
LATEST
‘I-peel.org’ เว็บไซต์ชวนมองสิ่งรอบตัวจากน้ำตาล งานบ้าน สมาร์ตโฟน ให้เห็นความเชื่อมโยงของเศรษฐกิจการเมืองโลก
I-peel.org เว็บไซต์ที่ชวนมองสิ่งรอบตัวเล็กๆให้เห็นความเชื่อมโยงของเศรษฐกิจการเมืองโลก
คราฟต์เบียร์ออสเตรเลียสู้โลกร้อน เปลี่ยน CO2 จากฮอปส์เป็นออกซิเจน ลดก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิต
เบียร์ไม่ได้เป็นภัยกับซิกซ์แพ็ก หรืออาการปวดหัวในวันถัดมา แต่เครื่องดื่มสีอำพันส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเช่นกันจากปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากที่เกิดจากกระบวนการผลิต ทว่าสิ่งนี้กำลังจะเปลี่ยนไปเมื่อ Young Henrys ผู้ผลิตคราฟต์เบียร์จากรัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย สามารถคิดค้นกระบวนการผลิตเบียร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และการดื่มเบียร์อาจจะช่วยโลกได้จริง! ตามปกติแล้วปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากฮอปส์ในการผลิตเบียร์จะต้องใช้เวลาดูดซับมากถึง 2 วัน เมื่อตระหนักว่ากระบวนการตามธรรมชาติใช้เวลามากเพียงใด Young henrys จึงหันไปขอความช่วยเหลือจากนักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์เพื่อคิดค้นวิธีในการเร่งกระบวนการดูดซึมคาร์บอนไดออกไซด์ให้ไวขึ้น จนกระทั่งพบวิธีในการติดตั้งเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพขนาด 400 ลิตร จำนวน 2 เครื่อง ที่อัดแน่นไปด้วยสาหร่ายขนาดเล็กนับล้าน ที่จะทำหน้าที่ในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์แล้วเปลี่ยนเป็นออกซิเจน โดยสาหร่ายเหล่านี้สามารถผลิตออกซิเจนได้มากเท่ากับพื้นที่ป่าดิบชื้น 2 เฮกตาร์ Oscar McMahon ผู้ร่วมก่อตั้งของ Young Henrys กล่าวติดตลกกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่าที่จริงพวกเขาจะยุบโรงเบียร์ ทุบตึกและอาคารทิ้งเพื่อนำพื้นที่มาปลูกต้นไม้ก็ได้ แต่กระบวนการนี้จะใช้เวลาหลายปีกว่าที่จะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์และสร้างออกซิเจนในปริมาณที่เทียบเท่ากับเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพนี้ นี่อาจจะเป็นเวลาที่เหมาะสมอย่างยิ่งในการเฉลิมฉลองแต่ Young Henrys ไม่ได้หยุดแค่นั้น โดยเดินหน้าร่วมมือกับหน่วยงาน Meat and Livestock Australia (MLA) หน่วยงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการปศุสัตว์ในการวิจัยเกี่ยวกับความสามารถของสาหร่ายในการลดปริมาณก๊าซมีเทนที่เกิดจากการเลี้ยงสัตว์ด้วย เมื่อชาวออสเตรเลียร้อยละ 35.6 บริโภคเบียร์ และร้อยละ 90 ของครัวเรือนแดนจิงโจ้บริโภคเนื้อวัวเป็นประจำ จึงไม่มีเวลาไหนและอุตสาหกรรมไหนที่จะเหมาะกับการเผยแพร่เทคโนโลยีนี้อีกแล้ว
