ศราวุธ แววงาม ชาว Punk ที่ผันเป็นช่างสักขาลาย อนุรักษ์รอยสักล้านนาโบราณที่แทบสาบสูญ

หากสังเกตจิตรกรรมฝาผนังโบราณล้านนา เราจะพบว่าบริเวณขาของชายทุกคนจะมีลวดลายจากการสักอยู่ นี่คือหนึ่งในอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมล้านนาที่เรียกกันว่า ‘การสักขาลาย’ ซึ่งเกิดมาจากความเชื่อในอดีตของชาวล้านนาว่า เด็กผู้ชายเมื่อจะก้าวเข้าสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ทุกคนต้องผ่านพิธีการสักขาลายเสียก่อน  นอกจากจะพิสูจน์ความกล้า ความอดทน ยังเชื่อกันว่าเป็นการแสดงความนอบน้อมต่อครอบครัว แสดงความกตัญญูทดแทนพระคุณแม่ และพร้อมที่จะเป็นหัวหน้าครอบครัวต่อไป ถึงขั้นมีจารึกบันทึกไว้เลยว่า หากหญิงใดจะดูว่าชายนั้นเหมาะเป็นคู่ครองหรือไม่ ส่วนหนึ่งคือให้ดูว่าชายนั้นสักขาลายแล้วหรือยัง ด้วยเหตุนี้ผู้ชายชาวล้านนาในอดีตทุกคนจึงสักขาลายกันทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามตลอดช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ค่านิยมการสักขาลายก็ถูกลดทอนลงจนใกล้จะสาบสูญเต็มที เหลือหลักฐานให้ได้เห็นอยู่บ้างบนเรือนร่างของผู้เฒ่าต่างๆ โชคดีที่ยังมีคนจำนวนหยิบมือหนึ่งยังเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมการสักขาลาย และเข้ามาช่วยอนุรักษ์ สืบสานวัฒนธรรมนี้ให้คงอยู่ต่อไป หนึ่งในคนจำนวนนั้นก็คือ อ๊อด-ศราวุธ แววงาม ช่างสักอดีตเด็กพังก์ (Punk) ที่ผันตัวมาศึกษาวัฒนธรรมการสักขาลายอย่างจริงจัง โดยเดินทางไปศึกษากับอาจารย์ชาวปกาเกอะญอที่ยังคงสักอยู่ และสืบทอดวิชาการสักขาลาย รวมถึงอนุรักษ์การสักขาลายด้วยการบันทึกรอยสักนั้นไว้ลงบนเรือนร่างของผู้ที่สนใจ อะไรที่ทำให้เด็กพังก์ ไว้ทรงโมฮอว์ก สวมเสื้อหนัง ห้อยโซ่ รองเท้าบูตติดหนาม ถึงผันตัวมาสวมใส่เสื้อม่อฮ่อม กางเกงสะดอ และเปลี่ยนจากสักลายร่วมสมัยด้วยเครื่องสัก มาจับเข็มสักโบราณ รับแต่งานสักขาลายโดยเฉพาะ The Professional คราวนี้เราจึงขอนำเสนอเรื่องราวของชายผู้นี้ อ๊อดเริ่มต้นการเป็นช่างสักตั้งแต่อายุ 18 ปี พร้อมๆ กับการหันมาสนใจวัฒนธรรมพังก์ “เราสนใจความเป็นพังก์ เพราะว่าตอนนั้นยังไม่เป็นที่นิยมในสังคมไทย คนไม่ค่อยแต่งตัวแบบนี้ พังก์น่าสนใจตรงที่การทำสีผม […]

Chiangmai Food Bank ขออาหารค้างตู้ที่ยังกินได้ ส่งต่อ 3 กลุ่มเพื่อหยุดความหิวโหย

ขอเวลาคนละ 10 นาที สำรวจตู้เย็น ตู้กับข้าว พอมีอาหารเหลือทิ้งที่ยังกินได้อยู่หรือเปล่า เพราะอาหารค้างตู้ของคุณ อาจกลายเป็นอาหารอีกมื้อของคนที่ขาดแคลนในตอนนี้!

