ตรอกช้างม่อย-หลืบราชวงศ์ สำรวจพื้นที่สร้างสรรค์ใหม่ที่ซ่อนตัวในแหล่งการค้าเก่าของเมืองเชียงใหม่

ถนนช้างม่อยมีความยาวราวหนึ่งกิโลเมตร วางตัวขนานกับถนนท่าแพ เชื่อมคูเมืองโบราณใจกลางเมืองเก่าของจังหวัดเชียงใหม่เข้ากับพื้นที่เลียบแม่น้ำปิง ส่วนถนนราชวงศ์เป็นถนนสายสั้นที่ตัดผ่านถนนช้างม่อยบริเวณซุ้มประตูทางเข้าตลาดวโรรส ทั้งสองเป็นถนนสายรองที่เรียงรายไปด้วยอาคารเก่าแก่กว่า 50 ปี ซึ่งเป็นทั้งร้านค้าและโกดังเก็บสินค้าของผู้ประกอบการรุ่นต่อรุ่น พร้อมไปกับกระแสการฟื้นฟูย่านเก่าด้วยรูปแบบธุรกิจสมัยใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก จากย่านเก่าแก่ที่หลายคนเคยมองข้าม ช้างม่อยและราชวงศ์ก็ตกอยู่ภายใต้แสงสปอตไลต์ และดูเหมือนจะถูกมองว่าเป็น ‘ย่านนิมมานเหมินท์ใหม่’ ในสายตาของนักท่องเที่ยว แม้จะมีการเปรียบเปรยเช่นนั้น แต่ช้างม่อย-ราชวงศ์ กลับมีเอกลักษณ์ที่ต่างออกไปจากพื้นที่ที่ได้รับการจัดสรรที่ดินใหม่อย่างนิมมานเหมินท์อย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากต้นทุนดั้งเดิมของย่านคืออาคารเก่า เราจึงพบรูปแบบ Mixed-use ผสานความเก่า-ใหม่ภายในพื้นที่อย่างน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นคาเฟ่ที่ซ่อนตัวอยู่บนพื้นที่ชั้นบนของร้านค้าเก่าแก่ที่ยังคงเปิดกิจการ ร้านขายเสื้อผ้าในโกดังที่เคยร้าง หรือกระทั่งโชว์รูมสินค้าดีไซเนอร์ที่ตั้งอยู่กลางชุมชน เป็นอาทิ ไม่ว่าจะตั้งใจให้เป็นหรือไม่ รูปแบบของการผสมผสานการใช้งานเหล่านี้ได้มาพร้อมการสร้างนิยามของการเป็นย่านสร้างสรรค์ให้กับเมืองเชียงใหม่ไปโดยปริยาย ทั้งจากการประยุกต์ใช้พื้นที่อย่างชาญฉลาด การดึงดูดให้คนทำงานสร้างสรรค์หรือผู้ที่สนใจธุรกิจเข้ามาใช้พื้นที่ รวมถึงการมีพลวัตของการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา คอลัมน์ Neighboroot ชวนไปเลาะตรอกซอย และเดินขึ้นชั้นสองของอาคารในย่านการค้าเก่าแก่ของเมืองเชียงใหม่ เพื่อสำรวจที่มาและพัฒนาการของย่าน ผ่านมุมมอง ‘คนใน’ ที่มีส่วนในการพลิกโฉมพื้นที่แห่งนี้ Brewginning : จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนผ่าน เริ่มกันที่หัวถนนช้างม่อย บริเวณสี่แยกที่ตัดกันระหว่างถนนช้างม่อยสายเก่ากับสายใหม่ อันเป็นศูนย์รวมร้านขายเครื่องหวายเก่าแก่ในย่านเมืองเก่า ที่นี่คือที่ตั้งของ Brewginning Coffee ร้านกาแฟในอาคารปูนสไตล์โมเดิร์นผสมกลิ่นอายอาร์ตเดโค อายุเกินครึ่งศตวรรษ ร้านที่เรามองว่าเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่เปลี่ยนภาพจำของย่านนี้ไปโดยสิ้นเชิง ‘โชค-พีรณัฐ กาบเปง’ เจ้าของร้าน เคยทำงานในร้านกาแฟที่ซิดนีย์ ออสเตรเลีย […]

