‘Dubai Reefs’ โครงการฟื้นฟูมหาสมุทรที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อการวิจัย ฟื้นฟู และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

มหาสมุทรอาจดูเป็นพื้นที่ธรรมชาติที่กว้างใหญ่ จนเราไม่สามารถดูแลและปกป้องได้อย่างเต็มที่ แต่หากยังปล่อยให้การดำเนินชีวิตและการท่องเที่ยวทำร้ายแหล่งน้ำขนาดใหญ่อยู่เรื่อยๆ ก็ถือเป็นการเร่งความเสียหายให้กับธรรมชาติ และอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตต่อไปในอนาคตก็ได้ ทาง ‘URB’ ผู้พัฒนา Net Zero Sustainable Cities ได้ออกแบบ ‘Dubai Reefs’ โครงการฟื้นฟูมหาสมุทรที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในเมือง Emirati ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยสร้างเป็นชุมชนลอยน้ำที่ยั่งยืนสำหรับการวิจัยทางทะเล การฟื้นฟู และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ที่วางเป้าหมายว่าจะสร้างงานได้มากกว่า 30,000 ตำแหน่งในระบบเศรษฐกิจสีเขียว รวมถึงที่อยู่อาศัย การท่องเที่ยว การค้าปลีก การศึกษาและการวิจัย หลักสำคัญของโครงการ Dubai Reefs คือสถาบันทางทะเลที่ตั้งขึ้นเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง มีจุดมุ่งหมายเพื่อเร่งศักยภาพทางวิทยาศาสตร์ทางทะเลและความสามารถในการอนุรักษ์ของดูไบ ในขณะเดียวกันก็มีการสร้างแนวปะการังเทียมที่มีความยาวครอบคลุมพื้นที่ 200 ตารางกิโลเมตร และยังมีแผนสร้างบ้านของปะการังมากกว่า 1 พันล้านต้นและต้นโกงกางมากกว่า 100 ล้านต้นด้วย นอกจากงานวิจัยและการอนุรักษ์แล้ว โครงการ Dubai Reefs ยังจะเปิดเป็นพื้นที่สำหรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางทะเลเพื่อเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ให้ผู้มาเยือน โดยจะมีที่พักลอยน้ำเชิงนิเวศที่ใช้พลังงานหมุนเวียนทั้งหมดจากพลังงานแสงอาทิตย์และไฟฟ้าพลังงานน้ำ เป้าหมายหลักของ Dubai Reefs คือการเปลี่ยนเมืองให้เป็นจุดหมายปลายทางเชิงนิเวศ ที่มหาสมุทรและภูมิทัศน์ต่างๆ สามารถเติบโตอย่างสมดุลไปพร้อมๆ […]

