ผู้รับเหมาก่อสร้าง อาชีพบันดาลบ้านตามสั่งลูกค้า

การจะสร้างบ้านสักหนึ่งหลังต้องใช้ทักษะจากหลายสาขาอาชีพ ทั้งสถาปนิกในการออกแบบตัวอาคาร และวิศวกรที่ต้องดูแลโครงสร้าง รวมถึงช่างก่อสร้าง ทั้งช่างระบบไฟและช่างประปา ซึ่งการก่อสร้างจะดำเนินไปได้รวดเร็วและเป็นระบบมากขึ้น หากมีหนึ่งคนที่เป็นศูนย์รวมจิตใจและแก้ปัญหารวมได้ทั้งหมด “ผู้รับเหมา คำว่าเหมาไงครับ เหมาหมด เหมาทุกอย่าง เหมาทั้งความรับผิดชอบ ความสบายใจของลูกค้า และความเป็นอยู่ของลูกน้อง” Urban Creature ในคอลัมน์ The Professional ชวนคุยกับ ‘อ๊อฟ-ปราโมทย์ ทิพย์แสง’ ผู้รับเหมาก่อสร้างที่มีประสบการณ์ทำงานมาอย่างยาวนาน โดยผู้รับเหมาต้องคอยกำกับดูแลงานสร้างทั้งหมด วางแผนการใช้วัสดุและกำหนดตารางงานให้เสร็จตามกำหนด ดูแลความเป็นอยู่ของคนงาน เพื่อให้ได้บ้านที่มีคุณภาพ ตรงตามความต้องการของเจ้าของบ้านมากที่สุด

FYI

ใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพกับ Westgate Community ที่เชื่อมต่อชีวิตกับธรรมชาติ เพื่อการอยู่อาศัยอย่างยั่งยืน

ปัจจุบัน ‘Westgate’ ได้กลายเป็นทำเลเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนาเป็นอย่างมาก ทำให้ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ให้ความสำคัญกับลูกบ้านเป็นอันดับแรกอย่าง ‘แสนสิริ’ เล็งเห็นถึงการสร้างวิถีชีวิตที่มีคุณภาพผ่านการอยู่อาศัยในบรรยากาศธรรมชาติ แต่ยังรายล้อมด้วยความสะดวกสบาย เกิดเป็นโครงการ ‘Westgate Community’ ที่เหมาะสำหรับคนที่ต้องการใช้ชีวิตอยู่กับพื้นที่สีเขียวแบบอยู่ไม่ไกลจากเมืองมากนัก Westgate Community จากแสนสิริ  สามารถตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัยได้ในทุกมิติ ทั้งการอยู่อาศัย การเดินทาง และสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อให้ทุกชีวิตในโครงการแห่งนี้ได้เชื่อมต่อกับธรรมชาติอย่างมีคุณภาพและปลอดภัย นำไปสู่การอยู่อาศัยอย่างยั่งยืน Westgate Community เป็นคอมมูนิตี้แห่งใหม่ของแสนสิริในโซนเวสต์เกต ทำเลที่เข้าสู่การเป็นศูนย์กลางความเจริญทางฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯ (WBD) โดย Westgate Community นั้นตั้งอยู่บริเวณซอยเลียบคลองบางไผ่ ใกล้รถไฟฟ้าสายสีม่วง สถานีคลองบางไผ่ รวมถึงอยู่ไม่ไกลจากทางด่วน และเชื่อมต่อถนนเส้นหลักได้หลายสาย ทั้งถนนกาญจนาภิเษก ถนนชัยพฤกษ์ ถนนรัตนาธิเบศร์ ถนนนครอินทร์ ทำให้เดินทางง่ายทั้งขนส่งสาธารณะและรถยนต์ส่วนตัว นอกจากจะเดินทางง่ายแล้ว Westgate Community ยังอยู่ใกล้กับสิ่งอำนวยความสะดวกรอบโครงการ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน โรงพยาบาล รวมไปถึงศูนย์การค้าแลนด์มาร์กของโซนนี้อย่างเซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกตอีกด้วย ความพิเศษที่ทำให้ Westgate Community เป็นโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับคนเมือง คือแนวคิด Sustainability, Security และ Living […]

