
LATEST
BANGKOKIAN EP.02
ไหนๆขอเสียงชาวกรุงเทพหน่อยเร้วว!! มาดูกันว่าใครจะมาเม้าท์เรื่องมันส์ๆเกี่ยวกับย่านที่เราอยู่บ้าง มีอะไรอยากบ่น แล้วพวกเขามีวิธีคิดให้ชีวิตแฮปปี้ยังไง ตามมาเลย!
แผงลอย x เมือง
URBAN SOLUTIONS: แผงลอย x เมือง ทางออกของการแก้ปัญหาทางเดินเท้าที่ดีคืออะไร?.กทม. ดำเนินการจัดระเบียบทางเดินเท้ามาตั้งแต่ปี 2557 หลากหลายแนวทางแก้ไขปัญหาถูกเสนอให้นำไปใช้ หนึ่งในนั้นคือ “การจัดสรรพื้นที่ให้พ่อค้าแม่ขาย” ได้มีที่ทางเฉพาะในการขายของ ซึ่งตอนนี้เริ่มเปิดให้บริการไปบ้างแล้ว เช่น บริเวณข้างห้างโลตัส ใกล้สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน พื้นที่ 1,000 ตร.ม. รองรับผู้ค้าได้ 84 แผงค้า, บริเวณลานจอดรถข้างสวนลุมพินี พื้นที่ 500 ตร.ม. รองรับผู้ค้าได้ 128 แผงค้า, บริเวณหน้าภัตตาคารกุ้งหลวง พื้นที่ 700 ตร.ม.รองรับผู้ค้าได้ 48 แผงค้า และซอยข้างโรงพยาบาลเจ้าพระยา พื้นที่ 200 ตร.ม. รองรับผู้ค้าได้ 20 แผงค้า ซึ่งเริ่มทำการไปแล้วเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2560.นอกจากนี้ ยังเตรียมพื้นที่รองรับผู้ค้าในเขตอื่นๆ อีก ไม่ว่าจะเป็นสวนป่าวิภาวดีรังสิต เขตดินแดง ตั้งแผงค้าได้ 150 แผง, บริเวณสำนักงานเขตบางนา ตั้งแผงค้าได้ […]
URBAN VISION X SHMA SOEN
URBAN VISION : “คุณภาพชีวิตคนเมืองในอนาคต คุยกับ Shma SoEn กลุ่มนักออกแบบเพื่อส่วนรวมที่เชื่อว่าเมืองและที่อยู่อาศัยที่ดีต้องไม่ดีด้านเดียว”
Green Corner Of Ratchathewi
เมื่อวันเวลาเปลี่ยนไปธรรมชาติก็ถูกกลืนกินด้วยความทันสมัยพื้นที่สีเขียวกลายเป็นสิ่งที่ใครๆก็ต่างโหยหา แต่จะดีแค่ไหนถ้าเราได้อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติเพียงแค่คุณก้าวเท้าออกจากห้องก็สามารถสัมผัสกับธรรมชาติภายในที่อยู่อาศัย
The Bitter-Sweet Story : หวานเป็นลมขมเป็นยา เปิด “บ้านหมอหวาน” ยาแผนโบราณ เป็นตำนานตั้งแต่รุ่นทวด
ไขความลับต้นตำรับยาไทย ลัดเลาะตามกลิ่นสมุนไพร มาพบ “บ้านหมอหวาน” ร้านขายยาโบราณอายุกว่าร้อยปี ที่ซ่อนตัวอยู่ในย่านเสาชิงช้า ฟังเรื่องราวจาก “คุณเอ๊ะ-ภาสินี ญาโณทัย” ทายาทรุ่น 4 ที่จะพาเราหวนอดีตกลับไปสมัย ร. 5 และนำเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเรื่องสมุนไพรไทยมาเล่าสู่กันฟัง
Active River Station : จูงมือลงเรือลำเดียวกัน ร่วมคิด ร่วมสร้าง “สถานีเรือเพื่อทุกคน”
“ท่าเรือ” ที่เราใช้ทุกวันนี้เป็นอย่างไร? เท่าที่เห็นกัน คงมีชำรุดหรือบางที่ก็ดีไซน์มาไม่ตอบโจทย์สำหรับคนทุกกลุ่ม เราจึงมีแนวคิดดีๆ จากเหล่า “คนเข้าท่า” มานำเสนอ กับโครงการ “Active River Station – สถานีเรือเพื่อทุกคน” ที่ต้องการสร้างสถานีเรือรูปแบบใหม่ให้คนเมืองได้ใช้
