กฎหมายใหม่อาจทำให้เยาวชนข้ามเพศในสหรัฐอเมริกา เสี่ยงไม่ได้รับการรับรองเพศและการรักษาพยาบาล

เยาวชนและคนหนุ่มสาวข้ามเพศในสหรัฐอเมริกาจำนวนมาก มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับการดูแลด้านสุขภาพและการยืนยันเรื่องเพศ เพราะการประกาศห้ามในรัฐมากกว่า 12 รัฐ  ทั้งนี้จำนวนเยาวชนข้ามเพศอายุ 13-17 ปี ประมาณ 150,000 คน ซึ่งกว่า 10,000 คนอาศัยในรัฐเท็กซัสและอาร์คันซอซึ่งเป็นรัฐแรกที่เริ่มประกาศใช้กฎหมายและข้อบังคับแล้ว โดยยังมีเยาวชนข้ามเพศจำนวนอีกประมาณ 43,000 คนอาศัยในรัฐอื่นๆ ซึ่งกำลังมีการพิจารณาข้อบังคับเหล่านี้อยู่ด้วย สถานการณ์ในเท็กซัส เมื่อเดือนที่แล้ว ผู้ว่าการ Greg Abbott สั่งให้หน่วยงานของรัฐตรวจสอบครอบครัวของเยาวชนข้ามเพศ พบว่ามีเยาวชนมากถึง 23,700 คนกำลังเสี่ยงต่อการสูญเสียสิทธิที่จะยืนยันเพศในทางสาธารณสุข แม้มีวิจัยจำนวนมากชี้ให้เห็นว่าการดูแลเรื่องเพศช่วยซัปพอร์ตสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของคนข้ามเพศในภาพรวม แต่นโยบายทั้งในเท็กซัสและอาร์คันซอกลับเป็นไปตามคำสั่งศาล  ส่วนในรัฐอื่นๆ อีกหลายสิบแห่ง ก็ได้ออกกฎหมายจำกัดสิทธิรักษาพยาบาลที่จะช่วยยืนยันเรื่องเพศสำหรับผู้เยาว์ในทำนองเดียวกันออกมา เช่น บุคลากรทางการแพทย์และครอบครัวที่ช่วยให้เยาวชนข้ามเพศเข้าถึงการดูแลสุขภาพจะกลายเป็นอาชญากร รวมถึงการห้ามไม่ให้สิทธิต่างๆ ครอบคลุมในประกันสุขภาพ หรือการเข้าถึงกองทุนรัฐ โดยกฎหมายมักพุ่งเป้าไปที่ขั้นตอนการผ่าตัดแปลงเพศ  ตัวอย่างเช่น ในไอดาโฮ ร่างกฎหมายที่ผ่านสภาในเดือนนี้ จะตั้งข้อหาทางอาญากับพ่อแม่และผู้ให้บริการทางการแพทย์ และหากช่วยเหลือผู้เยาว์ที่เป็นคนข้ามเพศให้ได้รับการเปลี่ยนเพศตรงตามอัตลักษณ์จะต้องถูกจำคุกตลอดชีวิต  ผู้นำ GOP (พรรคริพับลิกัน) กล่าวไว้ว่ากฎหมาย HB 675 ตัวนี้ ลิดรอนสิทธิของผู้ปกครอง โดยรัฐบาลเข้าไปบงการอำนาจการตัดสินใจทางการแพทย์ของพ่อแม่และลูกๆ ซึ่งเขาเชื่อว่าการตัดสินใจที่ดีที่สุดเกี่ยวกับทางเลือกด้านการรักษาพยาบาลสำหรับเด็กนั้นควรมาจากพ่อแม่และผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ด้วย Source : VICE […]

มองสติกเกอร์ให้เป็นมากกว่าแผ่นลอก-ติด ไปกับนิทรรศการ Whatever Sticker ที่ XXXYYY Cafe วันนี้ – 30 เม.ย. 65

