FYI

อัปสกิลวิสาหกิจชุมชนไทย ปลดล็อกความรู้ มุ่งสู่ความยั่งยืน โครงการ ‘ไทยประกันชีวิต เสริมโอกาส สุขยั่งยืน’ สร้างคุณค่าร่วมแบบ Ecosystem

‘ผลิตภัณฑ์และบริการจากวิสาหกิจชุมชน’ คือแรร์ไอเทมประจำท้องถิ่นที่รอการส่งเสริมและพัฒนา เพราะนอกจากจะทำให้ชุมชนเป็นที่รู้จักมากขึ้นในวงกว้าง ช่วยยกระดับเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เข้มแข็ง ยังทำให้คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดีตามไปด้วย แต่ถ้าถามว่า แล้วการยกระดับที่ว่าเป็นแบบไหน เราขอแนะนำให้รู้จักกับ 2 ผู้ประกอบการจาก 2 วิสาหกิจชุมชนที่ตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรม ‘ไทยประกันชีวิต เสริมโอกาส สุขยั่งยืน’ และนำความรู้ไปพัฒนาธุรกิจต่อจนประสบความสำเร็จ คนแรกคือ ‘หนิง-ธนพร วงค์เขื่อน’ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรุ่นที่ 1 ในเขตภาคเหนือที่จังหวัดเชียงราย จากวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรท่าสุด (ท่าสุดเฮิร์บ) จ.เชียงราย ธนพรทำให้เราเห็นภาพความสำเร็จของโครงการนี้ชัดขึ้น ด้วยแนวทางการสร้างความร่วมสมัยให้ผลิตภัณฑ์ บริการแปรรูปสมุนไพร และบริการด้านสุขภาพ ให้เข้าถึงคนรุ่นใหม่ง่ายขึ้น เพื่อส่งให้ภูมิปัญญาไทยดั้งเดิมไปถึงผู้คนในวงกว้าง โดยวิธีการที่ว่าคือ การมุ่งเน้นที่การเพิ่มทักษะด้านการขาย และการสื่อสารการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ใหม่ๆ มีการเล่าเรื่องราวเบื้องหลังของแบรนด์ผ่านสื่อโซเชียล สร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ตามสโลแกน ‘ผ่อนที่กาย คลายที่ใจ By Tasud Herb’ อีกทั้งยังมีการจับมือกับเครือข่ายสายสัมพันธ์มาช่วยเสริมธุรกิจในหลายด้าน ตั้งแต่การเพิ่มพูนความรู้ ปรับปรุงรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ให้โมเดิร์นน่าใช้ เพิ่มช่องทางตลาดและจุดจำหน่าย ไปถึงยกระดับมาตรฐานแหล่งวัตถุดิบและสินค้า ทั้งหมดนี้ทำให้แบรนด์ Tasud Herb (ท่าสุดเฮิร์บ) ของวิสาหกิจชุมชนเติบโตฮิตติดตลาดอย่างรวดเร็ว และได้รับความนิยมจากกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่เป็นจำนวนมาก จนมีรายได้เพิ่มขึ้นกว่าเดิมถึง 50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว […]

