จากเด็กกลางกรุง สู่ผู้ใหญ่ที่อยากทำให้คนกลับมารักกรุงเทพฯ อีกครั้ง | คนย่านเดียวกัน EP.7

หลังจากที่ไปพูดคุยเรื่องถิ่นที่อยู่กับหลายตัวละคร วันนี้รายการ ‘คนย่านเดียวกัน’ ขอชวนคนใกล้ตัวแบบสุดๆ อย่าง ‘เตอร์-วันชนะ จิตต์การงาน’ Editor-in-chief & Co-founder แห่ง Urban Creature ผู้เติบโตในย่านกลางเมืองอย่างบางรัก-สี่พระยา มาแบ่งปันประสบการณ์ชีวิตที่ยึดโยงกับพื้นที่อยู่อาศัยกันบ้าง เพราะได้เห็นสิ่งต่างๆ มากมายทั้งข้อดีและข้อเสีย รวมถึงมีความเชื่อว่าเมืองดีกว่านี้ได้ ทำให้ชายคนนี้ปลุกปั้น Urban Creature ขึ้นมา เพื่อร่วมเป็นเสียงหนึ่งที่ทำให้ผู้คนกลับมารักเมืองอีกครั้ง และอยากทำให้มันดีขึ้น ติดตามฟัง ‘คนย่านเดียวกัน’ ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/1lLkwtAv3iY Spotify : http://bit.ly/4080Fmf Apple Podcasts : http://bit.ly/3XYU3Vt Podbean : http://bit.ly/3kOBkO7

City Checkup ตรวจสุขภาพเมือง ประจำปี 2566

ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีใหม่ เราเชื่อว่าทุกคนก็ยังคงใช้ชีวิตไม่ต่างจากเดิมเท่าไรนัก แต่หนึ่งสิ่งที่ทุกคนมักแอดเข้าลิสต์ของ New Year’s Resolution คือเรื่องการดูแลตัวเอง ยิ่งหลังจากที่อยู่กับโรคระบาดมาเป็นเวลานาน สุขภาพร่างกายและจิตใจก็กลายเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องหันมาใส่ใจกันอย่างจริงจังมากขึ้น ว่าแล้วก็ถึงเวลาที่ต้องตรวจสุขภาพประจำปี เราไม่ได้แค่อยากเตือนให้ทุกคนหาเวลาดูแลตัวเองอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังอยากชวนมาตรวจเช็กสุขภาพเมืองของเราไปพร้อมๆ กันด้วย เพราะถ้าหากเมืองเจ็บป่วยแค่ส่วนใดส่วนหนึ่ง ย่อมเกิดผลกระทบต่อเนื่องแน่นอน ซึ่งผู้ได้รับความเดือดร้อนก็หนีไม่พ้นชาวเมืองอย่างพวกเรานี่แหละ Urban Creature ขอรับบทเป็นคุณหมอมาตรวจสุขภาพโดยรวมของเมืองกัน ตอนนี้อวัยวะสำคัญยังใช้งานได้ดีหรือถึงเวลาแล้วที่ต้องเยียวยารักษา ต่อแถวเข้าคิวเช็กอัปใน คอลัมน์ Overview ประจำซีรีส์เดือนนี้ได้เลย เมืองอาจเป็นโรคหัวใจ เพราะพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของประชาชน หากพูดถึง ‘หัวใจของเมือง’ ก็คงหนีไม่พ้น ‘ผู้คน’ ที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนให้เมืองดำเนินชีวิตต่อไปได้ ซึ่งพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเมืองอย่างการทำงานหนักจนแทบไม่มีเวลาดูแลตัวเอง รวมถึงปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย เหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดบ่อยขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หรือแม้แต่โควิด-19 ที่ยังคงระบาดอยู่ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อสุขภาพของผู้คน และอาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเมือง รายงานจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเผยว่า ในไตรมาสที่สามของปี 2565 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเฝ้าระวังเพิ่มขึ้นจากปี 2564 ถึง 275.4 เปอร์เซ็นต์ โดยโรคที่คนเป็นเยอะที่สุดคือโรคมือเท้าปาก ซึ่งมีผู้ป่วยมากถึง 77,349 ราย สูงกว่าปีก่อนหน้าประมาณ 56 เท่า รองลงมาคือโรคไข้หวัดใหญ่ […]