Acousticity | Purpeech รักรออยู่ไม่ไกล Live Session @Whattheduck

‘บ้าน’ สถานที่ที่หลายคนอยู่เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ และคงมีหลายครั้งที่เราอาจต้องห่างไกลจากบ้านหลังเดิมด้วยเหตุผลที่ต่างกันออกไป บางคนอาจจะออกมาเพื่อเดินตามความฝันเช่นเดียวกับวงดนตรี ‘Purpeech’ ที่ห่างไกลจากเชียงใหม่และต้องย้ายมาบ้านหลังใหม่ที่กรุงเทพฯ จนทำให้เกิดเพลงที่เล่าเรื่องราวการไกลบ้านของพวกเขาอย่างเพลง ‘รักรออยู่ไม่ไกล’ Urban Creature เลยชวน Purpeech มาบรรเลงเพลงที่ ‘What The Duck’ บ้านหลังใหม่ที่ทำให้พวกเขารู้สึกอบอุ่นไม่ไกลบ้านจนกลายเป็นบ้านหลังที่สองของพวกเขา พร้อมทั้งคุยถึงชีวิตที่เปลี่ยนแปลงจากเดิมหลังย้ายมาอยู่ที่บ้านหลังนี้

CEA จับมือ MUJI ผลักดันสินค้าท้องถิ่น ดึง 2 สตูดิโอเซรามิกจากเชียงใหม่เข้าโครงการ Found MUJI Thailand

‘Found MUJI’ คือโครงการของ MUJI ที่เริ่มต้นขึ้นในปี 2003 ผ่านการวางจำหน่ายสินค้าในร้าน Found MUJI Aoyama ในย่านอาโอยามะ กรุงโตเกียว ก่อนจะกระจายไปตามร้านสาขาทั่วญี่ปุ่นและในต่างประเทศ ด้วยจุดมุ่งหมายที่ต้องการเฟ้นหาสินค้าคุณภาพจากท้องถิ่นที่รักษาคุณค่าของวัตถุดิบและกระบวนการผลิตแบบดั้งเดิมจากทั่วทุกมุมโลก มาพัฒนาและวางจำหน่ายในร้านค้าปลีกของ MUJI ก่อนที่ช่วงปลายปี 2023 โครงการดังกล่าวจะเกิดขึ้นครั้งแรกในไทย โดยทางสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA เข้ามาร่วมมือต่อยอด Found MUJI Thailand ผ่านกิจกรรม ‘ความร่วมมือเพื่อส่งเสริมศักยภาพท้องถิ่นผ่านงานหัตถกรรม’ (Collaborative Program to Support Craft Community) ความร่วมมือที่ว่าคือ การเชิญชวนผู้ประกอบการสร้างสรรค์ท้องถิ่นในสาขาเซรามิก กลุ่ม Chiangmai Clayative และกลุ่มผ้าทอจากเส้นใยธรรมชาติมาร่วมทำเวิร์กช็อป เพื่อเฟ้นหาผู้ประกอบการนำร่องมาพัฒนาสินค้าร่วมกันกับ MUJI ประเทศไทย ‘InClay Studio’ สตูดิโอเซรามิกของ ‘ชิ-จิรวงษ์ วงษ์ตระหง่าน’ และ ‘ชามเริญ สตูดิโอ (Charm-Learn Studio)’ ของ […]

Sapphic Riot บาร์ของนักกิจกรรมที่อยากสร้างพื้นที่กิน-ดื่ม และเป็นตัวเองได้เต็มที่ให้ชาวแซฟฟิกในเชียงใหม่

