LATEST
Treetop Walkway ทางเดินบนยอดไม้ วิวทะเลสาบในนอร์เวย์ กับดีไซน์ที่ทุกคนใช้งานได้อย่างทั่วถึง
เนื่องจากปริมาณพื้นที่สีเขียวลดน้อยลง ทำให้การเข้าถึงธรรมชาติเป็นเรื่องที่ยากขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะการผจญภัยเพื่อพิชิตธรรมชาติบนยอดเขาและชมวิวทิวทัศน์แสนสวย ก็ยิ่งเป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ยากขึ้นไปอีกสำหรับหลายๆ คนที่มีข้อจำกัดทางร่างกาย ด้วยเหตุนี้ บริษัทสถาปัตยกรรมชั้นนำของเดนมาร์กชื่อ EFFEKT จึงออกแบบ ‘Treetop Walkway’ หรือเส้นทางเดินธรรมชาติแห่งใหม่ที่คดเคี้ยวผ่าน Hamaren Activity Park ในเขต Fyresdal ของประเทศนอร์เวย์ขึ้นมา เพื่อให้สถานที่แห่งนี้เป็นเส้นทางธรรมชาติที่เอื้อเฟื้อต่อทุกคนและทุกข้อจำกัด สถาปนิกอธิบายว่า เส้นทางเดินนี้มีลักษณะเป็นไม้กระดานที่มีความยาวราว 1 กิโลเมตรและมีความกว้างราว 2 เมตร ตัวโครงสร้างทางเดินใช้วัสดุไม้สนที่หาได้จากท้องถิ่น จึงทำให้โครงสร้างนั้นกลมกลืนกับป่าสนที่รายล้อมอยู่บนภูเขา นอกจากวัสดุแล้ว สถาปนิกยังได้ร่วมงานกับผู้รับเหมาในพื้นที่ เพื่อคิดค้นระบบอาคารไม้ที่เรียบง่าย ถูกออกแบบให้เป็นไปอย่างธรรมชาติ สอดรับกับลักษณะความโค้งของเนินและสันเขา สร้างขึ้นด้วยงานฝีมือและใช้เครื่องจักรขนาดเล็กที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบ เส้นทางธรรมชาติแห่งนี้ตั้งอยู่เหนือพื้นป่าราว 15 เมตร เลาะเลียบไปกับริมทะเลสาบ Fyresvatn และขยายออกเป็นระเบียงในบางจุดเพื่อเป็นพื้นที่พักผ่อน ทำให้นักเดินทางผู้มาเยือนเดินรับแสงแดดและปะทะสายลมเย็นๆ พร้อมสัมผัสยอดไม้ตลอดทางเพื่อมุ่งไปสู่ยอดเขา Klokkarhamaren ซึ่งเป็นเนินเขาที่มีความสูง 338 เมตร เมื่อถึงปลายทางเราจะพบกับจุดชมวิวทรงกลมขนาดใหญ่ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 50 เมตร ทำให้ได้ชมภาพของป่าสน ชื่นใจไปกับทะเลสาบใสสะอาด และรูปทรงของหินที่ก่อตัวเป็นภูมิทัศน์ธรรมชาติได้แบบ 360 องศา ที่สำคัญเส้นทางเดินธรรมชาติแห่งนี้ตั้งใจออกแบบให้ระดับของพื้นเกิดความลาดเอียง เพื่อให้ทุกคนไม่ว่าจะคนเดิน […]
Pollution แม่น้ำมลพิษ
ผลงานภาพถ่ายที่นำเสนอเรื่องราวของมลพิษทางน้ำจากการที่คนทิ้งขยะลงในคลอง ด้วยเทคนิค ‘Film Soup’ ที่นำฟิล์มไปแช่น้ำเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาบนแผ่นฟิล์ม โดยเราได้นำน้ำจากคลองลาดพร้าว ซึ่งเป็นคลองที่มีปัญหามลพิษทางน้ำร้ายแรงที่สุดแห่งหนึ่งมาใช้ เพื่อเป็นตัวช่วยในการเล่าเรื่องราวถึงสิ่งที่เป็นนามธรรมอย่างมลพิษให้เห็นภาพมากที่สุด ขยะมูลฝอย ถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำ การทิ้งขยะลงในคลองไม่เพียงแต่จะสร้างมลพิษทางน้ำ แต่ยังสร้างมลพิษทางอากาศอีกด้วย อย่างคลองลาดพร้าวที่มีขยะให้เห็นตลอดสาย ซึ่งขยะส่วนใหญ่ เช่น เฟอร์นิเจอร์ โซฟา ฟูก ที่นอน ฯลฯ มักมาจากประชาชนที่อาศัยอยู่ริมคลอง ขณะเดียวกัน หลายคนอาจมองว่าปัญหาขยะในคลองเป็นเรื่องไกลตัว เพราะไม่ได้พักอาศัยหรือต้องใช้เส้นทางสัญจรบริเวณริมคลอง แต่แท้จริงแล้วปัญหานี้ส่งผลกระทบต่อการระบายน้ำในกรุงเทพฯ จนทำให้น้ำท่วมเมืองอยู่บ่อยๆ เราจึงต้องอาศัยความร่วมมือโดยเฉพาะจากชาวบ้านริมคลองให้ช่วยกันงดทิ้งขยะลงในคลอง เพื่อช่วยให้ปัญหาน้ำท่วมลดลงได้
แฟนด้อมได้กรี๊ด หลายชีวิตได้เงิน กับโปรเจกต์จ้างงาน ‘หนึ่ง-ก้าว’ ป้ายโฆษณาจากแรงเดินของคนไร้บ้าน
‘ป้ายโฆษณาศิลปิน’ คือหนึ่งในวัฒนธรรมของแฟนด้อมที่เหล่าแฟนคลับรวมใจจัดทำขึ้นเพื่อศิลปินที่ชื่นชอบในโอกาสต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโปรโมตผลงาน วันเกิด หรือวาระการเฉลิมฉลองต่างๆ โดยมักจะติดตามยอดตึกหรือสถานีขนส่งมวลชนทั้ง BTS, MRT, ป้ายรถเมล์ จนเปลี่ยนมาสู่หลังรถตุ๊กตุ๊กและรถเข็นขายของ ฯลฯ ซึ่งนอกจากเป็นวัฒนธรรมของแฟนคลับแล้ว ยังเกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นด้วย และในเดือนมิถุนายนนี้ เรากำลังจะได้เห็นป้ายโฆษณาศิลปินอีกรูปแบบหนึ่ง จากโครงการที่มีชื่อว่า ‘หนึ่ง-ก้าว’ กับไอเดียป้ายโฆษณาจากกำลังขาของคนไร้บ้าน โดย ‘น้ำ’ หรือ ‘ห่าน’ (เรียกได้สองชื่อ) ผู้เป็นทีมงานหลักของโปรเจกต์หนึ่ง-ก้าว เล่าให้ฟังว่า เธอเป็นแฟนคลับศิลปินที่มองเห็นรูปแบบของป้ายโฆษณาที่เปลี่ยนแแปลงมาโดยตลอด บวกกับการได้เห็นคนตกงานที่กลายเป็นคนไร้บ้านเพิ่มขึ้นในสถานการณ์ช่วงโควิดที่ผ่านมา “ต่อให้รัฐบาลให้เงินเยียวยาคนไร้บ้านก็จริง แต่เป็นเงินที่ให้มาทีเดียวแล้วจบ แท้ที่จริงแล้วเราพบว่าสิ่งที่คนไร้บ้านต้องการคือ ‘การทำงาน’ เพื่อให้ได้เงินมาเลี้ยงชีพตัวเอง เพราะมันคือศักดิ์ศรีของความเป็นคน” ด้วยเหตุนี้ เธอจึงเริ่มค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับตัวป้ายอวยพรศิลปิน และได้มีโอกาสเข้าถึงคนไร้บ้านผ่านการช่วยเหลือของแอ็กเคานต์ @Thamboon888 ที่ส่งมอบอาหารให้กับคนไร้บ้านอยู่เป็นประจำ ในการหาคนไร้บ้านที่พร้อมจะทำงานเพื่อมีชีวิตที่ดีขึ้น หลังจากเปิดให้แฟนคลับที่สนใจเข้ามาจ้างงาน ‘ลุงโนรี’ วัย 77 ปี คือคนแรกที่จะได้ทำงานเดินโปรโมตป้ายศิลปิน โดยเส้นทางแรกจะเดินแถวสยามเซ็นเตอร์แล้ววนมาจบที่สยามสแควร์ ซึ่งน้ำเล่าว่า การทำงานนี้จะใช้เวลาทำงานราว 5 ชั่วโมง เริ่มตั้งแต่ 13.30 – 18.30 น. […]
จะผิดไหม ถ้าพึ่งความเชื่อสายมูฯ ในเมื่อทำเต็มที่แล้วแต่ยังไม่สำเร็จเสียที
