โลกป่วยเราต้องเปลี่ยน เทศกาลหนังสั้นวิกฤตโลกร้อนทั่วเอเชีย รับชมฟรีทางออนไลน์ 2 – 10 เม.ย. 65

เมษายนนี้ เราขอชวนทุกคนที่สนใจและใส่ใจประเด็นสิ่งแวดล้อมรับชม 25 หนังสั้นสะท้อนวิกฤตโลกร้อนหลากมิติจากทั่วทวีปเอเชียที่ ‘เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน ครั้งที่ 2’ หรือ ‘CCCL Film Festival 2022’ หนังสั้นทั้ง 25 เรื่องที่จะฉายในเทศกาลหนังสั้นรูปแบบออนไลน์ปีนี้คือผลงานที่เคยฉายในเทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยนที่สมาคมฝรั่งเศสในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยแบ่งออกเป็นหนังสั้นจากประเทศไทย 18 เรื่อง และหนังสั้นจากประเทศในภูมิภาคเอเชีย 7 เรื่อง  หนังสั้นเหล่านี้เล่าเรื่องราวครอบคลุมประเด็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่วิกฤตมลพิษพลาสติก ฝุ่น PM 2.5 ไปจนถึงการรักษาดินตามความเชื่อและประเพณีท้องถิ่น มากไปกว่านั้น ปัญหาวิกฤตโลกร้อนยังถูกถ่ายทอดในหลายรูปแบบ เช่น แอนิเมชัน สารคดี และฟิกชัน ผู้ชมจะได้ซึมซับและเข้าใจปัญหาทางธรรมชาติผ่านมุมมองที่หลากหลาย ตัวอย่างหนังสั้นที่น่าสนใจ ได้แก่ เด-ปอ-ทู่ (Deportu)ประเทศ : ไทยผู้กำกับ : ณัฐธัญ กรุงศรีเรื่องย่อ : เซเก่ทู ชายหนุ่มชนเผ่าปกาเกอะญอ ลาออกจากงานในเมืองหลวงเพื่อกลับมาปกป้องป่าเดปอผืนสุดท้าย เมื่อรู้ข่าวว่าจะมีนายทุนมากว้านซื้อที่เพื่อทำรีสอร์ตและแหล่งท่องเที่ยว เขาจึงต้องหาหนทางเพื่อรักษาผืนป่าแห่งนี้ไว้ ผีตาแฮก สารพันวัฒนธรรมข้าวทุ่งกุลาร้องไห้ (Journey of Wisdom)ประเทศ : […]

ชม 7 หนังวัฒนธรรมอาหารญี่ปุ่นและเอเชีย เทศกาล CROSSCUT ASIA Delicious! ดูฟรีออนไลน์ วันนี้ – 3 ก.พ. 65

ใครอยากดูภาพยนตร์ ‘รสดี’ บ้าง? สำหรับปี 2022 เจแปนฟาวน์เดชั่นได้จัดงานเทศกาลภาพยนตร์ออนไลน์ ‘CROSSCUT ASIA Delicious!’ อีกครั้ง ในปีนี้เทศกาลพร้อมเสิร์ฟ 7 ภาพยนตร์ที่เล่าถึงวัฒนธรรมอาหารจากญี่ปุ่นและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้ทุกคนได้ลิ้มลองและสัมผัสวัฒนธรรมอาหารของแต่ละประเทศอย่างลึกซึ้ง ภาพยนตร์ 7 เรื่องแสนเลิศรสที่ทางเจแปนฟาวน์เดชั่นคัดสรรมา ได้แก่ 1) Aruna & Her Palate (2018) เรื่องราวเกี่ยวกับ ‘อรุณา’ นักระบาดวิทยาที่ถูกส่งตัวไปตรวจสอบโรคไข้หวัดนกที่กำลังระบาด เธอจึงชวนเพื่อนอีกสามคนไปด้วย ทุกคนจึงได้ใช้เวลาและทานอาหารต่างๆ ร่วมกันตลอดการเดินทาง ผู้ชมจะได้เห็นความหลากหลายของอาหารอินโดนีเซีย พร้อมๆ กับฟังดนตรีแจ๊สรื่นหูผ่านภาพยนตร์เรื่องนี้  2) Balut Country (2015) เรื่องราวเกี่ยวกับ ‘จุน’ ชายหนุ่มที่ได้รับฟาร์มเป็ดจากพ่อผู้ล่วงลับ เขาต้องเผชิญกับการตัดสินใจที่จะส่งผลต่อชีวิตของผู้คนนับร้อย เพราะเขาต้องเลือกระหว่างการขายฟาร์มเพื่อรองรับอนาคตของตัวเอง และการรักษาฟาร์มไว้เพื่อให้ผู้ดูแลฟาร์มทั้งหลายยังมีงานทำและดำเนินชีวิตต่อไปได้ 3) Kampai! Sake Sisters (2019) สารคดีที่เล่าเรื่องของผู้หญิงสามคนที่ก้าวขึ้นมาเป็นแนวหน้าของอุตสาหกรรมหมักสาเก ทั้งผู้หญิงที่ได้รับมรดกตกทอดเป็นโรงหมักอายุกว่าร้อยปี จนกลายเป็นหัวหน้าโรงหมัก อีกหนึ่งคนคือที่ปรึกษาด้านสาเกจากนิวซีแลนด์ที่ทำงานสนับสนุนให้สาเกแพร่หลายไปทั่วโลก ส่วนคนสุดท้ายคือบริกรสาเก ผู้เป็นนักจับคู่เมนูอาหารเพื่อกินคู่กับสาเก ผู้หญิงทั้งสามคนทำให้เห็นว่าโลกของสาเกพัฒนาไปไกลและเปิดกว้างมากขึ้น […]