8 วิธีที่ทำให้การอยู่อาศัยในคอนโดฯ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีความยั่งยืน

คนเมืองยุคนี้โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่มักอาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียมกันมากขึ้น เนื่องจากทำเลตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ตอบโจทย์การเดินทาง สะดวกสบาย ดูแลง่าย และมีราคาที่จับต้องได้มากกว่าการซื้อบ้านเป็นหลัง แต่พอเป็นคอนโดฯ ที่มีพื้นที่จำกัด ก็อาจทำให้ผู้อยู่อาศัยทำอะไรกับพื้นที่ห้องไม่ได้มากนัก ไม่เหมือนกับบ้านที่เราอาจตกแต่ง ปรับแต่ง หรือเพิ่มเติมส่วนสีเขียว เพื่อทำให้ที่อยู่อาศัยมีชีวิตชีวา เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ถึงอย่างนั้น การอยู่อาศัยในคอนโดฯ ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะกรีนไม่ได้ เพราะยังมีอีกหลายวิธีให้เราปรับเปลี่ยนหรือเสริมนิดๆ หน่อยๆ เพื่อทำให้ห้องเล็กๆ ของเราดีต่อใจ ร่างกาย และสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนหลอดไฟเป็นไฟ LED ไฟ LED มีข้อดีกว่าหลอดไส้ทั่วไป เนื่องจากใช้พลังงานต่ำกว่ามากสุดถึง 70 เปอร์เซ็นต์ อายุการใช้งานทนทานถึง 20 ปี มีขนาดเล็กและสามารถใช้งานได้อย่างหลากหลาย จึงเหมาะกับการเป็นการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ที่ทำได้ง่ายๆ ในคอนโดฯ ของเรา ตกแต่งคอนโดฯ ด้วยวัสดุเหลือใช้ ทุกคนน่าจะเคยได้รับของตกทอดมาจากปู่ย่าตายาย หรือมีเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่ได้ใช้หรือไม่อินแล้ววางอยู่ แต่ไม่รู้จะทำยังไง แทนที่จะใช้เฟอร์นิเจอร์และสิ่งของประดับที่ซื้อใหม่มาตกแต่งบ้าน ลองเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์เหล่านั้นแทน หรือถ้าไม่สปาร์กจอย จะลองทาสีตกแต่งเพิ่มเติมให้ดูสนุกสนานและใหม่ขึ้น เพื่อช่วยลดของเสียที่จะถูกทิ้งในกองขยะ และยังเป็นการเพิ่มอายุการเก็บรักษาของวัสดุเหล่านี้ อีกทั้งการใช้ของเก่ามาตกแต่งจะช่วยเพิ่มกลิ่นอายการตกแต่งที่น่าสนใจให้ห้องหับของเราได้ ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจากธรรมชาติ แน่นอนว่าพฤติกรรมรักโลกที่ทำได้ง่ายๆ ที่บ้านที่คนนึกถึงเป็นอย่างแรกๆ คือ การกินอาหารออร์แกนิก […]

