LATEST
‘WOODEN T SHIRT’ จาก VOLLEBAK เสื้อยืดที่เส้นใยและหมึกพิมพ์ทำจากไม้ สามารถย่อยสลายได้ภายใน 6 เดือน
ถ้าคุณกำลังมองหาแบรนด์เสื้อผ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ เราอยากแนะนำให้คุณรู้จักกับ ‘VOLLEBAK’ แบรนด์เสื้อผ้าที่นิยามตัวเองว่าไม่ใช่เสื้อผ้าสำหรับฤดูกาล แต่เป็นของศตวรรษหน้า เมื่อปี 2019 ทาง VOLLEBAK ได้เปิดตัวเสื้อยืด Plant and Algae ที่ทำจากต้นตำแย บลูเบอร์รี และหัวผักกาด รวมถึงเสื้อยืดที่ย้อมด้วยสาหร่ายสีดำ และในปี 2022 แบรนด์กลับมาอีกครั้งด้วยความเป็นไปได้ใหม่จากไอเดียการสร้างเสื้อยืดสีดำที่ทำจากไม้ และสามารถย่อยสลายได้ในระยะเวลาเพียง 6 เดือน ‘WOODEN T SHIRT’ คือเสื้อยืดที่ทำจากเยื่อไม้ยูคาลิปตัส ส่วนยอดของสาหร่ายสีน้ำตาล ‘Knotted Wrack’ และเส้นใยที่ย่อยสลายทางชีวภาพได้ 100 เปอร์เซ็นต์ภายใน 6 เดือน โดยไม่ปล่อยสารพิษใดๆ จนได้ออกมาเป็นเสื้อยืดที่ให้ความรู้สึกนุ่มสบายขณะสวมใส่ ไม่ต่างจากเสื้อยืดตามท้องตลาดทั่วไป อีกหนึ่งความพิเศษคือ WOODEN T SHIRT ยังพิมพ์ด้วยหมึกสีดำที่ทำขึ้นจากเศษไม้ ซึ่งผลิตขึ้นผ่านระบบการผลิตแบบปิดที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม จากการทำงานร่วมกับ ‘Nature Coatings’ บริษัทสตาร์ทอัปในแคลิฟอร์เนียที่ใช้ระยะเวลาในการวิจัยและพัฒนากว่า 20 ปี เพื่อให้มั่นใจว่าหมึกพิมพ์นี้จะไม่ก่อสารพิษแก่ผู้ใช้งาน และสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ด้วย WOODEN T SHIRT […]
7 สารคดีว่าด้วย ‘เซ็กซ์’ ที่ไม่ให้แค่ความเสียว แต่บอกเล่าความเชื่อ วัฒนธรรม และสังคมด้วย
เมื่อพูดถึง ‘เซ็กซ์’ หลายคนคงนึกถึงกิจกรรมทางเพศที่เกิดขึ้นเพื่อสนองความต้องการทางร่างกายของมนุษย์เพียงอย่างเดียว แต่ความจริงแล้วการมีเพศสัมพันธ์ยังอาจเชื่อมโยงกับอารมณ์ ความรู้สึก ค่านิยม วัฒนธรรม ฯลฯ มากไปกว่านั้น เซ็กซ์ยังถูกนำไปใช้ประโยชน์ในแวดวงธุรกิจอย่างการผลิตหนังโป๊และสื่อลามกอนาจาร ที่สร้างรายได้มหาศาลและกระตุ้นความกระสันให้ผู้ชมนับล้าน คอลัมน์ Urban’s Pick รวบรวม 7 สารคดีดูสนุกว่าด้วยเรื่องเซ็กซ์แบบเน้นๆ ที่จะพาทุกคนไปเปิดโลกเรื่องเพศที่ไม่ได้มีแค่เรื่องลามก แต่ยังลงลึกถึงประวัติศาสตร์และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเพศศึกษา อิทธิพลของเซ็กซ์ต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ไปจนถึงเบื้องหลังอุตสาหกรรมหนังโป๊ที่ไม่ได้สนุกและเร้าใจเหมือนเบื้องหน้าเสมอไป 01 | Hot Girls Wanted (2015) ชีวิตที่ไม่ง่ายของดาราหนังโป๊มือสมัครเล่น แม้ว่าปัจจุบันสังคมจะเริ่มยอมรับอาชีพ ‘Sex Creator’ มากขึ้น แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าเบื้องหลังอุตสาหกรรมสื่อลามกก็ยังเต็มไปด้วยปัญหาสังคมในมิติต่างๆ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กสาวที่ตัดสินใจก้าวเข้าสู่วงการนี้เยอะขึ้นเรื่อยๆ ‘Hot Girls Wanted’ คือสารคดีที่บอกเล่าถึงความขื่นขมในอุตสาหกรรมหนังโป๊ขนาดเล็ก ที่ดึงดูดผู้หญิงวัยรุ่นจำนวนไม่น้อยเข้ามาเป็น ‘ดาราหนังโป๊มือสมัครเล่น’ เพราะทำไม่ยากและรายได้ดี โดยเรื่องนี้จะพาผู้ชมไปดูตั้งแต่การเปิดรับสมัครเด็กสาวมาเล่นหนังโป๊ จนถึงช่วงที่พวกเธอเข้าวงการและเริ่มถ่ายทำหนังโป๊เป็นครั้งแรก มากไปกว่านั้น ตลอดเวลา 84 นาทีของสารคดียังพาไปทำความเข้าใจความคิดของเหล่าดาราหนังโป๊มือใหม่ รวมถึงตีแผ่ความยากลำบากที่พวกเธอต้องเผชิญ เช่น ความรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างถ่ายทำหนังโป๊ ความบาดหมางกับสมาชิกในครอบครัว การโดนบุลลี่จากคนรอบตัว ฯลฯ รับชม Hot […]
ดราม่าหลังกล้อง และความเสวที่ไม่ได้บิลด์กันง่ายๆ ของ ‘ครูแพรว’ แอ็กฯ เสวที่คนตามหลักแสน
สำหรับคนที่ Follow เธออยู่แล้ว เรารู้กันดีว่าช่อง ‘ครูแพรว’ ไม่ใช่ช่องสอนหนังสือ เราไม่ได้ติดตามครูแพรวในฐานะครู แต่คือ Porn Creator ทรานส์เจนเดอร์ยอดนิยม เจ้าของแอ็กเคานต์ OnlyFans ที่มีจำนวน Subscribers จากทั่วโลกหลักพัน และมียอด Followers ในช่องทางอื่นๆ เรือนแสน สารภาพตามตรง เราเคยคิดว่าชื่อแอ็กเคานต์เป็นแค่กิมมิกให้จำง่ายเฉยๆ แต่พอได้นั่งคุยกับ ‘แพรว-แพรวไพลิน กสิวัฒนา’ แบบตัวต่อตัวกันในบ่ายวันนี้ เราถึงรู้ว่าเธอเป็นครูจริงๆ นอกจากบทบาทคนทำคลิปเสียว ครูแพรวคือหนึ่งในหุ้นส่วนและครูของโรงเรียนสอนแต่งหน้า กันคิ้ว และสอนบุคลิกภาพแห่งหนึ่งในขอนแก่น แถมเธอยังเป็นนางงามที่เพิ่งคว้ามงกุฎ Miss Trans Thailand มาหมาดๆ เมื่อปี 2022 และกำลังปลุกปั้นช่องยูทูบที่ทำคอนเทนต์เมาท์มอยและไลฟ์สไตล์ของตัวเองขึ้นมาอย่างมุ่งมั่น เส้นทางชีวิตก่อนหน้านี้ของเธอก็น่าสนใจไม่แพ้กัน ตั้งแต่รู้ว่าอยากใช้ชีวิตแบบไหน ครูแพรวก็ทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ใช้ชีวิตแบบนั้น แต่ชีวิตก็คือชีวิต มันไม่มีอะไรง่ายและไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไป คอลัมน์ The Professional คราวนี้ เราจึงอยากชวนครูแพรวมาทบทวนเส้นทางที่ผ่านมา แล้วสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากชีวิตและการทำงานในฐานะ Porn Creator กับอีกสารพัดบทบาทของเธอให้เราฟัง นี่คือบทเรียนที่เธอไม่เคยเล่าหน้ากล้อง ไม่เปิดเผยบน […]
ชวนไปเดินเล่นฟังเสวนาในสวนเบญฯ กับหัวข้อ ‘จับจังหวะพื้นที่สาธารณะ’ วันที่ 24 ก.พ. 66 เวลา 15.00 – 17.30 น.