‘พี่เปิดประตูมา นึกว่าอยู่ในตำหนักไหนสักแห่ง’ นี่คือคำที่คุณแฟนใช้บรรยายมุมหนึ่งในห้องเล็กๆ ของฉันในย่านเอกมัย ที่มีทั้งหินมงคล (เอาออกไปอาบแสงจันทร์ทุกคืนที่พระจันทร์เต็มดวง), เครื่องหอมกำยาน, เครื่องรางเสริมดวงจากครูบาที่มีชื่อเสียงมากมาย, เทวรูปเล็กๆ ของศาสนาฮินดู รวมไปถึงศาสนาพุทธ พร้อมน้ำและดอกไม้ที่คอยเปลี่ยนถวายอยู่เรื่อยๆ คอนโดฯ High-rise ที่มองออกไปเห็นวิวทิวทัศน์รายล้อมด้วยตึกสูงสไตล์โมเดิร์น รอบๆ เป็นบาร์ฮิปๆ ที่มักมีเสียงวัยรุ่นโหวกเหวกทุกคืน โดยเฉพาะช่วงตี 2 – 3 ข้างนอกคอนโดฯ กับข้างในห้องของฉันช่างเป็นภาพที่ดูไม่เข้ากันเหลือเกิน ‘The growth rate of cities urgently requires that we give attention not merely to design and planningbut also to deeper questions of meaning and purpose.We not only live in the world; […]
‘Recycoex’ แพลตฟอร์มออนไลน์ไทย สำหรับซื้อขายและเข้ารับขยะรีไซเคิล หมดปัญหาแยกขยะแล้วไปไหน
หลายครอบครัวอาจกำลังประสบปัญหา ‘การสะสมขยะที่รีไซเคิลได้’ เพื่อนำไปขายต่อ หรือถ้าจะให้ขนขยะออกไปขายด้วยตัวเอง หลายคนก็อาจไม่รู้แหล่งที่ขยะของเราจะเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้อย่างถูกต้อง วันนี้เราจึงอยากแนะนำให้ทุกคนได้รู้จัก ‘Recycoex’ แพลตฟอร์มที่จะมารับขยะถึงที่และนำขยะเหล่านี้ไปแปลงโฉมใหม่อีกครั้ง Recycoex เป็นแพลตฟอร์มของไทยสำหรับรับซื้อและขายขยะรีไซเคิล โดยขยะรีไซเคิลที่รับซื้อมีทั้งหมด 9 ประเภท คือ ขวดน้ำ PET, กระป๋อง, พลาสติกยืด/อ่อน, กล่องเครื่องดื่ม/แก้วกระดาษ, ถุงขนม/ซองกาแฟ, ขวดแก้ว, พลาสติก HDPE, กระดาษ และเสื้อผ้า รองเท้า ของเล่นต่างๆ ก่อนหน้านี้ กรรมการของบริษัท Recycoex เป็นสถาปนิกที่ทำธุรกิจก่อสร้างที่ผลิตและจำหน่ายไม้เทียม ซึ่งไม้เทียมนี้ส่วนหนึ่งทำมาจากพลาสติก HDPE โดยเป็นการอัปไซเคิลจากขยะรีไซเคิล จึงมีแนวความคิดที่จะรวบรวมขยะรีไซเคิลอย่างไรให้ได้มากที่สุด จึงเกิดเป็น Recycoex สำหรับซื้อขายขยะรีไซเคิลขึ้นมา โดย Recycoex ตั้งใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยจัดการขยะในประเทศไทยผ่านแพลตฟอร์มนี้ เพื่อให้ทุกคนเรียนรู้ประโยชน์และเส้นทางของขยะทุกประเภท เพราะก่อนหน้านี้ ขยะประเภทพลาสติกยืด กล่องนม ถุงขนม เป็นขยะกำพร้าที่รถซาเล้งไม่ค่อยรับซื้อ หรือเป็นขยะพลาสติกที่รีไซเคิลไม่ได้ แต่ทาง Recycoex เลือกที่จะรับซื้อขยะกำพร้าเหล่านี้โดยเฉพาะกล่องนม ก่อนจะนำไปทำเป็นอิฐบล็อกในขั้นตอนต่อๆ ไป เพื่อนำขยะเหล่านั้นกลับมาใช้งานใหม่อีกครั้ง สำหรับการทำงานของแพลตฟอร์มนี้ […]