ญี่ปุ่นกับนโยบายเช่าและขายบ้านราคาถูก ที่หวังแก้ปัญหาคนกระจุก บ้านร้างกระจาย

อีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่ทำเอารัฐบาลประเทศญี่ปุ่นปวดหัวไม่แพ้กับปัญหาสังคมผู้สูงอายุเลยคือ การเพิ่มจำนวนของ ‘บ้านร้าง’ ที่กระจายตัวอยู่ทั่วทุกพื้นที่บนหมู่เกาะ เนื่องจากคนรุ่นใหม่มีมุมมองเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยที่ต่างไปจากเดิม จนไม่ต้องการเสียเงินไปกับค่าใช้จ่ายในการซื้อและบำรุงรักษาบ้านอีกต่อไป เกิดเป็นปรากฏการณ์ที่ใครหลายคนพากันทิ้งบ้าน เดินทางเข้าหัวเมืองใหญ่เพื่อเช่าหรือซื้อห้องพักบนตึกสูงประเภทคอนโดฯ แทน เนื่องจากมองว่ามีความสะดวกสบายและดูแลรักษาได้ง่ายกว่าบ้านในรูปแบบเดิมๆ ปัญหาที่ตามมาคือการกระจุกตัวของผู้คนและที่อยู่อาศัยจำนวนมากบริเวณใจกลางเมืองใหญ่ เพราะไม่อยากให้บ้านถูกทิ้งไว้จนเปล่าประโยชน์ รัฐบาลญี่ปุ่นจึงต้องเร่งแก้ไขปัญหา และออกมาตรการผลักดันให้บ้านที่ถูกทิ้งร้างเหล่านี้กลับมามีเจ้าของอีกครั้ง ด้วยการเปิดขายบ้านราคาถูกและออกนโยบายช่วยเหลือในส่วนต่างๆ คอลัมน์ City in Focus ชวนไปดูปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการผุดขึ้นของบ้านร้างในประเทศญี่ปุ่น ไปจนถึงการแก้ปัญหาของรัฐบาลที่ต้องการกระจายคนไปตามบ้านร้างต่างๆ ทั่วประเทศ แทนที่จะกระจุกตัวอยู่แค่ใจกลางเมือง จำนวนบ้านร้างที่เพิ่มขึ้น ถ้าจะพูดว่า ในตอนนี้แดนอาทิตย์อุทัยกำลังตกอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกเกี่ยวกับปัญหาที่อยู่อาศัยก็คงไม่ผิดนัก เพราะการเก็บสถิติในปี 2018 พบว่า ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับปัญหาบ้านร้างที่กระจายตัวอยู่ทั่วทุกมุมเกาะมากถึง 8.49 ล้านหลัง และสถาบันวิจัยโนมูระยังคาดการณ์ว่า ตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านหลังภายในปี 2023 แต่เนื่องจากเทรนด์การเลือกซื้ออสังหาริมทรัพย์ของคนรุ่นใหม่ที่นิยมที่อยู่อาศัยมือหนึ่งในรูปแบบคอนโดมิเนียมกันมากขึ้น และไม่นิยมซื้อบ้านมือสองอีกต่อไป ทำให้จำนวนบ้านร้างมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่มีคนเข้าไปอยู่อาศัยหรือรับช่วงต่ออย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งความนิยมคอนโดฯ มือหนึ่งที่กำลังเกิดขึ้นนี้สอดคล้องกับข้อมูลจากกระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสารที่ระบุว่า เมื่อปี 2018 ญี่ปุ่นมีที่อยู่อาศัยซึ่งรวมทั้งบ้านและคอนโดฯ ทั้งหมด 62.41 ล้านยูนิต และมีการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 65.46 ล้านยูนิตภายในปี 2023 กราฟที่เพิ่มสูงขึ้นชี้ให้เห็นว่า ขณะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์มือหนึ่งกำลังเติบโตขึ้น […]

รู้ทุกซอกมุมการตรวจห้องก่อนอยู่กับ ‘Mylovecondo’ | THE PROFESSIONAL

“เวลาซื้อคอนโดฯ เราซื้อหลักล้าน แต่ค่าจ้างตรวจห้องแค่หลักพัน”“เราเป็นเหมือนตัวช่วยลดปัญหาในการเข้าอยู่ ไม่ต้องมาแจ้งซ่อมทีหลัง” ในยุคที่การเป็นเจ้าของบ้านของคนเมืองเป็นไปได้ยากกว่าแต่ก่อน รูปแบบของ ‘ที่อยู่อาศัย’ จึงเริ่มกลายสภาพเป็นห้องเช่าอย่างคอนโดมิเนียม ที่แม้จะมีพื้นที่เล็กลง แต่ราคาและรายละเอียดปลีกย่อยกลับเยอะขึ้น หลายคนจึงต้องการความมั่นใจก่อนจะเสียเงินหลักแสนถึงหลักล้านบาท เพื่อจะได้ของที่ดีที่สุดและมีปัญหาน้อยที่สุด รายการ The Professional ชวนคุยกับทีมงาน ‘Mylovecondo’ ทีมตรวจห้องตรวจบ้าน ที่พร้อมเดินทางเช็กความเรียบร้อยก่อนเข้าอยู่ให้ลูกค้าหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือคอนโดฯ ทั้งที่ซื้อจากโครงการหรือซื้อต่อจากเจ้าของเก่า เพื่อลดปัญหาการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยสำหรับคนเมืองให้มากที่สุด