Guide To Better Living : “วัชรพล” ย่านน่าอยู่ บ้านน่าอยู่
ชีวิตคนเมืองในวัยที่ต้องมีภาระมากขึ้น ต้องเจอความเครียดจากงาน หรือสภาวะแวดล้อมในเมือง สิ่งที่เราต้องการ คือการพักผ่อนในสถานที่ที่เราอยู่แล้วสบายใจ ความฝันของหลายคนจึงอยากมีบ้านสักหลังในทำเลน่าอยู่ อย่าง “วัชรพล”
Better City Starts With a “Good Walk” : ภารกิจเปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้ย่านของเราเป็น “เมืองเดินได้-เมืองเดินดี”
กรุงเทพฯ เมืองที่หลายคนรักแต่อีกใจหนึ่งก็เกลียด ขึ้นชื่อเรื่องไฟแดงนานและไฟเขียว 3 วิ เอาล่ะ วันนี้ไม่ได้จะมาบ่นกรุงเทพฯ แต่เรามีแนวคิดดีๆ ให้ชาวกรุงเทพฯ เปลี่ยนมาใช้การเดินเท้าแทนการขับรถ ซึ่งก่อนที่แต่ละย่านจะสามารถเป็น “เมืองเดินได้-เมืองเดินดี” ก็มีสิ่งที่ต้องปรับเปลี่ยนมากกว่าแค่ทางเท้า
URBAN SOLUTION : Public Service Booth ตู้สาธารณะ กดปุ๊บ ชีวิตง่ายปั๊บ
เบื่อมั้ย? ออกจากบ้านแต่ลืมพกร่ม ฝนตก แบตฯ หมด แถมยังหอบหิ้วของพะรุงพะรัง ครั้นจะไปขอชาร์จตามร้านก็เกรงใจ แถมบางที่ยังผิดกฏหมายอีกต่างหาก หลายครั้งในชีวิตประจำวันเราต้องเจอกับเหตุการณ์สุดเซ็งเหล่านี้ ที่แม้จะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็ทำให้ใช้ชีวิตสะดุดได้เหมือนกัน ในหลายประเทศก็มีไอเดียดีๆ มาช่วยแก้ปัญหาหงุดหงิดใจของคนเมือง ตามไปดูไอเดียตู้สาธารณะในต่างประเทศที่เราต้องร้องว้าว! ให้กับตู้กดขายของอัตโนมัติ ไปจนถึงตู้ให้บริการสุดเจ๋ง แถมยังมองหาได้ทั่วเมือง ไม่ว่าจะเป็นสถานีรถไฟฟ้า จุดต่อรถ หรือตามท้องถนน แล้วมองย้อนกลับมาดูประเทศเราสิว่า มีเทคโนโลยีอะไรที่น่าสนใจบ้าง รับรองว่าตู้เหล่านี้จะช่วยให้ชีวิตคุณง่ายขึ้นไหลลื่นเลยล่ะ How does it help? | ตู้สาธารณะ ตัวช่วยคนเมือง สังเกตไหมว่า? ตามเมืองใหญ่ที่มีประชากรเยอะ ผู้คนใช้ชีวิตเร่งรีบ และก้มหน้าก้มตาทำงาน จึงต้องมีตู้สาธารณะกระจายอยู่ทั่วเมือง แทนที่จะจ้างคนมาให้บริการ โดยเฉพาะ “ญี่ปุ่น” นักสังคมวิทยาและนักเศรษฐศาสตร์ ก็ได้ให้เหตุผลที่ว่า “ทำไมญี่ปุ่นถึงได้มีเจ้าตู้กดนี้อยู่มากมาย จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของเมือง” 1. ไม่ต้องจ้างแรงงานคน ในประเทศที่อัตราการเกิดต่ำ เป็นสังคมผู้สูงอายุ และไม่ค่อยเปิดรับแรงงานต่างด้าว เป็นปัจจัยให้ญี่ปุ่นขาดแคลนแรงงาน ค่าจ้างแรงงานก็พุ่งสูงไปด้วย แต่ตู้อัตโนมัติเหล่านี้ไม่ต้องใช้พนักงานเลยแม้แต่คนเดียว 2. ประหยัดพื้นที่ ญี่ปุ่นมีประชากรมากถึง 127 […]