Makro เปิดตัว ‘Sticker Salva-vidas’ สติกเกอร์แนะนำผลไม้ตามความสุก เพื่อสู้กับปัญหาขยะอาหารในโคลอมเบีย
จากรายงานขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) พบว่า ปัจจุบันปริมาณขยะอาหารทั่วโลกกว่า 40 เปอร์เซ็นต์เป็นผลมาจากผักและผลไม้เหลือทิ้ง ที่ส่วนหนึ่งมาจากการจ่ายตลาดโดยไม่มีความเข้าใจต่อวัตถุดิบ เพราะความสุกหรือดิบของผักผลไม้แต่ละชนิดล้วนส่งผลต่อการนำไปประกอบอาหาร เช่น ส้มตำที่ใช้มะละกอดิบ ยำมะม่วงที่ต้องให้รสชาติเปรี้ยวจี๊ด ไปจนถึงข้าวผัดสับปะรดรสชาติกลมกล่อม ซึ่งหากเราเลือกซื้อผักผลไม้ที่ยังสุกหรือดิบไม่พอดี อาจทำให้นำมาใช้ทำอาหารไม่ได้ จนก่อให้เกิดขยะอาหารจำนวนมาก ‘Makro’ และเอเจนซีโฆษณา ‘Grey Colombia’ ได้จับมือกันเปิดตัว ‘Sticker Salva-vidas’ สติกเกอร์สำหรับแนะนำผลไม้ตามความสุกให้แมตช์กับการประกอบอาหารประเภทต่างๆ Sticker Salva-vidas แต่ละชิ้นถูกออกแบบให้มีลักษณะเป็นวงกลมคล้ายโดนัตที่ภายนอกล้อมรอบด้วยการไล่ระดับสี แสดงถึงระดับความสุกที่แตกต่างกัน เพื่อแนะนำความเป็นไปได้ในการทำอาหารที่หลากหลาย รวมถึงมีรูตรงกลางเพื่อเปรียบเทียบกับสีจริงของผักผลไม้ อาทิ กล้วย มะม่วง มะละกอ อะโวคาโด และมะเขือเทศ Makro และ Grey Colombia หวังว่าสติกเกอร์อัจฉริยะเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ขยะอาหารจากผักและผลไม้ภายในประเทศลดลง และทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อของสดได้อย่างรอบคอบมากขึ้น รวมไปถึงให้ความรู้แก่ลูกค้าเกี่ยวกับวิธีการใช้ผักและผลไม้ในระดับความสุกที่ต่างกัน ปัจจุบันผักและผลไม้ที่มีการติดสติกเกอร์ Sticker Salva-vidas ถูกวางขายเฉพาะวันพุธและวันอาทิตย์บน Makro ในประเทศโคลอมเบีย เพื่อเป็นการนำร่องโครงการ และตรวจสอบปริมาณขยะที่ลดลงเมื่อเทียบกับวันอื่นๆ ในสัปดาห์เดียวกัน ก่อนที่ในอนาคตอาจมีการขยายวันเพิ่มเติมออกไป Sources : DesignTAXI | […]
Mamkkeot House สนามเด็กเล่นที่ไม่มีเครื่องเล่นในเกาหลีใต้ พื้นที่ที่สร้างให้เด็กๆ ได้เล่นสนุกอย่างเป็นอิสระ
ในยุคที่เทคโนโลยีทันสมัยมากขึ้น เมืองขยายตัวขึ้น พื้นที่ที่เด็กๆ วิ่งเล่นได้อย่างอิสระกลับลดลงอย่างเห็นได้ชัด เพื่อแก้ปัญหานี้ บริษัทสถาปนิกในเกาหลีใต้ชื่อ ‘ilsangarchitects’ จึงสร้าง ‘Mamkkeot House’ หรือสนามเด็กเล่นที่ไม่มีเครื่องเล่นขึ้นมา เพื่อให้เด็กๆ ได้มีพื้นที่เล่นสนุกอย่างเต็มที่ โดยสถาปนิกเล่าว่า โครงการนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างเมืองจอนจู (Jeonju) และองค์การยูนิเซฟ (UNICEF) เพื่อเปลี่ยนสระน้ำกลางแจ้งที่ถูกทิ้งร้างนาน 30 