Sapphic Riot บาร์ของนักกิจกรรมที่อยากสร้างพื้นที่กิน-ดื่ม และเป็นตัวเองได้เต็มที่ให้ชาวแซฟฟิกในเชียงใหม่

ความมืดกำลังโรยตัวปกคลุมเชียงใหม่ ฉันก้าวขาจากรถลงเดินบนถนนสิงหราชที่นักท่องเที่ยวขวักไขว่ เปิดประตูเข้าร้านเล็กๆ ริมทางและปล่อยสายตาให้ได้ปรับตัวกับแสงไฟ อาจเป็นเพราะจังหวะเพลงที่พอโยกตัวได้ เสียงชงเครื่องดื่มเบาๆ จากบาร์ และป้ายประกาศซึ่งตั้งอยู่รอบร้านที่ทำให้ฉันรู้สึกสบายใจ PRIDE, SISTERHOOD, RESPECT คือตัวอย่างคำที่ฉันปรายตาเร็วๆ แล้วสังเกตเห็น และอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้รู้สึกอย่างนั้น อย่างไม่ต้องสงสัย Sapphic Riot คือบาร์ที่สร้างสรรค์มาเพื่อชาวแซฟฟิก (Sapphic) โดยเฉพาะ สำหรับคนที่ไม่รู้ว่าคำนี้แปลว่าอะไร หมวย หญิงสาวเจ้าของบาร์ผู้กำลังนั่งอยู่ตรงหน้าฉันตอนนี้อธิบายว่า แซฟฟิกคือคอมมูนิตี้ของคนที่เป็นผู้หญิงและคนที่รักผู้หญิง ซึ่งไม่ได้นับรวมแค่คนที่นิยามอัตลักษณ์ทางเพศของตัวเองว่าเลสเบี้ยนเท่านั้น แต่ร่มของแซฟฟิกนั้นครอบคลุมไปถึงไบเซ็กชวล แพนเซ็กชวล ทรานส์เจนเดอร์ เควียร์ ไปจนถึงกลุ่มนอนไบนารี นี่คือบาร์แซฟฟิกแห่งแรกในเชียงใหม่ และนั่นคือสิ่งที่ชวนให้ฉันสนใจบาร์แห่งนี้ในทีแรก แต่พอได้นั่งคุยกับผู้ก่อตั้งจริงๆ สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นคือ ความตั้งใจของหญิงสาวตัวเล็กๆ ที่อยากสร้างพื้นที่ที่เธอเสาะแสวงหามาทั้งชีวิต เป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กับคนในคอมมูนิตี้ และพื้นที่ที่เธอกับเพื่อนชาวแซฟฟิกสามารถ ‘เป็น’ และ ‘ทำ’ อะไรได้โดยไม่ถูกตัดสินจากใคร Sapphic Pride “สิ่งที่คนเข้าใจผิดมากที่สุดเกี่ยวกับคอมมูฯ แซฟฟิกคืออะไร” ท่ามกลางเสียงเพลงในร้านที่ดังคลอ ฉันเปิดบทสนทนาด้วยการชวนหมวยครุ่นคิดเกี่ยวกับคอมมูนิตี้ของเธอ “คนส่วนมากจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับบทบาททางเพศว่าเราต้องเป็นฝ่ายไหน ใครจะต้องเป็นฝ่ายเทกแคร์อีกคน ซึ่งจริงๆ มันค่อนข้างลื่นไหลมาก” หญิงสาวตอบชัดถ้อยชัดคำ “แต่ปัญหาหลักๆ เราคิดว่ามันคือการที่เราไม่ถูกมองเห็นโดยคนในสังคมมากกว่า […]

Furiosa : A Mad Max Saga มหากาพย์เด็กสาวผจญโลกบ้าคลั่งของชายชาตรี ในดินแดนรกร้างว่างเปล่าที่ผู้คนสูญสิ้นความเป็นคน