สวนผักจากสุสานรกร้าง เปลี่ยนพื้นที่ว่างให้เป็นพื้นที่อาหารเพื่อทุกคน

รู้หรือไม่ว่าในขณะที่ประชากรของโลกเรามีเพิ่มมากขึ้น กำลังในการผลิตอาหารกลับมีทีท่าว่าจะไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้คนที่ต้องการอาหารเหล่านั้นเลย ซ้ำไปกว่านั้น ผลิตได้มากก็ไม่ได้แปลว่าผู้คนจะบริโภคได้มากตามไปด้วย เพราะปัจจัยในการเข้าถึงและกระจายอาหารให้ถึงมือคนทุกที่ NOW YOU KNOW จะพาคุณไปทำความรู้จักกับแนวคิดใหม่ในการเปลี่ยนพื้นที่สาธารณะให้กลายเป็นมากกว่าพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ แต่จะเป็นพื้นที่ในการผลิตอาหารที่จะแทรกอยู่ในทุกซอกทุกมุมของเมือง ผลิตอาหารได้ในราคาถูกและเข้าถึงมือของผู้คนได้ง่ายมากขึ้นอย่าง ‘สวนผักคนเมือง’ ที่จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนผักที่จะชวนทุกคนมาปลูกผักกินเองในพื้นที่สาธารณะ ดูแลผลผลิต แล้วจำหน่ายให้แก่ชุมชนในราคาถูก

กล่องพิพิธภัณฑ์ส่งตรงถึงบ้าน มิวเซียมยืม-คืนที่พาวัด 9 วัด ไปหาผู้สูงวัยติดเตียงถึงบ้าน

การออกไปไหนมาไหนในยุคนี้ต้องระวังเป็นพิเศษ ยิ่งเป็นผู้สูงวัยติดเตียง หรือผู้สูงวัยที่ไม่สะดวกเดินทางด้วยแล้ว อาจสร้างอุปสรรคทั้งต่อเจ้าตัวและลูกหลานเอง ‘ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา คุ้มเจ้าบุรีรัตน์’ และ ‘โครงการพิพิธภัณฑ์สายตายาว มองการณ์ไกลเพื่อผู้สูงวัย มิวเซียมสยาม’ เลยผุดโปรเจกต์กล่องพิพิธภัณฑ์ส่งถึงบ้าน เพื่อผู้สูงวัยติดเตียง ครั้งที่ 1 เพื่อช่วยลดปัญหาการเดินทางของผู้สูงวัย และเป็นการใช้เวลาร่วมกันของคนในครอบครัว กล่องพิพิธภัณฑ์ที่ส่งตรงถึงบ้าน จะมาพร้อมแว่น VR Headset (Virtual Reality) เพื่อเติมเต็มประสบการณ์เสมือนจริง แถมยังมีโมเดลกระดาษรูปสถาปัตยกรรมล้านนาอย่างง่าย เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมของคนต่างช่วงวัย โปรเจกต์นี้ได้จัดทำเพื่อครอบครัวที่มีผู้สูงวัยติดเตียงที่อาศัยในจังหวัดเชียงใหม่ ให้สามารถท่องเที่ยว และเพลิดเพลินไปกับวัด บ้าน คุ้ม จากศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา ในรูปแบบการพาไปเที่ยว 9 วัดในเชียงใหม่ และมีกิจกรรมวัตถุระลึกความทรงจำหลังการชมวิดีโอ ซึ่งจะเป็นการใช้งานในลักษณะยืมคืน ผู้ที่สนใจลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายนนี้ และติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

ภารกิจ #Saveยางนา กู้ชีพไม้หมายเมืองต้นสุดท้ายที่ผูกศรัทธาเวียงเชียงใหม่มา 220 ปี

