‘สกลจังซั่น’ อีสานม่วนซื่น เทศกาลสร้างสรรค์ จ.สกลนคร

สกลนครเป็นจังหวัดสนุก ถ้าหน้าหนาวนี้ไม่มีแพลนไปไหน Urban Creature อยากชวนคุณไปเที่ยวย่านเมืองเก่าและพื้นที่โดยรอบจังหวัดนี้ให้หนำใจ เพราะปีนี้เมืองสกลมีเทศกาลงานสร้างสรรค์ชื่อ ‘สกลจังซั่น l SAKON JUNCTION’ ที่อยากชวนทุกคนมาม่วนซื่นกับกิจกรรมกระตุ้นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งจัดครั้งแรกในย่านเมืองเก่าแบบจุใจตั้งแต่วันที่ 9 – 12 ธันวาคม 2564  งานครั้งนี้จะนำเสนอสิ่งที่มีคุณค่าต่างๆ ในท้องถิ่น ผ่านนิทรรศการศิลปะ งานออกแบบ และกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเปิดโอกาสให้คนหยิบเอาความคิดสร้างสรรค์มาช่วยพัฒนามิติต่างๆ ของเมือง กิจกรรมทั้งหมดขับเคลื่อนด้วยฝีมือของกลุ่มภาคีเครือข่ายในพื้นที่ และส่งเสริมการรวมกลุ่มของนักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ที่สืบต่อภูมิปัญญาท้องถิ่น  ด้วยความร่วมมือร่วมใจของศิลปิน ผู้คนจากภาครัฐและเอกชน ตลอดจนผู้ประกอบการ และเจ้าของธุรกิจท้องถิ่นต่างๆ เพื่อยกระดับศักยภาพของพื้นที่ไปสู่การขับเคลื่อนเป็นเมืองครีเอทีฟ ร่วมสำรวจแต่ละย่าน และทำความรู้จักกับเรื่องราวหลากมิติในสกลนคร ผ่านกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นรอบๆ เมือง อาทิ ‘จังซั่น WALK’ ที่เดินสนุกตั้งแต่สี่แยกวัดพระธาตุเชิงชุม, สี่แยกเทศบาลเมือง และสี่แยกศรีนคร (ข้างร้านแมนคราฟท์) หรือจะเป็น ‘จังซั่น GALLERY’ นิทรรศการภาพวาดแสดงวิถีชีวิต สินทรัพย์ในย่านเมืองเก่า ผ่านประวัติศาสตร์และคำบอกเล่าของชาวสกลฯ  แต่ถ้าชอบงานดีไซน์ก็อยากชวนให้ไปเลาะเบิ่งที่โซน ‘จังซั่น DESIGN SHOWCASE’ นิทรรศการศิลปะ งานออกแบบ และงานผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่จะแสดงศักยภาพการต่อยอดวัสดุท้องถิ่น […]

คืนชีวิตให้ ‘โรงหนังมหาราช’ กลางเมืองกระบี่ให้เป็นศูนย์การประชุม ที่จุคนได้ 1,000 คน

กระบี่เป็นเมืองที่มีรายได้หลักจากการท่องเที่ยว แต่โควิด-19 ทำให้เมืองท่องเที่ยวนี้เงียบเหงาลงในชั่วพริบตา จำนวนนักท่องเที่ยวน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด กระบี่จึงมีแผนฟื้นฟูย่านกลางเมือง เพื่อมารับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนี้ โดยการเปลี่ยนโรงหนังมหาราชเป็นศูนย์การประชุมที่จุคนได้ประมาณ 1,000 คน แบ่งเป็นโรงละครเมืองกระบี่ และศูนย์การเรียนรู้กระบี่ หรือ Krabi Learning Center ซึ่งคาดว่าจะเริ่มสร้างในปี 2565 และเปิดให้บริการในปี 2567 – 2568 แม้ว่าการลงทุนในครั้งนี้จะขาดทุน แต่ในระยะยาว มันอาจมาช่วยเสริมการท่องเที่ยวในช่วง Low Season ได้ นอกจากนี้ยังมีแผนฟื้นฟูถนนมหาราช ระยะทาง 300 เมตร ให้กลายเป็นถนนคนเดิน แบ่งทางเท้าชั้นในประมาณ 2.5 เมตร เป็น Street Food และที่เหลืออีก 3.5 เมตร เป็นทางเท้าและที่นั่งริมทาง  โควิด-19 คงไม่มีทางหายไปในเร็ววัน แต่สิ่งที่เราทำได้คือการตั้งรับและปรับตัวไปพร้อมๆ กับมัน แล้ววันหนึ่งเราจะอยู่ร่วมกับมันได้อย่างแน่นอน Source : https://bit.ly/3c8XZMZ 

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 64 MB.