รักไม่ได้แปลว่ารับได้ทั้งหมด หาเหตุผลว่า ทำไมคนที่เรารักถึงเป็น ‘พื้นที่ปลอดภัย’ ให้เราไม่ได้

คำว่า ‘พื้นที่ปลอดภัย’ เป็นอีกหนึ่งคำที่พวกเราได้ยินกันบ่อยมาก เมื่อกำลังพูดถึงประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพจิต ซึ่งจริงๆ แล้ว ถ้าจะให้ฟังดูสมเหตุสมผล คนที่สามารถสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กันและกันได้ ก็ควรเป็นคนสนิทหรือคนที่เรารักเขา-เขารักเราที่สุด แต่ในความเป็นจริง หลายครั้งเราก็ไม่อาจรู้สึกปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์จากคนที่เรารักหรือผูกพันที่สุด แม้ว่าเขาจะไม่ได้ตั้งใจทำให้เรารู้สึกแบบนั้นเลยก็ตาม และจุดนี้แหละที่ทำให้มันเป็นความจริงที่น่าเศร้า ใช่ เรายังรักเขาต่อไปได้ สิ่งนี้ไม่จำเป็นต้องกระทบความเข้มข้นและลึกซึ้งของความรักที่เรามีให้เขา แต่วันนี้มาลองทำความเข้าใจกันดีกว่าว่า มีความท้าทายไหนบ้างที่ยากจะทำให้คนรักของเราเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้เรา และเราเองนั้นควรระวังอะไรบ้าง เพื่อจะยังคงเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้คนที่เรารักได้อย่างดีที่สุด พื้นที่ปลอดภัย ไม่ใช่พื้นที่เลิศหรูสมบูรณ์แบบ ผู้เขียนยังไม่เคยได้ยินใครเปรียบเทียบความรู้สึก ‘พื้นที่ปลอดภัย’ ว่าเป็นปราสาทราชวังหรือเมืองหรูๆ ที่ไหน บางคนบอก พื้นที่ปลอดภัยคือพื้นที่ที่ได้คุยกับนักจิตวิทยาหรือนักจิตบำบัด บางคนบอก พื้นที่ปลอดภัยคือสนามบอลที่ได้ใช้เวลากับเพื่อน คือมุมชงกาแฟที่ให้ตัวเองได้พักจากความเครียดในที่ทำงาน คือวงเหล้าในบาร์ที่คุ้นเคย ฯลฯ พื้นที่ไหนทำให้เราได้เป็นตัวของตัวเอง ไม่ทำให้เรารู้สึกแปลกแยก แม้มันอาจจะไม่สบายตัวบ้าง หรือแตกต่างจากพื้นที่ของคนอื่นแค่ไหน แต่ความสบายใจที่ได้รับมันก็ชนะทุกอย่างอยู่ดี พื้นที่ปลอดภัย คือพื้นที่ที่ต้อนรับทุกอารมณ์และความรู้สึก ผู้เขียนเคยไปบรรยายในงานเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตงานหนึ่ง เขาตั้งคำถามว่า ทำอย่างไรลูกถึงจะรู้สึกว่าพ่อแม่คือพื้นที่ปลอดภัยของเขา โดยเฉพาะเวลาเกิดเหตุอันตราย เช่น ลูกถูกล่อลวงหรือโดนหลอกผ่านอินเทอร์เน็ต แล้วไม่กล้าบอกพ่อแม่ ทำให้ไม่มีที่พึ่งเพราะไม่รู้จะหันไปหาใครดี พวกเราโตมาพร้อมกับความเชื่อที่แบ่งแยกบางความรู้สึกว่า นี่คือความรู้สึกที่ดี ควรรู้สึกให้ได้บ่อยๆ และบางความรู้สึกก็เป็นความรู้สึกที่แย่ […]

ฝึกเขียนจดหมายจากความรักถึงตัวเองทุกวัน เพื่อบอกว่า ‘ในวันที่โลกไม่น่ารัก ยังมีเราที่น่ารัก’