ปีให้กลับมามีชีวิตชีวาและกลายเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับเด็กๆ ในเมืองอีกครั้งหนึ่ง สระน้ำร้างใน Doekjin Park สวนสาธารณะกลางเมืองจอนจู ถูกชุบชีวิตใหม่จนกลายเป็นสนามเด็กเล่น Mamkkeot House ซึ่งจุดเด่นของที่นี่ไม่ได้อยู่ที่ตัวสถาปัตยกรรม แต่อยู่ที่ภูมิทัศน์มากกว่า เพราะสถาปนิกของโครงการตั้งใจออกแบบให้ Mamkkeot เป็นพื้นที่วิ่งเล่นขนาดใหญ่มากกว่าที่จะเป็นเพียงอาคารหลังหนึ่ง แม้ตัวอาคารจะเป็นพื้นที่ส่วนน้อยของโครงการ แต่ก็ถูกออกแบบมาอย่างประณีต โดยเลือกใช้โครงสร้างไม้ Glulam ทรงจั่วครอบบนทางเดินชั้นลอยเพื่อสร้างร่มเงา รวมถึงทำหน้าที่เป็นราวจับที่เพิ่มความปลอดภัย รองรับการเล่นที่หลากหลาย ส่วนพื้นที่ใช้สอยหลักทั้งชั้นบนและชั้นล่างยังถูกออกแบบให้เป็นห้องกระจกที่ปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ตามความต้องการของชุมชน นอกจากนี้ การออกแบบ Mamkkeot House ยังตั้งใจลดพื้นที่ในร่มให้เหลือน้อยที่สุด และทำให้พื้นที่ในร่มรู้สึกเหมือนอยู่กลางแจ้ง รวมถึงพยายามทำให้เด็กได้สัมผัสภาพและเสียงของสิ่งแวดล้อมรอบตัว โดยการสร้างพื้นที่โล่งที่เปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้เชื่อมต่อกับโลกนอกห้องเรียน สามารถวิ่งเล่นเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระและมีข้อจำกัดน้อยที่สุด Source :ArchDaily | […]
สำรวจ ‘จะนะ’ ผ่าน ‘Voice of Chana’ แพลตฟอร์มข้อมูลจาก Greenpeace ที่จะทำให้รู้จักจะนะมากกว่าแค่ข่าวนิคมฯ
เมื่อปี 2562 โครงการ ‘นิคมอุตสาหกรรมจะนะ’ ได้ผ่านมติพิจารณาของคณะรัฐมนตรี โดยเป็นโครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ที่ประกอบด้วยโรงไฟฟ้า ท่าเรือน้ำลึก และโซลาร์ฟาร์ม ซึ่งดูเหมือนว่าโครงการนี้จะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมของชาวจะนะมากกว่าช่วยพัฒนาพื้นที่โดยรอบ จากเหตุการณ์นี้ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวของกลุ่มจะนะรักษ์ถิ่น และกระแส #saveจะนะ บนแพลตฟอร์มโซเชียล จนทำให้ปัจจุบันโครงการถูกชะลอออกไปจนกว่าการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์จะเสร็จสิ้น หากสงสัย อยากทำความเข้าใจ และหาข้อมูลเพิ่มเติมว่า การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมที่จะนะนั้นจะส่งผลกระทบอะไรบ้าง และทำไมชาวบ้านถึงออกมาเรียกร้องปกป้องบ้านเกิด Urban Creature ชวนไปติดตามข้อมูลทั้งหมดจาก ‘Voice of Chana’ Voice of Chana เป็นแพลตฟอร์มที่ชาวจะนะและกรีนพีซ (Greenpeace) ใช้เวลากว่าสองปีในการรวบรวมข้อมูลและศึกษาผลกระทบของโครงการนิคมฯ ที่อาจเกิดขึ้น ทั้งต่ออาชีพ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ ก่อนจะนำมาย่อยเพื่อเล่าใหม่ให้เข้าใจง่าย โดยใช้วิธีเล่าข้อมูลด้วยภาพ (Data Visualization) รวมไปถึงเป็นช่องทางการส่งเสียงของชาวจะนะให้สังคมได้รับรู้ว่าชาวบ้านไม่ได้จะขัดขวางการพัฒนา เพียงแต่ต้องการอยู่ในบ้านเกิดของตนเองภายใต้สภาพแวดล้อมที่ดี และมีสิทธิ์มีเสียงในการออกแบบการพัฒนาบ้านเกิดของตนเองด้วยเช่นกัน ตามไปสำรวจชีวิตชาวจะนะและผลกระทบของนิคมอุตสาหกรรมได้ที่ : voiceofchana.greenpeace.org
Wastic Thailand แบรนด์แว่นตากันแดดอัปไซเคิลที่เชื่อว่าเรามีไลฟ์สไตล์ชิกๆ ได้พร้อมกับการช่วยโลก
Wastic Thailand คือแบรนด์สินค้าอัปไซเคิลจากขยะพลาสติกที่อยากหลุดออกจากกรอบเดิมๆ ของสินค้ารักษ์โลก ตั้งแต่ชื่อ Wastic ที่มาจากคำว่า Waste กับ Plastic ตั้งใจให้อ่านออกเสียงว่า วาส-ติก ไม่ใช่ เวส-ติก เพราะไม่อยากให้ลูกค้านึกถึงภาพขยะเมื่อได้ยิน นอกจากชื่อ ผู้ก่อตั้งทั้ง 4 อย่าง กมลชนก คล้ายนก, รสลิน อรุณวัฒนามงคล, สินีนาฏ จารุวาระกูล และ อริสรา พิทยายน ยังเชื่อว่า สินค้ารักษ์โลกไม่จำเป็นต้องมีดีไซน์เรียบง่ายหรือดูออกว่าทำจากวัสดุอะไรเสมอไป แต่สามารถชิกได้ เปรี้ยวได้ เป็นสินค้าที่ให้สายแฟฯ สวมใส่ในชีวิตประจำวันได้อย่างมั่นใจ แว่นกันแดดของ Wastic คือตัวอย่างที่ยืนยันความเชื่อนั้นได้ดี ซึ่งก็ไม่ได้สักแต่ว่าจะดีไซน์ให้เก๋ไก๋ แต่สินค้าตัวแรกของพวกเธอยังสื่อสารเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมได้ในตัวมันเอง อย่างสีทั้ง 3 ของตัวแว่นกันแดดเองก็ได้แรงบันดาลใจมาจากบรรยากาศของทะเล ซึ่งเป็นหนึ่งในสถานที่ที่ได้รับผลกระทบจากขยะพลาสติกมากที่สุด คอลัมน์ Sgreen คราวนี้ ชวนคุณไปคุยกับกมลชนก หนึ่งในผู้ก่อตั้งแบรนด์ ฟังเธอเล่าเบื้องหลังการคิดค้นสินค้าที่เลอค่าทั้งรูปลักษณ์และเป้าหมาย ขั้นตอนกว่าจะเป็นแว่นกันแดดอันแรก ไปจนถึงความเชื่อที่ว่าสินค้าอัปไซเคิลก็ชิกได้ ใส่แล้วไม่อายใคร From Plastic to […]
Urban Eyes 40/50 เขตวังทองหลาง
ในที่สุดโปรเจกต์ Bangkok Eyes ก็เดินทางมาถึงหลักไมล์ที่ 40 จากทั้งหมด 50 เขตของกรุงเทพฯ แล้ว ที่ผ่านมาการพกกล้องออกจากบ้านไปลงพื้นที่แต่ละเขตได้กลายเป็นกิจกรรมที่ผมรอคอยและเอนจอยทุกครั้ง เพราะต่อให้เหนื่อยและร้อนขนาดไหน แต่หลังจากเห็นมุมแปลกใหม่ของกรุงเทพฯ และได้ภาพถ่ายสตรีทสวยๆ มานำเสนอให้ทุกคนชม ก็ทำให้ผมหายเหนื่อยไปได้ อีกอย่างการทำโปรเจกต์ที่ยาวนานชิ้นนี้ก็เป็นการท้าทายความสามารถและความอดทนของตัวเองด้วย เขตวังทองหลางคือเขตที่ผมเลือกมานำเสนอในบทความชิ้นที่ 40 แม้เขตนี้จะเป็นเขตที่ผมเดินทางผ่านไปผ่านมาบ่อยๆ แต่ก็ยังไม่เคยไปเดินสำรวจทำความรู้จักเขตนี้อย่างจริงจัง