‘Plaza del Zarrón’ จัตุรัสสำหรับทุกคน ที่ผสานเมืองเก่าและความร่วมสมัยบนพื้นที่ลาดของเมือง

จัตุรัสแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่สำหรับทุกคนในเมืองอัลมาซาน ประเทศสเปน โดยมีความตั้งใจสร้างการเชื่อมต่อระหว่างย่านเมืองเก่ากับพื้นที่สร้างใหม่ ผ่านตัวพื้นที่ที่ถูกร้อยเรียงด้วยรากฐานทางประวัติศาสตร์ของเมืองอัลมาซาน ผสมผสานกับชีวิตสมัยใหม่ที่ให้ความสำคัญกับเสรีภาพและความปัจเจกชน การเข้าถึงที่นี่สามารถเข้ามาได้จากหลากหลายเส้นทาง เพื่อเน้นย้ำถึงการเข้าถึงของทุกคน ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงระดับความสูงของพื้นอย่างแนบเนียนด้วยการสร้างฐานลาดเอียงและซิกแซ็กสลับไปมา ภายในจัตุรัสมีจุดชมวิว โดยแต่ละจุดมีการวางมุมที่ไม่เหมือนกันเพื่อแสดงทิวทัศน์และแสงที่แตกต่างกัน ส่วนด้านในของพลาซาเป็นที่ตั้งของที่นั่ง ต้นไม้ และประติมากรรม Zarrón ที่ถูกย้ายมาจากพลาซาเมเยอร์ (Plaza Mayor) หรือจัตุรัสใหญ่กลางกรุงมาดริด เพื่อจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองวันนักบุญปาสกาล ไบลอน (San Pascual Bailón) พร้อมด้วยการเต้นรำซาร์รอนแบบดั้งเดิม ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 17 พฤษภาคมของทุกปี กิจกรรมนี้นับเป็นกิจกรรมสำหรับแหล่งท่องเที่ยวระดับภูมิภาค ซึ่งการย้ายมาจัดที่นี่นั้นช่วยเชื่อมโยงประวัติศาสตร์ของอัลมาซานกับชีวิตสมัยใหม่ในเชิงสัญลักษณ์ได้ อีกทั้งยังแสดงว่าที่นี่เป็นพื้นที่สำหรับทุกๆ คนโดยแท้จริง ไม่ว่าจะการเต้นรำ เฉลิมฉลอง หรือแม้กระทั่งการใช้ชีวิตโดยทั่วไปก็ล้วนเกิดขึ้นได้ทั้งสิ้น ด้านการออกแบบ จัตุรัสนี้ผสานมรดกของเมืองกับการออกแบบร่วมสมัย โดยเลือกใช้วัสดุที่สอดคล้องกับความสวยงามดั้งเดิมของอัลมาซานอย่างแผ่นคอนกรีตเก่า ไม้ และโครงโลหะ ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากโรงหล่อและงานไม้ดั้งเดิมของเมือง โดยเฉพาะคอนกรีตเก่าที่สะท้อนถึงโทนสีและพื้นผิวของเมืองเก่า รวมถึงใช้รูปแบบการปูพื้น ประกอบด้วยแผ่นสี่เหลี่ยมขนาด 8 x 8 และ 16 x 16 เหมาะสำหรับการเป็นพื้นที่จัดกิจกรรม การรวมตัว และการพักผ่อน ยิ่งไปกว่านั้น พื้นที่นั่งเล่นยังถูกจัดไว้อย่างเป็นระบบ […]

Beitang Street Section of the Grand Canal สร้างความผูกพันระหว่างคลองและผู้คน ด้วยทางเดินสีฟ้าริมน้ำยาว 3.6 กิโลเมตร

