Cooling Station สถานีรับความเย็นคลายความร้อน ให้คนเมืองได้แวะพักระหว่างทาง

อากาศร้อนจนแทบจะละลาย เดินไปไหนก็ร้อนทุกช่วงถนน แม้ว่าบางที่จะมีร่มไม้หรือหลังคาให้พอหลบแดดได้บ้าง แต่ไอความร้อนที่พัดมากับลมนั้นก็ยังทำให้ไม่สบายตัว จนอาจเดินต่อไปไม่ไหวและอาจเสี่ยงต่อการเกิดฮีตสโตรกได้ คอลัมน์ Urban Sketch ลองออกแบบ Cooling Station ที่คอยเปิดรับให้ชาวเมืองได้หลบร้อนระหว่างเดินทาง นอกจากจะเป็นที่พักเหนื่อยจากแดดและอุณหภูมิที่สูงทะลุ 40 องศาเซลเซียสแล้ว ยังมีตัวช่วยดับร้อนแบบพื้นฐานให้บริการอีกด้วย ที่พักแบบถอดประกอบได้ Cooling Station แห่งนี้ออกแบบมาในลักษณะของที่พักที่มีหลังคาช่วยบังแดด และที่นั่งพักให้คนที่เดินกลางแดดมาแวะหลบร่ม โดยตัวสเตชันสามารถถอดชิ้นส่วนประกอบได้ เพื่อขยายพื้นที่ในการรองรับคนที่เข้าใช้พื้นที่นี้พร้อมกันหลายคน โดยไม่ต้องกลัวว่าจะแออัดจนทำให้ร้อนกว่าเดิม อีกทั้งยังเคลื่อนย้ายนำไปตั้งประจำการที่ไหนก็ได้ เหมาะกับเส้นทางเดินยาวๆ หรือพื้นที่โล่งกว้างที่ไม่มีพื้นที่หลบร่ม อากาศถ่ายเทด้วยผนังโปร่ง แม้ว่าตัวขนาดพื้นที่จะขยายให้กว้างได้ตามต้องการ แต่ถ้าภายในสเตชันปิดมิดชิดจนเกินไปก็อาจทำให้อากาศยิ่งร้อนกว่าเดิม ดังนั้นสถานีพักร้อนของเราจึงออกแบบให้ผนังมีลักษณะโปร่งโล่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทจากด้านนอกไหลเวียนเข้าสู่ด้านใน ทำให้ผู้ที่เข้ามาใช้บริการไม่ต้องแย่งอากาศกันภายในพื้นที่นี้ มีอุปกรณ์คลายร้อนให้พร้อม และด้วยความที่เป็นสถานีหลบร้อน ภายในจึงต้องมีเครื่องปรับอากาศที่จะช่วยคลายความร้อน เพิ่มความเย็นสบายจากการเผชิญกับแดดจ้าด้านนอก รวมไปถึงมีการติดตั้งตู้น้ำฟรีที่ผู้ใช้งานจะกดน้ำเย็นๆ ดื่มให้ชื่นใจ หรือกรอกใส่กระบอกน้ำหรือขวดน้ำเพื่อพกพาไปดื่มดับร้อนหลังจากออกจากสถานีก็ได้เหมือนกัน ใช้พลังงานโซลาร์เซลล์ ส่วนพลังงานที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่อำนวยความสะดวกในสถานีพักร้อนแห่งนี้ก็ล้วนแล้วแต่เป็นพลังงานสะอาดที่ได้จากแดดแรงๆ ของประเทศไทย ผ่านการติดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาของที่พัก เพียงเท่านี้ ทั้งเครื่องปรับอากาศและตู้กดน้ำก็ทำงานได้อย่างเต็มที่ตลอดทั้งวัน ตู้กดสินค้าดับร้อน หลังจากนั่งพักจนหายร้อนพร้อมออกเดินทางต่อ ก็ไม่ต้องกลัวว่าระหว่างทางจะเจอความร้อนจนทนไม่ไหว เพราะสถานีพักร้อนของเรามีตู้กดสินค้าอัตโนมัติจำหน่ายสินค้าดับร้อนสำหรับพกพาระหว่างทาง ไม่ว่าจะเป็นพัด พัดลมจิ๋ว ยาดม ผ้าเย็น […]

