BAM Fest เทศกาลที่อยากสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้ไม้ไผ่ไทย ต่อยอดไปสู่ระดับโลก

ไผ่ เป็นพืชท้องถิ่นที่เราทุกคนคุ้นตากันเป็นอย่างดี สามารถพบเห็นได้บ่อยครั้ง ด้วยว่าไม้ไผ่นั้นได้ฝังรากอยู่กับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของเรามาอย่างช้านาน ตั้งแต่คราวบรรพบุรุษของเราที่รู้จักวิธีการนำไม้ไผ่มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างหลากหลาย ตั้งแต่ทำเป็นไม้จิ้มฟันยันสร้างบ้าน ปัจจุบันไม้ไผ่ยังได้รับการยกย่องให้เป็นวัสดุทางเลือกที่น่าสนใจ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นวัสดุที่ยั่งยืน (Sustainable Materials) ทำให้นักออกแบบทั่วโลกเริ่มหันมาสนใจใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุสร้างสรรค์งานจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ยังคงมีภาพจำเกี่ยวกับไม้ไผ่ว่าเป็นวัสดุที่ถูกใช้เพียงชั่วคราว ไม่คงทนเมื่อเทียบกับวัสดุอื่นๆ แต่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ทำให้ภาพจำเกี่ยวกับไผ่เช่นนั้นเริ่มไม่เป็นความจริงอีกต่อไป เมื่อนักวิจัยของประเทศจีนได้ค้นพบวิธีการที่สามารถนำไม้ไผ่มาใช้สร้างรถไฟความเร็วสูงได้สำเร็จ นี่คือความมหัศจรรย์ของไม้ไผ่  อนาคตของไม้ไผ่จึงไม่ได้เป็นแค่อาหารของหมีแพนด้าอีกต่อไป แต่ยังมีความเป็นไปได้ที่จะต่อยอดต่อไปได้อีกมาก ในวันที่เรากำลังเผชิญกับราคาวัสดุที่มีแนวโน้มแต่จะพุ่งสูงขึ้นในแต่ละปี ความเป็นไปได้ที่กำลังเกิดขึ้นกับไม้ไผ่ ทำให้คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สนใจหยิบไม้ไผ่ขึ้นมา และชักชวนให้ผู้คนหันกลับมาสนใจวัสดุท้องถิ่นของเรา และร่วมมือกันพัฒนาไม้ไผ่ในนามของ BAM Fest กำเนิด BAM Fest “ไม้ไผ่เป็นวัสดุที่น่ามหัศจรรย์มาก เป็นวัสดุในอุดมคติ (Ideal Materials) ที่ช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้ ด้วยความที่เป็นวัสดุจากธรรมชาติจึงทำให้มันเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้นไม้พื้นถิ่นที่หาได้ง่ายในประเทศของเรา ใช้เวลาในการปลูกจนโตใช้งานไม่นานเมื่อเทียบกับวัสดุไม้อื่นๆ ราคาก็ไม่แพงจนเกินไป เข้าถึงง่าย และยังมีความยั่งยืนด้วยการปลูกทดแทนได้ไม่ยาก ไม้ไผ่จึงกลายเป็นวัสดุทางเลือกที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ “การเกิดขึ้นของ BAM Fest เริ่มต้นมาจากที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มช. มีความสนใจในตัววัสดุไม้ไผ่และอยากจะทำให้คนอื่นๆ หันมาสนใจ เห็นศักยภาพ และมาร่วมมือช่วยกันสร้างนวัตกรรมและพัฒนาวัสดุนี้ให้ดียิ่งขึ้น […]

แอ่วเมืองเหนือ สร้างสรรค์ท้องถิ่นเติบโต ในงาน Chiang Mai Design Week 2022 กับ 300 กิจกรรมทั่วเมืองเชียงใหม่ 3 – 11 ธ.ค.นี้

