‘เฮ็ดหยังอยู่’ โปรเจกต์จดหมายเหตุกรุงเทพฯ ในหัวข้อฉูดฉาด ‘สวัสดี ข้นE-3’

มีใครสงสัยเหมือนเราบ้างว่า ทำไมในกรุงเทพฯ ถึงมีร้านส้มตำอยู่ทุกหัวมุมถนน ทุกหนแห่ง แค่นึกอยากจะกินก็มีให้เลือกอยู่ในรัศมีไม่เกิน 5 กิโลเมตรจากที่ที่เราอยู่เสมอ ทำไมเนื้อหาของละครทีวีช่วงค่ำยุคปัจจุบันถึงได้เปลี่ยนจากเซตติงที่เป็นคุณหญิงคุณชายในรั้ววัง มาเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับคณะหมอลำซึ่งมีฉากหลังเป็นทุ่งนาต่างจังหวัดกันมากขึ้น มากไปกว่านั้นคือตัวละครทั้งหมดล้วนพูดภาษาถิ่นอีสานกันทั้งหมด ทั้งที่ฉายไปทั่วประเทศ ขยับเข้ามาในระดับที่แคบขึ้นอีกนิด ทำไมคนขับแท็กซี่มักเป็นคนร้อยเอ็ด ทำไมนางแจ๋วในละครถึงต้องเป็นคนอีสาน ทำไมถึงมีคำศัพท์ใหม่อย่าง ‘v้นE-3’ แพร่หลายเป็นมุกตลกทั่วไปของเด็กรุ่นใหม่บางกลุ่ม จนกลายเป็นชนวนของการทะเลาะใหญ่โตบนโลกอินเทอร์เน็ตอย่างไม่มีที่สิ้นสุด วันเวลาผ่านไป ตั้งแต่ยุคที่คนกุลายังร้องไห้ จนมีลูกหลานเป็นสาวน้อยหัวใจติดดิน สวมกางเกงยีนส์เก่าๆ ใส่เสื้อตัว 199 มุ่งหน้าไปสู่การเป็นนางเอกละครเย็นในช่วงเรตติงดีที่สุด ประดับซับไตเติลเป็นภาษาไทยกลาง เพราะเว้าภาษาอีสานกันทั้งเรื่อง เกิดอะไรขึ้นกับคนอีสานอพยพใน ค.ศ. 2022 ตามมาเบิ่งปรากฏการณ์นี้ในหนังสือ ‘เฮ็ดหยังอยู่’ ธีสิสจบการศึกษาของ ‘ข้าวตัง-ศศิตา มณีวงษ์’ นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ ภาควิชานิเทศศิลป์ สาขาวิชานิเทศศิลป์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กันแหน่เด้อ เฮ็ดหยังอยู่ ก่อนจะพูดถึงโปรเจกต์ที่ช่วยไขสารพัดข้อสงสัยเรื่องคนอีสานอพยพ เราขอย้อนความก่อนว่า ศศิตาหรือผู้เขียนบทความนี้เป็นเด็กกรุงเทพฯ ที่มีตาเป็นคนอำนาจเจริญ และยายเป็นคนสุรินทร์ เติบโตมากับเรื่องเล่าของการถูกปลิงกัดเมื่อดำนา การซักผ้าด้วยขี้เถ้า และการเดินเท้าเกือบสิบกิโลเพื่อไป-กลับโรงเรียน ตายายหยิบเอาเรื่องราวการดำรงชีวิตอยู่ในอำเภอห่างไกลความเจริญเมื่อห้าสิบปีก่อนมาใช้แทนนิทานเรื่องเจ้าหญิงต่างๆ ก่อนจะเข้านอนทุกคืน ในวัยนั้นเราต้องยอมรับว่าเรื่องที่ทั้งคู่เล่าสนุกกว่านิทานพวกนั้นมาก แล้วจะมีเหตุผลอะไรที่เราจะไม่บันทึกมันไว้เมื่อยังมีโอกาส ไม่มีใครทราบได้ว่าโอกาสนั้นกลับมาอีกครั้งในรูปแบบของการศึกษาศิลปะ […]