นั่งรถ 15 นาทีจากสนามบินเชียงใหม่สู่คูเมือง มองบรรยากาศเมืองเก่าที่มีเสน่ห์ พลางคิดถึงภารกิจ Save ยางนา ที่ทำให้เราเดินทางขึ้นเหนือ ภารกิจครั้งนี้เริ่มขึ้นเมื่อเราเห็นภาพโปสเตอร์ที่มีข้อความว่า “ฮอมฮักฮอมแฮง Saveยางนา ฮักษาอินทขิล ชวนร่วมเก็บเศษอิฐ เศษปูนชิ้นเล็กๆ ออกจากเก๊ายางหลวง” พร้อมทิ้งเบอร์โทรศัพท์ไว้ให้สอบถามที่ถูกโพสต์ลงเพจ Saveยางนา ฮักษาอินทขิล ก่อตั้งขึ้นโดยทีมเชียงใหม่มรดกโลก เพื่อโอบอุ้มรักษา ต้นยางนาหลวง ไม้หมายเมืองภายในวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเชียงใหม่สู่การเป็นมรดกโลก  เราจึงต่อสายตรงหา อาจารย์ป้อง-วรงค์ วงศ์ลังกา อาจารย์สาขาภูมิสถาปัตยกรรม จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เจ้าของเบอร์ในภาพนั้น เพื่อนัดหมายให้เขาพาเราไป Save ยางนา กันถึงถิ่น “เจอกันใต้เก๊า (โคน) ต้นยางนาหลวงครับ แล้วจะเห็นป้ายที่เขียนว่าฮอมฮักฮอมแฮง แต่งตัวทะมัดทะแมง แล้วก็เตรียมหมวกมาหน่อย”  ปื๊นเก๊ายางหลวง เรือนยอดเสียดฟ้าเริ่มปรากฏให้เห็นเมื่อเดินเข้าวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร วัดเก่าแก่แห่งที่ 2 ตั้งแต่ตั้งเวียงเชียงใหม่ เราเดินเข้าไปด้านใน เพื่อไปยังใต้เก๊าต้นยางนาหลวงตามนัดหมาย อาจารย์ป้องยืนอยู่ตรงนั้น เราเอ่ยทักทายกัน แล้วเริ่มพูดคุยถึงปื๊น (ตำนาน) ของยางนาหลวง เขาสร้างความเข้าใจว่า ไม้หมายเมือง คือต้นไม้ที่ปลูกตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเวียงเชียงใหม่ […]

Supha Bee Farm ฟาร์มผึ้งแห่งแรกๆ ของไทยจากงานอดิเรกขำๆ ของคู่สามีภรรยาในเชียงใหม่

เคยคิดกันบ้างไหมว่างานอดิเรกที่เราลองทำเล่นๆ ในวันเสาร์-อาทิตย์จะกลายเป็นอาชีพหลักที่สามารถเลี้ยงปากท้องของคนในครอบครัว เลี้ยงปากท้องของคนในชุมชน และยังช่วยกระตุ้นให้ระบบนิเวศดียิ่งขึ้น

‘CNXPM2.5’ Preset แต่งรูปที่ใช้จำลองให้ทุกที่กลายเป็นเชียงใหม่ในช่วงเดือนแห่งฝุ่นควัน

ลองนึกภาพว่าถ้าคุณต้องสวมหน้ากากเพื่อป้องกันฝุ่นควันตลอดเวลา และตื่นขึ้นมาพร้อมกับเลือดที่ไหลออกทางจมูก นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับคนเชียงใหม่ที่เผชิญกับไฟป่าและฝุ่นควันมากว่า 10 ปี ค่าดัชนีคุณภาพอากาศของที่นี่พุ่งสูงเป็นอันดับหนึ่งของโลกในช่วงเดือนมีนาคม ปี 2562 ทําให้เชียงใหม่กลับมามีชื่อเสียงโด่งดังอีกครั้งในฐานะ “เมืองที่มีคุณภาพอากาศแย่ที่สุดในโลก”  ‘วิศรุต แสนคำ’ ช่างภาพที่อาศัยอยู่ในเชียงใหม่ จึงปิ๊งไอเดียสร้าง Preset “CNXPM2.5” ขึ้น โดยมี ‘ตรัยภูมิ จงพิพัฒนสุข’ ช่วยพัฒนาด้านเทคนิค Preset ดังกล่าวจะเปลี่ยนภาพถ่ายสีสันสดใสของเรา ให้เหมือนบรรยากาศของเมืองเชียงใหม่ในช่วงที่ถูกปกคลุมไปด้วยฝุ่นควัน เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงปัญหานี้ ว่ายังมีคนอีกจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าถึงหน้ากากอนามัยหรือเครื่องฟอกอากาศ “CNXPM2.5” เป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญ #Photoforair ของกลุ่มช่างภาพ Realframe ที่เชิญชวนทุกคนมาแต่งภาพผ่าน Preset ตัวนี้และนำเงินที่ได้จากการบริจาคไปซื้อหน้ากาก N95 เพื่อแจกจ่ายให้แรงงานข้ามชาติในจังหวัดเชียงใหม่ สำหรับใครที่สนใจ เข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://realframe.co/pfa/