รู้จัก Heat Wave คลื่นความร้อนตัวร้าย กับวิธีการรับมือและนโยบายป้องกันประชากรจากทั่วโลก

“เขาว่ากันว่า ประเทศไทยมีสามฤดูคือ ร้อน ร้อนมาก ร้อนที่สุด” นี่คือคำพูดประชดประชันที่สะท้อนถึงความร้อนระอุของอากาศประเทศไทยที่เราไม่อยากชินชา แต่อุณหภูมิที่สูงขึ้นทุกปีนั้นไม่ใช่เรื่องล้อเล่น เนื่องจากปัญหาอากาศร้อนสามารถส่งผลต่ออารมณ์และสภาพสังคม ซึ่งในปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกกำลังประสบปัญหาอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างผิดปกติ และหนึ่งในสาเหตุหลักคือ ‘Heat Wave’ หรือคลื่นความร้อน องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization : WMO) ได้กำหนดนิยามของคลื่นความร้อนว่า ภาวะที่อุณหภูมิสูงสุดประจำวันเกินค่าอุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ยประมาณ 5 องศาเซลเซียส ติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 5 วัน แน่นอนว่าในบรรดาประเทศที่เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าว ล้วนได้รับผลกระทบมากมายจากความร้อนที่สะสมในพื้นที่ โดยเฉพาะในยุโรปและเอเชียที่เกิดความผิดปกติของอุณหภูมิอากาศค่อนข้างมาก ทำให้ในแต่ละปีจะมีผู้คนเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับความร้อน (Heat-related Illness) เป็นจำนวนไม่น้อย เนื่องจากร่างกายไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างฉับพลันได้ ทำให้ตามมาด้วยค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าในช่วงที่เกิดคลื่นความร้อน ประชาชนในหลายพื้นที่มีอัตราการใช้พลังงานสูงขึ้น เพราะต้องใช้เครื่องปรับอากาศทำความเย็น จนส่งผลให้บางพื้นที่ประสบปัญหาขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า อีกทั้งปัญหาคลื่นความร้อนยังส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหายในปริมาณมาก รวมถึงผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปศุสัตว์อีกด้วย  จากที่กล่าวมาข้างต้น เราจะเห็นว่าปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อผู้คนทั้งในด้านสังคมและเศรษฐกิจ นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้หลายประเทศทั่วโลกจำเป็นต้องประกาศนโยบายและแนวทางการแก้ไขเพื่อรับมือกับคลื่นความร้อนที่รุนแรงขึ้นทุกปีๆ นโยบายมาตรการรับมือคลื่นความร้อนจากทั่วโลก คลื่นความร้อนสร้างปัญหาให้เมืองมากกว่าแค่ทางความรู้สึก เพราะมันส่งผลถึงทั้งสุขภาพและเศรษฐกิจ รวมไปถึงปัญหาด้านพลังงาน ทำให้หลายประเทศสร้างแผนรับมือคลื่นความร้อน ซึ่งประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานรัฐบาลต่างๆ ยกตัวอย่าง ประเทศฝรั่งเศส ที่มีการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทั้งการสร้างอาคารทนความร้อน โดยเฉพาะสถานที่สาธารณะ เช่น […]

