หลบร้อนมาอ่านหนังสือศิลปะในมุมสงบ ที่ ‘ห้องสมุดลับ’ กลิ่นอายประวัติศาสตร์ ชั้น 2 หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน

อากาศร้อนๆ แบบนี้ แวะไปหลบแดดในสถานที่เย็นฉ่ำ และดื่มด่ำกับบรรยากาศกลิ่นอายประวัติศาสตร์ด้วยกันไหม ถ้าสนใจ เราขอแนะนำห้องสมุดเล็กๆ จนเกือบลับอย่าง ‘ห้องสมุดศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย’ ที่มีแอร์ ปลั๊ก และหนังสือให้อ่านฟรี ซ่อนตัวอยู่ใน ‘หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน’ บนถนนราชดำเนินใจกลางกรุงเทพฯ ห้องสมุดศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย แทรกตัวอยู่กับพื้นที่นิทรรศการในอาคารหอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนินที่มีความสูง 3 ชั้น พื้นที่ใช้สอยกว่า 5 พันตารางเมตร แม้ห้องสมุดที่อยู่บนชั้น 2 ของอาคารแห่งนี้จะมีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด แต่ก็ครบครันไปด้วยหนังสือ วารสาร เอกสารวิชาการ ด้านศิลปะร่วมสมัยที่มีคุณค่าและหาชมได้ยากเก็บสะสมไว้ เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้เข้ามาศึกษาและค้นคว้าหาองค์ความรู้เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายและไม่ต้องสมัครสมาชิก ซึ่งนอกจากห้องสมุด ตัวหอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนินเองก็ยังคงบอกเล่าเรื่องราวของศิลปะ ผ่านการจัดแสดงผลงานนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทยหลากหลายแขนง ตลอดจนส่งเสริมการเรียนรู้ด้านศิลปะร่วมสมัยของไทย เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอด สู่การสร้างมูลค่าเพิ่มอันมีรากฐานต่อยอดมาจากศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิม ภายใต้การบริหารงานโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ห้องสมุดศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ตั้งอยู่บนชั้น 2 อาคารหอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน เปิดให้บริการทุกวันอังคาร-อาทิตย์ (หยุดวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 10.00 – 17.30 น. ใช้บริการได้ฟรี ไม่ต้องสมัครสมาชิก ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.rcac84.com หรือโทร. […]

‘Nang Loeng-BKKDW 2023’ เอนจอยกับแสงสี เรียนรู้ประวัติศาสตร์ย่านนางเลิ้ง

ปีนี้ ‘ย่านนางเลิ้ง’ ได้ร่วมเป็นอีกหนึ่งย่านใหม่ของเทศกาล Bangkok Design Week 2023 ด้วย นอกจากการเป็นต้นตำรับความอร่อยและบรรยากาศชุมชนเก่า ย่านนี้ยังมีอะไรอีกมากมายให้ไปทำความรู้จักและเรียนรู้ กว่าสิบกิจกรรมในย่านนางเลิ้งเกิดขึ้นโดยคนในชุมชน ศิลปิน ผู้ประกอบการภายในย่าน ไปจนถึงหน่วยงานมากมายที่มุ่งมั่นอยากทำให้ย่านนี้มีชีวิตชีวามากขึ้น รวมถึงทดลองหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้พื้นที่ที่อุดมไปด้วยชุมชนเก่าและสิ่งก่อสร้างที่มีคุณค่า กิจกรรมที่ว่ามีตั้งแต่นิทรรศการศิลปะ การแสดงศิลปะชุมชนผสมผสานกับละครชาตรี การจัดแสดงแสงสีกับพื้นที่ของเมืองและอาคารเก่า การสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะเมืองรูปแบบต่างๆ ไปจนถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่เพื่อนำเสนออาหารในย่าน ใครที่เลือกไม่ถูก ไม่รู้ว่าจะไปย่านไหนในงานนี้ดี แถมเวลาก็เหลืออีกไม่กี่วันแล้ว ตามลิสต์นี้มาได้เลย ชื่นชมความงามของสถาปัตยกรรมเก่า ที่บ้าน Bangkok 1899 เริ่มต้นกันที่บ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ที่มีอายุมากกว่าร้อยปี และออกแบบโดย ‘มาริโอ ตามัญโญ (Mario Tamagno)’ สถาปนิกชาวอิตาเลียน ปัจจุบันที่นี่ได้ถูกปรับเปลี่ยนมาเป็นศูนย์กลางทางด้านสังคมและศิลปวัฒนธรรม โดยประกอบไปด้วยที่พักสำหรับศิลปินนานาชาติ คาเฟ่ พื้นที่จัดนิทรรศการ และพื้นที่สวนสาธารณะ ภายใต้ชื่อโครงการ Bangkok 1899 นอกจากความสวยงามของสถานที่แล้ว ที่นี่ก็มีนิทรรศการ ‘A New Thai Alphabet Typography’ โดย Elvire Bonduelle […]

