ชายผู้ลาออกมาประดิษฐ์ ‘Lightsaber’ จากภาพยนตร์ Star Wars จนกลายเป็นอาชีพ

A (not) long time agoin a galaxy (not) far,far away… มีหนุ่มไทยคนหนึ่งตัดสินใจลาออกจากงานประจำของตนเอง เพื่อหันมาทุ่มเวลาให้การประดิษฐ์ไลต์เซเบอร์จากภาพยนตร์สตาร์วอร์สเป็นอาชีพ ค่อยๆ เรียนรู้ พัฒนาวงจรภายในไลต์เซเบอร์ให้มีลูกเล่นน่าสนใจมากขึ้นจากเดิม ตกแต่งให้สวยงามยิ่งขึ้น กลายเป็นที่ต้องการของแฟนๆ สตาร์วอร์ส และนักสะสมจำนวนมากจากทั่วโลก ไลต์เซเบอร์ที่เขาขายมีราคาตั้งแต่ 3 – 4 หมื่นบาท และปัจจุบันมีคิวออเดอร์ยาวไปจนถึงปีหน้า อะไรทำให้ไลต์เซเบอร์ของเขามีมูลค่า ได้รับความสนใจจากแฟนๆ สตาร์วอร์สทั่วโลกจนสามารถกลายเป็นอาชีพได้ วันนี้ ‘เย่-ธนวัฒน์ ใจกล้า’ ชายผู้มีอาชีพเป็นนักประดิษฐ์ไลต์เซเบอร์ในนาม LIGHTSABER Thailand จะมาถอดสิ่งที่ทำทีละชิ้นส่วน เล่าเรื่องราวการประกอบเป็นไลต์เซเบอร์ให้ฟัง เริ่มต้นจากความชอบ… ชีวิตของเย่เริ่มต้นมาไม่ต่างจากแฟนคลับสตาร์วอร์สหลายคน ที่มีโอกาสได้รับชมภาพยนตร์แล้วเกิดความหลงใหลเรื่องราวสงครามจากกาแล็กซีอันไกลโพ้นเรื่องนี้ “พ่อเคยเล่าให้ฟังว่า ผมชอบดูสตาร์วอร์สตั้งแต่เด็ก และชอบไลต์เซเบอร์มาก เวลากลับไปต่างจังหวัดผมจะชอบหยิบไม้มาเหลาทำเป็นไลต์เซเบอร์ฟันเล่นกับเพื่อน ใช้ปากทำเสียงเอฟเฟกต์แบบในหนังกันเอง สนุกกันตามประสาเด็ก” ในเวลาต่อมา จากการเหลาไม้ทำเป็นไลต์เซเบอร์ เย่ก็ค่อยๆ เริ่มต้นขยับมาซื้อเครื่องมือกลึงเหล็ก ทำกระบี่แสงให้ใกล้เคียงกับในหนังมากขึ้นทุกที “ช่วงที่ผมได้ทำงานประจำในโปรดักชันเฮาส์ พอหาตังค์เองได้ เราก็เริ่มซื้อของจากสตาร์วอร์สที่ชื่นชอบมาสะสม ซึ่งบางชิ้นไม่มีขายในไทย เราก็ฝากเพื่อนซื้อไลต์เซเบอร์จากต่างประเทศส่งมาให้ […]

Bangkok Women’s Film Festival โปรเจกต์ออกแบบที่อยากให้ผู้หญิงมีที่ทางในวงการภาพยนตร์ไทย