สำรวจงานสร้างสรรค์ในธีม ‘เมือง-มิตร-ดี’ กับงาน Bangkok Design Week 2023 9 ย่านหลักทั่วกรุงเทพฯ 4 – 12 ก.พ. 66

ใครที่อยากสำรวจงานสร้างสรรค์และหาแรงบันดาลใจเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองให้ดีขึ้น เราอยากชวนไปงาน ‘เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2566’ หรือ ‘Bangkok Design Week 2023 (BKKDW2023)’ ที่จะจัดขึ้นใน 9 ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทั่วกรุงเทพฯ พร้อมนำเสนอกิจกรรมมากกว่า 550 โปรแกรม Bangkok Design Week ครั้งที่ 6 มาในธีม ‘urban ‘NICE’ zation เมือง-มิตร-ดี’ ที่เปิดพื้นที่สำหรับคนทำงานสร้างสรรค์จากสาขาต่างๆ ในการนำเสนอแนวคิดใหม่ๆ ที่เน้นการออกแบบเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน โดยมีเป้าหมายหลักคือ ‘ทำให้เมืองดีขึ้น’ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและกระตุ้นให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันพัฒนากรุงเทพฯ สำหรับวันข้างหน้า BKKDW2023 อาศัยหลักการสร้างเมืองที่เป็นมิตรต่อคน และสร้างคนที่เป็นมิตรต่อเมือง ครอบคลุม 6 มิติทางสังคม ได้แก่ 1) Nice for Environment เป็นมิตรที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม2) Nice for Culture เป็นมิตรที่ดีต่อวัฒนธรรม3) Nice for Diversity เป็นมิตรที่ดีต่อทุกความหลากหลาย4) Nice for […]

เมืองเสียงดัง เราเสียงดัง กรุงเทพฯ ติดอันดับ 9 เมืองเสียงดังที่สุดในโลก

แดดยามสายฉายเข้ามาผ่านหน้าต่างห้องทำงาน กาแฟคั่วอ่อนเพิ่งดริปจบมาหมาดๆ ไออุ่นและกรุ่นคาเฟอีนช่วยออกแรงผลักให้สมองเริ่มประมวลผล แต่แล้วรถบรรทุกขนาดใหญ่ก็ถอยหลังเครื่องกระหึ่มเข้ามาอย่างช้าๆ พร้อมกับเสียงสัญญาณแหลมกวนประสาท ต่อด้วยเสียงเพื่อนพนักงานที่ตะโกนคุยกันระหว่างบุหรี่หลังมื้อเช้า อีกสักพักเสียงเคลื่อนย้ายสิ่งของก็ดังขึ้นต่อเนื่องนานกว่าชั่วโมง ความเงียบสงบเมื่อครู่พาสมาธิเตลิดไปไกลกว่าจะเรียกคืนมาได้ก็เสียเวลาอยู่หลายนาที  เหตุการณ์เช่นนี้เป็นปัญหามลภาวะทางเสียงรูปแบบหนึ่งในอีกหลายพันปัญหามลภาวะทางเสียงที่เราหลายคนต่างพบเจอ เมื่อต้องใช้ชีวิตประจำวันอยู่ร่วมกันกับผู้คนในสังคม ปัจจุบันเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ มีประชากรมากเกือบถึงหกล้านคน พูดได้ว่านอกจากเสียงที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติแล้ว เราต่างเป็นแหล่งกำเนิดเสียงภายในเมืองเช่นเดียวกัน ด้วยปัญหามลภาวะทางเสียงส่งผลโดยตรงต่อความรู้สึก และปัญหาของเสียงที่ดังขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นเรื่องปกติเรื่อยไปเช่นนี้ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองในระยะยาว ในวันที่เมืองยังมีเสียง คอลัมน์ City by Numbers ขอพาทุกคนไปสำรวจดูว่า ย่านไหนในกรุงเทพมหานครที่มีเสียงดังที่สุด ไปฟังกันว่าเสียงที่ได้ยินอยู่นั้นยังคงเป็นเสียงที่ดังปกติหรือเปล่า พื้นที่สาธารณะเสียงดังได้แค่ไหน ข้อมูลระดับเสียงที่อนุญาตจากองค์การอนามัยโลก (WHO) คือ 55 เดซิเบล (dB) สำหรับพื้นที่พักอาศัยกลางแจ้ง และ 70 dB สำหรับพื้นที่เชิงพาณิชย์และที่ที่มีการจราจรติดขัด  หูของมนุษย์นั้นสามารถได้ยินเสียงตั้งแต่ 0 dB ขึ้นไป เพื่อให้นึกระดับความดังของเสียงออกมากยิ่งขึ้น เราขอลองยกตัวอย่างเปรียบเทียบดังนี้  – ระดับเบามาก 0 – 20 dB เช่น เสียงกระซิบ เสียงลมหายใจ หรือเสียงในป่า– ระดับเบา […]