เจอเพื่อนใหม่ผ่านเส้นทางแบบไร้ไกด์กับ ‘ทัวร์สุ่มสี่สุ่มให้’ โดย ILI.U ย่านอารีย์-ประดิพัทธ์ 11 – 12 ก.พ. 66

โอกาสเจอเพื่อนใหม่ในยุคนี้ช่างแสนยาก ส่วนเพื่อนเก่าที่มีก็นัดเจอลำบากเหลือเกิน เราจึงอยากชวนทุกคนไปเดินสำรวจเมืองกับ ‘ทัวร์สุ่มสี่สุ่มให้’ ที่จะสุ่มให้ทั้งเส้นทางเดิน เพื่อนใหม่ และภารกิจที่มาพร้อมประสบการณ์สุดพิเศษ มิตรสหายรักเมืองของเรา ‘ไอแอลไอยู’ จับมือกับ ‘Bangkok Design Week 2023’ จัดกิจกรรมนี้ขึ้นมา เพื่อพาคนที่ชอบและอยากลองท่องเที่ยวในเมืองไปซอกแซกเข้าซอยนู้นโผล่ซอยนี้ใน ‘ย่านอารีย์-ประดิพัทธ์’ รวมถึงสัมผัสประวัติศาสตร์ย่านในมุมที่ไม่เคยรู้มาก่อน  ความแปลกใหม่ของการเดินทางครั้งนี้คือ ทางไอแอลไอยูจะทำหน้าที่สุ่มเพื่อนร่วมเดินทาง และออกแบบวิธีเที่ยวให้คุณทดลองใช้ชีวิตหนึ่งวันกับเพื่อนใหม่ พร้อมกับทำความรู้จักย่านนี้ในมุมใหม่ๆ ไปด้วยกัน การ ‘สุ่มเพื่อน’ ที่ว่าคือ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้เพื่อนใหม่เพิ่มขึ้นหนึ่งกลุ่มเล็กๆ ผ่านการเดินเที่ยวย่าน แวะชิมของอร่อย ลัดเลาะเข้าร้านต่างๆ หรือต่อให้จบทัวร์แล้วจะไปเที่ยวกันยาวๆ อีกก็ยังได้ ส่วนการ ‘สุ่มทาง’ คือ แต่ละกลุ่มจะได้รับเส้นทางแบบสุ่มที่ผู้จัดเตรียมไว้ให้ใน ‘Self-Guided Tour Manual คู่มือเดินทัวร์แบบสุ่มสี่สุ่มให้ ในย่านอารีย์-ประดิพัทธ์’ ภายในเล่มประกอบด้วยเส้นทางที่ออกแบบมาให้ผู้ร่วมทัวร์ได้สุ่มทำความรู้จักย่าน ผ่านประวัติศาสตร์ฉบับย่อโดยไม่ต้องมีไกด์ พร้อมภารกิจสนุกๆ ที่จะสร้างประสบการณ์สุดพิเศษให้เฉพาะผู้ร่วมทัวร์สุ่มสี่สุ่มให้เท่านั้น ทัวร์มีให้เลือก 2 วัน ได้แก่ วันเสาร์ที่ 11 และวันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566 […]

ทัวร์กินของอร่อยและสำรวจสตอรี่เก่าๆ ย่านสุขุมวิท-บางนา กับเพจ SUNA 21 – 22 และ 28 – 29 ม.ค. 66

