เฉลิมฉลองการเติบโตของสิ่งพิมพ์อิสระ ในงาน Bangkok Art Book Fair 2023 วันที่ 1 – 3 ธ.ค. 66 ที่โรงแรมเอเชีย กรุงเทพฯ

ในช่วงเวลาที่งานออกแบบและงานสร้างสรรค์ในไทยกำลังผลิบาน เทศกาลที่เป็นดั่งหมุดหมายของชาวคนทำสิ่งพิมพ์อิสระก็เวียนกลับมาอีกครั้งกับ BANGKOK ART BOOK FAIR 2023 หรือ เทศกาลหนังสือศิลปะกรุงเทพฯ ครั้งที่ 6 ที่จะจัดขึ้นที่โรงแรมเอเชีย กรุงเทพฯ ความพิเศษของงานปีนี้คือ มีผู้ผลิตสิ่งพิมพ์ สำนักพิมพ์ และศิลปินนานาชาติกว่า 18 ประเทศที่เข้าร่วมจัดแสดงกว่า 150 โต๊ะ ยิ่งใหญ่กว่าทุกปีที่ผ่านมา  นอกจากผู้แสดงงานและผลงานสิ่งพิมพ์ที่มีความหลากหลาย พร้อมกับจำนวนที่มากขึ้น ด้วยความที่ธีมงานคือ ‘Homegrown Community’ ทำให้เทศกาลนี้เป็นเหมือนการนำเสนอตัวอย่างและทางเลือกว่าผู้คนสามารถใช้สิ่งพิมพ์สื่อสารเรื่องราวได้อย่างไร รวมถึงความเป็นไปได้ของการสื่อสารประเด็นผ่านสิ่งพิมพ์ทุกรูปแบบ ตั้งแต่หนังสือป็อปอัปอลังการไปจนถึงแมกกาซีนเย็บเล่มด้วยแม็กเย็บกระดาษ ส่วนใครที่อยากเรียนรู้ว่าคนทำสิ่งพิมพ์อิสระมีวิธีคิดและทำงานอย่างไรบ้าง ปีนี้ BANGKOK ART BOOK FAIR 2023 ได้ขยับเอาเซสชันเสวนามาไว้ในวันเดียวกัน นั่นคือ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 ที่ห้องกิ่งทอง โรงแรมเอเชีย ตั้งแต่เวลา 13.00 – 17.00 น. โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้พบกับผู้บรรยายจาก​หลายบริบท หลากวัฒนธรรม ที่จะมาพูดถึงแนวคิดและวิธีเฉพาะตัวในการบ่มเพาะชุมชนของตนให้เติบโต ไม่ว่าจะเป็นการเปิดพื้นที่สำหรับเรียนรู้ร่วมกัน จัดเวิร์กช็อป […]

สนทนาถึงวรรณกรรมกับนักเขียนทั่วโลกใน ‘เทศกาลวรรณกรรมนานาชาติ 2023’ วันที่ 4 – 5 พ.ย. 66 ที่หอสมุดเนียลสัน เฮส์

สำหรับสายวรรณกรรม คงไม่มีอะไรดีไปกว่าการได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับเหล่านักเขียนคนโปรดอย่างใกล้ชิด เพราะนั่นหมายถึงการสร้างเสริมให้ประสบการณ์ในการอ่านและมุมมองทางวรรณกรรมของเรากว้างขวางขึ้นผ่านสายตาของผู้สร้างสรรค์งานเขียน ในช่วงท้ายปีนี้ยังมีอีกงานหนังสือที่น่าสนใจและอยากชวนทุกคนไปร่วมกัน นั่นคือ การกลับมาเป็นปีที่ 2 ของเทศกาลวรรณกรรมนานาชาติ Neilson Hays Bangkok Literature Festival 2023 ที่จัดขึ้นในห้องสมุดที่ถือว่ามีความสวยงามเป็นอันดับต้นๆ ของไทย โดยภายในงานเราจะได้พบกับนักเขียนชั้นนำทั้งไทยและต่างประเทศกว่า 50 คนที่จะมาร่วมเสวนาพูดคุยถ่ายทอดมุมมองและประสบการณ์อย่างใกล้ชิด เช่น Adam Higginbotham, Will Schwalbe และ Nguyễn Phan Quế Mai เป็นต้น ยังไม่นับรวมนักเขียนไทยที่ชาวนักอ่านน่าจะคุ้นชื่อเป็นอย่างดี อาทิ อุรุดา โควินท์, ชัยรัตน์ พิพิธพัฒนาปราปต์ (ปราปต์) และ เชน บุนนาค ช่างภาพและผู้เขียนประวัติศาสตร์ตระกูลบุนนาค ที่จะมาแชร์มุมมองงานเขียนไทยในระดับสากล นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอ่านการเขียน เช่น เวิร์กช็อปการวาดภาพประกอบหนังสือและการเขียนวรรณกรรม ศิลปะการเขียนตัวอักษรด้วยลายมือ รวมถึงการจัดฉายภาพยนตร์และกิจกรรมตลาดนัดงานคราฟต์ ที่จะมาสร้างสีสันให้งานหนังสือครั้งนี้มีชีวิตชีวาและสนุกสนานขึ้น งาน Neilson Hays Bangkok Literature Festival […]