‘สติกเกอร์’ มีความหมายและมีบทบาทในชีวิตของพวกคุณอย่างไรบ้าง? สติกเกอร์ (Sticker) มีคำแปลเป็นภาษาไทยว่า ‘รูปลอก’ หรือที่เรารู้จักกันดีในรูปแบบแผ่นลอก-ติด-แปะ ที่มีหลากหลายลวดลายและสีสัน พบได้ทั่วไปในบ้านของเราเอง ร้านค้า ร้านอาหาร รวมไปถึงสถานที่สาธารณะ หากสังเกตดีๆ จะพบว่าแผ่นลอกเหล่านี้แฝงตัวอยู่รอบตัวพวกเรามานานหลายปีแล้ว ช่วงวัยเด็กหลายคนคงคุ้นเคยกับการซื้อสติกเกอร์การ์ตูนจากร้านเครื่องเขียนใกล้โรงเรียน หรือรถพุ่มพวงขายสติกเกอร์ที่ขับผ่านหน้าบ้าน บางคนมีสมุดสติกเกอร์เป็นของตัวเองไว้สะสมหรือเก็บไว้แลกรางวัล โตขึ้นมาหน่อยก็จะรู้จักสติกเกอร์สะสมความดี สติกเกอร์คำหยาบ และสติกเกอร์คำคมติดหลังรถ เมื่อเทคโนโลยีล้ำสมัยมากขึ้น สติกเกอร์ก็กลายร่างสู่รูปแบบดิจิทัล มีม และสารพัดอีโมจิ ที่ผู้คนซื้อขายกันตามโซเชียลมีเดีย ส่วนการใช้งานของสติกเกอร์ก็หลากหลาย ชนิดที่ว่าไม่มีข้อจำกัดหรือข้อกำหนดใดๆ ทั้งการใช้งานเพื่อตกแต่ง สื่อสาร เป็นของที่ระลึก หรือแม้แต่ในสถานการณ์โรคระบาด การใช้สติกเกอร์ยังเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของพวกเราเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เช่น การติดสติกเกอร์ไว้ที่ตัวหลังวัดอุณหภูมิร่างกายก่อนเข้าพื้นที่สาธารณะเพื่อเป็นการบอกว่าเราสบายดี หรือการใช้สติกเกอร์กำหนดพื้นที่เพื่อรักษาระยะห่างทางสังคม ความหลากหลายทั้งด้านการใช้งานและการสื่อความหมายของสติกเกอร์จึงเป็นที่มาของ Whatever Sticker นิทรรศการที่ชวนผู้คนจากหลากหลายแวดวงผลิตชิ้นงาน ‘สติกเกอร์’ ในมุมมองของตัวเอง นอกเหนือจากสติกเกอร์ที่มีรูปแบบแผ่นลอก-ติด โดยมีศิลปิน ครีเอเตอร์ นักออกแบบ นักสื่อสาร และนักรณรงค์ ร่วมจัดแสดงผลงานถึง 26 คน Whatever Sticker จัดแสดงสติกเกอร์ที่มีรูปแบบแปลกตา ฟังก์ชันล้ำ แถมยังซ่อนข้อความของผู้ออกแบบไว้ด้วย […]

Tiffany’s Show เพชรแห่งพัทยาที่อยากเอาใจลูกค้าพอๆ กับสร้างอาชีพให้ชาว LGBT+

Urban Creature x UN Women นึกถึงพัทยา คุณนึกถึงอะไร ต้นมะพร้าว ตลาดน้ำ หาดจอมเทียน หรือชีวิตกลางคืน พัทยาในความคิดของทุกคนอาจแตกต่างกันออกไป แต่ถ้าถามฉัน ในฐานะคนที่นับตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน LGBTQ+ และได้ยินชื่อสถานที่แห่งนี้มานาน-ฉันนึกถึง Tiffany’s Show นับตั้งแต่เปิดการแสดงครั้งแรกในปี พ.ศ.2517 Tiffany’s Show กลายเป็นหมุดหมายสำคัญที่คนมาเยือนพัทยาต้องนึกถึง แต่มากกว่าสาวสวย รวยความสามารถ และการแสดงอันน่าตื่นตาตื่นใจซึ่งเป็นภาพจำของใครหลายคน ที่นี่ยังถือเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของเมือง มากกว่านั้นคือสร้างงานสร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน รวมถึงชาว LGBTQ+ ที่เดินทางจากทั่วประเทศหลายร้อยชีวิต สิ่งที่บางคนอาจไม่รู้คือโรงละคร Tiffany’s Show, เวทีประกวด Miss Tiffany’s Universe และ Miss International Queen นั้นควบคุมงานโดย จ๋า-อลิสา พันธุศักดิ์ ทายาทรุ่นสอง และผู้บริหารหญิงที่ยกระดับให้โชว์แห่งนี้โด่งดังไกล ผลักดันให้ LGBTQ+ ไทยมีชื่อเสียงไปทั่วโลก คอลัมน์ประจำจังหวัดคราวนี้ ฉันจึงอาสาพาทุกคนมาหาลมทะเลพัทยา ก้าวเข้าไปในโถงโอ่อ่าของ Tiffany’s Show เพื่อพูดคุยกับอลิสาถึงประวัติศาสตร์ของโรงละครตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง […]