ในเดือนสุดท้ายของปีที่ลมหนาวพัดมาเยือน ‘Chiang Mai Design Week 2022’ หรือ ‘เทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่’ ก็กลับมาเป็นครั้งที่ 8 ภายใต้ธีม ‘Local ‘Rise’ation สร้างสรรค์ ท้องถิ่น เติบโต’ จัดขึ้นนโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (CEA) ร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่ และเครือข่ายจากภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรระหว่างประเทศมากกว่า 200 ราย รวมถึงหน่วยงานต่างประเทศกว่า 10 หน่วยงาน เพื่อร่วมพลิกฟื้นจังหวัดเชียงใหม่ให้กลับมามีสีสันอีกครั้ง งานครั้งนี้ประกอบไปด้วย 300 กว่ากิจกรรมที่กระจายไปในหลากหลายย่านของเมืองเชียงใหม่ ไม่ว่าจะเป็นย่านอนุสาวรีย์สามกษัตริย์, ย่านล่ามช้าง, ย่านช้างม่อย, ย่านสันกำแพง รวมถึงทั่วบริเวณเมืองเชียงใหม่ โดยมีเป้าหมายที่จะเสริมสร้างและยกระดับศักยภาพของเครือข่ายกลุ่มผู้ประกอบการ เช่น นักออกแบบ ศิลปิน ช่างฝีมือ ฯลฯ ทั้งยังช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจท้องถิ่นมีมูลค่าเพิ่ม และส่งเสริมการท่องเที่ยวในดินแดนถิ่นเหนือให้กลับมาคึกคักม่วนชื่น เราขอหยิบกิจกรรมบางส่วนในย่านที่จัดงานหลักๆ มาเป็นออเดิร์ฟให้ทุกคน ดังนี้ ‘ย่านช้างม่อย’ ประกอบไปด้วยนิทรรศการ Gastro Economy เศรษฐกิจการกินอยู่กู้โลกอย่างไรในอนาคต, Local Cabinets […]

‘Land of Memoria’ ดินแดนแห่งความทรงจำ

การกลับมาแม่แจ่มเป็นเหมือนสถานที่ฟูมฟักตัวตนมันทำให้ผมได้สำรวจตัวเอง และในขณะเดียวกันก็หยิบเอามันมานำเสนอในฐานะสถานที่แห่งความทรงจำ

Waltz Bakes x Harvest Moon Bookshop คาเฟ่และร้านหนังสืออิสระ ที่อยากชวนมามีวันดีๆ ท่ามกลางกลิ่นขนมและวิวทุ่งนา

ทุ่งนาสีเขียวกว้างไกลสุดสายตา กลิ่นดินหลังฝนตกโชยมากับสายลมแผ่ว ใต้เงาไม้ของต้นลำไยที่ปลูกอยู่รายล้อม บ้านไม้ชั้นเดียวตั้งตระหง่านอยู่ปลายคันนา มองภายนอกดูคล้ายที่อยู่อาศัยทั่วไป แต่ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นโต๊ะ เก้าอี้ไม้ บาร์ขนม และห้องที่มีหนังสือนับร้อยซ่อนอยู่ภายใน ที่นี่คือ Waltz Bakes x Harvest Moon Bookshop คาเฟ่ขนมอบและร้านหนังสืออิสระที่ตั้งอยู่ในชุมชนสันผักหวาน ไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่แค่ 15 นาที ที่นอกจากจะมีกลิ่นขนมอบกับหนังสือดีๆ คอยต้อนรับลูกค้าทุกวัน วิวทุ่งนาที่ทอดยาวรอบด้านก็เหมาะแก่การมาใช้เวลาทอดสายตาเพลินๆ ในวันหยุดไม่เบา นั่นอาจเป็นเหตุผลที่ ‘อัง-ชฏิลรัตน์ ดอนปัน’ อดีตกราฟิกดีไซเนอร์ชาวเชียงใหม่ และ ‘แขก-ปิยศักดิ์ ประไพพร’ หนุ่มลำพูนอดีตพนักงานร้านหนังสืออิสระ ตัดสินใจปล่อยมือจากงานที่ทำมาหลายปีแล้วมาก่อร่างสร้างฝันที่ปลายคันนาแห่งนี้แทน คาเฟ่ของแม่ญิงเจียงใหม่ x ร้านหนังสือของบ่าวหละปูน เรื่องราวก่อนจะมาเปิดร้านด้วยกันนั้นสุดแสนจะเรียบง่าย : แขกกับอังเป็นแฟนกัน คบกันมาหลายปี เมื่อตั้งใจว่าจะสร้างชีวิตร่วมกันแล้วทั้งคู่จึงมองหาพื้นที่ปลูกบ้านเพื่อลงหลักปักฐาน แขกที่ก่อนหน้านี้ทำงานเป็นพนักงานประจำร้านเล่า ร้านหนังสืออิสระย่านนิมมานฯ ก็ได้รับการแนะนำให้รู้จักพื้นที่ตรงนี้โดยคนรู้จัก เขาจำได้ว่าบรรยากาศในวันที่มาดูไม่ต่างจากวันนี้มากนัก พื้นที่โล่งกว้าง รายล้อมไปด้วยสีเขียวของทุ่งนาและต้นลำไยของชาวบ้านสันผักหวาน-เรียบง่ายแค่นั้น แต่ความเรียบง่ายแค่นั้นก็ทำให้ทั้งสองพอเห็นภาพชีวิตคู่ พวกเขายังมองว่าที่ตรงนี้ทำเลดี ไม่ไกลจากอำเภอเมืองเกินไป “ในแง่การอยู่อาศัยเราต้องการสถานที่ที่เงียบสงบหน่อย ซึ่งหาที่แบบนี้จากในเมืองได้ยาก” แขกเล่าเหตุผล ก่อนอังจะเสริมต่อ […]

