ไม่ต้องตอบ ไม่ต้องสนใจ ไม่เป็นอะไรด้วย ลูกจ้างรัฐเบลเยียม ได้รับสิทธิใหม่ ไม่ต้องตอบข้อความเจ้านายหลังเลิกงาน

Right to Disconnect หรือสิทธิในการตัดขาดการติดต่อสื่อสารนอกเวลางานกำลังเติบโตขึ้นในหลายประเทศ ล่าสุดกฎหมายของเบลเยียมบอกว่าผู้บังคับบัญชาจะไม่สามารถติดต่อพนักงานนอกเวลาทำงานได้ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์เป็นต้นไป ยกเว้นในกรณีพิเศษเท่านั้น โชคดีของชาวเบลเยียมที่กรณีพิเศษดังกล่าวไม่ได้หมายถึงการแจ้งนัดประชุมด่วนรอบเช้า ทักมาแจ้งเปลี่ยนบรีฟกลางอากาศ แต่ระบุไว้ชัดเจนว่าต้องเป็น “สถานการณ์พิเศษที่คาดไม่ถึง และต้องมีการดำเนินการที่ไม่สามารถรอจนถึงเวลาทำงานของวันถัดไปได้เท่านั้น” ดังนั้นการทักมาขอเปลี่ยนสีกลางดึกถือว่าผิดกฎหมายแน่นอน ระเบียบข้อนี้ยังบอกว่าพนักงานไม่ควรเสียเปรียบในกรณีใดๆ หากไม่มีการตอบสนองเมื่อถูกติดต่อนอกเวลางาน “การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะช่วยให้พนักงานมีสมาธิดีขึ้น พักผ่อนได้มากขึ้น มีระดับพลังงานที่ยั่งยืนมากขึ้น” Petra De Sutter รัฐมนตรีว่าการกระทรวงข้าราชการพลเรือนเบลเยียม บอกว่าระเบียบนี้จะช่วยพนักงานรัฐในการต่อสู้กับความเครียดและความเบื่อหน่ายจากการทำงานหนัก แต่ก็ยังไม่ได้ระบุบทลงโทษสำหรับพนักงานที่ฝ่าฝืนกฎข้อใหม่แต่อย่างใด  แม้ข้อบังคับดังกล่าวจะมีผลกับข้าราชการเท่านั้น แต่ก็ยังมีความหวังว่าจะสามารถนำมาปรับใช้กับพนักงานเอกชนได้ Thierry Bodson ประธานสหภาพแรงงานเบลเยียมบอกว่าการตัดสินใจครั้งนี้มีความสำคัญมาก และถือเป็นการให้สิทธิโดยแท้จริงต่อข้าราชการกว่า 65,000 คน ในการตัดการเชื่อมต่อหลังเวลางาน ก้าวต่อไปที่เป็นการขยายกฎหมายให้ครอบคลุมถึงพนักงานทุกคนคือเรื่องที่ท้าทายสำหรับเบลเยียม  “นี่คือการเดินไปข้างหน้า สหภาพแรงงานของเราต้องการขยายกฎหรือหลักการนี้ไปยังภาคเอกชนซึ่งต้องมีการแก้ไขกฎหมายอีกหลายฉบับ และกระบวนการด้านนิติบัญญัติจะยาวและซับซ้อนกว่านี้มาก”  ถือเป็นทิศทางที่ดีและน่าติดตามเมื่อประเทศในยุโรปจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ได้ออกกฎหมาย Right to Disconnect หลังจากมีพนักงานทำงานจากที่บ้านมากขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ล่าสุดโปรตุเกสได้นำกฎหมายนี้มาใช้ในวงกว้างเพื่อหวังจะปรับปรุงคุณภาพชีวิตของการทำงาน ในขณะที่ฝรั่งเศสบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2016