‘เดปอถู่’ แบรนด์ผ้าทอชาวปกาเกอะญอ ที่สานด้วยพลังชุมชนช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต

ชวนขึ้นเขาไปจังหวัดเชียงใหม่ ชมแบรนด์ผ้าทอลายสวย ‘เดปอถู่’ จากฝืมือชาวปกาเกอะญอ ที่ทำด้วยมืออย่างละเอียดลออ ความพิเศษของผ้าแต่ละผืนมีความหมายมากกว่าเป็นสินค้าพื้นถิ่น เพราะทักถอด้วยเรื่องราวมากมายที่สร้างคุณค่าและช่วยเหลือชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตามไปส่องเบื้องหลังของผ้าทอแบรนด์เดปอถู่ ว่าจะช่วยเปลี่ยนชีวิตชุมชนให้ดีขึ้นได้อย่างไร ? ต้องลองไปติดตามกัน !

เมื่อกล้วยเป็นได้มากกว่ากล้วย มาเปิดโลกกล้วยๆ ที่ไม่กล้วย กับแบรนด์ C-sense

คุยกับแบรนด์ C-sense ที่หยิบทุกส่วนของกล้วยมาเนรมิตเป็นข้าวของเครื่องใช้สุดน่ารัก

‘ครูบนดอย’ ความหวังของเด็กในพื้นที่ห่างไกล

“เรื่องความห่างไกล ความเหลื่อมล้ำของที่นี่เป็นสิ่งที่ชัดเจนมาก มันกลายเป็นเรื่องโชคของเด็ก ยกตัวอย่างเช่น เด็กบางคนอยู่ อ.อมก๋อย แต่ต้องเดินทางประมาณ 5 – 6 ชั่วโมงมาที่แม่วินเพียงเพื่อจะได้มีโอกาสในการเรียนเหมือนเด็กคนอื่นๆ เพราะที่นี่คือโรงเรียนที่ใกล้ที่สุดสำหรับเขาแล้ว”
.
ปัจจุบันโรงเรียนหลายแห่งเริ่มปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนมาเป็นออนไลน์ หรือใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสอนมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีเด็กอีกหลายพันชีวิตที่แม้แต่การศึกษาขึ้นพื้นฐานยังเข้าไปไม่ถึง เราจึงพาทุกคนเดินทางขึ้นเหนือไปที่โรงเรียนแม่วินสามัคคี จ.เชียงใหม่ เพื่อไปพูดคุยกับ ‘นายนพดล บุตรสาทร’ หรือ ‘ครูเปา’ ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 5 จากมูลนิธิ Teach For Thailand เพื่อเข้าใจปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของเด็กนักเรียนบนดอย

RAY Thesis Exhibition ธีสิสปล่อยของยุคโควิดของชาวโฟโต้อาร์ตเชียงใหม่

Urban Showcase พื้นที่เล็กๆ ที่จะให้น้องนิสิตนักศึกษามาโชว์ผลงานแบบไม่จำกัดมหาวิทยาลัย เพื่อให้สปอตไลท์ได้ส่องไปถึงความสามารถของทุกคนมากยิ่งขึ้น

1 2 3 4

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.