เจ้านายอ้วนขึ้น! ผลสำรวจในอังกฤษและอเมริกาบอกตรงกัน แมว-หมาน้ำหนักขึ้นช่วงโควิด

การพักผ่อนหย่อนใจของหลายคนในช่วงโควิด-19 อาจเป็นการดูคลิปวิดีโอเจ้าเหมียว เจ้าหมา หรือแม้แต่การมีเพื่อนสี่ขาอยู่ข้างกายอาจจะช่วยให้ไม่รู้สึกเปลี่ยวเหงา หรือช่วยเยียวยาจิตใจหลายคนได้เลย แน่นอนว่ามนุษย์อย่างเราๆ ต่างก็ได้รับผลกระทบทั้งทางร่างกายและจิตใจจากโควิด-19 แต่ไม่ใช่แค่พวกเราเท่านั้น สัตว์เลี้ยงสี่ขาคู่กายหลายๆ คนก็อาจจะได้รับผลกระทบด้วยเหมือนกัน! ผลสำรวจจากองค์กรที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงทั้งในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกาฉายให้เห็นข้อมูลตรงกันว่า พบแนวโน้มสำคัญว่าสัตว์เลี้ยงทั้งสุนัขและแมวมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญนับตั้งแต่การระบาดของโควิด-19 เป็นต้นมา  ผลสำรวจของโรงพยาบาลสัตว์แบนฟิลด์ (Banfield Pet Hospital) ของสหรัฐอเมริกา ในปี 2020 ปีแรกของโควิด-19 ที่เกิดการล็อกดาวน์แทบทุกประเทศในโลกนั้นพบว่า แมวกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ และสุนัขเกือบ 35 เปอร์เซ็นต์มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน และองค์กรอาสาด้านสัตว์เลี้ยงในประเทศอังกฤษที่ชื่อ PDSA ได้ออกรายงานประจำปี 2021 และเปิดเผยผลสำรวจจากเจ้าของสัตว์เลี้ยงว่า เจ้าของสุนัขกว่า 9 เปอร์เซ็นต์ในอังกฤษเห็นว่าเจ้าสี่ขาของตนมีน้ำหนักมากขึ้น และเจ้าของแมวกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ก็ให้ข้อมูลในทางเดียวกัน จริงอยู่ว่าเมื่อมองภายนอกสัตว์เลี้ยงที่อ้วนตุ้บป่องอาจจะดูน่ารักน่ากอด แต่จากน้ำหนักที่มากนั้นอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ นั่นคือโรคภัยไข้เจ็บอย่างโรคอ้วน กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง จนถึงอายุขัยที่สั้นกว่าสัตว์เลี้ยงที่น้ำหนักตัวพอดี แน่นอนว่าปัญหาสัตว์เลี้ยงน้ำหนักเกินนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น แต่ตั้งแต่การระบาดของโควิด-19 เป็นต้นมานั้นพบแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ  ปรากฏการณ์นี้อาจหาเหตุผลจากมุมมองเชิงจิตวิทยาสัตว์ที่ว่า สัตว์เลี้ยงนั้นรับรู้ได้ถึงอารมณ์ความรู้สึกของเจ้าของ ถ้าพวกเรารู้สึกอย่างไร พวกเขาก็รับรู้ไปด้วย หรือหากทาสหมา ทาสแมวต้องเก็บตัวอยู่ในพื้นที่จำกัดเพราะล็อกดาวน์หรือต้องกักตัว เจ้านายก็อาจจะเกิดความเครียดสะสมจนนำไปสู่ ‘การกินอาหารเพราะความเครียด […]

ประเทศฮาบ่ใจ่ของคิง : ฮ่องเต้ ธนาธร ผู้เรียกร้องความเท่าเทียมจากล้านนาสะเทือนกรุงเทพฯ 