หนึ่งในภาพยนตร์ที่ถูกจดจำในยุคสมัยใหม่นี้ ทั้งแง่ของการเป็นหนังอาร์ตขวัญใจนักวิจารณ์ และหนังที่มีความบันเทิงแบบบล็อกบัสเตอร์อยู่เต็มเปี่ยม คงหนีไม่พ้น Mad Max : Fury Road (2015) หนังที่อัดแน่นไปด้วยซีนแอ็กชันสูบฉีดอะดรีนาลีนแบบ Non-stop ตั้งแต่ต้นเรื่องยันท้ายเรื่อง และภาพเชิงสัญญะที่เปิดช่องว่างให้คนดูตีความกันได้ ไหนจะงานสร้างสุดอลังการที่เนรมิต Wasteland ดินแดนรกร้างหลังโลกาวินาศออกมาได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ ฉากแอ็กชันขับเคลื่อนเรื่องราวที่สมจริง ทั้งยานยนต์ทั้งหลาย บรรดาสตันท์ผาดโผน ความรุนแรงต่างๆ นานา มันจึงสมกับความบ้าคลั่งของโลกในภาพยนตร์สุดๆ อย่างที่ไม่เคยมีเรื่องไหนทำได้มาก่อน หนึ่งสิ่งที่ผู้ชมต่างจดจำในภาคนี้คือตัวละคร Furiosa ที่แสดงโดย Charlize Theron ผู้ลงทุนโกนหัวสกินเฮดจนกลายเป็นที่จดจำไปโดยปริยายเสียยิ่งกว่าตัวละคร Max Rockatansky ผู้เป็นตัวเอกของหนังชุด Mad Max เสียอีก คงไม่เป็นการกล่าวเกินจริงหากจะบอกว่าฟูริโอซ่าเป็นตัวละครที่ Empower ผู้หญิงอย่างแนบเนียน สมเป็นหนึ่งในตัวละครหญิงแกร่งไอคอนิกของยุคสมัยใหม่ ประจักษ์ได้จากการที่เธอเป็นผู้นำลุกขึ้นสู้กับอำนาจในโลกที่ปกครองโดยผู้ชาย และปลดแอกการกดทับที่มีต่อบรรดาตัวละครหญิงในเรื่อง ซึ่งผู้ชมบางส่วนอาจไม่ทันรู้สึกถึงสิ่งเหล่านี้หากไม่ได้ตั้งใจมองลึกลงไป เพราะด้วยความที่ Fury Road เน้นไปที่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เล่าเรื่องด้วยภาพมากกว่าคำพูดที่มีไม่กี่ถ้อยคำ นำมาสู่ช่องว่างที่เปิดโอกาสให้เรื่องราวประวัติของสิ่งต่างๆ มากมายในโลก Wasteland ที่ไม่ได้เล่า จนนำมาทำเป็นเรื่องราวส่วนขยายได้ ด้วยประการฉะนี้ ภาพยนตร์ […]

Heart GURU การ์ดเกมว่าด้วยเรื่องหัวใจ ความสัมพันธ์ และเพศสัมพันธ์ ที่อยากให้สังคมไทยตระหนักรู้เรื่องความรุนแรงทางเพศมากขึ้น

‘ความรุนแรงทางเพศ’ และ ‘อคติทางเพศ’ ในสังคมไทยเปรียบเสมือนสำนวนภาษาอังกฤษที่ว่า ‘Elephant in the Room’ ซึ่งหมายถึงปัญหาใหญ่ที่ทุกคนรับรู้ดี เห็นได้ชัดเจน แต่กลับหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงหรือตั้งใจทำเป็นมองไม่เห็นมัน ไม่ว่ากี่ปีผ่านไปเราก็ยังเห็นปัญหาเหล่านี้กันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ผ่านเรื่องเล่าของคนใกล้ตัวที่ตกเป็นเหยื่อ หรือแม้แต่พาดหัวข่าวตามสื่อต่างๆ ที่สะท้อนว่าการใช้ความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศได้ฝังรากลึกอยู่แทบทุกแวดวง ไม่ว่าจะเป็นวงการบันเทิง การศึกษา ภาคธุรกิจ หรือแม้แต่ในพรรคการเมืองเองก็ตาม ทว่ายังมีกลุ่มคนจำนวนไม่น้อยที่พยายามส่งเสียงและสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ หนึ่งในนั้นคือ Thaiconsent สื่อออนไลน์ที่อยากชวนสังคมไทยพูดคุยเรื่องเพศและความสัมพันธ์ในเชิงลึก Thaiconsent พยายามสื่อสารประเด็นเรื่องเพศผ่านช่องทางออนไลน์มาตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรุนแรงทางเพศ การล่วงละเมิดทางเพศ รวมถึงความยินยอมพร้อมใจในการมีเพศสัมพันธ์ (Sexual Consent) และล่าสุด Thaiconsent ต้องการสื่อสารกับผู้คนในรูปแบบใหม่ จึงพัฒนาและออกแบบการ์ดเกม ‘Heart GURU รอบรู้เรื่องหัวใจ’ โดยตั้งใจทำให้เป็นสื่ออีกประเภทหนึ่งที่ส่งต่อข้อมูลที่ถูกต้อง และชวนให้คนแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ในมิติต่างๆ ตามไปคุยกับ ‘นานา-วิภาพรรณ วงษ์สว่าง’ ผู้ก่อตั้ง Thaiconsent ถึงแนวคิดเบื้องหลังการออกแบบการ์ดเกม Heart GURU และความตั้งใจที่จะส่งต่อความรู้เกี่ยวกับหัวจิตหัวใจ ความสัมพันธ์ และเพศสัมพันธ์ ให้ไปถึงคนจำนวนมากที่สุด จุดเริ่มต้นของ Heart GURU นานาเล่าย้อนความให้ฟังว่า […]

