Meltdistrict แบรนด์ที่หลอมพลาสติกรีไซเคิลจากเชียงใหม่ ให้กลายเป็นสินค้าไลฟ์สไตล์ที่ใช้งานได้ แถมยังเก๋ไก๋ชวนใจละลาย

We have to MELT because the world is MELTING. หากจะถามว่า Meltdistrict คือใครและทำอะไร ประโยคนี้บนหน้าเว็บไซต์พวกเขาเล่าความตั้งใจของพวกเขาได้ดี Meltdistrict เป็นแบรนด์ที่หลอมพลาสติกรีไซเคิลให้เป็นสินค้าใหม่ โดยสร้างสรรค์จากพลาสติก 100 เปอร์เซ็นต์ และสามารถรีไซเคิลต่อได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ก่อตั้งโดย ‘โบ-สลิลา ชาติตระกูลชัย’ และ ‘ฟ้า-ขวัญชีวา พงศ์สิมภากรณ์’ สองสาวที่พบกันด้วยความสนใจเรื่องความยั่งยืนที่ตรงกัน พวกเธอจึงขอใช้ขยะพลาสติกส่วนหนึ่งจากโรงงานรับขยะของครอบครัวขวัญชีวา ลองผิดลองถูกกับการรีไซเคิลอยู่พักใหญ่ ก่อนจะผลิตเป็นบอร์ดพลาสติกที่แปรรูปเป็นสินค้าได้อเนกประสงค์ ดีไซน์สนุก ใช้งานได้จริง กิ๊บติดผม เฟอร์นิเจอร์ กระเบื้องตกแต่งคาเฟ่ นี่คือตัวอย่างของสินค้าที่บางคนอาจจะไม่เคยคิดว่าพลาสติกรีไซเคิลก็ทำได้ คอลัมน์ Sgreen ตอนนี้ ขอพาคุณบุกเชียงใหม่ ไปสืบความลับของการหลอมพลาสติกให้กลายเป็นสินค้าหน้าตาน่าใช้ ฟังสองสาวเจ้าของแบรนด์เล่าความตั้งใจในการเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างสินค้าไลฟ์สไตล์ที่เก๋และยั่งยืนไปพร้อมกัน โรงงานขยะ ครอบครัวของขวัญชีวาทำธุรกิจแปรรูปพลาสติกมาเนิ่นนาน ภาพที่เธอคุ้นชินตั้งแต่ยังเด็กจึงเป็นภาพโรงงานรับซื้อขยะของพ่อแม่ในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ กับกระบวนการป่นพลาสติกชิ้นใหญ่ให้เป็นเม็ดเล็กๆ แล้วส่งให้โรงหลอมเพื่อรีไซเคิลต่อ เมื่อโตขึ้น ขวัญชีวารับช่วงต่อแล้วขยายธุรกิจรับซื้อสิ่งของเหลือใช้มาที่อำเภอสันป่าตอง Meltdistrict ก็เกิดขึ้นที่นั่นเช่นกัน “เราซึมซับการรีไซเคิลมาตั้งแต่เด็ก และทำเรื่องรณรงค์ไฟป่าหรือเรื่องลดหลอดมาตั้งแต่สมัยเรียน […]

‘Data Driven EV- ชักลาก’ นวัตกรรมแก้ปัญหาขยะตกค้างด้วย Waste Tech ในชุมชนและพื้นที่ที่รถเก็บขยะเข้าไปไม่ถึง