‘ตรอกสลักหิน’ ย่านชาวจีนหลังหัวลำโพงที่ขับเคลื่อนชุมชนด้วยวัฒนธรรมและศิลปะ

ระยะนี้ชื่อของ ‘ชุมชนตรอกสลักหิน’ ในโซเชียลมีเดียน่าจะผ่านตาของใครหลายคน เมื่อสปอตไลต์ฉายไปยังชุมชนกลางเมืองที่บางคนอาจยังไม่รู้จัก จนเป็นเหมือนแม่เหล็กดูดคนจากต่างถิ่นให้ปักหมุดมายังตรอกเล็กๆ หลังสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) แห่งนี้ ถัดจากด่านเก็บเงินทางพิเศษศรีรัช ขนาบข้างด้วยทางรถไฟ เดินไปตามถนนรองเมือง ไม่ทันไรก็มาถึงใต้ชายคาบ้านไม้สองชั้นที่แปรเปลี่ยนหน้าที่เป็นมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก สถานที่พักใจของเด็กๆ ในวันหยุดด้านหลังวัดดวงแข วันนี้เป็นวันธรรมดา มูลนิธิไร้เงาเด็กน้อยเพราะไปเรียนหนังสือ เสียงจอแจเงียบหายไปเหมือนเสียงหวีดรถไฟที่ซาลงไปไม่กี่ปีมานี้ แต่จุดประสงค์ของเราไม่ใช่เยาวชนชาวตรอกสลักหิน ทว่าเป็นเบื้องหลังของกลุ่มเด็ก เพื่อฟังเรื่องราวจากปากชาวชุมชนที่ผลักดันให้เกิดทริปนี้ขึ้นมา แหล่งอโคจรยุคอันธพาลครองเมือง “ผมเห็นตั้งแต่ชุมชนไม่มีอะไร จนมูลนิธิฯ เข้ามาพัฒนา เอาศิลปะมาลง” ‘ปีโป้-เศรษฐศักดิ์ จตุปัญญาโชติกุล’ เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ เริ่มต้นเล่าถึงตรอกสลักหินที่เขารู้จัก “เมื่อก่อนใครจะเข้าชุมชนก็โดนตี ในช่วงอันธพาลครองเมือง ยาเสพติด การพนัน ค้าประเวณี” ในช่วงปี 2499 ยุคอันธพาลครองเมือง บริเวณตรอกสลักหินและพื้นที่รอบๆ มีกลุ่มเจ้าถิ่นดูแลอยู่ตลอด เป็นพื้นที่อโคจรที่เต็มไปด้วยสิ่งผิดกฎหมาย ชื่อของตรอกเป็นที่รู้จักของคนวัยเก๋าในฐานะบ้านเกิดของ แดง ไบเลย์ หนึ่งในอันธพาลตัวเอ้ของพระนคร ย้อนไปในอดีต ด้วยระยะทางที่ใกล้กับขนส่งมวลชนสำคัญในขณะนั้น ทำให้ผู้คนจากหลากที่มาต่างเข้ามาจับจองพื้นที่ในตรอกสลักหินเพื่อพักผ่อน เช้าก็ออกไปประกอบอาชีพรองรับผู้เดินทาง เช่น แม่ค้าส้มตำที่หาบจากในตรอกไปนั่งรอลูกค้าด้านหน้าสถานีหัวลำโพง จนเป็นเหมือนสัญลักษณ์ในวันวานที่หลายคนคุ้นตา “บางคนก็อาศัยอยู่ในนี้ บางคนก็อาศัยในชุมชนวัดดวงแข มีห้องเช่าทั้งรายวัน รายเดือน […]

‘เด็กสลักหินพา PLAY’ เดินสำรวจชุมชน ตามรอยร้านอร่อยในหัวลำโพง กับเหล่าไกด์ตัวจิ๋วประจำตรอกสลักหิน

ปกติแล้วเวลาไปร่วมกิจกรรมทริปเดินสำรวจเมือง ไกด์หรือผู้นำกิจกรรมมักเป็นผู้ใหญ่ในชุมชนหรือนักวิชาการ ที่จะบอกเล่าประวัติศาสตร์ความเป็นมาของพื้นที่ให้เราที่เป็นผู้ร่วมกิจกรรมฟังอย่างเพลิดเพลิน แต่กับทริป ‘เด็กสลักหินพา PLAY’ ภายใต้โครงการกรุงเทพรวมมิตรฯ ซึ่งเป็นโครงการที่ส่งเสริมการเรียนรู้พหุวัฒนธรรมผ่านการท่องเที่ยว จัดโดยนักออกแบบที่ทำงานชุมชน มิวทวล กราวน์ ร่วมกับริทัศน์บางกอก ให้ประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป เพราะไกด์ในทริปนี้เป็นแก๊งเด็กในชุมชนที่จะมาพาเราออกเดิน และบอกเล่าเรื่องราวความประทับใจในชุมชนตรอกสลักหิน ย่านหัวลำโพงที่ตัวเองอยู่อาศัยผ่านสายตาเล็กๆ เหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นถนนหนทาง ต้นไม้ งานศิลปะ สัตว์ตัวน้อย มุมที่ชอบ ไปจนถึงร้านอร่อยที่เด็กๆ ทำโพลรีวิวกันเอง ทั้งหมดนี้เราคงไม่มีทางทราบได้ถ้าไม่ได้ไกด์เด็กๆ ในชุมชนมาชี้ชวนเล่าให้ฟัง ยังไม่นับรวมไกด์บุ๊กที่น้องๆ ลงมือวาดกันเอง แถมยังมีมิชชันที่ล้วนข้องเกี่ยวกับตัวพื้นที่ให้ทำสนุกๆ ระหว่างเดินทางไปด้วย เช่น ถ่ายรูปกับทาวน์เฮาส์สไตล์ฮ่องกงที่ซุกซ่อนตัวอยู่ในพื้นที่ เล่นเครื่องเล่นในสนามเด็กเล่นของชุมชน อัดเสียงนกกรงหัวจุกที่คนในชุมชนเลี้ยง เล่นและเซลฟีกับน้องหมาโมจิที่เป็นที่รักของเด็กๆ เป็นต้น นับเป็นกิจกรรมดีๆ ที่ทำให้เด็กๆ ในชุมชนได้ทดลองทำอะไรใหม่ๆ ฝึกฝนทักษะที่อาจนำไปสู่การต่อยอดความถนัดในอนาคต รวมถึงสร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับชุมชนที่พวกเขาอาศัยอยู่ ใครที่อยากลองไปร่วมทริปดีๆ แบบนี้อีก ติดตามกิจกรรมครั้งต่อๆ ไปได้ที่เพจ mutualground.lab 