Residential Solutions 6 โครงการที่อยู่อาศัยที่แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้ถิ่นที่อยู่

ความเจริญและเทคโนโลยีได้เข้ามาเติมเต็มให้ผู้คนใช้ชีวิตได้สะดวกสบายและเกิดความต้องการที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ความเป็นอยู่ของผู้คนมีการแปรเปลี่ยนอยู่เสมอ เช่นเดียวกันกับ ‘ที่อยู่อาศัย’ ซึ่งเป็นความสำคัญหนึ่งในชีวิตของผู้คนที่ใช้พักผ่อนหลับนอน สถานที่เหล่านี้ก็ได้เปลี่ยนแปลงไปหลากหลายรูปแบบเช่นกัน บ้านไม่ได้มีหน้าตาเป็นแค่หลังคาจั่วเหมือนภาพวาดตอนประถม แต่ยังมีคอนโดฯ อะพาร์ตเมนต์ หรืออาคารมากมายที่ล้วนแล้วแต่ถูกออกแบบให้สวยงามแปลกตาและมีฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลายกว่าที่ผ่านมาหลายเท่า คอลัมน์ Urban’s Pick ครั้งนี้ พาทุกคนไปดู 6 ที่อยู่อาศัยจากหลายประเทศทั่วโลกที่นอกจากจะโดดเด่นเรื่องของไอเดียความคิดสร้างสรรค์แล้ว ยังตอบโจทย์แนวทางการแก้ปัญหาความเป็นอยู่ของผู้คนให้ดีขึ้น และยังคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดความยั่งยืนมากยิ่งขึ้นด้วย Oxygen Eco Tower ประเทศอิตาลี เริ่มต้นเราขอพาไปที่โครงการวิลล่าลอยฟ้าในประเทศอิตาลีที่ชื่อว่า ‘Oxygen Eco Tower’ ที่ออกแบบโดยบริษัทชื่อดังในมิลานอย่าง ‘Progetto CMR’ เป็นอาคารที่อยู่อาศัย 75 ชั้น บรรจุไว้ด้วยวิลล่า 161 หลัง ในแต่ละหลังจะมีสวนส่วนตัวและสระว่ายน้ำ มีการผสมผสานทั้งเรื่องของดีไซน์ที่สง่างามและการใช้เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยยกระดับความสะดวกสบาย แนวคิดการออกแบบอาคารแห่งนี้ได้รับการพัฒนาจากแบบจำลองทางเรขาคณิตของดอกไม้ โครงการนี้จะประกอบด้วยรูปร่างวิลล่าที่แตกต่างกัน 4 แบบ ถูกวางเรียงซ้อนขึ้นไปสูงเสียดฟ้า นอกจากจะมีที่อยู่อาศัยจำนวนไม่น้อยแล้ว Oxygen Eco Tower ก็มีพื้นที่อื่นๆ อีกเพียบ เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร ห้องสมุด โรงเรียนอนุบาล วีไอพีเลานจ์ […]