แม้ว่าทางภาครัฐจะมีการจัดเก็บขยะอยู่เป็นประจำทุกๆ สัปดาห์ แต่ด้วยข้อจำกัดของผังเมืองกรุงเทพฯ ทำให้มีพื้นที่เส้นเลือดฝอยจำนวนมากที่การจัดเก็บขยะไม่สามารถเข้าถึงได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ด้วยพื้นที่ที่แคบและอยู่ลึก รถขยะจึงเข้าไปไม่ถึง รวมถึงพนักงานเก็บขยะก็ไม่สามารถรวบรวมขยะทั้งหมดออกมาได้ ทำให้เกิดขยะตกค้างในหลายพื้นที่ ก่อให้เกิดความสกปรกและส่งผลกระทบอื่นๆ ตามมา จากปัญหานี้ ทำให้ทาง ‘กรุงเทพมหานคร’ ร่วมมือกับ ‘GEPP Sa-Ard’ สตาร์ทอัปที่พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการขยะ จัดทำนวัตกรรมแก้ปัญหาการจัดเก็บขยะตกค้างในพื้นที่เล็กๆ และอยู่ลึกในชุมชนต่างๆ ที่รถขยะคันใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงได้ ‘โดม บุญญานุรักษ์’ CMO และผู้ร่วมก่อตั้ง GEPP Sa-Ard บอกกับเราว่า นอกจากจะมีปัญหาขยะตกค้างแล้ว พนักงานชักลากขยะของทางกรุงเทพมหานครที่ต้องเข้าไปจัดการขยะในพื้นที่เล็กๆ เหล่านั้น ต้องใช้เวลาในการชักลากขยะวันละ 3 – 4 รอบ รอบละ 100 – 200 กิโลกรัม นับเป็นการเสียเวลาในการทำงานไปอย่างน่าเสียดาย เพนพอยต์นี้นำมาสู่ไอเดียการนำ ‘EV-Bike’ มาพัฒนาเข้ากับส่วนพ่วงลาก เพื่อช่วยทุ่นแรงและเวลาในการชักลาก รวมถึงยังมีการทดลองติดตั้งระบบการจัดเก็บข้อมูล เช่น น้ำหนักหรือรายละเอียดขยะแบบแยกชนิดลงไปในตัวพ่วงด้วย โดยทางทีมจะนำปัญหาที่เจอในระยะทดลองช่วงแรกไปพัฒนาประสิทธิภาพการชักลากขยะ และจัดเก็บข้อมูล เพื่อนำไปศึกษาพัฒนานวัตกรรมต่อไปในอนาคต ที่ผ่านมารถชักลากขยะ EV-Bike ถูกนำมาใช้งานนำร่องทดลองในสองพื้นที่ คือ […]

ทำไมกรุงเทพฯ ถึงมีปัญหารถเก่าใช้งานไม่ได้ทิ้งตามรายทางอยู่เต็มไปหมด

กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีประชากรต่อพื้นที่หนาแน่นมากที่สุดในประเทศไทย ทุกพื้นที่มีความสำคัญและมูลค่าที่ทุกคนต้องแย่งชิง ไม่เว้นแม้แต่พื้นที่ของรถยนต์ ด้วยระบบขนส่งมวลชนของบ้านเราที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ ทำให้หลายคนเลือกที่จะซื้อรถยนต์ส่วนตัวเพื่อความสะดวกสบาย บ้านบางหลังมีรถยนต์มากกว่าหนึ่งคันแต่กลับไม่มีที่จอด เราจึงพบเห็นผู้จอดรถไว้ตามริมทางได้ทั่วเมือง บางคันเป็นรถเก่าที่ไม่มีที่เก็บและปล่อยทิ้งไว้เลยตามเลยจนกลายสภาพเป็น ‘ซากรถ’ ซากรถจำนวนมากถูกทิ้งด้วยความมักง่าย เกิดเป็นปัญหาสะสมที่ขัดขวางทั้งทางคนเดินและทางเดินรถ อีกทั้งยังเป็นแหล่งทิ้งขยะมูลฝอยสร้างความสกปรกให้กับพื้นที่ ถึงอย่างนั้น ต้นตอของปัญหาซากรถเต็มเมืองอาจมีมากกว่าจิตสำนึกของคน เพราะกฎหมายและนโยบายการจัดการซากรถเองก็มีส่วนสำคัญไม่แพ้กัน คอลัมน์ Curiocity ขอพาไปสำรวจถึงต้นตอของปัญหาการทิ้งซากรถ ทั้งค่าใช้จ่ายจุกจิกในการกำจัดรถ ขั้นตอนการดำเนินการที่มากมาย และนโยบายการแก้ไขที่ทางภาครัฐกำลังทำอยู่ ขั้นตอนมากมายกับค่าใช้จ่ายท่วมหัวในการกำจัดรถ คงไม่มีเจ้าของรถคนไหนอยากปล่อยรถของตนทิ้งไว้ริมทาง แต่ด้วยค่าซ่อมแซมที่มากโขในช่วงเศรษฐกิจซบเซา หรือจะขยายพื้นที่ทำที่จอดรถก็จำเป็นต้องใช้เงินสูง ส่งผลให้บางคนเลือกปล่อยเลยตามเลยทิ้งรถไว้ริมทางโดยไม่สนใจผลกระทบต่อสาธารณะ ครั้นจะเป็นพลเมืองดีนำรถไปกำจัด พอเห็นค่าใช้จ่ายและขั้นตอนก็ทำเอาหลายคนถอดใจไปก่อน ประกันภัยรถยนต์เป็นหนึ่งในตัวช่วยสำหรับการกำจัดรถที่น่าสนใจ เพราะหากรถยนต์คันหนึ่งเสียหายหนัก ต้องจ่ายค่าซ่อมมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของทุนประกัน เจ้าของรถสามารถเลือกขายซากรถคันนั้นให้ทางบริษัทประกัน เพื่อรับค่าชดเชยทุนประกันได้ทั้งหมด แต่ถ้าไม่มีประกันภัยรถยนต์ซึ่งรถเก่าส่วนใหญ่มักไม่มีอยู่แล้ว เจ้าของรถจำเป็นต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้วยตัวเองทั้งหมด ทั้งเรียกรถมายก ตรวจสภาพ ดำเนินเรื่องซื้อขายกับอู่ที่รับซื้อ และเตรียมเอกสารแจ้งกับทางขนส่ง ซึ่งแน่นอนว่าทุกขั้นตอนจำเป็นต้องเสียทั้งค่าใช้จ่ายและเวลา ทำให้หลายคนเลือกปล่อยทิ้งซากรถเหล่านั้นไว้ริมถนนเพราะเป็นตัวเลือกที่ง่ายที่สุด แต่สำหรับผู้มีทุนทรัพย์ที่พร้อมจ่ายค่าดำเนินการต่างๆ ก็ใช่ว่าจะทำได้สะดวกสบาย เพราะยังต้องพบเจอกับปัญหาสุสานรถยนต์หรือสถานที่กำจัดรถอย่างถูกต้องที่มีไม่เพียงพอ จนกลายเป็นการสร้างมลพิษจากการกำจัดรถยนต์ที่ไม่ถูกวิธี ขาดแคลนสถานที่กำจัดซากรถ แถมยังสร้างมลพิษ สถานที่ในการกำจัดรถยนต์ส่วนใหญ่มักตั้งอยู่นอกเมือง เพราะต้องใช้เนื้อที่กว้างขวางในการปฏิบัติงาน แค่ลำพังการหาพื้นที่โล่งขนาดใหญ่ในกรุงเทพฯ ก็เป็นเรื่องยากระดับหนึ่ง แต่การได้รับการยินยอมจากชาวบ้านในพื้นที่อาจยากยิ่งกว่า […]