BOOK AND BED TOKYO โฮสเทลฮิตที่ตอบโจทย์ทั้งการนอน การอ่าน และการทำงานนอกบ้าน

BOOK AND BED TOKYO เป็นโฮสเทลที่มีแนวคิดว่า ทุกคนสามารถดื่มด่ำกับหนังสือจำนวนกว่า 4,000 เล่มที่จัดเก็บในห้องหนังสือขนาดใหญ่ได้อย่างง่ายดาย ได้นอนหลับพักผ่อนบนเตียงสบายๆ เป็นแหล่งพบปะกันของเหล่าหนอนหนังสือ และยังได้จิบเครื่องดื่มจากคาเฟ่ในที่พักระหว่างการอ่านหนังสือหรือทำงานได้อย่างรื่นรมย์ ทำให้โฮสเทลที่เต็มไปด้วยสิ่งพิมพ์มากมายแห่งนี้ เหมาะสำหรับการอ่านหนังสือในช่วงพักจากการทำงาน อย่างในสาขาชินจูกุ ก็มีชั้นหนังสือเรียงกันเป็นแถวๆ และมีเตียงซ้อนกัน ยิ่งไปกว่านั้น ที่พักสำหรับยอดนักอ่านดังกล่าว ยังเหมาะสมกับคนทำงานแบบ Telework ซึ่งทำงานอยู่ที่ไหนบนโลกก็ได้เสียด้วย ที่พักเจ้าไอเดียนี้ มีจำนวนเตียงทั้งหมด 55 เตียง แบ่งพื้นที่อ่านหนังสือด้วยผ้าม่าน ซึ่งมีให้เลือกทั้งในรูปแบบห้องเดี่ยวและห้องคู่ พร้อมวิวแสงสีช่วงตอนกลางคืนของย่าน Kabukicho ในชินจูกุ ทั้งนี้ยังมีห้องอาบน้ำ และห้องสุขาส่วนกลางที่แยกตามเพศไว้ให้บริการด้วย  จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ BOOK AND BED TOKYO ถูกมองว่าเป็นร้านหนังสือที่ผู้คนมาพักค้างคืนได้ อย่างที่สาขาชินจูกุ ผู้ใช้บริการจะได้รับประสบการณ์การนอนข้างชั้นวางหนังสือประมาณ 2,500 เล่ม ซึ่งมีประเภทและสไตล์ที่หลากหลาย ตั้งแต่นวนิยาย มังงะ สมุดภาพ และตำราปรัชญา แม้ว่าจะไม่มีการจัดจำหน่ายหนังสือ แต่บรรดาแขกก็สามารถหยิบมันมาอ่านได้เท่าที่ใจต้องการ ซึ่งโฮสเทลนี้ไม่ได้มีแค่เตียงนอนรองรับคนมาทำงานรูปแบบระยะไกลเท่านั้น แต่ยังมีพื้นที่ส่วนกลางที่มีผู้คนจำนวนมากมาใช้สอยด้วย ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ซึ่งคิดเป็นจำนวนถึง 70 […]

PP Meltblown พลาสติกที่อยู่ในชีวิตประจำวันของทุกคน l Now You Know

เม็ดพลาสติก PP Meltblown คืออะไร ทำไมเราต้องทำความรู้จักกับเจ้าสิ่งนี้ด้วย? ก็เพราะหน้ากากอนามัยที่เราใส่ช่วงออกจากบ้าน หน้ากาก N95 ที่ใส่กันฝุ่นพิษ PM 2.5 หรือแม้แต่ชุดป้องกันส่วนบุคคล PPE ที่ทุกคนได้ยินกันบ่อยช่วงโควิด ล้วนทำมาจากเม็ดพลาสติกชนิดนี้ มันจึงใกล้ตัวและอยู่ในชีวิตทุกคนอย่างแยกไม่ออก ใกล้ตัวขนาดนี้ เลยอยากจะชวนทุกคนมาทำความรู้จักให้มากขึ้น แถมตอนนี้ประเทศไทยเรายังมีโรงงานผลิตและพัฒนา PP Meltblown เป็นเจ้าแรกโดย IRPC ซึ่งช่วยยกระดับศักยภาพการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์แบบไม่ต้องง้อการนำเข้าจากต่างประเทศอีกแล้ว Source : https://www.facebook.com/IRPCofficial/ #UrbanCreature #ReinventTheWayWeLive #NowYouKnow #IRPCThailand #PPMeltblown #Polimaxx