บอกลาภาคใต้ไปแดนเหนือ ‘ร้านหนังสือเล็กๆ’ เตรียมย้ายจากสงขลาไปเชียงใหม่ ต้นปี 66

เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เราได้เสนอข่าวการโยกย้ายร้านของ ‘ร้านหนังสือเดินทาง’ บนถนนพระสุเมรุ มาเดือนนี้ก็เป็นคราวการโยกย้ายของ ‘ร้านหนังสือเล็กๆ’ ที่เคยอยู่ทำเลเดียวกันเมื่อครั้งประจำการบนถนนพระอาทิตย์ (ตอนนั้นร้านหนังสือเดินทางเช่าที่ร้านหนังสือเล็กๆ ต่อ) เป็นเวลากว่าหกปีที่ ‘เอ๋-อริยา ไพฑูรย์’ พาร้านหนังสือเล็กๆ มาลงหลักปักฐานบนถนนยะหริ่ง จังหวัดสงขลา ตั้งแต่ปี 2559 ซึ่งนับเป็นร้านหนังสืออิสระแห่งเดียวของเมืองใหญ่สองทะเลก็ว่าได้ ที่ผ่านมา เอ๋เช่าอาคารเก่าแล้วปรับปรุงฟังก์ชันให้เป็นร้านหนังสือและพื้นที่ทำกิจกรรมของเด็กๆ ตามตัวตนของเธอที่เคยทำงานเป็นบรรณาธิการสำนักพิมพ์แพรวเยาวชน แต่ด้วยความไม่สะดวกที่ต้องเทียวไปเทียวมา บวกกับต้องทำงานอื่นๆ หารายได้ ทำให้เธอไม่สามารถเปิดร้านเป็นประจำสม่ำเสมอได้ทุกวัน เพราะมีแพลนจะย้ายไปเชียงใหม่มาตลอด บวกกับคิดว่าตนได้ทำร้านหนังสือที่นี่มานานพอจนถึงเวลาสมควรแล้ว เอ๋ก็ตัดสินใจย้ายร้านหนังสือเล็กๆ ไปแถวโรงเรียนสารภีพิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่ “ถ้าย้ายไปที่นั่นมันจะเป็นบ้านเรากับเพื่อน คือเป็นบ้านกับร้านหนังสือในที่เดียวกันไปเลย ตื่นมาก็เปิดร้าน มีหนังสือรายล้อม บรรยากาศดี ในสวนมีต้นไม้ดอกไม้ แถมขายได้หรือไม่ได้ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องยอดขายเท่าตอนเช่าร้าน เพราะยังไงก็เป็นบ้านเราเอง “ส่วนแนวหนังสือก็คงเหมือนเดิม เป็นแนวที่เราชอบและถนัด แต่จะเพิ่มโซนหนังสือเด็กขึ้นมา มีสนามหญ้า และห้องที่เป็นพื้นที่ในการจัดกิจกรรมให้เด็กๆ” เอ๋เล่า ระหว่างนี้ร้านหนังสือเล็กๆ กำลังทยอยเก็บหนังสือ ทำให้ต้องปิดหน้าร้านอยู่บ่อยๆ ใครที่อยากแวะไปเยี่ยมเยือนอาจต้องติดต่อหาเอ๋ก่อน ส่วนการสั่งซื้อหนังสือทางออนไลน์ยังพอทำได้บ้าง ขณะเดียวกัน แม้สงขลาจะไม่มีร้านหนังสือเล็กๆ แล้ว แต่ด้วยความร่วมมือกับคนรักหนังสือ บวกกับแรงผลักดันสนับสนุนจากเอ๋ ก็ทำให้เมืองยังมีร้านหนังสือต่อไป […]