“อุ๋ย นนทรีย์” ผู้กำกับ | จักรยาน | เมือง | ท้องถนน | และโอเค เบตง
ย้อนกลับไปเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว มีภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่ได้รับการพูดถึงอยู่ไม่น้อย ด้วยการถ่ายทอดเรื่องราวผ่าน ‘ทิดธรรม’ เกี่ยวกับการใช้ชีวิตร่วมกันระหว่างชาวไทยพุทธและชาวมุสลิมในชายแดนใต้ของไทย ซึ่งแวดล้อมไปด้วยวัฒนธรรม วิถีคนท้องถิ่น ความรุนแรง และความไม่สงบในอำเภอเบตง, ยะลา
Hidden Gem in Old Town : ลัดเลาะย่านฮิป นานา-เยาวราช-ทรงวาด ยลถิ่นเก่ากลิ่นอายโคโลเนียล
ณ ที่แห่งนี้มีอะไรซ่อนอยู่ Urban Creature จะพาไปเดินเที่ยวย่านเมืองเก่า “นานา-เยาวราช-ทรงวาด” แหล่งแฮงก์เอ้าท์สุดฮิปที่เป็นดั่ง Hidden Gem ใจกลางกรุงเทพฯ ดื่มด่ำบรรยากาศสุดชิล ไม่ว่าจะเป็นคาเฟ่ ร้านดอกไม้ แกลเลอรี่ และบาร์ ดูตึกรามบ้านช่องที่แฝงมนต์เสน่ห์สถาปัตยกรรมโคโลเนียล ย่านที่เคยเงียบเหงาถูกปลุกให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง โดยกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ตั้งใจพัฒนาทำเลเมืองเก่า เราจะแวะไปเยี่ยมเจ้าของบ้าน ตั้งแต่ร้านดอกไม้และคาเฟ่สุดฮิป “Oneday Wallflowers”, ทายาทรุ่น 4 ของร้านขายยาโบราณ “บ้านหมอหวาน”, และสองสาวเจ้าของบาร์สุดคูล “Shuu Shuu” เพื่อชวนพูดคุยถึงแพชชั่นที่จะทำให้ตึกเก่าทรุดโทรมเหล่านี้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง ตึกโคโลเนียล มีที่มาจากยุคล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส ฮอลันดา ฝรั่งเศส อังกฤษ ที่เข้ามาสร้างอาคารบ้านเรือนในเมืองขึ้น แม้ประเทศไทยจะไม่เคยเป็นอาณานิคม แต่ก็ได้รับอิทธิพลด้านศิลปะ วัฒนธรรม การแต่งกาย รวมไปถึงสถาปัตยกรรมโคโลเนียล ที่ผู้คนในสมัยนั้นเรียกว่า “ตึกฝรั่ง” ซึ่งแพร่หลายในช่วง ร.5- ร.6 ผสมผสานกับช่างพื้นถิ่น โดยปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาพอากาศและวิถีชีวิตคนไทย หลอมรวมสองวัฒนธรรมจนเกิดเป็นสไตล์ที่มีเอกลักษณ์ สถาปัตยกรรมโคโลเนียลในไทย มีรูปแบบที่หยิบยืมมาจากศิลปะกรีกโรมัน เช่น หน้าต่างวงโค้งเกือกม้า […]
THE STORY BEHIND : ศิลปะของ นักรบ มูลมานัส “พื้นที่ทับซ้อนของวัฒนธรรม”
เมื่องานศิลปะยุค Renaissance ถูกเซาะออกจากการแช่แข็งในบริบทเดิมๆ สู่บริบทการรับรู้ใหม่ในเรื่องของ “Culture” และการอยู่รวมกันในเมือง ที่มีเลเยอร์ของวัฒนธรรมอันหลากหลายทับซ้อนวนเวียนกันอยู่ แต่เหตุไฉนจึงสามารถอยู่ร่วมกันได้ ?