LATEST
หยุดนะ! ป่าล้อมไว้หมดแล้ว สิงคโปร์ยกเขตอนุรักษ์ป่าและพันธุ์สัตว์ มาเป็นพื้นที่สีเขียวใจกลางเมือง
ขณะที่หลายประเทศทั่วโลกหาทางแก้ปัญหาโควิดกันอย่างตึงมือ สิงคโปร์ก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ไม่ปล่อยให้มือว่าง นอกจากรับมือกับสถานการณ์โควิดแล้ว สิงคโปร์ยังประกาศเริ่มโปรเจกต์มากมายที่ช่วยฟื้นฟูภูมิทัศน์เมืองให้เต็มไปด้วยพื้นที่สีเขียวเพื่อให้กลายเป็นเมืองในธรรมชาติ (City in nature) ภายในปี 2030 โปรเจกต์ที่เป็นไฮไลต์เลยคือ ‘Mandai’ แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์ ที่เชื่อมหลายแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ไว้ด้วยกัน ทั้งสวนสัตว์สิงคโปร์ ไนต์ซาฟารี ริเวอร์ซาฟารี จนถึงสวนที่ออกแบบภายใต้แนวคิดอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าอย่าง ‘สวนนก’ ที่ออกแบบมาให้ใกล้เคียงกับแหล่งอาศัยตามธรรมชาติของนกกว่า 400 สายพันธุ์รวมทั้งสายพันธุ์หายากที่โบยบินอย่างอิสระให้นักท่องเที่ยวได้เชยชม และ ‘สวนสัตว์ป่าฝน’ ที่รวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้ในแห่งเดียว ทั้งยังเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์นานาชนิดและศูนย์ช่วยเหลือฟื้นฟูสัตว์ที่บาดเจ็บอีกด้วย ถนน Orchard แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังก็ตกแต่งด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ให้ความร่มเย็นตลอดสายที่เชื่อมไปยังสวนพฤกษศาสตร์และสวนสาธารณะอื่นๆ และอีกโปรเจกต์หนึ่งคือ ‘Jurong Lake Garden’ ที่ถือเป็นโอเอซิสใจกลางเมือง ประกอบไปด้วย 4 โซนใหญ่ๆ ― Lakeside Garden, Chinese Garden, Japanese Garden และ Garden Promenade แต่ละโซนมีจุดเด่นต่างกันไปอย่าง Youth Park ที่มีสนามสเก็ตและสนามจักรยาน อุโมงค์ป่าไผ่ที่ฉ่ำเย็นด้วยไอจากน้ำตก จุดชมโคมพระจันทร์ยามค่ำคืนที่ Moon Lantern Terrace […]
แค่แยกขยะก็ช่วย ‘ขยะกำพร้า’ ได้ NIA ช่วยอุปถัมภ์ขยะมูลฝอย เปลี่ยนขยะเป็นพลังงานทางเลือก
การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คน คนหันมาใช้บริการสั่งอาหารผ่านเดลิเวอรี่มากขึ้น สิ่งที่ตามมาคือขยะพลาสติกแบบ Single-use เช่น ช้อนส้อม ถุงพลาสติก กล่องโฟม แล้วยังมีหน้ากากอนามัยใช้แล้วอีก ขยะเหล่านี้เพิ่มขึ้นทุกวันแต่ไม่ได้รับการจัดการที่ถูกต้อง เพราะไม่มีราคา และไม่รู้วิธีจัดการต่อ สุดท้ายจึงกลายเป็น ‘ขยะกำพร้า’ ที่ไม่มีใครอยากรับไปจัดการ ถูกทิ้งตามลำคลอง ที่รกร้าง ถูกเผาหรือถูกฝังกลบ จนเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมต่อไป ‘สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)’ หรือ NIA ได้ค้นพบทางออกให้กับปัญหานี้ด้วยวิธีเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน (Waste to Energy) โดยการนำไปเผาแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงผลิตพลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานทดแทนอื่นๆ ต่อไป แต่เพื่อให้กระบวนการแปรรูปเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ขยะกำพร้าเหล่านี้จึงควรได้รับการจัดการอย่างถูกต้องเหมาะสมตั้งแต่ต้นทาง NIA จึงอยากให้ผู้บริโภคช่วยกันคัดแยกขยะ เพื่อให้ขยะเหล่านั้นถูกนำไปใช้ประโยชน์หรือแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่ถึงจะมีการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง หรือนำขยะกลับไปรีไซเคิลใช้ประโยชน์อย่างไร ปัญหาขยะล้นเมืองคงแก้ไม่ได้ง่ายๆ NIA จึงมี ‘โครงการสนามการเรียนรู้นวัตกรรมพลังงานไฟฟ้า (The Electric Playground)’ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การเปลี่ยนขยะเป็นพลังงานนี้ ภายใต้หลักสูตรบูรณาการองค์ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพการสร้างสรรค์นวัตกรรม (STEAM4INNOVATOR) ไปสู่เยาวชน ประชาชนที่สนใจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โครงการนี้จึงเป็นเหมือนพื้นที่ให้ผู้คนเข้ามาประลองไอเดียนวัตกรรมแก้ไขปัญหาขยะและจุดประกายความหวังที่จะได้เห็นสังคมไทยเข้าใกล้การใช้พลังงานทางเลือกมากขึ้น
ส่องสถานีรถไฟรวมมิตร Mixed-use มิกซ์พื้นที่ให้ใช้งานได้สารพัด
เพราะ ‘เมืองขยายตัว’ ทำให้ประชากรเพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อความต้องการใช้พื้นที่สูงตามจึงกลายเป็นต้นตอของการมิกซ์ยูสพื้นที่ในแบบต่างๆ เช่น มีทั้งห้างสรรพสินค้า อาร์ตแกลเลอรี สำนักงาน หรือลานอเนกประสงค์รวมในที่เดียว โดยการเลือกทำเล ‘มิกซ์ยูส’ ได้อย่างเหมาะสมที่สุด ต้องดูว่าคนส่วนใหญ่เข้าถึงได้ง่ายหรือไม่ ซึ่งสถานที่ที่ตอบโจทย์มากที่สุด นั่นก็คือ ‘สถานีรถไฟ’ เพราะตั้งอยู่ใจกลางเมือง แถมเป็นศูนย์กลางของโครงข่ายคมนาคมสาธารณะตั้งแต่ระดับเมืองไปจนถึงท้องถิ่น ซึ่งนอกจากมิกซ์ยูสสถานีจะช่วยกระตุ้นการขนส่งสาธารณะ ลดการก่อมลพิษ เพิ่มมูลค่าที่ดินให้กับอสังหาริมทรัพย์ ยังสร้างอาชีพในพื้นที่อีกด้วย ‘สถานีกลางบางซื่อ’ ของประเทศไทยเอง ก็พัฒนาให้เป็นมิกซ์ยูสรูปแบบ ‘Vertical Mixed-Use Building’ คือการเอาพื้นที่มาใช้ประโยชน์มากกว่าหนึ่งอย่าง โดยแบ่งสัดส่วนภายในอาคารประกอบไปด้วยร้านค้า โรงแรม สำนักงาน ฯลฯ เพื่อรองรับผู้โดยสารและผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า ใครที่ยังไม่ได้ไปเยี่ยมเยือนสถานีรถไฟหลักแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ ก็ไม่เป็นไร เราลองไปสำรวจ ‘สถานีรถไฟ’ รอบโลกกันก่อนดีกว่าว่าเขามิกซ์เข้ากับอะไรกันบ้าง | ปรับหน้าสถานีรถไฟเป็นลานสาธารณะ เราอาจไม่ค่อยคุ้นหูกับ ‘Assen Station’ เท่าไหร่นัก เพราะเป็นสถานีรถไฟเล็กๆ ในเทศบาลอัสเซน ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่จำนวนผู้โดยสารต่อวันยังน้อยกว่า Rotterdam Central Station หลายพันเท่า ด้วยความไม่เป็นที่สนใจเนี่ยแหละ จึงเป็นสาเหตุให้นายกเทศมนตรีสั่งรีโนเวตเสียใหม่ […]