หากลองสำรวจดู หลายคนคงมีเหตุผลในความผูกพันกับพื้นที่สาธารณะแตกต่างกันไป บางคนมองว่าเป็นที่ออกกำลังกายประจำ บางคนมีที่ไว้นั่งเล่นรับลมเย็นๆ พักผ่อนริมน้ำ หรือบางคู่ก็นั่งดูพระอาทิตย์ตกด้วยกันบนวิวสะพาน แต่ขณะเดียวกันก็มีอีกหลายคนที่ใช้พื้นที่สาธารณะน้อยลงทุกวัน งาน ‘The Rhythm of City’s Yard จับจังหวะพื้นที่สาธารณะ’ ชวนทุกคนไปนั่งเล่นในสวนฟังหัวข้อเสวนา ‘จับจังหวะพื้นที่สาธารณะ’ เพื่อกลับไปสำรวจดูชีวิตผู้คนที่ใช้ร่วมกับพื้นที่สาธารณะ ผ่านการพูดคุยสนุกๆ กับผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาเมืองทั้ง 3 คน ได้แก่ – ศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร – ผศ. ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร – ขวัญชนก คงโชคสมัย ภูมิสถาปนิก ตัวแทนจาก we!park ดำเนินรายการโดย รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา หัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) และโฮสต์ประจำรายการพอดแคสต์ Unlock the City ภายในงานยังมีการเปิดตัวเว็บไซต์ ‘ห้องเรียนรู้พื้นที่สุขภาวะ’ ที่รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะจากทั่วทุกมุมโลก และผลงานด้านพื้นที่สุขภาวะที่ผ่านมาของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) […]
จากราชบุรีถึงอเมริกา ฟังเสียงเพลงจากชีวิตของ ‘ราม-เอกศักดิ์ ชานาง’ วง Selina and Sirinya
“ถ้าจังหวะมันไม่ได้ก็แค่พักไว้ก่อนและฝึกฝนไปด้วย ชีวิตต้องมีรายได้ และค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องจัดการ แต่ถ้าเวลาผ่านไปแล้วเราไม่ทำสิ่งที่รัก แน่นอนว่ามันย้อนกลับไปไม่ได้ ทุกวันคือต้องทำ ยิ่งทำก็ยิ่งก่อตัว “เราอยากให้เพลงที่ทำช่วยเยียวยาคนอื่น เป็นส่วนหนึ่งในความสร้างสรรค์ที่ให้แรงบันดาลใจ และส่งเสริมสังคมให้ดีขึ้น” ‘ราม-เอกศักดิ์ ชานาง’ ครองตนเป็นศิลปินมาจนถึงปัจจุบันในวัย 39 ปี เริ่มตั้งแต่เขาเติบโตเล่าเรียนในบ้านเกิดที่จังหวัดราชบุรี พอย่างเข้าวัยรุ่นก็เรียนที่ช่างศิลปสุพรรณ และไปเป็นเด็กวิจิตรศิลป์ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในช่วงมหาวิทยาลัย ช่วงเวลานี้เองที่เขาได้พบรักกับสองสิ่ง หนึ่งคือ Selina (เซลิน่า) แบ็กแพ็กเกอร์สาวชาวอเมริกันที่มาเที่ยวที่ไทย สองคือ วงดนตรีที่ร่วมสร้างขึ้นมากับเพื่อนซี้สุดซัดมาด ‘เอ๊ะ-นที ศรีดอกไม้’ ในนาม Selina and Sirinya จากการพบรักก่อตัวเป็นสิ่งที่รัก ชีวิตศิลปินของรามได้ออกเดินทางครั้งใหญ่ เขาโยกย้ายไปอยู่กับครอบครัวที่มีภรรยาและลูกอีกสองคนที่ประเทศอเมริกาเป็นเวลาสิบกว่าปี เดือนไหนที่อาชีพคนสวนในฟาร์มกัญชาของเขาสามารถหยุดงานได้ รามจะพาครอบครัวบินกลับมาที่ไทย และใช้ชีวิตออกทัวร์เล่นดนตรีกับเพื่อน เรานึกถึงบทสนทนาข้ามทวีปในช่วงสิ้นปีที่ได้คุยกับราม ถึงจุดเริ่มต้นของการไปใช้ชีวิตอยู่ในอเมริกา เรื่องราวเหล่านั้นประกอบด้วยงานเพลง ความฝัน ความนึกคิด ความเป็นศิลปิน รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของเมืองที่เขาอาศัยอยู่ เนื่องในเดือนกุมภาพันธ์นี้ วง Selina and Sirinya กำลังมีทัวร์เปิดอัลบั้มสามที่กรุงเทพฯ คอลัมน์ Think Thought […]