ความมืดกำลังโรยตัวปกคลุมเชียงใหม่ ฉันก้าวขาจากรถลงเดินบนถนนสิงหราชที่นักท่องเที่ยวขวักไขว่ เปิดประตูเข้าร้านเล็กๆ ริมทางและปล่อยสายตาให้ได้ปรับตัวกับแสงไฟ อาจเป็นเพราะจังหวะเพลงที่พอโยกตัวได้ เสียงชงเครื่องดื่มเบาๆ จากบาร์ และป้ายประกาศซึ่งตั้งอยู่รอบร้านที่ทำให้ฉันรู้สึกสบายใจ PRIDE, SISTERHOOD, RESPECT คือตัวอย่างคำที่ฉันปรายตาเร็วๆ แล้วสังเกตเห็น และอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้รู้สึกอย่างนั้น อย่างไม่ต้องสงสัย Sapphic Riot คือบาร์ที่สร้างสรรค์มาเพื่อชาวแซฟฟิก (Sapphic) โดยเฉพาะ สำหรับคนที่ไม่รู้ว่าคำนี้แปลว่าอะไร หมวย หญิงสาวเจ้าของบาร์ผู้กำลังนั่งอยู่ตรงหน้าฉันตอนนี้อธิบายว่า แซฟฟิกคือคอมมูนิตี้ของคนที่เป็นผู้หญิงและคนที่รักผู้หญิง ซึ่งไม่ได้นับรวมแค่คนที่นิยามอัตลักษณ์ทางเพศของตัวเองว่าเลสเบี้ยนเท่านั้น แต่ร่มของแซฟฟิกนั้นครอบคลุมไปถึงไบเซ็กชวล แพนเซ็กชวล ทรานส์เจนเดอร์ เควียร์ ไปจนถึงกลุ่มนอนไบนารี นี่คือบาร์แซฟฟิกแห่งแรกในเชียงใหม่ และนั่นคือสิ่งที่ชวนให้ฉันสนใจบาร์แห่งนี้ในทีแรก แต่พอได้นั่งคุยกับผู้ก่อตั้งจริงๆ สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นคือ ความตั้งใจของหญิงสาวตัวเล็กๆ ที่อยากสร้างพื้นที่ที่เธอเสาะแสวงหามาทั้งชีวิต เป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กับคนในคอมมูนิตี้ และพื้นที่ที่เธอกับเพื่อนชาวแซฟฟิกสามารถ ‘เป็น’ และ ‘ทำ’ อะไรได้โดยไม่ถูกตัดสินจากใคร Sapphic Pride “สิ่งที่คนเข้าใจผิดมากที่สุดเกี่ยวกับคอมมูฯ แซฟฟิกคืออะไร” ท่ามกลางเสียงเพลงในร้านที่ดังคลอ ฉันเปิดบทสนทนาด้วยการชวนหมวยครุ่นคิดเกี่ยวกับคอมมูนิตี้ของเธอ “คนส่วนมากจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับบทบาททางเพศว่าเราต้องเป็นฝ่ายไหน ใครจะต้องเป็นฝ่ายเทกแคร์อีกคน ซึ่งจริงๆ มันค่อนข้างลื่นไหลมาก” หญิงสาวตอบชัดถ้อยชัดคำ “แต่ปัญหาหลักๆ เราคิดว่ามันคือการที่เราไม่ถูกมองเห็นโดยคนในสังคมมากกว่า […]

บันทึกจากคนเชียงใหม่ในวันที่กลายเป็นผู้ประสบภัย ใช้ชีวิตตายผ่อนส่ง จากฝุ่นควัน PM 2.5

สิบกว่าปีที่แล้วเวลานึกถึงเชียงใหม่ หลายคนมักนึกถึงอากาศเย็นๆ ในช่วงฤดูหนาว คนจำนวนมากเดินทางมาเพื่อชมภาพทะเลหมอกกับทิวดอยต่างๆ และบ้างที่มาเพื่อลองจิบกาแฟถึงแหล่งผลิตกาแฟคุณภาพอันดับต้นของประเทศ นี่คือส่วนหนึ่งจากหลายเหตุผลที่ทำให้ผู้คนมาเที่ยวที่เชียงใหม่ และทำให้จังหวัดนี้มีชื่อเสียง แต่ปัจจุบันเมื่อหมดช่วงฤดูหนาวที่เป็นหน้าไฮซีซันของจังหวัดไป เชียงใหม่ก็กำลังมี ‘ชื่อเสีย’ จากปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกปี จนติดอันดับหนึ่งของโลกอยู่หลายครั้ง และทำให้นักท่องเที่ยวลดน้อยถอยลงเพราะหนีจากฝุ่นไปจำนวนมาก ฝุ่นจึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาพลักษณ์ ต่อเศรษฐกิจ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสุขภาพของผู้คนเชียงใหม่ที่จำต้องสูดอากาศหายใจที่มีกลิ่นควันผสมกับกลิ่นเลือด จากการอักเสบของทางเดินหายใจของตนเองจากฝุ่น และใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางฝุ่น PM 2.5 ในฐานะ ‘ผู้ประสบภัย’ เมื่อทาง Urban Creature ติดต่อมาขอให้เขียนเรื่องปัญหาฝุ่นควันในคอลัมน์ One Day With… เราจึงตอบตกลงทันที ในฐานะของคนเชียงใหม่ที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัยโดยตรง เราขอเป็นตัวแทนคนเชียงใหม่ในการนำเสนอให้ผู้คนทั่วไปได้เห็นประสบการณ์ของคนเชียงใหม่ที่ต้องทนอยู่กับปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 มาเป็นระยะเวลาหลายสิบปี คนเชียงใหม่ต้องเจออะไร ทนกับสิ่งไหน และมีความหวังกับอะไรบ้างที่จะช่วยแก้ไขปัญหาฝุ่นควันนี้ให้หมดไป 01 แม้ ‘อากาศ’ จะไม่ได้ถูกรวมอยู่ในปัจจัยสี่อันเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตของมนุษย์ แต่เรามองว่าอากาศคือสิ่งที่ทุกคนรับรู้โดยทั่วกันว่าคือ พื้นฐานสำคัญที่สุดในการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ แต่ปัจจุบันสำหรับคนเชียงใหม่รวมถึงคนในจังหวัดทางภาคเหนือ การหายใจเข้าลึกๆ ที่ควรจะเป็นเรื่องดีกลับกลายเป็นความเสี่ยง เป็นความหวาดกลัวไปแล้วว่า พวกเขากำลังจะสูดเอามลพิษเข้าสู่ร่างกายเป็นจำนวนมาก และเป็นการทำร้ายสุขภาพของพวกเขาเอง จนบางคนเรียกการทนอยู่กับฝุ่นนี้ว่าเป็นการตายผ่อนส่ง สำหรับคนเชียงใหม่ […]

