เศร้าแล้วไปไหน ?

ในวันที่รู้สึกเคว้ง เศร้า เหงา อึน ไม่รู้จะทำอะไร หรือไปไหนดี หาที่อยู่ให้อารมณ์ของตัวเองไม่ได้ เราขอชวนไปยังสถานที่ และทำกิจกรรมเหล่านี้ เพื่อปล่อยมู้ด ปล่อยใจให้รู้สึกสบาย 

เรื่องเล่าจากศรีราชาในมุมมองของเด็กถิ่น

“เมืองที่มีเกาะลอยอยู่ในทะเล เมืองท่าที่จะพาคุณไปเกาะสีชัง เมืองที่มีหอนาฬิกา 2 แห่ง เมืองที่ความมั่งคั่งและวุ่นวายกำลังหลั่งไหลเข้ามา” ผมเกิดและโตที่นี่ แม้ว่าจะเข้าไปใช้ชีวิตอยู่ในบางกอกอยู่หลายปี แต่ตอนนี้ผมกลับมาฝังรากลึกอยู่ที่นี่อีกครา ที่นี่คือบ้านของผม

Bangkok Road Signs : สัญลักษณ์กลางถนน เจอแบบนี้ต้องทำไง

เครื่องหมายจราจรคือ “สัญลักษณ์จราจร” ที่ใช้สำหรับควบคุมจราจร มักเป็นสัญญาณแสงไฟ ป้าย ลายต่างๆ เพื่อเป็นตัวกำหนด หรือเป็นข้อบังคับการเคลื่อ นตัวของจราจร ทั้งการจอด การเตือน รวมถึงแนะนำทางจราจรแบ่งเป็ น 3 ประเภทหลักๆ คือ สัญญาณไฟจราจร, ป้ายจราจร และเครื่องหมายจราจรอื่นๆ เช่น เครื่องหมายบนพื้นทาง และขอบทางเท้า

Double – dating : ทำไมบางคนห้ามใจไม่ไหวจนเลือก ‘คบซ้อน’

เพราะหากขาดเธอก็คงเหงา และถ้าขาดเขาก็คงต้องเสียใจ บางคนจึงตัดสินใจแล้วว่าจะไม่เลือกใคร สิ่งที่เรียกว่า “การคบซ้อน” จึงเกิดขึ้นในความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ที่แรกเริ่มอาจมีแค่เราสอง แต่พอเวลาผ่านไปสัก 1 ปี 2 ปี หรือแม้กระทั่ง 10 ปี ก็ตาม กลับมี ‘บุคคลที่สาม’ เพิ่มเข้ามา

Singapore Art Guide : เสพศิลป์ ถิ่นสิงคโปร์

ดินเล่น “สิงคโปร์” ที่ไม่ได้มีแค่ตึกสูงระฟ้า เจ้าเมอร์ไลออน และความก้าวหน้าด้านธุรกิจ แต่ตอนนี้ สิงคโปร์ กำลังผลิดอกออกผลเมล็ดพันธ์ของ “ศิลปะและวัฒนธรรม” ด้วยการสะท้อนผ่านงานศิลปะ และดีไซน์ ซึ่งซุกซ่อนอยู่ตามบ้านเมือง ย่านต่างๆ พิพิธภัณฑ์ ตลอดจนงานเทศกาลศิลปะ สิงคโปร์ จะถูกแต่งแต้มด้วยศิลปะ และความสวยงามของวัฒนธรรมจนชุ่มฉ่ำขนาดไหน เรามีลิสต์สถานที่สำหรับเสพศิลป์ ให้สายอาร์ตไปเติมเต็มแพชชั่นด้านศิลปะวัฒนธรรมที่สิงคโปร์มาฝากกัน

ใจบ้านสตูดิโอ : สตูดิโอสถาปนิก ที่ใช้หัวใจในการฟื้นฟู “คลองแม่ข่า”