กานเวลา คราฟต์ช็อกโกแลตจากเชียงใหม่ที่พาผลผลิตของเกษตรกรไทยไปชนะรางวัลระดับโลก

แคบหมู-ไส้อั่วที่ขายในกาดเจ๊า (ตลาดเช้า) ขนมจีนสันป่าข่อย อาหารเหนือที่ร้านเจริญสวนแอก ถ้าเป็นของหวานก็ขนมหวานช่างม่อย เฉาก๊วยข้างหอประชุม มช. หรือพายมะพร้าวของร้านบ้านเปี่ยมสุข ในฐานะคนเชียงใหม่ ถ้าถามว่ามาเชียงใหม่แล้วต้องกินอะไร ‘ของดี’ ที่ฉันพอจะนึกออกอาจเป็นชื่อเหล่านี้ และว่ากันตามตรง ก่อนหน้านี้คงไม่มีคำว่า ‘คราฟต์ช็อกโกแลต’ หลุดออกจากปากฉันแน่ๆ แต่คำตอบนั้นก็เปลี่ยนไป เมื่อฉันได้ลิ้มรสช็อกโกแลตของ KanVela แบรนด์คราฟต์ช็อกโกแลตที่ปลุกปั้นโดยสองพี่น้องคนเจียงใหม่แต๊ๆ อย่าง ธนา คุณารักษ์วงศ์ และ นิรมล คุณารักษ์วงศ์ ชื่อของร้านนี้ก็มาอยู่ในลิสต์ ‘มาเชียงใหม่ต้องไปนะ’ ของฉันทันที แน่นอนว่ากานเวลาไม่ใช่แบรนด์แรกในเชียงใหม่ กระบวนการในการทำก็ไม่ได้ต่างจากวิธีทำคราฟต์ช็อกโกแลตทั่วไปที่เน้นความเป็นโฮมเมด ดูแลกันตั้งแต่ขั้นตอนเลี้ยงต้นโกโก้ ไหนจะโปรดักต์สุดท้ายที่มีรสชาติหวาน ขม เปรี้ยว มีหลายมิติแบบคราฟต์ช็อกโกแลตที่ดีควรเป็น ถึงอย่างนั้น สิ่งที่กานเวลาโดดเด่นไม่แพ้แบรนด์ไหนๆ คือความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างเมนูอันหลากหลายและน่าตื่นเต้น เช่น เจ้า ‘บงบง’ ช็อกโกแลตก้อนกลมสีสดใสที่มีรสแปลกใหม่แต่น่าลองอย่างฝรั่งจิ้มเกลือ ตะโก้เผือก สังขยาใบเตยมะพร้าวคั่ว และอีกสารพัด อร่อยหรือไม่-คงแล้วแต่ความชอบของแต่ละคน แต่ช็อกโกแลตกานเวลาต้องมีดีอะไรสักอย่าง เพราะล่าสุดเจ้าบงบงและช็อกโกแลตบาร์ ‘คลองลอย’ ก็ถูกเสิร์ฟในชั้นเฟิร์สคลาสและชั้นธุรกิจของสายการบินไทย หนำซ้ำยังชนะรางวัลจากสองเวทีช็อกโกแลตระดับโลกอย่าง Academy of Chocolate […]

ภูมิปัญญาญี่ปุ่นผสมข้าวไทย YoRice เครื่องดื่มเชียงใหม่ที่ช่วยชาวนาแก้ปัญหาเหลื่อมล้ำ

