กฎหมายใหม่อาจทำให้เยาวชนข้ามเพศในสหรัฐอเมริกา เสี่ยงไม่ได้รับการรับรองเพศและการรักษาพยาบาล

เยาวชนและคนหนุ่มสาวข้ามเพศในสหรัฐอเมริกาจำนวนมาก มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับการดูแลด้านสุขภาพและการยืนยันเรื่องเพศ เพราะการประกาศห้ามในรัฐมากกว่า 12 รัฐ  ทั้งนี้จำนวนเยาวชนข้ามเพศอายุ 13-17 ปี ประมาณ 150,000 คน ซึ่งกว่า 10,000 คนอาศัยในรัฐเท็กซัสและอาร์คันซอซึ่งเป็นรัฐแรกที่เริ่มประกาศใช้กฎหมายและข้อบังคับแล้ว โดยยังมีเยาวชนข้ามเพศจำนวนอีกประมาณ 43,000 คนอาศัยในรัฐอื่นๆ ซึ่งกำลังมีการพิจารณาข้อบังคับเหล่านี้อยู่ด้วย สถานการณ์ในเท็กซัส เมื่อเดือนที่แล้ว ผู้ว่าการ Greg Abbott สั่งให้หน่วยงานของรัฐตรวจสอบครอบครัวของเยาวชนข้ามเพศ พบว่ามีเยาวชนมากถึง 23,700 คนกำลังเสี่ยงต่อการสูญเสียสิทธิที่จะยืนยันเพศในทางสาธารณสุข แม้มีวิจัยจำนวนมากชี้ให้เห็นว่าการดูแลเรื่องเพศช่วยซัปพอร์ตสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของคนข้ามเพศในภาพรวม แต่นโยบายทั้งในเท็กซัสและอาร์คันซอกลับเป็นไปตามคำสั่งศาล  ส่วนในรัฐอื่นๆ อีกหลายสิบแห่ง ก็ได้ออกกฎหมายจำกัดสิทธิรักษาพยาบาลที่จะช่วยยืนยันเรื่องเพศสำหรับผู้เยาว์ในทำนองเดียวกันออกมา เช่น บุคลากรทางการแพทย์และครอบครัวที่ช่วยให้เยาวชนข้ามเพศเข้าถึงการดูแลสุขภาพจะกลายเป็นอาชญากร รวมถึงการห้ามไม่ให้สิทธิต่างๆ ครอบคลุมในประกันสุขภาพ หรือการเข้าถึงกองทุนรัฐ โดยกฎหมายมักพุ่งเป้าไปที่ขั้นตอนการผ่าตัดแปลงเพศ  ตัวอย่างเช่น ในไอดาโฮ ร่างกฎหมายที่ผ่านสภาในเดือนนี้ จะตั้งข้อหาทางอาญากับพ่อแม่และผู้ให้บริการทางการแพทย์ และหากช่วยเหลือผู้เยาว์ที่เป็นคนข้ามเพศให้ได้รับการเปลี่ยนเพศตรงตามอัตลักษณ์จะต้องถูกจำคุกตลอดชีวิต  ผู้นำ GOP (พรรคริพับลิกัน) กล่าวไว้ว่ากฎหมาย HB 675 ตัวนี้ ลิดรอนสิทธิของผู้ปกครอง โดยรัฐบาลเข้าไปบงการอำนาจการตัดสินใจทางการแพทย์ของพ่อแม่และลูกๆ ซึ่งเขาเชื่อว่าการตัดสินใจที่ดีที่สุดเกี่ยวกับทางเลือกด้านการรักษาพยาบาลสำหรับเด็กนั้นควรมาจากพ่อแม่และผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ด้วย Source : VICE […]