ปิดกล้อง เปิดใจ ชวนเดตออนไลน์ยุคโควิด คุยเรื่องความตายและการมีชีวิต
ในช่วงล็อกดาวน์ที่เราต่างต้องเก็บตัว งดเจอผู้คนเพื่อความปลอดภัย คงทำให้หลายคนเหงาปาก คิดถึงช่วงเวลาการคุยกับใครสักคนกันบ้าง หากคุณคิดถึงช่วงเวลาเหล่านั้น เราอยากเชิญคุณมาเดตออนไลน์ในยุคโควิดไปกับ Death Talk Speedy Genderless Blind Dating อีเวนต์เดตออนไลน์ผ่าน Zoom ที่คุณจะได้รับบทเป็นใครก็ได้ผ่านชื่อที่ตัวเองอยากให้คนอื่นเรียก ปิดกล้อง หลับตา ใช้เสียงและความรู้สึก พูดคุยแลกเปลี่ยนกับใครสักคนให้ชัดขึ้นด้วยตัวตนที่แท้จริงอย่างไม่จำกัด ใช้ระยะเวลาสั้นๆ ทำความรู้จักกับคนหลากหลายตัวตน ในประเด็นเรื่องความตายและการมีชีวิตอยู่ ผ่านการสุ่มตอบคำถามกับใครสักคนที่คุณไม่รู้จัก เหมือนในภาพยนตร์เรื่อง About Time สำหรับผู้ที่สนใจเตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมเพราะอีเวนต์สนุกๆ นี้จะจัดขึ้นภายในวันนี้เวลา 21.15 – 22.45 น. อ่านรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Death Talk ความตายและชีวิต
กำขี้ดีกว่ากำตด มหา’ลัยเกาหลี สร้างชักโครกเปลี่ยนอึเป็นพลังงาน ที่ยิ่งอึนักศึกษายิ่งได้ตังค์
ที่มหาวิทยาลัยที่เกาหลี ‘ขี้’ นั้นดีกว่าตดหลายเท่า เพราะมีชักโครก ‘BeeVi’ ที่เปลี่ยนอุจจาระเป็นพลังงานผลิตไฟฟ้าสำหรับข้าวของเครื่องใช้ทั้งตึก และยังเปลี่ยนเป็นเงินให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัยใช้ซื้อของกันได้อีกด้วย ‘BeeVi’ ชักโครกรักษ์โลกนี้เป็นผลงานของ ‘โช แจวอน’ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์สาขาเมืองและสิ่งแวดล้อม สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติอุลซาน (UNIST) เมื่อกดชักโครกแล้ว เครื่องดูดซึ่งใช้น้ำเพียงเล็กน้อยจะส่งอุจจาระไปไว้ในถังปฏิกรณ์ชีวภาพหรือถังหมักใต้ดินที่เปลี่ยนอุจจาระให้เป็น ‘แก๊สมีเทน’ แหล่งพลังงานให้เครื่องใช้ไฟฟ้าในห้องครัวและห้องน้ำต่อไป ส่วนแก๊สที่เหลือจะถูกเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงพลังงานผลิตไฟฟ้าใช้ในห้องแล็บนั่นเอง โดยปกติแล้วมนุษย์หนึ่งคนจะอุจจาระประมาณ 500 กรัมต่อวันซึ่งเปลี่ยนเป็นแก๊สมีเทนได้ 50 ลิตร แก๊สนั้นใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 0.5 กิโลวัตต์ หรือใช้เป็นพลังงานให้กับรถยนต์ขับได้ถึง 1.2 กิโลเมตร นอกจากชักโครกรักษ์โลกแล้ว มหาวิทยาลัยยังมี ‘กุล’ (น้ำผึ้ง ในภาษาเกาหลี) สกุลเงินดิจิทัลเป็นของตัวเอง สำหรับนักศึกษาที่เข้าใช้ชักโครก BeeVi จะได้เงิน 10 กุลต่อวัน ไว้สำหรับใช้จ่ายซื้อของที่ขายในมหาวิทยาลัยตั้งแต่ขนมกินเล่น อาหาร กาแฟสักแก้ว ไปจนถึงหนังสือ อาจารย์โช แจวอน ทำให้เราเห็นว่าหากรู้จักคิดนอกกรอบแล้ว อุจจาระนั้นเป็นได้มากกว่าแค่กากของเสีย แต่เป็นพลังงานที่ดีต่อระบบนิเวศและมีมูลค่าทางเศรษฐกิจมากพอที่จะช่วยนักศึกษาประหยัดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้