ทำไมงานเสวนาถึงมีแต่ผู้ชาย Manel Watch Thailand ที่รณรงค์เพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในวงเสวนา

เคยไหม เมื่อกวาดตามองเหล่าวิทยากรในโปสเตอร์ประกาศจัดงานเสวนาของหน่วยงาน องค์กร หรือสื่อใดสักแห่ง แล้วพบแต่รายชื่อหรือใบหน้าของ ‘ผู้ชาย’ อยู่เต็มไปหมด โดยเฉพาะวงเสวนาที่เกี่ยวกับแวดวงธุรกิจ เทคโนโลยี หรือการเมืองก็ตาม Manel Watch Thailand หรือ จับตาเสวนาชายล้วน คือแอ็กเคานต์ทวิตเตอร์ (X) ที่เกิดขึ้นโดย ‘บอม-ลัทธพล จิรปฐมสกุล’ ที่อยากรณรงค์และชี้ให้คนในสังคมเห็นถึงปัญหาความไม่ครอบคลุมของวงเสวนาไทย เนื่องจากกิจกรรมประเภทนี้มักกลายเป็นพื้นที่ของผู้ชายเท่านั้น ไม่ว่าจะตัวพิธีกรหรือวิทยากรเองก็ตาม จนทำให้ขาดมุมมองหรือแง่คิดของคนทำงานผู้หญิงในแวดวงนั้นๆ ไปด้วย บอมเล่าถึงที่มาที่ไปของการตั้งแอ็กฯ นี้ว่า เกิดจากความสงสัยส่วนตัวเกี่ยวกับพื้นที่ของผู้หญิงในการทำงานและงานเสวนาวิชาการต่างๆ บวกกับได้เห็นแคมเปญ Manel Watch ที่มาจากคำว่าการจับตาดู All Male Panel หรือวงเสวนาที่มีแต่ผู้ชายในหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะของเมียนมาที่จุดประกายให้เขาขับเคลื่อนประเด็นนี้ รวมถึงการเห็นกระแสคนในโลกออนไลน์ที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงงานเสวนาที่วิทยากรทั้งหมดเป็นผู้ชายมากขึ้น “เราเรียนรู้จาก Manel Watch เมียนมาที่เคยบอกเล่าถึงข้ออ้างของคนจัดงานเสวนาที่มีแต่ผู้ชาย โดยใช้เหตุผลทำนองว่า เพราะผู้หญิงไม่มีความเชี่ยวชาญมากพอ เพราะผู้หญิงไม่มีความสนใจประเด็นนี้ ซึ่งลึกๆ แล้วอาจแฝงถึงอคติทางเพศของคนจัดงาน และขณะเดียวกัน ถ้าเหตุผลคือไม่มีผู้หญิงในตำแหน่งสูงๆ มาพูด เราก็ควรตั้งคำถามว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ซึ่งมันก็จะโยงกลับไปที่การกีดกันผู้หญิงออกจากพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะภาคธุรกิจ วิศวกรรม […]

มองวิกฤตการณ์ความสัมพันธ์กับบทบาทความเป็นแม่ผ่าน ‘ห่วงโซ่งานดูแลระดับโลก’