Sick Building Syndrome โรคตึกเป็นพิษ โรคฮิตของคนใช้ชีวิตในห้องสี่เหลี่ยม

การอาศัยอยู่ในเมืองหลวงประเทศไทย ก็เหมือนการใช้ชีวิตในกล่องสี่เหลี่ยมหลายๆ กล่อง ที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนไปในแต่ละช่วงเวลา  ตั้งแต่การตื่นนอนในห้องสี่เหลี่ยมบนตึกสูง การเดินทางด้วยรถรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าระหว่างวัน เพื่อย้ายตัวเองไปยังห้องทำงานสี่เหลี่ยมไซซ์เล็กใหญ่ใจกลางเมือง หรือแม้แต่ไปเดินห้างสรรพสินค้าทรงเหลี่ยมที่กระจายตัวอยู่แทบทุกหัวมุมถนน จะว่าไปแล้ว ในแต่ละวันที่เราต้องเปลี่ยนห้องสี่เหลี่ยมไปเรื่อยๆ มีสถานที่ไหนบ้างไหมที่เมื่อคุณเข้าไปทีไรก็จะรู้สึกปวดศีรษะ เวียนหัว คลื่นไส้ ระคายเคืองตา จมูก ผิวหนัง หรือคอจนเกิดอาการไอแห้งไปซะทุกครั้ง หากคุณตกอยู่ในอาการเหล่านี้ทุกครั้งที่เข้าไปในสถานที่เดิมๆ คุณอาจกำลังเผชิญอยู่กับ ‘Sick Building Syndrome’ หรือ ‘โรคตึกเป็นพิษ’ อยู่ก็ได้นะ Sick Building Syndrome อาการป่วยของคนในเมืองใหญ่ ‘Sick Building Syndrome (SBS)’ หรือชื่อภาษาไทยว่า ‘โรคตึกเป็นพิษ’ เป็นกลุ่มอาการที่ปรากฏครั้งแรกในช่วงปี 1970 และถูกบันทึกลงในรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี 1984 เพื่ออธิบายผู้ป่วยที่มักมีอาการไม่สบายอย่างเฉียบพลัน เช่น ปวดศีรษะ ระคายเคืองตา จมูก หรือลำคอ จาม มีน้ำมูก คันตามผิวหนัง หน้ามืด คลื่นไส้ ขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน รวมไปถึงอาการแพ้จะกำเริบมากขึ้นในผู้ที่มีโรคภูมิแพ้อยู่ก่อนแล้ว เมื่อเข้าไปภายในอาคารบางแห่ง […]

