LATEST
Pyra ศิลปินที่ใช้เพลง ‘yellow fever’ บอกชายตะวันตกว่าหยุดหื่นใส่สาวเอเชียค่ะ ขอบคุณ!
Pyra นำทัพพาเปิดโคมแดงที่เต็มไปด้วย ‘Fetish’ ตั้งแต่โชว์ปิงปองด้วยอวัยวะเพศ ไปจนถึงซูชิเปลือยกายที่สลับบทบาทมาเป็น ‘ผู้ชาย’ โดนกันดูบ้าง พร้อมชวนแกะอาการ ‘คลั่งสาวเอเชีย’ ของชายตะวันตก ไปกับผลงานเพลงแนว Dystopian Pop ในเพลง ‘yellow fever’ ที่ไปฟีเจอริงกับสองสาว Ramengvrl ศิลปินฮิปฮอปจากอินโดนีเซีย และ Yayoi Daimon แรปเปอร์จากญี่ปุ่น เพื่อเป็นกระบอกเสียงให้ผู้หญิงทั่วเอเชียว่า ‘อย่าเห็นผู้หญิงเป็นแค่วัตถุทางเพศ’
ตามรอยย่านธุรกิจริมแม่น้ำเจ้าพระยา ‘ตรอกดิลกจันทร์’
เสียงคลื่นจากเรือกระทบฝั่ง ณ ‘ตรอกดิลกจันทร์’ หรือ ‘ชุมชนสมเด็จย่า’ ที่หลายคนคุ้นหู พื้นที่ชุมชนริมน้ำเจ้าพระยาที่ในอดีตย่านธุรกิจการค้าและการส่งออกที่เคยรุ่งเรืองมาเป็นเวลานาน ครั้งที่ประเทศไทยยังมีเส้นเลือดใหญ่เป็นการสัญจรและขนส่งทางน้ำเป็นหลัก ซึ่งส่งผลให้ความเจริญของธุรกิจการค้าขายกระจายตัวอยู่ในย่านนี้เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นโรงน้ำปลา โรงเกลือ โรงสีข้าว โรงทำชันยาเรือ หรือโรงงานทอผ้า ที่ในปัจจุบันแทบไม่หลงเหลือให้เห็นธุรกิจเหล่านั้นแล้ว Urban Creature จึงออกเดินทางไปตามรอยชุมชนเล็กๆ ที่หากมีโอกาสนั่งเรือล่องแม่น้ำเจ้าพระยาจะสังเกตเห็นศาลเจ้าและบ้านเก่าริมน้ำโดดเด่นมาแต่ไกล นั่นแหละคือที่ตั้งของชุมชนตรอกดิลกจันทร์ ที่แม้เรื่องราวความเจริญรุ่งเรืองของการขนส่งสินค้าทางน้ำจะเป็นภาพที่เลือนรางในปัจจุบัน แต่ความทรงจำของผู้คนในชุมชนยังคงชัดเจนอยู่เสมอ ทุกย่านล้วนมีเรื่องราวที่แอบซ่อนอยู่ การออกเดินทางครั้งนี้ของคอลัมน์ Neighborhood จะพาไปลัดเลาะริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านธุรกิจที่เคยคับคั่งทั้งการส่งออกสินค้าทั้งในและต่างประเทศในสมัยที่การเดินทางและการขนส่งสินค้าด้วยเรือยังเป็นเส้นเลือดหลักของประเทศไทย ‘ชุมชนตรอกดิลกจันทร์’ หรืออาจคุ้นหูกันในชื่อ ‘ชุมชนสวนสมเด็จย่า’ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเขตคลองสาน กรุงเทพฯ ไม่ใกล้ไม่ไกลจากสะพานพระปกเกล้าเท่าไหร่นัก หากใครเคยมีโอกาสมางาน Art in Soi เทศกาลประจำปีย่านประวัติศาสตร์ริมน้ำ กะดีจีน-คลองสานแล้วล่ะก็คงคุ้นเคยกับย่านนี้พอสมควร ขณะเดียวกันหลายคนอาจยังไม่เคยได้สัมผัสย่านนี้เท่าไหร่ อาจคุ้นๆ ว่าเคยผ่านไปผ่านมาแต่ไม่เคยได้เข้าไปสักที ครั้งนี้ ‘ชุมชนตรอกดิลกจันทร์’ จะไม่ใช่ทางผ่านที่ถูกลืมอีกต่อไป ชุมชนตรอกดิลกจันทร์ ชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำ ประเทศไทยผูกพันกับสายน้ำมาโดยตลอดจนกลายเป็น ‘สังคมลุ่มแม่น้ำ’ ที่ทำเกษตรกรรม ทำสวน ทำนา เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญทั้งกับภายนอกและภายใน เพื่อทำการค้าขายและส่งออก ขึ้นชื่อว่าสายน้ำย่อมมีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา […]