SUNA – สุนา คือแพลตฟอร์มออนไลน์ที่บอกเล่าประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมย่อย ธุรกิจหลากไซซ์ รวมถึงสถานที่ ‘ของดี’ ในย่าน ‘สุขุมวิท-บางนา’ โดยมีเป้าหมายหลักคือการสื่อสารให้คนทั่วไปรู้จักความพิเศษของย่าน และส่งเสริมให้เพื่อนบ้านร่วมย่านได้สนับสนุนชุมชน ขับเคลื่อนเรื่องคุณภาพชีวิต และดูแลสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน  หลังจากแบ่งปันข้อมูลดีๆ ผ่านโลกออนไลน์มานานเกือบหนึ่งปี ทางเพจสุนาก็ถือโอกาสนี้ชวนชาวสุนาเนี่ยนไปรู้จักของดีที่เคยพูดถึงและยกนิ้วให้ ผ่านกิจกรรมออฟไลน์ครั้งแรกที่ชื่อว่า ‘SUNA ว่าดี TOUR’ ความพิเศษของ SUNA ว่าดี TOUR คือการมี 2 เส้นทางให้เลือกตามความสนใจ ได้แก่1) ‘สายกินทุกวันเสาร์’ เหมาะกับคนชอบเรื่องกิน (Foodie-friendly)2) ‘สายเก๋าทุกวันอาทิตย์’ เหมาะกับคนชอบเรื่องประวัติศาสตร์ (Nerdie-friendly) ส่วนไฮไลต์ที่เราประทับใจจนขอขีดเส้นใต้สองเส้นก็คือความ Local-Eco-Friendly ของทัวร์ ที่ไม่ใช่แค่การเปิดประสบการณ์ผ่านการกินจริง เดินจริง รู้จริง อุดหนุนจริง และเจอเพื่อนบ้านตัวจริง แต่ผู้ร่วมทริปยังได้สัมผัสประสบการณ์การเดินทางในย่านที่สะดวกสบายและดีต่อโลกกับ MuvMi ตุ๊กตุ๊กพลังงานไฟฟ้า และ NEX Point รถบัสไฟฟ้าที่ขับเคลื่อนเรื่องพลังงานสะอาด  มากไปกว่านั้น ทางสุนายังชวนให้ผู้ร่วมทริปพกขวดน้ำส่วนตัวเพื่อลดการใช้แก้วพลาสติก Single-use มีระบบคัดแยกและจัดการขยะด้วยวิธีแบบ […]

เข้าใจ ‘ประวัติศาสตร์’ ในยุคสมัยใหม่ กับ ‘นิธิ เอียวศรีวงศ์’ | Somebody Ordinary EP.13

คงไม่ผิดนักหากบอกว่า ‘ประวัติศาสตร์’ คือหนึ่งในวิชาความรู้ที่นับว่าถูกยุคสมัยเขย่าให้สั่นสะเทือน และเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในรอบไม่กี่ปีมานี้ของไทย ในวันที่คนรุ่นใหม่พากันเบือนหน้าหนีจากเนื้อหาอดีตในตำรา ไปเสาะหาศึกษาอ่านประวัติศาสตร์กระแสรอง จนหนังสือประเภทนี้ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า ‘ประวัติศาสตร์’ ยังทำหน้าที่และมีบทบาทใดต่อการสร้างชาติในปัจจุบันบ้าง Urban Creature ขอพาทุกคนไปสนทนากับ ‘อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์’ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ถึงความสำคัญและการเปลี่ยนแปลงของเรื่องเล่าที่ส่งต่อกันมาเหล่านี้ ในแง่มุมที่นอกเหนือไปจากการทำหน้าที่บอกเล่าเรื่องราวของชนชั้นนำ เพื่อปลูกฝังให้ประชาชนสยบยอมต่อผู้มีอำนาจขีดเขียนประวัติศาสตร์

นั่งรถรางส่องประวัติศาสตร์กับ Co-create Chiang Rai โปรเจกต์พัฒนาเชียงรายให้เป็นเมืองสร้างสรรค์