เรียนรู้เมืองศรีสะเกษผ่านภาษาดนตรี ในงาน ‘Sound of Sisaket 2023’ (ซาวสีเกด) วันที่ 25 – 27 ส.ค. 66 ที่ย่านวงเวียนแม่ศรี

หลายคนอาจไม่ค่อยได้ไปเที่ยวเมืองรองหรือเมืองทางผ่านที่ไม่ได้มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยวในกระแสหลักมากนัก แต่ถ้าได้ลองไปสำรวจเมืองรองเหล่านั้นสักครั้ง จะพบว่าแต่ละเมืองล้วนมีเอกลักษณ์ วัฒนธรรมท้องถิ่นในแบบฉบับของตัวเอง รวมถึงความสงบที่หาได้ยากจากเมืองใหญ่ และใครที่อยากลองหาสถานที่เที่ยวเป็นเมืองรองดูบ้าง Urban Creature ขอเสนอจังหวัดศรีสะเกษเป็นหนึ่งในตัวเลือก เพราะในเดือนนี้จะมีการกลับมาอีกครั้งของอีเวนต์สุดสร้างสรรค์ ‘Sound of Sisaket 2023’  (ซาวสีเกด) ซึ่งจัดโดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ที่จะเกิดขึ้นในย่าน ‘วงเวียนแม่ศรี’ จังหวัดศรีสะเกษ ในวันที่ 25 – 27 สิงหาคม ปีนี้ Sound of Sisaket 2023 มาพร้อมแนวคิด ‘City of Music, City of Art, City of Culture’ ที่จะนำเสนอให้เห็นความเป็นเมืองสร้างสรรค์ของศรีสะเกษผ่านกิจกรรมที่ครอบคลุม 4 หัวข้อ ได้แก่ 1) พื้นที่เรียนรู้ด้านดนตรีของเมือง (Music Learning Space) 2) พื้นที่แสดงผลงานของศิลปินนักดนตรี (Music […]

Life in KKC วิถีขอนแก่น

‘ขอนแก่น’ เป็นอีกเมืองที่น่าสนใจจากประสบการณ์ที่เราได้มีโอกาสไปทำงานที่นั่น และได้ใช้เวลาอยู่ในเมืองนั้นสักพักหนึ่ง ทำให้เราได้บันทึกภาพชุดนี้ขึ้นมา ภาพชุดนี้เป็นเรื่องราวประจำวันที่เราได้เจอหรือว่าผ่านตามา เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งของและสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่ทั้งธรรมดาและแปลกตา ซึ่งคนในเมืองอย่างพวกเราคงไม่ค่อยมีโอกาสได้เห็น รูปชุดนี้แบ่งเป็นสองส่วน ได้แก่ ภาพที่บันทึกในชีวิตประจำวัน และภาพจากตลาดวัว เราเลือกสองเรื่องนี้มานำเสนอเพราะแต่ละรูปคือขอนแก่นที่เราได้รู้จักและไปพบเจอ ไม่ว่าจะเป็นป้ายหน้ายิ้มที่มันดูแปลกตา มุ้งที่คลุมท้องฟ้า ตึกสีแปลกๆ ป้ายร้านก๋วยเตี๋ยวร้านโปรดของเรา แล้วก็ไม่รู้สังกะสีหรือกิ้งก่ากันแน่ที่มันปรับตัวเข้าหากัน รวมถึงวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ด้วย ส่วนเหตุผลที่เราเลือกตลาดวัวมานำเสนอ เพราะเราชื่นชอบเรื่องราวของตัวตลาดมาก ไม่ว่าจะเป็นการต้องตื่นเช้ามืดเพื่อไปตลาด หรือวัวแปลกๆ ที่เราได้ไปเจอ รวมไปถึงผู้คนที่มาเร่ขายวัว ทั้งหมดเป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่สำหรับเรา จึงอยากนำมาเล่าผ่านภาพให้ทุกคนได้เห็นกัน ติดตามผลงานของ ปีติ์ สายแสงทอง ต่อได้ที่ Instagram : georgecallmedadddy และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

