
LATEST
ชวนไปส่องรองเท้าคู่ใจที่สมาคมนักเดินใน Urban Creature ยกให้เป็นเพื่อนคู่เท้าในการเดินเมือง
จอมยุทธ์ต้องมีกระบี่คู่ใจฉันใด คนที่ชอบเดินย่อมต้องมีรองเท้าคู่ใจ (หรือเท้า?) ฉันนั้น! การจะเดินในเมืองให้สนุกได้ นอกจากการเตรียมร่างกายให้พร้อมแล้ว อุปกรณ์ก็ควรพร้อมเช่นกัน แค่มีรองเท้าดีๆ สวมสบาย เดินได้ไม่เมื่อยเท้า ก็นับว่าเป็นการเริ่มต้นที่มีชัยไปกว่าครึ่ง ยิ่งถ้ารองเท้าสวย ดีไซน์เก๋ แมตช์กับเสื้อผ้าที่ใส่ด้วย ก็จะยิ่งทำให้เราอยากเดินมากขึ้นไปอีก คอลัมน์ Urban’s Pick ขอชวนมาส่องรองเท้าที่ชาวสมาคมนักเดินใน Urban Creature ใช้งานกันบ่อยๆ เผื่อใครที่กำลังมองหารองเท้าสักคู่เป็นเพื่อนออกเดินไปสำรวจเมืองจะได้มีตัวเลือกเยอะๆ ไว้ในใจ ชื่อ : เดือนเพ็ญ จุ้ยประชาตำแหน่ง : Managing Editorรองเท้า : ยี่ห้อ Camper รุ่น Karst สีดำ ปกติเราเป็นคนชอบเดินมากๆ อยู่แล้ว ยิ่งเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้ได้ตั้งปณิธานกับตัวเองว่าจะออกไปข้างนอกบ่อยๆ เลยยิ่งทำให้เดินมากขึ้น เฉลี่ยก็ 8,000 – 10,000 ก้าว ทำให้เวลาเลือกรองเท้าใส่ไปข้างนอกต้องเป็นรองเท้าที่มั่นใจว่าใส่สบาย เดินไม่เมื่อย คู่นี้เราได้มานานแล้ว ซื้อเพราะชอบดีไซน์และน้ำหนักเบา รวมถึงได้ยินเสียงลือเสียงเล่าอ้างว่าแบรนด์นี้ใส่สบาย พวกวัสดุกระบวนการก็รักษ์โลก เลยลองไปด้อมๆ มองๆ จ้องๆ […]
City Walk, City Work ก่อนจะเป็นเมืองน่าอยู่ ต้องเป็นเมืองที่คนเดินได้เดินปลอดภัยก่อน
ในชีวิตแต่ละวัน ‘การเดิน’ เป็นส่วนสำคัญหนึ่งของผู้คนโดยไม่รู้ตัว ตั้งแต่ออกจากประตูบ้านมาถึงที่เรียนหรือที่ทำงาน ต่อให้ขึ้นรถลงเรืออย่างไรก็ยังต้องอาศัยการเดินอยู่ดี ทั้งที่การเดินไม่จำเป็นต้องใช้อะไรนอกจากขาของเรา แต่เหมือนว่าวิธีเดินทางที่ใช้ต้นทุนน้อยที่สุดนี้จะยังมีปัญหาซ่อนอยู่ ทำให้เราไม่สามารถใช้ประโยชน์จากร่างกายของเราได้อย่างเต็มที่และมีความสุขนัก นั่นเป็นผลจากเมืองที่เราอาศัยอยู่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับคนและการเดินมาตั้งแต่แรก พอคนเดินได้ไม่ดีก็ส่งผลต่อสุขภาพกายและใจ ไม่ว่าจะเป็นร่างกายที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหวจนเกิดโรคตามมา หรือกระทั่งความเหงาที่เกิดขึ้นเพราะไม่มีพื้นที่ให้ทำกิจกรรมหรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น กลับกัน ในเมืองที่เห็นความสำคัญของเรื่องนี้จะออกแบบและจัดตั้งนโยบายที่ช่วยสนับสนุนให้คนอยากเดิน เช่น แนวคิดเมือง 15 นาที ที่กำหนดให้แต่ละพื้นที่ต้องมีบริการสาธารณะที่จำเป็นโดยคนสามารถเดินถึงภายใน 