เดี๋ยวนี้เรามักเห็นหลายๆ เมืองเริ่มปรับปรุงพื้นที่ริมน้ำให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะแนวยาว เพื่อดึงดูดใจให้ผู้คนออกมาใช้ชีวิตริมน้ำกันมากขึ้น เช่นเดียวกับ ‘Beitang Street Section of the Grand Canal’ ทางเดินสีฟ้ายาว 3.6 กิโลเมตรบนถนนเป่ยถังที่ขนานไปกับตัวคลอง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการปรับปรุงและยกระดับคลองขนาดใหญ่ปักกิ่ง-หางโจว ในส่วนของเมืองอู๋ซี เมืองอุตสาหกรรมเก่าในมณฑลเจียงซู ประเทศจีน เพื่อเชื่อมสวนสาธารณะเป่ยเจี้ยนและเขตสวนสาธารณะตามคูน้ำของเมืองโบราณเข้าไว้ด้วยกัน Beitang Street Section of the Grand Canal ประกอบไปด้วยทางเดินสีฟ้าและต้นไม้สีเขียวที่ให้ความรู้สึกเย็นสบายตลอดสองข้างทาง ออกแบบมาอย่างเป็นมิตรต่อเมือง และผู้สูงอายุ เพื่อให้ทุกคนใช้งานพื้นที่ได้อย่างเพลิดเพลิน บริเวณท่าจอดเรือสำหรับขนถ่ายสินค้าขนาดเล็กที่มีความยาวประมาณ 100 เมตร ก็ได้รับการออกแบบใหม่ให้ผสมผสานเข้ากับพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมระหว่างพ่อแม่และลูก อย่างลานออกกำลังกายริมน้ำ สนามเด็กเล่น และพื้นที่สำหรับพักผ่อน ที่คำนึงถึงความรู้สึกและความต้องการของผู้ใช้งานด้วย รวมไปถึงมีการออกแบบพื้นที่บางส่วนที่ยื่นเข้าไปในคลองหรือยกตัวขึ้นจากความสูงปกติ เพื่อเป็นจุดชมวิวที่จะทำให้คุณรู้สึกเพลิดเพลินไปกับวิวริมน้ำที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ของพื้นที่ ในขณะที่พื้นที่ใกล้ๆ ยังมีป้ายให้ความรู้ที่เปรียบเหมือนพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็กคอยให้ข้อมูลประวัติของพื้นที่แห่งนี้อีกด้วย ทางผู้ออกแบบหวังว่า พื้นที่สาธารณะแห่งนี้จะเพิ่มความน่าดึงดูดใจของพื้นที่ริมน้ำด้วยภูมิทัศน์ที่เป็นมิตร จนทำให้เกิดการสนทนากับชุมชนโดยรอบ ไปจนถึงช่วยสร้างความผูกพันระหว่างคลองใหญ่และผู้คนได้ Source : ArchDaily | t.ly/LoY6k

Ghost Public Space ถ้ามีพื้นที่สาธารณะให้ผีทำกิจกรรม คนก็ไม่ต้องกลัวผีออกมาหลอกอีกต่อไป

พื้นที่สาธารณะของผีจะมีหน้าตาเป็นแบบไหนกันนะ คนที่ตายไปแล้วก็น่าจะอยากได้พื้นที่ทำกิจกรรมของตัวเองด้วยเหมือนกัน เพราะถ้าไม่มีพื้นที่รองรับความต้องการนี้ การออกไปเดินเล่นข้างนอกตอนกลางคืนและปรากฏตัวให้คนเห็นจนกลายเป็นการหลอกหลอน ก็คงกลายเป็นเรื่องเดียวที่เหล่าผีสามารถทำได้ในยามว่าง สำหรับฮาโลวีนปีนี้ คอลัมน์ Urban Sketch จะขอมาเอาใจประชากรในปรโลก ด้วยการออกแบบพื้นที่สาธารณะสำหรับผีที่คนเองก็ใช้งานได้ โดยเปลี่ยนสุสานที่นานๆ ครั้งจะมีคนเข้ามาเยี่ยมเยือนตามโอกาส ให้กลายเป็นพื้นที่เพื่อผีบ้าง 1) Public Housing : เปิดบ้านพักให้ผีทุกตัวไม่ต้องเป็นวิญญาณเร่ร่อน แม้ว่าจะเป็นสุสาน แต่ผีทุกตัวที่อยู่ที่นี่ไม่ใช่ว่าจะมีที่อยู่ทั้งหมด บางตัวอาจเป็นผีไม่มีญาติ ทำให้ไม่มีที่อยู่เป็นหลักเป็นแหล่ง หากมีลูกหลานของใครบางคนเผาตึกหรือคอนโดฯ กระดาษไปให้ อากงอาม่าก็นำไปเปิดเป็นที่พักให้กับผีเร่ร่อนอาศัยร่วมชายคา ช่วยเหลือกันแม้ในยามที่ไม่มีชีวิตอยู่ เพื่อช่วยให้เหล่าผีได้มีความสุขดีในโลกหลังความตาย หรืออาจจะเปิดให้ผีตัวอื่นๆ เช่า สร้าง Passive Income ในอนาคตต่อไป ลูกหลานจะได้ไม่ต้องเผากระดาษเงินกระดาษทองไปให้ทุกวันไหว้ 2) Community Space : พื้นที่สร้างสังคม ให้ทั้งคนและผีมีปฏิสัมพันธ์กัน ปกติแล้วพื้นที่ในสุสานมักเป็นลานกว้างๆ ให้ญาติๆ เข้ามาเยี่ยมเยียนหลุมศพของคนในครอบครัวตัวเองเท่านั้น เราเลยขอเพิ่มศาลาหลบแดด เพื่อให้คนทั่วไปและคนที่เข้ามาเยี่ยมหลุมศพได้นั่งพักหลบร้อน รวมตัว พบปะกับผู้คนใหม่ๆ ที่มาเจอกันที่นี่ ส่วนตอนกลางคืน เหล่าผีก็สามารถใช้พื้นที่นี้ในลักษณะเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการพบปะ พูดคุย ทำความรู้จักกับผีใหม่ๆ เพื่อสร้างสังคมแบบผีๆ […]