หากพูดถึงการนำข้าวไปหมักทำเป็นเครื่องดื่ม คนไทยอย่างเราคงคุ้นเคยกับสาโทหรือสุราชาวบ้าน คงไม่ได้นึกถึง ‘อามาซาเกะ’ หรือสาเกหวาน ไร้แอลกอฮอล์ เครื่องดื่มภูมิปัญญาจากญี่ปุ่น ที่ทำขึ้นเพื่อเป็นทั้งอาหารสุขภาพ และให้เด็กๆ ได้ลิ้มลองรสความเป็นสาเกก่อนถึงวัย  การเกิดขึ้นของอามาซาเกะข้าวไทยอย่าง YoRice จึงดึงดูดใจใครหลายคน เพราะนอกจากจะเป็นของแปลกใหม่ในไทย สรรพคุณของเครื่องดื่มชนิดนี้ก็ให้ทั้งประโยชน์ด้านสุขภาพตอบเทรนด์ที่คนกำลังสนใจ ที่สำคัญคือยังสะท้อนให้เห็นปัญหาในจังหวัดเชียงใหม่ (ซึ่งในขณะเดียวกันก็เป็นปัญหาที่ลามไปไกลถึงระดับประเทศ) ถึง 3 ประเด็น หนึ่ง คือ ปัญหาราคาข้าวที่ตกต่ำ  สอง คือ ปัญหาความหลากหลายของพันธุ์ข้าวที่นับวันยิ่งหลากหลายน้อยลงไปทุกวัน  สาม คือ ปัญหาความหิวโหยของคนในสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำ ตลอดจนสิ่งแวดล้อม ถูกจัดการผ่านเครื่องดื่มหนึ่งขวดได้อย่างไร  ปอ-ภราดล พรอำนวย ผู้อยู่กับ YoRice มาตั้งแต่วันแรก เต็มใจถ่ายทอดเรื่องราวให้ฟังผ่านบทสนทนานี้ เมื่อเห็นปัญหาจึงเกิดคำถาม ใครหลายคนคงเหมือนเราที่คุ้นเคยกับปอในบทบาทนักดนตรี เจ้าของร้าน North Gate แจ๊สบาร์คู่เชียงใหม่ มากกว่าการรู้จักเขาในบทบาทของหนุ่มนักธุรกิจเพื่อสังคม  ที่แม้จะไม่ใช่ภาพที่คุ้นชินของใคร แต่เขาก็ยืนยันว่าจริงๆ ความคิดเรื่องนี้วนเวียนอยู่ในตัวเขามานานตั้งแต่สมัยยังหนุ่ม  ปอย้อนความว่าเหตุการณ์ที่มาจุดประเด็นให้เขาเริ่มสนใจปัญหาปากท้องของคนอื่น มาจากประสบการณ์ครั้งที่เขาโบกรถจากเชียงใหม่ไปฝรั่งเศส การเดินทางครั้งนั้นจะเรียกว่าเป็นการเดินทางเปลี่ยนชีวิตเลยก็ได้ เพราะมันทำให้เขาได้เห็นน้ำใจจากคนครึ่งค่อนโลกที่พร้อมจะหยิบยื่นความช่วยเหลือมาให้นักดนตรีแปลกหน้าอย่างตน “เราไม่ได้มีต้นทุนในชีวิตเยอะ การต้องแบกเครื่องดนตรีโบกรถไปหลายหมื่นกิโล […]

ประเทศฮาบ่ใจ่ของคิง : ฮ่องเต้ ธนาธร ผู้เรียกร้องความเท่าเทียมจากล้านนาสะเทือนกรุงเทพฯ 

นัดพบฮ่องเต้ ผู้ประสบภัย 112 ในเชียงใหม่ ขณะที่หลายประเทศเตรียมพร้อมรับมือวิกฤตโลกร้อนด้วยนวัตกรรม เพราะแผ่นทวีปที่กำลังจะจมน้ำจากธารน้ำแข็งขั้วโลกละลายในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า แต่สิ่งที่รัฐไทยกำลังเลือกทำในปัจจุบัน คือการไล่ทุบกำราบคนเห็นต่างให้สยบยอมอยู่ใต้ตีนอย่างแข็งขัน  นี่คือข้อบ่งชี้ว่า ประเทศเรากำลังหมดหวังและถอยหลังลงคลองในสายตาคนรุ่นใหม่ แต่ขั้วอนุรักษนิยมกลับมองว่า นี่คือการรักษาความมั่นคงอันดีงามของชาติที่แสนสงบและดีพร้อมกว่าชาติใดใดในโลก และนี่คือสาเหตุที่ช่วงเกือบปลายปี 2564 เราตัดสินใจเดินทางไปพบนักกิจกรรมอย่าง ฮ่องเต้-ธนาธร วิทยเบญจางค์ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลังจากเขาถูกแจ้งจับคดีมาตรา 112 ก่อนหน้านั้นเพียงไม่นานนัก ฮ่องเต้ตั้งใจนัดให้เราไปพบที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ไม่ไกลจากคณะสังคมศาสตร์ คณะที่เขากำลังศึกษาวิชาปรัชญา ชั้นปีที่ 3 ในปัจจุบัน นี่คืออาคารที่ผู้บริหารมหา’ลัยตัดสินใจสั่งริบเอาพื้นที่จอดรถของนักศึกษามาสร้างอาคารที่ผู้เรียนแทบไม่ได้ใช้งาน เราถามฮ่องเต้ถึงจำนวนคดีความที่เขาได้รับ หลังการลุกขึ้นมาเรียกร้องความเท่าเทียมบนพื้นที่สาธารณะ “เกินสิบ (หัวเราะขื่นๆ) ส่วนใหญ่เป็นคดี พ.ร.บ.ชุมนุม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ร.บ.ควบคุมโรค และจะโดน 116 จำนวนหนึ่งหรือสองคดีนี่แหละ แล้วก็มี 112 อีกจำนวนหนึ่งคดี ผมคิดอยู่ว่า อีกหน่อยอาจจะมีคดีแปลกๆ โผล่ขึ้นมาอีก” เด็กหนุ่มยิ้มขื่นบางๆ หลังพูดจบ “หน้าที่ของเราคือยิ้ม และขัดขืนมัน เพื่อทำให้ประเทศนี้เปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นกว่านี้ให้ได้ ผมไม่คิดว่าเราต้องกลัวกฎหมายฉบับนี้ แค่ต้องทำงานของตัวเองต่อไป […]