นัดพบฮ่องเต้ ผู้ประสบภัย 112 ในเชียงใหม่ ขณะที่หลายประเทศเตรียมพร้อมรับมือวิกฤตโลกร้อนด้วยนวัตกรรม เพราะแผ่นทวีปที่กำลังจะจมน้ำจากธารน้ำแข็งขั้วโลกละลายในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า แต่สิ่งที่รัฐไทยกำลังเลือกทำในปัจจุบัน คือการไล่ทุบกำราบคนเห็นต่างให้สยบยอมอยู่ใต้ตีนอย่างแข็งขัน  นี่คือข้อบ่งชี้ว่า ประเทศเรากำลังหมดหวังและถอยหลังลงคลองในสายตาคนรุ่นใหม่ แต่ขั้วอนุรักษนิยมกลับมองว่า นี่คือการรักษาความมั่นคงอันดีงามของชาติที่แสนสงบและดีพร้อมกว่าชาติใดใดในโลก และนี่คือสาเหตุที่ช่วงเกือบปลายปี 2564 เราตัดสินใจเดินทางไปพบนักกิจกรรมอย่าง ฮ่องเต้-ธนาธร วิทยเบญจางค์ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลังจากเขาถูกแจ้งจับคดีมาตรา 112 ก่อนหน้านั้นเพียงไม่นานนัก ฮ่องเต้ตั้งใจนัดให้เราไปพบที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ไม่ไกลจากคณะสังคมศาสตร์ คณะที่เขากำลังศึกษาวิชาปรัชญา ชั้นปีที่ 3 ในปัจจุบัน นี่คืออาคารที่ผู้บริหารมหา’ลัยตัดสินใจสั่งริบเอาพื้นที่จอดรถของนักศึกษามาสร้างอาคารที่ผู้เรียนแทบไม่ได้ใช้งาน เราถามฮ่องเต้ถึงจำนวนคดีความที่เขาได้รับ หลังการลุกขึ้นมาเรียกร้องความเท่าเทียมบนพื้นที่สาธารณะ “เกินสิบ (หัวเราะขื่นๆ) ส่วนใหญ่เป็นคดี พ.ร.บ.ชุมนุม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ร.บ.ควบคุมโรค และจะโดน 116 จำนวนหนึ่งหรือสองคดีนี่แหละ แล้วก็มี 112 อีกจำนวนหนึ่งคดี ผมคิดอยู่ว่า อีกหน่อยอาจจะมีคดีแปลกๆ โผล่ขึ้นมาอีก” เด็กหนุ่มยิ้มขื่นบางๆ หลังพูดจบ “หน้าที่ของเราคือยิ้ม และขัดขืนมัน เพื่อทำให้ประเทศนี้เปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นกว่านี้ให้ได้ ผมไม่คิดว่าเราต้องกลัวกฎหมายฉบับนี้ แค่ต้องทำงานของตัวเองต่อไป […]

จิบกาแฟ แลดูหนังทางเลือกครั้งแรก ในเมืองชายโขง กับ ‘พนมนครรามา’ พื้นที่ฉายหนังอิสระแห่งเดียวในนครพนม

หลังจากที่หนังนอกกระแสเริ่มมีพื้นที่ในวงการคนดูหนังในไทยมากขึ้น เริ่มต้นในกรุงเทพฯ ก่อนขยายไปยังเมืองใหญ่อย่างเชียงใหม่และขอนแก่น คนอยากดูหนังนอกกระแสในจังหวัดอื่นๆ จึงพยายามขับเคลื่อนทำโปรเจกต์ให้ฉายหนังนอกกระแสในจังหวัดของตัวเองบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการจัดฉายเองหรือเรียกร้องให้โรงหนังฉายก็ตาม ยกตัวอย่าง HomeFlick (นครราชสีมา) Lorem Ipsum (หาดใหญ่) เราว่าหนังเรื่องนี้ควรมีฉายที่อยุธยา (อยุธยา) เป็นต้น ล่าสุด ที่จังหวัดชายแดนอย่างนครพนม ก็มีกลุ่ม ‘พนมนครรามา’ ออกมาขับเคลื่อนเรื่องนี้ ด้วยการจัดฉายหนังนอกกระแสเอง โดยจะประเดิมฉาย ‘Drive My Car’ โดย ริวสุเกะ ฮามากุชิ หนังนอกกระแสมาแรงเป็นเรื่องแรกในเดือนเมษายนนี้ เพราะอยากเห็นพื้นที่ฉายหนังนอกกระแสในเมืองที่ห่างไกลจากพื้นที่ส่วนกลางอย่างกรุงเทพฯ บ้าง จึงทำให้ ‘พนมนครรามา’ ก่อตั้งขึ้น “อีกอย่างเราอยากรู้ด้วยว่าที่นี่จะทำแบบจังหวัดอื่นๆ ที่ทำพื้นที่ฉายหนังอิสระได้ไหม และถ้าทำแล้วจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง” จากความตั้งใจและความสงสัยที่เป็นแรงขับเคลื่อนนี้ ทำให้ ‘พนมนครรามา’ ตัดสินใจติดต่อ Doc Club เพื่อทำเรื่องขอหนังนอกกระแสมาฉาย ซึ่งแน่นอนว่า Doc Club เองก็สนับสนุนเต็มที่ “เราไม่แน่ใจว่าสุดท้ายโปรเจกต์จะได้รับผลตอบรับที่ดีไหม แต่ถ้าเกิดมันไปต่อได้ มีคนให้ความสนใจมากพอ เราหวังว่าพื้นที่ตรงนี้จะกลายเป็นจุดแลกเปลี่ยนบทสนทนาระหว่างคนไทย คนลาว และคนเวียดนาม จากภูมิศาสตร์ที่ใกล้เคียงกันในอนาคต” […]