สมัยเป็นวัยรุ่นมัธยมฯ ผู้เขียนเชื่อว่า หลายคนคงเคยมีความทรงจำปั๊ปปี้เลิฟ เขียนจดหมายรักหารุ่นพี่หรือรุ่นน้องที่แอบชอบกันมาบ้าง กระทั่งบางคนอาจมีประสบการณ์เขียนจดหมายหารายการวิทยุหรือโทรทัศน์ หวังจะได้คุยกับศิลปินที่ชื่นชอบ คิดถึงตอนนั้นแล้วก็ภูมิใจในความใจใหญ่ของตัวเอง แน่นอนแหละ มันคงไม่ถึงกับคำว่า ‘รักอย่างไม่มีเงื่อนไข’ เพราะเราก็คงแอบหวังให้คนที่ชอบเขาชอบเรากลับ หรือศิลปินคนโปรดได้รับรู้ถึงความปลาบปลื้มที่เรามีให้มานานบ้างไม่มากก็น้อย แต่คำว่า ‘ใจใหญ่’ ที่เราหมายถึงคือ การกล้าได้มากกว่าเสีย การที่ความสุขอัดแน่นจนหัวใจขยาย แล้วเรื่องน่ากลัวต่างๆ เช่น กลัวเสียฟอร์ม กลัวเขาไม่สนใจ กลัวเขาเห็นว่าเราเด๋อ ฯลฯ หดลดลง จะเป็นอย่างไรถ้าความรักที่เคยส่งต่อให้ใคร จะส่งกลับมาที่เราบ้าง ‘เอลิซาเบธ กิลเบิร์ต’ (Elizabeth Gilbert) นักเขียนชื่อดัง เจ้าของงานเขียน Eat, Pray, Love ที่ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ เธอออกมาเล่าถึงกิจกรรมปลอบประโลมหัวใจตัวเองที่ทำมานานหลายปีแล้ว นั่นคือ การเขียนจดหมายจากความรักถึงตัวเอง สิ่งนี้ช่วยพยุงเธอขึ้นจากจิตใจที่อ่อนล้ามาหลายครั้ง โดยเฉพาะในช่วงที่เธออยู่ในภาวะซึมเศร้าอย่างหนัก เธอเล่าว่า มีคนมากมายเคยทั้งเขียนจดหมายและเข้ามาคุยมาชมเธอ แต่มันก็ยังไม่ใช่ถ้อยคำที่เธอต้องการ เอลิซาเบธจึงเริ่มเขียน ‘จดหมายรัก’ ผ่านถ้อยคำจากความรักที่เธอเคยหวังว่าอยากให้มีใครสักคนมาพูดแบบนี้กับเธอ ‘คนอื่นเขาไม่สามารถอยู่กับเราตลอดเวลาได้ ถ้าเราไม่อยู่กับตัวเองในช่วงที่มืดหม่นที่สุดในชีวิต แล้วใครจะไปอยู่ตรงนั้นเพื่อเรา’ ความรักของเราหน้าตาเป็นแบบไหน ก่อนจะมีใครมาบอกว่าต้องทำยังไงถึงคู่ควรกับการได้รับความรัก “การเกลียดชังตัวเองเป็นเหมือนไวรัส” เอลิซาเบธพูดไว้ และบอกให้ผู้ฟังลองถามตัวเองว่า […]

เมื่อการซื้อดอกไม้หรือของเล็กๆ น้อยๆ ที่ถูกมองว่าเป็นเรื่องสิ้นเปลือง มีความสำคัญในความสัมพันธ์กว่าที่คิด