01 ความทรงจำน้อยนิดระหว่างเราและจังหวัดเชียงราย คงเป็นวันหนึ่งในฤดูฝน แดดเช้าเย็นฉ่ำด้วยอายกลิ่นเมฆครึ้มในร้านกาแฟ ชาวเมืองต่างแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดที่ต้องไปให้ได้เมื่อมาเยือนแดนเหนือถิ่นนี้ เช่น เดินชมงานที่ ขัวศิลปะ ไป วัดร่องขุ่น ดูลวดลายฝีมืออาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ และที่ขาดไม่ได้คือ บ้านดำ พิพิธภัณฑ์แห่งชีวิตของถวัลย์ ดัชนี ซึ่งทุกสถานที่ที่เอ่ยมาล้วนอยู่นอกเมือง วิธีเดินทางง่ายๆ ที่แนะนำต่อกันมาคือ การเช่ารถยนต์สักคันเพื่อประหยัดทั้งเงินและเวลา เราอดคิดซ้ำๆ ในใจไม่ได้ว่าขนส่งสาธารณะทุกๆ ที่ควรเร่งปรับปรุงแก้ไขได้เสียที กลับมาเชียงรายอีกครั้งในฤดูกาลเดียวกันกับคราวก่อน รอบนี้เราไม่ได้ออกไปนอกเมือง แต่กำลังนั่งอยู่บนรถรางไฟฟ้า  “วันนี้เป็น Test Day ทดลองใช้และดูระยะการปรับปรุงระบบขนส่งมวลชนขนาดเล็กภายในเมือง รวมถึงการพัฒนาพื้นที่ต่างๆ ในเมืองเชียงราย” อาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พูดผ่านไมค์เป็นการทักทายสำหรับการนำทัวร์เมืองล้านนาในวันนี้ ปกติแล้วรถรางไฟฟ้าของทางเทศบาลจะให้บริการในเมืองวันละ 2 รอบ แล่นไปยัง 4 จุดสำคัญ เป็นเส้นทางรถรางเชิงท่องเที่ยวสำหรับไหว้พระในเมืองเก่าเชียงรายที่มีหลายสิบวัด  แต่เพื่อการซัปพอร์ตมิติที่หลากหลายของผู้คนในเมืองมากขึ้น Test Day วันนี้เลยเพิ่มรอบรถรางเป็นทั้งหมด 8 รอบ ในบริเวณ 10 จุดสถานที่ที่ทางสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA), สำนักงานในจังหวัดเชียงราย, กลุ่มนักสร้างสรรค์ท้องถิ่น และคนในชุมชน […]

ร่วมบันทึกประวัติศาสตร์ปฏิวัติสยาม ผ่านโปรเจกต์กราฟิกโนเวล 2475 พรีออเดอร์ วันนี้ – 31 ส.ค. 65

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายนที่ผ่านมา คือวันครบรอบเหตุการณ์ที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของประวัติศาสตร์การเมืองไทย เนื่องจากเป็นวันครบรอบปีที่ 90 ของการปฏิวัติสยาม ที่เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่การปกครองแบบประชาธิปไตย โดยมีหัวหอกเป็นคณะราษฎร หลายๆ คนอาจรู้ความสำคัญของเหตุการณ์นี้ รวมถึงบุคคลผู้อยู่เบื้องหลังการปฏิวัติ 2475 อย่างลึกซึ้งขึ้นในเวลา 2 – 3 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากการผลิบานของกระแสขบวนการประชาธิปไตยที่เข้มข้นในสังคมไทย ผ่านการชุมนุม แคมเปญการเมือง และแกนนำคนรุ่นใหม่ ทว่าหากย้อนมองไปที่สื่อสมัยใหม่ กลับยังไม่มีใครนำการปฏิวัติครั้งนี้มาเล่าในรูปแบบร่วมสมัยเท่าไหร่นัก 2475 Graphic Novel คือโปรเจกต์ล่าสุดของ ‘สะอาด’ นักเขียนและนักวาดเจ้าของหนังสือ ‘การศึกษาของกระป๋องมีฝัน’ และ ‘พชรกฤษณ์ โตอิ้ม’ ร่วมกับ ‘สมาคมคนรุ่นใหม่กับนวัตกรรมทางสังคม (SYSI)’ ที่ซุ่มเก็บข้อมูลกันมานานกว่าสองปี เพื่อทำความเข้าใจบริบททางประวัติศาสตร์และสร้างสรรค์บทที่จะชวนผู้อ่านย้อนเวลากลับไปสยามช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง พวกเขาอธิบายถึงโปรเจกต์นี้ว่า เกิดขึ้นจากความหวังที่จะถ่ายทอดจิตวิญญาณแห่งการเปลี่ยนแปลงที่เป็นแรงผลักดันของผู้คนจากอดีตถึงปัจจุบัน ผ่านเรื่องแต่งอิงประวัติศาสตร์ช่วงเหตุการณ์ปฏิวัติสยาม 24 มิถุนายน 2475 จากกลุ่มคนที่ประกาศเรียกตนเองว่า ‘คณะราษฎร’ เนื้อหาว่าด้วยเรื่องราวของ นิภา นักหนังสือพิมพ์สาว ได้รับแจ้งหนังสือข่าวลับจากทางการว่า นักกฎหมายรุ่นใหม่จากปารีส ผู้สอนวิชากฎหมายบ้านเมืองสุดโต่ง อาจเสี่ยงเป็นภัยต่อบ้านเมือง ด้วยการเกี่ยวพันกับขบวนการคอมมิวนิสต์เพื่อโค่นล้มราชบัลลังก์สยาม […]