ชง ดม ชิมกาแฟสายเลือดอีสาน และม่วนคักกับการแข่งขัน AeroPress ที่เทศกาล Brew Barn Fest 2023

ซีนกาแฟในอุบลราชธานีกำลังสนุกและคึกคักขึ้นเรื่อยๆ เห็นได้จากร้านกาแฟเล็กใหญ่ที่กระจายตัวอยู่ทั่วจังหวัด นอกจากเสิร์ฟคาเฟอีนหอมๆ ให้ลูกค้าได้ลิ้มรสความกลมกล่อมกันแล้ว หลายเจ้ายังต่อยอดธุรกิจของตัวเองด้วยการผันตัวเป็นโรงคั่วกาแฟ เพื่อส่งต่อรสชาติเมล็ดกาแฟที่มีเอกลักษณ์ให้คอกาแฟในพื้นที่อื่นด้วย แต่การเติบโตของคอมมูนิตี้กาแฟในจังหวัดอุบลฯ ไม่ได้หยุดอยู่เพียงเท่านั้น เพราะปีนี้มีการจัด ‘Brew Barn Fest 2023’ เทศกาลกาแฟครั้งใหญ่ที่เป็นหมุดหมายของคนฮักกาแฟทั่วอีสานไปเมื่อวันที่ 11 – 12 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งหัวเรือใหญ่ของงานนี้คือร้านกาแฟ Specialty แห่งแรกๆ ของอุบลฯ อย่าง Anna Coffee Roasters จับมือกับนักจัดอีเวนต์เกี่ยวกับกาแฟอย่าง The Coffee Calling คอลัมน์ One Day With ขอพาทุกคนออกเดินทางไปยังผืนดินและทุ่งหญ้าสีเขียวในตำบลหัวเรือ จังหวัดอุบลฯ เพื่อสัมผัสธรรมชาติและดมกลิ่นเมล็ดกาแฟหอมๆ ในเทศกาล Brew Barn Fest 2023 ที่มาพร้อมการออกบูทของเหล่าร้านค้าเจ้าดังในโซนภาคอีสาน วงเสวนาและข้อมูลข่าวสารของวงการกาแฟ ไปจนถึงการแข่งขัน ‘Isan Thailand AeroPress Championship 2023 (iTAC2023)’ เพื่อหาผู้ชนะไปแข่งขันในระดับประเทศและระดับโลกต่อไป แน่นอนว่ากิจกรรมเหล่านี้จะมาเติมเต็มความม่วนให้คอมมูนิตี้คนฮักกาแฟ […]

สำรวจเมืองขอนแก่นกับ Isan BCG Expo เรียนรู้การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

ในภูมิภาคอีสาน โดยเฉพาะจังหวัด ‘ขอนแก่น’ นั้นอุดมไปด้วยวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหาร การเกษตร ศิลปะ ดนตรี และอัตลักษณ์อย่างวัฒนธรรมพื้นบ้าน ฯลฯ  จากความรุ่มรวยเหล่านี้เอง ทำให้เกิด ‘Isan BCG Expo 2022’ หรืองานมหกรรมนวัตกรรมยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอีสานและเป็นครั้งแรกในไทย เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา Isan BCG Expo 2022 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด ‘Collaboration : ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ’ ณ Khon Kaen Innovation Centre (KKIC) โดยกระจายการจัดงานไปยังบริเวณโดยรอบครอบคลุมดาวน์ทาวน์ของจังหวัด เช่น ย่านศรีจันทร์ เทศบาลเมืองขอนแก่น และถนนไก่ย่าง งานครั้งนี้ได้มีการนำเสนอโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน BCG (Bio, Circular, Green Economy) ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญต่ออนาคตของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย ที่จะเข้ามามีส่วนช่วยพัฒนาชุมชนและรากฐานเศรษฐกิจให้เข้มแข็งขึ้น ด้วยการผสมผสานทุนทางทรัพยากร อัตลักษณ์ ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ทำให้สิ่งที่มีอยู่แล้วเกิดคุณค่าและมีมูลค่าเพิ่มขึ้น จากการได้ไปสำรวจขอนแก่นผ่านแว่นของงาน Isan BCG Expo 2022 […]