‘Urban Common Source’ แพลตฟอร์มรวมข้อมูลของกรุงเทพฯ ที่จะทำให้การแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาเมืองเป็นเรื่องง่ายแค่ปลายนิ้ว

การหาข้อมูลต่างๆ ในปัจจุบัน เราทุกคนต่างเชื่อว่าสามารถค้นหาทุกอย่างได้บนอินเทอร์เน็ต แต่บางครั้งการหาข้อมูลทั่วๆ ไปของเมืองที่เราอาศัยอยู่ กลับต้องใช้เวลาในการยื่นคำร้องสู่หน่วยงานอีกหลายขั้นตอนกว่าจะได้รับข้อมูลนั้นมา และไม่ใช่แค่ประชาชนทั่วไปที่ต้องการข้อมูลเหล่านี้ไปทำงานหรือทำวิจัย แต่เชื่อหรือไม่ว่า แม้แต่หน่วยงานรัฐเองบางครั้งก็ประสบปัญหาการสืบค้นข้อมูลเมือง ทำให้การพัฒนาพื้นที่บางจุดในเมืองเป็นไปอย่างล่าช้าเกินกว่าที่ควรจะเป็น คอลัมน์ Trouble Solver พาไปทำความรู้จักกับ urbancommonsource.com แพลตฟอร์มฐานข้อมูลเมือง ที่เกิดจากการทำงานของ Urban Studies Lab ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และการร่วมมือกับกรุงเทพมหานครและหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ เพื่อสร้างพื้นที่ส่วนกลางในการเก็บบันทึกและแลกเปลี่ยนข้อมูล ให้การทำงานของหน่วยงานรัฐ รวมถึงภาคส่วนอื่นๆ ที่ต้องการใช้ข้อมูลเมืองมีความสะดวกสบายและง่ายขึ้น Urban Studies Lab กับการเป็นตัวกลางเชื่อมรัฐและชุมชน ‘ศูนย์วิจัยชุมชนเมือง’ หรือ ‘Urban Studies Lab (USL)’ คือศูนย์วิจัยอิสระด้านการศึกษาเมือง ที่เน้นการพัฒนาเมืองในทุกมิติ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านสังคม คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน รวมถึงกลุ่มเปราะบาง ผ่านการวิจัยเชิงปฏิบัติและการพัฒนาเชิงพื้นที่แบบมีข้อมูลเป็นหลักฐาน การทำงานของ Urban Studies Lab จะเป็นการพัฒนาชุมชนโดยใช้การมีส่วนร่วมระหว่างภาคส่วนต่างๆ ภายในเมือง เช่น ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษาหรืองานวิจัย และภาคประชาสังคม […]

The Fig Lobby โรงแรมสีสดใสย่านคลองเตยที่อยากเป็น ‘สนามผู้ใหญ่เล่น’ ที่สนุกและผ่อนคลายแบบไร้กรอบ

ตามประสาคนเสพติดการ Workation เป็นชีวิตจิตใจ ฉันเลิฟการสกรอล์หน้าจอเพื่อเสาะหาที่พักใหม่ๆ ที่ช่วยเปลี่ยนบรรยากาศการทำงานให้กระชุ่มกระชวยเป็นที่สุด วันหนึ่ง ภาพของ ‘The Fig Lobby’ โรงแรมใหม่ย่านคลองเตยก็โผล่ขึ้นมาบนฟีด สีสันของตึกอาคารที่สนุกสดใสดึงความสนใจของฉันได้ตั้งแต่แวบแรก รู้ตัวอีกที ฉันก็มายืนหน้าล็อบบี้ของ The Fig Lobby ถือ Welcome Ice Cream ของโรงแรมอยู่ในมือ และพร้อมที่จะเดินสำรวจที่พัก+ที่ทำงาน (ชั่วคราว) แห่งใหม่อย่างระริกระรี้ สิ่งที่ได้จากการสำรวจอาจเล่าย่อๆ ได้ดังนี้ : ที่นี่มีห้องพัก 68 ห้องรองรับแขก มีร้านอาหารและคาเฟ่ที่นั่งทำงานเพลินสุดๆ นอกจากนี้ยังมีสปาธีมอินเดียฟีลดี ห้องปั้นเซรามิกสุดอบอุ่น สตูดิโอทำงานศิลปะ บาร์และร้านอาหารสไตล์เม็กซิกันอยู่บนชั้นดาดฟ้า และมีห้องปั่นจักรยานประกอบของ Native คอยให้บริการสายสุขภาพ ที่ต้องมีเยอะขนาดนี้เพราะ ‘พลอย-ชาลิสา เตียนโพธิทอง’ ผู้ก่อตั้ง The Fig Lobby ผู้อาสาพาฉันทัวร์ในวันนี้บอกว่าที่นี่ไม่ใช่แค่โรงแรม แต่เธอหวังอยากให้เป็นพื้นที่ที่ผู้ใหญ่วัยมันได้มาใช้ชีวิตกันเต็มที่ ภายใต้ไวบ์สขี้เล่นๆ ที่พร้อมอ้าแขนกว้างต้อนรับทุกคนอย่างเต็มกอด Magic Lobby สำหรับพลอย การมีโรงแรมเป็นของตัวเองคือความฝัน “พลอยชอบโรงแรมตั้งแต่เด็ก […]

