5 ภาพยนตร์ LGBTQ+ ที่ขับเคลื่อนความรักของทุกคนให้เท่าเทียมกัน

“คนเท่ากัน สมรสเท่าเทียม” จากมูฟเมนต์ความเท่าเทียมทางเพศที่กลายเป็นกระแสสังคมที่แข็งแรงขึ้นและขยายวงกว้างไปทั่วโลก เราได้เห็นหลายประเทศหันมาสนใจ และลงมือแก้ไขกฎหมายให้คู่รักเพศเดียวกันสมรสได้อย่างถูกต้อง และได้รับสิทธิเท่าเทียมกับคู่รักต่างเพศ  ในทางกลับกัน ประเทศไทยที่อ้างตัวเสมอว่า เป็นดินแดนเสรี กลับยังคงไม่มีหนทางที่ชัดเจนให้กับการผ่านกฎหมายนี้ จนมวลชนต้องลุกขึ้นมาล่ารายชื่อแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 เพื่อให้กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศได้รับศักดิ์และสิทธิ์ไม่ต่างจากใครๆ ด้วยวาระที่ทวีความสำคัญมากขึ้นทุกวัน Urban’s Pick จึงอยากชวนคุณมาทำความเข้าใจความสำคัญของ #สมรสเท่าเทียม ผ่าน 5 ภาพยนตร์ที่ว่าด้วยความรัก ความสัมพันธ์ และสิทธิของคู่รัก LGBTQ+ ในเดือนแห่งความรัก ที่ไม่ว่าคนเพศไหนก็ควรจะรักกันได้อย่างมั่นใจ โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติจากสังคม 01 Your Name Engraved Herein (2020) ไต้หวัน น่าจะเป็นประเทศในเอเชียที่เรียกว่า ‘ก้าวหน้าที่สุด’ ในมูฟเมนต์เรื่องความเท่าเทียมทางเพศ เพราะนอกจากจะเป็นประเทศแรกที่รัฐสภาให้ผ่านกฎหมายแต่งงานเพศเดียวกันตั้งแต่ปี 2019 สื่อไต้หวันยังทำคอนเทนต์ที่ขับเคลื่อนสิทธิของคนเพศหลากหลายจำนวนไม่น้อย หนึ่งในนั้นคือภาพยนตร์เรื่อง Your Name Engraved Herein ที่กวาดรายได้ไปกว่า 100 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน ภาพยนตร์ดราม่าเรื่องนี้ พาผู้ชมย้อนกลับไปในยุคหลังยกเลิกกฎอัยการศึก (Martial Law : 1949 […]

My Fluffy and Worthy Love : ความรักที่อยากแก่ชราไปด้วยกัน

เราชอบถ่ายรูปผ่านสมาร์ตโฟน เพราะมันบันทึกความทรงจำได้ไวและง่ายที่สุด บวกกับโตมาในยุคของ Instagram รูปถ่ายส่วนใหญ่ของเราจึงเป็นภาพสี่เหลี่ยมจัตุรัสไปโดยปริยาย เรามีความสุขกับการเก็บภาพผ่านกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัสนี้มาก มุมเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน อาหารที่กินแล้วอยากกินอีก แสงแดดที่เห็นแล้วชอบ ท้องฟ้าที่เห็นแล้วประทับใจ กระทั่งความทรงจำธรรมดาที่ผ่านตาแบบไม่ทันคิดอะไรแต่อยากบันทึกไว้ พูดง่ายๆ ว่าชีวิตในแต่ละช่วงของเราล้วนได้ถูกบอกเล่าในภาพถ่ายทั้งหมด และในช่วงชีวิตที่ผ่านมา ภาพที่เราถ่ายไว้มากที่สุดคือ ‘คุณ’ เรากับคนรักที่เป็นผู้หญิงเหมือนกันคบกันมา 7 ปีแล้ว ความรักของเราคือความรักธรรมดาทั่วไป อยากเห็นเขาได้รับสิ่งดีๆ เจออะไรน่ารักก็คิดถึงเขา การมีความรักเป็นเรื่องที่งดงามและล้ำค่ามากๆ สำหรับเรา เพราะมันเป็นการได้รับพลังที่ส่งต่อจากคนคนหนึ่ง การถูกรัก การได้ส่งความรัก ทำให้เรามีพลังในการใช้ชีวิตและรักตัวเองมากขึ้น เราแชร์กับเขาได้ทุกความรู้สึก ความทุกข์ไม่ต้องถูกซุกซ่อนไว้ วันไหนที่ใจไม่ค่อยดี แค่คิดว่ากลับบ้านไปแล้วได้เจอเขา เรื่องหม่นใจก็ถูกปัดเป่าไปหมด  คนรักเราชอบอ่านหนังสือ ชอบจดบันทึก ไม่ชอบฟังเพลงเท่าไหร่ ชอบถ่ายพุ่มหญ้าต้นไม้ และชอบเขียนการ์ดขอบคุณ หน้าตาตอนมีความสุขกับของกินอร่อยๆ ตายิ้มๆ มือก้อนๆ ที่ทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ เราอยากบันทึกไว้ทั้งหมด เพราะภาพถ่ายชีวิตประจำวันไม่ได้บรรจุแค่ความทรงจำเท่านั้น มันมีทั้งความรักความรู้สึกที่เรามีต่อเขาและสิ่งต่างๆ ที่รวมอยู่ด้วยในตอนนั้น เวลาย้อนกลับมานั่งดูมันชื่นใจ ความฝันของเรากับคนรักคือ อยากมีชีวิตที่ดี เติบโต และแก่ชราไปด้วยกัน แต่เราทั้งคู่กลับต้องสงสัยอยู่เสมอว่าจะมีชีวิตไปด้วยกันจนแก่ในฐานะคนรักได้ไหม หรือต้องถูกเข้าใจว่าเป็นเพื่อนสนิทกันไปแบบนี้ […]