Household คนไทยและถิ่นที่อยู่

‘ที่อยู่อาศัย’ คือหนึ่งในปัจจัยสี่ที่ช่วยให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้ เป็นทั้งพื้นที่ส่วนตัว พื้นที่พักผ่อน และพื้นที่ที่ให้ความสุขสบายทั้งกายและใจ ดังนั้นการมีบ้านหรือที่อยู่สักแห่งเป็นของตัวเองนั้นจึงเป็นความฝันและเป้าหมายของใครหลายคน แต่การจะมีบ้านเป็นของตัวเองสักหลังในตอนนี้แทบกลายเป็น ‘ความฝัน’ ที่เอื้อมไม่ถึงของคนไทยจำนวนไม่น้อย ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันที่ทำให้ทุกคนต้องรัดเข็มขัดให้แน่นกว่าเดิม รวมถึงปัจจัยอื่นๆ อย่างวัสดุการสร้างบ้าน ค่าที่ดิน หรือดอกเบี้ยการกู้เงินที่สูงขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก จนทำให้คนที่ตั้งใจจะซื้อที่อยู่เป็นทรัพย์สินของตัวเองต่างต้องเลื่อนโครงการในฝันนี้ออกไปเรื่อยๆ จนไม่รู้ว่าสุดท้ายแล้วเมื่อไหร่ถึงจะได้มีบ้านในครอบครองเสียที คอลัมน์ Overview เดือนพฤษภาคมนี้ ชวนทุกคนไปสำรวจเรื่องราวเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยในยุคปัจจุบัน ตั้งแต่ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ เทรนด์การเช่าอยู่ที่กำลังมาแรง ไปจนถึงแนวโน้มของที่อยู่อาศัยที่จะรองรับวิถีชีวิตของผู้คนในอนาคต ราคาอสังหาริมทรัพย์ในเมืองสูง ปัจจุบันที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ มีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่ มูลค่าของตัวบ้าน ค่าวัสดุก่อสร้างต่างๆ ที่ปรับตัวขึ้น รวมไปถึงราคาประเมินที่ดินเมื่อต้นปี 2566 ที่ปรับขึ้นถึง 8.93 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้ราคาซื้อขายที่อยู่ต้องปรับขึ้นตาม โดยทำเลไหนที่เป็นแหล่งตลาดงานและเดินทางสะดวก ราคาก็จะยิ่งสูงขึ้นไปอีก ตัวอย่างทำเลในกรุงเทพฯ ที่ใกล้แหล่งทำงานและขนส่งสาธารณะที่มีราคาสูง ได้แก่  – ถนนเพลินจิต 1,000,000 บาท/ตร.ว. – ถนนสีลม 750,000 – 1,000,000 บาท/ตร.ว. – ถนนสาทร 450,000 […]

Bolwoningen ที่อยู่อาศัยทรงกลมในเนเธอร์แลนด์ เรียบง่าย น้ำหนักเบา และราคาย่อมเยา

ว่ากันว่า หากล่องเรือไปตามเส้นทางเลียบคลองในประเทศเนเธอร์แลนด์ บนฝั่งเราจะได้เห็นสถาปัตยกรรมรูปทรงแปลกตามีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจอยู่จำนวนมาก ทั้งเก่าแบบสไตล์เรเนซองส์จนถึงความใหม่ร่วมสมัย ความหลากหลายของที่อยู่อาศัยของชาวดัตช์ เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสถาปัตยกรรมส่งต่อมาจนถึงปัจจุบัน อีกความแปลกใหม่ของที่อยู่อาศัยในเนเธอร์แลนด์ที่เราอยากพาไปชม นั่นคือ คอลเลกชันลูกแก้ว หรือที่อยู่อาศัยที่ชื่อว่า ‘Bolwoningen’ หากมองจากบนฟ้าเราจะเห็นว่ามันเหมือนลูกกอล์ฟหลายลูกวางอยู่บนสนามหญ้าที่ตั้งรวมกันเป็นชุมชนหนึ่งทางใต้ของแม่น้ำเมิซ (Meuse) กว่า 50 ลูก เป็นผลงานของ ‘Dries Kreijkamp’ ที่สร้างขึ้นเพื่อหาแนวทางการมีที่อยู่อาศัยราคาย่อมเยา Bolwoningen นั้นสร้างจากซีเมนต์และไฟเบอร์กลาสเสริมแรง มีฐานทรงกระบอกทำหน้าที่เป็นทางเข้าซึ่งเป็นพื้นที่เก็บของและพื้นที่อเนกประสงค์ เมื่อเข้าไปสู่ตัวเรือนทรงกลมซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 18 ฟุต ด้านบนจะเจอกับห้องครัว มีห้องนั่งเล่นซึ่งสามารถรองรับได้ถึงสองคน มีห้องน้ำแยกเป็นสัดส่วน และห้องนอนอยู่ด้านล่าง ประดับด้วยหน้าต่างทรงกลมที่ช่วยให้แสงธรรมชาติลอดผ่านและสามารถเปิดออกได้เพื่อถ่ายเทอากาศ ลดความอบอ้าวของพื้นที่ปิด ตามความตั้งใจของผู้ออกแบบนั้น ต้องการให้โครงสร้างน้ำหนักเบาเหล่านี้สามารถโยกย้ายจัดเรียงใหม่ได้ไม่รู้จบ และต้องขนส่งได้ง่าย หากเป็นไปได้ก็อยากทำให้ที่อยู่อาศัยแห่งนี้ลอยอยู่บนน้ำได้อีกด้วย Dries Kreijkamp นักออกแบบสถาปัตยกรรมผู้ออกแบบที่อยู่อาศัย Bolwoningen แสนน่ารักน่าชังนี้ เสียชีวิตไปเมื่อปี 2557 แต่ผลงานของเขายังคงอยู่บนโลกใบนี้เพื่อเป็นอีกทางเลือกของการสร้างสถาปัตยกรรมที่เรียบง่าย ยั่งยืน และราคาย่อมเยา Source :Architectural Digest | bit.ly/42PCr16