กาดหลวง มนตร์เสน่ห์จากวันวาน

“ยิ่งเก่า ยิ่งขลัง” เป็นคำพูดที่หลายคนคงได้ยินติดหูกันมานาน ช่วงเวลาผ่านเรื่องราวในอดีต หลงเหลือไว้เพียงความทรงจำที่ยังคงฝังมาจนถึงปัจจุบัน เวลานำพาเทคโนโลยีความทันสมัยต่างๆ เข้ามาจนไม่หลงเหลือความเป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิม ถึงอย่างนั้นก็ยังมีกลุ่มคนที่ยังคงหลงรักมนตร์เสน่ห์ของยุคเก่า ทั้งคอยเก็บสะสมและแลกเปลี่ยน ยิ่งของที่เก่ามาก ราคายิ่งสูงตาม โดยส่วนตัวเราเป็นคนที่ชอบของเก่า ถึงแม้จะเกิดไม่ทันในยุคสมัยนั้นก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นแนวการแต่งตัว หนัง และความชอบในการท่องเที่ยวดูสถานที่ที่ยังเหลือกลิ่นอายของยุคเก่า ทั้งที่มีมาตั้งแต่อดีตหรือที่เขาจัดแต่งขึ้นมาทีหลัง ‘กาดหลวง’ หรือ ‘ตลาดวโรรส’ คือตลาดที่ยามว่างเราชอบมาเดินเล่นกับกล้องหนึ่งตัว ถึงแม้จะไม่ได้อะไรติดไม้ติดมือกลับบ้านเลย แต่สิ่งที่ได้สัมผัสคือบรรยากาศที่เหมือนเคยได้สัมผัสมาก่อน จากการเดินสังเกตเรื่องราวของผู้คนราวกับหนังจอใหญ่ 4D เราพบว่าคนขายของมีหลากหลายเชื้อชาติ คนอินเดียบางคนที่เขาอยู่มานานพูดภาษาเหนือได้คล่อง ผู้คนพูดคุยทักทายกันเหมือนเคยรู้จักกันมาก่อน ระหว่างเดินและมองไปรอบๆ ภาพในอดีตสมัยเด็กๆ ล่องลอยขึ้นมาในหัวร่วมกับความรู้สึกที่ผสมปนเปกันไปหมด ทั้งความคิดถึง เหงา ตื้นตันใจ ความสุข และความรู้สึกอบอุ่น จนน้ำตาไหลออกมาแบบไม่รู้ตัว ได้แต่หวังว่าในอนาคตที่ปัจจุบันกำลังดำเนินไปจะยังคงหลงเหลือมนตร์เสน่ห์จากวันวานนี้อยู่ ติดตามผลงานของ วราลักษณ์ ใจเป็ง ต่อได้ที่ Instagram : laa_WJ และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

Neighborhood เปลี่ยนตึกเก่า 3 ชั้นย่านช้างม่อย ให้กลายเป็นสเปซกิน-ดื่มสุดชิกของเมืองเชียงใหม่