Sexy Red Light District จะเป็นอย่างไรถ้าประเทศไทยทำให้การค้าประเวณีถูกกฎหมาย
‘ประเทศไทย’ ถือเป็นดินแดนแห่ง ‘ศูนย์กลางการค้าประเวณี’ ที่ติดอันดับต้นๆ ของโลก จนทำให้นักท่องเที่ยวมากมายต่างมีหมุดหมายข้ามทวีปมาเพื่อสัมผัสบริการทางเพศหลากหลายรูปแบบ เว็บไซต์ Havocscope ที่เก็บข้อมูลผู้ค้าบริการทางเพศทั่วโลกพบว่า ในปี 2557 อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทางเพศของประเทศไทยสามารถทำรายได้มากกว่าสองแสนล้านบาทต่อปี และอีกห้าปีต่อมาก็ขยับเป็นสองล้านล้านบาท ซึ่งอาจกลายเป็นรายได้หลักของประเทศเลยทีเดียว แม้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทางเพศของไทยจะเฟื่องฟูและทำรายได้มหาศาล แต่ไฉนการค้าประเวณีในประเทศนี้ยังเป็นเรื่องผิดกฎหมาย แถมสังคมยังมองว่าธุรกิจเหล่านี้ทำให้เกิดอาชญากรรม การค้ามนุษย์ และยังเป็นเรื่องผิดบาปเพราะขัดต่อศีลธรรมทางศาสนา รวมไปถึงการมีเอี่ยวเก็บส่วยแบ่งกันรวยของเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบและผู้ทรงอิทธิพลต่างๆ ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่อยู่เหนือกฎหมาย และอาจเป็นเหตุผลที่แก้ไม่ได้หากธุรกิจนี้ยังเป็นสีเทา คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากจำลองให้ประเทศไทยสามารถปัดเป่าความสกปรกของธุรกิจสีเทานี้ให้กลายเป็นสิ่งถูกกฎหมาย เพื่อให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทางเพศของไทยได้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนสังคมไปสู่ความน่าจะเป็นอื่นๆ ได้มากยิ่งขึ้น ยกระดับอาชีพ Sex Worker เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ประกอบอาชีพ ‘Sex Worker’ หรือผู้ให้บริการทางเพศ มักได้รับการตีตราจากมุมมองทางศีลธรรมของสังคมว่าเป็นอาชีพที่ไร้ซึ่งเกียรติใดๆ และเป็นต้นตอของปัญหาการเกิดอาชญากรรมต่างๆ นั่นเพราะว่าอาชีพ Sex Worker เป็นอาชีพลับเฉพาะ การเปลี่ยนให้มีกฎหมายคุ้มครองการค้าประเวณี ทำให้ธุรกิจค้าบริการทางเพศโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ จะช่วยคุ้มครองสิทธิด้านต่างๆ ของผู้ค้าบริการ รวมถึงการป้องกันการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ได้ เป็นต้น ทั้งกำหนดให้ผู้ค้าบริการมีบัตรประจำตัวสองใบ ได้แก่ ใบประกอบวิชาชีพและใบรับรองสุขภาพ รวมถึงกำหนดให้ผู้ประกอบอาชีพและผู้ประกอบธุรกิจสถานค้าบริการต้องเสียภาษี เพื่อจะได้มีสวัสดิการต่างๆ เฉกเช่นเดียวกับอาชีพอื่นๆ ปรับพื้นที่และกำหนดเขต Sex […]