ลาบเสียบ Jim Thompson Art Center ร้านกับแกล้มอีสานฟิวชันที่อยากเป็นพื้นที่เปิดบทสนทนาให้คนกรุง

ท้องฟ้ายามเย็นกำลังระบายสีส้มอ่อน เราเดินขึ้นบันไดไปสู่ชั้นดาดฟ้าของ Jim Thompson Art Center พลางถอดเสื้อตัวนอกออกเพื่อรับลม พื้นที่ข้างบนนี้กว้างขวาง เงียบสงบ บรรยากาศเหมาะกับการสูดอากาศ จิบเครื่องดื่มเย็นๆ แล้วคุยเรื่อยเปื่อยกับใครสักคน และนั่นอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้มีร้านค้ามาตั้งอยู่ตรงนี้ ‘ร้าน’ ที่เราพูดถึงคือลาบเสียบ ร้านกับแกล้มอีสานฟิวชันที่ไม่ได้เป็นคนแปลกหน้าสำหรับคนในวงการกินดื่มแต่อย่างใด ร้านแห่งแรกก่อตั้งในปี 2563 โดย ‘ฝ้าย-อาทิตย์ มูลสาร’ ชายหนุ่มผู้เปลี่ยนโฮมสตูดิโอในซอยวัดลาดปลาดุกให้เป็นแหล่งสังสรรค์ใหม่ของชาวกรุง ด้วยการเสิร์ฟลาบเสียบไม้ย่างใหม่ๆ คู่กับเครื่องดื่มเย็นฉ่ำ  ย่างไปย่างมาได้สองปี ลาบเสียบก็คิดถึงการขยายกิจการสู่สาขาใหม่ แต่อาทิตย์เกรงว่าจะดูแลทั้ง 2 สาขาไม่ไหว จึงเปลี่ยนแผนเป็นย้ายร้านมาอยู่บนดาดฟ้าของ Jim Thompson Art Center แทน บาร์สีเลือดหมูเปิดโล่งให้ความรู้สึกคล้ายร้านอิซากายะสไตล์ญี่ปุ่น ตกแต่งด้วยอุปกรณ์ในครัวของคนอีสานบ่งบอกว่าเรามาไม่ผิดที่ ในแสงสีส้มของอาทิตย์ยามเย็น อาทิตย์ที่เป็นเจ้าของร้านเดินเข้ามาต้อนรับด้วยรอยยิ้ม เขารับออเดอร์อย่างเป็นมิตรและส่งต่อให้คนครัวรังสรรค์อย่างพิถีพิถัน ช่วงเวลารอลาบเสียบให้สุกนั้น เรามีโอกาสได้นั่งคุยกับเขาเรื่องการทำร้านและการผลักดันอาหารอีสานไปสู่ขอบเขตใหม่ๆ “พอพูดคำว่าลาบเสียบ ถ้าไม่ได้มาเห็นกับตา มากินกับปาก คนทั่วไปอาจนึกภาพไม่ออกว่าลาบเสียบเป็นยังไง ถ้าให้นิยาม คุณจะนิยามแบบไหน” คือคำถามของเราในวันนั้น และต่อจากนี้คือคำตอบสุดนัวจากปากของชายเจ้าของร้าน ลาบเสียบคือร้านกับแกล้ม สันนิษฐานแรกตอนได้ยินคำว่าลาบ เราคิดถึงเมนูลาบอีสานในร้านอาหารทันที แต่อาทิตย์ยืนยันกับเราว่า “ลาบเสียบไม่ใช่ร้านอาหารที่จะมากินเอาอิ่ม” […]

‘ซาว เอกมัย’ ร้านอาหารอีสานที่มีกฎเหล็กว่า ‘อย่าใช้สมอง แต่ให้ใช้ลิ้นกิน’