Seashore Sadness ขยะริมทะเลหาดลับ พัทยา

พัทยาคือหนึ่งในเมืองที่ไม่เคยหลับใหล และเป็นจุดมุ่งหมายของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ เนื่องจากอยู่ไม่ไกลจากเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ เท่าไรนัก ใช้เวลาแค่สองชั่วโมงก็มาพักผ่อนพักใจที่ริมทะเลได้แล้ว ภาพความทรงจำของเรากับพัทยาคือ การได้มานั่งเล่นริมชายหาด ใช้เวลานั่งมองท้องฟ้า หาดทราย และน้ำทะเลกับเพื่อนๆ หรือแม้กระทั่งกับครอบครัว ซึ่งก็ผ่านมาสักระยะหนึ่งแล้ว แต่เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสกลับไปที่พัทยาอีกครั้งเพื่อพักผ่อนในช่วงวันหยุดยาวหน้าร้อนกับเพื่อนๆ และก็อดไม่ได้ที่อยากจะสำรวจความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ว่าแตกต่างจากครั้งสุดท้ายที่เราได้มีโอกาสมาไหม เราเลือกไปเดินสำรวจ ‘หาดลับ’ หนึ่งในหาดที่มีชื่อเสียงสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย ภาพของชายหาดสีขาวกับโขดหินเล็กใหญ่รูปทรงแปลกตามักจะปรากฏอยู่ในโลกออนไลน์ เป็นแบ็กกราวนด์ให้เหล่าหนุ่มสาวมาถ่ายรูป อวดความงามของตนเองและภูมิทัศน์รอบข้างอยู่เสมอ แต่ความจริงแล้วริมหาดไม่ได้งดงามอย่างที่รู้กัน ความทรงจำไม่ได้ถูกบันทึกไว้ด้วยแค่ภาพถ่าย แต่เหล่าผู้มาเยือนยังคงทิ้งร่องรอยไว้ ด้วย ภาพขยะจากถุงพลาสติก ขวดน้ำ และเศษขยะที่นำเข้ามาโดยนักท่องเที่ยวถูกทิ้งไว้เป็นอนุสรณ์ที่ธรรมชาติไม่ต้องการ ภาพถ่ายชุดนี้เป็นการบอกเล่าถึงความจริงที่ถูกมองข้ามอย่างตรงไปตรงมา เพื่อไม่ให้ธรรมชาติหรือสิ่งสวยงามสูญสลายไปในอนาคตอันใกล้ เราหวังเพียงแค่ให้มนุษย์ทุกคนช่วยรักษาความสะอาดและระเบียบวินัย เพื่อที่ธรรมชาติจะได้อยู่กับเราไปนานๆ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

PepsiCo ถูกรัฐนิวยอร์กยื่นฟ้องฐานสร้างมลพิษพลาสติกรายใหญ่ จนอาจเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ

ถือเป็นเรื่องน่ากังวลสำหรับรัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังพบว่ามีขยะพลาสติกและซองขนมที่ถูกพบในแม่น้ำบัฟฟาโลกว่า 1,916 ชิ้น ซึ่งทั้งหมดอยู่ภายใต้ชื่อ ‘PepsiCo’ แบรนด์ขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่มข้ามชาติสัญชาติอเมริกัน คิดเป็น 17 เปอร์เซ็นต์ของขยะพลาสติกทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ รัฐนิวยอร์กได้ยื่นฟ้องต่อบริษัทผู้ผลิตพลาสติกรายใหญ่ PepsiCo ฐานสร้างมลพิษจากการผลิตพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งเป็นจำนวนมาก โดยอ้างว่าบริษัทจำเป็นต้องรับผิดชอบในการทำให้น้ำในเมืองเกิดการปนเปื้อน จนอาจเป็นอันตรายต่อชาวเมืองและสัตว์น้ำ เพราะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งถือเป็นแหล่งกำเนิดไมโครพลาสติกขนาดเล็ก ที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ กระตุ้นอัตราการเกิดมะเร็งให้สูงขึ้น ทั้งยังส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำดื่มของชาวนิวยอร์กหรือสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำบริเวณใกล้เคียง ทำให้ในเวลาต่อมา โฆษกของ PepsiCo ออกมาแถลงการณ์เน้นย้ำว่า ทาง PepsiCo มุ่งมั่นที่จะลดขยะพลาสติกในอุตสาหกรรม และให้ความสำคัญต่อการรีไซเคิลเพื่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในอนาคต Sources : BBC NEWS | t.ly/nKKUwSky News | t.ly/cmqwT

ดอกไม้จากธรรมชาติ อาจไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเสมอไป

‘ดอกไม้’ เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายหลากหลายและแตกต่างกันไปตามแต่ละประเภท จึงมักถูกนำมาใช้ในโอกาสสำคัญและเทศกาลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความยินดี แสดงความรัก ให้เป็นของขวัญ หรือแม้แต่การมูเตลูเองก็ต้องใช้ดอกไม้ในการกราบไหว้ขอพรด้วยเหมือนกัน แต่หลายคนอาจนึกไม่ถึงว่า ดอกไม้แสนสวยเหล่านี้คือตัวการที่ทั้งสร้างขยะและส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม เพราะถึงแม้ว่าผลผลิตจากธรรมชาติเหล่านี้จะย่อยสลายกลับไปเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติได้ด้วยตัวเอง แต่กว่าจะถึงเวลาย่อยสลายนั้น ทั้งดอกไม้และขยะจากดอกไม้กลับสร้างมลพิษที่ค่อยๆ ทำลายสิ่งแวดล้อม ดอกไม้สร้างมลพิษ ในบางภูมิประเทศไม่สามารถปลูกดอกไม้บางประเภทได้ ทำให้ต้องอาศัยการขนส่งดอกไม้ทางไกลทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งในกระบวนการขนย้ายนั้นจำเป็นต้องใช้การทำความเย็นเพื่อรักษาความสดใหม่ของดอกไม้เอาไว้ แม้ว่าตัวดอกไม้จะไม่ได้ปล่อยมลพิษออกมาโดยตรง แต่ไม่ว่าจะเป็นพาหนะอย่างเครื่องบิน รถยนต์ หรือเครื่องทำความเย็นจากการขนส่งนั้น ต่างก็มีส่วนในการปล่อยคาร์บอนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมออกมา ไม่ใช่แค่การขนส่งดอกไม้ข้ามพื้นที่เท่านั้นที่ปล่อยของเสียซึ่งไม่ดีต่อสิ่งแวดล้อม แต่การสะสมของดอกไม้สดที่รอวันย่อยสลายเอง เมื่อถูกทับถมกันเป็นจำนวนมากจนกลายเป็นขยะอินทรีย์นั้น ก็ยังเป็นแหล่งผลิตก๊าซมีเทนซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 25 เท่าเลยทีเดียว หรือในประเทศอินเดียที่มักใช้ดอกไม้ในการสักการบูชาเทพเจ้า ซึ่งตามความเชื่อแล้ว ดอกไม้ที่นำไปบูชาไม่สามารถทิ้งลงถังขยะได้ สุดท้ายจึงถูกนำไปคืนสู่ธรรมชาติด้วยการปล่อยลงแม่น้ำสายใหญ่ โดยที่เราไม่รู้เลยว่าในดอกไม้แต่ละดอกนั้นมียาฆ่าแมลงและสารเคมีตกค้างอยู่มากเท่าไหร่ และสารเคมีเหล่านั้นจะแพร่กระจายอยู่ในแหล่งน้ำที่ผู้คนนำน้ำมาใช้ประกอบกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เป็นอันตรายต่อทั้งสิ่งแวดล้อมและชีวิตของประชาชนในประเทศอีกด้วย เปลี่ยนขยะจากดอกไม้ให้กลับมาใช้งานใหม่ได้อีกครั้ง การจะห้ามใช้ดอกไม้เพื่อลดการสร้างขยะอาจเป็นไปได้ยาก แต่หากมีวิธีลดขยะดอกไม้ลงได้บ้าง ก็อาจจะช่วยรักษาความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมไปได้ไม่น้อยเลยทีเดียว ดังนั้นจึงมีธุรกิจที่ยังมองเห็นถึงความสำคัญของดอกไม้ไปพร้อมๆ กับการหาทางแก้ไขปัญหาขยะดอกไม้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ทั้งการรีไซเคิลและการอัปไซเคิลด้วยการเปลี่ยนดอกไม้ที่ดูเหมือนจะนำไปใช้งานต่อไม่ได้แล้วให้กลับมาใช้งานใหม่ได้อีกครั้ง อย่างในประเทศอินเดียที่ในแต่ละปีมีจำนวนดอกไม้หลายล้านตันจากการบูชาเทพเจ้า และกลายเป็นมลพิษทางน้ำอย่างเลี่ยงไม่ได้ ก็มีธุรกิจอย่าง ‘Phool.co’ ที่นำขยะดอกไม้เหล่านั้นมารีไซเคิลใหม่ให้กลายเป็นธูปหอม กระดาษ และสีน้ำ ทำให้ช่วยลดดอกไม้ที่กำลังจะถูกทิ้งไปได้ในปริมาณมาก และยังช่วยลดขยะจากบรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายได้ในทางชีวภาพได้ด้วย หรือในประเทศไทยเองก็มีร้านดอกไม้อย่าง ‘Flower in […]