ท่องโลกประวัติศาสตร์ไทยอันเพ้อฝัน กับนิทรรศการ BLUE FANTASY ที่ Hub of Photography วันนี้ – 19 มิ.ย. 65

เพราะตำนานและพงศาวดารเก่าแก่ของไทยถูกรังสรรค์ขึ้นเพื่อประดับลงบนโครงสร้างสังคมร่วมสมัย ตีกรอบความเชื่อ และเพิ่มพูนอำนาจให้แก่รัฐในทุกช่วงเวลาของประวัติศาสตร์ ความเชื่อนี้จึงเป็นสารตั้งต้นที่ทำให้ศิลปินอยากชวนทุกคนไปสำรวจโลกเพ้อฝันอันแปลกตาที่ไม่มีใครเคยเห็นมาก่อน ‘BLUE FANTASY : ประวัติศาสตร์เพ้อฝัน’ คือนิทรรศการของ ‘กมลลักษณ์ สุขชัย’ ที่นำเสนอศิลปะภาพตัดแปะแบบคอลลาจ (Collage) ผ่านส่วนประกอบของภาพถ่าย รูปวาด จดหมาย ตลอดจนเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่สอดประสานกัน เพื่อสะท้อนความไม่เท่าเทียมเชิงระบบ ตลอดจนความเหลื่อมล้ำของสังคมที่เกิดขึ้นมาจากบันทึกประวัติศาสตร์ ซึ่งมักอุทิศเนื้อหาให้แก่การเชิดชูเหล่าวงอวตาร โดยบางส่วนของวรรณกรรมเหล่านี้ยังถูกคัดสรรขึ้น เพื่อใช้ปรับเปลี่ยนความจริงทางประวัติศาสตร์อันเป็นปริศนาด้วย สำหรับผลงานภาพชุด BLUE FANTASY กมลลักษณ์มอบอำนาจให้เหล่าผู้ถูกปกครองลองเขียนและสร้างประวัติศาสตร์ของพวกเขาขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อสร้างความหมายของการมีชีวิตและความรู้สึกถึงตัวตนขึ้นมาใหม่ เธอจึงกลายเป็น ‘จิตรกรผู้วาดประวัติศาสตร์’ ผ่านการประพันธ์เรื่องราวในแบบฉบับของเธอเอง โดยแทนที่ตัวละครที่มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ด้วยใบหน้าของสมาชิกในครอบครัว  ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของกมลลักษณ์จึงเป็นการผสมผสานภูมิหลังของครอบครัว จินตนาการของชาวบ้านในท้องถิ่น วรรณกรรม ความฝันของสมาชิกในบ้าน ตลอดจนเรื่องราวเก่าแก่ของสิ่งของดั้งเดิมภายในบ้าน โดยเธอได้เน้นย้ำและยกย่องถึงคุณค่าของครอบครัว เพื่อให้ความหมายแด่สิ่งที่ครั้งหนึ่งเคยถูกมองข้ามไป ผลงานคอลลาจเหล่านี้จะพาทุกคนไปสำรวจและตั้งคำถามถึงนิยามของคำว่า ‘ประวัติศาสตร์’ ที่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างและกำหนดอัตลักษณ์ ความปรารถนา และจิตสำนึกของคนในสังคม เพื่อสะท้อนว่าประวัติศาสตร์ที่ถูกอำนาจคัดสรรมานั้น ส่งผลให้อัตลักษณ์และความรู้สึกนึกคิดของคนในสังคมถูกดัดแปลง ควบคุม และเต็มไปด้วยความโป้ปด เหนือสิ่งอื่นใด ผลงานชุดนี้ยังเปรียบเสมือนสื่อกลางของศิลปิน ที่อยากเรียกคืนความยุติธรรมและความเท่าเทียมของสังคมผ่านการตีแผ่และชำแหละเรื่องราวอันเพ้อฝัน รวมไปถึงเรื่องเล่าเหนือธรรมชาติที่ทำให้อำนาจทางการเมืองส่องประกายโดดเด่นและมีความหมายสำคัญต่อประวัติศาสตร์การปกครองของไทยตลอดมา กมลลักษณ์ สุขชัย เป็นศิลปินช่างภาพชาวไทยที่มีผลงานโดดเด่นจากการสร้างสรรค์ศิลปะภาพถ่ายแบบคอลลาจ […]

