ มีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน ขนส่ง น้ำ ไฟ ประปา ถ้าสิ่งที่จับต้องได้จริงๆ มันไม่ดีพอ เดินทางมาไม่ถึงหรือเข้าถึงยาก คนก็จะรู้สึกเข้าไม่ถึง เพราะความสุขหรือศิลปะมันไม่ใช่ปัจจัยพื้นฐาน เพราะฉะนั้นปัจจัยหลักมันต้องดีก่อน คนถึงจะมีเวลาไปมองหาอะไรที่เป็นสิ่งที่ช่วยเติมเต็มความสุขส่วนตัว” Urban Creature คุยกับ ‘บอล-ต่อพงศ์ จันทบุบผา’ เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีของค่าย What The Duck กับความเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมดนตรีไทย และเมืองในฝันที่จะน่ารักกับดนตรีได้อย่างแท้จริง

สำรวจความวายป่วงของสัตว์ป่า ที่เข้ามาทำซ่าในเมืองมนุษย์

ในปี 1659 ตัวแทนจาก 5 เมืองตอนเหนือของอิตาลีรวมตัวกันพิจารณาคดีโดยมีจำเลยเป็น ‘หนอนผีเสื้อ’ ที่ถูกชาวบ้านร้องทุกข์ว่า หนอนเหล่านี้บุกรุกพื้นที่และลักทรัพย์จากสวนผลไม้ โดยมีการออกหมายให้หนอนผีเสื้อมารายงานตัวกับศาล แน่นอนว่าไม่มีหนอนตัวไหนมาตามนัด แต่คดีก็ยังดำเนินการต่อไป และศาลตัดสินยอมรับสิทธิ์ให้หนอนผีเสื้อใช้ชีวิตอย่างอิสรเสรีและมีความสุข โดยจะต้อง ‘ไม่เบียดเบียนความสุขของมนุษย์’ นี่คือหนึ่งตัวอย่างของคดีจากคำนำหนังสือ ‘ป่วนปุย เมื่อธรรมชาติทำผิดกฎมนุษย์’ ผลงานจาก ‘แมรี โรช’ นักเขียนขายดีของ The New York Times ที่บอกเล่าถึงเรื่องราวความซับซ้อนในปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนและสัตว์ จากกระบวนการยุติธรรมที่แปลกประหลาด กับการใช้กฎหมายของมนุษย์ตัดสินการกระทำของเหล่าสัตว์ที่ไม่มีทางเข้าใจเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือศีลธรรมอันดี ไปจนถึงคดีลักทรัพย์ ก่อกวน หรือการฆาตกรรม ทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา ที่เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลกจากสิ่งมีชีวิตผู้ไร้เดียงสา หากจะลดความอุกฉกรรจ์ลงมาหน่อย ก็คงเป็นปัญหาที่พบเจอได้ทั่วไปอย่างปัญหาสัตว์ที่ไม่ยอมข้ามถนนบนทางม้าลาย นกนางนวลที่ทำลายทรัพย์สินสาธารณะอย่างไม่มีเหตุผล สัตว์ฟันแทะที่บุกรุกอสังหาริมทรัพย์ หรือเจ้าลิงที่ฉลาดในการกลั่นแกล้งมนุษย์ เมื่อเหตุร้ายเกิดจากสัตว์ป่าแสนน่ากลัว มนุษย์บางคนก็ลุกขึ้นจับอาวุธทำร้ายสัตว์เหล่านั้น โดยไม่ได้ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามันใช่ผู้ร้ายตัวจริงหรือไม่ แมรีจึงพาเราเข้าสู่กระบวนการสืบสวนด้านนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการตามหาสัตว์ร้ายผู้กระทำความผิด และทวงคืนความยุติธรรมให้เหล่าสัตว์บริสุทธิ์ แกะรอยสืบสาวหาสัตว์ร้ายและทวงคืนความยุติธรรม พบศพชายคนหนึ่งนอนตายอยู่ริมถนน สภาพศพเละเทะ เสื้อผ้าฉีกขาด คาดว่าเกิดจากการถูกสัตว์ป่าโจมตี คดีทำนองนี้มักเกิดขึ้นในตอนเหนือของประเทศแคนาดาและอเมริกาที่คุณพบสัตว์ป่าได้เป็นเรื่องปกติ แต่สัตว์ร้ายตัวไหนกันที่ก่อเหตุอุกฉกรรจ์ขึ้นกลางเมืองแบบนี้ ก่อนจะมาเขียนหนังสือเล่มนี้ แมรีเข้าอบรมหลักสูตร ‘WHART หรือ […]