‘โคเปนเฮเกน’ จากเมืองอุตสาหกรรมที่เต็มไปด้วยมลพิษ สู่เมืองสีเขียวอันดับต้นๆ ของโลก
จะดีแค่ไหนถ้าได้อยู่ในเมืองที่น่าอยู่ คุณภาพชีวิตดี แถมยังรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย ท่ามกลางวิกฤต ‘การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ’ หรือ ‘Climate Change’ หลายเมืองทั่วโลกเดินหน้าผลักดันนโยบายต่างๆ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมความเป็นอยู่ของผู้คนให้ดีขึ้น ซึ่งหนึ่งในเมืองที่ยืนหนึ่งด้าน ‘สิ่งแวดล้อม’ และ ‘ความยั่งยืน’ ก็คือ ‘โคเปนเฮเกน’ เมืองหลวงของประเทศเดนมาร์ก นิตยสาร Time Out ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนกว่า 27,000 คนจากหลายร้อยเมืองทั่วโลก เพื่อหาคำตอบว่าเมืองใดคือเมืองที่ ‘ยั่งยืนที่สุดในโลก’ ประจำปี 2021 โดยผลการสำรวจชี้ว่า 57% ของผู้ตอบแบบสำรวจยกให้ ‘โคเปนเฮเกน’ เป็นเมืองที่ครบเครื่องเรื่องความยั่งยืนอันดับหนึ่งของโลก แต่รู้หรือไม่ว่ากว่าโคเปนเฮเกนจะกลายเป็นเมืองสีเขียวอันดับต้นๆ ของโลกได้ อากาศในเมืองหลวงแห่งนี้เคยเต็มไปด้วยมลพิษ ส่วนแหล่งน้ำก็ปนเปื้อนไปด้วยสารเคมี ขยะ และสิ่งปฏิกูล Urban Creature จะพาทุกคนไปหาคำตอบว่า โคเปนเฮเกนทำอย่างไรจึงสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีและสังคมที่เข้มแข็ง จนกลายเป็นเมืองที่ตอบโจทย์คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนได้ 01 | Public and Private Sectors : เมืองที่ภาครัฐร่วมมือกับเอกชน ก่อนอื่นต้องอธิบายคร่าวๆ ก่อนว่า รัฐบาลเดนมาร์กบริหารงานแบบ ‘กระจายอำนาจการปกครอง’ […]
MY HERO บันทึกสายสัมพันธ์ของน้องชายต่อพี่ชายคนพิเศษ
My Hero คือบันทึกความทรงจำระหว่างผมกับพี่ชายที่มีภาวะ Down syndrome เพราะความรู้สึกกลัวการสูญเสียเขาแบบกะทันหัน จนอาจไม่ได้ใช้เวลาร่วมกัน…
เชียงใหม่ ฉันจะดูแลเธอ กลไกตี้ยะเจียงใหม่หื้อยั่งยืน
“เชียงใหม่ ฉันจะดูแลเธอ คืออะไร?” เป็นคำถามที่คนทั่วไปน่าจะสงสัยเมื่อได้เห็นเพจและเว็บไซต์นี้เป็นครั้งแรก เกือบปีแล้วที่เพจ ‘เชียงใหม่ ฉันจะดูแลเธอ’ กลับมามีชีวิตชีวาบนโลกออนไลน์ โดยการรวมพลังของทีมดูแลเพจจำนวน 5 คน ได้แก่ ภูวา-จิรันธนิน กิติกา, หมูใหญ่-คมสัน ไชยวงศ์, ดรีม-ธนกร เจริญเชื่อมสกุล, ตา-สุวารี วงศ์กองแก้ว และแป้ง-อาคิรา ศิริวัฒนานุกุล ที่แท็กทีมด้วยความตั้งใจทำประเด็นเกี่ยวกับพื้นที่ รวบรวมข้อมูลเมืองเจียงใหม่ นำเสนอกรณีศึกษาที่สำคัญ และสร้างกลไกให้เกิดการขับเคลื่อนภาคประชาชนบนแพลตฟอร์มออนไลน์ทั้งบนเฟซบุ๊กเพจ และขาของเว็บไซต์ www.ChiangmaiWeCare.com โปรเจกต์ดูแลเมืองที่รวมหัวใจของคนเจียงใหม่นี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานวิจัย ‘การพัฒนากระบวนการเพื่อขับเคลื่อนประชาคมเมืองเชียงใหม่’ แผนงานคนไทย 4.0 โดยมีทัพทีมวิจัยที่เชี่ยวชาญอย่าง ตา สุวารี, ภูวา จิรันธนิน, รศ. ดร.สันต์ สุวัจฉราภินันท์ และ อ.อจิรภาส์ ประดิษฐ์ ทำงานสอดประสานกับภาคประชาสังคม ภาครัฐ และคนเมืองเจียงใหม่ เพื่อให้ความฝันที่อยากเห็นเมืองดีเกิดขึ้นได้จริง และเกิดการขับเคลื่อนเมืองอย่างมีส่วนร่วม นำไปสู่การออกแบบแผนเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Plan) และผังออกแบบเชิงแนวคิด (Conceptual Design […]
ดูหนังออนไลน์ฟรี! จากเจแปนฟาวน์เดชั่น เทศกาลภาพยนตร์ญี่ปุ่นแบบออนไลน์ 2565 ช่วง Pre-event ดูฟรี 15 – 22 พ.ย. 64
กลับมาอีกครั้งกับเทศกาลภาพยนตร์ญี่ปุ่นแบบออนไลน์ 2565 จากเจแปนฟาวน์เดชั่น ที่จัดฉายภาพยนตร์ญี่ปุ่นแบบออนไลน์ฟรีใน 24 ประเทศ เพื่อส่งเสริมการเผยแพร่ภาพยนตร์ญี่ปุ่นในต่างประเทศและให้แฟนๆ ภาพยนตร์ญี่ปุ่นได้ดูกันแบบจุใจ ในปีที่ผ่านมา เจแปนฟาวน์เดชั่นได้มีการจัดเทศกาลภาพยนตร์ญี่ปุ่นแบบออนไลน์เป็นครั้งแรก ซึ่งเข้าถึงผู้ชม 20 ประเทศใน 5 ทวีปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย โดยมีการเผยแพร่ภาพยนตร์ญี่ปุ่นมากถึง 30 เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ที่เข้าฉายใหม่ไปจนถึงภาพยนตร์คลาสสิก โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งมีจำนวนการเข้ารับชมทั้งหมดมากกว่า 210,000 ครั้งจากผู้ชมทั่วโลก ในขณะที่โรงภาพยนตร์ในหลายประเทศเป้าหมายยังคงปิดให้บริการ เนื่องมาจากผลกระทบของ COVID-19 ในปีนี้เทศกาลภาพยนตร์ญี่ปุ่นจะมีขึ้นในรูปแบบออนไลน์เป็นครั้งที่สอง ใน 24 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยและประเทศอื่นๆ เช่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา และเยอรมนี ผู้ชมในประเทศไทยสามารถชมภาพยนตร์ได้ถึง 16 เรื่อง พร้อมคำบรรยายเป็นภาษาไทย ได้ฟรีผ่านเว็บไซต์สตรีมภาพยนตร์ญี่ปุ่น ‘JFF+’ ที่ดำเนินการโดยเจแปนฟาวน์เดชั่น ตอนนี้อยู่ในช่วง Pre-event เปิดให้ชมฟรี 5 เรื่อง ตั้งแต่วันที่ 15 – 22 พฤศจิกายน พ.ศ. […]
Cloud Markt ร้านชำคราฟต์ฟู้ดแห่งภูเก็ต ที่สร้างคอมมูนิตี้ครีเอทีฟให้เกิดขึ้นจริงในบ้านเกิด