ถนนช้างม่อยเป็นถนนเส้นที่เราคุ้นเคยตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษา เพราะทุกครั้งที่เดินทางมาหาซื้อของฝากที่กาดหลวง (ตลาดวโรรส) หาอะไรกินแถวตลาดสันป่าข่อย หรืออยากมานั่งปล่อยใจริมแม่น้ำปิง เราย่อมต้องขับผ่านถนนเส้นนี้ และภาพจำที่เรามีต่อช้างม่อยคือย่านที่คลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยว ร้านอาหาร และร้านขายงานคราฟต์ของคนในชุมชน จากที่เคยคึกคักอยู่แล้ว หลายปีมานี้ช้างม่อยคึกคักกว่าที่เคย เพราะมีร้านรวงใหม่ๆ ผุดขึ้นมาเรียกนักท่องเที่ยวและคนในท้องที่ให้มาเตวแอ่ว เช็กอิน อัปสตอรีกันไม่หวาดไม่ไหว ร้านขายของชำที่รวมของดีๆ จากท้องถิ่นไทย The Goodcery หรือร้านหนังสือสีเขียวที่มีแมวสามตัวเฝ้าอยู่อย่าง Rare Finds Bookstore and Cafe คือตัวอย่างที่เราเคยไป และบอกได้เลยว่าทีเด็ดของช้างม่อยยังไม่หมดเท่านี้หรอก เพราะตอนนี้ช้างม่อยมีร้านใหม่ที่ดึงดูดให้เราแวะไปอีกร้าน อันที่จริงจะใช้คำว่าร้านก็ไม่ถูกนัก เพราะ Neighborhood เป็นคอมมูนิตี้สุดชิกที่รวมร้านอาหาร ร้านกาแฟ บาร์ เวิร์กสเปซ และพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมไว้ในที่เดียว ซึ่งในฐานะคนเชียงใหม่ ไม่บ่อยนักที่เราจะเห็นสเปซแบบนี้เกิดขึ้น ลมหนาวที่เชียงใหม่กำลังพัดเย็นสบาย เป็นอีกครั้งที่เราเดินเลียบถนนช้างม่อยในยามสาย แล้วมาหยุดอยู่ตรงหน้าคอมมูนิตี้สเปซแห่งนี้ ท่ามกลางเสียงเครื่องทำกาแฟและกลิ่นพิซซาเตาฟืนหอมกรุ่น ‘เดียร์’ และ ‘พิม’ สองสาวผู้เป็นหุ้นส่วนของที่นี่กำลังนั่งรอเราอยู่บนชั้นสอง เปลี่ยนตึกเก่าเป็นคอมมูนิตี้ Neighborhood ไม่ได้เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของสองสาวเท่านั้น แต่หุ้นส่วนที่นี่มีอีกสี่คน ได้แก่ ‘เจมส์’ ‘เจมี่’ ‘อู๋’ และ […]

Rare Finds Bookstore and Cafe ร้านหนังสือ คาเฟ่ และช็อปไลฟ์สไตล์ ที่อยากผลักดันวัฒนธรรมการอ่านในเชียงใหม่

‘Rare Finds Bookstore and Cafe’ ไม่ได้เป็นร้านหนังสือที่ตั้งอยู่ในโลเคชันหายาก และไม่ได้เป็นร้านที่ขายหนังสือหายากอย่างที่หลายคนเข้าใจ อันที่จริงร้านหนังสือบรรยากาศโฮมมี่ของ ‘เอิร์ธ-อธิษฐ์ อนุชปรีดา’ ตั้งชื่อตามท่อนหนึ่งในเพลง Time Has Told Me ของ Nick Drake ศิลปินอังกฤษที่เขาชื่นชอบ แต่ถึงจะไม่ใช่ร้านลับหรือร้านขายหนังสือหายาก ที่นี่ก็ยังถูกลิสต์เป็นหมุดหมายที่คนในท้องที่และนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะคนรักการอ่านอยากมาให้ได้สักครั้ง เพราะนอกจากจะมีหนังสือหลากหลายแบบให้เลือกสรร ที่นี่ยังมีกาแฟหอมกรุ่นจากจังหวัดตาก มีบอร์ดเกมให้เล่น มีโต๊ะให้นั่งทำงาน มีงานอาร์ต เสื้อผ้า และของกระจุกกระจิกฝีมือศิลปินเชียงใหม่ให้ช้อป ที่สำคัญ (อย่างน้อยก็สำหรับเรา) คือ มีแมว 3 ตัวที่เดินป้วนเปี้ยนในร้านให้ทาสแมวได้เกาคอเล่น มากกว่านั้น Rare Finds Bookstore and Cafe ยังอยากเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันศิลปะและวัฒนธรรมการอ่านเชียงใหม่ให้เฟื่องฟู วันดีคืนดี คนที่เข้ามาอาจเห็นร้านแปลงเป็น Creative Space จัดนิทรรศการและกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ดึงดูดผู้คนที่สนใจเข้ามารวมกลุ่มกัน บ่ายวันที่เชียงใหม่อากาศเย็นสบาย Urban Guide รอบนี้ขอพาคุณมาบุกเชียงใหม่ ส่องหาวรรณกรรมเล่มที่ใช่ และเอ้อระเหยกับเหล่าแมวที่ Rare […]

kintaam ไอศกรีมแซนด์วิชจากเชียงใหม่ ที่หยิบวัตถุดิบไทยมาสร้างสรรค์เมนูให้คนกินตามอัธยาศัย