‘อุตสาหกรรมดนตรีจะดีขึ้นกว่านี้ได้ ขนส่งมวลชนต้องดีก่อน’ คุยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเมืองและคนดนตรีกับ ‘บอล Scrubb’ 

เราไม่ได้มองศิลปินและนักดนตรีต่างออกไปจากคนเมืองธรรมดาๆ อย่างตัวเองนัก เราคือคนทำงาน พวกเขาก็คือคนทำงาน ความเป็นไปของเมืองที่เราอยู่อาศัยส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเรา กับศิลปินและนักดนตรีที่อยู่ในเมืองเดียวกันนี้ก็คงไม่ต่างกัน จากประสบการณ์ส่วนตัว เราจะสนใจอ่าน ฟัง หรือถกเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างคนกับเมือง ผ่านบทสนทนากับคนในสายอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงเมืองเสียมากกว่า และหลังจากได้ยินความตั้งใจของคนหลายๆ กลุ่มก้อนที่อยากผลักดันให้เมืองกรุงเทพฯ เป็น Music City หรือสนับสนุนให้ T-POP เป็นซอฟต์พาวเวอร์ เป็นหน้าเป็นตาของเมืองหรือประเทศ คำถามที่ปรากฏขึ้นในหัวเราในเวลาต่อมาคือ แล้วเมืองได้สนับสนุนอะไรกลับไปที่ศิลปินที่กำลังตั้งใจทำงานอยู่หรือเปล่า กุมความสงสัยไว้กับตัวเองได้ไม่นาน เพราะวันนี้มีโอกาสได้เจอกับ ‘บอล Scrubb’ หรือ ‘ต่อพงศ์ จันทบุบผา’ ศิลปินและผู้บริหารค่ายเพลงอย่าง ‘What The Duck’ และ ‘MILK! Artist Service Platform’ ที่ดูแลและสนับสนุนว่าที่ศิลปินหน้าใหม่ ซึ่งวันนี้ได้ขยับตัวเองมาเป็นค่ายเพลงน้องใหม่อย่าง ‘MILK! BKK Music Label’ แล้วเรียบร้อย ชวนเจ้าตัวคุยแบบลึกๆ ไปเลยว่า ในเลนส์ของคนฟังเพลงและคนที่ทำงานกับอุตสาหกรรมดนตรีมายาวนาน (แถมทำมาแล้วหลายบทบาท) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวเขากับเมืองจะมีเรื่องที่อยากชมหรือเรื่องที่ขอบ่นแตกต่างไปจากเราอย่างไร ในฐานะศิลปินและคนทำค่ายเพลง นิยามคำว่า ‘เมือง’ ของคุณเป็นอย่างไร ผมว่ามันเป็นเรื่องของความสะดวกสบายในการเข้าถึงศิลปะและดนตรี […]

NUSANTARA เมืองหลวงใหม่ของอินโดนีเซีย ที่ทั้งไฮเทคและเน้นความยั่งยืน

‘กรุงจาการ์ตา’ คือเมืองหลวงของอินโดนีเซียที่ขึ้นชื่อเรื่องปัญหาความแออัด เพราะมีประชากรอยู่ราว 10.5 ล้านคน ในพื้นที่เพียง 661.5 ตารางกิโลเมตร ทำให้เกิดปัญหาเมืองแสนซับซ้อนตามมา เช่น ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม การจราจรติดขัด ปัญหาน้ำท่วม แผ่นดินทรุดตัว และมลพิษทางอากาศอย่างฝุ่น PM 2.5 เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น ในปี 2019 รัฐบาลอินโดนีเซียจึงประกาศย้ายเมืองหลวงจากกรุงจาการ์ตาไปยังผืนป่าในจังหวัดกาลีมันตัน บนฝั่งตะวันออกของเกาะบอร์เนียว โดยเมืองหลวงใหม่มีชื่อว่า ‘นูซันตารา’ (Nusantara) ซึ่งแปลว่า ‘หมู่เกาะ’ ในภาษาอินโดนีเซีย อินโดนีเซียต้องการสร้างนูซันตาราให้เป็นเมืองที่ยึดเรื่องสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน และเทคโนโลยีเป็นหัวใจสำคัญ โดยหวังว่าจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทำให้ตัวเมืองมีชีวิตชีวา และเป็นอีกหนึ่งเมืองต้นแบบเรื่องความรักษ์โลก เมืองอัจฉริยะที่ปกป้องผืนป่า นูซันตารามีพื้นที่ครอบคลุม 2,560 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่กว่าเมืองหลวงเดิมเกือบ 4 เท่า โดยจะจัดสรรพื้นที่ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ให้เป็น ‘พื้นที่เมือง’ ส่วนอีกประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์จะรักษาไว้เป็น ‘พื้นที่สีเขียว’ สัดส่วนราว 65 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่สีเขียวจะปกคลุมไปด้วยป่าเขตร้อนที่ทำหน้าที่กักเก็บคาร์บอน สอดคล้องกับเป้าหมายออกแบบเมืองให้เป็น ‘เมืองป่าไม้ที่ยั่งยืน’ (Sustainable […]