ในเดือนแห่งความรัก ผู้เขียนขอชวนคุยเรื่องความรัก ที่บางครั้งก็ดูเหมือนน้อยนิดแต่กลับยิ่งใหญ่ นั่นคือการให้ของขวัญแทนการบอกรัก ที่บางคนก็ตั้งหน้าตั้งตารอ อยากได้เหลือเกิน โดยเฉพาะในทุกเทศกาลพิเศษ แต่บางคนกลับมองว่านี่เป็นสิ่งไร้สาระและไม่จำเป็น บ้างยังบอกว่าเป็นสิ่งสิ้นเปลือง ท้าทายอำนาจทุนนิยม ถ้ามองแบบคนไม่โรแมนติกเลยก็เข้าใจได้ว่า การรู้สึกโดนกระตุ้นจากสังคมกลุ่มหนึ่งที่กดดันให้เราต้องเชื่อว่า ‘สิ่งของนอกกาย’ นั้นมีคุณค่ามากกว่าสิ่งอื่น อาจทำให้เรารู้สึกต่อต้านได้ โดยเฉพาะหากของสิ่งนั้นโดนบวกราคาขึ้นหลายเท่าเมื่ออยู่ในบางเทศกาล เช่น ดอกกุหลาบในวันวาเลนไทน์ การต้องจ่ายเงินที่เยอะเกินปกติเพื่อทะนุถนอมความสัมพันธ์ที่มันควรเป็นแค่เรื่องของเรา ก็คงทำให้รู้สึกหงุดหงิดจริงๆ นั่นแหละ แต่ความรู้สึกของอีกคนล่ะ เราอาจต้องมองทะลุไปให้เห็นถึงจิตใจของเขาหรือเปล่า ความน้อยใจจากสังคมในโซเชียลมีเดีย เราอยู่ในยุคที่โลกจริงถูกกลืนเข้าไปอยู่ในโลกโซเชียลมากขึ้นทุกที จนหลายคนยังหลงคิดเลยว่า ถ้าฉันไม่โพสต์รูปลงโซเชียลมีเดีย คนอื่นจะรู้ไหม แล้วถ้าคนอื่นไม่รู้ เรื่องของเรามันจะเป็นเรื่องจริงไหม ด้วยแพลตฟอร์มที่สร้างมาให้ง่ายต่อการเปรียบเทียบกัน ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า โลกโซเชียลมีอิทธิพลอย่างมากในการวัดค่าความรักของตัวเองผ่านเรื่องราวของคนอื่น เช่น การรู้สึกไม่ไว้ใจหากแฟนตัวเองไม่ลงรูปคู่ หรือความรู้สึกน้อยใจที่เห็นแฟนไม่ซื้อดอกไม้มาให้ ทั้งๆ ที่คู่อื่นเขาโชว์ดอกไม้ช่อใหญ่กันเกลื่อนอินสตาแกรมไปหมด ผลกระทบจากโซเชียลมีเดียอาจทำให้ฝ่ายหนึ่งรู้สึกไม่เป็นที่รักมากพอ และอีกฝ่ายหนึ่งก็รู้สึกกดดันที่ต้องแสดงออกซึ่งความรักมากขึ้น ซึ่งปกติเขาอาจไม่ใช่คนที่ทำแบบนั้น อะไรเล็กๆ น้อยๆ แบบนี้อาจกำลังบั่นทอนความสัมพันธ์อยู่ โดยที่ทั้งคู่ไม่ทันฉุกคิดก็ได้ สิ่งที่อยู่ในใจมีมากกว่าแค่ของที่ซื้อให้กัน ผู้หญิงคนหนึ่งอาจโกรธมากที่แฟนลืมซื้อน้ำผลไม้ปั่นที่เธอชอบมาให้ ทั้งๆ ที่เขาขับรถผ่านร้านนั้น ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องดูงี่เง่า แต่ลึกๆ แล้วมันไม่ใช่แค่การเจ็บใจที่ไม่ได้ทานของโปรด แต่คือความโดดเดี่ยวในความรู้สึกที่ไม่ได้รับการใส่ใจเป็นพิเศษจากคนรักของตัวเอง ไม่ต่างกัน อีกคนหนึ่งอาจงอนมากที่คนรักไม่เคยซื้อของขวัญอะไรให้เลย […]

‘ไม่มีใครที่อยากมีความสัมพันธ์แย่ๆ หรอก’ ค่านิยมสุขภาพจิตที่อยากให้ทำความเข้าใจใหม่

เรารักสังคมที่เปิดกว้างและเข้าถึงเรื่องสุขภาพจิตอย่างง่ายดายขึ้นในไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้มากๆ แต่ในขณะเดียวกัน เราก็ไม่รักเลยกับการที่บางคนนำชุดความรู้จิตวิทยาบางอย่างมาวิเคราะห์กับทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะด้วยความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม จนลืมไปว่า ทุกเหตุการณ์และตัวบุคคลล้วนมีความละเอียดอ่อนต่างกันโดยสิ้นเชิง  แค่เพียงชุดความคิดเดียวที่แม้จะได้รับการพูดถึงเป็นวงกว้างขนาดไหน ก็ไม่ได้เป็นบทการันตีว่าจะสามารถนำมาใช้กับทุกคนบนโลกได้ ไม่มีใครคนไหนเหมือนกัน และไม่ว่าอะไรแย่ๆ จะเกิดขึ้นในชีวิต ไม่จริงเลยที่สิ่งนั้นจะทำให้เรากลายเป็นคนต้องคำสาป และมันไม่มีหรอก ปัญหาสุขภาพจิตไหนที่โหดร้ายเกินเยียวยา หากคนคนนั้นเลือกที่จะมีความกล้า ให้เวลา และเชื่อมั่นในตัวเอง เพื่อเดินทางไปสู่ชีวิตที่มีสุขภาพจิตดี เพราะอยากให้คนในสังคมเปิดใจ มีมายด์เซตที่ไม่ตัดสินคนอื่นผ่านความสัมพันธ์ของพวกเขาไปก่อน เราขอแชร์บางชุดความคิดที่อยากกระตุ้นให้ทุกคนลองมองในมุมใหม่ดู “เกิดมาในครอบครัวที่ไม่อบอุ่น โตมาก็จะมีความสัมพันธ์ที่ไม่อบอุ่น” เราขอเริ่มด้วยทฤษฎีทางจิตวิทยาที่หลายคนน่าจะคุ้นเคยกัน นั่นคือ ทฤษฎีความสัมพันธ์ในช่วงปี 1950s ที่ชื่อ Attachment Theory โดย John Bowlby  เขาเชื่อว่า ทารกทุกคนเรียนรู้การสร้างความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดเพื่อเป็นทักษะในการอยู่รอด ซึ่งคนใกล้ชิดของทารกคือ ‘ผู้ดูแล’ นั่นเอง (เราขอใช้คำว่า ผู้ดูแล เพราะคนคนนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นพ่อหรือแม่เท่านั้น ใครก็ตามที่ใกล้ชิดและผูกพันกับเด็ก ไม่ว่าจะเป็นคุณยาย พี่เลี้ยง คนเลี้ยงเด็กในสถานสงเคราะห์ ฯลฯ ก็ถือเป็นผู้ดูแลทั้งสิ้น) John Bowlby ได้ทำการทดลองกับหลายครอบครัว และได้บทสรุปที่กึ่งๆ เป็นคำทำนายอนาคตของเด็กแต่ละครอบครัวมาว่า ‘สิ่งที่คนใกล้ชิดเลือกปฏิบัติต่อเด็กและสิ่งที่เด็กเลือกตอบสนองนั้น จะช่วยสร้างแพตเทิร์นความสัมพันธ์ของเด็กคนนั้น เมื่อเขาโตมามีคนรักเป็นของตัวเอง’ […]