15 นาที หรือแนวคิดเมืองเดินได้ ที่ทำให้เมืองมีกายภาพน่าเดิน ซึ่งแนวคิดเหล่านี้ล้วนส่งผลดีในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมิติสุขภาพที่ประชาชนได้ออกกำลังกายไปในตัว มิติสิ่งแวดล้อมที่เมื่อลดการใช้รถยนต์ลงอากาศก็ดีขึ้น หรือมิติเศรษฐกิจที่ทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยระหว่างคนเดินกับร้านค้าริมทางเดิน คอลัมน์ Overview ประจำซีรีส์ City Walk, City Work ขอชวนมาเดินสำรวจด้วยกันว่า จริงๆ แล้วเมืองที่เดินได้และปลอดภัยควรเป็นอย่างไร อะไรกันแน่ที่ทำให้คนไทยไม่อยากเดิน ไปจนถึงตอนนี้เมืองของเราทำอะไรไปบ้างแล้วเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองเดินได้เดินดีในอนาคต หลักการออกแบบทางเท้าที่ดี สำหรับนักเดินเมืองทั้งขาประจำและขาจรทั้งหลายคงรู้กฎการเดินเมืองเบื้องต้น 101 กันอยู่แล้วว่า การเดินที่ปลอดภัยที่สุดคือ ‘การเดินบนทางเท้า’ หรือที่เรียกกันอย่างติดปากว่า ‘ฟุตพาท’ ซึ่งชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า ‘Foot = เท้า’ ‘Path = ทาง’ แต่น้อยฟุตพาทนักที่น่าเดินหรือเอื้อต่อการเดินเล่นและเดินจริงจังในปัจจุบัน […]
ทางเท้า สิงคโปร์ ทางเท้าที่ทำให้ใครๆ ก็อยากเดิน เมื่อเส้นทางเดินมีหลังคาคลุมและเชื่อมได้ไร้รอยต่อ
นอกจากการเป็นเมืองคอนเสิร์ต สถาปัตยกรรม เมอร์ไลออน และต้นแบบคาสิโนแล้ว สิงคโปร์ ประเทศเล็กๆ แห่งเกาะเซนโตซา ยังมีจุดเด่นสำคัญอย่างทางเท้าออกแบบดีที่ทำให้ชาวเมืองเดินได้สะดวกอีกด้วย 🚶ทางเท้ากว้างที่มีหลังคา ช่วยให้คนอยากเดิน การออกแบบทางเท้าของสิงคโปร์เน้นไปที่ทางเดินที่มีหลังคา ทางเดินเชื่อม และทางเชื่อมระหว่างอาคาร ที่รวมถึงเส้นทางเชื่อมต่อบนดินและชั้นใต้ดิน ด้วยองค์ประกอบสำคัญของการออกแบบอย่างการมีกันสาดและทางเดินที่มีหลังคา จากลักษณะของสภาพอากาศสิงคโปร์ที่เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวฝน กันสาดและหลังคานี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการปกป้องผู้เดินเท้าจากแสงแดดจัดและความถี่ของฝน อีกทั้งยังมีข้อกำหนดเกี่ยวกับทางเดินที่มีหลังคาตามแนวอาคารพาณิชย์และอาคารอเนกประสงค์ที่หันหน้าไปทางถนนและทางเท้าว่า ต้องมีหลังคาสูงอย่างน้อย 3.6 เมตร และอาจอนุญาตให้มีเพดานที่สูงขึ้นได้หากมีการใช้วัสดุกรุผนังที่เหมาะสมและเพิ่มความกว้างของทางเดิน ส่วนข้อกำหนดความกว้างขั้นต่ำของทางเดินที่มีหลังคาจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับที่ตั้งและความใกล้กับสถานีขนส่ง – ทางเดินบริเวณพื้นที่ใจกลางเมืองหรือภายในรัศมี 200 เมตรจากสถานีรถไฟฟ้า MRT/สถานีขนส่งหลัก : ความกว้างโดยรวมขั้นต่ำ 3.6 เมตร และความกว้างสุทธิขั้นต่ำ 3 เมตร – ทางเดินระหว่าง 200 – 400 เมตรจากสถานีรถไฟฟ้า MRT/สถานีขนส่งหลัก : ความกว้างโดยรวมขั้นต่ำ 3 เมตร และความกว้างสุทธิขั้นต่ำ 2.4 เมตร – ทางเดินอื่นๆ ทั้งหมด : ความกว้างโดยรวมขั้นต่ำ […]