เมื่อช่วงต้นปี 2021 ทีมงาน Urban Creature แวะเวียนไปเยือนเมืองภูเก็ตมา ซึ่งหนึ่งในจุดหมายปลายทางก็คือ Cloud Markt (คลาวด์-มาร์ต) ร้านชำเล็กๆ ที่สรรหาฟู้ดคราฟต์จากกิจการท้องถิ่นไทยมาให้คนภูเก็ต รวมถึงคุณได้อุดหนุน ผมพูดคุยกับเจ้าของร้านจนติดลม พลางจิบคราฟต์เบียร์ ลิ้มรสคราฟต์ฟู้ดแสนอร่อย พร้อมบันทึกเสียงสนทนาไปด้วย เพื่อที่กลับมากรุงเทพฯ จะได้นั่งถอดเทปอย่างสบายใจ ตู้ม! คลัสเตอร์ภูเก็ตมาเยือน ภูเก็ตต้องเปิด-ปิด เกาะอยู่หลายครั้ง พวกเราจึงตัดสินใจพักงานชิ้นนี้ไว้ก่อน และรอวันที่สถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น วันแล้ววันเล่า รอนานจนไม่รู้ว่าจะได้กลับไปเตร็ดเตร่ที่ภูเก็ตอีกเมื่อไหร่ แม้โควิดจะเป็นอุปสรรคในการปล่อยงานชิ้นนี้ แต่เชื่อไหมว่า โควิดไม่ใช่ปัญหาหลักของชาว Cloud Markt แต่กลับเป็นทั้งสารตั้งต้นของร้าน และด่านสำคัญที่เจ้าของร้านชำจะต้องผ่านไปให้ได้ ซึ่งทันทีที่เปิดประเทศ ผมก็ไม่รอช้า รีบหยิบเรื่องราวของ Cloud Markt ที่เราดองไว้ มาเสิร์ฟ เอ้ย! มาถ่ายทอดให้ทุกคนได้ทำความรู้จักกับร้านชำแห่งนี้ 01เหล่ามนุษย์ภูเก็ตที่ไม่พร่องเรื่องกิน เมื่อผมและทีมมาถึง ป้ายร้าน Cloud Markt สีส้มก็เด่นชัดมาแต่ไกล เหล่าเจ้าของร้านชำต้อนรับพวกผมอย่างเต็มใจ และไม่รีรอที่จะแนะนำตัวให้ผมทราบว่า หุ้นส่วนร้านชำแห่งนี้มี 3 คน ซึ่งทุกคนล้วนเป็นชาวภูเก็ต เริ่มที่ มอนด์-สุวิจักขณ์ […]
Netflix Book Club รายการสำหรับนักอ่านที่ได้เห็นนิยายกลายเป็นหนัง
ตื่นเต้น เฝ้ารอ ประหลาดใจ มีความสุข กังวล คุณมีรีแอ็กชันแบบไหนเมื่อได้รู้ว่าหนังสือเล่มโปรด (หรือเล่มที่เพิ่งอ่านจบ) จะถูกสร้างเป็นซีรีส์หรือภาพยนตร์ในเร็วๆ นี้ สำหรับเรา นอกจากการติดตามและลุ้นว่าหนังสือที่อ่านจะดัดแปลงไปเป็นอีกมีเดียมหนึ่งยังไงแล้ว เบื้องหลังการตีความและกระบวนการดัดแปลงบทก็น่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะคงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ทีมงานจะเก็บเอาใจความสำคัญ และดีเทลยิบย่อยที่แฝงในตัวอักษรบนหน้ากระดาษมาถ่ายทอดผ่านภาพ แสง สี เสียงได้ครบ ตรงใจกับจินตนาการคนอ่านส่วนใหญ่ แต่ในที่สุด เราก็ไม่ต้องรออีกต่อไป เพราะสตรีมมิงชื่อดัง Netflix ได้จับมือกับ Starbucks ทำ Netflix Book Club เล่าถึงเบื้องหลังและฮาวทูการแปลงร่างวรรณกรรมให้เป็นซีรีส์หรือภาพยนตร์ชื่อดังที่ไม่ว่าใครก็ต้องพูดถึง ซีรีส์รายการนี้ชื่อ But Have You Read the Book? โดยได้พิธีกรดำเนินรายการเป็น Uzo Aduba นักแสดงจากซีรีส์ Orange Is the New Black ความพิเศษที่รายการนี้แตกต่างจากรายการบุ๊กคลับอื่นๆ คือ การชวนทีมนักแสดง ผู้เขียนบท นักเขียน รวมไปถึงทีมงานที่อยู่เบื้องหลังกระบวนการดัดแปลงหนังสือไปสู่ภาพยนตร์หรือซีรีส์ มาพูดคุยเจาะลึกถึงตัวละคร ธีม เรื่องราวทั้งหมด ไปจนถึงเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่คนดูภาพยนตร์หรือซีรีส์อย่างเดียวอาจไม่เคยรู้มาก่อน […]