#gentlemenchoosegreen โปรเจกต์ครบรอบ 10 ปี MANGO MOJITO ที่ทำให้แฟชั่นหมุนเวียนเกิดขึ้นได้จริง

ทุกวันนี้การตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อมอยู่ในทุกมิติของชีวิตประจำวันของผู้คน คงจะดีไม่น้อยถ้าการซื้อเสื้อผ้าของเราในแต่ละครั้ง นอกจากจะทำให้เราดูดีแล้วยังช่วยสิ่งแวดล้อมไปด้วย ปีนี้ MANGO MOJITO ฉลองครบรอบ 10 ปีด้วยโปรเจกต์ #gentlemenchoosegreen ที่ต้องการสื่อสารว่าสุภาพบุรุษนอกจากจะดูดีแล้ว เราสามารถมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กันได้ ในปี 2022 นี้ MANGO MOJITO ยังคงพัฒนาและต่อยอดโดยมีการนำหลักการ Circular Fashion หรือแฟชั่นหมุนเวียนมาปรับใช้ เช่น การรีไซเคิลและการอัปไซเคิล เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  #gentlemenchoosegreen เป็นโปรเจกต์ที่ MANGO MOJITO ร่วมมือกับ CIRCULAR แบรนด์เสื้อผ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และห้องผ้า SC GRAND ออกแบบเสื้อผ้าร่วมกันเพื่อให้แฟชั่นหมุนเวียนเกิดขึ้นได้จริง ซึ่งนอกจากจะรักษ์โลกแล้วยังดูดีในสไตล์ของ MANGO MOJITO อีกด้วย  โดยโปรเจกต์นี้จะนำเสนอเรื่องราวผ่าน 10 ศิลปินที่จะมาแชร์ทั้งมุมมองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และนำเสนอการแต่งตัวในแบบ #gentlemenchoosegreen อาทิ ณัฏฐ์เทพหัสดิน ณ อยุธยา, ตุลย์-ภากร ธนศรีวนิชชัย, กระทิง-ขุนณรงค์ ประเทศรัตน์ ฯลฯ  โปรเจกต์นี้ยังเปิดตัวหลายไอเทมใหม่ที่น่าสนใจ […]

ร้านเลโก้คัสตอมเมด ขายเลโก้ ปธน.ยูเครน และโมโลตอฟ ระดมทุนช่วยเหลือทางการแพทย์ให้ยูเครน

Citizen Brick เป็นร้านเลโก้คัสตอมเมดในชิคาโกที่ทำตัวต่อออกมาเป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นตัวละครดีไซน์จัดจ้านอย่างเจ้าสาวในคราบเลือด ผู้พันถือมีดเบเรต์ หรือตัวละครจาก Squid Game ก็มีวางจำหน่ายในราคา 25 เหรียญ และยังขายตัวต่อที่ขัดกับภาพลักษณ์ของ LEGO อย่างสิ้นเชิงอย่างบุหรี่ หรือถุงยางอนามัยด้วย ตอนนี้พวกเขาผุดไอเดียที่จะช่วยเหลือชาวยูเครนโดยจะวางจำหน่ายตัวต่อโวโลดีมีร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครนในราคา 100 เหรียญ และระเบิดโมโลตอฟในราคา 10 เหรียญ และส่งรายได้ทั้งหมดไปให้ Direct Relief ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและภัยพิบัติแก่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก และได้ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขในเคียฟเพื่อจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อช่วยเหลือยูเครนและประเทศข้างเคียงที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม ตามข้อมูลของ Citizen Brick บอกว่าระดมทุนได้ 16,450 ดอลลาร์จากการขายทางเว็บไซต์ และอีก 170 ดอลลาร์ผ่านปุ่มบริจาคบนเฟซบุ๊ก “เรากำลังทุ่มเทอย่างมากเพื่อสร้างเลโก้ชุดใหม่ หลังจากได้รับการพูดถึงบนหน้าอินสตาแกรมของยูเครน” Joe Trupia เจ้าของ Citizen Brick ให้สัมภาษณ์กับ VICE ร้านเลโก้คัสตอมเมดแห่งนี้ไม่ใช่กลุ่มเดียวที่ลุกออกมาเคลื่อนไหวเพื่อสนับสนุนชาวยูเครน ก่อนหน้านี้ St.Javelin องค์กรการกุศลระดมเงินได้มากกว่า 1 ล้านดอลลาร์ผ่านการขายเสื้อยืด สติกเกอร์ ธง […]