กลุ่มเชียงใหม่ ฉันจะดูแลเธอ ทำ Data เมืองเชียงใหม่ ตั้งแต่พื้นที่สาธารณะ ที่ดิน โรงพยาบาล และข้อมูลจำเป็นอื่นๆ

โปรเจกต์ ‘เชียงใหม่ ฉันจะดูแลเธอ’ เกิดจากการรวมพลังกายและใจของทีมดูแลเพจห้าคน ทำงานร่วมกับภาคีร่วมอื่นๆ ที่ช่วยกันดูแลพื้นที่เมืองเชียงใหม่ให้เติบโตอย่างยั่งยืน พื้นที่รวมพลังอันแสนอบอุ่นแห่งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานวิจัย ‘การพัฒนากระบวนการเพื่อขับเคลื่อนประชาคมเมืองเชียงใหม่’ แผนงานคนไทย 4.0  นอกจากทีมจะมีกิจกรรมและข่าวสารดีๆ มากมายมาส่งต่อให้คนเมืองได้รับรู้และแสดงความคิดเห็นร่วมกันอย่างไม่ขาดสาย ล่าสุดทางกลุ่มก็ได้ปล่อย City Data หรือ ข้อมูลเมือง ที่ทั้งเป็นประโยชน์และน่าสนใจมากๆ สำหรับชาวเมืองเผยแพร่ออกมาแบบสดๆ ร้อนๆ  ในพื้นที่เมืองหนึ่ง มีทั้งจุดเด่นและจุดด้อย มีทั้งประโยชน์และปัญหาสะสมต้องแก้ไข Data เมืองที่สำรวจ รวบรวม และจัดทำออกมาเป็นแผนที่และตัวเลขเหล่านี้ จึงไม่ได้แค่ช่วยให้ข้อมูล แต่ช่วยในแง่การนำไปปรับปรุงพัฒนาต่อได้ ข้อมูลที่ว่า ถูกรวบรวมไว้ในเว็บไซต์ https://chiangmaiwecare.com/citydata  ข้อมูลเมืองที่ปรากฏ มีทั้งหัวข้อที่เกี่ยวกับเรื่องคน วัฒนธรรม และเมือง ยกตัวอย่างเช่น ความหนาแน่นของแหล่งกำเนิดการจราจร ซึ่งชี้ให้เห็นความหนาแน่นมาก-น้อยตามระดับจากสูงไปสู่ระดับต่ำ  จำนวนการเช็กอินในพื้นที่เมืองเชียงใหม่ ที่สะท้อนให้เห็นเลยว่า จุดไหนเป็นจุดยอดฮิตที่มีคนใช้โซเชียลมีเดีย เช็กอิน หรือไปรวมตัวกันมากที่สุด  พื้นที่สาธารณะที่อยู่ในเขตพื้นที่บริการระยะทาง 400 เมตรจากร้านกาแฟ ที่ดึงเอาจุดเด่นของเมืองกาแฟและคาเฟ่แบบเชียงใหม่ ออกมาจัดทำชุดข้อมูลเชื่อมโยงกับพื้นที่สาธารณะของเมืองได้อย่างน่าสนใจ ตำแหน่งอาคารเก่าทรงคุณค่าและอาคารสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ทรงคุณค่ากับรูปแบบการใช้ประโยชน์อาคารในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ ซึ่งทำให้เรามองเห็นความสนใจของทีมผู้จัดทำที่มุ่งประเด็นโฟกัสไปที่การอนุรักษ์ และการปรับใช้สถาปัตยกรรมภายในเมือง เพื่อพัฒนาเมืองอย่างจริงจัง ข้อมูลและสถิติที่มากถึง […]