สำรวจการจัดการขยะใน 6 เมืองใหญ่กับนิทรรศการภาพถ่าย Wasteland ที่สวนลุมพินี วันนี้ – 25 ต.ค. 65

‘ขยะ’ ถือเป็นปัญหาสำคัญที่ทั่วโลกต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อประหยัดงบประมาณกำจัดขยะและพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน นอกจากจะต้องจัดการขยะอย่างถูกวิธีแล้ว ประเทศต่างๆ ยังจำเป็นต้องหาทางลดปริมาณขยะที่สร้างขึ้นในแต่ละปี เพื่อฟื้นฟูและรักษาสิ่งแวดล้อมให้คนรุ่นต่อไปด้วย เพราะเชื่อว่าปัญหาขยะคือเรื่องของทุกคน จึงเป็นที่มาของ Wasteland นิทรรศการภาพถ่ายของคาเดีย ฟัน โลฮูสเซิน (Kadir van Lohuizen) ช่างภาพข่าวแนวสารคดีชาวเนเธอร์แลนด์ ที่ได้สะท้อนเรื่องราวเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะทั้งที่ถูกวิธีและไม่ถูกวิธี ผ่านชุดภาพถ่ายจาก 6 เมืองใหญ่ของโลก ได้แก่ จาการ์ตา โตเกียว ลากอส นิวยอร์ก เซาเปาโล และอัมสเตอร์ดัม ระหว่างที่ทำโปรเจกต์นี้ คาเดียได้ค้นพบว่า ประชากรโลกกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว การอุปโภคบริโภคจึงเพิ่มสูงขึ้น ผลที่ตามมาก็คือปริมาณขยะถูกสร้างขึ้นมากกว่าที่เคย ที่น่าสนใจก็คือ ภาพถ่ายชุดนี้ยังนำเสนอมิติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับขยะของแต่ละเมือง เช่น การเผาขยะ การฝังกลบ ขยะอาหาร ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ฯลฯ คาเดียหวังว่า Wasteland จะสร้างความตระหนักเรื่องปัญหาขยะที่น่ากังวลขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนเปลี่ยนวิธีคิดเกี่ยวกับขยะ และร่วมกันแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังเสียที ใครสนใจเยี่ยมชมนิทรรศการ Wasteland ได้ฟรี ที่ลานตะวันยิ้ม สวนลุมพินี ตั้งแต่วันนี้ – 25 […]