สัมผัสอีกมุมของ อโศก ซุกซ่อนความสงบในย่านที่เต็มไปด้วยความเคลื่อนไหว

พูดถึงชื่อย่าน ‘อโศก’ เดาว่าภาพในหัวของใครหลายคนคงหนีไม่พ้นภาพเมืองและผู้คนที่พลุกพล่าน โดยเฉพาะถนนอโศกมนตรีซึ่งเป็นถนนสายหลัก ไปเมื่อไหร่จะได้เห็นภาพการจราจรที่คึกคักเสมอ อโศกถือเป็นย่านฮิตของคนทำงานและนักท่องเที่ยว มีบริษัทใหญ่ๆ และร้านรวงมากมายมาตั้งอาคารสำนักงานที่ย่านนี้และไม่เคยย้ายหนีไปไหน อาจเพราะช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์ ย่านสุขุมวิทเคยเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจของกรุงเทพฯ ย่านที่อยู่ใกล้กันอย่างอโศกจึงได้รับอิทธิพลมาอย่างไม่อาจปฏิเสธ จนเกิดเป็นแหล่งรวมอาคารสำนักงาน ร้านอาหาร และสถานที่แฮงเอาต์ของคนกลางคืนมากมาย ย่านอโศกยังขึ้นชื่อเรื่องการเป็นย่านที่คอนโดมิเนียมเยอะ ด้วยอาคารสำนักงานของออฟฟิศหลายแห่งมากระจุกตัวอยู่ในย่าน ประกอบกับเป็นโลเคชั่น Interchange ของรถไฟฟ้า BTS สถานีอโศก และ รถไฟใต้ดิน MRT สถานีสุขุมวิท ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกในการเดินทาง ย่านอโศกจึงได้รับความสนใจจากนักลงทุนที่ขยันมาปลูกคอนโดฯ ในย่านกันอย่างคึกคัก แต่สิ่งที่หลายคนอาจไม่รู้คือ โลเคชั่นใจกลางเมืองอันพลุกพล่าน ย่านอโศกยังมีด้านสงบเงียบที่เหมาะจะใช้เวลาพักผ่อนในวันสบายๆ ได้อย่างมีคุณภาพ คอลัมน์ Neighboroot คราวนี้ เราจึงอยากชวนลัดเลาะเข้าไปในย่านอโศก พาทุกคนไปสำรวจแหล่งเช็กอินที่เป็น Hidden Gems และวิถีชีวิตปกติธรรมดาของชาวอโศกที่อาจไม่เคยเห็น  จิบม็อกเทลยามเย็นในบาร์ลับสไตล์ฮาวาย Calm Kraam บนชั้นสองของโรงแรม Tints of Blue Residence ในซอยสุขุมวิท 27 มีบาร์ลับซ่อนอยู่ จะใช้คำว่าบาร์ลับก็ไม่ถูก เพราะ Calm Kraam […]

เสนาวังหินถิ่นของกิน 24 ชั่วโมง และรัชดาฯ ซอย 3 แดนเถื่อนสำหรับคนเดินเท้า กับ โจ้บองโก้ | คนย่านเดียวกัน EP.4

รายการคนย่านเดียวกันเอพิโสดนี้ อยู่กับ โจ้บองโก้ หนึ่งในสมาชิกวง ALARM9 และ Station Director แห่ง Salmon Podcast ที่มาร่วมพูดคุยย้อนวันวานไปกับย่าน รองเมืองพระรามที่ 1 ก่อนจะพาไปดูของกินย่านเสนาวังหิน แหล่งของกิน 24 ชั่วโมง และปิดท้ายกับ ‘รัชดาฯ ซอย 3’ ดินแดนที่ไม่เป็นมิตรกับใครเลยแม้แต่มนุษย์เดินเท้า สมกับฉายาที่หลายคนตั้งชื่อว่าเป็น Mad Max Fury Road ย่านคนพลุกพล่านแต่ไร้ซึ่งทางเท้า ที่รวมทั้งรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ และคนเดินเท้าไว้ด้วยกันบนพื้นที่ถนนสองเลน ติดตามฟัง คนย่านเดียวกัน ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/4rVPw5qx-gM Apple Podcasts : https://bit.ly/3UI9rDF Podbean : https://bit.ly/3BnvEjA