BOOK DREAMS เหล่าหนังสือในฝันที่ชาว Urban Creature อยากได้มาไว้ในคอลเลกชันกองดอง

ขอต้อนรับงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 28 กับธีม BOOK DREAMS ด้วยลิสต์หนังสือในฝันที่ชาว Urban Creature อยากได้ เพราะแม้ตอนนี้ราคาหนังสือแต่ละเล่มจะเริ่มพุ่งทะยานไปไกลจนเราต้องคิดแล้วคิดอีกเวลาควักเงินซื้อ แต่พออยู่ในงานหนังสือที่รายล้อมไปด้วยหนังสือมากมายหลากหลายประเภทที่มีหน้าปกล่อตาล่อใจ หลายๆ ครั้งเราก็มักจบลงด้วยการหอบหนังสือกองโตกลับบ้านพร้อมใบหน้าเปื้อนยิ้ม (ที่ต้องไปบริหารจัดการเงินทีหลัง) ในลิสต์นี้มีตั้งแต่ฟิกชันอ่านสนุก วรรณกรรมแปลแนวสืบสวนสอบสวน ชีวประวัติคนสำคัญระดับโลก ไปจนถึงน็อนฟิกชันเรื่องการออกแบบและเมืองที่ทำให้เราหันกลับมามองพื้นที่อยู่อาศัยในสายตาที่ต่างออกไป ว่าแต่มีเล่มไหนบ้าง มาอ่านที่เราป้ายยากัน ชื่อหนังสือ : สถาปัตย์-สถาปนา : การ(เมือง)ดีไซน์พื้นที่และความนัยสถาปัตยกรรมสำนักพิมพ์ : มติชน (บูท J47)ชื่อผู้เลือก : เดือนเพ็ญ จุ้ยประชาตำแหน่ง : Managing Editor ปกติเป็นคนชอบอ่านงานเขียนประเภทนิยาย แต่จะมีบ้างบางครั้งที่เปลี่ยนอารมณ์ไปอ่านงานน็อนฟิกชันแนวการเมือง ซึ่งหนึ่งในงานเขียนแนวนี้ที่ประทับใจคือ ‘ศิลปะ-สถาปัตยกรรมคณะราษฎร’ โดย ‘ชาตรี ประกิตนนทการ’ ที่เล่าเรื่องการเมืองในศิลปะการออกแบบได้อย่างสนุก ชวนติดตาม พร้อมกับเปิดตาเราให้เห็นมุมมองทางอุดมการณ์และความเชื่อที่ซุกซ่อนอยู่ของการออกแบบสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะในหลายๆ สถานที่ที่เราเคยผ่านไปผ่านมาแต่ไม่เคยครุ่นคิดถึงต้นตอที่มาของมัน ด้วยเหตุนี้ เราจึงอดไม่ได้ที่จะลิสต์ ‘สถาปัตย์-สถาปนา : การ(เมือง)ดีไซน์พื้นที่และความนัยสถาปัตยกรรม’ ผลงานเล่มใหม่ของอาจารย์ชาตรีไว้ในใจ ต่อให้กองดองจะสูงเด่นท้าทายแค่ไหนก็ตาม […]

Rock Paper Scissors ช็อปของเนิร์ดแมกกาซีนที่ขายนิตยสาร กาแฟ และไอเทมที่ช่วยให้การอ่านรื่นรมย์