“อะไรคือสิ่งที่ทำให้อีฟหันมาเสนอความแซ่บของสำรับอีสาน” “เราต้องการให้คนเปลี่ยน Perception ที่มีต่ออาหารอีสาน ว่ามันไม่ใช่แค่ของราคาถูก” คำตอบของ อีฟ-ณัฐธิดา พละศักดิ์ เมื่อเราถามถึงเป้าหมายของร้าน ‘ซาว เอกมัย’ ที่เธอลงมือฟูมฟักตั้งแต่สาขาแรกในจังหวัดอุบลราชธานี จนขยับขยายสู่สาขาสองที่เพิ่งแลนดิ้งในย่านเอกมัยมาได้ไม่นาน พร้อมหยิบวัตถุดิบพื้นบ้าน กรรมวิธีการปรุง และสำรับอาหารในแบบที่คนอีสานกินแบบไหน ซาวก็เสิร์ฟแบบนั้นให้ได้ลิ้มลอง อันที่จริงคุณอาจจะรู้จักอีฟจากบทบาทหนึ่งในผู้ก่อตั้ง Foundisan กลุ่มคนทำงานด้านดีไซน์ที่เล่าเรื่องอีสานผ่านงานออกแบบและงานคราฟต์ร่วมสมัย ซึ่งฉีกกรอบภาพจำของสินค้าโอท็อปแบบเดิมๆ ด้วยการ Redesign โปรดักต์เพื่อสร้างมูลค่าให้สูงขึ้น แน่นอนว่าวิชวลที่ออกมานั้นเต็มไปด้วยสีสัน ความสนุก และทันสมัยมากกว่าที่เคย หลังจากลงมือทำ Foundisan มานาน 3 – 4 ปี อีฟก็เจอโจทย์หินว่าจะทำอย่างไรให้สินค้าโอท็อปขายได้ แม้จะเอามายกเครื่องใหม่ก็ยังไม่สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ เพื่อช่วยให้คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดีขึ้น ประกอบกับการลงพื้นที่ในทุกๆ ครั้ง อีฟจะได้ชิมอาหารฝีมือแม่ๆ ซึ่งมีคัลเจอร์ที่น่าสนใจ เพราะอีสานแต่ละจังหวัดก็มีเครื่องปรุงและวัตถุดิบบางอย่างแตกต่างกัน จึงกลายเป็นจุดประกายเล็กๆ ที่อยากเล่าวัฒนธรรมอีสานให้ง่ายกว่างานคราฟต์ ซึ่ง ‘อาหาร’ คือคำตอบ ร้านที่อยากเปลี่ยนมุมมองของคนต่ออาหารอีสาน ‘ซาว อุบลฯ’ คือซาวสาขาแรกที่อีฟได้เริ่มทำในช่วงที่ธุรกิจรถเกี่ยวข้าวของเธอกำลังจะไม่ได้ไปต่อ จึงชวนพนักงานของบริษัทลงพื้นที่ตระเวนกิน เฟ้นหาวัตถุดิบ รวมไปถึงสูตรอาหารต่างๆ โดยมีระยะเวลาเตรียมการเพียง […]