ใช้ Midjourney ออกแบบที่อยู่อาศัยสำหรับคนไร้บ้าน ไอเดียใหม่เพื่อเปลี่ยนพื้นที่ร้างให้มีประโยชน์

เมืองยังคงเติบโตขึ้นในทุกขณะ พื้นที่มากมายถูกจัดสรรปันส่วนไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ตามที่รูปแบบสังคมจะกำหนด และแน่นอนว่าพื้นที่อีกจำนวนไม่น้อยถูกละเลย และกลายเป็นสิ่งไร้ประโยชน์อย่างน่าเสียดาย เพื่อให้เห็นภาพของการใช้พื้นที่ให้เป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น ‘Shail Patel’ นักออกแบบสถาปัตยกรรมชาวอินเดีย ได้คิดค้นภาพจำลองนวัตกรรมที่จะมาแก้ปัญหานี้ขึ้นมา โดยใช้ความสามารถจากเครื่องมือยอดฮิตแห่งยุคสมัยอย่าง AI Midjourney หรือปัญญาประดิษฐ์เข้ามาเป็นตัวช่วย นวัตกรรมที่ว่านี้คือ ‘ที่อยู่อาศัยสำเร็จรูป (Modular Pods)’ จุดประสงค์คือ สร้างขึ้นเพื่อเป็นหนึ่งในแนวทางการแก้ปัญหาสำหรับคนไร้บ้าน โดยพ็อดที่นำเสนอออกมาแต่ละหลัง ได้รับการออกแบบให้เป็นพื้นที่ใช้สอยที่มอบทั้งความเป็นส่วนตัวและความสะดวกสบายแก่ผู้พักอาศัยตลอดทั้งปี มีระบบทำความร้อนและความเย็น มีช่องรับแสงธรรมชาติที่เพียงพอ รวมถึงการระบายอากาศที่ดีเยี่ยม สถาปนิกได้ออกแบบที่อยู่อาศัยสำเร็จรูปนี้ให้มีลักษณะเป็นโครงสร้างแบบโมดูลาร์ที่แยกส่วนและเชื่อมต่อกันได้ เพื่อการก่อสร้างและการประกอบโครงสร้างที่ทำได้โดยง่าย สามารถเคลื่อนย้ายหรือทำการขยายโครงการได้อย่างรวดเร็ว เพื่อการจัดสรรที่อยู่อาศัยที่มีความต้องการมากขึ้นในอนาคต และที่พักอาศัยนั้นจะถูกสร้างขึ้นด้วยวัสดุที่ทนทานและยั่งยืน เพื่อให้มั่นใจได้ถึงอายุการใช้งานที่ยาวนาน ด้านความปลอดภัยของผู้พักอาศัย คาดว่าจะมีการติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยที่ทันสมัย มีเจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์และบุคลากรทางการแพทย์คอยให้บริการ เช่น ให้คำปรึกษา ฝึกอาชีพ ดูแลสุขภาพ เป็นต้น แบบจำลองที่อยู่อาศัยนี้เป็นหนึ่งแนวทางใหม่ในการแก้ไขปัญหาคนไร้บ้าน ที่สามารถนำไปใช้สร้างในพื้นที่ต่างๆ ในเมืองที่ถูกละเลยหรือถูกทิ้งร้างให้เกิดประโยชน์มากกว่าเดิมได้ รวมถึงยังนำไปออกแบบและพัฒนาให้เข้ากับความเป็นเมืองและชุมชนอื่นๆ ตามความต้องการได้อีกด้วย สามารถติดตามผลงานอื่นๆ ของ Shail Patel ได้ที่ bit.ly/42VsShM Source :Designboom | bit.ly/3ZxdRzA