The Arc อาคารไม้ไผ่ของโรงเรียนในบาหลี แนวคิดการออกแบบด้วยวัสดุทางเลือกที่ยั่งยืน

IBUKU คือทีมนักออกแบบและผู้สร้างสถาปัตยกรรมที่ปรารถนาจะใช้ประโยชน์จาก ‘ไม้ไผ่’ และใช้ช่างฝีมือรุ่นใหม่ที่มีความสามารถในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อพัฒนาแนวคิดโบราณและแนวคิดใหม่ให้สมดุลกัน เพราะพวกเขาเชื่อว่าศักยภาพของต้นไผ่นั้นถูกประเมินค่าต่ำเกินไป และน่าจะใช้เป็นที่อยู่อาศัยของผู้คนได้มากขึ้น โดยเฉพาะคนที่อยู่ในภูมิภาคเขตร้อน เช่น เอเชียใต้ เอเชียตะวันออก แปซิฟิกใต้ อเมริกากลางและใต้ เป็นต้น เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้ต่างคุ้นเคยกับพรรณไม้ชนิดนี้มาเป็นร้อยๆ ปี เราขอยกตัวอย่างผลงานสถาปัตยกรรมแห่งหนึ่งในประเทศบาหลีที่นำวัสดุธรรมชาติอย่างไม้ไผ่มาใช้สร้างสรรค์ที่อยู่อาศัย สถาปัตยกรรมนี้ชื่อว่า ‘The Arc’ ได้รับการออกแบบโดยความร่วมมือจาก Jörg Stamm ผู้เชี่ยวชาญด้านไม้ไผ่ชาวเยอรมัน และ Atelier One บริษัทวิศวกรรมโครงสร้างในสหราชอาณาจักร โครงการนี้เรียบง่าย โดยใช้ไม้ไผ่มาสร้างเป็นหลังคาที่มีลักษณะคล้ายเปลือก ทำหน้าที่บังแดดลมฝน ครอบสนามกีฬาอเนกประสงค์ของโรงเรียน Green School ซึ่งเป็นสถาบันชื่อดังในอินโดนีเซียที่ส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องความยั่งยืนร่วมกับผู้คนในชุมชน เมื่อมอง The Arc จากภายนอกจะพบรูปร่างเปลือกที่มีความโค้งเว้าลื่นไหลไปกับรูปทรงของธรรมชาติโดยรอบ เป็นภาพหลังคาที่มีความซับซ้อนไม่ธรรมดา สถาปนิกกล่าวว่า โครงการต้องใช้เวลาหลายเดือนในการวิจัยเพื่อกำหนดวิธีการสร้าง ตั้งแต่การเริ่มต้นสร้างแบบจำลอง ทดสอบอายุการใช้งานของไม้ไผ่ หรือวิธีการป้องกันแมลงต่างๆ ฯลฯ จนเกิดเป็นซุ้มไม้ไผ่ที่มีความสูง 14 เมตร ความยาว 19 เมตร แปลนของอาคารมีความกว้าง 23.5 เมตร […]

‘จักรพรรดิพงษ์’ ถนนทางผ่านย่านโรงพิมพ์หนังสือ ที่กำลังถูกปลุกให้ตื่นจากหลับใหล

ในวันที่ย่านเก่าอย่างนางเลิ้งและหลานหลวง เป็นปลายทางของผู้คนที่หลั่งไหลมาฮอปปิงคาเฟ่ที่ผุดขึ้นมากมายในพื้นที่ คืนความคึกคักกลับเข้ามาในพื้นที่โอลด์ทาวน์แถบนี้อีกครั้ง ไม่ต่างกับยุครุ่งเรืองของตลาดนางเลิ้งเมื่อครั้งอดีตที่เป็นจุดหมายของเหล่าหนุ่มสาวชาวพระนครมายาวนาน ใกล้ๆ กันยังมีอีกชุมชนหนึ่งตั้งอยู่ตรงกลาง ริมสองฝั่งของ ‘ถนนจักรพรรดิพงษ์’ ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมร้อยทั้งสองย่านที่ว่านี้เข้าด้วยกัน แม้วันนี้จะอยู่ในสถานะของทางผ่านจนหลายคนอาจมองข้ามไป หรือถูกเหมารวมไปอยู่เป็นส่วนหนึ่งของย่านข้างเคียง ทว่าจริงๆ แล้วตรงนี้ก็มีคาแรกเตอร์ที่โดดเด่นไม่น้อย เพราะแต่ก่อน บนถนนสายนี้เคยเต็มไปด้วยโรงพิมพ์และร้านหนังสือการ์ตูนในวันที่สิ่งพิมพ์เฟื่องฟู มีร้านทำผมบาร์เบอร์และซาลอนยุคเก่าตั้งเรียงรายกว่าสิบร้าน ไปจนถึงภาพชินตาอย่างร้านกล้วยแขกหลากหลายสีเอี๊ยมที่เป็นสัญลักษณ์ประจำย่านนี้ ชวนย้อนความหลังฟังเรื่องเล่าจากหลายปากเสียงของชาวชุมชนจักรพรรดิพงษ์ ถึงบรรยากาศในอดีตของย่าน พัฒนาการของร้านค้าและชุมชน ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่กำลังปลุกให้ย่านทางผ่านที่หลับใหลค่อยๆ ตื่นขึ้นมาอีกครั้ง ถนนที่นำพระนามอันไพเราะของพระอนุชาของรัชกาลที่ 5 มาตั้งเป็นชื่อนั้น คือผลพวงส่วนหนึ่งของการพัฒนาเมืองเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว โดยตัดแยกมาจากถนนบำรุงเมือง ถนนสายแรกๆ ในสยาม เชื่อมกับถนนราชดำเนิน เส้นเลือดใหญ่ที่เชื่อมระหว่างโซนเมืองเก่าตรงพระบรมมหาราชวังกับเมืองใหม่ (ในสมัยนั้น) แถบดุสิต แต่แรกเลยแถบนี้ยังเป็นพื้นที่สวนตามประสาบรรยากาศชานเมือง กว่าจะมีอาคารพาณิชย์ตลอดสองฝั่งถนนจักรพรรดิพงษ์แบบที่เห็นกัน ก็ต้องรอจนถึงประมาณช่วงทศวรรษ 2490 หลังจากนั้นจึงเริ่มเป็นย่านการค้าที่มีร้านรวงต่างๆ เข้ามาจับจองพื้นที่เพื่อประกอบกิจการกันอย่างหลากหลาย นอกจากร้านทำผมแล้ว ก็มีร้านตัดเสื้อสูท ร้านทำฟันแบบโบราณ ทำแป้งประหน้า ร้านเอกซเรย์ ร้านขายเคมีภัณฑ์ ฯลฯ ซึ่งสลับสับเปลี่ยนเจ้าของอยู่ตลอด บ้างก็ย้ายไปที่อื่นแล้วในตอนนี้ บางห้องก็ยังมีลูกหลานอยู่กระทั่งปัจจุบัน ‘สุขศาลานางเลิ้ง’ อดีตสถานอนามัยของชาวกรุง “ชุมชนป้าไม่ใหญ่ แต่มีสตอรีเยอะ” ป้าจิ๋ว […]