แน่นอนว่าเขตนี้มีถนนลาดพร้าวตัดผ่าน ทำให้การจราจรค่อนข้างติดขัด แถมยังมีการก่อสร้างถนนอีก เนื่องจากรถไฟฟ้าสายสีเหลืองเพิ่งเปิดให้ทดลองใช้กัน พื้นที่ใต้รางรถไฟฟ้าจึงยังเก็บงานได้ไม่ครบถ้วน แต่ก็ดีใจกับคนเขตนี้ที่มีขนส่งสาธารณะเพิ่มมาเป็นอีกทางเลือกการเดินทาง วัดสามัคคีธรรม (หลวงปู่หล่ำ) ━ เราชอบสถาปัตยกรรมของที่นี่ ทั้งวัดและรูปปั้นต่างๆ ลงสีได้เข้มและชัดเจน มีรายละเอียดตามสถาปัตยกรรมที่สวยงาม แถมยังแบ่งเป็นฝั่งวัดไทยและวัดจีน โชคดีที่เราเดินทางไปในช่วงเวลาที่นักเรียนกำลังเลิกเรียน ทำให้มีซับเจกต์ที่หลากหลาย ทั้งผู้ปกครองและนักเรียน ตลาดนัดร่ำรวย ━ ตลาดเล็กๆ ที่มีของกินเยอะมาก ช่วงเวลาที่เราไปนั้นแดดออกพอดี ทำให้มีช่วงหนึ่งที่ตัวร้านเอากันสาดสีชมพูมาปิด ผสมผ้าที่ปิดร้านนิดๆ บังแผงขายของหน่อยๆ เหมือนรอให้เราเข้าไปถ่ายรูป Imperial World และ Big C (ลาดพร้าว) ━ ห้างฯ เก่าแก่ที่ยังมีร้านค้าจำนวนมากขายของอยู่ข้างใน […]
‘Tactical Urbanism’ โครงการปรับพื้นที่ถนนในบาร์เซโลนา ที่ใช้กราฟิกลายพื้นเมืองชวนให้คนเดินเท้ากันมากขึ้น
หลายประเทศทั่วโลกกำลังประสบปัญหามลพิษทางอากาศและเสียงที่เกินเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก จากพาหนะที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลสัญจรกันไปมา โดยหลายพื้นที่ในเมืองบาร์เซโลนาเองก็กำลังเผชิญปัญหานี้อยู่เหมือนกัน รวมไปถึงการใช้ชีวิตในเมืองที่เร่งรีบยังส่งผลให้การพบปะสังสรรค์หรือหาพื้นที่พักผ่อนในเขตเมืองนั้นเป็นไปได้ยาก ‘Arauna’ สตูดิโอออกแบบกราฟิกในเมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน จึงเสนอวิธีแก้ปัญหาด้วยการเปลี่ยนฟังก์ชันถนนที่ทำได้อย่างรวดเร็วและไม่แพง เพื่อสร้างความมีชีวิตชีวา เรียกคืนพื้นที่ในเมือง พร้อมกับสร้างประโยชน์ให้ประชาชน ผ่านการสร้างถนนที่เป็นมิตรกับคนเดินถนนมากขึ้น และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีโดยทำให้เป็นพื้นที่สำหรับการเดินเล่นและพักผ่อนได้ ทั้งหมดที่กล่าวมาคือรายละเอียดของโครงการ ‘Tactical Urbanism’ ที่ทั้งเพิ่มพื้นที่ในการเดิน เติมเต็มพื้นถนนด้วยกราฟิกสีสันสดใส เพื่อชวนให้คนมาเดินกันมากขึ้น Arauna ได้คิดค้นระบบกราฟิกโดยใช้เวลาในการออกแบบลายและเทคนิคการลงสีสร้างองค์ประกอบต่างๆ อย่างพิถีพิถัน เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ความต้องการ และบริบทอันหลากหลายที่สามารถเกิดขึ้นได้ภายในพื้นที่เหล่านี้ กราฟิกที่ปรากฏบนพื้นนั้นมีที่มาจากหินปูพื้นแบบดั้งเดิมของบาร์เซโลนาที่เรียกว่า ‘Panot’ ซึ่งถูกนำมาใช้สร้างทางเท้าของเมืองตั้งแต่ปี 