กางเกงยีนส์ถุงลมนิรภัย ที่จะพองตัวเมื่อเกิดอุบัติเหตุ เพิ่มความปลอดภัยให้นักบิด
ปกติแล้วรถยนต์ทุกคันมักมีถุงลมนิรภัยที่ซ่อนตัวไว้ เพื่อช่วยลดความรุนแรงของการเกิดอุบัติเหตุบนถนน แม้จะไม่ได้ช่วยป้องกันได้ทั้งหมดแต่อย่างน้อยก็ช่วยลดความเสียหายหรืออันตรายให้กับผู้โดยสารภายในรถได้ แต่คนขี่มอเตอร์ไซค์กลับมีเพียงหมวกกันน็อกที่ป้องกันบริเวณศีรษะเท่านั้น ส่วนช่วงตัวไม่มีอะไรรองรับแรงกระแทกที่จะเกิดขึ้นได้เลย เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน ทาง Mo’Cycle จึงคิดค้นและวางจำหน่าย ‘Airbag Jeans’ ที่มีระบบพองลมซ่อนไว้ในกางเกงยีนส์ และจะขยายออกเมื่อเกิดอุบัติเหตุ เหมือนกับถุงลมนิรภัยในรถยนต์ที่ช่วยลดแรงกระแทกและเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ แถมยังทำความสะอาดในเครื่องซักผ้าได้อย่างปกติ เมื่อระบบพองลมทำงาน ตัวกางเกงจะพองขึ้นในช่วงต้นขายาวไปจนถึงเข่า แม้จะไม่ได้ป้องกันอันตรายได้อย่างสมบูรณ์ แต่อย่างน้อยกางเกงยีนส์รุ่นนี้จะช่วยป้องกันสะโพกและเข่าไม่ให้รับบาดเจ็บหรือเสียหาย หรือถ้าไม่ชอบกางเกงสไตล์พองตัวแค่ส่วนเดียว Mo’Cycle ก็มี ‘CX Easyrider’ จาก CX Air Dynamics กางเกงถุงลมที่สวมทับเสื้อผ้าเหมือนกับเสื้อชูชีพ โดยถุงลมนิรภัยจะทำงานและพองตัวตรงช่วงสะโพก ต้นขาส่วนบน และหัวเข่า ในกรณีฉุกเฉิน นอกจากนี้ยังมีตลับอัดอากาศแบบชาร์จซ้ำได้ ที่จะทำให้กางเกงพองตัวเพื่อเพิ่มความปลอดภัยซ้ำได้ถึงห้าครั้งเลยทีเดียว ใครที่สนใจ Airbag Jeans จำหน่ายในราคาประมาณ 17,000 บาท ส่วน CX Easyrider มีราคาประมาณ 22,000 บาท Sources : CX Air Dynamics | bit.ly/3Epn1GI DesignTAXI | […]
Sexualbulary 8 คำศัพท์ที่บอกเล่าถึงความหลากหลายของรสนิยมทางเพศ
หากพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับ ‘เซ็กซ์’ แน่นอนว่าสิ่งที่ขาดไปไม่ได้เลยคือเรื่องของรสนิยมทางเพศ ซึ่งเป็นการนิยามถึงอารมณ์ ความรู้สึก ความสนใจทางเพศ ของแต่ละบุคคล โดยรสนิยมทางเพศสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ไม่ว่าจะเป็นคนที่ระบุเพศตัวเองว่าตรงกับเพศกำเนิด หรือคนที่อยู่ในกลุ่มของ LGBTQIA+ ก็ตาม ส่วนใหญ่แล้วรสนิยมทางเพศแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ รักต่างเพศ รักร่วมเพศ รักสองเพศ และไม่ฝักใฝ่ทางเพศ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ภายใต้กลุ่มใหญ่เหล่านี้ยังมีรสนิยมทางเพศกลุ่มย่อยอีกมากมายที่หลายคนอาจไม่เคยรู้จักมาก่อน คอลัมน์ Urban’s Pick ขอพาไปเรียนรู้ 8 คำศัพท์เกี่ยวกับรสนิยมทางเพศ ซึ่งจะทำให้เราได้เรียนรู้และเห็นความหลากหลายในสังคมมากขึ้น