สัมผัสวิถีชนบทในเมืองหลวงที่ ‘ชุมชนวัดจำปา’

ภาพจำของหลายคนที่มองมายังกรุงเทพฯ คือเหล่าตึกสูงระฟ้า รถราติดหนึบ และมลพิษจากย่านใจกลางเมือง แต่จริงๆ แล้ว กรุงเทพฯ ยังมีส่วนของชานเมืองรอบนอกที่ยังคงสภาพวิถีชีวิตดั้งเดิม เป็นชาวสวนผลไม้ที่ผูกพันกับสายน้ำลำคลอง อากาศสดชื่น และบรรยากาศที่แทบไม่ต่างอะไรกับต่างจังหวัด  ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ ‘ตลิ่งชัน’ หนึ่งในเขตชานเมืองทางฟากตะวันตกของกรุงเทพฯ ที่หลายคนอาจคุ้นหูจากการเป็นทางผ่านลงภาคใต้ทางถนนเพชรเกษม หรืออาจพอได้ยินมาบ้างจากการเป็นแหล่งรวมคาเฟ่และร้านอาหารบนถนนบรมราชชนนีและถนนราชพฤกษ์ แต่ถัดเข้ามาจากถนนใหญ่หลายสายที่ตัดผ่านเขตนี้ ยังมีชุมชนเล็กๆ กลางสวนและบ้านจัดสรร ที่ยังคงเสน่ห์และวิถีชีวิตดั้งเดิมมากว่าร้อยปี จากเงาของตึกสูงที่ตกลงมาบนถนนใหญ่ใจกลางเมือง เปลี่ยนเป็นร่มเงาต้นไม้ที่ทาบลงบนถนนสายเล็กๆ ของชุมชนและบนผิวน้ำในคลองที่ใสสะอาด เรือหางยาววิ่งเสียงดังลั่นคุ้งน้ำเป็นสัญญาณต้อนรับ เหนือยอดไม้แทบไม่เห็นตึกสูง ฉากหลังของบ้านเรือนไทยเป็นท้องฟ้าสีสดใส ไร้ทัศนะอุจาดรบกวนเหมือนในเมือง ท่ามกลางเสียงจากธรรมชาติที่ได้ยินอยู่ตลอดเวลา เชื่อหรือไม่ว่าภาพเช่นนี้เห็นได้ด้วยการเดินทางจากในเมืองมาไม่นานนัก บรรยากาศของที่นี่ไม่ต่างอะไรจากสวนที่พบเจอได้ในจังหวัดอื่นๆ ผิดแต่ว่าที่นี่อยู่ในเขตของกรุงเทพฯ เมืองหลวงของประเทศที่นับวันจะหาพื้นที่สีเขียวได้ยากขึ้นทุกที หลักฐานความเจริญของย่านตลิ่งชันที่ ‘วัดจำปา’  เราเดินเข้าสู่รั้ววัดจำปา พบกับ ‘พี่ดุ่ย-ทวีศักดิ์ หว่างจันทร์’ ตามนัดหมาย ประธานชุมชนวัดจำปาต้อนรับขับสู้ด้วยไมตรีจิต ก่อนนำเราตรงไปยังอุโบสถวัดจำปา พร้อมทั้งเล่าสารพัดเรื่องราวของวัดโบราณคู่ชุมชนแห่งนี้ โดยเฉพาะเหล่าของดีมีราคา และของจากในราชสำนัก “หน้าบันอุโบสถประดับอ่างล้างหน้างานยุควิกตอเรีย สมัยรัชกาลที่ 4 ตอนนี้พบสองที่คือวัดจำปากับพระนครคีรี ที่นู่นสีเขียว ที่นี่สีชมพู อาจจะก่อนหรือหลังรัชกาลที่ 4” พี่ดุ่ยชวนเราเงยหน้ามองที่สิ่งอันซีนอย่างแรก เมื่อเข้าไปด้านในอุโบสถก็พบกับของอีกชิ้นหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน นั่นคือลูกกรงเหล็กสีทองด้านหน้าพระประธานในอุโบสถ […]

ทำกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองคอนเสิร์ต ที่สนุก หลากหลาย และทุกคนเข้าถึงได้

ช่วงนี้บรรยากาศในกรุงเทพฯ กลับมาคึกคักสุดๆ เห็นได้จากผู้คนที่เริ่มกลับมาใช้ชีวิตกันแบบปกติ บวกกับกิจกรรมและความบันเทิงต่างๆ ที่จัดอย่างเต็มรูปแบบได้แล้ว โดยเฉพาะ ‘คอนเสิร์ต’ ที่มีการแสดงทั้งจากศิลปินไทยและต่างประเทศให้แฟนเพลงเลือกซื้อตั๋วไปดูกันแทบทุกสัปดาห์ แม้ว่ากรุงเทพฯ จะเป็นศูนย์กลางของคอนเสิร์ตแทบทุกแนว ตั้งแต่การแสดงดนตรีสดขนาดเล็ก จนถึงงานใหญ่ระดับมิวสิกเฟสติวัล แต่ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่า ทุกครั้งที่มีคอนเสิร์ตจัดขึ้น มักตามมาด้วยข้อถกเถียงถึงปัญหาและ Pain Point ที่แก้ไม่ได้สักที เช่น พื้นที่จัดคอนเสิร์ตที่มีอยู่อย่างจำกัด โลเคชันที่อยู่ไกลจากระบบขนส่งสาธารณะ ทำให้คนเดินทางลำบาก รวมถึงค่าใช้จ่ายการจัดคอนเสิร์ตที่มีต้นทุนสูง จึงมีเฉพาะวงดนตรีดังๆ เท่านั้นที่เปิดการแสดงได้ กลายเป็นการปิดโอกาสศิลปินตัวเล็กๆ ไปโดยปริยาย คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองเอาข้อจำกัดเหล่านี้มาปรับปรุงใหม่ เพื่อทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองแห่งคอนเสิร์ตที่ดีกว่าเดิม ผ่านการใช้ไอเดียสนุกๆ เปลี่ยนพื้นที่สาธารณะให้เป็นสถานที่จัดคอนเสิร์ต ตั้งแต่บริเวณใต้ทางด่วน ชั้นดาดฟ้า จนถึงกลางแม่น้ำเจ้าพระยา คอนเสิร์ตเหล่านี้จะมีหน้าตาแบบไหน ขอเชิญทุกคนไปโยกหัวฟังเพลงพร้อมกัน เพิ่มสเตจคอนเสิร์ตในตัวเมืองด้วยการปรับพื้นที่ใต้ทางด่วน ปัญหาหลักของการจัดคอนเสิร์ตในกรุงเทพฯ คือ ‘พื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด’ เพราะส่วนใหญ่การแสดงมักจัดขึ้นที่สเตเดียม ศูนย์จัดแสดงสินค้า และฮอลล์ในศูนย์การค้า ที่นอกจากจะตั้งอยู่ในโลเคชันที่การจราจรติดขัด ผู้คนเดินทางไปลำบากแล้ว สถานที่เหล่านี้ยังเป็นพื้นที่ขนาดกลางถึงใหญ่ที่ต้องเป็นวงดนตรีแมสๆ หรือมีต้นทุนสูงเท่านั้น ถึงจะจัดการแสดงได้ เราจึงไม่ค่อยได้เห็นวงดนตรีอินดี้หรือศิลปินตัวเล็กๆ มีคอนเสิร์ตของตัวเองในสถานที่เหล่านี้เท่าไหร่นัก […]

