‘ผลิตภัณฑ์และบริการจากวิสาหกิจชุมชน’ คือแรร์ไอเทมประจำท้องถิ่นที่รอการส่งเสริมและพัฒนา เพราะนอกจากจะทำให้ชุมชนเป็นที่รู้จักมากขึ้นในวงกว้าง ช่วยยกระดับเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เข้มแข็ง ยังทำให้คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดีตามไปด้วย
แต่ถ้าถามว่า แล้วการยกระดับที่ว่าเป็นแบบไหน เราขอแนะนำให้รู้จักกับ 2 ผู้ประกอบการจาก 2 วิสาหกิจชุมชนที่ตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรม ‘ไทยประกันชีวิต เสริมโอกาส สุขยั่งยืน’ และนำความรู้ไปพัฒนาธุรกิจต่อจนประสบความสำเร็จ
คนแรกคือ ‘หนิง-ธนพร วงค์เขื่อน’ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรุ่นที่ 1 ในเขตภาคเหนือที่จังหวัดเชียงราย จากวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรท่าสุด (ท่าสุดเฮิร์บ) จ.เชียงราย
ธนพรทำให้เราเห็นภาพความสำเร็จของโครงการนี้ชัดขึ้น ด้วยแนวทางการสร้างความร่วมสมัยให้ผลิตภัณฑ์ บริการแปรรูปสมุนไพร และบริการด้านสุขภาพ ให้เข้าถึงคนรุ่นใหม่ง่ายขึ้น เพื่อส่งให้ภูมิปัญญาไทยดั้งเดิมไปถึงผู้คนในวงกว้าง
โดยวิธีการที่ว่าคือ การมุ่งเน้นที่การเพิ่มทักษะด้านการขาย และการสื่อสารการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ใหม่ๆ มีการเล่าเรื่องราวเบื้องหลังของแบรนด์ผ่านสื่อโซเชียล สร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ตามสโลแกน ‘ผ่อนที่กาย คลายที่ใจ By Tasud Herb’
อีกทั้งยังมีการจับมือกับเครือข่ายสายสัมพันธ์มาช่วยเสริมธุรกิจในหลายด้าน ตั้งแต่การเพิ่มพูนความรู้ ปรับปรุงรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ให้โมเดิร์นน่าใช้ เพิ่มช่องทางตลาดและจุดจำหน่าย ไปถึงยกระดับมาตรฐานแหล่งวัตถุดิบและสินค้า
ทั้งหมดนี้ทำให้แบรนด์ Tasud Herb (ท่าสุดเฮิร์บ) ของวิสาหกิจชุมชนเติบโตฮิตติดตลาดอย่างรวดเร็ว และได้รับความนิยมจากกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่เป็นจำนวนมาก จนมีรายได้เพิ่มขึ้นกว่าเดิมถึง 50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว
เช่นเดียวกับ วิสาหกิจชุมชนวัยหวาน จ.เพชรบุรี ที่ตั้งขึ้นโดยการนำเอาโค้ดเนม ‘วัยหวาน’ ของกลุ่มผู้สูงวัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน มาตั้งเป็นชื่อวิสาหกิจชุมชนให้มีบุคลิกขี้เล่นเป็นกันเอง โดยมี ‘เปิ้ล-ปนิดา มูลนานัด’ ผู้เข้าร่วมอบรม รุ่น 4 เป็นหัวเรือสำคัญ
เมื่อมีหัวเรือแล้ว ย่อมต้องมีฝีพายคอยช่วย ซึ่งนั่นก็คือกิจกรรมไทยประกันชีวิต เสริมโอกาส สุขยั่งยืน ที่เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยทำให้วิสาหกิจชุมชนวัยหวานได้เรียนรู้การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ และสามารถพัฒนาขยายผลต่อยอดผลิตภัณฑ์ นำไปปรับใช้งานจริง จนมีคนรู้จักมากขึ้นบนโลกออนไลน์
ทำให้ ‘กล้วยหอมทองตากแสงอาทิตย์’ กลายเป็นสินค้าแนะนำของที่นี่ และต่อยอดผลิตภัณฑ์ออกไปด้วยแนวทางการผลิตแบบ Zero Waste ที่ใช้ประโยชน์จากกล้วยทุกส่วน เกิดเป็นวาฟเฟิลกล้วย โลชั่นทาผิว สครับและเซรั่มกล้วย รวมถึงผ้าใยกล้วยที่ช่วยตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่เด็กถึงผู้สูงอายุ