ในยุคที่ใครๆ ต่างบอกว่านิตยสารตาย (ไปนาน) แล้ว ไม่น่าเชื่อว่าเราจะได้เห็นร้านนิตยสารอิสระร้านใหม่ที่ทำให้เรากลับมาใจเต้นกับสื่อสิ่งพิมพ์ได้อีกครั้ง Rock Paper Scissors Store คือร้านที่เกิดขึ้นจากความตั้งใจของ ‘ย้วย-นภษร ศรีวิลาศ’ และ ‘เฟิม-เฟื่องฟู จิรัฐิติวณิชย์’ คู่รักผู้เป็นเนิร์ดแมกกาซีนอินดี้ที่เชื่อว่าสื่อสิ่งพิมพ์ยังไม่ตาย (ที่ตายน่ะคือสื่อสิ่งพิมพ์ที่น่าเบื่อเท่านั้นแหละ) เลยเสาะหาซีนน่าสนใจจากหลายประเทศทั่วโลกที่คนทำก็เนิร์ดเรื่องสื่อสิ่งพิมพ์ไม่ต่างจากพวกเขา ทว่าสิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นคือ แต่ละเล่มถูกชูด้วยคอนเซปต์ที่เราฟังแล้วต้องถามว่า ‘แบบนี้ก็มีด้วยเหรอ ทำได้ด้วยเหรอ ต้องรู้ด้วยเหรอ’ เช่น นิตยสารบ้านที่เชื่อว่า Interior ที่ดีที่สุดของบ้านคือชีวิตของผู้อยู่อาศัย หรือนิตยสารจากโคเปนเฮเกนที่หน้าตาเหมือนหนังสือแฟชั่น แต่จริงๆ แล้วเล่าเรื่องธุรกิจได้อย่างเข้มข้น สนุกสนาน ด้วยกระบวนท่าใหม่ นอกจากซีนเจ๋งๆ ในร้านของย้วยกับเฟิมยังเต็มไปด้วยสารพัดสิ่งที่ช่วยยกระดับประสบการณ์การอ่านให้รื่นรมย์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกาแฟดริปฝีมือเฟิม คาเนเลหอมอร่อย หรือไอเทมต่างๆ ที่คนไม่ซื้อนิตยสารก็ช้อปได้อย่างสะดวก อย่างแว่นกันแดดที่พกไปอ่านหนังสือในที่เอาต์ดอร์ โคมไฟแสงอุ่นสุดชิก หรือแก้วกาแฟที่นำของเหลือจากกากกาแฟมาทำน้ำเคลือบให้ได้เทกซ์เจอร์การดื่มที่พิเศษขึ้น ช็อปที่ชูคอนเซปต์ Magazine/Things/Coffee ของทั้งคู่เกิดขึ้นได้ยังไง คอลัมน์ Urban Guide ตอนนี้อาสาพาทุกคนลัดเลาะซอยสุขุมวิท 39 ไปหาพวกเขาที่ร้านกัน Zine Lover แค่ช่วงเริ่มบทสนทนาเราก็เซอร์ไพรส์แล้ว เพราะย้วยบอกว่าจุดเริ่มต้นที่ทำให้เธอเป็นเนิร์ดแมกกาซีนทุกวันนี้ไม่ใช่แมกกาซีนเล่มไหน แต่เป็นแฮร์รี่ […]

สัมผัสชะตาโศกของคนไร้บ้านที่ไร้สิทธิ์ไร้เสียงกับ ‘ณ สถานีรถไฟโตเกียวอุเอโนะ’