Happy Neighbor Market พาไปลงสนามธุรกิจจริงของลูกบ้าน SMART บริษัทนิติฯ ที่อยู่เบื้องหลังที่พักอาศัย

หากพูดถึงการเปิดร้าน จัดตลาดในคอนโดฯ คงไม่ใช่เรื่องแปลกนักสำหรับสมัยนี้ ‘Happy Neighbor Market’ จึงพิเศษ เพราะนี่คือการชวนลูกบ้านมาจัดตลาดกันที่ CentralwOrld แม่งานของตลาดครั้งนี้ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่คือ SMART ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการอาคารชุดและหมู่บ้านจัดสรร และงานบริการนิติบุคคล ที่มุ่งมั่นสร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่สังคมในโครงการที่อยู่อาศัย แทนที่จะจัดตลาด สนับสนุนการออกร้านในพื้นที่คอนโดฯ หรือหมู่บ้านขึ้นมาเฉยๆ SMART เลือกที่จะเติมเต็มความรู้ เพิ่มทักษะด้านการทำธุรกิจให้ลูกบ้านก่อน ด้วยการเปิดเวิร์กช็อป เชิญ 2 กูรูด้านธุรกิจอย่าง ‘ต่อ-ธนพงศ์ วงศ์ชินศรี’ เจ้าของร้านอาหาร Penguin Eat Shabu และ ‘โซอี้-โสภา พิมพ์สิริพานิชย์’ แห่ง Digital Shortcut ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำธุรกิจออนไลน์ ติวเข้มก่อนพาลูกบ้านไปลงสนามพื้นที่ธุรกิจจริง บรรยากาศในวันนั้นจะเป็นยังไงบ้าง Urban Creature อาสาพาไปดู ‘Happy Neighbor Market’ คือตลาดนัดแบบป๊อปอัพที่จัดขึ้นใจกลางห้างดัง ที่นอกจากจะมีความพิเศษอยู่ที่การรวมร้านค้าและส่วนลดมาหลากหลาย พร้อมโชว์จากศิลปินมาคอยสร้างสีสันให้ตลอดงาน อีกหนึ่งจุดเด่นที่ไม่เหมือนใครก็คือพ่อค้าแม่ขายที่มาออกบูธในตลาดนี้ ล้วนแต่เป็นลูกบ้านในหมู่บ้านและคอนโดฯ ที่ SMART บริหารจัดการ  แม่งานของตลาดครั้งนี้ไม่ใช่ใครที่ไหน […]

แผนที่เช็กราคาบ้านและคอนโดฯ ใกล้-ไกลที่ทำงาน ดูการจราจร แถมกำหนดความต้องการได้เอง