‘เกาะ Manresa’ อดีตเกาะโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ทำลายธรรมชาติ สู่พื้นที่สาธารณะเพื่อการศึกษาและฟื้นฟูระบบนิเวศ

อดีตพื้นที่อุตสาหกรรมส่วนใหญ่หากไม่ได้ถูกทิ้งร้างไว้เฉยๆ ก็อาจถูกเปลี่ยนเป็นพื้นที่ในเชิงพาณิชย์ แต่ ‘Manresa’ อดีตเกาะที่ตั้งของโรงไฟฟ้าถ่านหินในช่องแคบลองไอแลนด์ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐคอนเนตทิคัตที่มีประวัติพื้นที่น่าสนใจมาอย่างยาวนาน กำลังได้รับการฟื้นตัวเพื่อเป็นพื้นที่สาธารณะเปิดรับชาวเมืองให้เข้ามาใช้เวลาพักผ่อนหย่อนใจได้อย่างเต็มที่ เดิมที Manresa เป็นพื้นที่พักผ่อนอยู่แล้ว จนในปี 2493 ได้มีการเปลี่ยนแปลงให้เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินจนถึงปี 2555 ซึ่งการมีอยู่ของโรงไฟฟ้าก่อให้เกิดปัญหาระบบนิเวศมานานกว่า 60 ปี และหลังจากที่ปลดระวางโรงไฟฟ้าไป พื้นที่แห่งนี้ก็มีการฟื้นตัวทางระบบนิเวศตามธรรมชาติ โดยมีป่าเบิร์ช (Birch) ที่เติบโตบนขี้เถ้าถ่านหินเก่า และนกออสเปรย์ที่ทำรังอยู่ทั่วบริเวณ ทำให้ระบบนิเวศของพื้นที่ชุ่มน้ำเจริญรุ่งเรืองและมีความหลากหลายทางชีวภาพที่อุดมสมบูรณ์ ทาง ‘Bjarke Ingels Group (BIG)’ บริษัทสถาปนิกชื่อดังจากเดนมาร์ก และ ‘SCAPE’ บริษัทสถาปัตยกรรมภูมิทัศน์ในนิวยอร์ก มองเห็นถึงประโยชน์ในการเปลี่ยนแปลงพื้นที่นี้ให้เป็นสวนสาธารณะขนาด 125 เอเคอร์ หรือประมาณ 505,857 ตารางเมตร จึงร่วมมือกันออกแบบให้ Manresa กลายเป็นศูนย์กลางการพักผ่อนหย่อนใจ ศูนย์กลางการศึกษาและการฟื้นฟูระบบนิเวศ เกาะ Manresa ในรูปแบบใหม่นี้จะมาพร้อมพื้นที่กลางแจ้งหลากหลายรูปแบบ และมีไฮไลต์อย่างสนามหญ้าสีเขียวขนาดใหญ่ ชายหาดที่มองเห็นช่องแคบลองไอแลนด์และนิวยอร์ก สะพานคนเดิน รวมไปถึงท่าเทียบเรือที่ได้รับการฟื้นฟูเพื่อให้คนเข้ามาใช้พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจทางน้ำกันด้วย อย่างไรก็ตาม โครงสร้างและส่วนประกอบเก่าๆ ของโรงไฟฟ้าที่หลงเหลืออยู่อย่างอาคารหม้อไอน้ำ ห้องกังหัน อาคารสำนักงาน […]