ในบรรดาคนดูแลที่ผลัดเวียนกันเข้ามาดูแลยายเราก่อนเสียชีวิต คนที่เราจำได้ดีที่สุดคือ ‘ป้าตู่’ ป้าแกอายุอานามค่อนข้างมากแล้ว แต่ยังคุยเก่ง นั่นอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้เข้ากับยายเราได้ดี ภาพที่เห็นจนคุ้นเคยคือป้าตู่เฝ้ายายกินข้าวไม่ให้ข้าวติดคอบ้าง บีบนวดแขนขาบ้าง บางวันก็ถือสมุดเล่มบางๆ ให้ยายฝึกออกเสียง ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นหลังจากยายได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลัง (Spinocerebellar Degeneration — โรคเดียวกับนางเอกในซีรีส์ญี่ปุ่นบ่อน้ำตาแตก One Litre of Tears) ป้าตู่อยู่กับยายเราเป็นปี ฟังดูไม่ได้นานมาก แต่ก็ถือว่านานแล้วถ้าเทียบกับคนดูแลคนอื่นตามแต่จะหาได้ที่หมุนเวียนกันเข้ามาช่วยเฝ้าดูอาการยาย งานดูแลคนแก่ไม่มีอะไรซับซ้อน ออกจะน่าเบื่อด้วยซ้ำ แต่รายละเอียดยิบย่อยของมันและการต้องอยู่โยงเฝ้าคนแก่หนึ่งคนเป็นเวลาทั้งวัน ซ้ำๆ ทุกวัน ก็ไม่ใช่เรื่องสนุกสนานน่ายินดีปรีดาอะไร บ้านเราแบกรับค่าใช้จ่ายพยาบาลอาชีพที่มาจากศูนย์หรือโรงพยาบาลไม่ไหว ที่ผ่านมาเลยได้แต่ถามไถ่แม่บ้านในละแวกว่าพอมีใครว่างหางานอยู่บ้าง ซึ่งนี่อาจเป็นเหตุผลที่พอเข้ามาจับงานได้สักพัก หลายคนก็ขอลาออกและกลับไปทำงานแม่บ้านที่ตัวเองถนัดมากกว่า ที่ยกมาเล่าสู่กันฟัง เพราะวันแม่ปีนี้ชวนให้เราหวนกลับไปนึกถึงคลิปวิดีโอชิ้นหนึ่งที่มีชื่อว่า Who Knows Kids Better? Mums VS Maids ที่เป็นการสัมภาษณ์พี่เลี้ยงเด็กในประเทศสิงคโปร์ด้วยการถามคำถามสั้นๆ เกี่ยวกับเด็ก จากนั้นก็เอาคำถามเดียวกันไปถามคนเป็นแม่ ก่อนปิดท้ายด้วยการให้ลูกๆ มาเฉลยคำตอบ คำถามในคลิปล้วนเป็นคำถามง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ยกตัวอย่าง ‘อนาคตเด็กอยากโตไปเป็นอะไร’, ‘เพื่อนสนิทที่โรงเรียนชื่ออะไร’, ‘ชอบเรียนวิชาอะไรที่สุด’ แต่ที่น่าสนใจคือ กลายเป็นว่าคนเป็นพี่เลี้ยงเด็กตอบคำถามได้ถูกต้องกว่าคนเป็นแม่ โดยในคลิปสรุปเป็นตัวเลขให้เลยว่า […]

‘กลาสโกว์’ สู่การเป็น ‘เมืองเฟมินิสต์’ แห่งแรกของสหราชอาณาจักร ที่ออกแบบเพื่อคนทุกกลุ่ม