เข้าใจเรื่องสิ่งแวดล้อมฟรีๆ ผ่าน WaterBear เว็บสตรีมมิงฉายหนัง-สารคดีสิ่งแวดล้อม พร้อมชี้ช่องทางสนับสนุนแคมเปญดูแลโลก

ถ้าอยากเข้าใจปัญหาและวิกฤติสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นที่ไหน เราจะพาทุกคนมารู้จักกับ WaterBear แพลตฟอร์มออนไลน์ที่รวบรวมสื่อและเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสิ่งแวดล้อมเอาไว้อย่างรอบด้าน WaterBear คือบริการสตรีมมิงอินเตอร์แอ็กทีฟน้องใหม่ที่รวบรวมภาพยนตร์ สารคดี และคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับโลกใบนี้ ตั้งแต่เรื่องภาวะโลกร้อน สิ่งแวดล้อม สิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ ความยั่งยืน วัฒนธรรม ไปจนถึงชุมชนต่างๆ  เนื้อหาที่อยู่บน WaterBear ถูกแบ่งเป็นหมวดหมู่ต่างๆ ได้แก่ ภาพยนตร์และสารคดีที่ได้รับรางวัล หนังนอกกระแส หนังสั้น และ ‘WaterBear Originals’ ซีรีส์ที่ทาง WaterBear ลงทุนและผลิตเอง ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจาก ‘แผนการพัฒนาโลกเพื่อความยั่งยืน’ (SDGs) ของสหประชาชาติ ที่ให้ความสำคัญเรื่อง ‘ความหลากหลายทางชีวภาพ’ ‘ภูมิอากาศ’ ‘วัฏจักร’ และ ‘ชุมชน’  ผู้ชมสามารถเลือกรูปแบบและประเภทของเนื้อหาได้ตามความสนใจ ที่สำคัญ หนังและสารคดีทั้งหมดบน WaterBear กว่า 800 เรื่องยังเปิดให้รับชมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ หลังจากดูภาพยนตร์จบ ผู้ชมสามารถกดแถบ ‘Connect’ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นนั้นๆ ได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น หรือจะกดแชร์ภาพยนตร์และสารคดีไปยังโซเชียลมีเดียของตัวเอง เพื่อให้คนรอบตัวตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ก็ได้เช่นกัน WaterBear […]

แฟนหนังสารคดีห้ามพลาด เทศกาลสารคดีไต้หวัน ปี 2021

สำหรับคนที่ตกหลุมรักหนังไต้หวัน ปีนี้เทศกาลภาพยนตร์สารคดีไต้หวัน (Taiwan Documentary Film Festival in Thailand) กลับมาตามนัดแบบส่งท้ายปี 2021 โดยปีนี้เทศกาลจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 แล้ว และมีหนังยาวฉายจำนวนถึง 10 เรื่อง รวมถึงหนังสั้นจำนวน 3 โปรแกรม แถมปีนี้ยังจัดเทศกาลพร้อมๆ กันในสามจังหวัดทั้งกรุงเทพฯ หาดใหญ่ (สงขลา) และพะเยา โปรแกรมของเทศกาลในกรุงเทพฯ มีตั้งแต่วันที่ 15 – 19 ธันวาคม ที่ House Samyan และ Doc Club & Pub. ส่วนอีกสองจังหวัดมีตั้งแต่วันที่ 17 – 19 ธันวาคม ที่ Lorem Ipsum Space (หาดใหญ่) และเมืองทองรามา (พะเยา) ส่วนหนังไฮไลต์ประจำปีนี้ก็คือหนังเปิดเทศกาลในวันพุธที่ 15 ธันวาคม เรื่อง Flowers […]