‘ยามเดินสวนกัน ไม่ว่าใครก็หลบสายตา แต่กลับถูกเฝ้าจับจ้องจากผู้คนมหาศาล นิยามนั้นคือชีวิตคนไร้บ้าน’ แม้จะเป็นคนที่ค่อนข้างสนใจประเด็นสังคมอยู่บ้าง แต่กับประเด็นคนไร้บ้าน ฉันคงต้องบอกว่าค่อนข้างเป็นเรื่องไกลตัว ทั้งที่แม้ว่าในโลกแห่งความจริงมันจะแสนใกล้ตัว เพราะเคยนั่งรถหรือเดินผ่านคนกลุ่มนี้แถวถนนราชดำเนินและมุมอื่นๆ ในกรุงเทพฯ อยู่บ่อยๆ ที่บอกว่าไกลตัวเพราะสารภาพตามตรงว่าตัวเองไม่เคยสนใจศึกษาประเด็นนี้อย่างจริงจัง แน่นอนว่ามีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจพวกเขาอยู่แล้ว แต่ไม่มีทางที่จะเข้าอกเข้าใจได้ เพราะไม่เคยสนทนาหรือคลุกคลีกับคนกลุ่มนี้แม้แต่น้อย จนกระทั่งเมื่อปีก่อน ไม่รู้อะไรดลใจให้ฉันหยิบหนังสือเกี่ยวกับชีวิตคนไร้บ้านในกองดองมาอ่าน เริ่มต้นด้วยรวมเรื่องสั้น ‘บ้านที่กลับไม่ได้’ ก่อนไปเสาะหาความเรียง ‘สายสตรีท’ มาอ่านเพิ่มเติม หนังสือทั้งสองเล่มเขียนโดย ‘บุญเลิศ วิเศษปรีชา’ อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่สนใจประเด็นชีวิตคนชายขอบ และเป็นนักวิชาการไทยผู้เป็นที่รู้จักจากการทำงานวิจัยที่เอาตัวเองไปใช้ชีวิตเป็นคนไร้บ้าน ทั้งในประเทศไทย (สนามหลวง กรุงเทพฯ), ประเทศญี่ปุ่น (กรุงโตเกียว) และกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ คุณบุญเลิศเคยกล่าวไว้ในบทสัมภาษณ์ท้ายหนังสือ ‘บ้านที่กลับไม่ได้’ ถึงความแตกต่างของโครงสร้างสังคมและค่านิยมที่ส่งผลต่อสถานภาพของคนไร้บ้านของแต่ละประเทศ โดยเปรียบเทียบผ่านประเทศฟิลิปปินส์ที่มีคนไร้บ้านจำนวนมาก จนมีชุมชนคนไร้บ้านของตัวเองตามย่านต่างๆ และประเทศญี่ปุ่นที่มีจำนวนคนไร้บ้านไม่มากเท่า ทั้งยังไม่ได้พบเจอได้ง่ายๆ เนื่องจากพวกเขาไม่เป็นที่ยอมรับ ต้องหลบซ่อนตัวจากผู้คน ทั้งยังถูกมองว่าใช้ชีวิตได้ล้มเหลว ทำให้คนไร้บ้านที่ญี่ปุ่นมีความกดดัน เครียด และมีสถานะที่ต่ำต้อยจากการหลบๆ ซ่อนๆ และนั่นนำมาสู่การอ่านนิยายเรื่อง ‘ณ สถานีรถไฟโตเกียวอุเอโนะ’ โดย Yu […]

‘หลงยุคหลุดสมัย’ รวมเรื่องสั้นถึงสังคมไทยในอนาคต ที่หยิบความล้ำมาเล่าอย่างเจ็บแสบ

เมื่อปีก่อน ฉันได้มีโอกาสอ่านรวมเรื่องสั้นฉบับกะทัดรัดที่ทางสำนักพิมพ์แซลมอน ซึ่งเป็นผู้จัดพิมพ์ให้คำจำกัดความไว้ว่า ‘โปรเจกต์ซาชิมิ’ เนื่องจากมีชิ้นพอดีคำ เนื้อหาสดใหม่ และไม่มีการปรับแก้ต้นฉบับ ชื่อของหนังสือคือ ‘หลงยุคหลุดสมัย’ โดย วัน รมณีย์ นักเขียนที่ฉันไม่เคยได้ยินชื่อ และเสิร์ชหาข้อมูลเท่าไหร่ก็ไม่เจออะไรไปมากกว่าการที่เขาเป็นนักเขียนลึกลับ ฝีมือจัดจ้านเท่านั้น สามเรื่องสั้นที่ประกอบรวมในเล่ม อันได้แก่ จ๊ะเอ๋ บุษบา และหลงยุคหลุดสมัย ทำให้ฉันอดรู้สึกตะลึงพรึงเพริดไม่ได้ อาจเพราะฉันไม่ได้อ่านงานเขียนไทยแนวนี้มานานมากแล้ว หรือเพราะความสดใหม่ของไอเดียการนำเสนอเรื่องราวโดยนักเขียนก็ตาม สุดท้ายฉันเลือกบันทึกชื่อของ ‘วัน รมณีย์’ ไว้ลึกๆ ในใจ คาดหวังว่าถ้าเขาเขียนงานใหม่ออกมาเมื่อไหร่ ฉันจะไปขวนขวายหาอ่านให้ได้ จนกระทั่งฉันได้มาเจอ ‘หลงยุคหลุดสมัย’ ในอีกเวอร์ชันหนึ่งที่เป็นฉบับครบรอบสามสิบปี โดยสำนักพิมพ์ Anthill Archive ที่ออกมาช่วงปลายปีที่แล้ว (แต่ในหนังสือระบุว่า พิมพ์เมื่อธันวาคม 2595 ที่สื่อว่ามาจากอนาคต!) ความพิเศษของฉบับนี้คือ มีเรื่องสั้นเพิ่มจำนวนขึ้นอีก 9 เรื่อง รวมเบ็ดเสร็จเป็น 12 เรื่อง แถมยังมีกิมมิก Ways to Read สำหรับการไล่อ่านแต่ละเรื่อง แบ่งเป็นตัวเลือกของนักเขียนและบรรณาธิการอีกแน่ะ แต่สุดท้ายเราก็เลือกไล่อ่านตามหน้าหนังสือไปเรื่อยๆ […]