5 ภาพยนตร์ LGBTQ+ ที่ขับเคลื่อนความรักของทุกคนให้เท่าเทียมกัน

“คนเท่ากัน สมรสเท่าเทียม” จากมูฟเมนต์ความเท่าเทียมทางเพศที่กลายเป็นกระแสสังคมที่แข็งแรงขึ้นและขยายวงกว้างไปทั่วโลก เราได้เห็นหลายประเทศหันมาสนใจ และลงมือแก้ไขกฎหมายให้คู่รักเพศเดียวกันสมรสได้อย่างถูกต้อง และได้รับสิทธิเท่าเทียมกับคู่รักต่างเพศ  ในทางกลับกัน ประเทศไทยที่อ้างตัวเสมอว่า เป็นดินแดนเสรี กลับยังคงไม่มีหนทางที่ชัดเจนให้กับการผ่านกฎหมายนี้ จนมวลชนต้องลุกขึ้นมาล่ารายชื่อแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 เพื่อให้กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศได้รับศักดิ์และสิทธิ์ไม่ต่างจากใครๆ ด้วยวาระที่ทวีความสำคัญมากขึ้นทุกวัน Urban’s Pick จึงอยากชวนคุณมาทำความเข้าใจความสำคัญของ #สมรสเท่าเทียม ผ่าน 5 ภาพยนตร์ที่ว่าด้วยความรัก ความสัมพันธ์ และสิทธิของคู่รัก LGBTQ+ ในเดือนแห่งความรัก ที่ไม่ว่าคนเพศไหนก็ควรจะรักกันได้อย่างมั่นใจ โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติจากสังคม 01 Your Name Engraved Herein (2020) ไต้หวัน น่าจะเป็นประเทศในเอเชียที่เรียกว่า ‘ก้าวหน้าที่สุด’ ในมูฟเมนต์เรื่องความเท่าเทียมทางเพศ เพราะนอกจากจะเป็นประเทศแรกที่รัฐสภาให้ผ่านกฎหมายแต่งงานเพศเดียวกันตั้งแต่ปี 2019 สื่อไต้หวันยังทำคอนเทนต์ที่ขับเคลื่อนสิทธิของคนเพศหลากหลายจำนวนไม่น้อย หนึ่งในนั้นคือภาพยนตร์เรื่อง Your Name Engraved Herein ที่กวาดรายได้ไปกว่า 100 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน ภาพยนตร์ดราม่าเรื่องนี้ พาผู้ชมย้อนกลับไปในยุคหลังยกเลิกกฎอัยการศึก (Martial Law : 1949 […]

“ยังมีคนที่ไม่มีสิทธิ์รักใครได้อย่างเป็นทางการ” คุยเรื่องสมรสเท่าเทียมกับคนจัดม็อบ LGBTQ+

แม้หลายคนพร่ำบอกว่าประเทศไทยเฟรนด์ลี่กับ LGBTQ+ มาก แต่เชื่อไหมผ่านมาหลายสิบปี รัฐไทยยังไม่เคยคุ้มครองสิทธิที่พวกเขาจะรักกันได้อย่างเท่าเทียมเลยสักครั้ง ย้อนกลับไปเมื่อเกือบสองปีก่อนในวันที่ 25 กรกฎาคม 2563 เรายังจดจำบรรยากาศและกิจกรรมของ ‘ม็อบไม่มุ้งมิ้งแต่ตุ้งติ้งค่ะคุณรัฐบาล’ ได้ดี ในฐานะที่เป็นม็อบที่มีสีสันมากที่สุด มีลูกล่อลูกชนมากที่สุด และครีเอทีฟที่สุดในประวัติศาสตร์การชุมนุมของประเทศไทยตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งการต่อบทหนังเรื่อง ‘หอแต๋วแตก’ ที่บิดเอารายละเอียดประเด็นปัญหาทางการเมืองไทยมาสื่อสารอย่างลงตัว การใช้เพลงฮิตในชุมชนคนที่มีความหลากหลายทางเพศเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย การแสดงออกอย่างเสรีผ่านเสื้อผ้าหน้าผมของผู้ชุมนุมที่สดใสจัดจ้าน การปรากฏของธงรุ้งงขนาดใหญ่โบกสะบัดสง่างามกลางถนน รวมถึงการปราศรัยรสแซ่บถึงรากปัญหาเพื่อเรียกร้องสิทธิและเป็นปากเสียงสื่อสารปัญหาใต้พรมที่ LGBTQ+ ต้องเผชิญมาแสนนาน กิจกรรมทั้งหมดสร้างสรรค์ได้อย่างมีลูกเล่นชวนอมยิ้ม แต่ขณะเดียวกันก็เน้นย้ำถึงหลักการอย่างหนักแน่น เพราะต้องการสนับสนุนจุดยืนของขบวนการประชาธิปไตยเต็มใบ รวมถึงต้องการเรียกร้องและผลักดันประเด็นความเท่าเทียมทางเพศให้เกิดขึ้นจริงสักที ทำให้ แรปเตอร์–สิรภพ อัตโตหิ และเพื่อนสมาชิกกลุ่มเสรีเทยพลัส หยิบเอาไอเดียที่ตัวเองเสนอในแฮชแท็กทวิตเตอร์ #ไอเดียออกม็อบ มาเดบิวต์จัดม็อบแรกในชีวิต ในเวลานั้นประเด็นเรื่องเพศและมูฟเมนต์ #สมรสเท่าเทียม เริ่มมีกระแสพูดถึงอย่างแพร่หลายแล้ว ทว่าเมื่อเกิดม็อบที่โฟกัสถึงสิทธิของคนเพศหลากหลายขึ้น ทั้งยังมี ม็อบไม่มุ้งมิ้งแต่ตุ้งติ้งค่ะคุณรัฐบาล ครั้งที่ 2 และอีกหลายๆ ม็อบตามมา ประกอบกับกลุ่มแอ็กทิวิสต์ที่ต่อสู้เรื่องเพศทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่ที่เริ่มมีพื้นที่ เป็นที่รู้จักมากขึ้น ก็ยิ่งเสริมพลังให้การต่อสู้เรื่องความเท่าเทียมทางเพศ และขอบเขตบทสนทนาเรื่องนี้ให้ไปไกลกว่าที่เคย ล่าสุดมูฟเมนต์ #สมรสเท่าเทียม ได้กลายเป็นที่ถกเถียงกันในสังคมอย่างดุเดือดว่า ทำไมรัฐบาลไทยถึงยังไม่ให้ผ่านซะที (วะ) โดยที่แรปเตอร์เองก็ได้ร่วมจัดม็อบสมรสเท่าเทียมในนามเครือข่ายภาคีสีรุ้งเพื่อสมรสเท่าเทียม […]