ร่วมออกแบบนโยบายเพื่อยกระดับ ‘การท่องเที่ยวชุมชนของสระบุรี’ ให้เป็นเศรษฐกิจที่สร้างสรรค์และยั่งยืน

‘สระบุรี’ คือจังหวัดเมืองรองในภาคกลางที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก มีพื้นที่ราบสลับกับพื้นที่ภูเขา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมผสมผสานกับพื้นที่การเกษตร ทว่านอกจากเป็นเมืองทางผ่านที่สำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมอันดับต้นๆ ของประเทศแล้ว สระบุรียังเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและประวัติศาสตร์กระจายตัวอยู่มากมาย ที่เป็นเช่นนั้นเพราะชุมชนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในลุ่มแม่น้ำป่าสักของสระบุรี เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพย้ายถิ่นมาไม่น้อยกว่า 150 ปี ที่นี่จึงเป็นแหล่งรวบรวมความหลากหลายของชาติพันธุ์ต่างๆ เช่น ไทยวน ลาวเวียง พวน มอญ และจีน ทำให้สระบุรีมีมรดกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่น่าสนใจ ที่กำลังรอให้นักท่องเที่ยวมาสัมผัสด้วยตัวเอง ทั้งนี้ สระบุรีและอีก 3 จังหวัดในบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก ได้แก่ เพชรบูรณ์ ลพบุรี และพระนครศรีอยุธยา กลับต้องเผชิญกับความท้าทายด้านการท่องเที่ยวชุมชนในมิติต่างๆ เช่น ชุมชนไม่ได้รับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยว เพราะส่วนใหญ่จะตกอยู่ในมือภาคธุรกิจขนาดใหญ่ รวมไปถึงการสร้างเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์จากทุนทางวัฒนธรรม การพัฒนาทรัพยากรบุคคล การเปลี่ยนกรอบความคิดของคนในชุมชน การสร้างผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์ และการพัฒนามาตรฐานของสินค้าและบริการต่างๆ เป็นต้น เพื่อยกระดับและพัฒนา ‘การท่องเที่ยวชุมชน’ ของสระบุรีให้กลายเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทาง Thailand Policy Lab และ UNDP Accelerator Lab Thailand จากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ได้จัดกิจกรรม ‘Policy Innovation […]

Life in KKC วิถีขอนแก่น

‘ขอนแก่น’ เป็นอีกเมืองที่น่าสนใจจากประสบการณ์ที่เราได้มีโอกาสไปทำงานที่นั่น และได้ใช้เวลาอยู่ในเมืองนั้นสักพักหนึ่ง ทำให้เราได้บันทึกภาพชุดนี้ขึ้นมา ภาพชุดนี้เป็นเรื่องราวประจำวันที่เราได้เจอหรือว่าผ่านตามา เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งของและสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่ทั้งธรรมดาและแปลกตา ซึ่งคนในเมืองอย่างพวกเราคงไม่ค่อยมีโอกาสได้เห็น รูปชุดนี้แบ่งเป็นสองส่วน ได้แก่ ภาพที่บันทึกในชีวิตประจำวัน และภาพจากตลาดวัว เราเลือกสองเรื่องนี้มานำเสนอเพราะแต่ละรูปคือขอนแก่นที่เราได้รู้จักและไปพบเจอ ไม่ว่าจะเป็นป้ายหน้ายิ้มที่มันดูแปลกตา มุ้งที่คลุมท้องฟ้า ตึกสีแปลกๆ ป้ายร้านก๋วยเตี๋ยวร้านโปรดของเรา แล้วก็ไม่รู้สังกะสีหรือกิ้งก่ากันแน่ที่มันปรับตัวเข้าหากัน รวมถึงวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ด้วย ส่วนเหตุผลที่เราเลือกตลาดวัวมานำเสนอ เพราะเราชื่นชอบเรื่องราวของตัวตลาดมาก ไม่ว่าจะเป็นการต้องตื่นเช้ามืดเพื่อไปตลาด หรือวัวแปลกๆ ที่เราได้ไปเจอ รวมไปถึงผู้คนที่มาเร่ขายวัว ทั้งหมดเป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่สำหรับเรา จึงอยากนำมาเล่าผ่านภาพให้ทุกคนได้เห็นกัน ติดตามผลงานของ ปีติ์ สายแสงทอง ต่อได้ที่ Instagram : georgecallmedadddy และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