GREEN ROAD รับบริจาคถุงอาหารแมว เปลี่ยนขยะเป็นบล็อกแมวรักษ์โลก
‘บล็อกแมวรักษ์โลก’ ไอเดียรีไซเคิลขยะพลาสติกสุดน่ารัก ที่เปลี่ยนถุงอาหารแมวให้เป็นบล็อกปูพื้นจากโครงการ GREEN ROAD (กรีนโรด) ถุงอาหารแมวคือขยะพลาสติกประจำบ้านของทาสแมวที่ต้องจัดการทุกๆ เดือน ยิ่งบ้านไหนเลี้ยงแมวเยอะ ก็ยิ่งมีถุงอาหารเยอะตามไปด้วย การจะเอาถุงเหล่านี้ไปรียูสด้วยตัวเองคงไม่ใช่เรื่องง่าย สุดท้ายจึงมักจะทิ้งลงถังขยะไปเฉยๆ โครงการ GREEN ROAD จึงเปิดรับบริจาคถุงอาหารแมว เพื่อทำบล็อกแมวรักษ์โลก หรือบล็อกที่ผลิตจากถุงอาหารแมวรีไซเคิล 100% โดยไม่ใช้ขยะพลาสติกประเภทอื่นผสมเลย เป็นขยะจากแมวและผลิตออกมาเพื่อทาสแมวโดยเฉพาะ ซึ่งบล็อกแมวรักษ์โลก 1 ตัว สามารถมากำจัดขยะพลาสติกได้ 4.4 กก. (ใช้ถุงอาหารแมว 44 ถุง) หากต้องการต่อให้ได้ 1 ตร.ม. จะต้องใช้ถุงอาหารแมวถึง 44 กก. ตอนนี้สามารถบริจาคได้เรื่อยๆ จนกว่าแมวจะหมดโลก! วิธีทำบล็อกแมวรักษ์โลก 1. ทางโครงการจะนำถุงอาหารแมวที่ได้รับบริจาคทั้งหมดมาบดย่อยเป็นชิ้นเล็กๆ ประมาณ 2.5 ซม. 2. นำถุงที่ย่อยแล้วเทลงในเครื่องหลอมขยะพลาสติก (Extruder Machine) ที่อุณหภูมิ 200 – 220 ºC 3. เมื่อถุงพลาสติกหลอมละลายดีแล้ว […]
เข้าใจ 2 ทศวรรษวิกฤตการเมืองไทย กับ ‘โอลด์รอยัลลิสต์ดาย’
ชวนทำความเข้าใจวิกฤตการเมืองไทยตลอด 2 ทศวรรษตั้งแต่กรณีนิรโทษกรรม ขบวนการเสื้อเหลือง-แดง จนถึงอำนาจนำของกษัตริย์ที่เพิ่มขึ้นผ่านหนังสือ ‘โอลด์รอยัลลิสต์ดาย’
Epson EcoTank L15150 l ตัวช่วยเพื่อความยั่งยืนของธุรกิจและสิ่งแวดล้อม
คุณคิดว่า Printer 1 เครื่อง เซฟโลกได้ไหม? . ชีวิตพนักงานออฟฟิศอย่างเราๆ จะพรินต์งานแต่ละที ก็ต้องอาศัย Printer ที่สุดท้ายกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ยากแก่การทำลายและเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมวนไป . เหมือนจะดูเป็นเรื่องเล็กจิ๋วที่ไม่ต้องสนใจก็ได้ แต่ Epson คิดมาแล้ว ว่าพวกเราชาวออฟฟิศและ Printer เครื่องเดียวก็ช่วยโลกได้ด้วย Epson EcoTank L15150 เครื่องพรินต์ที่ตอบโจทย์ทั้งการพรินต์และความยั่งยืน . ด้วยเทคโนโลยีที่ช่วยลดการใช้พลังงาน ช่วยลดค่าใช้จ่ายของออฟฟิศด้วยการพิมพ์สูงสุดถึงขนาด A3 ทั้งยังช่วยสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน เจ้าเครื่องนี้จะเจ๋งแค่ไหนนั้น ตามมาดูกันเลย #UrbanCreature #UrbanEyes #Epson #EpsonEcoTankPrinter