Dude French Film Week หนังฝรั่งเศสที่เชียงใหม่ แบบจุใจกว่า 10 วัน

ใครอยากดูหนังฝรั่งเศสที่เชียงใหม่ ตามมาทางนี้ให้ไวเลย เพราะตอนนี้ กลุ่ม Dude, movie กำลังจะมี French Film Week กิจกรรมฉายภาพยนตร์ให้ทุกคนได้ชมอย่างจุใจในเดือนกุมภาพันธ์ 2565  Dude, movie คือกลุ่มฉายหนังอิสระในจังหวัดที่ก่อตั้งมา 1 ปีเต็ม คอยทำหน้าที่เชื่อมโยงภาพยนตร์ เมือง ผู้คน และแรงบันดาลใจเข้าไว้ด้วยกัน พวกเขาเผยว่า อยากเห็นสังคมการดูหนังที่เป็นมากกว่าการนั่งดูในโรง แต่น่าจะได้แลกเปลี่ยนกันประสบการณ์กันด้วย  ด้วยความที่ทุกคนใน Dude, movie มีมุมมองและความสนใจประเด็นที่หลากหลาย บางครั้งจึงมีกิจกรรมมากกว่าแค่การฉายหนัง ไม่ว่าจะเป็น Performance Art, การจัดนิทรรศการศิลปะ หรือการจัดปาร์ตี้ด้วย  ส่วนอีเวนต์ล่าสุดที่จะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ก็คือ เทศกาล ‘Dude, French Film Week’ ที่จะจัดฉายภาพยนตร์ฝรั่งเศสจำนวน 10 เรื่อง ตลอด 10 วัน เพื่อพาทุกคนเดินทางสู่โลกแห่งภาพยนตร์จากประเทศฝรั่งเศส และจัดฉายบน 5 สถานที่ในเมืองเชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ 18-28 กุมภาพันธ์ 2022  […]

Sher Maker : สตูดิโอสถาปนิกที่หยิบภูมิปัญญาและงานช่างถิ่นเชียงใหม่มาสร้างสรรค์งาน

Sher Maker คือสตูดิโอสถาปนิกขนาดเล็กๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งโดยสองสถาปนิก ‘ตุ๋ย-พัชรดา อินแปลง’ และ ‘โอ๊ต-ธงชัย จันทร์สมัคร’  สตูดิโอแห่งนี้มีมาตั้งแต่ปี 2561 เต็มไปด้วยผลงานสร้างสรรค์ที่คว้ารางวัลด้านสถาปัตยกรรมจำนวนมาก แม้แต่สตูดิโอของพวกเขาก็เพิ่งได้รับรางวัลสูงสุดในสาขา Small working interior of the year จาก Dezeen นิตยสารสถาปัตยกรรมชื่อดังระดับโลก และได้รับการกล่าวขวัญจากสื่อต่างๆ ทั้งไทยและต่างประเทศบ่อยครั้ง ที่สำคัญสถาปัตยกรรมของสองผู้ก่อตั้งยังเต็มไปด้วยการขับเน้นเสน่ห์ของบรรยากาศให้แสดงออกมาได้อย่างเต็มที่ รายละเอียดอันเป็นเอกลักษณ์ในงานของ Sher Maker มาจากการที่ทั้งคู่ต่างเคยเป็นคนทำงานคราฟต์มาก่อน ตุ๋ยเคยทำสมุดทำมือกับเพื่อนในนามแบรนด์ ดิบดี (Dibdee.Binder) ซึ่งได้รับความนิยมมาก ส่วนโอ๊ตเคยมีชื่อเสียงอย่างมากจาก Brown Bike จักรยานที่ทำด้วยวัสดุไม้ไผ่ จนมีผู้สนใจจากทั่วโลกเดินทางมาร่ำเรียนกับเขาถึงเชียงใหม่ เมื่อสองสถาปนิกสายคราฟต์จับมือกันทำงาน ทำให้งานสถาปัตยกรรมของพวกเขามีการนำเสนองานฝีมือต่างๆ มาใช้กับทั้งภายในและภายนอกอาคารอย่างน่าสนใจ และยังสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้กับงานฝีมือในภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วย Sher Maker เชื่อมศาสตร์เหล่านี้เข้าด้วยกันอย่างลงตัวได้อย่างไร วันนี้เราจะชวนตุ๋ยมาพูดคุยเพื่อถอดโครงสร้างทางความคิดเบื้องหลังงานออกแบบสถาปัตยกรรมต่างๆ ของพวกเขาให้ทุกคนได้รู้กัน สองสถาปนิกสาย Maker นักทำงานคราฟต์ตัวยง “เราและพี่โอ๊ตต่างเป็น Maker เป็นคนชอบงานคราฟต์ […]