เมือง ‘กลาสโกว์’ ประเทศสกอตแลนด์ คือหนึ่งในจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลก เพราะเป็นเมืองใหญ่ที่เต็มไปด้วยความมีชีวิตชีวา มีแหล่งช้อปปิงและร้านค้ากระจายอยู่ทั่ว ที่สำคัญยังเป็นเมืองขนาดใหญ่อันดับ 3 ของสหราชอาณาจักร ที่มาพร้อมความเจริญเกือบทุกด้าน ทำให้ผู้คนจากทั่วโลกหลั่งไหลเข้ามาตั้งรกรากที่นี่ จนทำให้กลาสโกว์มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและเปิดกว้างสำหรับทุกคน ทว่าความก้าวหน้าของกลาสโกว์ไม่ได้หยุดเพียงเท่านั้น เพราะล่าสุดเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสกอตแลนด์ตั้งใจจะทำให้ ‘ผู้หญิง’ เป็นศูนย์กลางของการวางผังเมืองในทุกมิติ เพราะรัฐบาลของเมืองเชื่อว่า ‘การออกแบบเมืองที่ดีสำหรับผู้หญิง คือการออกแบบเมืองที่ดีสำหรับทุกคน’ คอลัมน์ City in Focus ชวนไปทำความเข้าใจว่า ‘เมืองสำหรับผู้หญิง’ หรือ ‘Feminist City’ หน้าตาเป็นอย่างไร พร้อมเจาะลึกถึงแผนการสู่การเป็นเมืองเฟมินิสต์แห่งแรกของสหราชอาณาจักร และท้ายที่สุดมูฟเมนต์นี้จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กลาสโกว์ในมิติไหนบ้าง จุดเริ่มต้นของการออกแบบเมืองเพื่อผู้หญิง เส้นทางสู่การเป็นเมืองเฟมินิสต์ของกลาสโกว์เริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2565 หลังจากสภาเทศบาลเมืองกลาสโกว์มีมติเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์ที่จะทำให้ ‘ผู้หญิง’ เป็นหัวใจสำคัญของการวางผังเมืองทุกมิติ โดยผู้ยื่นข้อเสนอนี้คือ ฮอลลี บรูซ (Holly Bruce) สมาชิกสภาจากพรรคกรีน (Green) ความเคลื่อนไหวนี้ทำให้เมืองที่ใหญ่ที่สุดของสกอตแลนด์กลายเป็นเมืองแรกในสหราชอาณาจักรที่จะโอบรับ ‘แนวคิดการออกแบบเมืองแบบสตรีนิยม’ หรือ ‘Feminist Urbanism’ Feminist Urbanism หมายถึงการออกแบบเมืองที่ส่งเสริมการไม่แบ่งแยก และการรวมความหลากหลายของคนทุกกลุ่มเข้าไว้ด้วยกัน […]

‘ใน 1 วันมีหญิงไทยถูกทำร้ายหรือละเมิดทางเพศมากกว่า 7 คน’ สถิติความความรุนแรงต่อผู้หญิง

ย่ำค่ำกลางเดือนเมษายน ร้านอาหารแน่นขนัดไปด้วยหนุ่มสาวออฟฟิศที่เพิ่งเลิกงาน พนักงานเสิร์ฟเดินกันขวักไขว่ให้บริการ แว่วเสียงหญิงสาวโต๊ะข้างๆ เธอคุยกันถึงเหตุการณ์ความรุนแรงจากข่าวทีวีเหนือศีรษะ ข่าวแรก มีหนุ่มโรคจิตหลอกผู้หญิงมากักขังทรมานจนตาย ยังมีเหยื่อสาวรายใหม่ที่ถูกทุบตีจนจมูกพังและซี่โครงหักเก้าซี่ โชคดีที่ตำรวจเข้าช่วยได้ทัน ข่าวเล่าต่อไปว่า โดยปกติผู้ต้องหาเป็นคนร่าเริง เขามีรสนิยมแบบรักร่วมเพศ แต่ไม่น่าเชื่อว่าจะชอบทำร้ายผู้หญิง ข่าวต่อไปบอกเล่าเรื่องเด็กอายุสิบแปดปีโดนแฟนเก่าที่เลิกรากันไปแล้วตามราวีไม่หยุด ถูกบุกถึงบ้าน แถมใช้อาวุธปืนยิงข่มขู่ และทำร้ายร่างกายจนฟันหัก หน้าบวมปูด อีกหนึ่งข่าวเป็นหญิงสาววัยเบญจเพสซึ่งตั้งท้องได้หกเดือน ถูกแฟนเก่าไม่พอใจตามมาทำร้ายร่างกาย ถัดมาอีกวัน หนังสือพิมพ์หน้าหนึ่งพาดหัวข่าว สาวนักฆ่าต่อเนื่องชวนเหยื่อไปกินข้าว จากนั้นวางยาฆ่าและปล้นชิงทรัพย์ หลังจากคนร้ายถูกจับกุมพบว่ามีเหยื่อที่เป็นผู้หญิงอีกกว่าสิบราย และช่วงที่ผ่านมาในหน้ากระดานออนไลน์ สื่อหลายสำนักลงข่าวใหญ่ พบร่างไร้ลมหายใจของหญิงสาวเน็ตไอดอลชื่อดัง ที่บริเวณศีรษะมีรอยกระสุน และข้างกันเป็นร่างของแฟนหนุ่มนักเรียนเตรียมทหารที่ยิงตัวตายตามหลังจากสังหารแฟนสาว ข่าวบอกว่า ที่ผ่านมาหญิงสาวเธอถูกกระทำความรุนแรงทั้งทางกายและใจจากแฟนหนุ่มเป็นประจำ สถานการณ์ความรุนแรงในสังคมไทยยังเกิดขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่องในชีวิตประจำวัน เรามักได้เห็น ได้ฟัง หรือได้อ่านข่าวเกี่ยวกับความรุนแรงมากมาย โดยเฉพาะความรุนแรงซึ่งมักมีเหยื่อเป็น ‘ผู้หญิง’ คอลัมน์ City by Numbers ขอพาไปสำรวจดูสถิติที่ผ่านมาว่า ในสังคมไทยมีผู้หญิงมากน้อยแค่ไหนที่ต้องตกเป็นเหยื่อจากความรุนแรง ความรุนแรงจากคนใกล้ตัว ความรุนแรงจากคนใกล้ตัวยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างเช่นสถิติในปี 2564 ที่มีรายงานการฆาตกรรมผู้หญิงจากสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) และองค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (UN Women) บอกว่า ทั่วโลกมีเด็กและผู้หญิงจำนวน […]