“ทำไมไม่ค่อยได้เห็นหนังของผู้กำกับหญิงไทยเลย” นี่คือคำถามตั้งต้นที่ทำให้ ‘เจ๋-กัลย์จรีย์ เงินละออ’ เริ่มต้นทำโปรเจกต์ส่วนตัวออกแบบ Identity Design เทศกาล Bangkok Women’s Film Festival (BKKWFF) ในไทย ด้วยความที่ทำงานเป็นกราฟิกดีไซเนอร์ มีความชื่นชอบภาพยนตร์ และอินเรื่องเฟมินิสต์ จึงทำให้เธอพยายามหาข้อมูลโดยการรีเสิร์ชตามแหล่งข้อมูลต่างๆ รวมถึงพูดคุยกับเพื่อนที่เรียนกับทำงานด้านนี้ เพื่อยืนยันว่าเธอไม่ได้คิดไปเองคนเดียว ก่อนจะใช้ความถนัดทำงานสื่อสารเรื่องนี้ออกมา แน่นอนใครๆ ต่างรู้ว่าภาพยนตร์ไทยเป็นอุตสาหกรรมที่รัฐและคนไทยส่วนใหญ่มักมองข้าม ทว่าในแวดวงที่ถูกหมางเมิน ไม่ให้ความสำคัญเท่าที่ควร ยังมีความกดทับอีกชั้นด้วยอคติทางเพศในวงการนี้ เห็นได้จากสัดส่วนอันน้อยนิดของผู้หญิงในงานภาพยนตร์ตั้งแต่ตำแหน่งเล็กจนถึงผู้บริหารใหญ่โต ยังไม่นับรวมความยากลำบาก และประสบการณ์การทำงานของคนทำงานผู้หญิงที่คนทั่วไปอาจไม่เคยรู้ในสายอาชีพที่ถูกครอบครองโดยผู้ชายอีก ด้วยเหตุนี้ เจ๋จึงอยากเป็นเสียงหนึ่งของการผลักดันประเด็นนี้ด้วยการสนับสนุนให้ประเทศไทยมีเทศกาลภาพยนตร์ของผู้กำกับหญิง เพื่อเป็นการสร้างพื้นที่และการันตีว่าผู้กำกับหญิงไทยมีความสามารถ ทำหนังได้หลากหลายแนว ควรได้รับการสนับสนุน แวดวงหนังไทยไม่มีผู้กำกับหญิง หรือไม่ได้รับการสนับสนุน ความสงสัยว่าทำไมแวดวงหนังไทยถึงไม่ค่อยมีผู้กำกับหญิงไม่ใช่คำถามที่เพิ่งเกิดขึ้น เจ๋คิดเรื่องนี้มาตลอดแต่ไม่เคยถึงขั้นค้นหาข้อมูลลงลึกจริงจัง จนกระทั่งไม่กี่ปีมานี้เธอสังเกตเห็นเวฟของหนังโดยผู้กำกับหญิงในหลายประเทศ ที่ค่อยๆ พัฒนาเติบโตมาเรื่อยๆ จนถึงปีนี้ยิ่งชัดเจนขึ้น ซึ่งตามมาด้วยเทศกาล Women’s Film Festival ที่จัดขึ้นในหลายเมืองทั่วโลก เธอเลยลองรีเสิร์ชดูว่าประเทศไทยเคยมีงานลักษณะนี้บ้างไหม “จริงๆ ที่ไทยเคยมีเทศกาลประมาณนี้ชื่อ Fem Film Festival จัดโดย Bangkok […]

ฟังเสียงของคนทำหนังรุ่นใหม่ l Sound Check

“สายอาชีพอื่นเขามีหลายลู่ทาง แต่ในสายงานภาพยนตร์ ต้องให้เราไปเป็นฟรีแลนซ์อย่างเดียวถึงจะมีอนาคต?” นี่คือเสียงสะท้อนจากกลุ่มคนทำหนังรุ่นใหม่ที่ต้องเจอกับปัญหาที่คนดูอาจคิดไม่ถึง ไม่ว่าจะเป็นการทำงานด้วยระบบอาวุโส ค่าตัวที่น้อยน่าใจหาย หรือแม้แต่นายทุนที่อยากได้หนังระดับล้านแต่จ่ายระดับร้อย และไม่ง่ายเลยที่พวกเขาจะมีอาชีพและได้ทำงานตามแพสชันของตัวเองตั้งแต่ก้าวออกจากรั้วมหา’ลัย หากไม่มีคอนเนกชันหรือคนรู้จักคอยหยิบยื่นโอกาสให้ เบื้องหน้าวงการหนังอาจเต็มไปด้วยความสนุกและดูฮาๆ แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่าคนเบื้องหลังต่างโอดครวญร้องฮือๆ กันอยู่ไม่น้อย Soundcheck ครั้งนี้จึงอยากพาทุกคนเข้าใจเส้นทางอาชีพในวงการหนังไทยมากขึ้น ผ่านบทสัมภาษณ์ของกลุ่มคนทำหนังรุ่นใหม่ อุปสรรคของเด็กฟิล์มคืออะไร โอกาสในอุตสาหกรรมนี้มีมากน้อยขนาดไหน และเรื่องหลังกล้องแบบไหนที่อยากให้คนดูเข้าใจ ไปฟังคำบอกเล่าของพวกเขาพร้อมกัน .ส่วนใครที่อยากดูผลงานของคนทำหนังรุ่นใหม่ เราขอชวนไปดู ‘Voices of the New Gen 2022’ หรือ ‘เสียง (ไม่) เงียบ 2022’ ภาพยนตร์สั้น 4 เรื่องที่สะท้อนปัญหาการเมืองและสังคมผ่านมุมมองของคนรุ่นใหม่ กำหนดฉายวันที่ 25 สิงหาคมนี้ ในโรงภาพยนตร์ รับชมตัวอย่างได้ที่ https://bit.ly/3R7gdS4