การจัดการขยะในเมือง กับ ก้อง Konggreengreen | Unlock the City EP.10

ขยะคือหนึ่งสาเหตุของน้ำท่วมเมือง  หลายคนน่าจะเห็นภาพฟูกที่นอน โซฟา และขยะชิ้นใหญ่เบิ้มที่ทางเจ้าหน้าที่เก็บกู้มาจากแหล่งน้ำ นอกจากความสกปรก ส่งกลิ่นเหม็นแล้ว ขยะพวกนี้ยังสร้างปัญหาอุดตัน ทำให้เก็บกักน้ำได้น้อยลง แม้จะมีความพยายามในการผลักดันการจัดการขยะมาหลายยุคสมัย แต่ในเมืองที่มีปัญหาขยะเรื้อรังมาอย่างเนิ่นนาน ถึงขนาดมีรายงานว่าคนกรุงเทพฯ ทิ้งขยะเฉลี่ยแล้ว คนละ 2.2 กิโลกรัม/วัน ภาพรวมเรื่องนี้ก็ยังไม่ดีขึ้นนัก นั่นเพราะเรายังมีนโยบายการจัดเก็บและจัดการขยะที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ ประชาชนที่อยากลดการสร้างขยะก็ทำได้ไม่ค่อยสะดวกนัก เพราะสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย ‘พนิต ภู่จินดา’ โฮสต์รายการ Unlock the City ชวน ‘ก้อง-ชณัฐ วุฒิวิกัยการ’ หรือ ก้องแห่ง Konggreengreen อินฟลูเอนเซอร์สายเขียว มาสนทนาถึงสถานการณ์การจัดการขยะในกรุงเทพฯ อะไรคืออุปสรรคที่ทำให้บ้านเราไม่สามารถจัดการขยะได้ดีแบบญี่ปุ่นหรือเยอรมนี วิธีการจัดการขยะแบบปัจเจกและสเกลเมืองควรเป็นแบบไหน ไปจนถึงการตั้งคำถามว่าแท้จริงแล้วประเทศไทยเหมาะกับการจัดการขยะแบบไหนกันแน่ ติดตามฟัง Urban Podcast ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/3U2dBYQLeAU Spotify : https://spoti.fi/3qUXgXz Apple Podcasts : https://apple.co/3ShtnfO Podbean : https://bit.ly/3BXGhu4 #UrbanCreature#UrbanPodcast#UnlocktheCity

เยอรมนีทำอย่างไรถึงเป็นประเทศที่รีไซเคิลขยะมากที่สุดในโลก

คนส่วนใหญ่คงรู้อยู่แล้วว่า ‘การแยกขยะ’ หรือ ‘การรีไซเคิลขยะ’ นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ หลายประเทศทั่วโลกผลักดันนโยบายเรื่องนี้มานานแล้ว และจำนวนไม่น้อยสามารถเปลี่ยนการแยกขยะให้เป็นความรับผิดชอบและวิถีชีวิตของประชาชนทุกคนได้สำเร็จ ‘เยอรมนี’ ถือเป็นหนึ่งในต้นแบบของการจัดการและการรีไซเคิลขยะ เพราะข้อมูลปี 2021 ระบุว่า เยอรมนีคือประเทศที่รีไซเคิลขยะมากที่สุดในโลก นั่นคือมากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนขยะทั้งหมดที่ประเทศผลิตออกมา Urban Creature อยากพาทุกคนไปหาคำตอบว่า เยอรมนีทำอย่างไรถึงกลายเป็นดินแดนที่ยืนหนึ่งเรื่องการนำของเสียและวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ผ่านการสำรวจนโยบายและโครงการที่เข้มแข็งของภาครัฐ ไปจนถึงการให้ความสำคัญเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมของภาคประชาชน 01 | นโยบายจัดการขยะที่เข้มแข็ง รัฐบาลเยอรมนีมีส่วนสำคัญในการกำหนดทิศทางการจัดการขยะ รวมไปถึงการรีไซเคิลขยะภายในประเทศ เหตุผลหนึ่งมาจากการออกกฎหมายและนโยบายที่เข้มแข็ง ทำให้ภาคส่วนต่างๆ และประชาชนมีส่วนร่วมในการแยกขยะอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามนโยบายหลักที่เยอรมนีใช้ควบคุมและจัดการขยะภายในประเทศ ได้แก่ 1) ‘Packaging Ordinance (1991)’ หรือ ‘กฤษฎีกาว่าด้วยบรรจุภัณฑ์’ คือกฎหมายฉบับแรกของเยอรมนีที่กำหนดให้บรรดาผู้ผลิตสินค้าต้องจัดการขยะของแพ็กเกจจิ้งต่างๆ ซึ่งรวมทั้ง ‘บรรจุภัณฑ์ขั้นที่หนึ่ง (Primary Packaging)’ ที่ห่อหุ้มตัวสินค้าเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวสินค้าเสียหาย, ‘บรรจุภัณฑ์ขั้นที่สอง (Secondary Packaging)’ ที่ห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ขั้นที่หนึ่งมาอีกทีเพื่อป้องกันความเสียหายและเพิ่มมูลค่าให้กับตัวสินค้า สุดท้ายคือ ‘บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง (Shipping Packaging)’ ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้เก็บรักษาและขนส่งตัวสินค้านั่นเอง รัฐบาลเยอรมนีมองว่า แพ็กเกจจิ้งหลายรูปแบบนี้ก่อให้เกิดขยะจำนวนมหาศาลที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม […]