ราชบุตร สเตอริโอ ค่ายเพลงหมอลำยุค 70 ที่อยากทำให้ดนตรีอีสานกลับมาคึกคัก

วัยรุ่นส่วนใหญ่ที่เติบโตในจังหวัดอุบลราชธานียุค 1990 – 2000 จะรู้จักหรือคุ้นเคยกับ ‘ราชบุตร’ ร้านเช่าซีดีและดีวีดีที่มีอยู่หลายสาขาทั่วเมืองอุบลฯ เราเองก็คุ้นเคยกับที่นี่ดี เพราะในยุคที่การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมีอย่างจำกัด การเช่าซีรีส์หรือหนังกลับไปดูที่บ้านจึงเป็นหนึ่งในสื่อบันเทิงไม่กี่ประเภทที่คอยหล่อเลี้ยงจิตใจ และเปรียบเสมือนประตูสู่โลกกว้างให้เด็กต่างจังหวัดสมัยนั้น นอกจากธุรกิจร้านเช่าซีดีขวัญใจวัยรุ่นยุค 90 หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า ก่อนหน้านั้นราชบุตรเคยทำ ‘ค่ายเพลงหมอลำ’ อย่างเต็มตัวนานถึง 20 ปี โดยใช้ชื่อว่า ‘ราชบุตร สเตอริโอ’ ราชบุตร สเตอริโอ เคยเป็นค่ายเพลงที่ประสบความสำเร็จแห่งหนึ่งของประเทศไทย และเคยอัดเพลงให้ศิลปินแห่งชาติหลายคน เช่น เคน ดาเหลา, บานเย็น รากแก่น, ป.ฉลาดน้อย ส่งเสริม, ทองใส ทับถนน, บุญเพ็ง ไฝผิวชัย, และฉวีวรรณ ดำเนิน ทั้งนี้ ปัจจุบันค่ายเพลงราชบุตร สเตอริโอ หยุดดำเนินการอย่างถาวรแล้ว เนื่องจากธุรกิจซบเซาลงตามความนิยมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย ปิดฉากตำนานการอัดเพลงและการผลิตเพลงหมอลำยุค ‘แอนะล็อก’ ลงอย่างสิ้นเชิง  ขณะเดียวกัน ราชบุตร สเตอริโอ กำลังเปลี่ยนถ่ายตัวเองเข้าสู่ยุค ‘ดิจิทัล’ อย่างค่อยเป็นค่อยไป เรามีโอกาสกลับอุบลฯ เพื่อพบกับ […]

Ubon Agenda 2022 ปฏิบัติการศิลปะรำลึก 121 ปี ‘ผู้มีบุญ’ แห่งศึกโนนโพธิ์ จังหวัดอุบลฯ

ใครเคยได้ยินเรื่องเล่าเกี่ยวกับ ‘ผู้มีบุญ’ หรือ ‘กบฏผีบุญ’ บ้าง? ย้อนไป พ.ศ. 2444 หมู่บ้านสะพือ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี เคยเป็นพื้นที่สังหารแห่ง ‘ศึกโนนโพธิ์’ ที่รัฐสยามในสมัยนั้นใช้ความรุนแรงปราบปรามประชาชนที่ลุกฮือต่อต้านอำนาจภายใต้ชื่อกลุ่ม ‘ผู้มีบุญ’ การปะทะกันครั้งนั้นส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 300 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นฝ่ายผู้มีบุญ  ผู้แพ้ที่รอดชีวิตจำนวนหนึ่งถูกทหารสยามจับตัวไปที่ทุ่งศรีเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี ส่วนผู้แพ้ที่เหลือแค่วิญญาณถูกตัดหัวเสียบประจาน ร่างถูกทิ้งกองรวมในบ่อดิน ทั้งหมดถูกตั้งชื่อประณามว่าเป็น ‘กบฏผีบุญ’ เพื่อผลักความเป็นมนุษย์ออกจากผู้มีบุญ เพราะการใช้คำว่า ‘ผี’ ทำให้คนเหล่านี้กลายเป็นปีศาจที่ต่ำกว่าสัตว์ เช่น ควาย หมู และหมา ส่วนวาทกรรม ‘กบฏ’ เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการกำจัดผู้เห็นต่างทางการเมืองของรัฐไทยในสมัยนั้น เมื่อเพิ่มคำว่ากบฏจึงหมายความว่า ‘ฆ่าได้’ ส่วนการต่อสู้ระหว่างรัฐและกบฏผู้มีบุญนั้นเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุประกอบกัน ทั้งปัจจัยภายนอกและภายในประเทศ เช่น ความกดดันจากการขยายอาณานิคมของฝรั่งเศสบริเวณสองฝั่งแม่น้ำโขง และปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจในการรวมศูนย์อำนาจและรีดเก็บส่วยของรัฐสยาม ที่สร้างความเดือดร้อนและความยากลำบากให้กับชาวอีสานอย่างมาก เป็นต้น ทว่า การต่อสู้ของชาวบ้านและความตายของเหล่าผู้มีบุญกลับไม่ถูกพูดถึง ไม่มีในตำราเรียน และไม่ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทยแต่อย่างใด เป็นเพียงเรื่องราวที่ถูกเล่าต่อกันมาจากลูกหลานของคนในหมู่บ้านสะพือ และจากการรวบรวมหลักฐานและเอกสารจำนวนมาก ศึกโนนโพธิ์และความตายของผู้มีบุญจึงเป็นประวัติศาสตร์ดำมืด ที่อาจถูกกาลเวลากลบฝังไม่วันใดก็วันหนึ่ง 121 ปีผ่านไป […]

อีสานสร้างสรรค์ 2022 ขอนแก่นเปิดตัว ‘แทรม’ ฝีมือคนไทย มุ่งหน้าสู่รถไฟฟ้าสายแรกใน ตจว.