อ่านสยิวกับงานหนังสืออีโรติกครั้งแรก ใน Bangkok Erotica Book Fest 2022 วันที่ 26 – 28 ส.ค. 65 ที่ Doc Club & Pub.

เดือนนี้ยังคงมีอีเวนต์งานหนังสือให้เหล่านักอ่านได้เลือกหนังสือกลับไปเก็บสะสมที่บ้านกันอย่างไม่หยุดไม่หย่อน โดยรอบนี้จะเป็นครั้งแรกของเทศกาลหนังสืออีโรติกในประเทศไทยกับ ‘Bangkok Erotica Book Fest 2022’ (BEB Fest) ที่ชวนทุกคนมาปลดปล่อยตัวตนทางเพศและจินตนาการอันเย้ายวนผ่านหนังสืออีโรติกกับกิจกรรมต่างๆ ทั้งฉายภาพยนตร์และนิทรรศการศิลปะ กิจกรรมหลักภายในงานคือ ‘Erotica Book Fest’ การจำหน่ายหนังสืออีโรติกทั้งของไทยและต่างประเทศที่ทาง Books & Belongings และ Kledthai ได้คัดสรรมาให้เหล่านักอ่านได้ช้็อปกันกว่าร้อยรายการในราคาสุดพิเศษ หรือถ้าใครชอบความตื่นเต้นเร้าใจก็มี The Mysterious Bag ถุงสุ่มพิศวาสที่จะสุ่มหนังสือสุดเร่าร้อนให้ได้ลุ้นกันว่าจะได้หนังสือเล่มไหนไปครอบครอง นอกจากการจำหน่ายหนังสือเสียวๆ แล้ว งานนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่ชวนให้วาบหวามใจอีกมากมาย ได้แก่  ‘Literature & Talks’ เสวนาวรรณกรรมอีโรติกจากเหล่านักเขียนและนักแปล ‘Films & Talks’ ชวนดูหนังอีโรติก (The Piano Teacher, The Dreamers และ Erotica Short Films by Wildtype) และพูดคุยเจาะลึกทุกมิติของหนัง ‘Erotica Workshops’ เรียนรู้วิธีการเขียนและการบรรยายฉากอัศจรรย์ […]

What Did You Eat Yesterday? หนังฟีลกู้ดไม่ขายจิ้น แต่ถ่ายทอดชีวิตจริงของเกย์ญี่ปุ่นที่ดูแล้วยิ้ม + หิว