‘หยุดเลือกปฏิบัติทางเพศ’ ความหวัง LGBTQ+ เกาหลีที่ถูกกดทับหลายสิบปี

I 01 ชีวิต LGBTQ+ ในเกาหลีไม่ง่าย สิทธิการรับบริการขั้นพื้นฐานที่สะดวกสบายของประชาชนเกาหลีใต้ อาจเป็นเรื่องยากมากเพียงเพราะคุณเป็น LGBTQ+ Park Edhi หญิงข้ามเพศชาวเกาหลี ที่อาศัยในโซล เป็นผู้ประสานงานประจำ DDing Dong ศูนย์ช่วยเหลือเยาวชน LGBTQ แห่งเดียวในเกาหลี ยังต้องเจอกับปัญหามากมาย เพียงเพราะเอกสารราชการระบุว่าเธอเป็นผู้หญิงข้ามเพศ ตัวตนของเธอจึงถูกตั้งคำถามตลอดเวลา ดังนั้นเรื่องง่ายๆ อย่างการสมัครบัตรเครดิต ก็ต้องใช้เวลานานมาก เพราะต้องมีการเช็กเวชระเบียนเพื่อรับรองว่าเธอเทคฮอร์โมนเพศหญิงอยู่ ดังนั้นเลยพูดอย่างเต็มปากได้ว่าชุมชน LGBTQ ในเกาหลีใต้ต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก สำหรับกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วด้วยกัน อัตราการยอมรับความหลากหลายทางเพศของเกาหลี ถือว่าอยู่ในอันดับต่ำมาก ซ้ำยังไม่มีการคุ้มครองด้านกฎหมายสำหรับ LGBTQ+ ด้วย ต้นปี 2564 นี้มีเคสคนข้ามเพศเลือกจบชีวิตในบ้านบนหน้าสื่อถึงสองคน คนแรกคือ Kim Ki-hong นักเคลื่อนไหวและนักการเมืองข้ามเพศ และคนถัดมาคือ Byun Hee-soo ที่ต้องออกจากกองทัพ เพื่อเข้ารับการผ่าตัดยืนยันเพศสภาพ I 02 โควิด-19 กำลังทำร้าย LGBTQ+ เกาหลี ไม่น่าเชื่อว่า COVID-19 จะสร้างผลกระทบร้ายแรงต่อชุมชน […]

Violet Valley ร้านหนังสือที่โอบกอดหัวใจ LGBTQ+

ไม่ว่าใครจะถูกกีดกันความหลากหลายทางเพศจากที่ไหน แต่ถ้ามาที่ Violet Valley ร้านหนังสือทางเลือกสุดน่ารัก คุณจะได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นเป็นของแถมทันที ก็จริงอยู่ ร้านหนังสือมีอยู่หลายแห่งบนโลกใบนี้ แต่สำหรับ Jaime Harker นั้น Violet Valley คือร้านหนังสือที่เธอตั้งใจเปิดขึ้นมาเป็นพื้นที่พิเศษสำหรับกลุ่มเฟมินิสต์ ร้านหนังสือขนาดเล็กแห่งนี้ตั้งอยู่ใน Water Valley รัฐมิสซิสซิปปี ชุมชนเล็กๆ ซึ่งมีประชากรเพียง 3,323 คน ช่วงปี 2017 Harker เป็นศาสตราจารย์ด้านภาษาที่ University of Mississippi เธอนิยามตัวเองเป็นเลสเบี้ยน และเพิ่งเขียนงานเรื่อง The Lesbian South เสร็จสมบูรณ์ ตอนนั้น Harker เห็นว่ามีผู้หญิงหลายคนเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการ Women In Print ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษที่ 70 โดยเฉพาะกลุ่มเลสเบี้ยน ไบเซ็กชวล และกลุ่มเพศหลากหลาย ซึ่งไม่ได้รับการสนับสนุนด้านการตีพิมพ์ผลงาน ดังนั้นคอมมูนิตี้สตรีนิยมจึงก่อตั้งสำนักพิมพ์ ร้านหนังสือ หรือแม้แต่จัดการกระบวนการพิมพ์เอง เพื่อให้แน่ใจว่าคนอย่าง Dorothy Allison นักเขียนเลสเบี้ยน, […]