1906 โดยทีมออกแบบของ Arauna นำลายเหล่านี้มาทาสีให้กลายเป็นภาพกราฟิกลงบนพื้น โดยไม่ลืมที่จะนึกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของถนนแต่ละสาย ละแวกบ้าน และหัวมุม นำไปสู่การปรับกราฟิกให้เข้ากับความต้องการและบริบทที่หลากหลายของพื้นที่ในเมืองแต่ละแห่ง นอกจากนี้ Arauna ยังเสนอให้สลักชื่อถนนบนทางเท้าทั่วบาร์เซโลนา เพื่อนำทางและเป็นหมุดหมายให้คนเดินเท้า แทนที่จะใช้ป้ายชื่อถนนที่ออกแบบมาสำหรับผู้ขับขี่รถยนต์เพียงอย่างเดียว ซึ่งทีมออกแบบก็ได้ใช้ส่วนประกอบจาก Panot ประดิษฐ์ตัวอักษรในรูปแบบที่หลากหลายให้กลายเป็นอักขระแต่ละตัว เพื่อใช้ระบุถึงการใช้พื้นที่สาธารณะ ชื่อถนน โรงเรียน และอื่นๆ Sources :Barcelona Secreta | tinyurl.com/3tbr2wh8Designboom | tinyurl.com/3tnwrmc3
ชีวิตแบบ Spider-Neighbor ฮีโร่ของไทย เพื่อนบ้านคนใหม่ใน Bangklyn (Earth-112)
ติดตาม ‘Spider-Man’ มาตั้งแต่เวอร์ชันแรก ไม่เคยคิดเลยว่าจะมีฮีโร่คนนี้อยู่ในจักรวาลอื่นๆ ด้วย แต่ ‘Spider-Man : Across the Spider-Verse’ ก็ทำให้เราได้เห็นแล้วว่า ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหนบนจักรวาลนี้ ก็สามารถเป็นฮีโร่แมงมุมได้ด้วยเหมือนกัน พอได้เห็น Spider-Man ในภาพที่แตกต่างกันออกไปมากมายแล้วก็แอบนึกสงสัยว่า ถ้าหากมีไอ้แมงมุมในประเทศไทยของเราบ้างจะเป็นอย่างไร จะสามารถเดินทางข้ามตึกโดยเท้าไม่แตะพื้นเหมือนที่นิวยอร์กได้หรือเปล่า หรือจะต้องเผชิญกับรถจำนวนมากบนท้องถนนเหมือนกับที่มุมแบตตันกันนะ คอลัมน์ Urban Isekai ขอพาทุกคนไปติดตาม ‘Spider-Neighbor’ ฮีโร่เพื่อนบ้านที่แสนดีในเวอร์ชันที่ต้องใช้ชีวิตที่เมือง ‘Bangklyn’ กันว่า ในโลกหมายเลข 112 นี้ชีวิตของเขาจะเป็นอย่างไรบ้าง Daily Life : ถึงจะมีตัวช่วยทำให้ชีวิตเปลี่ยนไป แต่การเดินทางก็ยังยากลำบากเหมือนเดิม ครั้งหนึ่ง Spider-Neighbor เคยมีชีวิตธรรมดาเหมือนกับ Spider-Man ในโลกอื่นๆ ก่อนหน้านี้เขาเป็นนักศึกษาที่ใช้เวลาเดินทางในแต่ละวันไม่ต่ำกว่า 1 ชั่วโมง เคยเดินสะดุดฟุตพาทเพราะกระเบื้องไม่เสมอกันจนทำให้เลือดท่วมมาแล้ว แต่หลังจากโดนแมงมุมกัดจนกลายเป็น Spider-Neighbor เขาก็มีตัวช่วยอย่างใยแมงมุมที่ควรจะช่วยร่นเวลาเดินทางในเมืองได้ แต่ด้วยข้อจำกัดหลายอย่างของ Bangklyn ไม่ว่าจะเป็นจำนวนตึกสูงที่มีน้อยและตั้งอยู่ห่างกันจนไม่สามารถโหนตัวข้ามตึกได้ รวมถึงเสาไฟฟ้าและสายไฟระโยงระยางที่กีดขวางการห้อยโหน ทำให้ต้องโหนตัวระดับที่ต่ำและใกล้กับพื้นดิน ซึ่งวิธีนี้ยังเสี่ยงต่อการถูกรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ชนอีกด้วย […]