Chitofoam พลาสติกชีวภาพจากหนอนนก ทางเลือกใหม่ของการผลิตบรรจุภัณฑ์ ไม่มีมลพิษ ย่อยสลายในธรรมชาติได้

ปัจจุบันทั่วโลกเพาะเลี้ยง ‘หนอนนก’ กันอย่างแพร่หลาย เพราะเป็นอาหารที่มีโปรตีนและไขมันสูง เกษตรกรจึงนิยมนำมาใช้เป็นอาหารแก่สัตว์น้ำและสัตว์ปีกเช่นนกและไก่ ส่วนในประเทศไทยก็นิยมเอาหนอนชนิดนี้ทำเมนูทานเล่นที่เห็นได้ทั่วไปอย่าง ‘รถด่วนทอด’ นอกจากจะมีคุณค่าทางโภชนาการสูงแล้ว โครงกระดูกภายนอกของเจ้าหนอนนกยังเปลี่ยนเป็น ‘แพ็กเกจจิ้งทางเลือก’ ที่มีน้ำหนักเบา ทนน้ำ และย่อยสลายตามธรรมชาติได้ด้วย ‘Chitofoam’ คือบรรจุภัณฑ์ผลิตจากระบบหมุนเวียนที่เปลี่ยนโครงกระดูกภายนอก (Exoskeletons) ของหนอนนก (Mealworms) ให้เป็นวัสดุสำหรับทดแทน ‘พอลิสไตรีน’ หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า ‘โฟม’ พลาสติกที่ทั่วโลกนิยมใช้ทำแพ็กเกจจิ้งอาหารอย่างแพร่หลาย เช่น ถ้วย จาน และแก้ว ซึ่งขยะเหล่านี้ไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และต้องใช้เวลานับร้อยๆ ปีจนกว่าจะเสื่อมสภาพตามชีววิทยา ก่อนจะกลายเป็นขยะธรรมดา ผู้พัฒนาวงจรหมุนเวียนรักษ์โลกนี้ก็คือ Charlotte Böhning นักออกแบบเชิงอุตสาหกรรมชาวอเมริกัน ร่วมกับ Mary Lempres ศิลปินจากสตูดิโอออกแบบ Doppelgänger ในอเมริกา พวกเขาเลือกใช้โครงกระดูกภายนอกของหนอนนก (หนอนของแมลงปีกแข็ง) ทำแพ็กเกจจิ้งทดแทน เพราะพวกมันกินพลาสติกเป็นอาหารอยู่แล้ว โดยในหนึ่งวัน หนอนนก 100 ตัว สามารถกินพลาสติกได้ถึง 40 มิลลิกรัม หรือปริมาณเทียบเท่ากับยาหนึ่งเม็ด โดยขั้นตอนของการผลิต Chitofoam เบื้องต้นมีดังต่อไปนี้ […]