ก่อนจะต่อยอดขยายสู่วัตถุดิบใหม่ๆ อย่าง ‘ผงโรยข้าวจากผักเคลผสมปลา’ ที่เกิดจากช่วงผักเคลล้นตลาด ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีไม่แพ้กัน จนเรียกได้ว่า วิสาหกิจชุมชนวัยหวานไม่ใช่แค่ผลิตสินค้า แต่วางบทบาทตัวเองเป็น ‘โรงงานชุมชน’ ที่ทำหน้าที่เป็นฐานการผลิตสำคัญของท้องถิ่นด้วย
และฝีพายนี้เองที่ทำให้เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนมีความมั่นคงขึ้น ช่วยสร้างผลประโยชน์ให้วิสาหกิจใกล้เคียงเติบโตไปพร้อมๆ กัน รวมถึงมีคนรู้จักมากขึ้นบนโลกออนไลน์
และจาก 2 ตัวอย่างนี้เองที่ทำให้เราเห็นว่า กิจกรรมนี้กำลังตอกย้ำว่าไทยประกันชีวิตเป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งแรกที่ริเริ่มและมุ่งมั่นดำเนินโครงการสร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Value – CSV) อย่างเป็นรูปธรรม ผ่านการจัดกิจกรรมไทยประกันชีวิต เสริมโอกาส สุขยั่งยืน ต่อเนื่องมาแล้ว 6 ปี 4 รุ่น ด้วยการเริ่มต้นนำร่องกับวิสาหกิจชุมชน 19 ชุมชน ในจังหวัดเชียงราย ก่อนต่อยอดมาเรื่อยๆ เพื่อให้ครอบคลุมทั้ง 6 ภูมิภาคทั่วประเทศไทย
ด้วยเป้าหมายที่ต้องการใช้ทักษะความรู้ความเชี่ยวชาญของบริษัท มาช่วยลดข้อจำกัดและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ให้สามารถแข่งขันกับแบรนด์อื่นๆ ในท้องตลาดได้
อีกทั้งไทยประกันชีวิตยังต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนในสังคมไทย เพราะเชื่อว่า ‘หากสังคมอยู่ได้ องค์กรก็อยู่ได้เช่นกัน’ ผ่านการสร้างคุณค่าร่วมในรูปแบบ Ecosystem เพื่อช่วยเหลือวิสาหกิจชุมชนอย่างครบวงจร โดยแบ่งออกเป็น 3 มิติ ดังนี้
เริ่มต้นจาก On Ground Activity กิจกรรมอบรม Training & Workshop และ 1 on 1 on Site Coaching ที่จัดขึ้นเพื่อถ่ายทอดความรู้ ทั้งการสร้างจุดขาย การสื่อสารการตลาดที่โดนใจ การเล่าเรื่องเพื่อดึงดูดความสนใจผู้ซื้อ และการวางแผนการจัดการเงินให้กับชุมชน ภายใต้แนวคิด ‘สอนให้ทำ นำไปใช้ได้จริง’ โดยวิทยากรมืออาชีพ
ก่อนจะไปลงมือปฏิบัติ กระโจนสู่สนามจริงกับ Marketplace ‘ตลาดสุขยั่งยืน’ กลุ่มเฟซบุ๊กตลาดออนไลน์สำหรับคนรักสุขภาพ ศูนย์กลางการซื้อ-ขายสินค้าเพื่อสุขภาพโดยตรงกับวิสาหกิจชุมชน เกษตรกร และผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนทั่วประเทศ ที่ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มกว่า 32,000 ราย ซึ่งรับรองได้ว่าผู้ซื้อจะได้รับสินค้าที่ดีต่อใจและมีคุณภาพอย่างแน่นอน
นอกจากนี้ ตัวโครงการยังเปิด Knowledge Place หรือเพจเฟซบุ๊ก เสริมโอกาส สุขยั่งยืน ซึ่งปัจจุบันมีผู้ติดตามกว่า 19,000 ราย เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ที่จะมาแชร์เคล็ดลับพัฒนาธุรกิจ เพื่อ Upskill วิสาหกิจชุมชนไทยให้มีเครื่องไม้เครื่องมือมาหยิบใช้ในอนาคต
โดยมีขอบข่ายเนื้อหาตั้งแต่ ‘Knowledge’ การให้ความรู้ คำแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการขายของออนไลน์ การจัดการการเงินและการลงทุน ส่งต่อ ‘Inspiration Quote’ คำคมสร้างแรงบันดาลใจสำหรับคนทำธุรกิจ ไปจนถึงการแบ่งปัน ‘Success Story’ เรื่องราวความสำเร็จ พร้อมแชร์เทคนิคการทำธุรกิจให้แก่วิสาหกิจชุมชนอื่นๆ
นับเป็นอีกหนึ่งโครงการดีๆ ที่ช่วยอัปสกิลวิสาหกิจชุมชนไทยตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ และเป็นตัวกลางในการส่งตรงสินค้าคุณภาพดีสู่มือคนไทยรักสุขภาพ เพื่อให้เกิดความสุขที่ยั่งยืนของคนในชุมชนได้อย่างแท้จริง