‘ความรักอัดกระป๋อง’ ขายในตู้อัตโนมัติ บริการใหม่จากบริษัทหาคู่ในญี่ปุ่น

ตู้ขายสินค้าอัตโนมัติเป็นเหมือนอีกสัญลักษณ์หนึ่งของญี่ปุ่นไปแล้ว ไม่ใช่แค่ปริมาณที่มีอยู่ทั่วเมืองเท่านั้น แต่ความล้ำของสินค้ายังพัฒนาและใส่ไอเดียไปต่อได้ไม่มีที่สิ้นสุด มีขายตั้งแต่เครื่องดื่มสารพัดชนิด ไปจนถึงขนมและอาหารหลากหลายยี่ห้อ จนล่าสุดบริษัทหาคู่ในญี่ปุ่นเกิดไอเดียสนุกๆ เอา ‘ความรัก’ มาอัดกระป๋องขายในตู้อัตโนมัติ ให้คนโสดได้แวะเลือกช้อปโปรไฟล์คนที่อยากเดตได้ เพราะอยากให้คนญี่ปุ่นมีความรักและแต่งงานกันมากขึ้น  ‘ความรักอัดกระป๋อง’ คือไอเดียของบริษัทจัดหาคู่ Matching Advisor Press (MAP) ที่นำเจ้าตู้สุดแปลกนี้ไปตั้งไว้ที่เมืองคาตายามะในโตเกียว มองภายนอกดูไม่ต่างจากตู้เครื่องดื่มทั่วไปเลยสักนิด เพราะเป็นกระป๋องอะลูมิเนียมเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่ไม่มีเครื่องดื่มข้างใน และคุณจะได้โอกาสในการคุยกับบริษัทจัดหาคู่แทน (ไม่ได้คุยกับคนในกระป๋องโดยตรงอย่างที่คิด) กระป๋องสีชมพูคือโปรไฟล์ของผู้หญิง ส่วนสีครีมคือของผู้ชาย ซึ่งบริการนี้ของ MAP ไม่ได้ทำเอาสนุกเท่านั้น แต่พวกเขาหวังจะช่วยให้คนโสดในญี่ปุ่นได้เจอความสัมพันธ์ที่จริงจัง ไปจนถึงขั้นแต่งงานกันเลย  ความรักกระป๋องสนนราคาอยู่ที่ 3,000 เยน (ประมาณ 900 บาท) ถือว่าราคาไม่ได้โหดร้ายเกินไป เมื่อแลกกับโอกาสที่อาจจะเจอรักแท้ แต่ถึงจะเลือกคนที่เราอยากเดตได้ บริการนี้ก็ไม่ได้การันตีว่าซื้อไปแล้วจะได้ออกเดตจริงๆ และคนที่เราได้เดตอาจจะไม่ใช่คนจากกระป๋องที่เราเลือกจริงๆ ก็ได้ ที่กระป๋องจะมีแค่โปรไฟล์สั้นๆ ที่เขียนโดยที่ปรึกษาของ MAP ซึ่งทำหน้าที่เป็นแม่สื่อแปะอยู่ และระบุอายุเอาไว้ให้จินตนาการต่อเท่านั้น ไม่ได้มีรูปหรือข้อมูลส่วนตัวแปะไว้แต่อย่างใด เช่น “ฉันคือที่ปรึกษาของอิชิกาวะ เธออายุ 27 ปี และอยากแต่งงาน ฉันสามารถแนะนำให้คุณได้นะ” […]