ถ้าให้นึกถึง ‘เชียงใหม่’ หมุดหมายปลายทางของใครหลายคน ภาพหน้าบ้านที่เห็นอาจจะเต็มไปด้วยความสวยงาม ที่โดดเด่นทั้งประเพณี วัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ ผู้คนที่เป็นมิตร และสถานที่ท่องเที่ยวมากมายนับไม่ถ้วน แต่น้อยคนนักจะรู้ว่าในรั้วบ้านของชาวเชียงใหม่ มีปัญหาหนึ่งที่คนในพื้นที่เผชิญมายาวนานหลายสิบปี อย่างปัญหาเรื่องน้ำเน่าเสียของ ‘คลองแม่ข่า’ คลองคู่บ้านคู่เมืองของเชียงใหม่ ที่ในอดีตเคยเปล่งประกายด้วยความใสสะอาด เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านสามารถใช้ประโยชน์จากน้ำ หากินด้วยการจับกุ้ง หอย ปลา ปูในคลอง แต่เมื่อเวลาผ่านไปเมืองขยายตัว ความเจริญค่อยๆ แทรกตัวเข้ามา สวนทางกับคลองที่เคยเป็นชีวิตของคนริมน้ำก็ค่อยๆ ตายลงไป จากที่เคยเป็นบ้านของสัตว์น้อยใหญ่ ก็กลายเป็นที่อยู่ของขยะและสิ่งปฏิกูลอื่นๆ แทน จนเมื่อไม่นานมานี้ ปัญหาของคลองแม่ข่าได้ถูกหยิบขึ้นมาปัดฝุ่นอีกครั้ง ด้วยกลุ่มคนทั้งรุ่นเก่า และใหม่ที่เปี่ยมล้นไปด้วยพลังที่อยากจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของเชียงใหม่ให้ดีขึ้น ผ่านโปรเจกต์สุดยิ่งใหญ่อย่าง โครงการ ‘Imagine Maekha’ ที่รวบรวมหน่วยงานจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนมาทำงานร่วมกัน ซึ่ง ‘ใจบ้านสตูดิโอ’ ก็เป็นผู้ร่วมเดินทางกลุ่มหนึ่งที่ขับเคลื่อนโปรเจกต์นี้ การเดินทางมาเชียงใหม่ครั้งนี้ เราดีใจมากที่ ‘คุณอ้อ – แพรวพร สุขัษเฐียร’ หนึ่งในผู้บุกเบิกสตูดิโอออกแบบแห่งนี้มานั่งพูดคุย บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของ ‘ใจบ้านสตูดิโอ’ รวมถึงโปรเจกต์ ‘Imagine […]

ทำความรู้จัก “รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเส้นใหม่” อนาคตพี่ใหญ่ที่เชื่อมทุกย่านเข้าด้วยกัน

ทำความรู้จัก “รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเส้นใหม่” อนาคตพี่ใหญ่ที่กำลังจะเปิดทดลองขึ้นฟรี 5 สถานี จะมีอะไรบ้างและไปทำความรู้จักกับสายสีน้ำเงินให้สนิทขึ้นกันเลย

7 ธุรกิจต้นแบบที่คืนกำไรให้สังคม

แนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise (SE) ถูกนิยามขึ้นครั้งแรกโดยศาสตราจารย์มูฮัมหมัด ยูนุส (Muhammad Yunus) นักเศรษฐศาสตร์ชาวบังกลาเทศเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 2549 7 ธุรกิจต้นแบบที่คืนกำไรให้สังคม คำว่า ธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) คือธุรกิจที่สร้างขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาสังคม สิ่งแวดล้อม และการเงินไปพร้อมๆ กัน โดยใช้การบริหารจัดการที่ดีของภาคธุรกิจมาบวกกับความรู้และนวัตกรรมสังคม มีความยั่งยืนทางการเงิน โดยที่มาของรายได้สามารถอยู่ในรูปแบบการขายผลิตภัณฑ์หรือบริการ การระดมทุนโดยให้ผลตอบแทนแก่ผู้ลงทุน ไปจนถึงการขอรับบริจาค 01 | อภัยภูเบศร พลังสมุนไพรไทยเพื่อคนไทย ‘อภัยภูเบศร’ หรือ สมุนไพรอภัยภูเบศร ชื่อนี้คุ้นหูคุ้นตาคนไทยยิ่งนัก เพราะเลื่องชื่อลือชาเรื่องการใช้สมุนไพร อภัยภูเบศรลงทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจเพื่อสังคมเมื่อ พ.ศ. 2561 ซึ่งนอกจากขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสมุนไพรไทยแล้ว ยังมีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพมาใช้ในการดูแลสุขภาพของคนไทย อีกทั้งในกระบวนการขั้นตอนต่างๆ ล้วนให้ความสำคัญกับสังคมและสิ่งแวดล้อม และผลกำไรมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ถูกนำกลับไปลงทุนซ้ำ เพื่อวัตถุประสงค์ทางสังคมหรือนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม หรือคืนประโยชน์ให้แก่สังคม ปัจจุบัน อภัยภูเบศรยังทำงานร่วมกับเกษตรกรและหมอยาพื้นบ้าน ซึ่งในปีล่าสุดมีการรับซื้อสมุนไพรจากเกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพรนับ 500 ราย รวมกว่า 80 ล้านบาทอีกด้วย […]

S U N T U R ชวนเข้าวัด ทัวร์ไหว้พระ สีลม-สามย่าน “ขอให้ฉันโชคดี”

ช่วงตรุษจีนที่ผ่านมา เผอิญเราไปสะดุดตากับไอเท็มสุดคิ้วท์ของ ‘Suntur Store’ คอลเลคชั่น “ขอให้ฉันโชคดี” ที่มีรูปลักษณ์สุดมินิมอลแต่แฝงด้วยคอนเซปต์เรื่องดวง ที่ดูๆ ไปก็คล้ายการติดสติ๊กเกอร์แก้เคล็ดท้ายรถ “รถคันนี้สีแดง” ที่เชื่อว่าเจ้าของรถจะโชคดี

#ArtxTechforGood ศิลปะ ขยะ เทคโนโลยี โปรเจ็กต์ชวนฉุกคิดถึง ‘คน เมือง และสิ่งแวดล้อม’