MILKBREW COFFEE ร้านกาแฟนมสุดชิกในอาคารมรดกทางวัฒนธรรมญี่ปุ่น

ความผูกพันที่มีกับจังหวัดซะกะพาเรากลับไปเยี่ยมที่นี่ทุกครั้งที่มีโอกาส เมืองลูกรักที่แอบแวะไปบ่อยๆ คือ Ureshino ซึ่งมีทั้งเครื่องปั้นดินเผาเก๋ไก๋ อนเซ็น ชาเขียวและคาเฟ่กรุบกริบ สร้างความเพลิดเพลินแบบไม่เคยทำให้ผิดหวัง และแล้วทริปล่าสุด ซะกะก็กัมบัตเตะ (พยายาม) นำความกรุบกริบใหม่ๆ มาทำให้ประหลาดใจอีกครั้ง คราวนี้ไม่ใช่ชาเขียวของดังประจำเมือง แต่เป็นร้านกาแฟในย่านอนุรักษ์อันเงียบสงบที่ได้รับความสนใจจากสื่อมากมายเพราะความกรุบกริบหลายสิ่ง คุณ MILKBREW COFFEE เป็นร้านกาแฟนมสุดชิกภายในอาคารที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรม การตกแต่งภายในดูล้ำอย่างไม่รุกรานความเก่าแก่ นอกจากนี้ยังนำเสนอกาแฟรูปแบบใหม่ที่นมได้รับบทเด่นไม่แพ้กันเพราะ Hirotaka Nakashima คุณพี่เจ้าของร้านคือทายาทของ Nakashima Farm ฟาร์มนมชื่อดังซึ่งเชี่ยวชาญด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากนมจนได้รับรางวัลระดับนานาชาติมาแล้ว ยามบ่ายวันอาทิตย์ที่มีแดดออกหลังหิมะเพิ่งหยุดโปรยปราย ฮิโระทะกะพร้อมแจกแจงความกรุบกริบที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้วให้เราฟังอย่างละเอียดยิบ เขาบอกว่าคาเฟ่แห่งนี้ไม่ใช่ร้านขายอาหารและเครื่องดื่ม แต่เป็นร้าน Monozukuri ที่แปลว่าการผลิต เพราะพวกเขามีแบ็กกราวนด์ที่แข็งแกร่งในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ยังไงล่ะ ชงนมกับกาแฟ ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันดีกว่าว่า MILKBREW COFFEE คืออะไร ทุกคนน่าจะรู้จักกาแฟ Cold Brew (กาแฟสกัดเย็น) อยู่แล้ว MILKBREW COFFEE เป็นกาแฟนมที่เกิดขึ้นจากหลักการเดียวกันนั้น แต่แทนที่จะนำกาแฟไปแช่น้ำก็แช่นมสดจากเต้าของพี่วัวในฟาร์มจนได้กาแฟนมที่มีความละมุน รสเบาๆ แต่สัมผัสได้ถึงกลิ่นหอมและเอกลักษณ์ของกาแฟได้อย่างชัดเจน ฮิโระทะกะค้นพบความอร่อยนี้โดยบังเอิญเมื่อเขาซื้อ Cold Brew Pack […]

ชวนดู ลุงดร เกตุเผือก สื่อประชาชน ไลฟ์สดเพื่อประชาธิปไตย สารคดีเชิงข่าวรางวัล Amnesty จาก Urban Creature 

“เราต้องการที่จะให้ประชาชนได้รู้ ใครจะไม่ถ่ายไม่ว่า แต่เราต้องการถ่าย”  นี่คือคำพูดง่ายๆ จากน้ำเสียงอันเป็นมิตรของ ‘ลุงดร เกตุเผือก’ เจ้าของเพจชื่อเสียงเรียงนามเดียวกับตัวเอง ลุงดรคือตัวอย่างของคนธรรมดาที่ผันตัวมาเป็นสื่อประชาชนติดตามถ่ายทอดสดเหตุการณ์ร้อน เพื่อส่งสารความจริงจากแทบทุกพื้นที่ที่มีการจัดม็อบประชาธิปไตย และติดตามไปยังพื้นที่ศาลต่างๆ ที่กำลังมีการดำเนินคดีกับประชาชนที่ออกมาชุมนุม เพื่อให้ทุกคนได้รับรู้ถึงความเป็นไปแบบวินาทีต่อวินาทีอย่างถึงลูกถึงคน  จากประชาชนที่ใช้โทรศัพท์ไม่ค่อยเป็น ผุดลุกขึ้นมาเรียนรู้ฟังก์ชันการใช้งานของมือถือใหม่ทั้งหมด และตะลุยถ่ายทอดภาพการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยบนท้องถนน ผ่าน ‘ไลฟ์สด’ แบบฉบับง่ายๆ และซื่อตรงของตัวเอง ในยุคที่สื่อถูกบงการ ถูกเซนเซอร์ และถูกบิดเบือน จนผู้ชมตามหาชุดความจริงได้อย่างจำกัด ลุงดรเป็นหนึ่งในคนไทยที่เลือกเป็นสื่อด้วยตัวเอง เมื่อไม่ต้องทำตามคำสั่งใคร การไลฟ์สดของเขา จึงเปรียบเสมือนความหวังเล็กๆ ของคนดูที่ต้องการเสพสื่อและตัดสินเหตุการณ์นั้นจากมุมมองของประชาชนจริงๆ  สารคดีสั้นจาก Urban Creature ชิ้นนี้มีชื่อเต็มๆ ว่า ‘ลุงดร เกตุเผือก : สื่อ – ชาวบ้าน – ประชาธิปไตย I เมื่อชีวิตอุทิศเป็นสื่อประชาชน’ กำกับโดย ‘แทนชนก มุสิกธรรม’ และสร้างสรรค์โดยทีมโปรดักชันทั้งทีม ด้วยตั้งใจและเห็นว่าความจริงเป็นสิ่งสำคัญที่จะขับเคลื่อนให้สังคมเราก้าวไปสู่ความยุติธรรม และแทนชนกยังเชื่ออีกว่า ถ้าเรามีใจ ใครๆ ก็เป็นกระบอกเสียงเพื่อขับเคลื่อนสังคมได้ ทั้งนี้ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ […]