‘ส่งสาร’ ร้านกาแฟของคนอุบลฯ ที่อยากส่งสารคาเฟอีนเสิร์ฟคู่การเมือง ดนตรี และศิลปะ

ในฐานะลูกหลานคนอุบลฯ เราคุ้นเคยกับ ‘ย่านเมืองเก่า’ ในตัวอำเภอเมืองอุบลราชธานี เป็นอย่างดี เพราะครอบครัวและคนรู้จักหลายคนต่างอาศัยอยู่ในย่านนี้มานาน จึงเรียกว่าเติบโตมากับย่านนี้ก็ว่าได้  ป๊าเคยเล่าว่า ในอดีตย่านเมืองเก่าเปรียบเสมือนศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของเมืองอุบลฯ ร้านค้า ผู้ประกอบการ และธุรกิจต่างๆ มารวมตัวกันอยู่ที่นี่อย่างคึกคัก เต็มไปด้วยผู้คนที่ออกมาท่องเที่ยว และจับจ่ายใช้สอยทั้งกลางวันและกลางคืน  แต่ช่วง 20 – 30 ปีที่ผ่านมา ย่านนี้ก็ซบเซาลงเพราะร้านรวงและธุรกิจต่างๆ กระจายตัวออกไปเติบโตบนพื้นที่อื่นในเมือง จึงมีไม่กี่ร้านเท่านั้นที่ยังเปิดกิจการ ส่วนที่เหลือก็เป็นบ้านพักหรือตึกปล่อยเช่า กลายเป็นเมืองเก่าที่เหลือไว้แต่เรื่องราวในอดีต  ปีนี้เรามีโอกาสกลับไปโอลด์ทาวน์อีกครั้ง เพื่อพบกับ ‘เป็ด-ยุทธนา ดาวเจริญ’ คนอุบลฯ รุ่นใหม่ผู้ก่อตั้ง ‘Songsarn Coffee & Home Roaster’ หรือ ‘ส่งสาร’ ร้านกาแฟที่ตั้งอยู่บนซอยเล็กๆ ที่เคยร้าง มืด และเงียบเหงา ทว่าตอนนี้ทั้งคึกคัก สนุก และมีกาแฟรสชาติถูกปากให้ผู้มาเยือนเลือกสรร เป็ดเป็นมนุษย์ Active จัดอีเวนต์ทอล์กเรื่องการเมือง เสวนาเรื่องศิลปะที่ขายบน NFT และเอาวงแจ๊สฟิวชันอีสานจากนักดนตรีสายเลือดอุบลฯ มาเพอร์ฟอร์ม กิจกรรมเหล่านี้ลบภาพจำของซอยนี้ที่เคยเป็นแค่ทางลัดสำหรับกลับรถ ส่วนตอนกลางคืนเป็นซอยมืดเปลี่ยวที่มีรถจอดเต็มถนน แต่ทุกวันนี้ในซอยเล็กๆ […]

‘เก็บกลับ-รีไซเคิล’ ไทยเบฟ ส่งต่อไออุ่นผ่านผ้าห่มจากขวดพลาสติกรีไซเคิลแก่ผู้ประสบภัยหนาว

ในช่วงต้นปีแบบนี้พี่น้องในพื้นที่ห่างไกล โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังคงต้องเผชิญกับภัยหนาวอยู่อย่างต่อเนื่องซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ เพราะหน้าหนาวของพวกเขาคือหนาวจริงๆ เกินกว่าที่ร่างกายจะต้านทาน.บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พร้อมด้วยพันธมิตรอีกหลายภาคส่วน ดำเนินโครงการ ‘ไทยเบฟ..รวมใจต้านภัยหนาว’ เพื่อส่งมอบผ้าห่มแก่พี่น้องในพื้นที่ห่างไกล มาเป็นเวลากว่า 21 ปี พร้อมขยายเครือข่ายความร่วมมืออย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างสังคมแห่งการ “ให้” ที่ยั่งยืน.ไทยเบฟในฐานะผู้ผลิตเครื่องดื่มที่ให้ความสำคัญในเก็บกลับบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคเพื่อนำไปรีไซเคิลจึงได้นำแนวคิดนี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับบรรจุภัณฑ์ และสร้างประโยชน์ส่งต่อให้ชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับที่องค์กรมุ่งเน้นการลดปริมาณการใช้ทรัพยากร การออกแบบและเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด.โดย “โครงการ เก็บกลับ-รีไซเคิล” ภายใต้บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล จำกัด จากแนวคิดว่าการดูแลสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของทุกคน และเริ่มต้นได้ที่ตัวเรา ได้มีการจัดเวิร์กช็อปเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ พร้อมตั้งจุดรับขวดพลาสติกบรรจุเครื่องดื่ม พร้อมทั้งออกบูธกิจกรรมตามโรงเรียน ชุมชน หรืองานต่างๆเพื่อรณรงค์กระตุ้นการเรียนรู้การคัดแยกบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภค ตั้งแต่ต้นทางที่มีคุณภาพ กลับคืนสู่กระบวนการรีไซเคิล เพื่อลดปริมาณของเสียในสิ่งแวดล้อมและสร้างประโยชน์แก่สังคม.ซึ่งหนึ่งในประโยชน์ที่ว่าก็คือ การเก็บกลับขวดพลาสติก PET ที่บริโภคแล้ว เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเป็นวัตถุดิบและผลิตเป็นเส้นใย rPET และถักทอเป็น “ผ้าห่มผืนเขียวรักษ์โลก” เพื่อมอบให้แก่ผู้ประสบภัยหนาว.โดยเส้นใยจากขวด rPET จะช่วยลดพลังงานการผลิตลงได้ 60% ลดปริมาณการปล่อย co2 ได้ 32% […]