เหล่ามังงะที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของนักเขียนการ์ตูน ‘สะอาด’

ขอออกตัวก่อนว่าเราไม่ใช่นักอ่านมังงะตัวยงหรือชื่นชอบงานเขียนประเภทการ์ตูนอะไรขนาดนั้น และนี่อาจเป็นเหตุผลที่ทำให้เราเลือกหยิบงานของ ‘สะอาด’ มาอ่านช้าเหลือเกิน เมื่อเทียบกับคนรอบๆ ตัวที่รู้จักและอ่านงานของเขาตั้งแต่เมื่อหลายปีก่อน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่รู้จักเขาเอาซะเลย เพราะเท่าที่จดจำได้ ชื่อของ ‘สะอาด’ น่าจะเป็นชื่อของคนทำงานสร้างสรรค์กลุ่มแรกๆ ที่ออกมาเคลื่อนไหวด้านการเมือง และแสดงจุดยืนของตัวเองอย่างเข้มแข็งผ่านปากคำให้สัมภาษณ์ในหลากหลายสื่อ รวมถึงผลงานการ์ตูนที่เผยแพร่ผ่านช่องทางของเขาเอง และลงตามสื่อออนไลน์ที่เขาร่วมงานด้วย ชายผู้ออกเดินทางตามเสียงของตัวเอง, ครอบครัวเจ๋งเป้ง, บทกวีชั่วชีวิต, การศึกษาของกระป๋องมีฝัน และให้รักเป็นบทกวีชั่วชีวิต คือผลงานส่วนหนึ่งที่ผ่านมาของนักเขียนการ์ตูนรุ่นใหม่คนนี้ นอกจากลายเส้นที่ไม่เนี้ยบ มุกตลกร้าย และคาแรกเตอร์ตัวละครที่มีเสน่ห์ (ปนกวนๆ) สิ่งที่ทำให้ผลงานของสะอาดเป็นที่ชื่นชอบของนักอ่านจำนวนมาก น่าจะหนีไม่พ้นประเด็นสังคมที่เขาสอดแทรกไว้ในการ์ตูน ตั้งแต่เรื่องอาชีพการงานของคนทำงานสร้างสรรค์ที่ไม่ได้รับการสนับสนุน การศึกษา ชาติพันธุ์ สิทธิเสรีภาพ เป็นต้น ยังไม่นับการดำเนินเรื่องที่ชวนให้ติดตาม รู้สึกร่วมไปกับตัวละคร และทิ้งท้ายด้วยความหวังเล็กๆ ที่ทำให้คนอ่านอย่างเราเกือบน้ำตาคลอ ด้วยเหตุนี้ เราจึงชวน ‘สะอาด’ หรือ ‘ภูมิ-ธนิสร์ วีระศักดิ์วงศ์’ มาบอกเล่าถึงเหล่ามังงะที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของเขา ตั้งแต่มังงะเรื่องแรกที่ชอบ เรื่องที่เปลี่ยนชีวิตและแนวคิด นักเขียนมังงะที่ชื่นชม ตัวการ์ตูนที่ยกนิ้วให้ ไปจนถึงมังงะที่อยากแนะนำให้ทุกคนได้อ่าน เราจำการ์ตูนเรื่องแรกที่อ่านไม่ได้ แต่จำเรื่องแรกที่อ่านแล้วชอบมากๆ ได้ คือเรื่อง ‘จอมโจรอัจฉริยะ’ นักเขียนคือ โกโช […]

เตรียมบอกลา Zombie Books ร้านหนังสือหนึ่งเดียวใน RCA สู่ทำเลใหม่แถวราชวัตร มี.ค. 66