‘ความรักอัดกระป๋อง’ ขายในตู้อัตโนมัติ บริการใหม่จากบริษัทหาคู่ในญี่ปุ่น

ตู้ขายสินค้าอัตโนมัติเป็นเหมือนอีกสัญลักษณ์หนึ่งของญี่ปุ่นไปแล้ว ไม่ใช่แค่ปริมาณที่มีอยู่ทั่วเมืองเท่านั้น แต่ความล้ำของสินค้ายังพัฒนาและใส่ไอเดียไปต่อได้ไม่มีที่สิ้นสุด มีขายตั้งแต่เครื่องดื่มสารพัดชนิด ไปจนถึงขนมและอาหารหลากหลายยี่ห้อ จนล่าสุดบริษัทหาคู่ในญี่ปุ่นเกิดไอเดียสนุกๆ เอา ‘ความรัก’ มาอัดกระป๋องขายในตู้อัตโนมัติ ให้คนโสดได้แวะเลือกช้อปโปรไฟล์คนที่อยากเดตได้ เพราะอยากให้คนญี่ปุ่นมีความรักและแต่งงานกันมากขึ้น  ‘ความรักอัดกระป๋อง’ คือไอเดียของบริษัทจัดหาคู่ Matching Advisor Press (MAP) ที่นำเจ้าตู้สุดแปลกนี้ไปตั้งไว้ที่เมืองคาตายามะในโตเกียว มองภายนอกดูไม่ต่างจากตู้เครื่องดื่มทั่วไปเลยสักนิด เพราะเป็นกระป๋องอะลูมิเนียมเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่ไม่มีเครื่องดื่มข้างใน และคุณจะได้โอกาสในการคุยกับบริษัทจัดหาคู่แทน (ไม่ได้คุยกับคนในกระป๋องโดยตรงอย่างที่คิด) กระป๋องสีชมพูคือโปรไฟล์ของผู้หญิง ส่วนสีครีมคือของผู้ชาย ซึ่งบริการนี้ของ MAP ไม่ได้ทำเอาสนุกเท่านั้น แต่พวกเขาหวังจะช่วยให้คนโสดในญี่ปุ่นได้เจอความสัมพันธ์ที่จริงจัง ไปจนถึงขั้นแต่งงานกันเลย  ความรักกระป๋องสนนราคาอยู่ที่ 3,000 เยน (ประมาณ 900 บาท) ถือว่าราคาไม่ได้โหดร้ายเกินไป เมื่อแลกกับโอกาสที่อาจจะเจอรักแท้ แต่ถึงจะเลือกคนที่เราอยากเดตได้ บริการนี้ก็ไม่ได้การันตีว่าซื้อไปแล้วจะได้ออกเดตจริงๆ และคนที่เราได้เดตอาจจะไม่ใช่คนจากกระป๋องที่เราเลือกจริงๆ ก็ได้ ที่กระป๋องจะมีแค่โปรไฟล์สั้นๆ ที่เขียนโดยที่ปรึกษาของ MAP ซึ่งทำหน้าที่เป็นแม่สื่อแปะอยู่ และระบุอายุเอาไว้ให้จินตนาการต่อเท่านั้น ไม่ได้มีรูปหรือข้อมูลส่วนตัวแปะไว้แต่อย่างใด เช่น “ฉันคือที่ปรึกษาของอิชิกาวะ เธออายุ 27 ปี และอยากแต่งงาน ฉันสามารถแนะนำให้คุณได้นะ” […]