กำเนิด ‘วินมอเตอร์ไซค์’ แรกของกรุงเทพฯ เส้นเลือดฝอยของคนเมืองที่ต้องพึ่งความแว้นไว
ย้อนรอยประวัติศาสตร์วินมอเตอร์ไซค์แห่งแรกของกรุงเทพฯ สู่อัศวินผู้ทำหน้าที่พาเราไปทุกแห่งหน
อยู่บ้านแล้วเหงา เปิด Imissmycafe.com เว็บไซต์จำลองเสียงในร้านกาแฟ
หนึ่งในกิจกรรมยอดฮิตของคนยุคใหม่ คือการออกไปนั่งทำงานตามร้านกาแฟบรรยากาศดีๆ มีเสียงเพลงคลอเบาๆ เคล้ากลิ่นกาแฟหอมๆ แต่เพราะการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ที่ดูเหมือนว่าจะรุนแรงขึ้น อาจทำให้เดือนสองเดือนต่อจากนี้เราไม่สามารถออกไปใช้ชีวิตข้างนอกเต็มที่เหมือนเคย เราจึงอยากแนะนำเว็บน่ารักๆ ที่ชื่อว่า ‘I Miss My Cafe’ เว็บไซต์ที่จะช่วยแก้เซ็งให้คนที่คิดถึงบรรยากาศคาเฟ่ เมื่อกดเข้าไปทุกคนจะได้เจอกับเสียงจำลองภายในร้านกาแฟ เช่น เสียงเครื่องทำกาแฟ เสียงคนคุยกัน โดยที่ปรับระดับความดังได้ นอกจากนี้ ยังมีเพลงจากในเว็บให้เราเลือกเปิดคลอตามไปด้วยเช่นกัน หรือจะเลือกเพลงโปรดจาก Spotify ก็ได้ วันไหนเหงาๆ ลองเปิดเว็บนี้ขึ้นมา แล้วจำลองบรรยากาศบ้านตัวเองให้เป็นเหมือนคาเฟ่ อาจจะช่วยทำให้เรารู้สึกเบื่อบ้านน้อยลงก็ได้นะ
อุณหภูมิโลกสูงขึ้นทุกปี หรือเราอยู่ในจุดที่ไม่มีทางย้อนกลับ?
ขณะที่โลกหมุนไป ความรุ่งเรืองของยุคอุตสาหกรรมกระจายออกไปทั่วโลก เพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรที่พุ่งสูงขึ้น เป็นสาเหตุสำคัญที่อยู่เบื้องหลังภาวะโลกร้อน
นักศึกษาฝรั่งเศสปิ๊งไอเดีย เปลี่ยนหมากฝรั่งเคี้ยวแล้วเป็น ‘ล้อสเก็ตบอร์ด’ แก้ปัญหาขยะบนท้องถนน
ไม่น่าเชื่อเลยว่า ‘หมากฝรั่ง’ ที่เราหยิบขึ้นมาเคี้ยวเล่นเพลินๆ แล้วคายทิ้งเมื่อหมดรสหวานนั้น ต้องใช้เวลาในการย่อยสลายกว่า 50 ปี Hugo Maupetit และ Vivian Fischer สองนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยในฝรั่งเศส ที่มีแนวคิดจะช่วยดูแลความสะอาดของถนนอย่างยั่งยืน จึงเกิดไอเดียนำหมากฝรั่งที่เคี้ยวแล้วมาแปรรูปเป็นล้อสเก็ตบอร์ด ไอเทมที่กำลังฮิตกันอยู่ตอนนี้ พวกเขาบอกว่าเป็นการนำหมากฝรั่งที่เป็นขยะบนท้องถนนกลับคืนสู่ท้องถนนอีกครั้ง วิธีการคือนำกระดานไปติดทั่วเมืองและในพื้นที่มีคน ทุกคนสามารถนำหมากฝรั่งที่เคี้ยวแล้วมาแปะไว้ ทุกๆ สัปดาห์หมากฝรั่งเหล่านั้นจะถูกรวบรวมและส่งไปที่โรงงานเพื่อผสมพวกมันเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นจึงแบ่งเป็นก้อนเล็กๆ แล้วเอาไปขึ้นรูป ทำเป็นล้อสเก็ตบอร์ด ขยะชิ้นเล็กๆ ใกล้ตัวที่เรามองข้ามจะกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาขยะได้อย่างยั่งยืน Source : Yanko Design | https://bit.ly/3rUuzIw