Targ Blonie Market ตลาดสดสไตล์มินิมอลในโปแลนด์ โปร่งสบาย ถูกสุขอนามัย เชื่อมคนในชุมชนเข้าหากัน

เมื่อพูดถึง ‘ตลาดสด’ ภาพในหัวของใครหลายคนคงจะเป็นสถานที่ร้อนๆ อากาศอบอ้าว บรรยากาศมืดครึ้ม มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ แต่ต่อจากนี้ เราขอให้คุณลบภาพเหล่านั้นทิ้งไปให้หมด เพราะวันนี้เราจะพาไปดูตลาดสดในประเทศโปแลนด์ที่จะเปลี่ยนความคิดของคุณไปอย่างสิ้นเชิง ‘Targ Blonie Market’ เป็นตลาดสดที่ตั้งอยู่ในชุมชน Blonie เมืองเล็กๆ ใกล้เมือง Warsaw ประเทศโปแลนด์ ที่เกิดขึ้นจากการพยายามปรับปรุงตลาดสดดั้งเดิมให้มีความน่าสนใจและเข้าถึงผู้คนในชุมชนได้ง่ายขึ้น ผ่านการออกแบบภาพลักษณ์ใหม่ให้มีความปลอดโล่งโปร่งสบายและสนับสนุนวัตถุดิบในท้องถิ่น Targ Blonie Market ถูกพัฒนาขึ้นโดย ‘Aleksandra Wasilkowska Architectural Studio’ สตูดิโอออกแบบที่รับผิดชอบ ภายใต้แนวคิด ‘Shadow Architecture’ ซึ่งเป็นวิธีการจัดวางตำแหน่งโครงสร้างและหลังคาที่เหมาะสมเพื่อให้ได้แสงที่ช่วยส่งเสริมบริเวณโดยรอบ และจัดการกับมาตรฐานด้านสุขอนามัยและโครงสร้างพื้นฐานของตลาด จนเกิดเป็น ‘ตลาดลูกผสม’ ระหว่าง ‘สวนสาธารณะ’ และ ‘ตลาดสด’ ด้วยภาพลักษณ์สะอาดตาจากหลังคาสีขาวที่สร้างขึ้นเพื่อบังแสงแดดและฝน รวมไปถึงแผงขายของแบบขั้นบันได ทำให้การวางสินค้าเป็นไปอย่างสวยงามมากยิ่งขึ้น แนวคิดนี้มีจุดมุ่งหมายหลักคือ การทำให้ประชาชนในพื้นที่เข้าถึงอาหารที่ดีต่อสุขภาพในราคาไม่แพงได้ โดยเน้นไปที่การจำหน่ายวัตถุดิบจากเกษตรกรในท้องถิ่น เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการรายเล็กมีอำนาจในการต่อรอง และสร้างสายใยความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชนให้แน่นแฟ้นมากขึ้น อีกหนึ่งความพิเศษของ Targ Blonie Market ที่ทำให้ตลาดสดแห่งนี้เป็นมากกว่าตลาดทั่วๆ ไปคือ เมื่อตลาดปิดให้บริการ […]

ตามล่าขุมทรัพย์ปริศนาแห่งธนบุรีไปกับ ‘เกมท่องธน’ (Game of Thon) ที่ผสมการเล่นบนจอและโลกจริงไว้ด้วยกัน