‘พื้นที่สาธารณะน้อยลง คนโสดก็ยิ่งเยอะขึ้น’ ดูความสัมพันธ์ที่แปรผันไปกับเมือง

ถ้าคุณเคยดูหนังรอมคอมผ่านตามาบ้าง คิดว่าฉากไหนโรแมนติกมากกว่ากัน ระหว่างดาราสาวสวยระดับโลกมาพบรักกับคนขายหนังสือเดินทางในร้านสถานะใกล้เจ๊งที่ย่านนอตติงฮิลล์ หรือวิศวกรหนุ่มหล่อที่เข้างานกะดึกบังเอิญมาเจอกับสาวออฟฟิศบนรถไฟฟ้าที่แน่นขนัด แม้จะเป็นเรื่องราวความรักที่สวยงามที่สร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะด้วยกันทั้งคู่ แต่ฉากหลังของภาพยนตร์สองเรื่องนี้ถ้าเปรียบกันแบบน่ารักๆ ก็เรียกว่าพลิกจากหน้ามือกับหลังมือ เพื่อหาคำตอบว่าทำไมฉากหลังของกรุงเทพฯ  ถึงดูเหมือนจะไม่ค่อยตอบโจทย์คู่รักหรืออบอวลไปด้วยกลิ่นอายโรแมนติกเหมือนในลอนดอนหรือเมืองชั้นนำในหลายประเทศ เราจึงชวน ‘รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา’ หัวหน้าภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ‘ไอติม-พริษฐ์ วัชรสินธุ’ มาหาคำตอบร่วมกันว่าปัจจัยอะไรที่จะสร้างความสัมพันธ์อันดีงามให้เกิดขึ้นในเมืองหลวงของเรา และจะมีวันไหนที่กรุงเทพฯ จะกลายเป็นมหานครที่เต็มไปด้วยความโรแมนติกกับเขาบ้าง  จำเลยรัก คนเราจะรักกันได้อย่างไรถ้าไม่เคยเจอหน้ากัน และจะมีความสัมพันธ์กันแบบไหนหากไม่มีพื้นที่สาธารณะ ก่อนจะท่องไปในโลกของความสัมพันธ์อันแสนล้ำลึกอาจารย์พนิตชวนเราก้าวถอยหลังออกมามองบริบทของกรุงเทพฯ เพื่อให้เห็นภาพต่างๆ ได้ชัดเจนมากขึ้น  “เมืองเรามีปัญหาอยู่อย่างหนึ่งคือเป็น Gated Community หรือสังคมล้อมรั้ว มีหมู่บ้านจัดสรรหรือคอนโดมิเนียม ที่ดึงเอาสวนสาธารณะ ลานออกกำลังกาย หรือพื้นที่ที่คนจะมารวมตัวกันเข้าไปอยู่ในพื้นที่ของตัวเอง ทำให้เกิดเป็นชุมชนปิดเพราะมีแต่คนประเภทเดียวกันที่มีราคาบ้านเป็นตัวกำหนด “จะเห็นว่าคนไทยมีคนรักที่อยู่ในสังคมเดียวกันเป็นหลัก เป็นเพื่อนที่เรียนหรือทำงานด้วยกันด้วยกัน เพราะโอกาสที่จะรู้จักกับคนอื่นมีน้อยมาก หากจะเริ่มความสัมพันธ์กับใครคุณจะไปเจอเขาที่ไหน ยิ่งมีพื้นที่ส่วนตัวมากเท่าไหร่ยิ่งทำให้มีคนโสดมากขึ้น” นอกจากสังคมแบบปิดจะทำให้คนรักไม่มีวันได้พบกันแล้ว ยังทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ตามมาอย่างคาดไม่ถึงอีกด้วย อาจารย์พนิตบอกว่า สังคมปิดจะทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างชนชั้นชัดเจน และความหลากหลายทางเศรษฐกิจก็จะลดลง เพราะเราเคยชินกับการมีพื้นที่ของตัวเองจนลดการปรับตัวให้เข้ากับคนอื่นลงไป สินค้าทุกอย่างก็จะกลายเป็นแบบเฉพาะกลุ่มมากขึ้น Economy of Scale หรือสินค้าที่ผลิตปริมาณมากเพื่อขายราคาถูกก็จะน้อยลง เศรษฐกิจจะกระจุกตัวอยู่กับคนแต่ละชนชั้นเท่านั้น  เศรษฐกิจสีชมพู ค่าครองชีพที่สูงชะลูดเมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยอาจจะทำให้ความสัมพันธ์ของใครหลายคนต้องเป็นหมัน […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.