กาดเกรียงไกรมาหามิตร การกลับมาของโรงงานกระเทียมดองเก่าแก่เพื่อเป็นกาดช่วยชุมชนแม่ริม

“ว่ากันว่าใครก็ตามที่มีโอกาสเคยได้มาเรียนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เกินกว่าครึ่ง ถ้าได้ไปใช้ชีวิตอยู่ที่อื่นจะต้องอยากกลับมาใช้ชีวิตอยู่ที่เชียงใหม่อีกครั้ง” นี่คือประโยคของ ตุ้ย-เนรมิต สร้างเอี่ยม นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชื่อดังของไทย อดีตผู้บริหารบริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของโครงการคอนโดมิเนียมแบรนด์ยูดีไลท์ โครงการบ้านบ้าน วิภาวดี 20 ที่ได้รับรางวัลโครงการอสังหาริมทรัพย์เพื่อคุณภาพชีวิตดีเด่น ประจำปี 2562 ที่ไม่กี่ปีมานี้เขาเลือกที่จะวางตำแหน่งของเขาลง และย้ายชีวิตของเขากลับมาอยู่ที่เชียงใหม่ แถมยังเข้าซื้อกิจการโรงงานผักและผลไม้ดองเก่าแก่ของอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ที่ยอดขายกำลังซบเซา …เขาคิดอะไรของเขาอยู่ ไม่นานมานี้ตุ้ยได้ตอบข้อสงสัยนั้นด้วยการประกาศเปิดตัว ‘กาดเกรียงไกรมาหามิตร’ ตลาดของฝากที่รวมงานคราฟต์ สินค้ายะด้วยใจ๋ (ทำด้วยใจ) ของผู้คนในอำเภอแม่ริม ซึ่งตอนนี้กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก จนกลายเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ที่ผู้คนต้องแวะเมื่อมีโอกาสมาเที่ยวที่อำเภอแม่ริม แถมการอุดหนุนสินค้าต่างๆ ของที่นี่ยังทำให้คุณได้มีส่วนร่วมช่วยส่งเสริมชุมชนต่างๆ ในอำเภอแม่ริมให้แข็งแรงยิ่งขึ้นอีกด้วย  คุณเนรมิตสามารถเนรมิตโรงงานผักและผลไม้ดองที่กำลังซบเซาให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งอย่างไร วันนี้ตุ้ยจะพาคุณทำความรู้จักกับตลาดแห่งนี้ทุกซอกทุกมุม ตั้งแต่หน้าตลาดจนถึงท้ายตลาดที่เป็นเบื้องหลังการเกิดขึ้นของกาดเกรียงไกรมาหามิตร กรุงเทพฯ-เชียงใหม่นิยาย ความตาย ความรัก เรื่องราวทั้งหมดเริ่มต้นขึ้นจากความรู้สึกอยากกลับมาอยู่ที่เชียงใหม่… “เดิมผมเป็นคนกรุงเทพฯ สมัยเป็นนักเรียนผมจะต้องนั่งรถข้ามสะพานพุทธทุกวันเพื่อไปโรงเรียน เวลาข้ามสะพานผมจะเห็นตึกต่างๆ ที่อยู่ริมน้ำ ก็เกิดความคิดกับตัวเองขึ้นมาว่าสักวันถ้าเรามีลูกแล้วได้บอกลูกว่าตึกนี้พ่อเป็นคนทำมันคงจะรู้สึกดีนะ หลังจากนั้นเลยทำให้ผมตัดสินใจที่จะเลือกเรียนด้านวิศวะ และต้องเป็นวิศวะโยธาเท่านั้น “ทีนี้ผมเคยอ่านนิยายเล่มหนึ่งเกี่ยวกับความรักนักศึกษาในรั้วมหา’ลัยที่ดังมากๆ เป็นมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เขาเขียนบรรยาย มช. ไว้ได้โรแมนติกมากๆ เราไม่เคยเห็นหรอกตอนนั้น แต่จินตนาการภาพตามจากตัวหนังสือ เลยทำให้ตอนสอบเข้าผมตัดสินใจเลือกสมัครที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ไว้ด้วย ซึ่งพอได้เข้าไปเรียน มช. ก็โรแมนติกจริงๆ […]

1 2 3 4

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.