What Did You Eat Yesterday? หรือ เมื่อวานคุณทานอะไร น่าจะเข้าไปอยู่ใน Watchlist ของใครหลายคนตอนที่สตรีมมิงเจ้าใหญ่นำมาเผยแพร่ให้คนไทยดู พร้อมกับเสียงลือเสียงเล่าอ้างจากนักรีวิวที่ดูแล้วว่า นี่คือซีรีส์ญี่ปุ่นแนว Slice of Life ที่ดูแล้วทั้งฟินและหิวไปพร้อมกัน  ที่ว่าฟิน เพราะมันถ่ายทอดเรื่องราวของคู่รักเกย์วัยกลางคนอย่างสมจริงและแสนจะอบอุ่นใจ โดยไม่ได้เน้นขายความจิ้น ความโป๊ หรือการแสดงความรักด้วยการแตะเนื้อต้องตัว กอดจูบกัน เหมือนซีรีส์ชายรักชายส่วนหนึ่งในสื่อเมนสตรีมจะเป็น อันที่จริง ถ้าจะมีอะไรในเรื่องนี้ที่นับเป็น ‘การแสดงความรัก’ ได้ มันคงจะเป็นบทสนทนาเรียบง่ายที่ตัวละครถามไถ่ความเป็นไปของกันและกันทุกวัน รวมไปถึงการทำอาหารอันละเอียดลออ ใส่ใจของ ‘ชิโร่’ ที่สอดแทรกเป็นกิมมิกในทุกๆ ตอน นำมาซึ่งความหิวของทั้ง ‘เคนจิ’ และคนดูอย่างเราและเพราะติดใจความฟิน/ความหิวของมันนี่แหละ เราจึงไม่พลาดจะเดินเข้าโรงหนังทันที เมื่อ What Did You Eat Yesterday? เวอร์ชันภาพยนตร์เข้าฉาย ย้อนกลับไปก่อนที่เรื่องนี้จะกลายเป็นซีรีส์ฮิต What Did You Eat Yesterday? เคยเป็นมังงะที่มียอดพิมพ์กว่า 5 ล้านเล่มในญี่ปุ่น ในความนิยมอันล้นหลาม Fumi […]

ตั๋วหนังราคาแพง เพราะต้นทุนสูงหรือถูกผูกขาด?

หลังจากกรุงเทพมหานครเริ่มจัดเทศกาล ‘กรุงเทพฯ กลางแปลง’ ตามสถานที่สาธารณะทั่วเมือง ปรากฏว่าเสียงตอบรับดีเกินคาด ประชาชนจำนวนมากให้ความสนใจ ตบเท้าเข้าชมภาพยนตร์กลางแจ้งฟรีกันอย่างคึกคัก ต่อให้ฝนตกหนักแค่ไหนก็ไม่หวั่น กระแสจากการฉายหนังกลางแปลงครั้งนี้จึงอาจเป็นหนึ่งตัวชี้วัดที่ทำให้เห็นว่า แท้จริงแล้วคนไทยนิยมและชื่นชอบการดูภาพยนตร์กันมากเหมือนกัน แม้ว่าคนไทยจำนวนมากจะชอบการดูหนังบนจอขนาดยักษ์ แต่มันไม่ได้หมายความว่า พวกเขาจะยอมจ่ายเงินซื้อตั๋วเพื่อเข้าไปดูหนังในโรง เพราะข้อมูลจากมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เผยว่า คนไทยดูหนังในโรงภาพยนตร์เฉลี่ยคนละ 0.5 เรื่องต่อคนต่อปี และมีอัตราที่ลดน้อยลงเมื่อเทียบกับจำนวนโรงหนังที่เพิ่มขึ้น  หนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยเข้าโรงหนังน้อยลงอาจเป็นเพราะค่าบริการที่ค่อนข้างสูง ปัจจุบันตั๋วหนังหนึ่งที่นั่งมีราคาเฉลี่ยราว 220 – 280 บาทต่อเรื่อง หากรวมกับค่าเดินทางไปกลับ หรือซื้อน้ำดื่มและป็อปคอร์นเข้าไปกินในโรงหนังด้วย เผลอๆ แบงก์ 500 ก็ยังไม่พอจ่ายด้วยซ้ำ แม้มีความตั้งใจไปดูภาพยนตร์ในโรงสักเรื่อง แต่เมื่อเจอค่าใช้จ่ายต่อครั้งที่สูงขนาดนี้ การดูหนังแต่ละทีจึงกลายเป็นความบันเทิงราคาแพงที่คนหาเช้ากินค่ำหรือเด็กจบใหม่ยากจะเอื้อมถึง เพราะค่าแรงขั้นต่ำของประเทศไทยอยู่ที่ระหว่าง 313 – 336 บาทต่อวัน แทบไม่ครอบคลุมการใช้ชีวิตประจำวันในประเทศไทย ที่ดัชนีอาหารจานเดียวเพิ่มสูงขึ้น 6.7 เปอร์เซ็นต์ จนราคาข้าวผัดกะเพราแตะจานละ 60 บาทเข้าไปแล้ว  วันนี้ Urban Creature จึงอยากพาทุกคนไปสำรวจว่า ปัจจัยอะไรที่ทำให้ราคาตั๋วหนังในประเทศไทยแพงขนาดนี้ และเมื่ออ่านจบแล้ว เราอยากชวนทุกคนคิดต่อว่าสาเหตุเหล่านี้สมเหตุสมผลหรือไม่ และในอนาคตประเทศไทยควรทำอย่างไรเพื่อเปลี่ยนการดูหนังในโรงภาพยนตร์ให้กลายเป็นความบันเทิงที่คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงได้ […]