‘คบคนในที่ทำงานไม่ใช่เรื่องน่ากลัว’ ความรักเป็นเรื่องของคนสองคน และไม่มีกฎตายตัว

หลายคนคงเคยได้ยินคำกล่าวที่ออกจะดูไปในแนวคำขู่ ถึงอันตรายของการคบกับคนที่ทำงานในที่เดียวกัน ต้องเจอหน้ากันทุกวัน และอาจเต็มไปด้วยความเสี่ยงมากมายหากรักไปไม่รอด เนื่องในเดือนแห่งความรักนี้ ผู้เขียนเลยอยากเล่าเรื่องราวที่หลายคนไม่ค่อยพูดถึง แต่ทำให้ใจฟูกันบ้าง นั่นคือ ‘ความรักที่เกิดในที่ทำงาน แล้วมันเวิร์ก สวยงาม และยาวนานยั่งยืน’ เราได้มีโอกาสพูดคุยกับชายหนุ่มวัย 30 กลางๆ ขอเรียกเขาว่า ‘พี่บี’ แล้วกัน ตั้งแต่รู้จักกับเขาเมื่อหลายปีมาแล้ว ก็สัมผัสถึงความหอมหวานอบอุ่นของความรักระหว่างเขาและแฟน ซึ่งปัจจุบันคือภรรยาของเขา ที่มีให้กันและกันมาโดยตลอด จากบทสนทนาในครั้งนี้ บอกเลยว่าเราได้อะไรกลับไปมากกว่าแค่เคล็ดลับการทะนุถนอมความรักในที่ทำงานเยอะเลย ถ้าความรักดี การได้อยู่กับคนรักเพิ่มขึ้นเท่ากับได้เวลาที่ดีเพิ่มขึ้น “ความรักในที่ทำงาน มันคือตัวคูณ ถ้ามันดี มันจะมีความสุขแบบทวีคูณ แต่ถ้ามันแย่ มันก็พังเป็นเท่าตัวด้วยเหมือนกัน แต่สิ่งที่มาเป็นเส้นแบ่งเพื่อป้องกันไม่ให้ความรักหลงเดินไปในทางที่แย่คือ วุฒิภาวะของทั้งคู่” พี่บีเริ่มต้นบทสนทนาไว้อย่างนี้ และอธิบายเพิ่มว่า ในประเทศไทย เวลาที่เราอยู่ในที่ทำงานนับเป็นประมาณ 40 กว่าชั่วโมงต่ออาทิตย์ ถ้ามันดี ก็เท่ากับได้เวลาที่ดีที่ได้อยู่กับคนรักตั้ง 40 กว่าชั่วโมง แต่ถ้ามันแย่ เต็มไปด้วยความไม่เชื่อใจ น้อยใจ วุ่นวายใจ ฯลฯ แปลว่า 40 กว่าชั่วโมงนั้นจะเกิดการฝ่าฟันทรหดอยู่พอตัว “แต่มันไม่มีกฎเกณฑ์อะไรตายตัวเลย ว่าคบคนที่ทำงานต่างที่กันจะดีเสมอไป หรือคบคนที่ทำงานที่เดียวกันแล้วจะแย่เสมอไป” […]