FYI

Your Pride, Your Future ส่งเสียง “อนาคตที่อยากเห็น…” จาก LGBTQIA+ ให้สังคมได้ยิน

“อนาคตที่อยากเห็น…” ส่งเสียงแห่งความหลากหลายทางเพศให้ดังยิ่งขึ้น ฟังอนาคตที่ LGBTQIA+ อยากเห็นในหัวข้อ ‘Your Pride, Your Future’ ครอบคลุมตั้งแต่อนาคตเมือง กฎหมาย ครอบครัว ความรัก การเหยียดกัน ไปจนถึงการเปิดกว้างทางความคิดที่อยากให้เป็น เจี๊ยบ-มัจฉา พรอินทร์ ครอบครัวไม่จำเป็นต้องมีพ่อ-แม่-ลูก มิติครอบครัวในสังคมไทย ถูกปลูกฝังว่าต้องมี พ่อ-แม่-ลูก ซึ่งกรอบที่เชื่อกันว่าถูกกลับสร้างบาดแผลให้กับชีวิตของใครหลายคน รวมถึง เจี๊ยบ-มัจฉา พรอินทร์ ผู้นิยามตัวตนว่าเลสเบี้ยน (Lesbian) เจี๊ยบคือผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการ องค์กรสร้างสรรค์อนาคตเยาวชน, ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้อำนวยการหลักสูตร The School Of Feminists : Feminist Theory and Practice, Co-President, International Family Equality Day – IFED, กรรมการ สมาคมผู้หญิง กฎหมายและการพัฒนาแห่งเอเชียแปซิฟิก – APWLD, ผู้ประสานงานประจำประเทศไทย องค์กร V-Day และผู้ที่มีครอบครัวแบบ […]

Asexuality ความสัมพันธ์ที่ฉันรักเธอ แต่ ‘ไม่ฝักใฝ่เซ็กซ์’

‘การมีเซ็กซ์เป็นเรื่องธรรมชาติของร่างกายมนุษย์’ คือประโยคที่ได้รับรู้ผ่านการพร่ำสอน แต่ใครเล่าจะคิดว่าความปกติที่หล่อหลอม กลายเป็นส่วนสร้างบาดแผลชิ้นใหญ่ให้ผู้ที่มีรสนิยมทางเพศรูปแบบ Asexuality หรือ ไม่มีแรงดึงดูดทางเพศกับผู้อื่น ที่ไม่ปรารถนาจะมีความสัมพันธ์ทางกายกับใคร  ชวนทำความเข้าใจ Asexuality หนึ่งในสีสันแห่งความหลากหลายทางเพศกับ ปาร์คเกอร์-ภารวี อากาศน่วม ผู้นิยามตัวเองว่า Aromantic Asexual Trans Masculine ซึ่งสิ่งที่คุณกำลังจะได้อ่านต่อจากนี้ คือเสียงที่เขาอยากสะท้อนก้องสู่สังคมถึงการยอมรับความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตที่ขึ้นชื่อว่า ‘มนุษย์’ P. Parkers เขาคือผู้กล้า “เรานิยามตัวเองว่าเป็น Asexual ที่ไม่มีแรงดึงดูดทางเพศกับใคร และอยู่ในสเปกตรัมของ Aromantic ที่มีแรงดึงดูดทางใจกับคนอื่นน้อยมาก และไม่ได้รู้สึกว่าการมีคนรักเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิต และเราเป็น Trans Masculine ที่มีเพศกำเนิดเป็นหญิง แต่ไม่ได้ต้องการจะข้ามเพศไปเป็นผู้ชาย เพียงแค่อิงกับความเป็นชาย” เมื่ออยากนำเสนอคำว่า Asexuality ให้ถึงแก่น ปาร์คเกอร์ คือชื่อแรกที่ฉันนึกถึง นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ เอกภาษาและวรรณคดีอังกฤษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งเพจ Aro/Ace-clusionist: Aromantic & Asexual Exist ซึ่งมีความมุ่งมั่นเพื่อสร้างความเข้าใจตัวอักษร ‘A’ ใน LGBTQIA+ […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.