‘แผนที่ Heal ใจ Parkใจในสวน’ ให้พื้นที่สีเขียวในเมืองช่วยเยียวยาใจ ด้วยลายแทง 5 สวน 5 กิจกรรม จาก 5 วิทยากร
ถ้าอยากหาที่พักใจในเมืองใหญ่แต่ไม่รู้จะไปไหน เราขอชวนมา ‘Parkใจในสวน’ ด้วยกัน ก่อนหน้านี้นิตยสารสารคดีได้จัดกิจกรรม ‘Parkใจในสวน คู่มือแผนที่ Parkใจ’ ที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้สัมผัสธรรมชาติในพื้นที่สวนสาธารณะต่างๆ ในกรุงเทพฯ และล่าสุดเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาก็ได้มีการเปิดตัว ‘แผนที่ Heal ใจ Parkใจในสวน’ โดยแจกแผนที่รูปแบบกระดาษให้กับผู้ที่มาร่วมกิจกรรม ใครที่พลาดกิจกรรมไปแต่อยากได้แผนที่ไว้ในครอบครองก็ไม่ต้องเสียดาย เพราะล่าสุดทางสารคดีได้อัปโหลดแผนที่ Heal ใจ Parkใจในสวน ฉบับออนไลน์ออกมาให้เราโหลดเก็บไว้ไปใช้งานฟรีๆ ผ่านแพลตฟอร์ม ‘ANSi by สารคดี’ ภายในเล่มประกอบด้วย 5 สวนสาธารณะต้นแบบจาก 5 วิทยากร ที่มาพร้อมกิจกรรมให้คอนเนกต์กับธรรมชาติภายในสวน เพื่อแนะนำสวนสาธารณะในมิติใหม่ๆ ที่ใครหลายคนอาจไม่เคยรู้ ได้แก่ – สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) จาก ‘มล-สิรามล ตันศิริ’ กระบวนกรด้านธรรมชาติ จากกลุ่ม Mycorling– สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ จาก ‘ครูกุ้ง-ธัญลักษณ์ สุนทรมัฏฐ์’ นักบันทึกธรรมชาติ เจ้าของเพจ บันทึกสีไม้byครูกุ้ง– สวนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสวนกรมประชาสัมพันธ์ จาก ‘บาส-ปรมินทร์ […]
เปลี่ยนกรุงเทพฯ จากเมืองปั่นได้เป็นเมือง ‘ปั่นดี’ ‘BUCA’ ชมรมปั่นจักรยานที่อยากชวนคนมามองเมืองบนอานในความเร็วจากสองแรงขา
ในประเทศไทย ‘จักรยาน’ มักถูกมองเป็นกิจกรรมนันทนาการหรือการออกกำลังกายซะเป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อไหร่ที่จักรยานลงมาโลดแล่นอยู่บนถนน มันกลับกลายเป็นสิ่งอันตราย ไม่ตอบโจทย์การใช้งานในเมืองหลวงแห่งนี้ในสายตาของใครหลายคน แต่ในขณะเดียวกัน ยังมีคนกลุ่มหนึ่งที่ไว้ใจให้จักรยานเป็นตัวเลือกหลักในการเดินทาง อีกทั้งยังคงจัดกิจกรรมเชิญชวนผู้คนมาปั่นจักรยาน และขับเคลื่อนนโยบายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของพาหนะเดินทางประเภทนี้อยู่ ด้วยความเชื่อว่าจักรยานเป็นตัวเลือกเดินทางที่ดีของคนกรุงเทพฯ ได้มากกว่านี้ คอลัมน์ Think Thought Thought ชวนกระโดดขึ้นอาน ปั่นจักรยานไปคุยกับ ‘เป้-ธีรเมศร์ เลิศเศวตพงศ์’, ‘ปอนด์-วีรภัทร คำรัตน์’, ‘บุ๋น-จิรภัทร จิตวัฒนาศิลป์’ และ ‘แวน-วริทธิ์ธร สุขสบาย’ จากภาคีจักรยานเมือง กรุงเทพฯ (Bangkok Urban Cycling Alliance) หรือ ‘BUCA’ ที่ต้องการให้จักรยานเป็นตัวเลือกการเดินทางที่ไม่ถูกมองข้าม หากแต่การปั่นจักรยานในกรุงเทพฯ ดีกว่าการเดินทางแบบอื่นอย่างไร ไว้ใจความปลอดภัยได้แค่ไหน แล้วที่ผ่านมากรุงเทพฯ ใจดีกับคนปั่นจักรยานบ้างไหม หรือจริงๆ แล้วเมืองนี้ไม่มีทางเป็นเมืองจักรยานได้ ตามไปอ่านในบรรทัดต่อไปนี้ อยากให้พวกคุณเล่าว่า BUCA คือใคร ทำอะไรกันบ้าง ธีรเมศร์ : เริ่มแรกกลุ่มเราเป็นแค่การรวมตัวกันแบบหลวมๆ ของผู้ใช้จักรยานที่เคยร่วมเป็นอาสาสมัครในนโยบายการปรับปรุงทางจักรยานใน 50 เขตทั่วกรุงเทพฯ ของ […]
ไม่ต้องดื่มน้ำแบบกลัวหมดตอนอยู่นอกบ้านอีกแล้ว กทม.ติดตั้งตู้เติมน้ำเย็นฟรีกว่า 200 จุด ช่วยดับร้อนพร้อมลดจำนวนขยะพลาสติก
หลายคนรู้ดีว่า การดื่มน้ำระหว่างวันโดยเฉพาะการดื่มน้ำเย็นจากกระบอกน้ำเก็บความเย็นเป็นตัวช่วยคลายความร้อนจากอากาศอบอ้าวได้ดีสุดๆ แถมยังช่วยลดการสร้างขยะได้ แต่บางคนก็อาจรู้สึกว่าการพกกระบอกน้ำติดตัวไม่ได้ช่วยลดขยะเท่าไรนัก เพราะหากดื่มหมดแล้วก็ต้องซื้อน้ำดื่มมาเติมใหม่อยู่ดี กรุงเทพมหานครร่วมมือกับภาคเอกชนติดตั้งตู้กดน้ำเย็นฟรี หลังจากปี 2567 ที่ผ่านมา ได้มีการนำร่องติดตั้งตู้กดน้ำดื่มฟรี 10 จุดในกรุงเทพมหานครไปแล้ว โดยในปีนี้ได้ขยายพื้นที่การให้บริการตู้กดน้ำมากถึง 200 จุด ซึ่งตอนนี้ติดตั้งแล้วกว่า 188 จุดตามสถานที่ต่างๆ เช่น ศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักงานเขต สวนสาธารณะ ศูนย์กีฬา ศูนย์นันทนาการ ห้องสมุด ศูนย์ฝึกอาชีพ เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงจุดเติมน้ำได้สะดวกสบายขึ้น บริการตู้กดน้ำดื่มไม่ได้โฟกัสแค่การซัพพอร์ตเราให้ดื่มน้ำอย่างเพียงพอพร้อมคลายร้อนเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ประชาชนประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำดื่มระหว่างวัน รวมไปถึงช่วยลดขยะพลาสติกจากขวดน้ำใช้ครั้งเดียวทิ้งอีกด้วย เช็กจุดเติมน้ำได้ที่ tinyurl.com/bcnkpujx
ห้องเรียนโรงเรียนบ้านป่าก้าง เชียงใหม่ ที่สร้างด้วยถุงพลาสติกกว่า 850,000 ใบ