Ubon Agenda 2022 ปฏิบัติการศิลปะรำลึก 121 ปี ‘ผู้มีบุญ’ แห่งศึกโนนโพธิ์ จังหวัดอุบลฯ

ใครเคยได้ยินเรื่องเล่าเกี่ยวกับ ‘ผู้มีบุญ’ หรือ ‘กบฏผีบุญ’ บ้าง? ย้อนไป พ.ศ. 2444 หมู่บ้านสะพือ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี เคยเป็นพื้นที่สังหารแห่ง ‘ศึกโนนโพธิ์’ ที่รัฐสยามในสมัยนั้นใช้ความรุนแรงปราบปรามประชาชนที่ลุกฮือต่อต้านอำนาจภายใต้ชื่อกลุ่ม ‘ผู้มีบุญ’ การปะทะกันครั้งนั้นส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 300 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นฝ่ายผู้มีบุญ  ผู้แพ้ที่รอดชีวิตจำนวนหนึ่งถูกทหารสยามจับตัวไปที่ทุ่งศรีเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี ส่วนผู้แพ้ที่เหลือแค่วิญญาณถูกตัดหัวเสียบประจาน ร่างถูกทิ้งกองรวมในบ่อดิน ทั้งหมดถูกตั้งชื่อประณามว่าเป็น ‘กบฏผีบุญ’ เพื่อผลักความเป็นมนุษย์ออกจากผู้มีบุญ เพราะการใช้คำว่า ‘ผี’ ทำให้คนเหล่านี้กลายเป็นปีศาจที่ต่ำกว่าสัตว์ เช่น ควาย หมู และหมา ส่วนวาทกรรม ‘กบฏ’ เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการกำจัดผู้เห็นต่างทางการเมืองของรัฐไทยในสมัยนั้น เมื่อเพิ่มคำว่ากบฏจึงหมายความว่า ‘ฆ่าได้’ ส่วนการต่อสู้ระหว่างรัฐและกบฏผู้มีบุญนั้นเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุประกอบกัน ทั้งปัจจัยภายนอกและภายในประเทศ เช่น ความกดดันจากการขยายอาณานิคมของฝรั่งเศสบริเวณสองฝั่งแม่น้ำโขง และปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจในการรวมศูนย์อำนาจและรีดเก็บส่วยของรัฐสยาม ที่สร้างความเดือดร้อนและความยากลำบากให้กับชาวอีสานอย่างมาก เป็นต้น ทว่า การต่อสู้ของชาวบ้านและความตายของเหล่าผู้มีบุญกลับไม่ถูกพูดถึง ไม่มีในตำราเรียน และไม่ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทยแต่อย่างใด เป็นเพียงเรื่องราวที่ถูกเล่าต่อกันมาจากลูกหลานของคนในหมู่บ้านสะพือ และจากการรวบรวมหลักฐานและเอกสารจำนวนมาก ศึกโนนโพธิ์และความตายของผู้มีบุญจึงเป็นประวัติศาสตร์ดำมืด ที่อาจถูกกาลเวลากลบฝังไม่วันใดก็วันหนึ่ง 121 ปีผ่านไป […]