Hard Light แรงงานกลางแดดจ้า

เดือนเมษายน-พฤษภาคม นับว่าเป็นช่วงเวลาที่มีสภาพอากาศร้อนที่สุด หลายๆ คนคงเบื่อหน่ายและเกลียดฤดูกาลนี้จนไม่อยากออกไปไหน ทว่าในสังคมเมืองที่ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานและการใช้ชีวิตมาอยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ ก็ยังมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการทำงานท่ามกลางแสงของดวงอาทิตย์ได้ และถึงแม้ร่างกายจะถูกแผดเผาจากแสงแดด แต่ก็ไม่อาจที่จะแผดเผาความหวังและความฝันของชีวิตได้ เนื่องในวันแรงงานที่เวียนมาบรรจบอีกครั้ง ผมในฐานะแรงงานคนหนึ่งเฝ้าฝันอยากเห็นภาพที่ทุกคนมีคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดีขึ้น หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

อากาศร้อนเปรี้ยง ระเบิดอารมณ์ปัง! รับมืออารมณ์ของเราในหน้าร้อนอย่างไร ไม่ให้ต้องเสียใจภายหลัง

อากาศที่ร้อนจนเราหงุดหงิด เดือดปุดๆ ดั่งลาวาที่พร้อมปะทุ กระตุ้นฮอร์โมนความเครียดให้ออกมา นำไปสู่อารมณ์ที่ไม่น่าพอใจต่างๆ เช่น รู้สึกรำคาญทุกอย่างไปหมด เหนื่อยล้าเหมือนไม่เคยได้พักอย่างเต็มที่ อ่อนไหวง่ายกว่าเดิม โกรธง่าย หมดความอดทน และโอกาสที่เพิ่มสูงขึ้นของความรุนแรงในความสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นทางจิตใจ วาจา หรือร่างกาย ในงานวิจัยที่ Psych Central ได้รวบรวมมาบอกว่า ‘Heat (and extreme rain) brings out the worst in people.’ นั่นคือ ไม่ใช่แค่อากาศที่ ‘ร้อน’ มากๆ เท่านั้นที่ทำให้ผู้คนแสดงด้านแย่ที่สุดของตัวเองออกมา แต่ในอากาศที่มีฝนตกอย่างหนักด้วยเหมือนกัน คีย์เวิร์ดสำคัญดูจะอยู่ที่ ‘ความสุดโต่ง’ หรือความ Extreme ของสภาพอากาศข้างนอก ที่จะดึงเอาอารมณ์ข้างในที่สุดโต่งหรือผิดแปลกออกไปจากอารมณ์ส่วนใหญ่ในช่วงเวลาปกติของเราออกมา คอลัมน์ Mental Help ประจำเดือนนี้ ผู้เขียนเลยขอเขียนบทความนี้เป็นคู่มือฉบับย่อ เพื่อเป็นฮาวทูช่วยดักจับอารมณ์ที่ร้อนระอุ และเปลี่ยนให้ไม่กลายเป็นพฤติกรรมที่เราอาจเสียใจในอนาคต หัดไม่มองอะไรเป็นขาว-ดำ เมื่อรำคาญคนรอบตัวไปเรื่อยอย่างไม่มีเหตุผล อากาศร้อนทำให้ความสามารถในการคัดกรองพฤติกรรมที่แสดงออกไปลดน้อยลงอย่างน่าตกใจ ซึ่งหนึ่งในอารมณ์ไม่พึงประสงค์คือ ความโกรธที่เกิดจากอคติเป็นทุนเดิม เช่น ฉันไม่ชอบคนนี้อยู่แล้ว […]

‘หัวร้อน เครียดง่าย ไม่อยากทำอะไรเลย’ อาจไม่ใช่นิสัย แต่เกิดขึ้นได้เพราะอากาศร้อน