NIA Creative Contest พื้นที่สร้างสรรค์ สู่การวาดฝันเมืองในอนาคตของคนรุ่นใหม่
ย้อนกลับไปในศตวรรษที่ 20 ไอน์สไตน์ป่าวประกาศก้องบอกโลกให้รู้ว่า จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ เพราะความรู้มีข้อจำกัด แต่จินตนาการเป็นสิ่งที่หมุนโลก วลียอดฮิตนี้ทำให้คนทั้งโลกเห็นถึงความสำคัญของสิ่งที่เรียกว่า จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่มองว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นเรื่องไกลตัว และเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่เกินกว่าที่ตนจะคิด จนกลายเป็นความสงสัยว่าตกลงแล้วความคิดสร้างสรรค์มีหน้าตาเป็นอย่างไรกันแน่ ด้วยความฉงนสงสัยเราจึงอยากพาทุกคนไปหาคำตอบในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ และคงไม่มีหน่วยงานไหนมีความเชี่ยวชาญในเรื่องนี้ไปมากกว่า สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) องค์กรที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในสังคม และใช้ในการขับเคลื่อนประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม ความคิดสร้างสรรค์ในแบบฉบับของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA คำถามกำปั้นทุบดินที่เราถามกับ คุณธีรีสา มัทวพันธุ์ หรือรองจ๋า รองผู้อำนวยการด้านยุทธศาสตร์ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) คือ เราทุกคนต่างได้ยินมาบ่อยมากเกี่ยวกับคำว่า ‘ความคิดสร้างสรรค์’ จริง ๆ แล้วคำนี้มันคืออะไรกันแน่ “ความคิดสร้างสรรค์เป็นศัพท์เชิงนามธรรม ไม่ใช่สิ่งที่จับต้องได้ เป็นเรื่องของไอเดีย ความคิด แต่มีบทบาทอย่างมากในสังคมปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นสังคม องค์กร ส่วนตัว หรือในระดับประเทศ เพราะความคิดสร้างสรรค์โดยหลักการมันคือการคิดซึ่งนำมาสู่สิ่งใหม่ ๆ โดยสิ่งใหม่ ๆ เหล่านี้ ล้วนสัมพันธ์ในทุกมิติของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กอย่างชีวิตส่วนตัวเราก็ต้องการสิ่งใหม่ ๆ เช่น อาหาร […]
Swab จมูก เองไม่ถนัด ม.มหิดล จัดให้ ตรวจเชื้อโควิดด้วย Antigen Test Kit รู้ผลใน 30 นาที จองคิวออนไลน์ได้เลย
ไม่ต้องอดทนต่อแถวรออีกต่อไป ในที่สุด อย. อนุมัติให้ประชาชนซื้อ Rapid Antigen Test หรือ Antigen Test Kit (ATK) มาใช้ตรวจเชื้อโควิดได้เองแล้ว แต่หากไม่อยากเสี่ยง Swab จมูกเอง ก็ให้นักเทคนิคการแพทย์จากมหาวิทยาลัยมหิดลตรวจให้ได้ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และ สถาบันป้องกันและควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) ตั้งศูนย์ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วย Antigen Test Kit โดยจะรู้ผลภายใน 15 – 30 นาที ที่บริเวณลานจอดรถ ชั้น 1 อาคาร B ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ถ.แจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ โดยมีเป้าหมายวันละ 10,000 – 12,000 คน เริ่มตรวจตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม – 30 กรกฎาคมนี้ […]
IsickIneedbed (ฉันป่วยฉันอยากได้เตียง) เว็บไซต์หาเตียงสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วไทย
สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยเรียกได้ว่ามาคุ และน่าใจหายอย่างมาก ด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อที่ใกล้หลักหมื่นต่อวัน และภาพการจากไปของชาวบ้านผู้ติดเชื้อที่อยู่ในสภาพไร้เตียง ไร้การรักษา ก็มีให้เห็นกันมากขึ้น IsickIneedbed (ฉันป่วยฉันอยากได้เตียง) คือเว็บไซต์หาเตียงสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่ประชาชนช่วยกันทำ Database ขึ้นมาช่วยเหลือประชาชนด้วยกันเอง ในวันที่การหาเตียงเป็นเรื่องยาก และมืดแปดด้านสำหรับบางคน ภายในเว็บไซต์ประกอบด้วยข้อมูลอัปเดตอาการแบบเรียงไทม์ไลน์แต่ละจังหวัดว่าผู้ป่วยท่านไหนกำลังรอเตียงอยู่ ท่านไหนได้รับการช่วยเหลือแล้ว หรือท่านไหนมีอาการอย่างไร และมีโรคประจำตัวอะไรบ้าง อีกทั้งยังบอกสิ่งของที่ผู้ป่วยต้องการได้ด้วย เช่น ถังออกซิเจน ยา อาหาร เพื่อให้ประชาชนและหน่วยงานใดเข้ามาช่วยเหลือได้ง่ายขึ้น เข้าไปกรอกรายละเอียดข้อมูลส่วนตัว อาการ ของที่ต้องการ และวันที่คุณพบเชื้อได้เลยที่ https://isickineedbed.web.app/
CT 125 ออกไปสัมผัสธรรมชาติ แบบไม่สร้างขยะให้กับโลก
เดินทางอย่างไรไม่ให้ทำร้ายโลก ออกจากเมืองหลวงไปสัมผัสธรรมชาติทั้งที ทำไมต้องทิ้งพลาสติกไว้ข้างหลัง เราไม่เอาด้วยกับการท่องเที่ยวที่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม ขอลองไม่พก ไม่ใช้พลาสติกสักชิ้นเดียว ไม่แน่ใจว่าทำได้หรือเปล่า แต่ไม่ลองก็ไม่รู้ กับ Experiment Trip คอลัมน์แกะกล่องของ Urban Creature ที่แบกการทดลองไว้บนบ่า และก้าวออกไปท้าทายดูสักครั้ง เราจึงอยากบิด New CT 125 เพื่อนคู่ใจของสายผจญภัย ที่หนนี้มาในลุคใหม่ ‘Safari Green’ เฉดสีเขียวที่เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ ออกไปค้นหาว่าการแคมปิ้งจะไม่สร้างขยะ และการท่องเที่ยวกับความยั่งยืนจะไปด้วยกันได้จริงไหม กับมอเตอร์ไซค์ที่พร้อมลุยทุกสถานการณ์ ปลุกจิตวิญญาณแห่งการผจญภัยให้ตื่นจากการหลับใหล กับมอเตอร์ไซค์ที่ออกแบบมาเพื่อนักเดินทางโดยเฉพาะ เริ่มบิดกุญแจที่กรุงเทพมหานคร แล้วปักหมุดที่สวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี กับระยะทางที่ไม่ใกล้ไม่ไกลราว 200 กิโลเมตร เสน่ห์ของการขับมอเตอร์ไซค์ท่องเที่ยวคือสายลมที่ปะทะหน้าตลอดเวลา