เรายังจำได้ดีถึงช่วงแรกๆ ที่มีร้านหนังสืออิสระชื่อเท่ ‘Zombie Books’ กำเนิดเกิดขึ้นในย่าน RCA ที่เป็นแหล่งรวมออฟฟิศคนทำงานสร้างสรรค์และสถานบันเทิง เพราะมันไม่ใช่แค่ร้านหนังสืออิสระเท่านั้น แต่ยังมีโซนคล้ายๆ โคเวิร์กกิงสเปซให้คนไปอ่านหนังสือและทำงาน รวมถึงบาร์ลับที่อยู่ชั้น 3 Zombie Books เปิดให้บริการนักอ่านย่านผีเสื้อราตรีมานานเกือบสิบปี โดยมีช่วงบ้าคลั่งที่เปิดร้าน 24 ชั่วโมงก่อนปรับลดเวลาลง (แต่ก็ยังเปิดถึงดึกดื่นเที่ยงคืนตีหนึ่งตีสองอยู่ดี) ทว่าเมื่อไม่นานมานี้ ‘โต้ง-ประวิทย์ พันธุ์สว่าง’ ผู้ก่อตั้งร้านก็ออกมาประกาศเป็นนัยๆ ว่าที่นี่อาจไปไม่รอด เพราะขาดทุนหนักทุกเดือน บวกกับสถานการณ์โรคระบาดที่กินเวลายาวนานกว่า 2 ปี จนในที่สุด เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา Zombie Books ก็ออกมารายงานสถานการณ์ร้านหนังสือ พร้อมกับประกาศเตรียมตัวย้ายร้านในเร็ววันนี้ โต้งบอกว่าที่ผ่านมาเขาทำร้านหนังสือขาดทุนเดือนละเป็นแสนๆ มาแปดปี จนได้ธุรกิจร้านอาหาร ‘เห็นอกเห็นใจ โภชนา’ ที่เพิ่งมาเปิดช่วงหลังช่วยกอบกู้สร้างรายได้ให้เขา “ที่จริงเราตั้งใจจะปิดร้านนี้ แล้วไปทำร้านอาหารเต็มตัว แต่สุดท้ายใจเราไม่อยากเลิกทำร้านหนังสือ ตัดไม่ขาด ก็เลยยังทำต่อ เพียงแต่ครั้งนี้คงเอาร้านอาหารนำก่อน แล้วตัวตนของร้านหนังสืออาจเบาบางลงไป” เขาบอกกับเราอีกว่า Zombie Books สาขา RCA อาจเปิดให้บริการถึงแค่ต้นเดือนมีนาคมนี้เท่านั้น ก่อนจะย้ายไปยังร้านอาหารที่ทำเลแถวนาคนิวาส ลาดพร้าว […]

JUST READ นักอ่านที่ไม่ได้แค่อ่านหนังสืออย่างเดียว แต่ยังขับเคลื่อนการอ่านผ่านอีเวนต์

ความชอบหนังสือและนิสัยรักการอ่าน พาให้เราไปทำอะไรได้บ้าง บางคนเดบิวต์เป็นนักเขียน บางคนเป็นนักสะสมหนังสือ บางคนลงทุนเปิดร้านขายหนังสือ แต่ความชอบหนังสือของ ‘เวฟ-สหัสวรรษ ธนสุขสวัสดิ์’ เจ้าของเพจ ‘JUST READ’ นั้นพาให้เขาเข้าสู่การเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนวงการการอ่านผ่านการจัดอีเวนต์ต่างๆ โดยเริ่มจาก Book Club วงเล็กๆ ในมหาวิทยาลัย จนมาถึงงานหนังสือสเกลใหญ่ระดับเมือง อย่างงาน ‘หนังสือในสวน’ ที่มีผู้เข้าร่วมงานจำนวนหลายร้อยคน คอลัมน์ Art Attack ขอชวนทั้งนักอ่านและนักอยากอ่านไปพูดคุยกับผู้ก่อตั้งเพจ JUST READ ถึงจุดเริ่มต้นในการขับเคลื่อนเรื่องหนังสือและการอ่าน มุมมองการจัดงานหนังสือจากภาคประชาชน และความคิดเห็นต่อวัฒนธรรมการอ่านในประเทศไทยว่าเป็นอย่างไรบ้าง เริ่มต้นด้วยกลุ่มคนผู้รักการอ่าน แรกเริ่มเดิมที JUST READ เป็นเพียงคอมมูนิตี้เล็กๆ ที่เวฟก่อตั้งขึ้น สำหรับกลุ่มคนที่อ่านหนังสือแบบเดียวกันในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เมื่อปี 2563 และได้จัด Book Club เป็นครั้งแรกกับกลุ่มคนเล็กๆ เพียง 5 คนเท่านั้น ซึ่งถือว่ายังไม่ประสบความสำเร็จเท่าไรนัก เพราะคำว่า Book Club ยังถือว่าเป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทย “ขนาดเรายังเพิ่งเคยได้ลองทำอะไรแบบนี้ครั้งแรกเมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว ก็เลยไม่แปลกใจที่คนไทยอาจยังไม่ค่อยรู้จัก คุ้นชิน […]

ลิสต์หนังสือใหม่ที่ชาว Urban Creature อยากได้ ในมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 27