แจกฟรีฟอนต์ลายมือ จิตร ภูมิศักดิ์ ต่อยอดจากนิทานวาดหวังเล่ม ‘จ จิตร’ โดยกลุ่มวาดหวัง

ย้อนไปเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ‘วาดหวังหนังสือ’ ได้จัดทำหนังสือภาพสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ในเนื้อหาสิทธิ เสรีภาพ ความฝัน ความหวัง ประชาธิปไตย และความเป็นไปของบ้านเมือง ในรูปแบบเซตนิทานวาดหวัง 8 เรื่อง โดยหนึ่งในนั้นคือ จ จิตร ว่าด้วยชีวิตของจิตร ภูมิศักดิ์ นักคิดนักเขียนที่มีผลงานวิชาการมากมาย ทั้งยังเป็นบุคคลสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://urbancreature.co/8-children-books/) นอกจากได้รับการสนับสนุนในกลุ่มคนรักประชาธิปไตยแล้ว นิทานวาดหวังยังได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากกระทรวงศึกษาธิการและทางการไทย จนทำให้เกิดกระแสเป็นข่าวมากมาย ส่งผลให้ยอดขายพุ่งเกินความคาดหมายของทีมผู้จัดทำ ได้รับการจัดพิมพ์ครั้งที่ 2 เมื่อปลายปีที่ผ่านมา หลังจากหักค่าใช้จ่ายในการจัดทำหนังสือ กลุ่มวาดหวังได้นำเงินไปส่งมอบให้หน่วยงานและกลุ่มกิจกรรมต่างๆ ที่ทำงานเพื่อสังคม ช่วยเหลือประชาชนในช่วงโควิด รวมถึงผู้ลี้ภัยไทยในประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งยังนำไปทำโปรเจกต์ความคิดสร้างสรรค์เพื่อสังคมที่น่าสนใจด้วย โปรเจกต์ที่ว่านั้นคือการทำฟอนต์จิตร ภูมิศักดิ์ จากลายมือของจิตร โดยมีกลุ่มประชาธิปไทป์เป็นผู้จัดทำให้ฟอนต์นี้ใช้งานได้ จุดประสงค์คือต้องการให้คนไทยได้ใช้ฟอนต์จิตรในการอ่านเขียน ซึมซับรับรู้ และรู้จักจิตรในอีกแง่มุมหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นการทำให้ชื่อของเขาที่มาพร้อมความหวัง พลัง และความปรารถนาดีต่อส่วนรวมอยู่ร่วมในสังคมไทยไปอีกตราบนานเท่านาน ผู้ที่สนใจนำฟอนต์ไปใช้พิมพ์หนังสือหรือสื่อต่างๆ สามารถดาวน์โหลดฟรีที่ https://tinyurl.com/y4g2n3xm ซึ่งทางทีมผู้จัดทำขอแค่ให้ช่วยระบุเครดิตชื่อฟอนต์จิตร ภูมิศักดิ์ หรือติดแฮชแท็ก #ฟอนต์จิตร เมื่อใช้งานบนโลกออนไลน์ *หมายเหตุ ฟอนต์จิตรมีเพียงตัวอักษรไทย เลขไทย และเลขอารบิกเท่านั้น  […]