“Art x TechforGood” โปรเจ็กต์สุดสร้างสรรค์ที่ The MeshMinds Foundation ร่วมกันคิดกับนักศึกษาจาก ‘LASALLE College of the Arts’ สถาบันการศึกษาด้านศิลปะชั้นนำของประเทศสิงคโปร์ หยิบเอา ‘ขยะ’ ผสานเข้ากับเทคโนโลยีสุดล้ำ แล้วเปลี่ยนเป็น ‘งานศิลปะสุดไฮเทค’ เพื่อสร้างให้เกิดการรับรู้ว่า ของบางสิ่งที่เราทิ้งให้มันเป็นขยะ สามารถนำไปต่อยอดไอเดียทำอะไรได้มากกว่าปล่อยให้มันเป็นขยะล้นโลก โดยโชว์เคสงานศิลปะ 3 รูปแบบ คือ Music, Fine Art และงาน Broadcast Music ให้เข้าไปสร้างประสบการณ์

The Last Emperor “เรื่องราวไร้กาลเวลาของจักพรรดิจีนองค์สุดท้าย”

จอห์นสตันพระอาจารย์ชาวอังกฤษ : “ถ้าเราไม่สามารถพูดสิ่งที่ตั้งใจไว้ได้ เราก็ไม่มีทางทำในสิ่งที่เราพูดไว้ได้ และสุภาพบุรุษควรทำในสิ่งที่พูดไว้เสมอ” พระจักรพรรดิผู่อี๋ : “เราไม่ใช่สุภาพบุรุษเพราะเราพูดในสิ่งที่เราตั้งใจไว้ไม่ได้ พวกเขาให้เราพูดตามที่บอก” หนึ่งในบทสนทนาสุดสะเทือนใจที่ผ่านมาแล้วกว่า 32 ปี กับเรื่องราวของของจักพรรดิจีนองค์สุดท้ายที่ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นภาพยนตร์เรื่อง ‘The Last Emperor’ หรือชื่อไทยที่ว่า ‘จักรพรรดิโลกไม่ลืม’ แต่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปเนิ่นนานเท่าไรประวัติศาสตร์ก็ยังคงชัดเจน ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้ได้สร้างปรากฏการณ์กวาดรางวัลออสการ์ในทุกสาขาที่ส่งเข้าชิงถึง 9 รางวัลเลยทีเดียว โดยเรื่องราวของ The Last Emperor ได้นำพาคนทั้งโลกเข้าสู่พื้นที่ใจกลางกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของสาธารณรัฐประเทศจีนอย่าง พระราชวังต้องห้าม เพื่อติดตามชีวิตของเจ้าชายผู่อี๋ (ปูยี) จักรพรรดิองค์สุดท้ายของแผ่นดินจีน ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้จะเล่าสลับล้อกันไประหว่าง 2 ช่วงเวลา คือเปิดเรื่องด้วยเจ้าชายผู่อี๋ ซึ่งอยู่ในฐานะอาชญากรสงครามโลกที่ต้องเข้ารับการตัดสินโทษ เช่นคนธรรมดาในเรือนจำของรัฐ และอีกช่วงเวลาคือตั้งแต่เจ้าชายผู่อี๋ในวัย 3 ขวบถูกพรากจากครอบครัวมาเข้ารับตำแหน่งจักรพรรดิจีน โดยก่อนพระนางฉือซี (ซูสีไทเฮา) สวรรคตได้ระบุให้เหลนของพระองค์คือเจ้าชายผู่อี๋ เข้ารับราชสมบัติต่อในนามของจักรพรรดิซวนถ่ง เรื่องราวยังคงเดินทางผ่านกาลเวลามาเรื่อยๆ เจ้าชายผู่อี๋เติบโตขึ้นราวกับต้นไม้ที่ถูกเลี้ยงดูขึ้นมาอย่างผิดรูปผิดรอย ในพระราชวังต้องห้ามดั่งกระถางที่เข้มงวดในจารีตประเพณี โดยไม่เคยได้ออกไปเห็นโลกภายนอก ซึ่งความสะเทือนใจของภาพยนตร์เรื่องนี้คือ ถึงแม้ว่าเขาจะเป็นประมุขของประเทศแต่ก็ขาดสิทธิ์แทบทุกอย่างภายใต้กฎมณเฑียรบาลของกษัตริย์ แม้แต่สิทธิ์ในการอยู่กับพ่อแม่ที่แท้จริงก็ตาม ซึ่งจุดเริ่มต้นของเรื่องนี้เขาเองไม่มีโอกาสเลือกเช่นกัน เพราะทั้งหมดล้วนแล้วมีคนขีดเส้นวางชีวิตทุกอย่างไว้ ซึ่งมันได้สะท้อนผ่านการเติบโตของเจ้าชายผู่อี๋ในแต่ละช่วงวัย ทั้งช่วงที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อด้านอารมณ์จากวัยเด็กสู่วัยหนุ่ม หรือช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อทางการเมืองโลกและการเมืองจีนด้วย […]

1 324 325 326 327 328 355

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.