เตรียมร่ม สวมบูต ชมหนังกลางแปลง ในเทศกาล ‘กรุงเทพกลางแปลง’ ทั่วมุมเมือง กทม. 7 – 31 ก.ค. 65

หลังจากเดือนที่ผ่านมา ได้มีเทศกาลดนตรีในสวนที่ชวนให้ผู้คนออกไปเอนจอยกับกรุงเทพฯ อีกครั้ง จนทำให้เมืองนี้กลับมามีสีสันและชีวิตชีวา เดือนนี้ก็เป็นคราวของสายภาพยนตร์และคนชอบดูหนังบ้าง เพราะตลอดเดือนกรกฎาคมจะมีงานใหญ่เป็นเทศกาล ‘กรุงเทพกลางแปลง’ งานฉายหนังกลางแปลงที่จะเกิดขึ้นทั่วมุมเมืองกรุงเทพฯ ตั้งแต่ใจกลางเมืองไปจนถึงชานเมือง ถือเป็นการเติมพลังให้วงการหนังไทยที่ซบเซาไป รวมถึงได้ช่วยเหลือพ่อค้าแม่ขายในพื้นที่ และขยายโอกาสในการเข้าถึงการชมหนังให้แก่ประชาชนทั่วไปด้วย  เทศกาล ‘กรุงเทพกลางแปลง’ จะจัดให้มีการฉายหนัง 25 เรื่อง กระจายไปยัง 10 สถานที่ทุกช่วงสุดสัปดาห์ของเดือน โดยหนังทั้งหมดได้รับการคิวเรตจากกรุงเทพมหานคร ร่วมกับหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย และสมาคมหนังกลางแปลง ซึ่งมีหลากหลายรสชาติ ทั้งหนังเก่าตั้งแต่ปี 2502 ถึงปัจจุบัน ทั้งยังอ้างอิงจากพื้นที่ถ่ายทำกับพื้นที่ที่ฉาย เหมาะสมกับผู้ชมทุกเพศทุกวัยในละแวกนั้นๆ  นอกจากนี้ ภายในงานยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ เวิร์กช็อปหัวข้อ Storytelling Workshop โดย underDOC Film โปรดักชันเฮาส์ผู้ทำหนังสารคดี ‘เอหิปัสสิโก’ กับ พวงสร้อย อักษรสว่าง ผู้กำกับหนังเรื่อง ‘นคร-สวรรค์’, กิจกรรมพูดคุยกับผู้กำกับและนักแสดงก่อนฉายหนัง, กิจกรรมแสดงดนตรี โดยกลุ่มนักดนตรีในสวน และ Street Show โดยเครือข่ายนักแสดง […]