ทั้งนี้ คำศัพท์ที่เรายกตัวอย่างมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความหลากหลายเท่านั้น ยังมีรสนิยมทางเพศอีกมากมายที่รอให้ทุกคนได้ทำความรู้จัก และค่อยๆ เรียนรู้ไปด้วยกัน Asexual เริ่มกันด้วยคำศัพท์ที่หลายคนอาจคุ้นเคยอยู่แล้ว เพราะเป็นส่วนหนึ่งในตัวย่อของ LGBTQIA+ นั่นคือ ตัว A ที่ย่อจากคำว่า ‘Asexual’ ซึ่งเป็นรสนิยมทางเพศที่ช่วงหลังมานี้ถูกพูดถึงบ่อยขึ้น แต่คนจำนวนไม่น้อยยังอาจสับสนในความหมายอยู่ดี Asexual คือรสนิยมทางเพศที่ระบุถึงคนที่ไม่มีแรงดึงดูดทางเพศ ไม่สนใจการมีเซ็กซ์กับใคร แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่สามารถมีเซ็กซ์ได้เลย เพียงแค่จะมีอารมณ์ทางเพศน้อยไปจนถึงไม่มี ทั้งนี้ Asexual อาจมีทั้งคนที่มีความรู้สึกรักใคร่ในตัวบุคคลอื่น และคนที่ไม่มีความรู้สึกนั้น ทั้งนี้ […]
ญี่ปุ่นประกาศวีซ่า J-SKIP และ J-FIND หวังดึงคนเก่ง รายได้สูงเข้าประเทศ เริ่มต้นเดือนเมษายน 2023 เป็นต้นไป
หลังจากที่ประเทศญี่ปุ่นประสบปัญหาภาวะ ‘สมองไหล (Brain Drain)’ ทำให้คนเก่งที่มีทักษะสูงย้ายไปทำงานต่างประเทศเป็นจำนวนมาก จนเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศ ล่าสุดเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2023 ทางรัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศข้อกำหนดใหม่ในการยื่นขอวีซ่า J-SKIP และ J-FIND ขึ้น เพื่อดึงคนมีความสามารถรุ่นใหม่เข้าประเทศ ‘J-SKIP (Japan System for Special Highly Skilled Professionals)’ เป็นวีซ่าทำงานประเภท 5 ปี สำหรับนักวิจัยและวิศวกรรายได้ 20 ล้านเยนต่อปี (5 ล้านบาท) ที่มีวุฒิปริญญาโทหรือประสบการณ์การทำงานอย่างน้อย 10 ปี และผู้บริหารระดับสูงประสบการณ์อย่างน้อย 5 ปี ที่มีรายได้อยู่ที่ 40 ล้านเยนต่อปี (10 ล้านบาท) โดยนักวิจัย วิศวกร และผู้บริหารระดับสูงที่มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดนี้ สามารถสมัครงานและย้ายถิ่นฐานมายังประเทศญี่ปุ่นได้ทันที โดยไม่ต้องสอบวัดระดับ ‘Point-Based System’ เหมือนในอดีต และหลังจากพำนักอยู่ในญี่ปุ่นเป็นเวลา 1 ปี ผู้ถือวีซ่านี้สามารถยื่นขอวีซ่าถาวรได้ […]
Sexploration ล้วงลับ จับปัญหาเรื่องเพศ ที่ทำอย่างไรไทยก็ไม่เปิดกว้างเสียที
ในขณะที่ประเทศไทยเรียกตัวเองว่าเป็น ‘เมืองพุทธ’ และกีดกัน ‘อบายมุข’ ทุกวิถีทาง แต่ต่างชาติกลับรู้จักไทยเพราะ ‘สถานเริงรมย์’ ชื่อดังที่มาจาก ‘การท่องเที่ยวทางเพศ (Sex Tourism)’ เพราะไม่ว่าจะเป็นย่านพัฒน์พงศ์ ซอยคาวบอย ซอยธนิยะ หรือพัทยา เหล่านี้ล้วนเป็นสถานที่สำหรับแสวงหาความสำราญในยามค่ำคืน มีเม็ดเงินสะพัด จนสร้างรายได้มหาศาลให้ประเทศ แต่ไม่ว่าการท่องเที่ยวรูปแบบนี้จะทำรายได้มากแค่ไหน