เมื่อพูดถึงฤดูร้อน ภาพจำจากสื่อต่างๆ อาจเป็นภาพของช่วงเวลาแห่งการพักผ่อน ความสนุกสนาน ความสดใส หรือการใช้เวลาไปกับการนั่งรับลมริมทะเล แต่ในความเป็นจริงแล้ว เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน (จัด) อย่างเต็มตัว นอกจากสุขภาพกายที่เราต้องคอยระวังโรคลมแดดหรือฮีตสโตรกแล้ว สุขภาพจิตเองก็เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน หากรู้สึกว่าช่วงนี้หงุดหงิดง่าย ไม่มีอะไรได้ดั่งใจสักอย่าง ขี้โมโหจนเหมือนเป็นคนละคน หรือรู้สึกขี้เกียจจนไม่อยากทำอะไรทั้งสิ้น ก็อย่าเพิ่งตกใจกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป บางทีมันอาจไม่ได้เป็นที่นิสัยลึกๆ ของตัวเองโดยตรง เพราะพฤติกรรมเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้จากอุณหภูมิของอากาศที่เพิ่มสูงขึ้นทุกวัน อ่านแล้วดูเหมือนเป็นการโทษอากาศและธรรมชาติ แต่ Dr.Nick Obradovich นักวิทยาศาสตร์สังคมเชิงคำนวณจาก Max Planck Institute for Human Development อธิบายว่า ความร้อนนั้นเป็นอันตรายต่อทุกคนอยู่แล้ว และอุณหภูมิที่สูงขึ้นก็มีความเชื่อมโยงกับความผิดปกติทางสุขภาพจิต เช่น ความเหนื่อยล้า ความก้าวร้าว และการฆ่าตัวตาย ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะช่วงที่อุณหภูมิสูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังพบได้บ่อยในผู้คนที่อาศัยในบริเวณที่มีอากาศร้อนตลอดเวลา และถึงแม้ว่าจะยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดได้ว่าเป็นเพราะอะไร แต่นักวิทยาศาสตร์ต่างลงมติว่า ความร้อนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สุขภาพจิตแย่ลงแน่นอน อากาศยิ่งร้อน ผู้ป่วยสุขภาพจิตยิ่งเพิ่มขึ้น งานวิจัยของ Amruta Nori-Sarma นักวิทยาศาสตร์ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมจาก Boston University School of Public Health […]

FYI

เปลี่ยนห้องเป็นป่าด้วย ‘SCG Bi-ion’ ระบบไอออนที่ช่วยเพิ่มคุณภาพอากาศที่ดีภายในอาคาร

หนึ่งในปัญหากวนใจของคนเมืองหนีไม่พ้นเรื่องมลภาวะทางอากาศ ฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 หรือหมอกควันจากการเผาป่าที่พัดมาเยือนทุกปี จนพาลให้มนุษย์กรุงเทพฯ (รวมถึงปริมณฑล) รู้สึกว่าอากาศที่เราสูดเข้าปอดนั้นไม่สะอาดเอาเสียเลย แถมยังส่งผลต่อการดำรงชีวิตชนิดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ด้วย ครั้นจะมองหาอากาศดีๆ ก็ต้องหนีออกไปให้ไกลจากตัวเมือง เดินเข้าป่า ลุยภูเขา ออกไปทะเล ตามหาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ทำให้สูดลมหายใจได้อย่างสดชื่น แต่เคยสงสัยกันไหมว่าทำไมตามธรรมชาติเหล่านี้ถึงทำให้เรารู้สึกเฟรช หายใจได้อย่างปลอดภัยไร้กังวล “ยิ่งปริมาณไอออนในอากาศสูง คุณภาพอากาศบริเวณนั้นยิ่งดี” – ไอออนคืออะไร แล้วบริเวณที่ว่านี้มักจะอยู่ตรงไหนกันนะ? ไอออน (Ion) คืออนุภาคอิสระที่มีทั้งประจุบวกและลบ ซึ่งตามปกติแล้ว ธรรมชาติจะสร้างไอออนขึ้นมาหมุนเวียนอยู่ในอากาศรอบตัวเราอย่างสมดุล โดยเฉพาะจากปรากฏการณ์ที่เกิดความเคลื่อนไหวในธรรมชาติอย่างฟ้าผ่าตอนฝนตก คลื่นที่เข้ามากระทบกับชายหาด น้ำไหลตามลำธาร หรือน้ำตกที่ลงมากระทบกับหินเบื้องล่าง ล้วนแต่ทำให้เกิดประจุไอออนในอากาศ ทว่าพื้นที่ที่เรียกได้ว่าเป็นบ่อเกิดของเหล่าประจุไอออนเลยคือ ‘ป่าไม้’ เพราะขณะที่ต้นไม้ผลิตออกซิเจน ก็มีสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาด้วย นั่นก็คือไอออนทั้งประจุลบและบวก ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการดังกล่าว ‘อาบป่า’ ให้ร่มไม้โอบกอดเพื่อบำบัดร่างกายที่เหนื่อยล้า ยิ่งในผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ ถือเป็นแหล่งที่มีประจุไอออนมากกว่าใครเพื่อน ทำให้เวลาที่เรามีโอกาสได้ทำกิจกรรมต่างๆ ภายในป่า จึงรู้สึกว่าสูดลมหายใจได้เต็มปอดกว่าที่อื่น จนกระทั่งพักหลังมานี้เกิดเทรนด์ ‘อาบป่า’ (Forest Bathing) หรือการบำบัดร่างกายด้วยธรรมชาติ ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจาก ‘Shinrin yoku’ ที่แปลตรงตัวว่าการอาบป่าในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าการเข้าไปให้ป่าไม้โอบกอดสามารถช่วยฟื้นฟูร่างกายและลดความเครียดได้จริง […]