5 เมืองเที่ยวพักผ่อนที่โรแมนติกที่สุดในโลก

เมืองที่โรแมนติกที่สุดในโลกมีหน้าตาเป็นแบบไหนกันนะ ‘วันวาเลนไทน์’ คือเทศกาลแห่งความรักที่ผู้คนทั่วโลกรอคอย เพราะเป็นโอกาสที่พวกเขาจะได้แสดงความห่วงใยแก่คนที่ปรารถนาดี ส่วนบรรดาคู่รักก็มักชวนกันทำกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่แลกเปลี่ยนของขวัญ ดูหนังแบบมาราธอน กลับไปสถานที่เดตแห่งแรก รวมถึงไปดินเนอร์สุดพิเศษที่ร้านอาหารหรือคาเฟ่น่ารักๆ แต่ถ้าจะให้ดูคลั่งรักและเซอร์ไพรส์หน่อยก็ต้องวางแผนไปเที่ยวในสถานที่ที่อบอวลไปด้วยบรรยากาศสุดโรแมนติก คอลัมน์ City by Numbers วันนี้ขอพาทุกคนขึ้นเครื่องบินไปสำรวจ 5 เมืองแสนโรแมนติกที่สุดของโลก อ้างอิงข้อมูลเมื่อปี 2022 จากเว็บไซต์บริการฝากกระเป๋าระดับโลกอย่าง Bounce ที่ให้คะแนนเมืองต่างๆ จากปัจจัยรอบด้าน เช่น จำนวนสถานที่ทำกิจกรรมโรแมนติก จำนวนสถานที่พักโรแมนติก จำนวนร้านอาหารโรแมนติก และจำนวนการค้นหาเกี่ยวกับสิ่งโรแมนติกที่ต้องทำในเมืองนั้นๆ เป็นต้น โดยคะแนนเต็มอยู่ที่ 10 คะแนน เมืองไหนจะเป็นตัวท็อปเรื่องความโรแมนติกสำหรับคู่รัก ไปติดตามพร้อมกันเลย 1) ปารีส ประเทศฝรั่งเศสคะแนนความโรแมนติก : 8.87 เมื่อพูดถึงเมืองท่องเที่ยวพักผ่อนที่โรแมนติกที่สุดในโลก คนส่วนใหญ่มักนึกถึง ‘ปารีส’ เป็นเมืองแรกเสมอ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เมืองหลวงของฝรั่งเศสจะติดอันดับ 1 ด้วยคะแนนมากถึง 8.87 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปารีสดึงดูดคู่รักจากทั่วโลกได้ไม่ยากคือศิลปะตั้งแต่ยุคเรเนซองส์และสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมถึงความงามและความน่าค้นหาทางประวัติศาสตร์ มากไปกว่านั้น ปารีสยังมีโรงแรมโรแมนติก 706 แห่ง มีร้านอาหารโรแมนติก 1,511 […]

‘เราโดน Gaslight หรือเผลอไป Gaslight ใครหรือเปล่า’ บอกทีว่าความสัมพันธ์ที่ดีต่อใจยังมีอยู่จริง

คำว่า ‘Gaslight’ เป็นคำที่คนค้นหาความหมายมากที่สุดในปี 2022 จากเว็บไซต์พจนานุกรมชื่อดัง Merriam-Webster เราจึงคิดว่าควรจะพูดถึงคำนี้ในหลากหลายแง่มุมให้มากที่สุดเกี่ยวกับการ Gaslight (แก๊สไลต์)  ทางเว็บไซต์ได้ให้ความหมายคำนี้ที่เข้าใจอย่างเห็นภาพไว้ว่า ‘The act or practice of grossly misleading someone, especially for one’s own advantage.’ หรือแปลเป็นไทยคือ การกระทำบางอย่างที่ตั้งใจทำให้อีกฝ่ายเข้าใจผิด บิดเบือนความจริง เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง ต้นกำเนิดของคำนี้มาจากหนังเรื่องหนึ่งในปี 1944 เป็นหนังที่เก่ามากขนาดว่าภาพยังเป็นสีขาว-ดำอยู่เลย หนังเรื่องนี้มีชื่อว่า Gaslight ตรงตัว ว่าด้วยเรื่องราวของ Paula สาวน้อยผู้อ่อนโยน ไร้เดียงสา ที่เผชิญเหตุการณ์เลวร้าย เห็นป้าแท้ๆ ถูกฆาตกรรมต่อหน้าต่อตาในบ้านของตัวเองที่เมืองลอนดอน หลายปีต่อมา เธอเดินทางไปยังประเทศอิตาลี และพบรักกับชายหนุ่มถึงขั้นตัดสินใจแต่งงาน ก่อนเดินทางกลับมาอยู่ที่บ้านหลังใหญ่ของเธอในลอนดอน ซึ่งเป็นมรดกของคุณป้านั่นเอง จุดพลิกผันของเรื่องคือการที่ผู้ชายคนนี้เห็น Paula รวยอู้ฟู่ ก็หวังจะฮุบทรัพย์สินมรดกทุกอย่างของหญิงสาวเอาไว้เอง โดยใช้วิธีการกลั่นแกล้ง ตั้งใจทำให้เธอรู้สึก ‘เป็นบ้า’ ซึ่งคำว่า Gaslight ก็มาจากตะเกียงไฟสมัยก่อน […]

จัดงานแต่งทั้งทีต้องมีค่าใช้จ่ายเท่าไร เมื่อราคาของความรักอาจแพงเกินรับไหวในยุคนี้