Home De Cafe คาเฟ่ในลำปางที่ให้ความรู้สึกเหมือนมาบ้านเพื่อน

เมื่อไม่กี่ปีมานี้ กระแส ‘กลับบ้านเกิด’ ของคนรุ่นใหม่ที่เข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ เริ่มก่อร่างสร้างตัวให้เห็นชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ที่เกิดปรากฏการณ์ The Great Resignation หรือการลาออกครั้งยิ่งใหญ่ของมนุษย์เงินเดือนทั่วโลก ทำให้คนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยเริ่มคิดถึงการกลับไปตั้งตัวที่บ้านเกิด บางคนกลับไปสานต่อกิจการของครอบครัว บางคนกลับไปเรียนรู้การทำไร่สวนบนที่ดินของที่บ้าน และบางคนก็กลับไปเริ่มต้นทำธุรกิจของตัวเอง ซึ่งนั่นทำให้ที่ผ่านมาเราได้เห็นพื้นที่สร้างสรรค์ใหม่ๆ เกิดขึ้นเรื่อยๆ ในต่างจังหวัด บ้างซัปพอร์ตชุมชนและคนในท้องถิ่นโดยตรง บ้างซัปพอร์ตพื้นที่รอบๆ โดยทางอ้อม อาจเป็นการสร้างแลนด์มาร์กใหม่ขึ้นมา หรือกระทั่งนำพาวิถีชีวิตใหม่ๆ สู่คนในท้องถิ่น ‘HOME De CAFE’ ร้านอาหารกึ่งคาเฟ่สไตล์ฟิวชันภายในหมู่บ้านสามัคคีฝั่งตะวันออกในตำบลพิชัย จังหวัดลำปางเองก็เป็นหนึ่งในพื้นที่เหล่านั้น  ด้วยเหตุผลที่อยากกลับมาอยู่กับครอบครัว ทำให้ นิก-สุริยา บุตรพิชัย อดีตช่างภาพวัย 29 ปีตัดสินใจทำคาเฟ่เล็กๆ แห่งนี้โดยใช้พื้นที่บ้านที่อาศัยอยู่ รวมถึงความสนใจในศิลปะและประสบการณ์ตอนที่ได้ไปเรียนและทำงานด้านอาหารที่ประเทศออสเตรเลียก่อร่างสร้างสถานที่นี้ขึ้นมาด้วยตัวเองจนตอนนี้ HOME De CAFE เปิดมาได้ปีกว่าแล้ว และพร้อมเติบโตทดลองอะไรใหม่ๆ ตามขวบวัยของเจ้าของ คาเฟ่ในบ้าน เนื่องจากเติบโตมาในครอบครัวข้าราชการ แม่ทำงานราชการ พ่อเป็นทหาร ทำให้นิกต้องใช้ชีวิตอยู่ในกรอบมาตลอด จนกระทั่งในวันที่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษา เขาตัดสินใจไปเรียนต่อมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ เพื่อพบเจอผู้คนและบรรยากาศใหม่ๆ ได้ลองดิ้นรนใช้ชีวิตด้วยตัวเอง ถึงอย่างนั้น นิกก็ออกตัวกับเราว่าทุกสิ่งที่ทำล้วนไม่ได้มาจากความตั้งใจแรก […]

ชวนดูหนังจากชีวิต 6 ศิลปินหัวขบถ Banksy, Ai Weiwei, Van Gogh ฯลฯ ที่ River City Bangkok

แบงก์ซี (Banksy), อ้าย เว่ยเว่ย (Ai Weiwei), วิเวียน ไมเออร์ (Vivian Maier), ฟรีดา คาห์โล (Frida Kahlo), ฟาน ก็อกฮ์ (Van Gogh) และเบนยามิน มิลลิพีด์ (Benjamin Millepied)  หากเอ่ยชื่อศิลปินจากทั่วทุกมุมโลกเหล่านี้ หลายคนคงเคยได้เห็นหรือรับชมผลงาน และวีรกรรมขบถ ของพวกเขามาบ้าง หรือหลายคนอาจจะคุ้นแค่ชื่อแต่ยังไม่เคยรู้เรื่องของเขาเลย จะดีแค่ไหนถ้าได้ทำความรู้จักชีวิตและผลงานของพวกเขาไปพร้อมกันผ่านจอภาพยนตร์ River City Bangkok จัดโปรแกรมภาพยนตร์ชื่อ ‘PASSION’ ที่จะชวนทำความรู้จักชีวิตศิลปินทั้ง 6 ชีวิตที่เอ่ยถึงข้างบน ค้นหาเบื้องหลังแนวคิดของผลงาน และชีวิตของพวกเขาหลังผลิตผลงานที่เสียดสีขนบธรรมเนียมของสังคมเก่าว่าเป็นอย่างไร  สำหรับเดือนมกราคม วันที่ 15 และ 29 นี้ ผู้จัดเริ่มต้นด้วย ‘Sunflowers’ (2021) ภาพยนตร์สารคดีกำกับโดย เดวิด บิกเคอร์สตาฟฟ์ (David Bickerstaff) จะสำรวจภาพดอกทานตะวันอันโด่งดังของฟาน ก็อกฮ์ว่ามีนัยสำคัญอย่างไร ทำไมถึงเลือกวาดภาพนี้ […]