‘พอกันทีศักดินา ฉันจะโหวต’ การเลือกตั้งครั้งแรกของโลกเมื่อ 2,500 ปีก่อน | Now You Know

ชาวไทยหลายคนคงกำลังตั้งตารอให้ถึงวันที่ 14 พฤษภาคมนี้ เพราะเป็นวันเลือกตั้งใหญ่ที่เราจะได้เลือกผู้แทนเข้าไปกำหนดอนาคตของประเทศไทย ย้อนไปเมื่อหลายพันปีที่แล้ว ที่กรุงเอเธนส์ ชีวิตของคนทั้งเมืองเคยถูกปกครองโดยคนไม่กี่คน จนเกิดแนวคิดที่จะปฏิรูปด้วยการลดอำนาจการปกครองของชนชั้นสูงลง แล้วเริ่มขยายอำนาจให้คนทั่วไปมากขึ้น Now You Know ครั้งนี้จะพาทุกคนไปรู้จัก ‘การเลือกตั้งครั้งแรกของโลก’ ที่กลายเป็นสารตั้งต้นของแนวคิดประชาธิปไตย ทำให้ประชาชนทั่วไปมีสิทธิ์ตัดสินใจและกำหนดทิศทางที่จะส่งผลกระทบต่อชีวิตของตัวเอง