ตัวเลขเหล่านี้กลับไม่เคยถูกนับรวมเข้าไปในผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เลยสักครั้ง เพราะการท่องเที่ยวทางเพศไปจนถึงการซื้อขายและเผยแพร่สื่อลามกอนาจาร ยังถือเป็นเรื่องผิดกฎหมายในประเทศไทย และถูกมองในเชิงลบจากประชาชนบางกลุ่ม เนื่องจากได้รับการปลูกฝังและเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาในโรงเรียนผ่านมุมมองทางศีลธรรม ทำให้เรื่องเพศในไทยเป็นเสมือนเรื่องต้องห้ามที่ไม่สามารถพูดคุยได้อย่างเปิดเผย คอลัมน์ Overview ประจำเดือนกุมภาพันธ์ขอหยิบเอาอีกแง่มุมหนึ่งในสังคมอย่างปัญหาเรื่องเพศออกมาสำรวจกันอีกครั้ง พร้อมชวนหาคำตอบว่าทำไมไทยถึงไม่สามารถเปิดกว้างเรื่องเพศอย่างประเทศอื่นเขาได้เสียที สถิติการท่องเที่ยวทางเพศในประเทศไทย ถือเป็นเรื่องตลกร้ายอยู่ไม่น้อยที่สถานบริการทางเพศกระจายอยู่ตามจุดต่างๆ ทั่วประเทศไทย ซึ่งคนไทยและต่างชาติรู้ดี แต่ตำรวจไทยกลับ (แกล้ง) ไม่รู้ จนถึงขนาดว่าในปี 2562 ตำรวจได้ลงพื้นที่สำรวจวอล์กกิ้งสตรีทที่พัทยา แต่กลับไม่พบว่ามีการขายบริการทางเพศในบริเวณนั้น ทั้งๆ ที่หากย้อนกลับไปเมื่อในปี 2557 เว็บไซต์ Havocscope ได้เก็บข้อมูลผู้ขายบริการทางเพศทั่วโลกพบว่า ประเทศไทยมีผู้ให้บริการทางเพศมากกว่า 250,000 คน จากทั้งหมดประมาณ 13.8 ล้านคน คิดเป็นอันดับที่ […]
รู้เท่าทัน Echo Chamber และมลพิษทางข้อมูล
ในยุคสมัยที่เรารับข้อมูลมากมายจากหลากหลายช่องทางตลอดเวลา อาจทำให้เราคิดว่าตัวเองได้มองเห็นและเปิดรับมุมมองที่แตกต่างมากกว่าที่เคย แต่แท้จริงแล้วอาจไม่เป็นเช่นนั้น เพราะมนุษย์มีความลำเอียงที่จะยืนยันความคิดของตัวเอง (Confirmation Bias) ที่ทำให้เราค้นหาและยอมรับข้อมูลที่สอดคล้องกับสิ่งที่คิดหรือเชื่ออยู่เดิม และสนับสนุนกลุ่มคนที่มีทัศนคติสอดคล้องกับตนเองได้อย่างง่ายดาย ในขณะเดียวกันก็ปิดกั้นหรือปฏิเสธข้อมูล และความเห็นต่างได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ Echo Chamber จึงเกิดขึ้น โดยภายในห้องแห่งเสียงสะท้อนนี้ คุณจะได้ยินแต่ข้อมูล ความคิด หรือความเชื่อหนึ่งซ้ำๆ โดยไม่ได้ยินเสียงของคนที่ตั้งคำถามหรือเห็นต่างเลย นอกจากในชีวิตออฟไลน์ที่เราอาจเลือกที่จะแวดล้อมตนเองไปด้วยคนที่มีความคิดสอดคล้องกับตนแล้ว สิ่งนี้ยังปรากฏให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นในสื่อสังคมออนไลน์ที่ระบบอัลกอริทึมช่วยกลั่นกรอง เสนอเนื้อหาที่ตรงกับความเชื่อของเรา และตีวงล้อมเราให้พบกับคนที่มีมุมมองเหมือนกับเรา ทำให้ความเชื่อและมุมมองของเราถูกตอกย้ำว่าเป็นความจริงเพียงหนึ่งเดียว และเชื่อไปว่าแนวคิดของตนเองถูกต้องที่สุด มันอาจกลายเป็นการสะสมความลำเอียงและอคติทางความคิดที่เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ จนนำไปสู่ความคิดสุดโต่งและความรุนแรงกับผู้เห็นต่างได้ ลองดูเหตุการณ์ผู้สนับสนุนประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ บุกอาคารรัฐสภาของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2021 เป็นตัวอย่าง แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียฝ่ายขวาจัด เช่น Gab และ Parler มีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์นี้ และใช้แฮชแท็ก #StoptheSteal ที่สื่อเป็นนัยว่าอีกฝ่าย ‘ขโมย’ ชัยชนะและตำแหน่งประธานาธิบดีไปจากคนที่พวกเขาสนับสนุน เพื่อปลุกระดมให้คนในฝั่งเดียวกันเข้าร่วมโดยไม่เปิดรับข้อเท็จจริงและความเห็นอื่นจากคนนอกกลุ่ม นำไปสู่โพสต์สนับสนุนให้พกปืนเข้าไปที่โถงของรัฐสภา ในที่สุดการเคลื่อนไหวทางออนไลน์ก็กลายเป็นความรุนแรงในโลกจริง เหตุการณ์ลักษณะนี้มีความคล้ายคลึงกับผลการวิจัย ‘ห้องแห่งเสียงสะท้อนออนไลน์กับผู้ออกเสียงเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562’ ในประเทศไทยที่พบว่า การติดแฮชแท็กในทวิตเตอร์และเฟซบุ๊กระดมคนที่สนใจในเรื่องเดียวกันและมีจุดยืนของความคิดทางการเมืองเดียวกัน […]
แทบัก! Korean Dramaland เว็บไซต์พาตามรอยซีรีส์เกาหลีกว่า 3,100 โลเคชันใน 26 ประเทศ
แฟนๆ ซีรีส์เกาหลีคงรู้ดีว่า นอกจากเนื้อเรื่องที่สนุกและชวนติดตาม จนทำให้หลายคนตกอยู่ในสภาพดูตอนเดียวไม่เคยพอแล้ว ซีรีส์จากแดนกิมจิยังมาพร้อมโปรดักชันระดับคุณภาพและโลเคชันสวยสมจริง ที่ทำให้ผู้ชมจำนวนไม่น้อยใฝ่ฝันอยากไปตามรอยสถานที่เหล่านั้นสักครั้งในชีวิต เพื่อสานฝันคอซีรีส์เกาหลีให้เป็นจริง เราอยากพาไปรู้จัก ‘Korean Dramaland’ เว็บไซต์ที่รวบรวมสถานที่ในซีรีส์เกาหลีกว่า 690 เรื่อง แถมโลเคชันต่างๆ ยังมีมากถึง 3,110 แห่งใน 26 ประเทศทั่วโลก วิธีใช้งานนั้นง่ายมาก ผู้ใช้งานเพียงแค่พิมพ์ชื่อซีรีส์ที่อยากตามรอยในช่องค้นหา จากนั้นเว็บไซต์จะแสดงผลสถานที่ต่างๆ พร้อมที่อยู่และรายละเอียดที่น่าสนใจ แถมยังแนบวิธีเดินทางและปักหมุดในแผนที่ให้แฟนๆ ไปตามรอยกันแบบง่ายๆ ด้วย ไม่เพียงเท่านั้น ผู้ใช้งานยังค้นหาโลเคชันซีรีส์จากชื่อสถานีรถไฟใต้ดิน ชื่อย่านในเกาหลี ชื่อประเทศที่ถ่าย รวมถึงประเภทของสถานที่ต่างๆ เช่น ร้านกาแฟ ร้านอาหาร โรงเรียน โรงแรม โรงพยาบาล สวนสาธารณะ ฯลฯ ได้ด้วย Korean Dramaland เกิดขึ้นเมื่อปลายปี 2016 จากนั้นเว็บไซต์นี้ก็ค่อยๆ เติบโตอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นคอลเลกชันออนไลน์ที่รวบรวมสถานที่ถ่ายทำซีรีส์เกาหลีที่ใหญ่ที่สุด ที่สำคัญทางเว็บไซต์ยังเปิดให้แฟนซีรีส์หรือผู้ที่สนใจมีส่วนร่วมด้วยการส่งชื่อพร้อมที่อยู่โลเคชันจากซีรีส์เกาหลี เพื่อรวบรวมสถานที่ในคอลเลกชันนี้ให้ได้มากที่สุด เข้าไปตามรอยซีรีส์เกาหลีกันแบบฟินๆ ได้ที่ koreandramaland.com