ทำไมบางเมืองถึงยอมแลกความเจริญกับการถูกถอดออกจากมรดกโลก

‘รักษาสิ่งเก่า’ หรือ ‘พัฒนาไปสู่สิ่งใหม่’ ถ้าสองอย่างนี้สามารถดำเนินไปด้วยกันได้คงจะดี แต่บางครั้งเราก็จำเป็นต้องเลือก โดยเฉพาะยามที่มีเรื่องผลประโยชน์ของส่วนรวมเข้ามาพัวพันด้วย ‘เมืองอยุธยาเสี่ยงจะถูกถอดออกจากมรดกโลกเพราะรถไฟความเร็วสูง’ หากมองจากสายตาคนนอก คงเป็นเรื่องน่ากังวลสำหรับโบราณสถานที่มีอายุมากกว่าหลายร้อยปี แต่ในสายตาของคนท้องถิ่น คนจำนวนไม่น้อยต้องการความเจริญอย่างรถไฟความเร็วสูงมากกว่าการเป็นมรดกโลก และสิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในไทย ก่อนอื่นขออธิบายก่อนว่า ‘แหล่งมรดกโลก’ คือพื้นที่ทางธรรมชาติหรือสิ่งก่อสร้างรวมไปถึงเมือง ที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือด้านอื่นๆ ซึ่งได้รับการปกป้องคุ้มครองทางกฎหมายตามอนุสัญญาว่าด้วยเรื่อง ‘มรดกโลก’ ของยูเนสโก เพื่อให้ประชาชนเกิดการตระหนักรู้ในการอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบทอดต่อไป และที่สำคัญคือ การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์จะนำรายได้ไม่น้อยมาให้ท้องถิ่นและชุมชน ทุกอย่างเหมือนจะดูดี แต่เหรียญย่อมมีสองด้านเสมอ บางครั้งกฎเกณฑ์ที่มากเกินไปอาจทำให้การพัฒนาพื้นที่ทำได้ยากกว่าเดิม จึงมีบางประเทศเลือกที่จะยอมถูกถอดออกจากมรดกโลกเพื่อต้องการพัฒนาเมืองให้ดีกว่าเดิม ยกตัวอย่าง เมืองลิเวอร์พูล (Liverpool) ประเทศอังกฤษ และเมืองเดรสเดิน (Dresden) ประเทศเยอรมนี ที่ชาวเมืองสนับสนุนการพัฒนาเมืองมากกว่าการเป็นเมืองมรดกโลก หรือมรดกโลกอาจขัดขวางการพัฒนาเมือง จากความจริงที่ว่า ‘เมืองไม่เคยหยุดนิ่ง’ จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและเม็ดเงินที่ไหลเวียนเข้ามา ย่อมนำมาซึ่งการขยับขยายพัฒนาเมืองเพื่อตอบโจทย์ชาวเมือง ปฏิเสธไม่ได้ว่า การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทำให้เมืองไม่สามารถขยับตัวพัฒนาในบางจุดได้เท่าที่ควร และในเมื่อต้องเลือกเพียงแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง หนึ่งในเมืองที่ขึ้นทะเบียนเมืองมรดกโลกอย่าง ‘ลิเวอร์พูล’ จึงเลือกหันหลังให้มรดกโลกเพื่อแลกกับความเจริญ ‘ลิเวอร์พูล มาริไทม์ เมอร์แคนไทล์ ซิตี’ (Maritime Mercantile City) […]