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อ พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา สร้างความเสียหายให้กับอาคารเรียนของโรงเรียนบ้านป่าก้าง จังหวัดเชียงใหม่ จนโครงสร้างอาคารเสี่ยงต่อการพังถล่ม แต่ตอนนี้ Green Road ได้เนรมิตถุงวิบวับจำนวนมหาศาลให้กลายเป็นห้องเรียนอเนกประสงค์เพื่อคืนพื้นที่การเรียนรู้ให้เด็กๆ #ถุงวิบวับคืออะไร ถุงวิบวับ หรือถุงพลาสติกหลายชั้น (Multilayer) คือถุงอะลูมิเนียมฟอยล์ที่ใช้บรรจุสินค้าต่างๆ อย่างกาแฟ อาหาร และเครื่องสำอาง ด้วยคุณสมบัติที่ป้องกันความชื้นและแสงแดดได้ดี ทำให้ถุงเหล่านี้ได้รับความนิยมมาก แต่ด้วยโครงสร้างหลายชั้นนี้เองกลับเป็นอุปสรรคในการรีไซเคิล เนื่องจากต้องแยกแต่ละชั้นออกจากกันซึ่งเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายสูง #เปลี่ยนถุงวิบวับให้เป็นห้องเรียน หลังจากที่ Green Road ได้รับบริจาคถุงเหล่านี้จากทั่วประเทศ ก็ได้นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ Upcycling ต่างๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ บล็อกปูพื้น และวัสดุก่อสร้าง และล่าสุดด้วยความร่วมมือช่วยกันบริจาคของประชาชน ทีม Green Road ได้รวบรวมถุงวิบวับมากถึง 850,000 ถุง หรือประมาณ 2,500 กิโลกรัม และนำมาสร้างห้องเรียนอเนกประสงค์ให้กับโรงเรียนบ้านป่าก้างที่เสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวได้สำเร็จ ทีม Green Road เล่าให้เราฟังว่า ขั้นตอนในการเปลี่ยนถุงวิบวับเป็นห้องเรียนมีกระบวนการที่คล้ายกับการทำโต๊ะเก้าอี้ทั่วๆ ไป เพียงแต่จะอัดในรูปแบบขนาดเล็กให้กลายเป็นฝาบ้าน #โครงการเปลี่ยนขยะถุงพลาสติกให้ใช้ประโยชน์ได้ […]
ชวนเดินลัดตรอกเลาะซอยกับสถานที่ใหม่น่าตามไปเช็กอิน ในย่าน ‘เจริญกรุง-บางรัก’ ฉบับอัปเดต
สุดสัปดาห์นี้ลองชวนคนที่รักไปเดินเล่นที่ย่าน ‘เจริญกรุง-บางรัก’ กัน เจริญกรุง-บางรัก ในความทรงจำของหลายคนคงจะมีสถานที่หรือร้านรวงเก่าแก่ ไอคอนิกประจำย่านที่ไม่ว่าใครมีโอกาสไปเยือนแถวนั้นก็ต้องแวะเช็กอินกันอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็น ‘ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ TCDC’ พื้นที่แห่งงานสร้างสรรค์และคลังความรู้คู่เจริญกรุง, ‘โรงภาพยนตร์ปรินซ์รามา’ โรงฉายหนังเก่าแก่ที่ผลัดเปลี่ยนเป็นโรงแรมใจกลางย่าน, ‘ประจักษ์เป็ดย่าง’ ร้านบะหมี่เป็ดเก่าแก่กว่า 100 ปี หรือร้าน ‘น้ำขม โหมงหวอ’ ที่จำหน่ายน้ำสมุนไพรโบราณในบางรักร่วม 80 ปี แต่หลังจากที่เราได้ลองกลับไปเดินเล่นในย่านนี้อีกครั้ง ก็พบว่าปัจจุบันย่านนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่สถานที่ที่เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ในอดีต