ชวนฟังเสียงวัยรุ่นในดินแดง และชวนสมทบทุนให้คนทำสารคดีกับทีมแพทย์อาสา

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วหลายคนคงได้ชม Prologue สารคดีรสชาติจัดจ้านเรื่อง Sound of ‘Din’ Daeng โปรเจกต์ล่าสุดที่กำลังสร้างและระดมทุนของ ‘เบิ้ล-นนทวัฒน์ นำเบญจพล’ ผู้กำกับสารคดีหนุ่มชาวไทยที่เคยฝากผลงานประเด็นเชิงสังคมหนักๆ ไว้ในผลงานอย่าง ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง, สายน้ำติดเชื้อ, ดินไร้แดน และอื่นๆ ถ้าใครยังไม่ได้ดู Urban Creature แนะนำเลยว่าห้ามพลาด ท่ามกลางการชุมนุมทางการเมืองที่มีอยู่หลากหลายกลุ่มในปัจจุบัน นนทวัฒน์ ตัดสินใจติดตามกลุ่มวัยรุ่นที่มาร่วมชุมนุมในย่านดินแดง ดินแดนที่ไร้แกนนำ ไร้การปราศรัย และไร้กิจกรรมการเคลื่อนไหวที่ชัดเจน แต่วัยรุ่นพลังล้นเหล่านี้ต่างพร้อมเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่รัฐแบบไม่หวั่นเกรงกระสุนยาง แก๊สน้ำตา และพร้อมท้าทายความตายอย่างคนหลังชนฝา ซึ่งหลายคนรู้จักพวกเขาในชื่อ ‘ทะลุแก๊ซ (Thalugaz)’ “ผมโตมากับยุคที่มันเหมือนสลัมอะพี่ จุดหนึ่งเราไม่ค่อยมีเงินไปโรงเรียน ก็เลยไม่ได้ไป”  “ผมอยากให้ลูกผมไปอยู่ในที่ที่ดีกว่าเรา ถ้ามีลูก ผมไม่อยากให้เขาเจอแบบเรา อยากให้ลูกมีการงานที่ดี เรียนสูงๆ”  “เราแค่ออกมาส่งเสียงร้องเรียน ความจริงเราไม่ได้ตั้งใจจะมาต่อยตี แต่เขาเป็นฝ่ายทำเราก่อน”  จากบทสนทนาที่นนทวัฒน์พูดคุยและบันทึก สะท้อนให้เห็นว่าหลายคนมองพวกเขาเป็นเพียงกลุ่มวัยรุ่นเกเรขาลุยที่พร้อมบวกกับ คฝ. เพื่อสนองความสะใจเสียมากกว่าจะมีประเด็นทางการเมืองที่หนักแน่นจริงจัง แต่แท้จริงแล้วพวกคุณคิดว่าพวกเขาเป็นคนคิดตื้นๆ อย่างนั้นจริงๆ น่ะเหรอ? เมื่อทุกเสียงของคนในสังคมสำคัญ เสียงสะท้อนของวัยรุ่นที่มารวมตัวบริเวณแยกดินแดงจึงต้องได้รับการฟังไม่น้อยไปกว่าใครหน้าไหน Sound of ‘Din’ […]

พุทธศาสนา ศรัทธา และนิพพาน? ใน Doc Film เรื่องธรรมกายที่เกือบไม่ได้ฉาย ‘เอหิปัสสิโก’

ครั้งแรกที่เห็นโปสเตอร์ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง ‘Come and See เอหิปัสสิโก’ ที่เป็นภาพเสี้ยวหนึ่งของวัดธรรมกายถูกบดบังด้วยเงาคนกำลังยกมือไหว้จรดหว่างคิ้ว และความหมายของคำว่า ‘เอหิปัสสิโก’ ในทางพุทธศาสนาที่หมายความว่า “ท่านจงมาดูธรรม” ชวนฉันอยากรู้อยากเห็นถึงสิ่งที่เกิดขึ้นภายในวัดธรรมกาย และอยากพิสูจน์ผ่านภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ ในฐานะคนนอกที่รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับวัดธรรมกาย จากทั้งข่าวจริงข่าวปลอมที่เผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต ซึ่งเผยความยิ่งใหญ่ ‘เซอร์เรียล’ จนเกิดคำถามมากมายขึ้นในหัว