ลัดเลาะเข้ามาในซอยสาทร 11 ท่ามกลางเสียงเจี๊ยวจ๊าวของเด็กๆ และภาพคนทำงานเดินขวักไขว่ ร้านไอศกรีมเล็กๆ ตั้งตระหง่านอยู่ริมถนน ประตูหน้าร้านถูกเปิดเข้า-ออกเป็นระยะ ช่วงเวลาสั้นๆ ที่ใช้ในร้าน ผู้คนที่เดินเข้าไปต่างกลับออกมาพร้อมกับแซนด์วิชหนึ่งชิ้นและรอยยิ้มกว้าง kintaam (กินตาม) คือชื่อร้านที่เราพูดถึง นี่คือแบรนด์ไอศกรีมแซนด์วิชของ น้ำอบ-ถมทอง ไชยจินดา และ น้ำทิพย์ ไชยจินดา สองพี่น้องชาวเชียงใหม่ผู้รักไอศกรีม ขนมอบ และการทดลองเป็นชีวิตจิตใจ พวกเธอไม่ได้เป็นนักธุรกิจ ก่อนจะเปิดร้านก็ไม่ถึงกับเชี่ยวชาญในการทำไอศกรีม มีเพียงความชอบกิน ความสนุกจากการสร้างสรรค์ และความกล้าบ้าบิ่นอีกหนึ่งหยิบมือที่เป็นส่วนผสมในการสร้างแบรนด์ขึ้นมา กินตามเกิดขึ้นจากธุรกิจไอศกรีมพรีออเดอร์ช่วงโควิด เติบโตสู่ไอศกรีมฝากขายในร้านอาหารเหนือ หอมด่วน และร้านขายของชำสุดชิก The Goodcery เพียงสองขวบปี สองสาวก็สร้างร้านของตัวเองที่เชียงใหม่และกรุงเทพฯ ได้สำเร็จ คอลัมน์ประจำจังหวัดครั้งนี้ขอชวนทุกคนล้างมือให้สะอาด แล้วตามไปกินกินตาม ไอศกรีมแซนด์วิชที่เรารับรองว่าไม่มีใครเหมือน พลางฟังน้ำอบและน้ำทิพย์เล่าเรื่องการทำแบรนด์ไอศกรีมที่เรามั่นใจว่าไม่เหมือนใคร เตือนอีกครั้งก่อนกินว่า วิธีกินที่ถูกต้องคือกินแบบเบอร์เกอร์ ไม่ต้องใช้ช้อนส้อม แค่จับด้วยสองมือแล้วกัดเท่านั้น เชื่อเถอะว่าจะเลอะสักนิดสักหน่อยก็ไม่เป็นไรหรอก กิน’ติม kintaam มาจาก ‘กินตามอัธยาศัย’ วลีที่คนในครอบครัวของน้ำอบและน้ำทิพย์ชอบใช้บ่อยๆ ครอบครัวของสองพี่น้องไม่ได้ทำธุรกิจเกี่ยวกับไอศกรีมมาก่อน หากจะมีอะไรที่จุดประกาย คงเป็นความชอบในการกินและทำขนมของน้ำทิพย์ เรื่องมีอยู่ว่า หน้าร้อนในปีที่โควิดระบาดหนัก […]

Pokémon Go เปิดรูตพิเศษในงานยี่เป็ง ให้ไปตามจับโปเกมอนภายในเกม 24 – 28 พ.ย. 66 ที่ตัวเมืองเชียงใหม่