วัยรุ่นเกาหลีใต้ใช้ชีวิตโดดเดี่ยวมากขึ้น จนภาครัฐต้องหาวิธีดึงพวกเขากลับสู่สังคม

ปัจจุบัน ‘การใช้ชีวิตสันโดษ’ หรือ ‘การแยกตัวอย่างโดดเดี่ยว’ กำลังเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมเกาหลีใต้ ถึงแม้ว่าเบื้องหน้าที่เราเห็นผ่านซีรีส์หลายเรื่องจะสะท้อนให้เห็นว่า แดนกิมจินั้นเต็มไปด้วยความเจริญในมิติต่างๆ ผู้คนดูมีชีวิตชีวา รวมถึงมีกิจกรรมมากมายที่เอื้อให้เหล่าวัยรุ่นชาวเกาหลีได้ออกไปใช้ชีวิตนอกบ้าน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในกรุงโซลยังมีคนรุ่นใหม่อีกจำนวนไม่น้อยที่เลือกจะเก็บตัวอยู่แต่ภายในบ้าน ตัดขาดจากโลกภายนอก และออกจากบ้านเป็นครั้งคราวเท่านั้น ซึ่งรัฐบาลเกาหลีใต้เองก็เล็งเห็นว่า การแยกตัวออกจากสังคมนั้นส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพกายและใจของเหล่าวัยรุ่น มากไปกว่านั้น ปรากฏการณ์นี้ยังมีผลกระทบทางอ้อมต่อเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากตัวเลขของประชากรวัยทำงานจะลดลง หนึ่งสาเหตุสำคัญเกิดจากเยาวชนไม่สามารถเข้ากับสังคมได้ เพราะใช้ชีวิตอยู่กับความโดดเดี่ยวมาเป็นเวลานาน คอลัมน์ City in Focus จึงอยากจะชวนไปดูปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการเก็บตัวของคนรุ่นใหม่ในเกาหลีใต้ ไปจนถึงการแก้ปัญหาของภาครัฐที่ตั้งใจพาเหล่าวัยรุ่นผู้เก็บตัวอย่างโดดเดี่ยวให้กลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างที่ควรจะเป็น สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นเกาหลีกลายเป็นคนเก็บตัว จากการสำรวจของรัฐบาลเกาหลีใต้พบว่า มีชาวเกาหลีอายุ 19 – 39 ปีที่ใช้ชีวิตแบบ ‘โดดเดี่ยวและสันโดษ’ โดยมีคำนิยามของคนกลุ่มนี้ว่า เป็นคนที่อาศัยอยู่แต่ในพื้นที่จำกัด อยู่ในสภาพที่ขาดการเชื่อมต่อจากสังคมภายนอก ไม่ค่อยออกไปไหนเป็นเวลานานกว่าหกเดือน และมีปัญหาในการใช้ชีวิตอย่างเห็นได้ชัด ตามรายงานของกระทรวงความเท่าเทียมทางเพศและครอบครัวเผยว่า ประมาณ 3.1 เปอร์เซ็นต์ หรือ 350,000 คนของกลุ่มนี้มาจากครอบครัวยากจน เป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขาปิดกั้นตัวเองตั้งแต่ยังเด็กจากการโดนบุลลี่ในสังคมโรงเรียน หรือเผชิญกับความรุนแรงในครอบครัวจนทำให้ออกจากบ้านได้ยาก ส่งผลให้เกิดปัญหาการสื่อสารและการพูดคุยกับคนนอกตามมา ทว่าสาเหตุไม่ได้เกิดจากปัญหาในครอบครัวอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความวิตกกังวลทางสังคม ความเครียด การตกงาน ปัญหาการหางานยาก ปัญหาด้านจิตใจ […]

Accessible Elections ออกแบบหน่วยเลือกตั้ง ให้เอื้อต่อคนทุกกลุ่มและรับรองสิทธิของประชาชน