‘ธนบุรี’ คืออดีตเมืองหลวงที่มีเรื่องราวมากมายซ่อนไว้ ซึ่งไม่ได้อยู่เพียงแค่ในวัดวังและโบราณสถานอันยิ่งใหญ่เท่านั้น แต่ยังซุกซ่อนอยู่ตามซอกซอย เส้นทาง และผู้คน รอคอยให้ใครสักคนมาค้นพบในสักวัน เร็วๆ นี้ ทุกคนจะได้สัมผัสการผจญภัยครั้งสำคัญกับ ‘เกมท่องธน’ (Game of Thon) เกมรูปแบบใหม่ที่ผสมผสานการเล่นบนหน้าจอสมาร์ตโฟนกับการเล่นในสถานที่จริงเข้าไว้ด้วยกัน โดยตัวเกมจะพาทุกคนไปตามหาเรื่องราวในอดีตของฝั่งธนฯ และเปลี่ยนประสบการณ์การท่องเที่ยวในย่านนี้ให้แตกต่างไปจากเดิม ผู้นำเสนอเกมท่องธนคือกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่อยากพัฒนาย่านฝั่งธนบุรี ‘ยังธน’ ร่วมกับ ‘CROSSs’ และ ‘กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์’ ซึ่งภายในเกมมีฟีเจอร์ที่น่าสนใจ ดังนี้ 1) สวมบทบาทเป็นนักผจญภัย ตามหาขุมทรัพย์ในอดีตของธนบุรีที่หายไป2) ผสมผสานการเล่นทั้งโลกหน้าจอและโลกจริงเข้าด้วยกันอย่างแนบเนียน3) เปลี่ยนย่านบางกอกใหญ่ให้เป็นดินแดนการผจญภัยแสนสนุก4) ลับสมองประลองปัญหากับมินิเกมจากสถานที่ต่างๆ ทั่วบางกอกใหญ่5) เพิ่มความสนุกและตื่นเต้นไปกับเรื่องราวของย่าน ด้วยการสะสมสัตว์เลี้ยงและการ์ดต่างๆ6) สนับสนุนและกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น ด้วยระบบคูปองแลกซื้อสินค้าจากร้านชุมชน “Game of Thon คือเกมที่จะทำให้ผู้เล่นได้รู้จักฝั่งธนฯ มากขึ้น เราอยากให้เกมนี้เป็นเหมือนตัวกลางที่ทำให้คนในพื้นที่และคนนอกพื้นที่ได้เจอมาเจอกัน และแลกเปลี่ยนความรู้ด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ คุณค่าของย่าน รวมไปถึงขับเคลื่อนเศรษฐกิจในชุมชนด้วย” ‘เมฆ สายะเสวี’ สมาชิกกลุ่มยังธน เล่าให้ฟังถึงความตั้งใจของการพัฒนาเกมนี้ มากไปกว่านั้น กลุ่มยังธนยังคาดหวังว่า เกมท่องธนจะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ทำให้ผู้คนรู้จักย่านต่างๆ ในธนบุรีมากขึ้น โดยผู้เล่นเกมสามารถใช้เกมนี้ในการชักชวนเพื่อนๆ […]

3’Orn Co-living ธีสิสหอพักย่านสะพานเหลืองที่อยากลดค่าครองชีพให้ชาว First Jobber

หนึ่งในปัญหาใหญ่ของวัยเริ่มทำงานคือ การต้องตัดสินใจเลือกระหว่างที่พักที่เดินทางไปทำงานสะดวกในราคาสูง หรือลดราคาที่พักลงมาแต่ต้องแลกกับการเดินทางที่ค่อนข้างลำบาก ซึ่งเมื่อคำนวณแล้ว สุดท้ายอาจไม่คุ้มกันอยู่ดี  จะดีกว่าไหม ถ้ามีที่อยู่อาศัยที่ทั้งใกล้ขนส่งมวลชน เดินทางง่าย ห้องพักอยู่สบาย และราคาเหมาะสมที่ไม่ถึงกับต้องตัดค่าใช้จ่ายบางส่วนทิ้งไป ‘อัน-อรวรา เวโรจน์วิวัฒน์’ นิสิตภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มองเห็นปัญหานี้ รวมไปถึงปัญหาการล่มสลายของชุมชนอยู่อาศัยดั้งเดิมในเมืองชั้นใน ซึ่งเกิดจากความต้องการที่อยู่อาศัยในเมืองที่เพิ่มขึ้น ทำให้พื้นที่เมืองชั้นในถูกรื้อ ส่งผลให้ผู้คนในชุมชนย้ายออก ร้านค้าซบเซา มีจำนวนตึกว่างให้เช่าหรือขายเพิ่มขึ้นในพื้นที่ชุมชน  เธอจึงนำมันมาเป็นไอเดียสำหรับการทำธีสิสในหัวข้อ ‘โครงการพัฒนาย่านที่อยู่อาศัยสะพานเหลืองเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชากรวัยทำงานตอนต้นและผู้อาศัยดั้งเดิม’ และไม่ใช่แค่การออกแบบผ่านโครงงานจนได้เป็นวิทยานิพนธ์ดีเด่นประจำปี 2562 เท่านั้น แต่ธีสิสหัวข้อนี้ยังกลายเป็น ‘หอพัก 3’Orn Co-living’ ที่เปิดให้คนเข้าพักได้จริงในย่านสะพานเหลือง ตรงกับความตั้งใจของผู้ออกแบบที่ต้องการทำที่อยู่อาศัยราคาเข้าถึงได้ และช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กลุ่ม First Jobber อย่างตัวเอง First Jobber และปัญหาค่าครองชีพในเมือง “ด้วยความที่เราเป็นเด็กต่างจังหวัดเข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ ได้รับเงินค่ากินอยู่เป็นรายเดือน ทำให้เป็นกังวลต่อการแบ่งค่าใช้จ่าย ค่ากิน ค่าอยู่ ยิ่งตอนปี 5 ใกล้จะเรียนจบ ก็เริ่มคิดว่าเราจะไปทำงานที่ไหน จะอยู่ยังไง จะจัดการค่าใช้จ่ายยังไง ซึ่งคาบเกี่ยวพอดีกับช่วงที่ทำธีสิส เราเลยเอาความกังวลและคำถามเหล่านั้นไปศึกษาต่อ  “จริงๆ ทำเพื่อตอบคำถามให้ตัวเองแหละ […]