หรือที่ตั้งของเหล่าร้านรวงเก่าแก่ที่เป็นตำนานอีกต่อไป แต่เริ่มมีธุรกิจและพื้นที่สร้างสรรค์ใหม่ๆ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของย่าน และกระจายตัวกันอยู่ตามตรอกซอกซอยมากขึ้น ครั้งนี้คอลัมน์ Urban Guide ขอแวะมาอัปเดตสถานที่ใหม่น่าแวะในย่านเจริญกรุง-บางรัก ที่จะทำให้การเดินเที่ยวเล่นในย่านนี้สนุกและแตกต่างไปจากเดิม เตรียมจดพิกัดและไปเดินด้วยกันได้เลย! 01 | Central Department Store Bangrak เริ่มต้นเดินกันจาก BTS สถานีสะพานตากสิน จะพบกับสถานที่แรกที่พลิกโฉมด้วยการอาบน้ำแต่งตัวใหม่ เปลี่ยนจาก ‘โรบินสัน บางรัก’ เป็น ‘เซ็นทรัล บางรัก’ ห้างสรรพสินค้าหนึ่งเดียวบนถนนเจริญกรุง ด้วยเหตุผลที่ต้องการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ให้ทันสมัยและสดใสขึ้นตามยุคปัจจุบัน รวมถึงตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่มีไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปจากเดิม ภายในห้างฯ […]
Piccolo Vicolo สาขาวังบูรพา-สามยอด สเปซพบปะสังสรรค์แห่งใหม่ เติมพื้นที่สีเขียวและรสชาติกาแฟดีๆ ให้ย่านเมืองเก่า
ถ้าใครเคยผ่านไปแถวราชเทวี หรือแวะเวียนไปที่ GalileOasis สเปซสีเขียวใจกลางเมือง คงต้องคุ้นชื่อร้านกาแฟ ‘Piccolo Vicolo’ อย่างแน่นอน ด้วยการตกแต่งตึกแนวลอฟต์ ธรรมชาติๆ ผสมกับเหล่าต้นไม้จนกลายเป็นพื้นที่สีเขียวใจกลางกรุง วันนี้ร้านกาแฟร้านโปรดของใครหลายคนได้เปิดสาขาใหม่ที่ย่านเมืองเก่า ในพื้นที่วังบูรพา-สามยอด ภายใต้คอนเซปต์สถาปัตยกรรมที่รีโนเวตตึกเก่าที่เก็บเครื่องจักรริมคลองโอ่งอ่างด้วยแนวคิด ‘Discovery and Treasuring’ ซึ่งยังคงเก็บรักษาโครงสร้างเดิมไว้บางส่วน และมีอะไรให้เราได้ค้นหาอีกมากมาย พร้อมคงบรรยากาศความธรรมชาติเหมือนสาขาแรกเอาไว้ สาขาใหม่นี้เป็นอาคาร 4 ชั้น ประกอบด้วยชั้น 1 – 3 เป็นพื้นที่ของคาเฟ่ โดยชั้น 1 เป็นโซนเคาน์เตอร์กาแฟและขนม มีพื้นที่ทั้ง Indoor และ Outdoor ชั้น 2 เป็นเสมือนห้องสมุด หรือ Co-working Space ที่ทุกคนเข้ามาใช้พูดคุยหรือนั่งทำงานได้ และชั้น 3 เป็นระเบียง เปิดโล่งให้ชมบรรยากาศของเมือง และนั่งสบายๆ ท่ามกลางต้นไม้ที่ร้านดูแลอย่างดี ส่วนชั้น 4 เป็น Poco House หรือห้องพักแบบ Private […]
ถ้าสถานการณ์น้ำท่วมโลกใน Flow มีมนุษย์เราจะทำอะไรเพื่อช่วยน้องๆ สัตว์ในเรื่องได้บ้าง