รถไฟฟ้า นับเป็นทางเลือกหนึ่งของการเดินทางสัญจรภายในเมืองที่สะดวกสบาย ใช้เวลาน้อย และลดปัญหารถติด ทว่าเมื่อเหลียวมองประเทศไทย จะเห็นได้ว่ารถไฟฟ้ามีให้บริการเฉพาะคนกรุงเทพฯ และปริมณฑลเท่านั้น คนไทยไม่เคยสัมผัสถึงประสบการณ์การใช้รถไฟฟ้าเดินทางตามต่างจังหวัดเลย แม้ในช่วง 10 ปีมานี้ตามจังหวัดใหญ่ๆ ได้มีการประกาศแผนการก่อสร้าง ‘แทรม’ หรือรถไฟฟ้ารางเบาทั้งจากภาครัฐและเอกชน เพื่อยกระดับขนส่งสาธารณะในท้องถิ่น แต่น่าเสียดายที่สุดท้ายแล้วยังไม่มีจังหวัดไหนที่สร้างเสร็จพร้อมใช้งาน ที่ดูเป็นความหวังของหมู่บ้านหน่อยก็แทรมขอนแก่นที่มีอัปเดตข่าวคราวความเคลื่อนไหวของโปรเจกต์บ้าง ล่าสุด เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ขอนแก่นได้เผยโฉมแทรมต้นแบบ ที่เกิดจากการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบรถไฟฟ้ารางเบาโดยใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตภายในประเทศไทย เพื่อต่อยอดไปสู่การผลิตในภาคอุตสาหกรรม โดย ดร.ไพวรรณ เกิดตรวจ และคณะ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น จากการสนับสนุนโดย สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ตัวต้นแบบแทรมน้อยขบวนนี้จะนำไปจัดแสดงในนิทรรศการ ‘Khon Kaen Urban Transit : ขนส่งสาธารณะเชื่อมเมือง’ บริเวณป้ายรถเมล์หน้าขอนแก่นวิทยายน ซึ่งนิทรรศการนี้มีจุดประสงค์ในการนำเสนอต้นแบบรถไฟฟ้ารางเบาที่จะให้บริการจริงในอนาคต เพื่อเป็นสื่อกลางในการเล่าเรื่องระบบการขนส่งสาธารณะของเมืองขอนแก่นที่จะเกิดขึ้น เช่น โครงการแทรมน้อยรอบสวนสาธารณะบึงแก่นนคร โครงการ LRT และโครงการ Smart สองแถวฯ […]