สัมผัสวิถีชนบทในเมืองหลวงที่ ‘ชุมชนวัดจำปา’

ภาพจำของหลายคนที่มองมายังกรุงเทพฯ คือเหล่าตึกสูงระฟ้า รถราติดหนึบ และมลพิษจากย่านใจกลางเมือง แต่จริงๆ แล้ว กรุงเทพฯ ยังมีส่วนของชานเมืองรอบนอกที่ยังคงสภาพวิถีชีวิตดั้งเดิม เป็นชาวสวนผลไม้ที่ผูกพันกับสายน้ำลำคลอง อากาศสดชื่น และบรรยากาศที่แทบไม่ต่างอะไรกับต่างจังหวัด  ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ ‘ตลิ่งชัน’ หนึ่งในเขตชานเมืองทางฟากตะวันตกของกรุงเทพฯ ที่หลายคนอาจคุ้นหูจากการเป็นทางผ่านลงภาคใต้ทางถนนเพชรเกษม หรืออาจพอได้ยินมาบ้างจากการเป็นแหล่งรวมคาเฟ่และร้านอาหารบนถนนบรมราชชนนีและถนนราชพฤกษ์ แต่ถัดเข้ามาจากถนนใหญ่หลายสายที่ตัดผ่านเขตนี้ ยังมีชุมชนเล็กๆ กลางสวนและบ้านจัดสรร ที่ยังคงเสน่ห์และวิถีชีวิตดั้งเดิมมากว่าร้อยปี จากเงาของตึกสูงที่ตกลงมาบนถนนใหญ่ใจกลางเมือง เปลี่ยนเป็นร่มเงาต้นไม้ที่ทาบลงบนถนนสายเล็กๆ ของชุมชนและบนผิวน้ำในคลองที่ใสสะอาด เรือหางยาววิ่งเสียงดังลั่นคุ้งน้ำเป็นสัญญาณต้อนรับ เหนือยอดไม้แทบไม่เห็นตึกสูง ฉากหลังของบ้านเรือนไทยเป็นท้องฟ้าสีสดใส ไร้ทัศนะอุจาดรบกวนเหมือนในเมือง ท่ามกลางเสียงจากธรรมชาติที่ได้ยินอยู่ตลอดเวลา เชื่อหรือไม่ว่าภาพเช่นนี้เห็นได้ด้วยการเดินทางจากในเมืองมาไม่นานนัก บรรยากาศของที่นี่ไม่ต่างอะไรจากสวนที่พบเจอได้ในจังหวัดอื่นๆ ผิดแต่ว่าที่นี่อยู่ในเขตของกรุงเทพฯ เมืองหลวงของประเทศที่นับวันจะหาพื้นที่สีเขียวได้ยากขึ้นทุกที หลักฐานความเจริญของย่านตลิ่งชันที่ ‘วัดจำปา’  เราเดินเข้าสู่รั้ววัดจำปา พบกับ ‘พี่ดุ่ย-ทวีศักดิ์ หว่างจันทร์’ ตามนัดหมาย ประธานชุมชนวัดจำปาต้อนรับขับสู้ด้วยไมตรีจิต ก่อนนำเราตรงไปยังอุโบสถวัดจำปา พร้อมทั้งเล่าสารพัดเรื่องราวของวัดโบราณคู่ชุมชนแห่งนี้ โดยเฉพาะเหล่าของดีมีราคา และของจากในราชสำนัก “หน้าบันอุโบสถประดับอ่างล้างหน้างานยุควิกตอเรีย สมัยรัชกาลที่ 4 ตอนนี้พบสองที่คือวัดจำปากับพระนครคีรี ที่นู่นสีเขียว ที่นี่สีชมพู อาจจะก่อนหรือหลังรัชกาลที่ 4” พี่ดุ่ยชวนเราเงยหน้ามองที่สิ่งอันซีนอย่างแรก เมื่อเข้าไปด้านในอุโบสถก็พบกับของอีกชิ้นหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน นั่นคือลูกกรงเหล็กสีทองด้านหน้าพระประธานในอุโบสถ […]