เมี้ยว หง่าว โฮ่งๆ บ๊อกๆ ภาพยนตร์ไร้ไดอะล็อก ที่มีแต่เสียงสัตว์สื่อสารกันตลอด 90 นาทีอย่าง Flow (มีเหมียว มีกัน วันน้ำท่วมโลก) เจ้าของรางวัลภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม (Best Animated Feature Film) เวที Oscars 2025 พ่วงด้วยตำแหน่งงานสุดเท่ที่สร้างด้วยโปรแกรม Blender โปรแกรมฟรีเพียงโปรแกรมเดียว กำกับโดย Gints Zilbalodis และร่วมเขียนบทกับ Matīss Kaža Flow เป็นแอนิเมชันแฟนตาซีผจญภัย เรื่องราวของชีวิตสัตว์ต่างๆ หลังเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมโลก ทั้งแมวดำ (ที่ต่อมาผู้กำกับออกมาแย้งว่าเป็นสีเทาเข้ม เพราะมีต้นแบบเป็นแมวเหมียวของเขาเอง) หมาโกลเดนรีทรีฟเวอร์ คาปิบารา ลีเมอร์ และสัตว์บนโลกนี้ต้องมาร่วมหัวจมท้าย ลงเรือลำเดียวกันเพื่อเอาชีวิตรอดจากอุทกภัยที่เกิดขึ้น โดยในเรื่องเราจะไม่ได้เห็นมนุษย์แม้แต่คนเดียว เป็นเหตุผลว่าทำไมภาพยนตร์เรื่องนี้ถึงไม่มีบทพูดใดๆ ทั้งสิ้น คอลัมน์ Urban Isekai จึงขอลองมาจินตนาการว่า ถ้าในเรื่อง Flow มีมนุษย์สักคน เราจะช่วยสร้างหรือออกแบบอะไรเพื่อช่วยน้องๆ สัตว์ในเรื่องได้บ้าง สร้างบ้านลอยน้ำ ในช่วงต้นเรื่องจะเห็นฉากที่น้องแมวดำกระโดดเข้าทางหน้าต่างเพื่อนอนลงบนเตียงที่แสนนุ่มและสบาย […]
‘Park Silom’ เปิดโซน Pet-friendly ผสมผสานชีวิตใจกลางเมืองที่เป็นมิตรกับสัตว์เลี้ยง พร้อมจัดงานมหกรรมสัตว์เลี้ยง 14 – 16 มีนาคมนี้
พื้นที่ใจกลางย่านธุรกิจและสัตว์เลี้ยง อาจเป็นภาพที่นึกไม่ค่อยออกว่าจะอยู่รวมกันได้อย่างไร แต่หลังจากนี้เราสามารถเห็นภาพเหล่านี้พร้อมกับพาน้องๆ ไปผ่อนคลายด้วยกันในเมืองได้ใน ‘Park Silom’ โครงการมิกซ์ยูสใจกลางย่านธุรกิจ ที่เปิดโซน Pet-friendly อย่างเป็นทางการภายใต้แนวคิด ‘Pet-Friendly Landmark’ พื้นที่ที่ผสมผสานไลฟ์สไตล์คนเมืองเข้ากับพื้นที่ที่เป็นมิตรทั้งสัตว์เลี้ยงและผู้ปกครอง ภายใต้แนวคิดนี้ ทาง Park Silom จึงเปิดให้ทุกคนนำสัตว์เลี้ยงเข้ามาในพื้นที่โครงการได้ตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไป ในส่วนพื้นที่ร้านค้าชั้น G รวมถึง ‘สวนสิวะดล’ พื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ของโครงการ โดยมีข้อกำหนดเพียงแค่ให้น้องๆ อยู่ในกระเป๋าหรือรถเข็นเท่านั้นเพื่อความสะดวกและปลอดภัยของสัตว์เลี้ยง มากไปกว่านั้น ทางโครงการยังมีการติดตั้งเทคโนโลยีระบบกรองอากาศที่ช่วยกรองฝุ่นและมลพิษในอากาศ เพื่อช่วยให้พื้นที่โครงการมีสภาพแวดล้อมที่สะอาดและปลอดภัยมากขึ้น เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กับเป็นมิตรต่อผู้ใช้บริการ และในโอกาสที่เปิดโซน Pet-friendly แล้ว ทาง Park Silom เองก็มีการจัดงานมหกรรมสัตว์เลี้ยง ‘City Tail Trail’ ด้วย โดยมีกิจกรรมไฮไลต์ทั้งโปรโมชันจากแบรนด์สินค้าสัตว์เลี้ยง การแสดงสุนัข รวมไปถึงการทำบัตร Membership สำหรับสัตว์เลี้ยงเพื่อรับสิทธิพิเศษในอนาคต งาน City Tail Trail จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 – 16 มีนาคม […]