The Town of Music เมื่อกรุงเทพฯ อยากเป็นเมืองคอนเสิร์ต แต่…

ใครๆ ก็บอกว่ากรุงเทพฯ เป็นเมืองแห่งคอนเสิร์ต ไม่ว่าศิลปินจะมาจากไหน เมื่อเจอแฟนคลับชาวไทยที่ร้องตามทุกคำ แอดลิปได้ทุกโน้ตเข้าไป ก็ติดใจวนกลับมาเล่นคอนเสิร์ตที่ไทยเกือบทุกปี ยิ่งหลังจากปิดประเทศไป 2 ปี คอนเสิร์ตทั้งไทยและเทศต่างพากันจ่อคิวยาวล้นไปถึงต้นปีหน้า เราจึงไม่แปลกใจที่กรุงเทพฯ จะมีอีกฉายาว่า ‘กรุงเทพฯ เมืองคอนเสิร์ต’ แต่พอมาขบคิดดูดีๆ แล้วเมืองกรุงเทพฯ เหมาะสำหรับจัดคอนเสิร์ตจริงหรือ เพราะเมื่อมองย้อนกลับไปดูการจัดคอนเสิร์ตแต่ละครั้ง เราต่างพบหลากหลายปัญหาที่มักถูกพูดถึง แต่ไม่ได้รับการแก้ไขหรือสนับสนุนอย่างถูกวิธี ไม่ว่าจะเป็นสถานที่จัดคอนเสิร์ตที่เดินทางลำบาก ค่าบัตรที่ค่อนข้างสูง ไหนจะระบบการศึกษาที่ไม่ค่อยเอื้อให้คนที่อยากทำงานในอุตสาหกรรมดนตรีสักเท่าไหร่ จะดีกว่าไหมถ้าเมืองนี้จะไม่ใช่แค่สถานที่จัดคอนเสิร์ต แต่สนับสนุนและส่งเสริมระบบนิเวศทางดนตรีให้ยั่งยืน 01 | Concert Live in Bangkok (แค่ในนาม)สถานที่จัดไกล การเดินทางไม่ครอบคลุม ปัจจุบันมีหลายคอนเสิร์ตที่จัดในประเทศไทยแล้วใช้ชื่อต่อท้ายว่า ‘Live in Bangkok’ ทั้งที่ความจริงแล้วเป็นแค่กรุงเทพฯ เฉพาะในนาม เพราะไม่ว่าจะเป็นอิมแพ็ค อารีน่า และ ธันเดอร์โดม ที่เมืองทองธานี, แจ้งวัฒนะ ฮอลล์ ที่เซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ หรือเอ็มซีซี ฮอลล์ ที่เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน ต่างตั้งอยู่ที่จังหวัด ‘นนทบุรี’ ด้วยกันทั้งนั้น […]

Galleries’ Nights 2022 เสพงานศิลป์ยามค่ำคืน ภายใต้ธีม ‘NOW’ จาก 8 แกลเลอรีทั่วกรุงเทพฯ

ชวนคนรักศิลปะมาเสพงานศิลป์ เที่ยวแกลเลอรีในกรุงเทพฯ ให้งานสร้างสรรค์กลับมารุ่งเรืองอีกครั้งในปลายปีนี้ สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย เตรียมพาผู้คนกลับมายังแกลเลอรีและอินกับผลงานศิลปะอีกครั้ง กับงาน ‘Galleries’ Nights 2022’ ภายใต้ธีม NOW (ปัจจุบัน) ที่ชวนไปหาคำตอบให้ตัวเองว่า โลกแบบไหนที่เราต้องการในอนาคต Galleries’ Nights ปีนี้ได้มีการรวบรวมแกลเลอรีในกรุงเทพฯ กว่า 70 แห่ง มาให้ชาว Gallery Hopping เข้าชมได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมบริการรถตุ๊กตุ๊กที่อำนวยความสะดวกตลอดการเดินทางทั่วกรุงเทพฯ งาน Galleries’ Nights จะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ 2 คืน 2 เส้นทางหลัก ได้แก่ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 เส้นทาง สีลม/สาทร/ริมแม่น้ำเจ้าพระยาวันที่ 12 พฤศจิกายน 2565 เส้นทาง อารีย์/ปทุมวัน/สุขุมวิท เพราะไม่อยากให้คุณพลาดงานศิลปะดีๆ แบบนี้ Urban Creature ขอรวบรวม 8 แกลเลอรีในกรุงเทพฯ ที่น่าสนใจและเป็นไฮไลต์ของการชมงานศิลปะยามค่ำคืน ทั้งงานศิลปะจัดวาง […]