เป็นช่วงโค้งสุดท้ายที่ต้องบอกว่าถ้าเลี้ยวผิดชีวิตเปลี่ยนแน่นอน สำหรับการเลือกตั้งที่จะมาถึงในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้ การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้นจะออกมาในทิศทางไหน ใครจะเป็นนายกฯ และเราจะมีทีมรัฐบาลที่เข้ามาช่วยปรับเปลี่ยนแก้ไขความเป็นอยู่ของสังคมประเทศไทยให้ดีขึ้นได้จริงหรือไม่ การออกไปเลือกพรรคที่ชอบและลงคะแนนให้กับคนทำงานที่ใช่ เสียงของทุกคนจะตอบคำถามนี้ได้ แต่อย่างไรก็ตาม จากการเลือกตั้งล่วงหน้าเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคมที่ผ่านมา เราทุกคนคงได้เห็นข้อผิดพลาดจากการจัดการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กันมาไม่น้อย ส่งผลให้หลายคนเริ่มกังวลต่อความโปร่งใสในการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นอย่างมาก ก่อนวันเลือกตั้งใหญ่จะมาถึง คอลัมน์ Urban Sketch ขอนำปัญหาต่างๆ จากการเลือกตั้งล่วงหน้า รวมถึงความเป็นไปได้อื่นๆ มาออกแบบการเลือกตั้งให้เกิดบรรยากาศที่เป็นมิตร เข้าถึงง่าย เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อประชาชนทุกเพศทุกวัย ทั้งคนหนุ่มสาว ผู้เฒ่าวัยชรา ไปจนถึงคนพิการ ให้ออกไปใช้สิทธิ์ได้อย่างสะดวกสบาย สมศักดิ์ศรี ไม่ต้องกังวลว่าเสียงของตนจะหล่นหายหรือไม่ หน่วยเลือกตั้งที่ใครๆ ก็ไปถึง การเลือกตั้งครั้งนี้แบ่งออกเป็น 400 เขตทั่วประเทศ โดยกรุงเทพฯ มีหน่วยเลือกตั้งมากที่สุดที่ 33 เขต แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีเสียงสะท้อนมาว่า การเดินทางไปถึงสถานที่รองรับการเลือกตั้งในหลายเขตเป็นเรื่องยากลำบาก เนื่องจากรายชื่อหรือรหัสของหน่วยเลือกตั้งไม่มีพิกัดแน่ชัด หรือผู้สูงวัยที่บางบ้านไม่มีรถยนต์เป็นของตัวเอง ต้องอาศัยติดรถกันมา บางคนต้องนั่งหลังรถกระบะปะทะกับแดดร้อนๆ กว่าจะถึงก็ใช้เวลานาน ขณะเดียวกัน เมื่อหลายครอบครัวและคนจำนวนมากใช้รถยนต์ส่วนตัวเดินทางมายังจุดเลือกตั้ง ก็อาจส่งผลให้การจราจรติดขัดตามไปด้วย เพื่อแก้ปัญหานี้ เราจะเปิดบริการขนส่งสาธารณะฟรีหรือจัดจ้างรถที่ใช้ประจำหมู่บ้าน อำนวยความสะดวกให้ประชาชนเดินทางในวันเลือกตั้ง […]

Life in Neon ชีวิตใต้แสงไฟ

ในเมืองที่ไม่เคยเงียบเหงา ความมืดที่ไม่เคยดำสนิท แสงสว่างในตอนกลางคืนจำเป็นต่อมนุษย์เสมอ ‘ป้ายไฟนีออน’ เหล่านี้กำลังทำหน้าที่ของมันอยู่ ทั้งสร้างสีสัน บอกตำแหน่งหรือสถานที่ หรือแม้กระทั่งบอกยุคสมัย ขณะเดียวกันยังสามารถบอกถึงวัฒนธรรมที่ผลัดเปลี่ยนตามกาลเวลา ป้ายไฟนีออนที่อยู่ในงานชุดนี้เกิดขึ้นจากชีวิตประจำวัน สิ่งที่ผ่านเข้ามาให้เห็นแทบทุกวันของผม ในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต ให้ได้รู้ว่ามันเคยมีอยู่ ‘สกาลา’ หนึ่งในความทรงจำในวัยเด็กของผม โรงหนังที่เคยถูกเรียกว่าเป็นโรงหนังที่สถาปัตยกรรมงดงามที่สุดของไทย ป้ายของสกาลาจึงเป็นหนึ่งในสิ่งที่ถูกบันทึกไว้ในงานชุดนี้ แม้ปัจจุบันจะไม่มีให้เห็นแล้ว แต่ผมคิดว่าเมื่อเวลาผ่านไป งานชุดนี้จะยิ่งมีคุณค่ามากขึ้นไม่มากก็น้อย เพราะยุคสมัยและความทรงจำส่วนหนึ่งได้ถูกรวบรวมไว้ในงานชุดนี้แล้ว ติดตามผลงานของ สรวิศ ธุระพันธ์ ต่อได้ที่ Instagram : megamxxd และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

‘Fluus’ ผ้าอนามัยย่อยสลายในน้ำ ไม่ต้องหากระดาษห่อให้ยุ่งยาก แค่ทิ้งลงชักโครกก็หายไปในพริบตา