งานลอยกระทงปีนี้จะสนุกขึ้น และเราอาจไม่ต้องโฟกัสที่การลอยกระทงอย่างเดียว เนื่องจากหลายๆ งานที่จัดได้เพิ่มกิจกรรมที่ผู้เข้าร่วมงานทุกเพศทุกวัยเอนจอยได้ แถมยังเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจในท้องถิ่นด้วย หนึ่งในนั้นคือเทศกาลยี่เป็งที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 – 28 พฤศจิกายน 2566 บริเวณรอบคูเมืองเชียงใหม่ ภายใต้แนวคิด ‘เทศกาลแห่งแสงไฟที่สะท้อนวิถีชีวิตล้านนาอย่างร่วมสมัย’ ที่จะมีกิจกรรมน่าสนใจมากมาย เพื่อบอกเล่าถึงวัฒนธรรมยี่เป็งแห่งล้านนา และชูความโดดเด่นของพื้นที่ นอกจากการประดับประดาไฟตามเส้นทางเดินและพื้นที่สาธารณะในเมือง กิจกรรมเดินชมเมืองในยามค่ำคืน รวมถึงผลิตภัณฑ์และบริการพิเศษที่เตรียมไว้เพื่องานนี้โดยเฉพาะแล้ว ความพิเศษสุดๆ ของงานยี่เป็งครั้งนี้คือ ‘Pokémon GO x Yi-Peng’ การร่วมมือกับบริษัท Niantic, Inc. ผู้เป็นเจ้าของเกม Pokémon GO ในการพัฒนาเส้นทางพิเศษภายในเกมที่จะเปิดให้บริการในช่วงเทศกาลครั้งนี้ เพื่อเชิญชวนผู้เล่นเกมให้มาสัมผัสกับงานเทศกาลยี่เป็งของจังหวัดเชียงใหม่ นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่เกม Pokémon GO จะร่วมมือกับเทศกาลท้องถิ่น ในการสร้างประสบการณ์ใหม่ผ่านแพลตฟอร์มที่คนทั่วโลกให้ความสนใจ ใครที่ไปร่วมกิจกรรมรับรองว่าจะเป็นประสบการณ์ใหม่ในการลอยกระทงที่สนุกกว่าครั้งไหนๆ แน่นอน Source : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่ | tinyurl.com/ymokw27m

‘มุขปาฐะ’ ครั้งแรก ‘รื้อฟื้นความสัมพันธ์ของคนกับคน’ ล้อมวงฟังคนเขียนเพลงกลางป่าสนบนดอยมูเส่คี

06/07/2566 กรุงเทพมหานคร ‘ก็บางครั้งเราคงยังสับสนอยู่ ไม่รู้ว่าจะไปไหน ไม่เคยรู้ว่าตัวเองเป็นเช่นใด ต้องการอะไรหนา ได้แต่คิดแล้วก็ลองผิดลองถูก จะผิดไปอีกนานไหม’ ‘โอ้ชีวิต ไม่ง่ายดายเลยสักนิด แต่ชีวิตไม่ยากเย็นอย่างที่คิด ก็ชีวิตคือชีวิต คงต้องคิดกันให้ดี…’ บทเพลงชื่อ ‘ชีวิต’ ของวงดนตรี ‘Moderndog’ ดังขึ้นในความทรงจำของเรา เมื่อนั่งอยู่บนรถเมล์จากบางกะปิเพื่อมุ่งไปขึ้นรถทัวร์ที่สถานีฯ หมอชิต แสงแดดยามเย็นรำไรลอดไปตามซอกตึกสะท้อนลงบนถนน ผู้คนกำลังเลิกงาน แม้บีทีเอสสายสีเหลืองจะเปิดให้บริการแล้ว แต่ด้านล่างรถยังติดเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ใช้เวลาร่วมสองชั่วโมงกว่าจะถึงที่หมาย พระอาทิตย์ลาลับ แสงสีจากร้านค้า ร้านอาหาร และบรรยากาศที่หมอชิตคล้ายฉากในภาพยนตร์ยุคเก่า แม้ปีนี้เป็นปีที่จะมีนายกฯ คนที่สามสิบแล้วก็ตาม ระยะเดินทาง 714 กิโลเมตร ใช้เวลา 9 ชั่วโมง 40 นาที จำกัดความเร็วไม่เกิน 90 กม./ชม. เพื่อความปลอดภัยและลดการใช้พลังงาน เสียงเจ้าหน้าที่ประจำรถบอกเล่า ราวสามทุ่มรถออก สถานีต่อไป ‘เชียงใหม่’ 07/07/2566 เชียงใหม่ เช้าตรู่วันศุกร์ที่สถานีฯ อาเขต รถแดงแล่นไปมา บางคันบรรทุกผู้โดยสารชาวต่างชาติเต็มคัน บางคันโล่งว่าง เราเลือกใช้บริการมอเตอร์ไซค์วินสีเขียว […]