Chitofoam พลาสติกชีวภาพจากหนอนนก ทางเลือกใหม่ของการผลิตบรรจุภัณฑ์ ไม่มีมลพิษ ย่อยสลายในธรรมชาติได้

ปัจจุบันทั่วโลกเพาะเลี้ยง ‘หนอนนก’ กันอย่างแพร่หลาย เพราะเป็นอาหารที่มีโปรตีนและไขมันสูง เกษตรกรจึงนิยมนำมาใช้เป็นอาหารแก่สัตว์น้ำและสัตว์ปีกเช่นนกและไก่ ส่วนในประเทศไทยก็นิยมเอาหนอนชนิดนี้ทำเมนูทานเล่นที่เห็นได้ทั่วไปอย่าง ‘รถด่วนทอด’ นอกจากจะมีคุณค่าทางโภชนาการสูงแล้ว โครงกระดูกภายนอกของเจ้าหนอนนกยังเปลี่ยนเป็น ‘แพ็กเกจจิ้งทางเลือก’ ที่มีน้ำหนักเบา ทนน้ำ และย่อยสลายตามธรรมชาติได้ด้วย ‘Chitofoam’ คือบรรจุภัณฑ์ผลิตจากระบบหมุนเวียนที่เปลี่ยนโครงกระดูกภายนอก (Exoskeletons) ของหนอนนก (Mealworms) ให้เป็นวัสดุสำหรับทดแทน ‘พอลิสไตรีน’ หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า ‘โฟม’ พลาสติกที่ทั่วโลกนิยมใช้ทำแพ็กเกจจิ้งอาหารอย่างแพร่หลาย เช่น ถ้วย จาน และแก้ว ซึ่งขยะเหล่านี้ไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และต้องใช้เวลานับร้อยๆ ปีจนกว่าจะเสื่อมสภาพตามชีววิทยา ก่อนจะกลายเป็นขยะธรรมดา ผู้พัฒนาวงจรหมุนเวียนรักษ์โลกนี้ก็คือ Charlotte Böhning นักออกแบบเชิงอุตสาหกรรมชาวอเมริกัน ร่วมกับ Mary Lempres ศิลปินจากสตูดิโอออกแบบ Doppelgänger ในอเมริกา พวกเขาเลือกใช้โครงกระดูกภายนอกของหนอนนก (หนอนของแมลงปีกแข็ง) ทำแพ็กเกจจิ้งทดแทน เพราะพวกมันกินพลาสติกเป็นอาหารอยู่แล้ว โดยในหนึ่งวัน หนอนนก 100 ตัว สามารถกินพลาสติกได้ถึง 40 มิลลิกรัม หรือปริมาณเทียบเท่ากับยาหนึ่งเม็ด โดยขั้นตอนของการผลิต Chitofoam เบื้องต้นมีดังต่อไปนี้ […]