รอบเดือนเป็นสิ่งที่ผู้มีประจำเดือนทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งยังกลายเป็นส่วนหนึ่งในปัญหาขยะจากผ้าอนามัย เพราะโดยปกติแล้วผ้าอนามัยทั่วๆ ไปประกอบด้วยพลาสติกถึง 90 เปอร์เซ็นต์ และเพียงแค่ในสหราชอาณาจักรก็มีการใช้กว่า 3,000 ล้านชิ้น สร้างขยะมากถึง 200,000 ตัน นี่ยังไม่นับรวมทั้งโลกเลย ‘Fluus’ แบรนด์ผ้าอนามัยจากสหราชอาณาจักรจึงมองหาวิธีช่วยลดขยะและลดการฝังกลบ ด้วยผ้าอนามัยชิ้นแรกที่สามารถทิ้งลงชักโครกเพื่อให้สลายตัวไปกับน้ำ ซึ่งไม่ใช่แค่ตัวผ้าอนามัยเท่านั้น แต่กระดาษห่อและกระดาษรองก็ทิ้งลงชักโครกได้ด้วยเหมือนกัน ผ้าอนามัยของ Fluus ประกอบไปด้วยวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เริ่มจากการใช้เส้นใยจากพืชเพื่อให้ผ้าด้านบนและด้านล่างนุ่มเป็นพิเศษ ระบายอากาศได้ดี ช่วยให้รู้สึกแห้งสบาย และพอลิเมอร์ชีวภาพที่ช่วยให้เลือดซึมเข้าสู่แผ่นรองได้อย่างรวดเร็ว ไม่เลอะเทอะ ส่วนกาวที่ยึดผ้าอนามัยก็ทำมาจากเยื่อไม้ที่ไม่เป็นพิษ และมีคุณสมบัติกระจายตัวในน้ำได้โดยไม่ต้องกลัวว่าจะทำให้ระบบน้ำอุดตัน เมื่อทิ้งผ้าอนามัยลงไปในชักโครก การเคลื่อนที่ของน้ำจะดึงชั้นต่างๆ ของผ้าอนามัยออกจากกัน จากนั้นจะนำไปบำบัดที่ศูนย์บำบัดน้ำพร้อมกระดาษชำระและสิ่งปฏิกูลที่สลายตัว เกิดเป็นน้ำสะอาด พลังงานทดแทน และปุ๋ย การฝังกลบขยะจากผ้าอนามัยอาจใช้เวลากว่า 500 ปีในการย่อยสลาย ในขณะที่ Fluus สามารถทำให้ผ้าอนามัยสลายไปได้ในพริบตา นอกจากปัญหาขยะแล้ว Fluus ยังช่วยลดปัญหาการทิ้งผ้าอนามัยหากห้องน้ำที่เราเข้าไปใช้งานไม่มีถังขยะ หรือบางคนอาจรู้สึกไม่สบายใจหากต้องทิ้งผ้าอนามัยที่บ้านคนอื่น Sources :DesignTAXI | bit.ly/42F3CezFluus | wearefluus.com

วิเคราะห์ถึงการเลือกตั้งใหญ่ ปี 2566 กับ อ.ปริญญา | Unlock the City EP.26

การเลือกตั้ง ปี 2566 ที่จะถึงนี้ ถือเป็นอีกการเลือกตั้งครั้งสำคัญสำหรับการกำหนดทิศทางของประเทศไทย

และในโค้งสุดท้ายแบบสุดๆ นี้ ‘พนิต ภู่จินดา’ โฮสต์รายการ Unlock the City ก็ชวน ‘ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล’ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาร่วมพูดคุยถึงปรากฏการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในวันเลือกตั้ง หลังจากเคยชวนมาวิเคราะห์ถึงการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ ไปเมื่อเอพิโสดแรก

ความน่าจะเป็นรูปแบบใดที่จะเกิดขึ้นบ้าง ฝ่ายใดที่กำลังถือไพ่เหนือกว่า และปัจจัยอะไรที่เป็นตัวชี้วัดผลในการเลือกตั้งครั้งนี้ ตลอดไปจนถึงทำไมประเทศไทยหลังเลือกตั้งต้องเจอกับภาวะสุญญากาศ 60 วัน ถึงจะมีรัฐบาลใหม่ได้ หาคำตอบได้พร้อมกันในเอพิโสดนี้

Chook แอปฯ เดลิเวอรีที่เชื่อว่าอาหารโฮมเมดพิเศษ จนสร้างแพลตฟอร์มให้เชฟที่ไม่มีหน้าร้าน