รัสเซียมีแผนใช้ป่าในประเทศ เป็นศูนย์กลางดักจับมลพิษขนาดใหญ่ ที่คาดว่าดูดซับคาร์บอนฯ ได้ 620 ล้านตัน
ปัจจุบันรัสเซียเป็นผู้ส่งออกพลังงานรายใหญ่ที่สุดในโลก และยังเป็นหนึ่งในผู้ก่อมลพิษมากที่สุดในโลกเช่นกัน ด้วยเหตุนี้เอง รัสเซียจึงมีแผนที่จะใช้ป่าในประเทศ ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าอินเดียถึงสองเท่า หรือคิดเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ป่าไม้ทั้งโลก ให้เป็นศูนย์กลางดักจับคาร์บอนฯ ขนาดใหญ่ โดยคาดว่าจะดูดซับคาร์บอนฯ ได้เกือบ 620 ล้านตันเทียบเท่าปี 2018 ซึ่งเพียงพอที่จะชดเชยการปล่อยมลพิษในประเทศได้ราว 38 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ ยังมีแผนเปิดแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อรวบรวมข้อมูลดาวเทียมและโดรนเกี่ยวกับความสามารถในการดูดซับคาร์บอนฯ ของป่าไม้ในประเทศอีกด้วย หลายฝ่ายมองว่าการปลูกต้นไม้ไม่สามารถช่วยลดคาร์บอนฯ ในชั้นบรรยากาศ พวกเขาแค่ต้องการลบคำครหาที่ว่าเป็นผู้ปล่อยมลพิษรายใหญ่ที่สุดของโลก และต้องการสร้างรายได้โดยการให้องค์กรอื่นๆ เช่าพื้นที่ตรงนี้ เพื่อปลูกป่าชดเชยที่ปล่อยคาร์บอนฯ ค่อนข้างน่าจับตามองว่า หลังจากนี้รัสเซียจะเดินหน้าต่ออย่างไรท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์เหล่านี้ ถ้าพวกเขาทำได้จริงๆ ก็ถือเป็นการช่วยลดภาวะโลกร้อนอีกทางหนึ่ง Sources :Bloomberg | https://bloom.bg/3sZg5IyEarth | https://bit.ly/3wJhaGD
‘มุมเดิม เวลาเดิม ต่างปี’ ชุดภาพถ่ายถนนข้าวสาร 13 เมษาที่หยุดอยู่ที่เดิมเป็นปีที่ 2
“ถนนข้าวสารปีก่อนในวันที่ 13 เมษายนเป็นอย่างไร วันนี้ก็ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ปี 2563 – 2564 ทุกอย่างยังคงเงียบงัน” เป็นปีที่ 2 แล้วที่เราไม่ได้เห็นบรรยากาศคึกคักของเทศกาลสงกรานต์บนถนนข้าวสารแม้ปีนี้พ่อค้าแม่ขายและร้านรวงต่างๆ รอบถนนข้าวสารจะมีการเตรียมตัวจัดงานสงกรานต์เล็กๆ ที่พอจะเป็นไปได้ในช่วงที่โควิด-19 ดูจะซาลงไป แต่ก็ต้องพับทุกความตั้งใจเก็บไว้ เพราะเกิดการระบาดระลอกที่ 3 ในเมืองไทย จึงเกิดเป็นชุดภาพถ่าย มุมเดิม เวลาเดิม แต่ต่างปี ของถนนข้าวสารในเช้าวันที่ 13 เมษายน ที่ไม่ได้มีเสียงหัวเราะและรอยยิ้มมา 1 ปีติดต่อกันแล้ว พบว่าบางสิ่งที่เคยอยู่ตรงนั้น หายไปพบว่าบางสิ่งที่ไม่เคยมี ก็เกิดขึ้นใหม่พบว่าเมืองไทยย่ำอยู่กับที่มาตลอดพบว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น …นอกจากพื้นถนนดีไซน์ใหม่
วิศวกรอเมริกาคิดค้นสีทาบ้านลดอุณหภูมิบนผนังได้ 7 องศา และยังสะท้อนความร้อนออกไปได้ถึง 95.5%
เพราะอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้หลายประเทศออกนวัตกรรมมาช่วยบรรเทาความร้อน อย่าง ‘สีทาบ้านคลายความร้อน’ ที่วิศวกรจากสหรัฐอเมริกากำลังพัฒนาอยู่ตอนนี้ วิศวกรจากมหาวิทยาลัยเพอร์ดู (Purdue University) สหรัฐอเมริกา ได้คิดค้นสีทาบ้านที่จะช่วยลดอุณหภูมิบนพื้นผิวลงได้ 18 องศาฟาเรนไฮต์ หรือประมาณ 7 องศาเซลเซียส นอกจากนี้มันยังสามารถสะท้อนความร้อนออกไปยังชั้นบรรยากาศได้ราวๆ 95.5 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ซึ่งถือเป็นการช่วยลดการสูญเสียพลังงานและลดการปล่อยคาร์บอนฯ จากการใช้ไฟฟ้าในอาคารได้อีกด้วย นักวิจัยที่ร่วมในโครงการนี้ ใช้เวลาพัฒนาสีพิเศษนี้นานกว่า 6 ปี จนได้สูตรที่ลงตัวที่สุด นั่นก็คือการนำแคลเซียมคาร์บอเนตซึ่งพบได้มากในหินและเปลือกหอย มาเป็นส่วนประกอบในการผสมสี เนื่องจากมีคุณสมบัติในการระบายความร้อนได้ดี และที่สำคัญ ไม่ดูดซับรังสียูวีอีกด้วย สีคลายความร้อนนี้ยังอยู่ในขั้นตอนยื่นขอจดสิทธิบัตรและพัฒนาสูตรเพื่อให้พวกมันมีประโยชน์ที่สุด แต่ถ้าออกจำหน่ายเมื่อไร เชื่อว่าไทยจะเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ทำยอดขายสูงไม่แพ้ใครแน่นอน Sources :Cooling Post | https://bit.ly/3mvKf3T Waste-Ed | https://bit.ly/3g0ws3V
Seaspiracy ไม่บอกอะไร เมื่อประมงทำร้ายทะเล แต่ถ้าหยุดกินปลาตามสารคดีก็เป็นหายนะของคนจน
บรรณาธิการบริหารแห่ง Urban Creature บอกทีมในเช้าวันประชุมกองบรรณาธิการว่า “ภายในปี 2048 มหาสมุทรอาจว่างเปล่า ไร้สิ่งมีชีวิต” หลังจากเมื่อคืนพี่แกใช้เวลาจดจ่อกับ Seaspiracy ภาพยนตร์สารคดีใน Netflix ที่ตีแผ่อุตสาหกรรมประมงซึ่งทำร้ายสิ่งมีชีวิตในทะเลไปมหาศาล ทั้งอวนจับปลาที่สร้างขยะและฆ่าสัตว์น้อยใหญ่มากกว่าพลาสติก ปัญหาการจับสัตว์น้ำพลอยได้ที่เน้นกวาดทุกสปีชีส์ในทะเลด้วยอวนขนาดใหญ่ที่คลุมโบสถ์ได้ทั้งหลัง แรงงานทาสที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย ฟาร์มสัตว์ทะเลที่เข้ามาแย่งพื้นที่ป่าโกงกางซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญบนโลกจนเกิด Climate Change รวมไปถึงการชี้ให้ทุกคนหยุดกินปลาเพื่อจบทุกปัญหา หลากเสียงในห้องประชุมเริ่ม “เชี่ย แล้วต้องทำไงวะ” “กูดูจบแล้วอยากเลิกกินปลา” “โหดร้ายว่ะ” “คืนนี้จะกลับไปดู” ขึ้นมาจนกลายเป็นเสียงนอยซ์ เย็นวันนั้น เวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที ฉันใช้ไปกับการดู Seaspiracy พร้อมความรู้สึกหดหู่ที่เกิดขึ้น แต่เดี๋ยวก่อน…หลังจากที่สติแตกไปครู่หนึ่ง อยู่ดีๆ ก็คิดขึ้นว่า “เคยเรียนข่าวมา หาข้อมูลเพิ่มเติมและอัปเดตมันหน่อยเป็นไง” อวนสร้างความเสียหายต่อทะเลมากแค่ไหน การลดใช้พลาสติกไม่จำเป็นเลยหรือเปล่า การจับสัตว์น้ำพลอยได้ต้องเร่งแก้ไขก่อนที่มันจะสูญพันธุ์หรือไม่ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ทะเลส่งผลเสียอย่างไร ตกลงแรงงานทาสในไทยมีอยู่ไหม และการเลิกกินปลาเป็นคำตอบที่ดีจริงหรือในวันที่ชาวประมงพื้นบ้านยังคงเลี้ยงชีพด้วยการหาปลา ทุกคำถาม มีคำตอบ ขอเวลาไม่นาน เพ่งสายตาให้มั่น ไล่อ่านทุกบรรทัด ไปเจาะข้อมูลเอกสารที่สารคดีไม่ได้บอก และความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านประมงในไทยกัน ลุย […]