จากโรมันถึงวันนี้ ‘เวโรนา’ เมืองที่เก็บรักษาโครงสร้างความโรแมนติกได้อย่างไม่เคยหมดรัก

‘เวโรนา’ คือหนึ่งในเมืองแห่งความโรแมนติกที่เราอาจเคยได้ยินชื่อจากวรรณกรรมชื่อก้องโลก Romeo and Juliet ‘วิลเลียม เชกสเปียร์’ เลือกเมืองนี้เป็นท้องเรื่อง เพราะด้วยสถาปัตยกรรมทรงเสน่ห์ที่เมืองยังคงอนุรักษ์ไว้ตั้งแต่สมัยโรมันไปจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ทำให้หลายคู่รักเลือกเดินทางไปย้อนเวลากลายเป็นเจ้าชายเจ้าหญิงเหมือนในนิยาย ท่ามกลางบรรยากาศสุดแสนโรแมนติก เวโรนา อารีนา (Verona Arena), สะพานหินปงเต ปิเอตรา (Ponte Pietra), มหาวิหารซานเซโน (Basilica of San Zeno) หรือแม้แต่บ้านจูเลียต (Juliet’s House) คือตัวอย่างสถาปัตยกรรมโบราณขึ้นชื่ออันโดดเด่นที่เหล่านักท่องเที่ยวต่างหลงใหลในเสน่ห์แห่งเวโรนา แต่ในความจริงทุกอย่างไม่ได้สวยงามดั่งความรักของโรเมโอและจูเลียต เมืองเวโรนาเคยผ่านการล้มลุกคลุกคลานจากสงครามที่ทำลายเมืองไปกว่าครึ่ง แต่ว่าสิ่งไหนกันที่ทำให้ ‘เวโรนา’ ยังคงเสน่ห์และความสวยงามได้อย่างไม่เคยหมดรัก ตามไปอ่านได้ในบทความนี้ ชุบชีวิตเมืองที่ถูกทำลายจากสงคราม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมืองเวโรนาคือหนึ่งในเมืองที่ได้รับความเสียหายจากการทิ้งระเบิดมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอิตาลี บ้านกว่า 7,000 หลังคาเรือนถูกทำลายราบคาบ จึงไม่แปลกที่สถาปัตยกรรมโบราณจะได้รับความเสียหายเช่นเดียวกัน หนึ่งในนั้นคือสะพานหินปงเต ปิเอตรา (Ponte Pietra) ที่ถูกทำลายและไม่ได้รับการฟื้นฟู แต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองจบลง ผู้มีอำนาจในเมืองเวโรนาได้เริ่มวางแผนชุบชีวิตเมืองขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ในปี 1946 ‘Piero Gazzola’ ประธานสภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (ICOMOS) ได้มีส่วนสำคัญอย่างมากในแผนการฟื้นฟูโครงสร้างของเมืองเวโรนา […]

กทม. ชวนเช็กสภาพรถ เปลี่ยนน้ำมันเครื่องกับโครงการ ‘คลินิกรถ ลดฝุ่น PM2.5’ ที่ศูนย์บริการใกล้บ้าน วันนี้ – 29 ก.พ. 67