The Hub ศูนย์รวมความบันเทิงสีสันสดใสในอียิปต์ พื้นที่สาธารณะที่ดึงดูดให้ผู้คนออกมาใช้ชีวิต

พื้นที่สาธารณะลักษณะวงกลมหลากหลายสีสันบน Marassi จุดหมายปลายทางริมชายฝั่งทางเหนือของประเทศอียิปต์ คือสถานที่ที่ดึงดูดให้ผู้คนออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านอย่างมีชีวิตชีวา ซึ่ง ‘The Hub’ คือชื่อเรียกของสถานที่แห่งนั้น The Hub ถูกตั้งเป้าให้เป็นจุดหมายปลายทางด้านความบันเทิงที่ล้ำสมัย ครอบคลุมพื้นที่กว่า 60,000 ตารางเมตร จากการออกแบบของ ‘100architects’ สตูดิโอออกแบบที่มักดึงเอาสีสันสดใสมาใช้ในการออกแบบพื้นที่สาธารณะ เช่นเดียวกับ The Hub ที่ถูกสร้างสรรค์โดยดึงเอาสีสัน แสงไฟ และการใช้ไดนามิก มาออกแบบด้วยแนวคิด Big Bang ที่จะดึงดูดสายตาผู้เยี่ยมชมให้เดินเข้าสู่พื้นที่วงกลมเล็กใหญ่ที่ถูกจัดวางไว้เป็นโซนหลักทั้งหมด 3 โซน ได้แก่ โซนอเนกประสงค์สำหรับจัดงาน โซนสนามเด็กเล่น และ Kids Town สีสันที่ว่ายังมาพร้อมกับกิจกรรมกลางแจ้งมากมายให้เลือกสรร ไม่ว่าจะเป็นโรงภาพยนตร์กลางแจ้ง ลู่โกคาร์ต ลานโรลเลอร์สเกต สนามกีฬา เกมตู้อาเขต และพื้นที่ที่สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานตามความต้องการ ตั้งแต่จัดคอนเสิร์ต ตลาดนัด หรือเวิร์กช็อปศิลปะ ที่ออกแบบมารองรับกลุ่มผู้ใช้งานที่เป็นเด็กและวัยรุ่นเป็นหลัก ทั้งหมดนี้ก็เพื่อส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม สร้างพื้นที่ให้กลายเป็นแหล่งสังสรรค์ และเปิดโอกาสให้กับการแสดงออกของเยาวชน ในขณะที่ยังอยู่ภายใต้การออกแบบที่ผสมผสานระหว่างความสวยงามและความมีชีวิตชีวาได้อย่างลงตัว Sources : 100architects | 100architects.com/project/the-hubDesignboom | […]

คุยกับผู้อยู่เบื้องหลัง STEP INTO SWING เมื่อเสียงเพลงและสเต็ปเท้าอาจพาเราไปสู่กรุงเทพฯ ที่ดีขึ้น

เย็นวันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2567 สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) คลาคล่ำไปด้วยผู้คนในชุดวินเทจ เสียงเพลงสวิงดังกึกก้อง ฟลอร์เต้นรำเริ่มขยายพื้นที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนเต็มไปทั่วทั้งบริเวณ อาจกล่าวได้ว่า สิ่งเหล่านี้คือตัวชี้วัดความสำเร็จของ STEP INTO SWING : Take the A Train at Hua Lamphong อีเวนต์สวิงโดย 2 ทีมงานเบื้องหลังอย่าง The Stumbling Swingout วงดนตรีสวิงแจ๊สที่ก่อตัวขึ้นจากกลุ่มนักเต้นสวิง และ Jelly Roll Jazz Club โรงเรียนสอนเต้นสวิงที่ตั้งใจสร้างนักเต้นใหม่ๆ เพื่อให้สวิงกลายเป็นคัลเจอร์ที่แข็งแรงในอนาคต หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เฝ้ามองแวดวงการเต้นสวิงในไทยมาตั้งแต่ยุคก่อนโควิด-19 ในเวลานั้นหลายคนอาจจินตนาการไม่ออกว่า วันหนึ่งกรุงเทพฯ จะมีอีเวนต์ SWING IN THE PARK เกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง ก่อนจะขยายตัวลามเลยออกไปสู่สถานที่ที่น่าสนใจอีกมากมาย ทั้งอาคารลุมพินีสถาน ไปรษณียาคาร ลานชุมชนต่างๆ รวมถึงสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ที่ได้โคจรกลับมาจัดเป็นครั้งที่สองแล้ว การขยับขยายของฟลอร์สวิงแดนซ์จากในสตูดิโอสู่พื้นที่สาธารณะต่างๆ […]