ท้าพิสูจน์ย่าน ‘ประตูผี’ จากชุมชนริมกำแพงพระนครสู่ย่านสตรีทฟู้ดที่ดังไกลไปทั่วโลก

เมื่อพูดถึงย่านหลอนๆ ในความทรงจำของคนกรุงเทพฯ คิดว่าคงหนีไม่พ้น ‘ย่านประตูผี’ ส่วนหนึ่งของโซนเมืองเก่าในเกาะรัตนโกสินทร์ ที่มีเรื่องราวเล่าขานมาอย่างยาวนานถึงเรื่องชวนขนหัวลุก อย่าง ‘แร้งวัดสระเกศฯ เปรตวัดสุทัศน์’ ที่ตกเย็นเมื่อไร ผู้คนในยุคต้นพระนครต่างหวาดกลัว และไม่อยากย่างกรายผ่านย่านนี้ ท่ามกลางความมืดและเรื่องราวจากอดีต ทุกวันนี้ บรรยากาศของความน่ากลัวเปลี่ยนเป็นแสงไฟจากร้านค้าแผงลอยและร้านอาหารในอาคารพาณิชย์ต่างๆ รวมถึงความเงียบที่กลับกลายเป็นความคึกคักของเหล่านักชิมมากหน้าหลายตา ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ ที่แวะเวียนกันมาลิ้มลองรสชาติอาหารต่างๆ ของย่านนี้ คอลัมน์ Neighboroot ชวนผู้อ่านแง้มประตูบ้านย่านประตูผี ตามหาแสงไฟร้านค้าของย่านในค่ำคืนก่อนวันฮาโลวีน สำรวจการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่แยกสำราญราษฎร์ไปจนถึงป้อมมหากาฬ กับบทบาทใหม่ที่ได้รับขนานนามในฐานะแหล่งรวมร้านอาหารเจ้าดังระดับโลกและสตรีทฟู้ดขึ้นชื่อ ที่กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในทุกวัน และกลบความสยองขวัญของย่านที่หายไปจนเหลือเพียงตำนาน ประตูผี คือหนึ่งในย่านหลอนๆ ของชาวพระนครช่วงต้นกรุง เพราะเป็นทางที่นำศพของผู้เสียชีวิตในเขตกำแพงเมือง ออกไปฌาปนกิจยังวัดสระเกศฯ ที่อยู่ด้านนอกคูเมือง โดยเฉพาะช่วงที่มีอหิวาตกโรคระบาดหนัก ก็ใช้เส้นทางนี้ลำเลียงศพออกไปแบบไม่หวาดไม่ไหว ต้องวางศพเกลื่อนลานเมรุวัดสระเกศฯ จนเป็นที่มาของคำว่า ‘แร้งวัดสระเกศฯ’ ที่โฉบลงมากินศพ เป็นที่สยดสยองและร่ำลือกันในหมู่ชาวพระนคร ต่อมาย่านประตูผีได้เติบโตควบคู่ไปกับการตัดถนนบำรุงเมือง ถนนรุ่นแรกๆ ของเกาะรัตนโกสินทร์ที่ใช้เทคนิคการสร้างอย่างชาวตะวันตก ซึ่งคงสร้างทับเส้นทางขนศพในอดีตนี่แหละ พร้อมทั้งมีการปลูกสร้างเป็นอาคารพาณิชย์แบบชิโน-โปรตุกีสอยู่ตลอด 2 ฝั่งถนน ตั้งแต่เสาชิงช้าจนถึงแถบประตูผี แต่ปัจจุบันถูกรื้อหาย กลายเป็นบริเวณแยกสำราญราษฎร์ ร้านรวงต่างๆ จึงเริ่มเข้ามาจับจองพื้นที่ กลายเป็นย่านการค้าอีกแห่งของกรุงเทพฯ มีตลาดใหญ่ชื่อว่า […]

1 3 4 5 6 7 8

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.