Sara Cultural Centre อาคารไม้สูงที่สุดในโลก และลดการปล่อย CO₂ ตั้งแต่การก่อสร้าง

Sara Cultural Centre คือหนึ่งในโครงการออกแบบสถาปัตยกรรมแบบยั่งยืนที่ถูกนำเสนอใน Build Better Now นิทรรศการออนไลน์ในวาระการประชุม #COP26 ที่เพิ่งจบลงไป เป็นอาคารไม้ที่สูงที่สุดในโลกแห่งใหม่ล่าสุดในปี 2021 และเพิ่งเปิดให้ใช้งานเมื่อวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมา อาคารหลังนี้ไม่ได้เป็นเคสที่น่าสนใจแค่เรื่องสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวอย่างการออกแบบพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองขึ้นมาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและทำให้คนเข้าถึงศิลปะและวัฒนธรรมได้ง่ายยิ่งขึ้น อาคารไม้ 20 ชั้น ความสูง 80 เมตรแห่งนี้ เป็นโครงการของเมืองเชลเลฟเตโอ (Skellefteå) ในประเทศสวีเดน ที่เปิดให้มีการประกวดแบบเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและเฟ้นหาสถาปนิกมือดีที่จะทำให้พื้นที่ใจกลางเมืองแห่งนี้เป็นพื้นที่สาธารณะที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานจริงๆ ซึ่งผู้ชนะการออกแบบคือ White Arkitekter ที่เนรมิตอาคารไม้ให้ออกมาสวยงามและพลิกโฉมวงการก่อสร้างให้ดีต่อสิ่งแวดล้อมได้ในทุกมิติ ปัจจุบันเชลเลฟเตโอเป็นเมืองที่มีประชากรเพียง 72,000 คน แต่อาคารศูนย์วัฒนธรรมแห่งนี้เป็นอีกหนึ่งหมุดหมายสำคัญในแผนพัฒนาที่จะดึงดูดให้คนตัดสินใจย้ายมาอยู่ที่นี่ให้ได้มากขึ้นถึง 100,000 คนในปี 2030 เพราะอาคารแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้จัตุรัสใจกลางเมือง ใกล้กับศูนย์การท่องเที่ยว มีประตูให้เข้าได้จากทุกทิศทาง มีถนนล้อมรอบ ชั้นล่างยังเป็นกระจกใสที่ทำให้คนที่ผ่านไปมาสามารถมองเห็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในได้ตลอดเวลา และที่สำคัญยังอยู่ในจุดที่คนเมืองสามารถเข้าถึงง่ายๆ ด้วยขนส่งสาธารณะ  อาคารแห่งนี้มีทั้งหอศิลป์ พิพิธภัณฑ์ โรงละคร ห้องสมุดประจำเมืองแห่งใหม่ โรงแรม ร้านอาหาร สปา และศูนย์การประชุม เป็นพื้นที่สาธารณะในร่มที่เชิญชวนให้คนในเมืองได้ออกมาใช้เวลาและมีบทสนทนากันมากขึ้น โดยในแต่ละห้องจะมีพื้นที่ใช้สอยสำหรับทำกิจกรรมที่แตกต่างกัน […]

มุสลิมกินได้ไหม ถูกหลักฮาลาลหรือเปล่า เนื้อสัตว์จากแล็บไร้ความชัดเจนทางศาสนา จนอาจชะงักทั้งอุตสาหกรรม

เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงหรือ Cultured Meat กำลังเผชิญหน้ากับคำถามข้อสำคัญที่ส่งผลต่อการเติบโตของทั้งอุตสาหกรรม เมื่อเนื้อที่ใช้วิธีการเพาะขึ้นมาจากชิ้นส่วนของสัตว์ ที่เพาะเลี้ยงขึ้นมาโดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และไม่ได้ถูกเชือดตามหลักฮาลาล ผู้บริโภคกลุ่มสำคัญอย่างชาวมุสลิมหลายพันล้านคนทั่วโลก หรือศาสนาอื่นที่มีกฎด้านอาหาร จะสามารถบริโภคอาหารแห่งอนาคตนี้ได้โดยไม่ผิดหลักศาสนาหรือไม่ Eat Just สตาร์ทอัปผลิตเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง จากซานฟรานซิสโก กำลังวางเดิมพันระหว่างเทคโนโลยีกับขนบธรรมเนียมที่มีมาอย่างช้านาน เพื่อเสนอแนวทางใหม่ในการป้อนโปรตีนให้กับโลก ในปี 2020 Eat Just เริ่มวางจำหน่ายนักเก็ตไก่ที่เพาะในห้องปฏิบัติการในสิงคโปร์ ก่อนจะระดมทุนเงินได้มากถึง 267 ล้านดอลลาร์ในปีต่อมา แผนของบริษัทคือมุ่งหน้าไปสู่ตลาดมุสลิม และมีแผนจะสร้างโรงงานในประเทศกาตาร์ ทว่าเมื่อปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญทางศาสนาแล้ว เนื้อสัตว์ชนิดใหม่นี้ยังไม่ได้รับอนุมัติ และยังไม่มีตราฮาลาลประทับอยู่บนสินค้าแต่อย่างใด Cultured Meat เป็นอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว และอาจมีมูลค่าถึง 25,000 ล้านภายในเวลา 10 ปี มหาเศรษฐีของโลกทั้ง Bill Gates, Richard Branson แม้กระทั่งผู้ร่วมก่อตั้งเฟซบุ๊กอย่าง Eduardo Saverin และอีกมากมายกำลังลงทุนในธุรกิจแห่งอนาคตและหวังให้กำไรงอกงามจากห้องแล็บ อย่างไรก็ตาม Nahdlatul Ulama องค์กรอิสลามที่ใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซียกล่าวในแถลงการณ์เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาว่า เซลล์ที่นำมาจากสัตว์ที่มีชีวิต และเพาะในเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพจะอยู่ในหมวดหมู่ของซากสัตว์ ซึ่งถือว่าไม่สะอาด และมีกฎห้ามไม่ให้บริโภค แต่ประตูก็ยังไม่ได้ปิดตายโดยสิ้นเชิงเมื่อ […]

กชกร วรอาคม กับปณิธานการออกแบบพื้นที่สาธารณะเพื่อผู้คนในยุคนี้และยุคหน้า

“Can we fix the climate problem in one generation?” เป็นคำถามที่กชกร วรอาคม ถามกับตัวเอง เป็นคำถามที่ทำให้เธอที่เป็นมนุษย์ตัวเล็กๆ บนโลก เริ่ม ‘ลงมือทำ’ หลายสิ่งหลายอย่าง เป็นคำถามที่เธอพูดในคลิป ที่ท่านเซอร์ เดวิด แอทเทนเบอเรอห์ นักธรรมชาติวิทยาคนสำคัญ นำไปเปิดประกอบสปีชที่ COP26 หรือการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 ณ เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ เมื่อเดือนที่ผ่านมา ซึ่งกชกรได้เข้าร่วมเพื่อรับรางวัลด้านการออกแบบจาก UN เป็นคำถามที่เธอถามกับผู้คนที่มาร่วมงานประกาศเดินหน้าธุรกิจควบคู่กับการกู้วิกฤตโลกของ SCG หรือ SCG ESG Pathway เริ่มด้วยกัน เพื่อเรา เพื่อโลก ในครั้งนี้ และ My answer would be yes. We have to. เป็นประโยคที่เธอตอบคำถามของตัวเอง ‘กชกร วรอาคม’ หรือที่หลายคนเรียกว่า ‘อาจารย์กช’ ตามบทบาทภูมิสถาปนิก พ่วงด้วยอาจารย์พิเศษด้านภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เป็นทีมงานออกแบบโปรเจกต์พื้นที่สาธารณะเด่นๆ หลายที่ ไม่ว่าจะเป็นโครงการอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ, สวนหลังคาอุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี ที่ธรรมศาสตร์ รังสิต, Siam Green Sky สวนเกษตรลอยฟ้า สยามสแควร์, สวนบำบัดลอยฟ้าที่โรงพยาบาลรามาธิบดี, ทางเดินคนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา ที่ดัดแปลงจากโครงสร้างเดิมของโครงการรถไฟฟ้าลาวาลิน, สวนสาธารณะเลียบคลองช่องนนทรี และงานอื่นๆ อีกมากมาย สาวแพสชันสูงคนนี้ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในเวทีระดับโลกต่างๆ เธอเป็นคนไทย 1 ใน 3 คน ที่ติดอยู่ในลิสต์ ‘TIME 100 […]

1 191 192 193 194 195 371

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.