สำหรับคนวัยทำงานที่ทำงานมาได้ประมาณหนึ่ง คงเริ่มมีความมั่นคงและมองหาสินทรัพย์อย่างอสังหาริมทรัพย์ เช่น ความต้องการซื้อบ้านและคอนโดฯ เป็นของตัวเอง การมาไล่เสิร์ชข้อมูลรายละเอียดต่างๆ คงยากไม่น้อย ไหนจะต้องกางข้อมูลมาเปรียบเทียบกับความต้องการแบบปัจเจก เช่น ใกล้ที่ทำงานไหม ขนาดห้องเท่าไหร่ มีที่จอดรถหรือเปล่าอีก ด้วยเหตุนี้ ‘แม้พ-ศรัณย์ ว่องธนาการ’ วิศวกรผู้กำลังมองหาคอนโดฯ ใกล้ที่ทำงาน จึงเกิดไอเดียทำแผนที่ไว้เช็กราคาบ้านและคอนโดฯ แบบง่ายๆ โดยอ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ www.gobestimate.com  “Pain Point คือเวลาหาบ้านมันจะมีความต้องการอย่างการอยากได้ที่จอดรถเยอะๆ แนวโมเดิร์นหน่อย เป็นต้น แต่ละคนมีเงื่อนไขของตัวเอง ปัญหาคือเราไม่สามารถฟิลเตอร์ข้อมูลง่ายๆ ว่ามีคอนโดฯ อะไรอยู่โซนไหน ต้องเสิร์ชหรือเห็นจากโฆษณา หรือบางทีเจอคอนโดฯ ที่ดูดีแต่จะดูว่าข้างๆ มีอะไรบ้าง ติดกับที่ไหน ก็ค่อนข้างยาก “จนไม่นานมานี้ เราไปเจอว่ามีเว็บไซต์ที่แจกข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ฟรี ซึ่งข้อมูลค่อนข้างครบถ้วน ตั้งแต่ละติจูดลองจิจูด ราคาที่เช็กแล้วตรงตามความเป็นจริง เลยเอาข้อมูลที่ได้มาพล็อตใส่สีและแผนที่ออกมาเป็นอย่างที่เห็น” แม้พได้ลองโพสต์ตัวเว็บไซต์คร่าวๆ ลงเฟซบุ๊กของตัวเอง และพบว่ามีคนสนใจอยากใช้งานเป็นจำนวนมาก เขาเลยคิดว่าอาจจะอัปโหลดเว็บไซต์ที่สมบูรณ์ขึ้นให้ผู้ที่สนใจลองใช้งาน โดยระหว่างนี้เขาก็พยายามปรับแก้ฟีเจอร์อยู่  ตอนนี้ข้อมูลที่สามารถระบุในเว็บไซต์ได้คือ ประเภทที่อยู่อาศัยที่ต้องการซื้อ ช่วงราคา ปีที่สร้าง ชื่อ Developer มีรถไฟฟ้าไหม เป็นต้น […]

1 ยูนิต 18 ล้านบาท ราคาคอนโดฯ โตเกียวพุ่งแซงสถิติสูงสุดที่เคยบันทึกปี 1990

คอนโดฯ ในโตเกียวราคาแพงหนักมากกก ล่าสุดมีรายงานว่าปี 2021 ที่ผ่านมา ราคาเฉลี่ยของคอนโดมิเนียมใหม่ต่อหนึ่งยูนิต ทั้งในพื้นที่โตเกียวและบริเวณใกล้เคียงพุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ที่ตัวเลข 62.60 ล้านเยน (ราคา 18 ล้านบาทนิดๆ) แซงหน้าจำนวนสูงสุดที่เคยบันทึกไว้ในปี 1990 เลยทีเดียว ราคาคอนโดฯ ที่ว่า เพิ่มขึ้นเป็น 2.9 เปอร์เซ็นต์จากปีก่อนหน้า เพิ่มทั้งในเขตเมืองหลวงและในอีกสามจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ คานางาวะ, ชิบะ และไซตามะ  สาเหตุของราคาแพงลิบลิ่ว มาจากความนิยมที่มีต่ออสังหาริมทรัพย์หรูหราที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ยกตัวอย่างเช่น คอนโดฯ สูงใจกลางเมืองโตเกียว ก็คือย่านที่อยู่ฮอตฮิตที่ทุกคนล้วนใฝ่ฝันอยากเป็นเจ้าของ เมื่อเทียบราคาคอนโดฯ ต่อยูนิตที่เคยมียอดเฉลี่ยแตะเพดานสูงสุด ระหว่างปี 1990 กับปี 2021 ช่วงต้น 90s ราคาคอนโดฯ แถบเขตโตเกียวอยู่ที่จำนวน 61.23 ล้านเยน (ราคาประมาณ 17 ล้านกว่าบาท) ราคาที่แพงมากในปัจจุบันนี้ มาจากต้นทุนการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง นับตั้งแต่ญี่ปุ่นเริ่มเตรียมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกโตเกียวปี 2013 ประกอบกับปัจจัยการขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ส่งผลให้ราคาต่อหน่วยพุ่งสูงขึ้นมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และแน่นอน ต่อจากนี้ราคาไม่อาจลดต่ำลงได้ง่ายๆ […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.