และยิ่งพ้นจากตัวเมืองไกลขึ้น ถนนเริ่มบีบแคบลงเหลือเพียงสองเลนที่สวนกัน วิวข้างทางเปลี่ยนจากตึกสูงใหญ่และอาคารพาณิชย์เป็นต้นไม้ที่ห้อมล้อมตลอดสองข้างทาง ก็ยิ่งทำให้เรารู้สึกใกล้ชิดธรรมชาติมากขึ้น เราออกเดินทางตั้งแต่เช้ามืด เวลาที่ผู้คนส่วนมากยังคงหลับใหล ในเวลาที่ดวงอาทิตย์ยังไม่คืนแสงสว่างกลับมาให้ New CT 125 เพื่อนคู่ใจของเราก็เด่นมาแต่ไกลด้วย Full LED Lighting ทรงกลมคลาสสิก นอกจากคอยบอกหนทางข้างหน้าให้เราได้เลือกเดินแล้ว ยังเป็นการแจ้งเพื่อนร่วมทางคนอื่นว่ามีเราอยู่ตรงนี้ได้อย่างชัดเจน เที่ยวป่าต้องเที่ยวหน้าฝน […]
ปณท ขอกล่องมิตรรักนักช้อป 7.7 เพื่อเปลี่ยนเป็นหน้ากากอนามัย ส่งต่อแพทย์ในแคมเปญ ‘ไปรษณีย์ reBOX’
ไหน ใครหมดเงินไปกับเทศกาล 7.7 ที่ผ่านมาบ้าง สารภาพมาซะดีๆ (ผู้เขียนก็เช่นกัน) ก็ชีวิตมันเครียด เลยต้องสวมบทนักช้อปออนไลน์ใช้เงินแก้เครียดสักหน่อย แต่ต้องมาเครียดอีกรอบตอนที่ต้องจัดการกับขยะจากไปรษณีย์นี่สิ ทั้งกล่องพัสดุ ทั้งซองใส่ของ ล้นห้องไปหมดแล้ววว ทำยังไงดี จะเก็บไว้ใช้ก็ไม่มีพื้นที่เหลือ จะเอาไปทิ้งก็กลายเป็นการสร้างขยะอีคอมเมิร์ซให้โลกเปล่าๆ หรือจะรอลุงซาเล้งมารับซื้อก็ไม่ทันใจอีก งั้นเอากล่องกับซองพัสดุเหล่านี้ไปสร้างประโยชน์กันดีกว่า กับแคมเปญ ‘ไปรษณีย์ reBOX’ ที่บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) ร่วมมือกับ องค์การเภสัชกรรม เชิญชวนให้ขาช้อปออนไลน์ทั้งหลายส่งกล่องและซองพัสดุที่ไม่ใช้แล้ว มาเปลี่ยนเป็นหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ บรรจุลงใน ‘กล่อง BOX บุญ’ เพื่อส่งต่อให้กับโรงพยาบาลและทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นด่านหน้าในการรับมือกับเชื้อ COVID-19 อยู่ในตอนนี้ เพียงแค่รวบรวมกล่องพัสดุหรือซองกระดาษที่ไม่ใช้แล้ว ส่งให้ที่ทำการไปรษณีย์ใกล้บ้านทั่วประเทศ หรือที่จุดรับรวบรวมอื่นๆ เช่น กองบัญชาการกองทัพไทย กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (สำนักงานใหญ่) มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ SHIPPOP เป็นต้น นอกจากจะได้ช้อปปิงจนจุใจ ยังสร้างคุณค่าให้กล่องพัสดุเหลือทิ้ง และได้ช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลอีกด้วยนะ นักช้อปคนไหนที่มีข้อสงสัย […]
ถุงยางเอ้ย เป็นกามโรคอะไรบอกได้! เด็กอังกฤษคิดค้นถุงยางเปลี่ยนสีตามกามโรค รู้เองได้ไม่ต้องไปหาหมอ