Repair Café สเปซที่ส่งเสริมให้คนใช้ซ้ำด้วยการ ‘ซ่อม’ ลดขยะ ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มอายุขัยสิ่งของ เปิดทำการทุกวันเสาร์ที่สามของเดือน ณ บ้านสวนสุดาวรรณ
สิ่งของแต่ละชิ้นบนโลกล้วนมีอายุของตัวเอง แม้จะถนอมไว้ดีแค่ไหนก็ต้องมีความเสียหายบ้างตามกาลเวลา ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ หรือสิ่งของที่มีมูลค่าทางจิตใจ ซึ่งหากเราต้องจำใจเก็บทิ้งทุกทีที่ของเหล่านั้นใช้ไม่ได้แล้วคงจะรู้สึกเสียดายกันน่าดู การซ่อมจึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ แต่สำหรับคนที่ไม่ถนัดซ่อมแซมด้วยตัวเองคงต้องหาร้านซ่อม แต่ปัญหาคือเราไม่รู้พิกัดว่าร้านไหนที่จะช่วยคืนชีพของใช้ของเรากลับคืนมาได้ เราเลยอยากแนะนำให้ทุกคนรู้จัก ‘Repair Café’ พื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้การซ่อมแซมสิ่งของที่ก่อตั้งมาแล้วกว่า 2,800 แห่งทั่วโลก โดยเริ่มมาจากแนวคิดของ Martine Postma ที่ต้องการสร้างสเปซสำหรับพบปะกันระหว่างช่างซ่อมสิ่งของกับเจ้าของสิ่งของที่ต้องการซ่อม โดยมีมุมมองว่าการซ่อมเป็นการยืดอายุการใช้งานของของให้ยาวออกไปได้ และยังสามารถลดจำนวนขยะที่เกิดขึ้นไม่น้อยเลยทีเดียว โดยกิจกรรมนี้มี ‘Reviv’ สตาร์ทอัพเพื่อสิ่งแวดล้อมผู้ให้บริการเย็บซ่อมและปักเสื้อผ้าออนไลน์เป็นผู้จัดกิจกรรม ซึ่งทางองค์กรเองก็มีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมพฤติกรรมการซ่อมและการใช้ซ้ำให้กลายเป็นวัฒนธรรมกระแสหลักเช่นเดียวกัน จึงเกิดเป็นชุมชนส่งเสริมวัฒนธรรมการซ่อม (Repair Community Thailand) ที่ดูแลและสร้างสรรค์กิจกรรมใน Repair Café นั่นเอง ในช่วงที่ผ่านมา Repair Café เป็นการจัดกิจกรรมแบบสัญจรหมุนเวียนสเปซตามพื้นที่ย่านต่างๆ ที่สามารถเดินทางง่ายและใกล้รถไฟฟ้า แต่ในตอนนี้ Repair Café มีที่ตั้งประจำอย่างเป็นทางการแล้ว โดยจะเปิดทำการในทุกวันเสาร์ที่สามของเดือน ที่ ‘บ้านสวนสุดาวรรณ’ แนะนำให้ติดตาม Reviv ไว้เลย เพราะแต่ละเดือนจะมีช่างซ่อมอาสามาให้ความรู้วิธีการซ่อมสิ่งของในหมวดหมู่ที่แตกต่างกันออกไป และติดตามว่าในเดือนนั้นเปิดรับซ่อมสิ่งของประเภทใดบ้าง ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น เตรียมแค่ของที่อยากซ่อมมาเท่านั้นเอง (แต่จำกัดการซ่อม […]