‘คลองแม่ข่า’ สายน้ำเน่าที่กำลังถูกเปลี่ยนให้เป็นอนาคตของเมืองเชียงใหม่ หรือจะถอยหลังลงคลอง

หากเอ่ยถึง ‘คลองแม่ข่า’ ในปัจจุบัน หลายคนน่าจะนึกถึงทางเดินเลียบคลองสวยๆ แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ในตัวเมืองเชียงใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ขณะนี้ และเพิ่งได้รับสมญาใหม่ว่าเป็น ‘คลองโอตารุ’ ของจังหวัดเชียงใหม่ แต่หากย้อนกลับไปถามคนเชียงใหม่เมื่อไม่กี่ปีที่แล้ว ทุกคนจะนึกถึงคลองแม่ข่าว่าเป็นแหล่งน้ำเน่าเสีย นั่นคือภาพลักษณ์ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมาสำหรับคนเชียงใหม่  เพราะตลอดหลายปีนั้น ชาวเชียงใหม่ต่างคุ้นเคยกับการได้เห็นและได้ยินการหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ที่ทุกครั้งจะต้องมีนโยบายทำคลองแม่ข่าให้กลับมาใสอยู่ด้วยเสมอ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้นเป็นรูปธรรม หลายคนจึงอดไม่ได้ที่จะหมดหวังได้เห็นคลองแม่ข่ากลับมาใส จนกระทั่งปีที่แล้วที่มีการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองแม่ข่าใหม่ให้สวยงาม ด้วยภาพสะอาดสะอ้านแปลกใหม่ที่ถูกนำเสนอออกมา ทำให้คลองแห่งนี้กลับมาได้รับความสนใจจากคนเชียงใหม่จำนวนมาก ก่อนจะขยายไปถึงคนจังหวัดอื่นๆ ที่เดินทางมาเที่ยวเดินถ่ายรูปเล่นที่คลองแห่งนี้ ซึ่งทางจังหวัดเชียงใหม่เองก็พยายามจัดให้มีกิจกรรมภายในพื้นที่แห่งนี้อยู่สม่ำเสมอ ชาวเชียงใหม่หลายคนที่ได้มาเดินเล่นที่นี่ ต่างแสดงความยินดีที่คลองแม่ข่ากลับมาเป็นคลองน้ำใส ไม่เน่าเสียอีกแล้ว…แต่น่าเสียดายที่มันไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะพื้นที่ที่มีการปรับภูมิทัศน์ให้เดินเล่นกันนั้นเป็นเพียงแค่ระยะ 756 เมตร จากระยะทั้งหมด 11 กิโลเมตรของคลองแม่ข่าในเขตเมืองเชียงใหม่ที่ยังคงเน่าเสีย มีปัญหา และรอคอยการแก้ไขพัฒนาต่อไป จึงทำให้มีเสียงค่อนขอดขึ้นมา ตั้งแต่ความพยายามเป็นญี่ปุ่นทั้งที่เชียงใหม่ก็มีวัฒนธรรมเอกลักษณ์ของตนเอง จังหวัดพยายามนำเสนอแต่ภาพลักษณ์ดีๆ ของพื้นที่คลองบริเวณนี้เพื่อซุกปัญหาคลองแม่ข่าในส่วนอื่นๆ อีกจำนวนมากไว้ใต้ภาพสวยงาม หรือแม้แต่ตำหนิว่านี่เป็นการถอยหลังลงคลอง อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระยะ 756 เมตรของคลองแม่ข่าครั้งนี้ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่แสดงให้เห็นว่ากำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงต่อไป และเสียงสะท้อนที่เกิดขึ้นก็แสดงให้เห็นว่าแม่ข่าเกี่ยวโยงกับผู้คน และมีคนจำนวนไม่น้อยกำลังให้ความสนใจกับลำน้ำสายนี้ คลองแห่งนี้มีความสำคัญต่อเชียงใหม่อย่างไร ทำไมถึงมีหลายองค์กรหลายผู้คนพยายามปรับปรุงให้มันกลับมาดีอีกครั้งตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา  ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของแม่น้ำสายนี้ คอลัมน์ Report ขอนำเสนอเรื่องราวหลากหลายมิติที่สายน้ำนี้ได้ไปเกี่ยวโยง โดยลองถอยออกจากความเป็นคลองโอตารุ ไม่ต้องถึงกับถอยลงคลอง แค่ถอยมามองและทำความรู้จักกับน้ำแม่ข่า […]

1 2 3 4

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.