‘ปารีส’ เมือง 15 นาที ที่อยากให้ผู้คน ‘ใกล้ชิด’ กับ ‘ชีวิตดีๆ’ มากขึ้น

ย้อนไปเมื่อปี 2020 แอนน์ อีดัลโก (​​Anne Hidalgo) นายกเทศมนตรีแห่งกรุงปารีส ได้เสนอแนวคิดที่จะเปลี่ยนเมืองหลวงของฝรั่งเศสที่แสนจะวุ่นวายและเต็มไปด้วยกิจกรรมคึกคัก ให้กลายเป็น ‘เมือง 15 นาที’ (15-minute City) แนวคิดนี้คือการปรับปรุงและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คน โดยการสร้างเมืองที่ผู้อยู่อาศัยสามารถเข้าถึงสิ่งที่พวกเขาต้องการได้ในระยะเวลา 15 นาทีด้วยการเดินหรือปั่นจักรยาน เพื่อลดการเดินทางจากบ้านไปยังสถานที่ต่างๆ ให้เหลือน้อยที่สุด เช่น สถานที่ทำงาน โรงเรียน โรงพยาบาล สวนสาธารณะ ร้านอาหาร ร้านค้า ฯลฯ ทั้งหมดนี้เป็นไปโดยหวังว่าปารีสโฉมใหม่จะช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนให้คล่องตัว มีสุขภาพดี และยืดหยุ่นมากขึ้น รวมถึงต้องการสร้างสังคมที่โอบรับคนทุกกลุ่มและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านมา 4 ปี มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นกับปารีสบ้าง และมหานครแห่งนี้เข้าใกล้การเป็นเมือง 15 นาทีมากขนาดไหนแล้ว คอลัมน์ City in Focus ขอชวนไปสำรวจและหาคำตอบพร้อมกัน เปลี่ยนจากการขับรถเป็นปั่นจักรยาน เป้าหมายแรกของกรุงปารีสคือการเปลี่ยนให้คนใช้รถยนต์น้อยลง และหันมาปั่นจักรยานมากขึ้น นายกฯ อีดัลโกอธิบายว่า การใช้จักรยานในเมืองจะแสดงให้เห็นว่าชาวปารีสสามารถปรับวิถีชีวิตของตัวเองได้ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กรุงปารีสได้ออกข้อจำกัดเกี่ยวกับการใช้รถยนต์ เช่น กำหนดให้เขตเมืองเป็นเขตควบคุมมลพิษต่ำ และกำหนดให้ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือนเป็นวันปลอดรถยนต์ […]

‘The Green Skyline Project’ พื้นที่สาธารณะจากพื้นที่ว่างเลียบชายหาด ที่สร้างสีสันอันโดดเด่นบนเกาะ Hengqin

พื้นที่สาธารณะที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานมักเป็นพื้นที่ที่ต้องมีการทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น พบปะพูดคุย ออกกำลังกาย เดินเล่น หรือกระทั่งเป็นสถานที่ที่หลายครอบครัวมาใช้เวลาด้วยกันในวันพักผ่อนได้ จากโจทย์นี้เอง นำมาซึ่งโครงการที่น่าสนใจอย่าง ‘The Green Skyline Project’ ที่เปลี่ยนพื้นที่ว่างเลียบชายหาดและไม่ได้มีการใช้งานให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะสีสันสดใสและมีการใช้งานหลากหลายรูปแบบ บนเกาะ Hengqin ประเทศจีน Green Skyline ออกแบบโดยบริษัท 100 Architects จากเซี่ยงไฮ้ ที่เน้นการดีไซน์สถานที่ให้มีองค์ประกอบน่าสนใจและดึงดูดความสนใจของผู้คนได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้โปรเจกต์นี้โดดเด่นด้วยสีฟ้าและสีเหลือง รวมถึงมีการใช้แถบไฟ LED ส่องสว่างในตอนกลางคืน เพื่อสร้างความตื่นเต้นให้คนที่มาเดินเล่นในพื้นที่ และได้รับพลังงานบวกจากการทำกิจกรรมที่นี่ด้วย และอีกหนึ่งไฮไลต์ของ Green Skyline คือจุดทำกิจกรรมต่างๆ ที่รวมอยู่ในพื้นที่เล็กๆ แห่งนี้ เช่น จุดตั้งกล้องดูดาว พื้นที่พักผ่อน โซนสนามเด็กเล่น และด้วยความที่ทำเลอยู่ติดกับทะเล ทำให้ผู้ใช้พื้นที่มองเห็นวิวของมาเก๊าที่อยู่ฝั่งตรงข้ามได้ นอกจากนี้ Green Skyline ก็ยังทำหน้าที่เป็นคอมมูนิตี้เล็กๆ บนเกาะ เนื่องจากตัวพื้นที่ได้รับการออกแบบให้ผู้คนมาพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ตลอดเวลา เพราะเปิดใช้งานทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน Sources :100 Architects | tinyurl.com/37hxpyyjDesignboom | tinyurl.com/c93afpde