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หากไม่ตรวจก็คงไม่รู้ว่าติด แต่จริงๆ แล้วยิ่งตรวจเจอเร็วเท่าไหร่ยิ่งรักษาได้ทันท่วงที แต่การไปหาหมอเพื่อตรวจหาโรคนั้นคงไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับใครหลายคน กลุ่มนักเรียนชาวอังกฤษจึงคิดค้นถุงยางอนามัยที่เปลี่ยนสีได้หากผู้ใช้มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อบรรเทาปัญหาการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เพิ่มขึ้น ถุงยางอนามัยสุดเจ๋งนี้มีชื่อว่า ‘The S.T.EYE condom’ มาจากคำว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) และคำว่า Eye เหมือนเป็นตาคอยสอดส่องหาการติดเชื้อนั่นเอง เจ้าของไอเดียนี้คือกลุ่มนักเรียนชาวอังกฤษวัย 13 – 14 ปี 3 คน ได้แก่ Muaz Nawaz, Daanyaal Ali และ Chirag Shah จากโรงเรียน London’s Isaac Newton Academy ที่ส่งไอเดียนี้เข้าประกวดในงาน TeenTech Awards และได้ชนะรางวัลเป็นเงิน 1,000 ปอนด์หรือราว 45,000 บาท ถุงยางอนามัยนี้ประกอบด้วยชั้นโมเลกุลที่จะเรืองแสงเมื่อสัมผัสโดนแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทั้งยังเรืองแสงแตกต่างกันไปตามชนิดของเชื้ออีกด้วย เช่น เชื้อคลาไมเดียเป็นสีเขียว เริมเป็นสีเหลือง ซิฟิลิสเป็นสีฟ้า และจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงหากผู้ใช้มีเชื้อไวรัส HPV ที่ก่อให้เกิดหูดหงอนไก่ กลุ่มนักเรียนที่คิดค้นอยากให้ถุงยางนี้เป็นส่วนช่วยให้ผู้คนตรวจพบโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ด้วยตัวเอง หากใครไม่สบายใจจะเข้าพบแพทย์ เพราะยิ่งตรวจพบเร็วเท่าไหร่ […]
โควิดกำลังไป ฝุ่นพิษกำลังมา ศิลปินอังกฤษสร้างงานศิลปะจากฝุ่นควัน สะท้อนปัญหามลพิษในลอนดอน
ประเทศอังกฤษกำลังคลายล็อกดาวน์ทีละขั้นจนใกล้จะยกเลิกมาตรการจำกัดต่างๆ เร็วๆ นี้ ผู้คนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตเกือบจะปกติได้อีกครั้ง ปัญหาฝุ่นควันและมลพิษที่มาพร้อมกับการเดินทางในเมืองหลวงอย่างลอนดอนก็กลับมาเช่นกัน ‘Marina Vitaglione’ ศิลปินชาวอังกฤษไอเดียบรรเจิดจึงสร้างงานศิลปะจากฝุ่นควันเพื่อกระตุ้นให้ผู้คนตระหนักถึงปัญหานี้มากขึ้น นักวิทยาศาสตร์จาก London Air Quality Network จาก Imperial College London ให้ความร่วมมือกับ Marina ในการเข้าถึงตัวอย่างอากาศบนถนนใหญ่หลายสายทั่วเมืองอย่าง ถนน Brixton และถนน Lewisham ในเขต South London Marina นำตัวอย่างบางส่วนไปส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์และถ่ายภาพ บางส่วนนำไปไปขยายด้วยราเมนสเปกโตรสโคป (Raman Spectroscopy) แล้วเข้ากระบวนการพิมพ์แบบ Cyanotype บนกระดาษจากต้น Gampi ญี่ปุ่น ทำให้เกิดภาพสีน้ำเงินเขียวชัดเจนบนกระดาษสีขาวบางๆ ราวกับท้องฟ้าใสไร้เมฆ ตรงข้ามกับท้องฟ้าในความเป็นจริงที่ขมุกขมัวด้วยฝุ่นควัน Environmental Research Group จากคณะสาธารณสุขของ Imperial College London และ Marina หวังว่าผลงานภาพพิมพ์จะช่วยให้ผู้คนตื่นตัวเรื่องปัญหามลพิษในอากาศมากขึ้น เพราะปัญหานี้เป็นสาเหตุของโรคทางเดินหายใจมากมาย และเป็นหนึ่งในสี่ภัยคุกคามหลักที่คร่าชีวิตชาวอังกฤษรองจากโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคอ้วนอีกด้วย งานศิลปะภาพพิมพ์ของ […]