‘ส่งสาร’ ร้านกาแฟของคนอุบลฯ ที่อยากส่งสารคาเฟอีนเสิร์ฟคู่การเมือง ดนตรี และศิลปะ

ในฐานะลูกหลานคนอุบลฯ เราคุ้นเคยกับ ‘ย่านเมืองเก่า’ ในตัวอำเภอเมืองอุบลราชธานี เป็นอย่างดี เพราะครอบครัวและคนรู้จักหลายคนต่างอาศัยอยู่ในย่านนี้มานาน จึงเรียกว่าเติบโตมากับย่านนี้ก็ว่าได้  ป๊าเคยเล่าว่า ในอดีตย่านเมืองเก่าเปรียบเสมือนศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของเมืองอุบลฯ ร้านค้า ผู้ประกอบการ และธุรกิจต่างๆ มารวมตัวกันอยู่ที่นี่อย่างคึกคัก เต็มไปด้วยผู้คนที่ออกมาท่องเที่ยว และจับจ่ายใช้สอยทั้งกลางวันและกลางคืน  แต่ช่วง 20 – 30 ปีที่ผ่านมา ย่านนี้ก็ซบเซาลงเพราะร้านรวงและธุรกิจต่างๆ กระจายตัวออกไปเติบโตบนพื้นที่อื่นในเมือง จึงมีไม่กี่ร้านเท่านั้นที่ยังเปิดกิจการ ส่วนที่เหลือก็เป็นบ้านพักหรือตึกปล่อยเช่า กลายเป็นเมืองเก่าที่เหลือไว้แต่เรื่องราวในอดีต  ปีนี้เรามีโอกาสกลับไปโอลด์ทาวน์อีกครั้ง เพื่อพบกับ ‘เป็ด-ยุทธนา ดาวเจริญ’ คนอุบลฯ รุ่นใหม่ผู้ก่อตั้ง ‘Songsarn Coffee & Home Roaster’ หรือ ‘ส่งสาร’ ร้านกาแฟที่ตั้งอยู่บนซอยเล็กๆ ที่เคยร้าง มืด และเงียบเหงา ทว่าตอนนี้ทั้งคึกคัก สนุก และมีกาแฟรสชาติถูกปากให้ผู้มาเยือนเลือกสรร เป็ดเป็นมนุษย์ Active จัดอีเวนต์ทอล์กเรื่องการเมือง เสวนาเรื่องศิลปะที่ขายบน NFT และเอาวงแจ๊สฟิวชันอีสานจากนักดนตรีสายเลือดอุบลฯ มาเพอร์ฟอร์ม กิจกรรมเหล่านี้ลบภาพจำของซอยนี้ที่เคยเป็นแค่ทางลัดสำหรับกลับรถ ส่วนตอนกลางคืนเป็นซอยมืดเปลี่ยวที่มีรถจอดเต็มถนน แต่ทุกวันนี้ในซอยเล็กๆ […]

งานรวม 15 คาเฟ่ดังเมืองอุบลฯ ที่ชวนคนมาตุ้มโฮมกับคาเฟอีนให้สดชื่นได้ทั้งวัน

3 – 4 ปีมานี้ภาพรวมของวงการคาเฟ่และธุรกิจกาแฟในจังหวัดอุบลราชธานีเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยพลังของเหล่านักธุรกิจอีสานสายเลือดใหม่ในจังหวัดที่ต่างลุกขึ้นมาสร้างสรรค์ร้านกาแฟใหม่ๆ ที่หน้าตาทั้งน่าตื่นเต้น บรรยากาศดูสนุกสนาน แถมรสชาติยังถูกใจคอนักดื่มคาเฟอีนตัวยง เมื่อปลายปีที่แล้ว อุบลฯ ก็เพิ่งมีงานเทศกาลกาแฟแสนคึกคักจัดขึ้นเป็นครั้งแรกชื่อ Everyday Cup Ubon ซึ่งถือเป็นการเปิดตัวให้คนข้างนอกได้รู้ว่าภายในจังหวัดมีซีนกาแฟที่เกิดขึ้นจริงจังอย่างเต็มรูปแบบแล้ว ส่วนคริสต์มาสปีนี้ ถ้าคอกาแฟคนไหนกำลังหาที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ จังหวัดอุบลฯ ก็ตอบโจทย์ได้ไม่แพ้ใคร เพราะตอนนี้ในอำเภอเมืองกำลังจัดงานชื่อ Merry Holidays ที่มีเมนูกาแฟซิกเนเจอร์พร้อมเสิร์ฟถึงมือผู้ดื่ม ทั้งยังมีขนมให้เลือกกินแกล้มอร่อยๆ และมีอุปกรณ์ชงกาแฟจัดจำหน่ายมากมาย ซึ่งงานสนุกๆ ปีนี้ได้สเปซของคนรุ่นใหม่อย่าง Impression Sunrise เป็นแกนนำออกมาชักชวนเพื่อนๆ ชาวคาเฟ่ดังในจังหวัดอุบลฯ มารวมเอาไว้ได้ถึง 15 ร้านด้วยกัน ได้แก่ • Anna Coffee Roasters  • attarotes • BaanHuaKham Cafe’ • Coco.Late  • D’september Coffee  • Hai’s coffee  • MUSE Tea […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.