สถานทูตฝรั่งเศสในไทย แปลงโฉมกำแพงเป็นแกลเลอรีถาวร สื่อความสัมพันธ์ฉันมิตรฝรั่งเศส-ไทย

ใครอยากดูงานศิลปะเพลินๆ แบบกลางแจ้งในบรรยากาศเมืองเก่า เราขอชวนทุกคนไปเปิดประสบการณ์ใหม่ที่สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ในย่านเจริญกรุง เพราะล่าสุด ที่นี่ได้เปลี่ยนกำแพงของสถานทูตเป็นแกลเลอรีถาวรแล้ว จากเดิมที่เป็นเพียงกำแพงสีเทาว่างเปล่า ตอนนี้รั้วของที่ทำการผู้แทนสูงสุดฝรั่งเศสได้แปลงโฉมเป็นนิทรรศการถาวร ที่ตกแต่งด้วยจิตรกรรมมากถึง 29 ชิ้น นายตีแยรี มาตู เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทยริเริ่มโครงการนี้ขึ้น เพื่อสร้างพื้นที่แสดงสัญลักษณ์ความสัมพันธ์ฉันมิตรที่มีความหลากหลายและยาวนานระหว่างฝรั่งเศส-ไทย ศิลปะรอบกำแพงนับเป็นผลงานที่แปลกใหม่และน่าสนใจสำหรับผู้เข้าชม ทั้งด้านการออกแบบและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศสและไทยที่สอดแทรกอยู่ในแต่ละภาพ เช่น ‘ประเทศฝรั่งเศสบนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา’ ภาพที่สื่อถึงแม่น้ำสายหลักของกรุงเทพมหานคร เส้นทางคมนาคมและการค้าที่สำคัญของไทย, ‘จากวัดอรุณถึงหอไอเฟล’ ภาพสองประติมากรรมที่มีชื่อเสียงของกรุงเทพฯ และกรุงปารีส และ ‘กองทัพสยาม ณ ประตูชัยฝรั่งเศส’ ภาพที่สื่อถึงการเป็นพันธมิตรอย่างยาวนาน เพราะสยามเป็นประเทศคู่สงครามเพียงประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายส์ เป็นต้น โดยระหว่างเดินดูงานศิลปะ มี QR Code ที่อยู่ด้านข้างจิตรกรรมแต่ละภาพ ให้สแกนเพื่ออ่านคำอธิบายไปพร้อมๆ กันได้ โครงการนี้เริ่มในเดือนกันยายน 2564 และแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ผู้รังสรรค์และออกแบบภาพจิตรกรรมก็คือ คณะทำงานขององค์กรอนุรักษ์ไร้พรมแดน (Restaurateurs sans Frontières) นำโดยโรแบร์ต บูแกร็ง (Robert Bougrain) ร่วมกับคณะนักศึกษาสาขาวิชาจิตรกรรม และศิษย์เก่า ภาควิชาวิจิตรศิลป์ […]

บอร์ดเกม ‘นักสืบของอดีต’ ที่ยกประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์แม่ฮ่องสอนมาให้คนหยิบเล่นได้