ชาวคอนโดฯ ทำอะไรได้บ้าง ถ้ามีตึกสูงมาสร้างข้างๆ บดบังวิวที่เคยมองเห็น

เมื่อไม่นานนี้ มีข้อถกเถียงเกี่ยวกับการเกิดขึ้นของตึก One City Centre ตึกสำนักงานสร้างใหม่ที่อยู่ติดกับตึก 98 Wireless คอนโดมิเนียมสุดหรูที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ  ข้อถกเถียงที่ว่าคือ ทำไมตึกที่ดูใหญ่โตขนาดนี้ถึงสร้างติดกับคอนโดมิเนียมซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยได้อย่างใกล้ชิดสุดๆ จนสร้างความรู้สึกกังวลใจให้ผู้คนในแถบนั้น นอกจากประเด็นความเป็นส่วนตัวของผู้อยู่อาศัยที่น่าขบคิดต่อแล้ว การที่มีสิ่งก่อสร้างมาตั้งตระหง่านบดบังทิวทัศน์ ซึ่งนับเป็นหนึ่งในตัวเพิ่มมูลค่าการซื้อ-ขายของห้องที่อยู่บนชั้นสูงๆ ก็ดูเป็นปัญหาใหญ่ และในอนาคต เราคาดเดาว่ากรุงเทพฯ น่าจะมีกรณีแบบนี้ให้เห็นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในยุคที่คนรุ่นใหม่เลือกอยู่คอนโดมิเนียมมากกว่าบ้านเดี่ยวในสมัยก่อน คำถามสำคัญคือ ถ้าหากวันหนึ่ง คอนโดฯ ที่เราทำงานเก็บเงินเช่าหรือซื้อ เพื่อให้ได้มองวิวสวยๆ เกิดมีตึกสูงใหญ่มาสร้าง บดบังสิ่งที่เคยเห็นทั้งหมด เราในฐานะเจ้าของห้องจะทำอะไรได้ไหม สิทธิของผู้อยู่อาศัย และตัวกฎหมายที่เกี่ยวกับเรื่องนี้มีข้อมูลชุดใดที่ควรรู้และตั้งคำถามต่อบ้าง เราจึงชวน แทนศร พรปัญญาภัทร กรรมการผู้จัดการ และสถาปนิกผังเมือง บริษัท เออเบิ้น รูม จำกัด ที่คลุกคลีกับการทำงานพัฒนากรุงเทพฯ มาเกือบสิบปี มาพูดคุยถึงประเด็นนี้ รวมถึงบริบทรอบข้างที่อาจเป็นประโยชน์กับคนเมืองในอนาคต อาคารสูงกวนตาเป็นปัญหากวนใจ เริ่มด้วยข้อควรรู้เกี่ยวกับอาคารสูงให้ทุกคนเข้าใจร่วมกัน ที่จริงแล้วประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับอาคารมาตั้งแต่ปี 2533 แต่เมื่อเริ่มมีการพัฒนาอาคารสูงกันมากขึ้น รัฐจึงบัญญัติคำว่าอาคารสูงขึ้นในปี 2543 โดยนิยามของอาคารสูงตามกฎหมายคือ อาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรหรือ 8 […]

1 183 184 185 186 187 378

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.