ในที่สุด งานมหกรรมหนังสือระดับชาติก็กลับมาอีกครั้งแบบจัดใหญ่จัดเต็มในบ้านหลังเดิมที่นักอ่านคุ้นเคยอย่าง ‘ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์’ ที่รีโนเวตใหม่ ปรับพื้นที่ให้กว้างขวาง สวยงามร่วมสมัย มีมุมให้ไปสำรวจมากมาย ขณะเดียวกัน ภายในงานก็มีขบวนหนังสือออกใหม่ที่เหล่าสำนักพิมพ์เตรียมขนไปวางขายเป็นร้อยๆ เล่ม เพื่อต้อนรับงานหนังสือที่คุ้นเคย ชาว Urban Creature จึงลิสต์รายชื่อหนังสือใหม่ที่อยากได้จากงานครั้งนี้มาเป็นตัวเลือกให้ทุกคนพิจารณาก่อนกำเงินไปซื้อกัน ขอบอกว่ามีหลากหลายแนวตั้งแต่อ่านเพลินๆ ไปจนถึงอ่านเข้มๆ เลย ชื่อหนังสือ : บนเนินมรณะ สำนักพิมพ์ : Hummingbooks Publishing บูท M01ชื่อผู้เลือก : เดือนเพ็ญ จุ้ยประชาตำแหน่ง : Senior Content Creator  เราชื่นชอบงานเขียนของ ‘อิมามุระ อายะ’ เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว หลังจากตะลุยอ่านวรรณกรรมแปลไทยทุกเล่มของเขาหมดแล้ว ก็เฝ้ารอคอยและคอยไปถามไถ่สำนักพิมพ์ฮัมมิ่งบุ๊คส์อยู่เรื่อยๆ ว่าจะนำหนังสือของนักเขียนคนนี้มาจัดพิมพ์อีกไหม เนื่องจากงานแปลไทยของอายะมีเพียง 6 – 7 เล่มเท่านั้นจากทั้งหมดกว่า 20 เล่ม เพราะฉะนั้น เราจึงตื่นเต้นและดีใจมากๆ กับการเห็นประกาศหนังสือใหม่ของสำนักพิมพ์ที่มี ‘บนเนินมรณะ’ รวมอยู่ด้วย งานเขียนของอายะ เป็นแนวสืบสวนสอบสวนที่อบอวลไปด้วยกลิ่นอายสยองขวัญ ให้ความรู้สึกน่าขนลุก […]

เปิดแล้ว! ‘ห้องสมุด ยับ เอี่ยน ฉ่อย’ ห้องสมุดแห่งแรกในโครงการห้องสมุดประจำเมือง ที่ จ.สงขลา

ห้องสมุด คือวิธีการที่ดีที่สุดในการปลูกฝังให้คนรักการอ่าน เนื่องจากเป็นสถานที่ที่เข้าถึงได้ง่าย ไม่ต้องเสียเงินสักสตางค์ แถมยังมีหนังสือหลากหลายประเภทให้เลือกสรร ประเทศที่เจริญแล้วส่วนใหญ่ล้วนมีห้องสมุดกระจายตัวอยู่ทั่วมุมเมือง เพื่อที่คนทุกเพศทุกวัยจะได้มีที่พักผ่อนหย่อนใจ หาความรู้ หรือใช้ร่ำเรียน สำหรับความเคลื่อนไหวล่าสุดเกี่ยวกับห้องสมุดในประเทศไทยที่เราอยากนำเสนอคือ ที่จังหวัดสงขลา ได้มีเจ้าของบ้านโบราณอนุญาตให้ใช้งานและบูรณะโกดังข้าว ซึ่งเป็นอาคารหลังหนึ่งของเหล่าอาคารอนุรักษ์ในเมืองเก่าสงขลา เป็นห้องสมุดประจำเมือง ใช้ชื่อว่า ‘ห้องสมุด ยับ เอี่ยน ฉ่อย’ นับว่าเป็นห้องสมุดแห่งแรกภายใต้โครงการห้องสมุดประจำเมือง ที่ดำเนินงานโดย มูลนิธิวิชาหนังสือ สำนักพิมพ์ผีเสื้อ และได้รับการสนับสนุนโดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม และชาวสงขลา แม้รูปลักษณ์จะดูไม่เหมือนห้องสมุดอย่างที่เราคุ้นเคยนัก แต่ห้องสมุดแห่งนี้ก็มีพื้นที่ให้อ่านหนังสือหลากหลายมุม ทั้งยังมีบริการจัดหาหนังสือที่ผู้ใช้งานต้องการมาให้ รวมถึงจัดกิจกรรมตามความต้องการของประชาชน เพื่อเป็นไปตามเป้าหมายในการเป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นศูนย์กลางให้ประชาชนได้ศึกษา ค้นคว้าข้อมูล แลกเปลี่ยนประสบการณ์ พบปะสังสรรค์ ตลอดจนรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่น และองค์ความรู้ที่กระจัดกระจายในชุมชนให้เป็นหมวดหมู่และเป็นรูปธรรม หลังจากนี้จะมีห้องสมุดประจำเมืองแห่งใหม่เกิดขึ้นที่ไหนอีก ชวนให้นักอ่านติดตามกันต่อไป เพราะในวันที่การซื้อหนังสือสักเล่มต้องเป็นเรื่องที่ใคร่ครวญซ้ำแล้วซ้ำเล่า การมีห้องสมุดเกิดใหม่ที่กระจายออกจากเมืองหลวงบ้าง ถือเป็นมูฟเมนต์เกี่ยวกับโครงสร้างการอ่านระดับชาติที่น่าสนับสนุน แวะไปเยี่ยมเยียนและอ่านหนังสือที่ ‘ห้องสมุด ยับ เอี่ยน ฉ่อย’ ได้ที่โกดังข้าว ย่านเมืองเก่า ถนนนครนอก ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา Source :Facebook […]