งานแต่งที่ใดเป็นได้แค่แขกรับเชิญ อยากแต่งกับเขาเหลือเกิน แต่ต้องมีงบเท่าไรถึงจะจัดงานแต่งได้ เมื่อชีวิตเดินทางมาถึงช่วงวัยหนึ่ง การมีครอบครัวของตัวเองอาจเป็นหนึ่งในเป้าหมายชีวิตของใครหลายคน การแต่งงานจึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างครอบครัวไปโดยปริยาย และเมื่อพูดถึงการแต่งงานก็ไม่ได้มีแค่การจูงมือกันไปจดทะเบียนสมรสที่อำเภอเท่านั้น เพราะยังมีขั้นตอนของการเฉลิมฉลองเพื่อให้ครอบครัวและคนสนิทของทั้งสองฝ่ายได้มาร่วมแสดงความยินดีอีกด้วย แต่ในปัจจุบันดูเหมือนว่าการจัดงานแต่งงานจะไม่ใช่สิ่งสำคัญสำหรับการเริ่มต้นใช้ชีวิตคู่อีกต่อไปแล้ว ด้วยรูปแบบการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนไปจากเมื่อก่อน รวมถึงปัจจัยหลักๆ อย่างค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการจัดงานที่อาจทำให้หลายคนมองว่าไม่คุ้มที่จะเสียไปในยุคที่เศรษฐกิจไม่ค่อยเอื้ออำนวยให้ใช้จ่ายเงินก้อนใหญ่เท่าไรนัก ถึงอย่างนั้น การจัดงานแต่งงานก็ยังถือเป็นเครื่องยืนยันทางสังคมที่บ่งบอกถึงสถานะทางครอบครัว หลายบ้านจึงยังอยากให้ลูกหลานจัดงานแต่งงานเพื่อเป็นการให้เกียรติระหว่างกันและกัน คอลัมน์ City By Numbers เลยขอคำนวณค่าใช้จ่ายคร่าวๆ สำหรับงานแต่งงานขนาดกลางที่มีผู้ร่วมงานประมาณ 100 – 200 คน มาเป็นข้อมูลให้คนมีคู่ได้เตรียมงบประมาณกัน ค่าเช่าชุดแต่งงาน ชุดเจ้าสาว 15,000 – 45,000 บาท ชุดเจ้าบ่าว 4,500 – 6,500 บาท เมื่อพูดถึงงานแต่งงาน สิ่งแรกที่ต้องนึกถึงก็ต้องเป็นชุดแต่งงาน ซึ่งปัจจุบันคู่บ่าวสาวมักเลือกเช่าชุดสำหรับวันงานแทนการตัดชุดใหม่ โดยราคาจะแตกต่างกันไปตามแบรนด์ของชุด อย่างของชุดเจ้าสาวจะเริ่มต้นที่หลักหมื่น ส่วนของเจ้าบ่าวอยู่ที่ประมาณ 4,500 บาท แต่หากใครที่อยากสั่งตัดชุดแต่งงานเพื่อเก็บเป็นความทรงจำ ค่าใช้จ่ายสั่งตัดชุดแต่งงานของเจ้าสาวจะเพิ่มสูงเป็นเท่าตัว โดยเริ่มต้นที่ 45,000 บาท ส่วนของเจ้าบ่าวเริ่มต้นที่ 6,000 บาท ค่าแต่งหน้าทำผม 10,000 […]

ความสัมพันธ์ Ghosting ผีในสังคมดิจิทัล อยู่ดีๆ ก็หาย ตามไม่ตอบ เจ็บยิ่งกว่าถูกบอกเลิก

A : สวัสดีค่ะผู้อ่านทุกท่าน ขณะนี้คุณกำลังอยู่ในรายการ ‘Shock Urban Creature’ วันนี้เราจะมาเล่าเรื่องสุดสยองขวัญของผู้หญิงคนหนึ่ง เธอกำลังสงสัยว่า คนที่คุยอยู่ตอนนี้เขาเป็น ‘คน’ หรือ ‘ผี’ กันแน่ อ๊ะๆ อ่านแล้วอย่าเพิ่งขนหัวลุก ขอชวนทุกท่านไปช่วยเธอหาคำตอบเรื่องนี้กันก่อนดีกว่า B : ฉันรู้จักเขาผ่านแอปฯ หาคู่ค่ะ ช่วงแรกๆ เราคุยกันดีนะคะ พอผ่านไปสัก 2 – 3 เดือน เขาก็เริ่มมีท่าทีเปลี่ยนแปลงไป ชวนไปเที่ยวก็พูดปัดๆ ว่าไม่เอาไม่อยากไป ให้เหตุผลว่าป่วยบ้างล่ะ เหนื่อยบ้างล่ะ เลยไม่ค่อยอยากออกไปไหน  ที่สำคัญพอเราทักแชตไปก็เหมือนพูดอยู่คนเดียว รู้ว่าอ่านนะแต่ไม่เคยตอบ แถมหาตัวเขาก็ไม่เจอ ไปถามใครก็บอกว่าไม่รู้ ไม่เห็น เหมือนไม่ได้อยู่ในโลกนี้แล้ว พูดแล้วก็ขนลุกเลยค่ะ ล่าสุดที่คุยกัน เขาบอกว่าขอไปอาบน้ำก่อนนะ ตอนนี้ 3 เดือนแล้ว เขายังอาบน้ำไม่เสร็จเลยค่ะพี่ A : อะหรือ หรือ คุณ B คะ คุณกำลังโดนผีหลอกเข้าแล้ว! […]