London Cycling Campaign ประท้วงของนักปั่นจักรยานในกรุงลอนดอน เพื่อทวงคืนถนนที่ปลอดภัยสำหรับผู้หญิง

เป็นเวลากว่า 90 นาทีที่กลุ่มนักปั่นจักรยานกว่า 100 คนในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ รวมตัวกันปั่นจักรยานประท้วงเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2566 เพื่อรณรงค์และทวงคืนเส้นทางจักรยานที่ปลอดภัยสำหรับนักปั่นเพศหญิงในเมืองเนื่องในวันสตรีสากล ภายใต้แคมเปญที่ชื่อว่า ‘London Cycling Campaign (LCC)’ London Cycling Campaign เกิดขึ้นจากความร่วมมือขององค์กร ‘Women’s Network’, ‘The Joyriders Women’s Cycling Organisation’ และ ‘Londra Bisiklet Kulübü’ หลังจากพบว่าการขี่จักรยานในเพศหญิงหลายครั้งมักเกิดอันตรายจากความไม่ปลอดภัยในเส้นทาง รวมไปถึงการก่อกวนและคุกคามจากปัจจัยภายนอก การออกมาประท้วงเดินขบวนในครั้งนี้จึงเป็นเหมือนการส่งสารจากผู้ใช้ถนนจริง ไปถึงนายกเทศมนตรีกรุงลอนดอน เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในอนาคต  โดยเหล่านักปั่นเริ่มเดินขบวนผ่านสถานที่สำคัญในเมืองตั้งแต่ Marble Arch, Buckingham Palace, Palace of Whitehall ไปจนถึง Trafalgar Square ก่อนจะวนกลับมาที่จุดเริ่มต้น เป็นภาพที่สร้างความสนใจให้แก่ผู้พบเห็นเพราะนักปั่นหลายคนต่างแต่งตัวด้วยชุดแปลกตา พร้อมพาสัตว์เลี้ยงสุดน่ารักไม่ว่าจะเป็นสุนัขหรือแมวนั่งในตะกร้าหน้ารถจักรยานมาด้วย หลังการประท้วงจบลง Sadiq Khan นายกเทศมนตรีกรุงลอนดอนได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า ตนเองต้องการให้ผู้หญิงรู้สึกปลอดภัยไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในลอนดอนเช่นกัน […]

7 สารคดีว่าด้วย ‘เซ็กซ์’ ที่ไม่ให้แค่ความเสียว แต่บอกเล่าความเชื่อ วัฒนธรรม และสังคมด้วย