ปลายปีแบบนี้ มองไปทางไหนก็พบเจอแต่ฝุ่นละออง PM 2.5 ที่เพิ่มสูงขึ้น จนผู้คนรอบตัวเริ่มทยอยป่วยเพราะปัญหาสภาพอากาศย่ำแย่ แถมเจ้าฝุ่นที่ว่านี้ยังมีต้นเหตุหลักมาจากควันรถยนต์ที่จราจรบนท้องถนน กทม. ที่พยายามแก้ปัญหานี้ ได้ร่วมมือกับกระทรวงพลังงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และตัวแทนค่ายรถยนต์ผู้ค้าน้ำมันในประเทศไทย จัดทำโครงการ ‘คลินิกรถ ลดฝุ่น PM2.5’ เพื่อจัดโปรโมชันลดค่าบริการตรวจสอบสภาพรถ ทั้งการเปลี่ยนไส้กรองอากาศ ไส้กรองน้ำมัน และตรวจเช็กรถยนต์กว่า 35 รายการฟรี ที่ศูนย์บริการใกล้บ้าน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น​ของคนกรุงเทพฯ​ และทุกจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจาก PM 2.5 โปรโมชันนี้ออกมาสำหรับรถยนต์ที่อายุการใช้งานตั้งแต่ 2 – 15 ปี เรียกได้ว่ายิ่งอายุรถยนต์มาก บริษัทที่เข้าร่วมก็จะให้ส่วนลดมากขึ้นตามไปด้วย โดยส่วนลดสูงสุดอยู่ที่ 55 เปอร์เซ็นต์ เพื่อจูงใจให้ประชาชนที่มีรถยนต์เก่าเข้ามารับบริการบำรุงรักษา ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้ของรถยนต์นั่นเอง รถของบ้านไหนที่เข้าเกณฑ์ เจ้าของรถสามารถเข้าร่วมตรวจเช็กสภาพรถยนต์ เปลี่ยนถ่ายน้ำมัน รวมถึงเข้ารับการบำรุงรักษาเครื่องยนต์ได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ศูนย์บริการใกล้บ้าน และหากใครมีแพลนเดินทางในช่วงที่ฝุ่น PM 2.5 เพิ่มสูง ติดตามการคาดการณ์สถานการณ์ฝุ่นล่วงหน้า รวมถึงรายละเอียดส่วนลดและระยะเวลาเข้าร่วมโครงการของแต่ละบริษัทได้ที่เพจ กรุงเทพมหานคร

FYI

I Love Urban Life แคมเปญส่งต่อพลังบวกจาก Ananda ที่อยากทำให้ชีวิตคนเมืองมีความสุขและดีขึ้นทุกวัน

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกเลือกที่จะออกแบบเมืองและกำหนดนโยบายที่เน้นการส่งเสริมให้ผู้อยู่อาศัยมีพลัง มีความคิดสร้างสรรค์ และมีส่วนร่วมกับการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เมืองอยู่เสมอ โดยอาจไม่จำเป็นต้องลงมือทำอะไรที่ยิ่งใหญ่ แต่เป็นสิ่งที่พวกเขาทำได้ และช่วยให้การใช้ชีวิตของคนอื่นๆ หรือสภาพแวดล้อมรอบๆ ดีขึ้นตามไปด้วย ปรากฏการณ์นี้สอดคล้องกับแนวคิดของ ‘อนันดา’ (Ananda) หรือ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) แบรนด์อสังหาริมทรัพย์เจ้าใหญ่ของประเทศไทย ที่เชื่อว่า ถ้าทุกคนอยู่ให้ถูกที่ ใช้ชีวิตได้แบบไม่มีข้อจำกัด และใส่ทุกพลังเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เราก็จะช่วยกันทำให้เมืองนี้ดีขึ้นกว่าเดิมได้ จึงเป็นที่มาของการเปิดตัวแคมเปญ ‘I Love Urban Life’ เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นในการพัฒนาที่อยู่อาศัยใจกลางเมืองให้เกิดความสะดวกสบาย และเอื้อให้ผู้อยู่อาศัยได้มีเวลาออกไปใช้ชีวิตในแบบของตัวเอง​ แคมเปญนี้ไม่เพียงส่งต่อพลังบวกให้คนเมืองทุกวันและทุกเวลาเท่านั้น แต่ยังเปลี่ยนมุมมองของผู้อยู่อาศัยให้มีความสุขและสนุกไปกับการใช้ชีวิตในเมืองที่แสนวุ่นวายแห่งนี้ I Love Urban Life ชีวิตเมือง ชีวิตเรา แน่นอนว่าการที่เราจะดูแลอะไรสักอย่างให้ดี เราต้องผูกพันและเห็นความสำคัญของมันก่อน อนันดาเชื่อว่าการเปลี่ยนวิธีคิดและลองใช้ชีวิตให้มีสีสันมากขึ้น จะทำให้คนเมืองทุกคนมีความสุขได้ทุกๆ วันและทุกๆ ช่วงเวลา จึงเป็นที่มาของแคมเปญ I Love Urban Life ที่ต้องการเปลี่ยนมายด์เซตและส่งเสริมไลฟ์สไตล์ของคนเมืองผ่าน 3 แนวทาง ได้แก่ 1) I […]

1 2 3 6

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.