มนุษย์ออฟฟิศอ่าน 5 หนังสือพักจากงานที่เหมาะอ่านในวันหยุด

สำหรับวันหยุดยาวในเดือนที่นับว่าร้อนที่สุดแห่งปีแบบนี้ จะมีอะไรดีไปกว่าการนั่งตากลม พักผ่อนสบายๆ จิบชายามบ่าย พลิกหนังสือสนุกๆ อ่านทีละหน้าอย่างไม่รีบร้อน หลังจากเปิดปี 2022 มา บ้านเมืองก็มีความเปลี่ยนแปลงไม่น้อย ทั้งฝั่งการเมืองที่เริ่มมีการเคลื่อนไหวจากการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ไหนจะข่าวสารใหญ่ๆ ที่ทำให้สังคมหันมาตระหนักถึงความปลอดภัยในการใช้ชีวิตในเมืองมากขึ้น ยังไม่นับอากาศที่แปรปรวนจนหลายคนงงไปตามๆ กันอย่างเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา  แน่นอนว่าหลังจากนี้คงมีอีกหลายเรื่องราวเกิดขึ้นแน่ แต่เราอยากชวนทุกคนมาพักเบรก ชาร์จพลังใจ กับ 5 หนังสืออ่านสบายๆ เกี่ยวกับการใช้ชีวิตให้ราบรื่นในช่วงวัยที่ต้องเผชิญกับความกดดันในชีวิตและการทำงาน เพื่อที่จะได้ผ่านพ้นแต่ละวันไปได้อย่างไม่หนักหนา และตระหนักว่ายังมีคนอีกมากมายที่รู้สึกไม่ต่างจากเรา ‘พักให้ไหว ค่อยไปต่อ’ หนังสือที่บอกว่าใจจะแข็งแรงขึ้นถ้าพักเสียบ้างเขียนโดย Nina Kim ในยุคสมัยที่มีแต่คนบอกให้แอ็กทีฟ ลงทุน ออมเงิน หาเงินเพิ่ม พัฒนาตัวเอง ทำธุรกิจที่สองสามสี่ ฯลฯ จะเป็นอะไรไหมถ้าเราจะขอไม่ทำอะไร อยู่เฉยๆ และให้พื้นที่ตัวเองได้หายใจ หนังสือเล่มกะทัดรัดเล่มนี้มีเนื้อหาให้กำลังใจผู้คนที่กำลังเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เพราะเมื่อต้องทำงาน มีภาระ มีความรับผิดชอบ ชีวิตแสนวุ่นวาย จะหาพื้นที่หายใจอย่างปลอดโปร่งคงยากไปหมด การอดทนอาจเป็นหนทางสำคัญที่จะทำให้มีแรงย่างก้าวไปแต่ละวัน แต่ขณะเดียวกันการพักผ่อนก็สำคัญไม่แพ้กัน ถ้าเหนื่อยแล้วรู้จักพัก ร้องไห้บ้างเมื่อรู้สึกเศร้า ระบายความโกรธออกมาบ้าง คงทำให้ใจแข็งแกร่งกว่าที่เป็นอยู่ ลองให้เวลาและพื้นที่ตัวเองบ้าง ลองไม่ต้องอดทนแล้วปลดปล่อยความในใจออกมา อาจทำให้ชีวิตสุขขึ้น […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.