ผจญภัยและสำรวจความหมายของความรักอีกครั้งกับ ‘นกก้อนหิน’ โดย ‘บินหลา สันกาลาคีรี’

ย่ำสนธยาวันนั้นฟ้าสีสวย นกหลายฝูงกำลังบินกลับรัง เบื้องหน้าภูเขาสูงซ้อนกัน ดวงจันทร์กลมโตลอยเด่นในวันพระใหญ่  “ความงามทั้งหลายที่เราเห็นต่างบันทึกกันคนละแบบ ช่างภาพลั่นชัตเตอร์ จิตรกรละเลงสีบนเฟรมผ้าใบ ศิลปินบรรเลงเป็นบทเพลง และนักเขียนบันทึกผ่านตัวอักษร”  เรานึกถึงประโยคนี้อีกครั้งยามสามนาฬิกา หลังปิดหน้าสุดท้ายของ ‘นกก้อนหิน’ ที่เขียนโดย ‘บินหลา สันกาลาคีรี’ นวนิยายแอ็กชันลุ้นระทึกที่เคลือบด้วยเรื่องรักแสนโรแมนติก นกก้อนหิน พิมพ์ครั้งแรกโดยสำนักพิมพ์วงกลม ในปี 2552 อีกสามปีถัดมาพิมพ์ครั้งที่สองโดยสำนักพิมพ์ไรท์เตอร์ และในเดือนมิถุนายนปีนี้ หนังสือเล่มนี้ก็พิมพ์เป็นครั้งที่สามโดยสำนักพิมพ์บางลำพู (banglumpoo) ของ ‘หนึ่ง-วรพจน์ พันธุ์พงศ์’  “เมื่อคุณบอกว่าอยากพิมพ์ หนึ่ง, ผมดีใจ สอง, ผมต้องกลับไปขวนขวายอ่าน ประเมินมัน ว่ามันยังอยู่ในวิสัยที่คนจะเสพสุนทรียะหรือเสพความคิด เรื่องเล่าที่เราต้องการส่งมอบและตั้งคำถามให้เขาได้อยู่มั้ย ถ้าได้ก็โอเค…กับ ‘นกก้อนหิน’ ผมไม่คิดว่ามันจะมีคำถาม หรือมีปัญหาในเรื่องที่ผมกังวลอยู่ โดยสรุปก็คิดว่าน่าจะยังผ่านอยู่ ยังอ่านได้ แต่บางทีผมก็ไม่กล้าพูดตรงๆ” – บางบทสนทนาของบินหลา ที่วรพจน์บันทึกไว้ในช่วงท้ายเล่มนกก้อนหินพิมพ์ครั้งล่าสุดว่าไว้แบบนี้ จากการสอบถามผู้อ่านหน้าใหม่วัยละอ่อน หลายคนเห็นด้วยกับข้อความของนักเขียนว่านิยายเล่มนี้ยังไม่ตกยุคสมัย และยังทำหน้าที่มอบสุนทรียะระหว่างบรรทัดให้ผู้อ่านได้เป็นอย่างดี แม้ว่าเรื่องเล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อ 14 – 15 ปีที่แล้ว “เบรกแตก, รวดเดียวจบ, […]

ตามหาตัวตนและรักหมดใจใน Heartstopper ซีรีส์วัยรุ่นฟีลกู้ดที่บอกว่าใครก็มีความรักดีๆ ได้