วันนี้ ที่ออฟฟิศ Urban Creature มีข้าวกลางวันฟรี เป็นเมนูแกงเขียวหวานเนื้อของร้าน ‘บ้านศรีโบว์’ ที่นอกจากจะใช้เนื้อวัวที่ตุ๋นจนเปื่อยเป็นวัตถุดิบหลัก น้ำแกงยังมีสีเขียวกว่าแกงเขียวหวานทั่วไป ไม่ได้ปรุงพลาดหรือใส่เครื่องแกงเยอะเกินไป แต่เป็นสูตรลับเฉพาะของคนทำที่บอกว่า แกงเขียวหวานบ้านเขาต้องเขียวแบบนี้เท่านั้น แกงเขียวหวานของร้านบ้านศรีโบว์ไม่ได้หาซื้อที่ไหนก็ได้ ถ้าไปเสิร์ชในแอปฯ สั่งอาหารทั่วไปคงไม่เจอ ยกเว้นแอปฯ เดียวที่ทางร้านเปิดขายชื่อ Chook Chook คือแอปฯ สั่งอาหารน้องใหม่ที่เปิดตัวในยุคที่ตลาดแอปฯ เดลิเวอรีแข่งขันกันอย่างดุเดือด แต่เอกลักษณ์ที่ทำให้ Chook โดดเด้งมากกว่าแอปฯ ไหน คือการเป็นแอปฯ ที่ขายเฉพาะเมนูโฮมเมดเท่านั้น แกงเขียวหวานของร้านบ้านศรีโบว์ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง ในแอปฯ ยังมีเมนูและร้านอาหารจากครัวประจำบ้านอีกนับร้อยให้เลือกสรร ความน่ารักคือร้านเหล่านี้ไม่ได้มีหน้าร้านจริงจัง และเชฟผู้ปรุงเมนูเหล่านั้นอาจไม่ได้ทำอาชีพเชฟจริงจัง แต่เป็นคนธรรมดาๆ ที่ทำอาหารอร่อย และอยากแชร์สูตรอาหารโฮมเมดในบ้านตัวเองให้คนอื่นกินบ้าง เบื้องหลังแอปฯ ที่ธรรมดาแต่พิเศษนี้เป็นยังไง Vincent Kao ผู้ก่อตั้งแอปฯ มีนัดกับเราที่ออฟฟิศ Urban Creature เพื่อเล่าเรื่องราวทั้งหมดให้ฟัง ไม่ใช่แค่เล่า แต่ชายหนุ่มยังขอเลี้ยงมื้อกลางวัน แน่นอนว่ามันคือเมนูแกงเขียวหวานร้านบ้านศรีโบว์ หนึ่งในเมนูอาหารโฮมเมดซึ่งเปิดขายในแอปฯ ที่เขาสร้างขึ้นมานั่นเอง อาหารประจำครอบครัว “ทุกคนมีเรื่องราวเกี่ยวกับอาหารที่บ้านของตัวเอง” คือประโยคที่จุดประกายให้วินเซนต์ริเริ่มสตาร์ทอัปชื่อ Chook ไม่ต่างจากเราทุกคน […]

Nendo สตูดิโอออกแบบญี่ปุ่น ปิ๊งไอเดียกระป๋องเบียร์สองห่วงดึงฝา ดื่มด่ำรสชาติเบียร์ได้แบบไร้ฟองกวนใจ