ล้ำไปอีกขั้น! นักวิจัยจีนค้นพบวิธีผลิตพลาสติกจาก ‘อสุจิแซลมอน’ ย่อยสลายได้และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ทุกวันนี้ทั่วโลกคิดค้นวิธีต่างๆ เพื่อลดปริมาณขยะพลาสติก ทั้งการรณรงค์ลดใช้พลาสติก รวมไปถึงการทำวัสดุทดแทนที่ย่อยสลายได้ในธรรมชาติจากพืชชนิดต่างๆ อย่าง ข้าวโพด ข้าวสาลี มันฝรั่ง มันเทศ และมันสำปะหลัง  ไอเดียล่าสุดที่น่าสนใจก็คือการผลิตพลาสติกจาก ‘อสุจิปลาแซลมอน’ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ คิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวจีนจากมหาวิทยาลัยเทียนจิน ขั้นตอนในการผลิตก็คือ การแยกสายดีเอ็นเอสองสายออกจากอสุจิปลาแซลมอน หลังจากนั้นก็นำสายดีเอ็นเอไปผสมกับสารเคมีที่สกัดจากน้ำมันพืช เมื่อโมเลกุลจับตัวกันก็จะได้ ‘ไฮโดรเจลสังเคราะห์’ สารประกอบเนื้อเจลที่สามารถกักเก็บและรักษาปริมาณน้ำได้ 99% เมื่อมีเจลแล้วก็นำไปเทใส่พิมพ์รูปทรงต่างๆ อย่างเช่น แก้วมัค จิ๊กซอว์ โมเดลดีเอ็นเอ และของชิ้นเล็กๆ ก่อนจะนำพิมพ์ไปทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (Freeze Dry) เพื่อให้รูปทรงต่างๆ เซตตัวอย่างสมบูรณ์ ท้ายที่สุดก็จะได้วัสดุที่ทีมนักวิทยาศาสตร์เรียกว่า ‘พลาสติกที่ทำจากดีเอ็นเอ’ (DNA-based Plastic) แม้ว่าการผลิตพลาสติกจากอสุจิแซลมอนยังคงต้องใช้ความร้อนและพลังงาน แต่ Dayong Yang หัวหน้าทีมวิจัย เปิดเผยว่า พลาสติกชนิดนี้เป็นวัสดุที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุดในบรรดาพลาสติกที่รู้จัก เนื่องจากการผลิตปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียง 5% เมื่อเทียบกับการผลิตพลาสติกทั่วๆ ไป อีกข้อดีของพลาสติกชนิดนี้คือรีไซเคิลง่าย เพียงแค่ใช้เอนไซม์พิเศษสำหรับย่อยสลายดีเอ็นเอ หรือจะนำไปจุ่มน้ำเพื่อเปลี่ยนพลาสติกกลับไปเป็นเจลก็ได้ เพราะพลาสติกชนิดนี้จะนิ่มและยืดหยุ่นเมื่อโดนน้ำ  ในขณะเดียวกัน คุณสมบัติการย่อยสลายง่ายทำให้พลาสติกดีเอ็นเอยังไม่เหมาะที่จะเป็นภาชนะสำหรับบรรจุของเหลวหรือน้ำ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์กำลังเร่งหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพในการกันน้ำให้แก่วัสดุประเภทนี้อยู่ ทั้งนี้ […]

ปลายทางของเสื้อผ้าที่ขายไม่ออก ภูเขาขยะเสื้อผ้ามหึมาในทะเลทรายชิลี ผลกระทบจากอุตสาหกรรม Fast Fashion

สินค้า Fast Fashion ได้รับความนิยมและกลายเป็นกระแสไปทั่วโลกในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าแฟชั่นต่างๆ ออกมาอย่างรวดเร็ว ในราคาที่ต่ำที่สุด เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ต้องการแต่งตัวตามกระแสและเน้นใส่เพียงไม่กี่ครั้ง แต่กระแสนิยม Fast Fashion ก็ถูกตั้งคำถามอย่างหนัก เนื่องจากอุตสาหกรรมนี้ก่อให้เกิดขยะจำนวนมหาศาลและยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย Fast Fashion กำลังเป็นปัญหาระดับโลก เห็นได้จากกองภูเขาขยะเสื้อผ้ามหึมาที่ถูกทิ้งร้างในทะเลทรายอาตากามา (Atacama) ในประเทศชิลี ซึ่งเป็นทะเลทรายที่แห้งแล้งที่สุดในโลก เสื้อผ้าเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกผลิตในจีนและบังกลาเทศ ก่อนจะถูกส่งต่อไปยังยุโรป เอเชีย และสหรัฐอเมริกา ส่วนชิลีคือปลายทางสุดท้าย ทำให้ชิลีกลายเป็นศูนย์กลางของเสื้อผ้ามือสองและเสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้ว ในแต่ละปีมีเสื้อผ้าจากทั่วโลกประมาณ 59,000 ตัน ถูกส่งมายังท่าเรืออิกิเก (Iquique Port) ในเขตปลอดอากร อัลโต ฮอสปิซิโอ (Alto Hospicio Free Zone) ทางตอนเหนือของชิลี เสื้อผ้าจำนวนหนึ่งมีบรรดาพ่อค้าเดินทางมาซื้อเพื่อไปขายต่อ ขณะที่บางส่วนถูกลักลอบส่งต่อไปยังประเทศแถบลาตินอเมริกา  ทั้งนี้ จะมีเสื้อผ้าราว 39,000 ตันที่ไม่สามารถขายได้และต้องมาจบลงที่กองขยะในทะเลทรายอาตากามา ทำให้ขยะแฟชั่นกองพะเนินอย่างที่เห็น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าไม่มีใครจ่ายภาษีให้กับเสื้อผ้าที่ขายไม่ได้ สินค้าแฟชั่นเหล่านี้จึงต้องอยู่ในเขตปลอดภาษีต่อไป โดยสาเหตุสำคัญที่ชิลีมีภูเขาขยะเสื้อผ้าขนาดยักษ์ก็เพราะว่า สินค้าเหล่านี้ไม่สามารถย่อยสลายเองได้ (Non-biodegradable) และยังมีสารเคมี […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.