Kami-Ikebukuro Community Center รีโนเวตตึกสำนักงานเก่าอายุ 30 ปีในย่านคามิอิเคบุคุโระ ให้กลายเป็นพื้นที่ส่วนกลางและห้องสมุดชุมชน

ถัดจากย่านอิเคบุคุโระที่พลุกพล่านไปด้วยนักท่องเที่ยวไม่ไกล คือที่ตั้งของย่านคามิอิเคบุคุโระ ที่แม้จะมีนักท่องเที่ยวอยู่บ้าง แต่ยังมีความเป็นชุมชนอยู่สูงไม่แพ้กัน เพราะประกอบไปด้วยพื้นที่เชิงพาณิชย์และพื้นที่พักอาศัยปะปนกันไป ‘Kami-Ikebukuro Community Center’ คือพื้นที่ส่วนกลางและห้องสมุดชุมชนแห่งใหม่ ที่สร้างขึ้นจากแนวคิดที่ต้องการเชื่อมโยงผู้คนในชุมชนและนักท่องเที่ยวเข้าไว้ด้วยกัน โดยดึงเอาอาคารสำนักงาน 2 ชั้นอายุกว่า 30 ปีในย่านที่เคยถูกใช้งานในเชิงพาณิชย์มารีโนเวตด้วยฝีมือของสตูดิโอออกแบบ mtthw mtthw เริ่มต้นรีโนเวตจากการรื้อผนังกั้นระหว่างห้องภายในอาคารออก เพื่อสร้างพื้นที่เปิดโล่งที่มีด้านหน้าและด้านหลังของอาคารทั้งสองด้าน แบ่งพื้นที่บริเวณชั้น 2 ของอาคารให้กลายเป็นห้องสมุดที่จะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางความรู้สู่คนในชุมชน ส่วนชั้น 1 มีการออกแบบโคมไฟและประตูบานเลื่อนขนาดใหญ่ที่มีลักษณะเฉพาะตัว ให้เคลื่อนย้ายได้ เพื่อรองรับการใช้บริการที่หลากหลายของคนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็น การจัดนิทรรศการ การฟังบรรยายในหัวข้อที่น่าสนใจ หรือแม้กระทั่งเป็นที่อ่านหนังสือ ทำงาน รวมไปถึงการนัดรวมตัวของผู้คน อีกทั้งบริเวณผนังและฉากกั้นห้องยังใช้กระจกวินเทจที่มีลวดลายต่างๆ ที่โดยปกติจะพบในอาคารที่สร้างขึ้นในสมัยโชวะมาใช้ในการตกแต่ง เพื่อให้ความรู้สึกคุ้นเคยและหวนรำลึกถึงบรรยากาศเก่าๆ ในอดีต ทำให้ Kami-Ikebukuro Community Center แห่งนี้เปรียบเสมือน ‘Medium’ ที่เป็นสื่อกลางในการเชื่อมคนในชุมชนเข้ากับพื้นที่สาธารณะ เชื่อมกิจกรรมชุมชนเข้ากับวิวทิวทัศน์ของผู้คนในเมือง เชื่อมโยงเรื่องราวในอดีตสู่ปัจจุบัน ตามความตั้งใจของทีมผู้ออกแบบที่หวังว่าพื้นที่นี้จะกลายเป็นสถานที่ที่รวมผู้คน สิ่งของ และกิจกรรมต่างๆ ไว้ได้ในที่สุด Source : ArchDaily | t.ly/4PCri

กลับมาได้หรือเปล่าชาวปารีส ถนนฌ็องเซลิเซสุดหรูปิดถนนจัดปิกนิก เรียกชาวเมืองให้กลับมาเยือนอีกครั้ง