พก : ร้านหนังสือและโรงหนังเคลื่อนที่ของคู่รักที่พกหนังสือและหนังดีไปหาคนดูได้ทุกที่

ภาพทิวดอย ทุ่งนา และฟ้าใส ค่อยๆ เคลื่อนผ่านไปบนกระจกของรถยนต์ที่กำลังแล่นไปตามทางลดเลี้ยวเลียบสันดอยของจังหวัดเชียงราย ที่นั่งด้านหลังถูกปรับให้กลายเป็นพื้นที่บรรทุกหนังสือจำนวนหลายเล่ม และเครื่องฉายภาพยนตร์คุณภาพเป็นเพื่อนร่วมเดินทาง เป้าหมายของการเดินทางครั้งนี้คือการพาหนังสือและหนังคุณภาพดีไปนำเสนอให้กับผู้คนในอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย “พวกเราเชื่อว่าหนังที่ดี หนังสือที่ดี ทำงานกับหัวใจของผู้คนให้ไหวไปกับเนื้อหาที่ได้รับ และสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีให้เกิดขึ้นได้ แต่จะทำยังไงให้หนังที่ดีและหนังสือที่ดีไปถึงที่ผู้คนได้มากที่สุด วิธีการที่ดีที่สุดที่พวกเราคิดก็คือ การพกหนังที่ดีและหนังสือที่ดีไปหาผู้คน เราสองคนจึงเริ่มต้นทำ ‘พก’ ขึ้นมา” พก คือชื่อร้านหนังสือและโรงหนังเคลื่อนที่ที่จะพกหนังสือและหนังคุณภาพพาไปสู่ผู้คนในวงกว้างทั่วทุกพื้นที่เท่าที่จะเป็นไปได้ของ ‘เป๊ก-ธวัชชัย ดวงนภา’ และ ‘ดา-สุดารัตน์ สาโรจน์จิตติ‘ คู่รักนักทำภาพยนตร์สารคดี ที่ตัดสินใจย้ายชีวิตจากกรุงเทพฯ มาอยู่ที่จังหวัดเชียงราย และเริ่มต้นทำโปรเจกต์ ‘พก’ ขึ้นมา รถยนต์เดินทางมาถึงที่หมาย ณ สตรอเบอรี่สวนหลังบ้าน (Backyard Strawberry) ร้านคาเฟ่เล็กๆ ที่ตั้งอยู่หน้าไร่สตรอว์เบอร์รีและผักออร์แกนิกที่ปลูกเพื่อนำมาเสิร์ฟเป็นเมนูภายในร้าน เป๊กและดาค่อยๆ ช่วยกันนำของที่พวกเขาพกมาลงจากรถ นำผ้าดำมาขึงรอบบริเวณใต้ถุนร้าน นำเก้าอี้มาวาง เอาจอมากาง และตั้งเครื่องฉาย ดัดแปลงพื้นที่ใต้ถุนให้กลายเป็นโรงหนังใต้ถุนเธียร์เตอร์ที่พร้อมฉายภาพยนตร์คุณภาพดีให้ผู้คนที่นี่ หลังจากนั้นพวกเขาก็ขนเอากระเป๋าลงจากรถและนำมาวางเปิดบนโต๊ะ ในกระเป๋าเต็มไปด้วยหนังสือจำนวนมากที่พวกเขาคัดสรรกันมาอย่างดี เท่านี้ ‘พก’ ก็พร้อมแล้วที่จะให้ผู้คนได้เข้ามาชมว่าพวกเขาได้พกพาเรื่องราวอะไรมาบ้าง ขอเชิญก้าวเท้าตามเรามา และไปดูกันดีกว่าว่าเป๊กและดาได้พกเรื่องราวอะไรมากับพวกเขาบ้าง พบปัญหาจึงต้อง ‘พก’ เป๊กและดาประกอบอาชีพนักทำภาพยนตร์สารคดี นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับปัญหาที่เป็นประเด็นในสังคมมานานนับสิบปี การงานเช่นนี้ได้พาพวกเขาได้เดินทางไปในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ พบเจอกับผู้คนและเรื่องราวน่าสนใจและน่าอดสูจำนวนมาก “การทำงานสารคดีทำให้เราได้เดินทางไปในหลายที่ เจอผู้คนมากมาย นั่นทำให้เราเห็นทั้งปัญหาในสังคม […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.