ถ้าตอนเด็กๆ คุณเคยดูหนังรักวัยรุ่นแล้วอินจนอยากมีความรักบ้าง เราคือเพื่อนกัน และถ้าตอนเด็กๆ คุณรู้ว่านั่นเป็นได้แค่ฝัน ความจริงแล้วคุณนึกภาพตัวเองมีความรักแบบตัวละครไม่ออกเพราะคุณกับพวกเขาไม่ ‘เหมือน’ กันเลยสักนิด เราขอยกมือตบบ่าอย่างเข้าใจ ในฐานะคนที่นับตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน LGBTQ+ เราเติบโตมากับหนังและซีรีส์โรแมนติกที่ตัวเอกเป็นชาย-หญิงที่รักเพศตรงข้าม หากจะมีเรื่องที่เล่าชีวิตรักของคนในคอมมูฯ ก็มักจะจบไม่สวย เต็มไปด้วยภาพชีวิตอันยากลำบากของชาวเพศหลากหลายที่สมจริงแต่ก็หดหู่ จนบางครั้งก็ทำให้เราในวัยเด็กดูแล้วตั้งคำถามว่า เกิดมาชอบเพศเดียวกันแล้วฉันจะมีความรักใสๆ มีโมเมนต์ใจเต้นตึกตักหรือความรู้สึกว่ามีผีเสื้อบินในท้องแบบเด็กคนอื่นไม่ได้เลยเหรอ หลายปีผ่านไปจนเลยวัยเด็กมาไกล ไม่เคยมีหนังหรือซีรีส์เรื่องไหนตอบคำถามนั้นได้ จนกระทั่งเรารู้จัก Heartstopper เพื่อนคนพิเศษ  อันที่จริง ครั้งแรกที่ได้ยินชื่อ Heartstopper ไม่ใช่ซีรีส์ แต่เป็นคอมิกขายดีของ Alice Oseman นักเขียนชาว LGBTQ+ ที่ได้รับความนิยมมากจน Netflix หยิบมาทำซีรีส์  Heartstopper เริ่มต้นเรื่องราวที่โรงเรียนชายล้วนทรูแฮม ในวันเปิดเทอมหลังเทศกาลปีใหม่ ชาร์ลี (รับบทโดย Joe Locke) เด็กหนุ่มขี้อายผู้เปิดตัวว่าเป็นเกย์คนเดียวในโรงเรียน นัดพบกับ เบน (รับบทโดย Sebastian Croft) เด็กหนุ่มคนรักในความลับเพื่อมาจู๋จี๋กัน เป็นเรื่องปกติสำหรับชาร์ลีไปแล้วที่จะมาเจอเบนในเวลากับสถานที่ที่อีกฝ่ายสะดวก เพราะเบนกำลังค้นหาตัวเอง ไม่มีแผนจะเปิดตัวกับใคร และใช่ว่าชาร์ลีพูดอะไรไปแล้วเบนจะสนใจ เขาแค่มาหาในเวลาที่อยากกอดจูบกับผู้ชายเท่านั้น แม้ภายนอกจะยิ้มแย้มแจ่มใส […]

Sex Worker ก็อยากสมหวังในรัก ‘ถาม’ ซิงเกิลใหม่จาก Patcha ที่อยากให้สังคมยอมรับอาชีพนี้มากขึ้น

เพราะความรักคือสิ่งที่สวยงาม และทุกคนสามารถพบเจอกับความรักที่ดีได้ในสักวัน ไม่ว่าคนคนนั้นจะเป็นใครหรือทำอาชีพไหนก็ตาม นี่คือความเชื่อและแรงบันดาลใจเบื้องหลังมิวสิกวิดีโอเพลง ‘ถาม’ ซิงเกิลใหม่จาก ‘พัดชา (Patcha)’ ที่นำเสนอเรื่องราวและพูดถึงความรักในมุมมองของ ‘ผู้ค้าบริการทางเพศ (Sex Worker)’ หลังได้พบกับลูกค้าหนุ่มขาประจำหลายครั้ง จนทั้งคู่เริ่มมีความรู้สึกดีๆ ให้กันมากเป็นพิเศษ แต่ทั้งสองก็ยังไม่กล้าพัฒนาความสัมพันธ์ไปมากกว่านี้ เพราะไม่แน่ใจว่า แท้จริงแล้วความรู้สึกเหล่านั้นเกิดจาก ‘ความรัก’ หรือ ‘ความปรารถนาทางเพศ’ กันแน่ พัดชาอยากใช้ซิงเกิลนี้พูดถึงความรักของ Sex Worker ที่อยากจะสมหวังในความรักเหมือนคนอื่นๆ เพราะเขาเชื่อว่าความรักคือสิ่งสวยงาม ไม่ว่าจะเป็นใครหรือทำอาชีพไหน ทุกคนสามารถเจอความรักที่ดีได้ในสักวัน และอยากให้สังคมไทยเปิดใจและยอมรับคนที่ทำอาชีพ Sex Worker มากขึ้น พัดชา (อดีตสมาชิกวง Chanudom) คือศิลปินคนแรกในสังกัด Red Clay ค่ายเพลงน้องใหม่ที่ก่อตั้งโดย กวิน อินทวงษ์ โปรดิวเซอร์ชื่อดังที่อยู่เบื้องหลังเพลงฮิตยอดวิว 100 ล้านมากมาย เช่น เพลง ‘อ้าว’ ‘Please’ และ ‘ทางของฝุ่น’ ของศิลปิน อะตอม ชนกันต์ และยังเคยทำงานร่วมกับศิลปินคนอื่นๆ […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.