Form KHONWAN ภาพถ่ายวัดนครสวรรค์ที่ทลายกรอบสีประจำวัด ว่าเป็นอะไรก็ได้ ไม่ใช่แค่ทอง
วัด ที่คุ้นเคยกันมักประกอบด้วยสีทอง เงิน ขาว ส้มอมแดง แต่สีสันของวัดในครั้งนี้ถูกทลายกรอบให้จางลง เมื่อได้เริ่มเก็บภาพถ่ายชุด Form KHONWAN เพื่อนำเสนอภาพความงดงามทางสถาปัตยกรรมของ ‘วัด’ ในจังหวัดนครสวรรค์บ้านเกิด ด้วยความชื่นชอบส่วนตัวด้านการถ่ายภาพสถาปัตยกรรม จึงนำสิ่งนี้มาสร้างสรรค์เป็นผลงาน พร้อมทั้งเรียนรู้ความแตกต่างของเอกลักษณ์ที่สะท้อนผ่านการออกแบบไปในตัว โดยในแต่ละภาพแสดงออกถึงสีสันที่แตกต่างรวมถึงความคิดในสถาปัตยกรรมใหม่ๆ ความพยายามที่จะหลุดออกจากระเบียบแบบแผนดั้งเดิมเพื่อสร้างเอกลักษณ์ ราวกับเป็นการผลิใบและงอกงามครั้งใหม่ของสถาปัตยกรรมอยู่เสมอ “ทุกอย่างล้วนขึ้นอยู่กับเวลา” ภาพชุดนี้สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่เป็นเพียงแค่ปัจจัยภายนอกเท่านั้น ทว่าสิ่งเหล่านั้นยังคงแทรกไปด้วยความศรัทธาที่ปรากฏให้เห็นผ่านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม ติดตามผลงานเพิ่มเติมได้ที่ : @Formthailand
กรุงเทพฯ เป็น 1 ใน 5 เมืองที่พัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่สีเขียวได้ดีที่สุดในโลก ในช่วงการระบาดของ COVID-19
ในขณะที่การระบาดของโควิด-19 ทำให้โลกหยุดชะงักทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ หรือประชากรโลกเอง ทุกอย่างเดินต่อด้วยความยากลำบาก แต่หลายเมืองก็ใช้ช่วงเวลานี้พัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่บางส่วนที่เคยวางแผนไว้จนสำเร็จ World Economic Forum สภาเศรษฐกิจโลกจัดอันดับ 5 เมืองที่มีการพัฒนาและฟื้นฟูสวนสาธารณะในช่วงมีการระบาด ซึ่งแต่ละเมืองก็พัฒนาแตกต่างกันไป ดังนี้ 1. ปารีส ฝรั่งเศส : ปรับปรุง Champs-Élysées ให้กลายเป็นสวนสาธารณะ ลดพื้นที่รถยนต์ เปลี่ยนถนนเป็นทางเดินเท้า และเพิ่มอุโมงค์ต้นไม้เพื่อคุณภาพอากาศที่ดีขึ้น 2. กรุงเทพฯ ไทย : มีแผนสร้างสวนสาธารณะเพิ่ม 11 แห่งในเมือง รวมถึงอุทยานเชิงนิเวศที่มีป่าชายเลน เพิ่มเส้นทางสีเขียวระยะทาง 15 กิโลเมตร และเมื่อมิถุนายน 2563 สวนใหม่ที่เปิดให้เราได้ใช้บริการกันก็คือ ‘สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา’ 3. นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา : เพิ่มต้นไม้ใน Union Square Park และเปลี่ยนเป็นเขตปลอดรถยนต์ 4. ไนโรบี เคนยา : มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น 2 เท่าในช่วงที่มีการระบาด […]