เยือนย่านสามเสน บ้านเขมร บ้านญวน ชุมชนชาวคริสต์ในกรุงเทพฯ

ถ้าค้นเรื่องสืบรากไปในพื้นที่บางกอกที่ตั้งของเมืองหลวงในปัจจุบัน จะพบว่าก่อร่างมาจากการผสมปนเปของกลุ่มคนหลากเชื้อชาติหลายศาสนาที่เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยในหลายช่วงเวลา ตั้งแต่ยังไม่ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองเสียด้วยซ้ำ เห็นได้จากหลักฐานมากมายทั้งอาคารสถาปัตยกรรมต่างๆ อาหารการกินนานาชาติ หรือเชื้อสายบรรพบุรุษของหลายๆ คน ที่เชื่อแน่ว่าจริงๆ แล้ว ต้นตอแทบไม่มีอะไรเป็นไทยแท้ ‘สามเสน’ เป็นอีกย่านหนึ่งที่เราอยากชวนมาสำรวจด้วยกัน เพราะถ้ามองผิวเผินแล้วอาจเห็นเป็นเพียงย่านที่เต็มไปด้วยส่วนราชการ ชุมชนเมือง และโรงเรียนชื่อดัง แต่ความจริงแล้วที่นี่เป็นอีกชุมชนริมแม่น้ำของกรุงเทพฯ ซึ่งรุ่มรวยไปด้วยประวัติศาสตร์และภาพความหลากหลายของกลุ่มคนที่อพยพมาจากภายนอกหลายช่วงเวลา ทั้งบ้านเขมร บ้านญวน แถมมีโบสถ์คริสต์เก่าที่ตั้งอยู่เคียงกันถึง 2 หลัง แวดล้อมด้วยชุมชนชาวคริสต์ขนาดใหญ่ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานและอัตลักษณ์น่าสนใจ ที่มาของชื่อบ้านนามเมืองตรงนี้มีการกล่าวถึงอยู่ในนิราศพระบาทของสุนทรภู่ ที่บอกเล่าว่าสามเสนนี้เพี้ยนมาจากคำว่าสามแสน ตามตำนานที่เล่าขานมาแต่อดีต ถึงเหตุการณ์ที่มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ลอยน้ำมา จนต้องใช้กำลังคนถึงสามแสนคนมาช่วยกันฉุดชักลากขึ้นฝั่ง จนกลายเป็นชื่อย่านสามแสนและเพี้ยนมาเป็นสามเสนในปัจจุบัน อาจจริงหรือไม่จริงก็ได้ เพราะข้อสรุปในเรื่องคำว่า ‘สามเสน’ นี้ยังไม่เป็นอันยุติ มาถึงย่านสามเสนทั้งที เราขอเริ่มรูตนี้ที่วัดสำคัญประจำย่านอย่างวัดราชาธิวาสวิหาร ซึ่งเป็นวัดที่ ‘ภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ’ หรือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เคยจำพรรษาอยู่ในขณะที่ทรงผนวช และก่อนหน้าพระองค์ ก็เคยมีพระมหากษัตริย์อีกพระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่เคยจำพรรษาที่วัดแห่งนี้เช่นกัน ปัจจุบันวัดที่เป็นเสมือนจุดกำเนิดของธรรมยุติกนิกาย ก็ยังคงความเป็นพื้นที่วัดอรัญวาสี (อรัญวาสี แปลว่าป่า) ที่มีความสงบผ่านบรรยากาศครึ้มด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ ดูแล้วคล้ายวัดป่าตามต่างจังหวัดไม่น้อย เมื่อสืบประวัติลึกลงไป จะพบว่าจริงๆ แล้ว วัดแห่งนี้ไม่ได้เพิ่งเฟื่องฟูในสมัยรัตนโกสินทร์ แต่ก่อนหน้านี้ วัดราชาธิวาสฯ […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.