เมื่อพูดถึง ‘เซ็กซ์’ หลายคนคงนึกถึงกิจกรรมทางเพศที่เกิดขึ้นเพื่อสนองความต้องการทางร่างกายของมนุษย์เพียงอย่างเดียว แต่ความจริงแล้วการมีเพศสัมพันธ์ยังอาจเชื่อมโยงกับอารมณ์ ความรู้สึก ค่านิยม วัฒนธรรม ฯลฯ มากไปกว่านั้น เซ็กซ์ยังถูกนำไปใช้ประโยชน์ในแวดวงธุรกิจอย่างการผลิตหนังโป๊และสื่อลามกอนาจาร ที่สร้างรายได้มหาศาลและกระตุ้นความกระสันให้ผู้ชมนับล้าน คอลัมน์ Urban’s Pick รวบรวม 7 สารคดีดูสนุกว่าด้วยเรื่องเซ็กซ์แบบเน้นๆ ที่จะพาทุกคนไปเปิดโลกเรื่องเพศที่ไม่ได้มีแค่เรื่องลามก แต่ยังลงลึกถึงประวัติศาสตร์และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเพศศึกษา อิทธิพลของเซ็กซ์ต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ไปจนถึงเบื้องหลังอุตสาหกรรมหนังโป๊ที่ไม่ได้สนุกและเร้าใจเหมือนเบื้องหน้าเสมอไป 01 | Hot Girls Wanted (2015) ชีวิตที่ไม่ง่ายของดาราหนังโป๊มือสมัครเล่น แม้ว่าปัจจุบันสังคมจะเริ่มยอมรับอาชีพ ‘Sex Creator’ มากขึ้น แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าเบื้องหลังอุตสาหกรรมสื่อลามกก็ยังเต็มไปด้วยปัญหาสังคมในมิติต่างๆ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กสาวที่ตัดสินใจก้าวเข้าสู่วงการนี้เยอะขึ้นเรื่อยๆ ‘Hot Girls Wanted’ คือสารคดีที่บอกเล่าถึงความขื่นขมในอุตสาหกรรมหนังโป๊ขนาดเล็ก ที่ดึงดูดผู้หญิงวัยรุ่นจำนวนไม่น้อยเข้ามาเป็น ‘ดาราหนังโป๊มือสมัครเล่น’ เพราะทำไม่ยากและรายได้ดี โดยเรื่องนี้จะพาผู้ชมไปดูตั้งแต่การเปิดรับสมัครเด็กสาวมาเล่นหนังโป๊ จนถึงช่วงที่พวกเธอเข้าวงการและเริ่มถ่ายทำหนังโป๊เป็นครั้งแรก มากไปกว่านั้น ตลอดเวลา 84 นาทีของสารคดียังพาไปทำความเข้าใจความคิดของเหล่าดาราหนังโป๊มือใหม่ รวมถึงตีแผ่ความยากลำบากที่พวกเธอต้องเผชิญ เช่น ความรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างถ่ายทำหนังโป๊ ความบาดหมางกับสมาชิกในครอบครัว การโดนบุลลี่จากคนรอบตัว ฯลฯ รับชม Hot […]

ไทยติด 10 ประเทศอันตรายที่สุดในโลกสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติผู้หญิง

ผลสำรวจจาก World Population Review ปี 2022 เผยว่า ‘ประเทศไทย’ ติดอันดับ 10 เมืองอันตรายที่สุดในโลกสำหรับนักท่องเที่ยวผู้หญิง จากทั้งหมด 50 ประเทศทั่วโลก โดยรวบรวมข้อมูลจากสมาคมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่สำรวจความคิดเห็นผู้หญิงชาวอเมริกันที่เคยเดินทางท่องเที่ยวภายในหนึ่งปี ไม่ว่าจะไปคนเดียวหรือไปหลายคน ทั้งหมดประมาณ 32 ล้านคน  เกณฑ์การให้คะแนนพิจารณาจากสภาพแวดล้อมและสังคมเป็นหลัก เช่น ความไม่ปลอดภัยบนท้องถนน การเลือกปฏิบัติทางกฎหมาย ความรุนแรงทางเพศ ความไม่เท่าเทียมทางเพศ และทัศนคติต่อความรุนแรง ซึ่งคะแนนเต็มทั้งหมด 800 คะแนน โดยผลสรุป 10 อันดับแรกจากทั้งหมด 50 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ – อันดับ 1 แอฟริกาใต้ 772 คะแนน – อันดับ 2 บราซิล 624 คะแนน – อันดับ 3 รัสเซีย 593 คะแนน – อันดับ 4 เม็กซิโก […]

ผู้หญิงอิหร่านนำประท้วงใหญ่ในรอบ 40 ปี เรียกร้องสิทธิสตรี เสรีภาพ และขับไล่เผด็จการ