ฌ็องเซลิเซ (Champs-Élysées) คือถนนเส้นใหญ่ใจกลางเมืองปารีสที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นหนึ่งในถนนที่งดงามที่สุดของเมือง ถึงอย่างไรก็ตาม ชาวปารีสกลับไม่ค่อยนิยมมาเมืองนี้กันเท่าไหร่แล้วในพักหลัง เพราะถนนแห่งนี้เรียงรายด้วยช็อป Hi-end แบรนด์หรูที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวกระเป๋าหนักมาเดินกันเป็นส่วนใหญ่ เพื่อเรียกร้องให้ชาวปารีสกลับมา คณะกรรมการฌ็องเซลิเซ (Champs-Élysées Committee) เลยปิดถนนขนาด 8 เลน จัดอีเวนต์ให้คนปารีสมานั่งปิกนิกกันแบบชิลๆ โดยไม่เสียตังค์ในงาน ‘Le Grand Pique-Nique’ ในวันที่ 26 พฤษภาคม ที่ผ่านมา จากชาวปารีสที่สมัครเข้าร่วมงานมากกว่า 273,000 คน มีผู้โชคดีจากการสุ่ม 4,400 คนที่ได้มานั่งปิกนิกบนผ้าปูลายตารางหมากรุกสีแดงขาวยาวกว่า 216 เมตรบนถนนฌ็องเซลิเซ นอกจากจะได้นั่งซึมซับบรรยากาศอันสวยงาม ดูวิวประตูชัยฝรั่งเศส (Arc de Triomphe) ไปพลางๆ ชาวปารีสผู้โชคดียังได้ตะกร้าที่อัดแน่นด้วยอาหารจากเชฟท้องถิ่นชั้นนำมากินให้อิ่มหนำสำราญกันแบบฟรีๆ ด้วยความที่ถนนฌ็องเซลิเซเป็นถนนชื่อดังที่มีคนมาเยี่ยมเยือนมากกว่า 1.3 ล้านคนต่อเดือน ทว่าความนิยมนั้นส่งผลให้ราคาที่ดินและค่าเช่าที่บริเวณนี้พุ่งสูงเสียดฟ้า แค่ปีที่แล้วค่าเช่าที่ก็ดีดตัวสูงจากปีที่ผ่านมาถึง 15 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเหตุผลนี้ ร้านค้าอิสระขนาดเล็กอย่างร้านหนังสือ ร้านแผ่นเสียง ร้านขายเสื้อผ้า หรือธุรกิจที่ไม่ทำกำไรเป็นกอบเป็นกำจึงทยอยหายไป แล้วแทนที่ใหม่ด้วยช็อปของแบรนด์หรูที่เน้นดึงดูดนักท่องเที่ยวผู้ร่ำรวย ความเศร้าคือในเดือนมิถุนายนนี้ โรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่ UGC […]

Imaginary Objects สตูดิโอออกแบบที่เชื่อในพลังของสนามเด็กเล่นกับการสร้างเมืองและมนุษย์ที่ดี

ภาพของเด็กๆ วิ่งเล่นชุลมุน ส่งเสียงเจี๊ยวจ๊าวเฮฮา บนเครื่องเล่นสีสันสดใส คือบรรยากาศที่เราสัมผัสได้เสมอเมื่อไปเยี่ยมเยือนสนามเด็กเล่น สนามเด็กเล่นคือพื้นที่แห่งความสุขของเด็ก เป็นพื้นที่ที่พวกเขา (และเราในอดีต) ได้ใช้เวลากระโดดโลดเต้นกับเพื่อนฝูงโดยไม่ต้องคิดอะไรมาก นอกเสียจากจะเล่นอย่างไรให้สนุกที่สุด มองแบบผิวเผิน เหมือนว่าสนามเด็กเล่นจะเป็นแค่พื้นที่ให้เด็กเล่นสนุก ปลดปล่อยพลังอันเหลือล้นจนเหนื่อยหอบ แต่ ‘ญารินดา บุนนาค’ และ ‘โรเบร์โต้ เรเกโฮ เบเล็ตต์’ (Roberto Requejo Belette) กลับมองว่าสนามเด็กเล่นมีประโยชน์และมีหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่มากกว่านั้น และมันคือองค์ประกอบสำคัญในการสร้างเมืองที่น่าอยู่ ญารินดาและโรเบร์โต้ คือสองสถาปนิกผู้ก่อตั้ง Imaginary Objects ออฟฟิศออกแบบที่ทำงานหลากหลายรูปแบบ นอกจากผลงานสถาปัตยกรรมและการออกแบบภายใน พวกเขายังเชื่อมั่นกับการออกแบบสนามเด็กเล่น และฝากผลงานออกแบบไว้มากมาย เช่น Play Objects ต้นแบบสนามเด็กเล่นสำหรับชุมชนในงาน Bangkok Design Week 2020, Thawsi Playground สนามเด็กเล่นที่โรงเรียนทอสี หรือ Kitblox ผลงานเครื่องเล่นตัวต่อหลากสีหลายรูปทรงสำหรับเด็ก ในมุมมองของพวกเขา สนามเด็กเล่นจะช่วยสร้างเมืองที่น่าอยู่ได้อย่างไร นอกจากการเป็นสถานที่เล่นสนุก สนามเด็กเล่นมีประโยชน์อะไรอีกบ้าง และไอเดียเบื้องหลังการสร้างสนามเด็กเล่นของพวกเขาคืออะไร มาโลดแล่นไปในบทสนทนาและค้นหาคำตอบพร้อมกันในบทความนี้ เล่าให้ฟังหน่อยว่าตอนเด็กๆ คุณเติบโตมากับสนามเด็กเล่นแบบไหน […]