ประเทศ ‘ญี่ปุ่น’ ถือเป็นอีกดินแดนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของการกินดื่ม พวกเขาใส่ใจในรายละเอียดและพิถีพิถันกับการออกแบบเครื่องดื่มที่ให้ทั้งความสวยงามน่ามอง และมีฟังก์ชันที่ตอบสนองผู้บริโภคอยู่เสมอ วันนี้เราขอพาไปดูอีกหนึ่งไอเดียอันแสนเรียบง่าย แต่มีประโยชน์มากๆ สำหรับผู้ที่ชอบดื่มเบียร์ แต่เมื่อเบียร์ต้องถูกบรรจุลงในกระป๋อง การเทลงแก้วอาจทำให้เกิดฟองเยอะเกินความต้องการ ‘กระป๋องเบียร์แบบมีสองห่วงดึงฝา’ จึงถูกคิดค้นขึ้น ผู้ที่คิดไอเดียนี้ขึ้นมาคือสตูดิโอออกแบบสัญชาติญี่ปุ่นชื่อว่า ‘Nendo’ ที่ออกแบบกระป๋องเบียร์ให้มีห่วงดึงฝาถึง 2 จุด ที่หากมองจากด้านบนกระป๋องที่ยังไม่ได้ถูกเปิด เราจะพบกับการดีไซน์ที่มีลักษณะคล้ายอีโมจิที่ให้อารมณ์วกวนชวนสงสัย การออกแบบกระป๋องที่มีสองห่วงดึงฝานี้ใช้หลักการแบบโดมิโนคือ เมื่อเปิดจุดแรกออกจะทำให้เกิดฟองจำนวนมาก ผู้ดื่มสามารถเทฟองลงในแก้วได้ตามปริมาณที่ต้องการ จากนั้นก็มาต่อที่จุดสองที่เราจะต้องดึงฝาห่วงเปิดให้สุด คราวนี้จะเป็นคิวการไหลลงมาของเบียร์ ด้วยวิธีนี้ จะทำให้นักดื่มได้พบกับอัตราส่วนเบียร์และฟองประมาณ 7:3 ซึ่งตรงตามกับสิ่งที่เรียกว่าอัตราส่วนทองคำ ทำให้เราสามารถดื่มเบียร์จากกระป๋องได้อย่างสดชื่นตามชอบใจแบบไร้ฟองกวนได้นั่นเอง เป็นอีกหนึ่งไอเดียง่ายๆ ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาจากปัญหาเล็กๆ ที่ผู้บริโภคเจอ และนำมาต่อยอดกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่รองรับความสุนทรีย์ในการดื่มด่ำรสชาติเบียร์ที่ต้องการได้ Source :Designboom | bit.ly/42zOlM7

L’Oréal Group บริษัทความงามที่รักษ์โลกตั้งแต่ต้นทางกระบวนการผลิตไปจนถึงปลายทางผู้บริโภค

ในยุคที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมกัน ลำพังความร่วมมือจากประชาชนตัวเล็กๆ คงไม่เพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงาน องค์กร หรือแบรนด์ใหญ่ๆ จากทั่วโลก ไม่เว้นแม้กระทั่ง ‘อุตสาหกรรมความงาม’ สำหรับ ‘L’Oréal Group’ (ลอรีอัล กรุ๊ป) บริษัทเครื่องสำอางชั้นนำของโลกจากฝรั่งเศส ผู้อยู่เบื้องหลังแบรนด์ดังอย่าง L’Oréal Paris, Garnier, YSL Beauty, La Roche-Posay และแบรนด์อื่นๆ อีกมากมาย ก็มีจุดยืนเรื่องความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้เริ่มต้นและปฏิบัติต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ อีกทั้งยังมีเป้าหมายที่ชัดเจนและเข้มข้นในการยกระดับการทำงานด้านความยั่งยืนและเอาใจใส่ สร้างผลกระทบเชิงบวกให้สังคมและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การทำงานต้นน้ำถึงปลายน้ำของการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ลอรีอัล กรุ๊ปเชื่อว่า ‘ความงามคือพลังสำคัญที่ขับเคลื่อนเรา พลังที่จะช่วยรักษาโลกของเราได้’ เพราะแม้จะไม่ได้ป่าวประกาศความเป็น Green หรือ Clean Beauty ผ่านตราสัญลักษณ์ใดๆ แต่ลอรีอัล กรุ๊ปก็ดำเนินนโยบายในการปรับแนวทางการบริหารจัดการ การผลิต ออกแบบสูตรและบรรจุภัณฑ์บนพื้นฐานของความยั่งยืนมาอย่างยาวนาน บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเคารพต่อ ‘ขีดจำกัดความปลอดภัยของโลก’ (Planetary Boundaries) หรือขีดจำกัดที่โลกสามารถรับไหวไว้อย่างชัดเจน คอลัมน์ Sgreen ขอพาไปรู้จักดีเทลเบื้องหลังของลอรีอัล กรุ๊ปกันให้มากขึ้น ว่าบริษัทเครื่องสำอางมาตรฐานระดับโลกจากฝรั่งเศสที่มีอายุยาวนานถึง 114 ปี […]

1 75 76 77 78 79 355

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.