Broker การเดินทางเพื่อตามหาครอบครัวที่แท้จริงบนโลกสีเทากระดำกระด่าง

บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของภาพยนตร์ “คนนิจิวะ อันนยองฮาเซโย” คือคำทักทายสองภาษาจาก ‘โคเรเอดะ ฮิโรคาสุ’ ผู้กำกับชาวญี่ปุ่นเจ้าของผลงานภาพยนตร์เกาหลีเรื่องล่าสุด Broker (2022) ที่เรากำลังจะได้รับชมในอีกไม่กี่นาทีข้างหน้า  ด้วยความบังเอิญผสมกับความพยายามอีกเล็กน้อย ทำให้นักท่องเที่ยวอย่างเราหาบัตรชมภาพยนตร์เรื่องนี้ที่เกาหลีในรอบเดินสายทักทายผู้ชมของทีมนักแสดงและผู้กำกับมาได้สำเร็จ แต่นอกเหนือจากเสียงชื่นชมและการยืนปรบมือยาว 12 นาทีที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์เมื่อสองสัปดาห์ก่อนหน้า สิ่งที่เรารับรู้เกี่ยวกับ Broker มีไม่มากนัก หนึ่ง–นี่คือภาพยนตร์แนวดราม่ากึ่งโร้ดมูฟวี่ที่บอกเล่าการเดินทางของคุณแม่ยังสาวที่ตัดสินใจทอดทิ้งลูกของตัวเองไว้ที่กล่องรับทารก กับชายแปลกหน้าสองคนที่หวังจะนำเด็กไปขาย โดยมีสองตำรวจหญิงเฝ้าสะกดรอยตามอยู่ สอง–แม้นี่จะเป็นภาพยนตร์เกาหลีเรื่องแรกของโคเรเอดะ แต่เขาก็สามารถดึงนักแสดงมากฝีมือมาร่วมงานได้อย่างคับคั่ง ไม่ว่าจะเป็นซงคังโฮ จากภาพยนตร์ Parasite, คังดงวอน จากภาพยนตร์ Peninsula, แบดูนา จากซีรีส์ Kingdom, อีจีอึน (IU) จากซีรีส์ Hotel Del Luna และอีจูยอง จากซีรีส์ Itaewon Class  “ช่วงเย็นวันอาทิตย์แบบนี้เป็นเวลาที่มีค่าของทุกคน ขอบคุณที่ตัดสินใจมาชมภาพยนตร์ของพวกเรา หวังว่าทุกคนจะกลับไปพูดคุยถึงหนังของเรากันต่อได้บนโต๊ะอาหารมื้อค่ำวันนี้นะคะ” อีจีอึน ผู้รับบท โซยอง กล่าวกับผู้ชมในโรง ในตอนนั้น เราไม่แน่ใจนักว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะสร้างบทสนทนาต่อไปได้ยืดยาวแค่ไหน แต่เมื่อได้เวลาที่ไฟในโรงหนังมืดลง Broker ก็ค่อยๆ พาเราออกเดินทางไปบนถนนทอดยาว […]

โปรแกรมหนัง Pride Month ดูหนัง 15 เรื่องฉลองความหลากหลาย ตลอดเดือน มิ.ย. ที่ House Samyan

ในเดือนมิถุนายนที่เป็น Pride Month ถือเป็นช่วงเวลาที่ดีในการหยิบยกสื่อที่บอกเล่าและสนับสนุนความหลากหลายทางเพศมาฉายซ้ำหรือพูดถึงอีกครั้ง อย่างโรงหนัง House Samyan เองก็จัด Pride Month Program โปรแกรมพิเศษรวมหนังเฉลิมฉลองประเด็นนี้ด้วย ในโปรแกรมหนัง Pride Month นี้ มีทั้งหมด 15 เรื่อง ประกอบด้วยภาพยนตร์ไทยและต่างประเทศ โดยเนื้อหามีตั้งแต่เรื่องสิทธิของการข้ามเพศ การได้ค้นพบตัวตน การได้รักและถูกรัก ชีวิตของคู่รักเพศเดียวกัน ไปจนถึงการปลดปล่อยตัวเองจากกรอบของเพศและสังคม รายชื่อภาพยนตร์ทั้ง 15 เรื่อง มีดังนี้ – About Ray (2015) – Ammonite (2020) – CompartMent NO.6 (2021)– Dew ดิวไปด้วยกันนะ (2019)– Disobedience (2017)– Girl (2018)– Happy Together (1997)– Love of Siam รักแห่งสยาม (2007)– Malila the […]

รอชมขบวนหนังรางวัลเข้า Netflix CODA, Flee, Drive My Car, Petite Maman ตลอดเดือน มิ.ย. นี้