A Thousand Plateaus Observatory หอดูดาวสาธารณะรูปคลื่นในเกาหลีใต้ ที่จะทำให้การดูดาวพิเศษกว่าที่ไหนๆ

เวลาเราพูดถึงหอดูดาว หลายคนคงนึกถึงหอคอยที่ตั้งอยู่โดดเดี่ยวใกล้ทะเล หรือไม่ก็เป็นหอดูดาวจำลองที่สร้างขึ้นภายในเมืองให้คนได้เข้าไปใช้เวลาดูวีดิทัศน์ที่บอกเล่าตำแหน่งกลุ่มดาวต่างๆ แต่สำหรับ ‘A Thousand Plateaus Observatory’ หอดูดาวสาธารณะในเมืองชุนชอน ประเทศเกาหลีใต้ ขนาด 778 ตารางเมตร ที่ออกแบบโดย Emer-sys Design Lab ในปี 2022 กลับแตกต่างออกไป เพราะพื้นที่แห่งนี้ตั้งเป้าสร้างประสบการณ์การดูดาวที่พิเศษตั้งแต่เหยียบพื้นที่บริเวณหอดูดาว ด้วยทางเดินเท้าและพื้นที่เปิดโล่งรอบๆ สถานที่ ที่จะทำให้เรารู้สึกเหมือนถูกดึงเข้าสู่หอดูดาวอย่างเป็นธรรมชาติ จากนั้นบันไดที่คดเคี้ยวรอบๆ หอดูดาวจะพาเราขึ้นไปยังพื้นที่ด้านบน ที่ถูกออกแบบมาในลักษณะที่ยื่นออกไปทางทะเลสาบชุนชอน และมีมุมมองแบบเปิดโล่งบริเวณด้านบน เพื่อให้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้อย่างเหมาะสมในทุกทิศทาง นอกจากนี้ ตัวผนังของหอดูดาวแห่งนี้ยังสร้างขึ้นจากแผงอะลูมิเนียมโค้ง ให้ความรู้สึกเหมือนคลื่นทะเลที่เรียงร้อยต่อกัน และในแต่ละคลื่นยังประกอบด้วยรูพรุนซึ่งมีลักษณะคล้ายหยดน้ำจำนวนมาก ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 0.5 เซนติเมตร ถึง 3 เซนติเมตร ให้ความรู้สึกเหมือนฟองอากาศนับพันที่แทรกตัวอยู่ระหว่างเกลียวคลื่น สะท้อนภาพสัญลักษณ์ของสถานที่ที่นุ่มนวลแต่แฝงความแข็งแกร่งของริมทะเลสาบชุนชอน ทั้งยังมอบประสบการณ์แปลกใหม่ให้ผู้มาเยือนระหว่างการเดินขึ้นลงหอดูดาวแห่งนี้ เพราะการมองทิวทัศน์รอบทะเลสาบผ่านกรอบเล็กๆ ในแต่ละขั้นของบันไดจะทำให้คุณรู้สึกราวกับกำลังดูภาพวิวท้องทะเลบนภาพวาดในพิพิธภัณฑ์ที่จะเปลี่ยนไปในแต่ละวัน Sources : ArchDaily | t.ly/sE4FX​​Emer-sys | t.ly/ow-PPParametric Architecture | t.ly/4le-q

1 2 3 4

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.