ที่ผ่านมาประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ได้กลายเป็นประเด็นที่ผู้คนพูดถึงในวงกว้าง จากที่หลายคนเคยมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องไกลตัวก็เริ่มอยากเรียนรู้ศึกษามากขึ้น ซึ่งคงดีไม่น้อยถ้ามีแหล่งเรียนรู้ที่เข้าถึงง่าย สร้างความเข้าใจ และสนุกด้วย ด้วยเหตุนี้ เราจึงตื่นเต้นมากเมื่อได้เห็นบอร์ดเกมชุด ‘นักสืบของอดีต’ ที่จัดทำโดยทีมวิจัยจากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน แน่นอนว่าถ้าความรู้ชุดนี้อยู่แค่ในรูปแบบงานวิจัย มันคงมีคุณค่าและถูกหยิบมาใช้งานในกลุ่มคนวิชาการเท่านั้น ทว่าเมื่อข้อมูลทั้งหมดได้แปลงร่างมาเป็นสื่อร่วมสมัย ที่มีทั้งข้อมูลสนุกๆ ภาพประกอบ กราฟิกสวยๆ และเล่นได้อย่างบอร์ดเกม ย่อมทำให้ประชาชนคนทั่วไปอยากลองเรียนรู้ โปรเจกต์นี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลองที่นำผลงานวิจัยทางด้านโบราณคดี มานุษยวิทยา และประวัติศาสตร์ของทีมวิจัยมาประยุกต์ใช้ผ่านการเรียนรู้จากบอร์ดเกม จำนวน 3 ชุดความรู้ ได้แก่ บอร์ดเกมที่ 1 นักสืบชาติพันธุ์ จุดประสงค์คือ ส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความหลากหลายของชาติพันธุ์และวัฒนธรรม การใช้ทรัพยากรในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดอื่นๆ ทำให้รู้จักเกิดความเข้าใจคนต่างวัฒนธรรม บอร์ดเกมที่ 2 ปริศนาโลงไม้ ทีมผู้จัดทำเล่าว่าเป็นชุดเกมใหญ่และซับซ้อนซ่อนเงื่อนที่สุด สร้างความเข้าใจและความรับรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมโลงไม้ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในอำเภอปางมะผ้าที่มีอายุเก่าถึงสองพันกว่าปี การปฏิสัมพันธ์กันระหว่างคนและสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคอาเซียน ลักษณะทางวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงทั้งในอดีตและปัจจุบัน บอร์ดเกมที่ 3 นักสืบของอดีต ทำเพื่อส่งเสริมทักษะในการสืบค้นเรื่องราวของคน สังคมและวัฒนธรรมในอดีต ด้วยกระบวนการทางโบราณคดี โดยมุ่งให้เกิดความตระหนักรู้และสร้างกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา พร้อมกับให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้เล่นในทุกระดับวัย บอร์ดเกมชุดนี้ได้รับการออกแบบ ตรวจสอบข้อมูล และนำตัวเกมไปทดสอบกับคนหลายกลุ่มอย่างพิถีพิถัน เรียกว่าครบทั้งความสนุกและความรู้ […]

ชวนเดินเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน ในงาน Night at the Museum ที่มิวเซียมสยาม 17 – 19 ธ.ค. 64

ปลายปีแบบนี้ ใครคิดถึงการเดินเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืนบ้าง ยกมือขึ้น! กลับมาอีกครั้งแล้วกับงานน่ารักๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ของมิวเซียมสยามอย่าง Night at the Museum กับคอนเซปต์ Night Talk ‘กลับกาลเก่ามาเล่ากัน’ ด้วยการมาย้อนดูย้อนฟัง เพื่อเข้าใจประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม ผังเมือง และอนาคตคนเมืองกรุง พร้อมไฮไลต์นิทรรศการพิเศษ กิจกรรม และเวิร์กช็อปอีกมากมาย ด้วยความที่ปีนี้ตารางกิจกรรมแน่นมาก เราจึงขอคัดเลือกกิจกรรมน่าสนใจๆ มาให้ทุกคนปักหมุดกันก่อน ดังนี้  – ทอล์กแบบเดี่ยวไมโครโฟนจากเหล่าคนดังและนักวิชาการ จัดเต็มด้วยเนื้อหาประวัติศาสตร์ในแง่มุมต่างๆ พร้อมพูดคุยในประเด็นร่วมสมัย ตัวอย่างรายชื่อ ได้แก่ จอมขวัญ หลาวเพ็ชร์, นักรบ มูลมานัส, บอล-ยอด หนังพาไป, Point of View, ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นต้น – กิจกรรม Night Walk X Talks in the Old Town (เดินลุยคุยเรื่องเมืองเก่า) โดย […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.