เราเชื่อว่าต้องมีคอหนังจำนวนไม่น้อยที่อยากดูหนังหลายเรื่องที่ทั่วโลกชื่นชมกัน ทว่าหนังเรื่องนั้นกลับฉายเฉพาะในโรงหนังจังหวัดใหญ่ๆ อย่างกรุงเทพฯ เชียงใหม่ ขอนแก่น เป็นต้น ทำให้สุดท้ายหลายคนต้องพลาดชมหนังดีๆ ไปหลายเรื่อง ทั้งที่มีคนนำหนังเข้ามาฉายในไทยแล้วแท้ๆ อาจเพราะทนฟังคำเรียกร้องไม่ไหว Netflix ไทยที่เคยพาลิสต์หนังไทยในตำนานเข้าฉายไปเมื่อเดือนเมษายน ก็เลยจัดเต็มยกขบวนหนังรางวัลต่างประเทศที่กวาดเสียงวิจารณ์ในด้านบวกเมื่อปีที่แล้ว มาฉายให้ชมกันถึง 4 เรื่องในเดือนมิถุนายนนี้ รายชื่อหนังรางวัล 4 เรื่องที่ว่านั้น ได้แก่ – CODA เข้าฉาย 10 มิ.ย. หนังอบอุ่นหัวใจที่คว้ารางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมบนเวทีออสการ์ปีล่าสุด กับเรื่องราวของ รูบี้ (แสดงโดย Emilia Jones) ผู้มีน้ำเสียงอันไพเราะ ที่เกิดมาในครอบครัวคนหูหนวก เธอได้รับโอกาสจากครูสอนดนตรีที่เห็นความสามารถในตัวเธอ จึงเสนอให้สอบชิงทุนที่สถาบันดนตรี กลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้หญิงสาวต้องตัดสินใจว่าจะเลือกทำตามความฝัน หรือเลือกอยู่บ้านเพื่อช่วยเหลือคนในครอบครัวต่อไป – Flee เข้าฉาย 17 มิ.ย.Flee คือหนังแอนิเมชันอันงดงาม ทว่ามีเนื้อหาที่หดหู่สะเทือนใจ ซึ่งได้รับคำชื่นชมอย่างมากในหลายๆ เทศกาลหนังระดับโลก เนื่องจากเรื่องราวของหนังดัดแปลงมาจากชีวิตจริงของผู้ลี้ภัยชาวอัฟกานิสถานที่ต้องจากบ้านมานานกว่า 30 ปี โดยเขาได้ย้อนรำลึกถึงอดีตของตัวเองที่เผชิญความสูญเสียจากภัยการเมือง เป็นการบอกเล่าถึงความยากลำบากของผู้อพยพที่ต้องต่อสู้ชีวิตท่ามกลางความเจ็บปวด ไม่มีที่ไป และไว้ใจใครไม่ได้ – Drive My […]

5 หนังและซีรีส์อินเดียท้าทายค่านิยม โชว์กึ๋นคนทำหนังแดนภารตะ

ปฏิเสธไม่ได้ว่านาทีนี้ หนึ่งในหนังที่มาแรงสุดๆ ในไทยคือ Gangubai Kathiawadi ที่ทำให้บางคนเปลี่ยนภาพจำของหนังอินเดียที่มักเป็นภาพของการร้อง เล่น เต้นข้ามภูเขาของพระนาง  ในความเป็นจริง หนังอินเดียก้าวไปไกลกว่านั้นมานานแล้ว หนังบางเรื่องจุดประเด็นถกเถียงในความเชื่อและค่านิยมเก่าๆ ในสังคม (ในที่นี้ไม่ได้บอกว่าเป็นสิ่งที่ผิดหรือถูก) ไม่ว่าจะด้านศาสนา การศึกษา อาชญากรรม และสิทธิเสรีภาพ บางเรื่องประสบความสำเร็จจนทำรายได้หลักล้านล้าน (ใช่ หลักล้านล้าน อ่านไม่ผิดหรอก) และบางเรื่องถึงขั้นโดนฟ้องร้องตอนออกฉาย อย่างไรก็ดี นี่คือโอกาสเหมาะที่เราอยากแนะนำหนังอินเดียเรื่องโปรดให้ดู เพราะเชื่อว่าหนังจากดินแดนภารตะแห่งนี้มีความ ‘ว้าว’ ที่รอให้เราไปสำรวจอีกเยอะ  01 | Gangubai Kathiawadi (2022) ไม่แปลกใจเลยสักนิดว่าทำไม Gangubai Kathiawadi ถึงมีกระแสฮือฮาในบ้านเรา เพราะนี่คือหนังหญิงแกร่งแห่งมุมไบที่เต็มไปด้วยความบันเทิงครบเครื่อง และเมสเซจอันจัดจ้าน ถึงแก่น มันเล่าเรื่องราวของ ‘คังคุไบ’ ตั้งแต่ตอนเป็นเด็กสาวที่ใฝ่ฝันอยากเป็นนักแสดง กระทั่งถูกสามีหลอกไปขายให้ซ่องโสเภณี แต่ชีวิตของเธอก็ไม่ได้หยุดแค่นั้น เธอสู้ชีวิตกลับด้วยการพยายามฝ่าฟันจนกลายมาเป็นแม่เล้า มาเฟีย รวมถึงแอ็กทิวิสต์สาวสุดปังแห่งย่านกามธิปุระผู้ผลักดันสิทธิของผู้ค้าบริการและเด็กกำพร้า  อันดับหนึ่งบนเน็ตฟลิกซ์ไทยตลอดทั้งสัปดาห์คงการันตีได้ว่า Gangubai Kathiawadi เป็นหนังที่ป็อปปูลาร์มากแค่ไหนในบ้านเรา ยังไม่นับรวมการถูกคัฟเวอร์ลุคโดยดารานักร้องและแม่ค้าออนไลน์ทั่วราชอาณาจักร (ถ้าหันมาเรียกร้องสิทธิให้เซ็กซ์เวิร์กเกอร์ไทยด้วยจะดีมากๆ) ดู Gangubai […]