พลังงานทางเลือกฝ่าวิกฤตโลกร้อน สตาร์ทอัปคิดวิธีผลิต Green Hydrogen พลังงานสะอาด ราคาถูก ใช้กับอะไรก็ได้
ในอดีตสนามกอล์ฟของเมืองแลงคาสเตอร์ รัฐแคลิฟอร์เนีย Heliogen สตาร์ทอัปด้านพลังงานหมุนเวียนได้เปลี่ยนกรีนสีเขียวและคลับเฮาส์ให้กลายเป็นสถานที่ทดสอบพลังงานแสงอาทิตย์แบบใหม่ ที่ใช้แสงแดดในการสร้างไฟฟ้าและไอน้ำ และในการสาธิตครั้งล่าสุดที่ได้ร่วมมือกับ Bloom Energy บริษัทเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน ในการแสดงกรรมวิธีในการผลิต Green Hydrogen หรือไฮโดรเจนพลังงานสะอาดที่มีราคาถูกกว่าก๊าซธรรมชาติ และสามารถนำไปใช้งานจริงได้หลากหลายตั้งแต่เป็นเชื้อเพลิงให้เครื่องบิน เรือบรรทุกสินค้า หรือโรงทำความร้อน พวกเขาแสดงถึงการใช้กระจกเหมือนแว่นขยายขนาดใหญ่ที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ที่จะทำหน้าที่สะท้อนแสงไปยังโรงกลั่นแสงแดด ทำให้เกิดอุณหภูมิที่สูงมากก่อนจะส่งความร้อนไปใส่ไว้ในถังเก็บเพื่อเตรียมตัวใช้งานอีกต่อหนึ่ง Bill Gross ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Heliogen บอกว่าระบบนี้จะช่วยแก้ปัญหาการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ที่ราคาแบตเตอรี่ค่อนข้างสูงทำให้มีปัญหาในการจัดเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ที่ไม่ได้ส่องตลอด 24 ชั่วโมง และเครื่องนี้ยังมีเทคโนโลยีผลิตไอน้ำต้นทุนต่ำ ซึ่งสามารถนำไปผลิตไฮโดรเจนรูปแบบใหม่ได้ ไฮโดรเจนมีศักยภาพสูงมากในการใช้งานและจะไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาเมื่อถูกเผาไหม้ Venkat Venkataraman ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของ Bloom Energy บอกว่า นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพอากาศทั่วโลกกำลังมองหาทุกความเป็นไปได้ที่จะทำให้โลกปลอดคาร์บอนภายในปี 2050 และมติก็เป็นเอกฉันท์ คือไม่มีทางเป็นไปได้หากปราศจากไฮโดรเจน อย่างไรก็ตามไฮโดรเจนในท้องตลาดตอนนี้ทำมาจากก๊าซธรรมชาติซึ่งมีกระบวนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซมีเทนในกระบวนการผลิต ต่างกับ Green Hydrogen ที่ผลิตโดยการแยกน้ำด้วยไฟฟ้าหมุนเวียน ไม่ปล่อยมลพิษ แต่มีข้อเสียคือต้นทุนสูงเกินกว่าจะนำมาใช้งานทั่วไป Heliogen บอกว่าพวกเขาใช้วิธีการแยกน้ำด้วยไฟฟ้าและน้ำที่มีอุณหภูมิสูงในการสกัดไฮโดรเจน และเป็นสิ่งที่จะทำให้ Green Hydrogen มีราคาที่จับต้องได้มากขึ้น รวมถึงการใช้ไอน้ำมาช่วยทำให้ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยลง และมีประสิทธิภาพมากขึ้นถึง […]