ศตวรรษที่ 21 ถือเป็นยุคที่โลกล้ำหน้าแบบสุดขีด ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์ เทคโนโลยี ไปจนถึงวงการอวกาศที่ไปไกลถึงขั้นค้นพบดาวดวงใหม่นอกระบบสุริยจักรวาล แต่ขณะเดียวกัน โลกของเราก็ยังมีปัญหาเดิมๆ ที่พัฒนาช้ามากๆ หรือไม่ถูกแก้ไขสักที โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ทำให้ทั่วโลกมีการประท้วงเรียกร้องสิทธิ ความเท่าเทียม รวมถึงคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิมออกมาให้เห็นกันอยู่เรื่อยๆ เหมือนเมื่อหลายร้อยปีก่อน หนึ่งในมูฟเมนต์ที่น่าจับตามองและได้รับการพูดถึงมากที่สุดในปีนี้คือ ‘การประท้วงในประเทศอิหร่าน’ ที่ประชาชนทั่วประเทศต่างลงถนนประท้วงเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพของผู้หญิง หลังเหตุการณ์เสียชีวิตของ ‘มาห์ซา อามินี’ หญิงสาววัย 22 ปี ที่ถูกตำรวจศีลธรรมจับกุมตัวเพียงเพราะเธอสวมฮิญาบคลุมศีรษะไม่มิดชิดมากพอ นอกจากจะเรียกร้องความยุติธรรม การประท้วงครั้งนี้ยังนำไปสู่การประท้วงเชิงสัญลักษณ์ของสตรีอิหร่าน ทั้งตัดผม เผาฮิญาบ ชูนิ้วกลางใส่รูปผู้นำสูงสุด เป็นการแสดงออกถึงความโกรธแค้นที่ไม่เคยเกิดขึ้นให้เห็นมาก่อนในรัฐอิสลามแห่งนี้  มากไปกว่านั้น การใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่รัฐและกฎหมายที่กดขี่เอาเปรียบผู้หญิงมาอย่างยาวนาน ยังนำไปสู่การต่อต้านรัฐบาลเผด็จการที่อาจเปลี่ยนความเชื่อและค่านิยมในสังคมอิหร่านไปตลอดกาล ชนวนประท้วงครั้งใหญ่ในอิหร่าน เริ่มกันที่สาเหตุของการลุกฮือครั้งนี้ ด้วยการย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2565 ซึ่งเป็นวันที่ ‘มาห์ซา อามินี’ หญิงสาวชาวเคิร์ดวัย 22 ปี ถูกกลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เรียกว่า ‘ตำรวจศีลธรรม (Morality Police)’ จับกุมตัวในกรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน […]

Twerk เจ้าปัญหา และการยืนหยัดต่อการเป็นผู้หญิงธรรมดาใน She-Hulk ซีรีส์ฮีโร่หญิงของมาร์เวล

บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาซีรีส์ สารภาพว่าตั้งแต่จบ Phase 3 ความสนใจในหนังและซีรีส์ Marvel Cinematic Universe (MCU) ของเราก็ลดตามลงไปด้วย เพราะส่วนตัวรู้สึกว่า Avengers : Endgame คือหนังที่ขมวดทุกสิ่งที่มาร์เวลสร้างมา 10 ปีได้อย่างสมบูรณ์แล้ว ประกอบกับ Phase 4 ก็ขยันปล่อยคอนเทนต์ออกมาถี่เหลือเกินจนตามไม่ทัน สุดท้ายเลยเลือกตามเฉพาะเรื่องที่สนใจไปโดยปริยาย  She-Hulk : Attorney at Law คือหนึ่งในนั้น อันที่จริงเกือบจะขอข้ามไปแล้วด้วยซ้ำ เพราะกว่าจะมารู้สึกอยากดูเอาก็ตอนที่ซีรีส์เรื่องนี้ฉายไปแล้ว 3 ตอน ซึ่งเหตุที่อยากดูก็ไม่ได้เป็นเพราะคลิปต่อสู้สุดมันที่ค่ายตัดมาอ่อยแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะซีนหลังเครดิตที่ชาวเน็ตตัดมาทวีต พร้อมแคปชันเกรี้ยวกราดว่า WTF is happening with MCU?!  ตามมาด้วยรีแอ็กชันสุดเกรี้ยวกราดของแฟนบอยมาร์เวลอีกนับร้อยในทำนองเดียวกันว่า MCU is DONE. (จบเห่แน่จ้ามาร์เวล) ทำเอาเราตกอกตกใจจนต้องเปิดคลิปดู มันคือซีนที่ She-Hulk ตัวเอกของเรื่อง กำลังทำท่า Twerk อยู่ข้างๆ Megan Thee Stallion […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.