จิบกาแฟ แลดูหนังทางเลือกครั้งแรก ในเมืองชายโขง กับ ‘พนมนครรามา’ พื้นที่ฉายหนังอิสระแห่งเดียวในนครพนม

หลังจากที่หนังนอกกระแสเริ่มมีพื้นที่ในวงการคนดูหนังในไทยมากขึ้น เริ่มต้นในกรุงเทพฯ ก่อนขยายไปยังเมืองใหญ่อย่างเชียงใหม่และขอนแก่น คนอยากดูหนังนอกกระแสในจังหวัดอื่นๆ จึงพยายามขับเคลื่อนทำโปรเจกต์ให้ฉายหนังนอกกระแสในจังหวัดของตัวเองบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการจัดฉายเองหรือเรียกร้องให้โรงหนังฉายก็ตาม ยกตัวอย่าง HomeFlick (นครราชสีมา) Lorem Ipsum (หาดใหญ่) เราว่าหนังเรื่องนี้ควรมีฉายที่อยุธยา (อยุธยา) เป็นต้น ล่าสุด ที่จังหวัดชายแดนอย่างนครพนม ก็มีกลุ่ม ‘พนมนครรามา’ ออกมาขับเคลื่อนเรื่องนี้ ด้วยการจัดฉายหนังนอกกระแสเอง โดยจะประเดิมฉาย ‘Drive My Car’ โดย ริวสุเกะ ฮามากุชิ หนังนอกกระแสมาแรงเป็นเรื่องแรกในเดือนเมษายนนี้ เพราะอยากเห็นพื้นที่ฉายหนังนอกกระแสในเมืองที่ห่างไกลจากพื้นที่ส่วนกลางอย่างกรุงเทพฯ บ้าง จึงทำให้ ‘พนมนครรามา’ ก่อตั้งขึ้น “อีกอย่างเราอยากรู้ด้วยว่าที่นี่จะทำแบบจังหวัดอื่นๆ ที่ทำพื้นที่ฉายหนังอิสระได้ไหม และถ้าทำแล้วจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง” จากความตั้งใจและความสงสัยที่เป็นแรงขับเคลื่อนนี้ ทำให้ ‘พนมนครรามา’ ตัดสินใจติดต่อ Doc Club เพื่อทำเรื่องขอหนังนอกกระแสมาฉาย ซึ่งแน่นอนว่า Doc Club เองก็สนับสนุนเต็มที่ “เราไม่แน่ใจว่าสุดท้ายโปรเจกต์จะได้รับผลตอบรับที่ดีไหม แต่ถ้าเกิดมันไปต่อได้ มีคนให้ความสนใจมากพอ เราหวังว่าพื้นที่ตรงนี้จะกลายเป็นจุดแลกเปลี่ยนบทสนทนาระหว่างคนไทย คนลาว และคนเวียดนาม จากภูมิศาสตร์ที่ใกล้เคียงกันในอนาคต” […]

1 2 3 4 5

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.