กรุงเทพฯ ติด 5 อันดับโลก (จากสุดท้าย) เมืองสุขภาพผิวดี

ทุกคนเคยเป็นไหม เวลาเจอแดดเปรี้ยงแล้วรู้สึกแสบผิว หรือมลพิษฝุ่นควันทำให้หน้าหมองคล้ำ (ปาดสำลีเช็ดหน้าเป็นสีเทา) แถมสิวยังบุกซ้ำจนผิวทรุดโทรม เหล่านี้เป็นเรื่องปกติของสภาพแวดล้อมเมืองที่มีกันทุกที่หรือเปล่านะ ความคิดดังกล่าวต้องหยุดชะงัก เมื่อเจอผลวิจัยสภาพแวดล้อมเมืองส่งผลต่อสุขภาพผิวของ Covalo บริษัทผลิตภัณฑ์ความงามในประเทศสวิตเซอร์แลนด์เผยแพร่ปี 2020 จัดอันดับกรุงเทพฯ เป็นเมืองที่เป็นมิตรต่อสุขภาพผิวอันดับที่ 76 จากทั้งหมด 80 ประเทศทั่วโลก โดยเมืองฟีนิกซ์ ประเทศสหรัฐอเมริกาได้อันดับที่ 1 และเมืองมุมไบ ประเทศอินเดียได้อันดับสุดท้าย เกณฑ์การประเมินมี 9 ข้อหลักๆ คือเรื่องสภาพอากาศ การจราจร และความเครียดของคนเมือง ซึ่งแต่ละข้อเต็ม 10 คะแนนไล่เรียงตั้งแต่อุณหภูมิอากาศเฉลี่ยทั้งปี 0 คะแนน จำนวนวันที่มีแสงแดดส่องถึงเฉลี่ย 3 คะแนน ดัชนีรังสี UV 0.7 คะแนน มลพิษทางอากาศ 9 คะแนน ความเร็วลมเฉลี่ย 7 คะแนน ความชื้นอากาศเฉลี่ย/ปี 2 คะแนน เวลาการทำงาน/คน 5 คะแนน ความแออัดของการจราจร 3 คะแนน […]

ชั้นบรรยากาศบาง โอโซนลด ต้นเหตุอากาศร้อนจนปาดเหงื่อ

ชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ แหล่งโอโซนที่ดูดซับแสงอาทิตย์เยอะที่สุดกำลังบางลง เพราะก๊าซเรือนกระจก ส่งผลให้อากาศร้อนจนปาดเหงื่อ

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.