อ่านอนาคต พบปะนักเขียน ตามเก็บ NFT ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 50ฯ

จะมีอะไรดีไปกว่าการซื้อหนังสือแล้วได้พูดคุยกับนักเขียนและคนทำสำนักพิมพ์ไปด้วย เพราะการได้รู้เบื้องหลังและเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของหนังสือเล่มนั้น จะยิ่งทำให้การอ่านสนุกขึ้น! หลังจากต้องย้ายไปจัดงานแบบออนไลน์มากว่า 2 ปี ในที่สุดปีนี้งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติก็ได้กลับมาจัดในรูปแบบออนไซต์บนสถานที่แห่งใหม่ ใหญ่โตกว้างขวาง เดินทางสะดวกอย่างสถานีกลางบางซื่อ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 50 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 20 มาในธีม ‘อ่านอนาคต’ กับแนวคิดที่ว่า เมื่อเริ่มอ่าน อนาคตของเราก็เกิดขึ้น โดยไม่ได้จำกัดเฉพาะในแง่ของความรู้ แต่ยังรวมไปถึงแง่การออกเดินทาง สำรวจตัวเอง และเติมพลังใจ ความพิเศษของงานสัปดาห์หนังสือฯ ครั้งนี้ นอกจากกิจกรรมสนุกๆ อย่างนิทรรศการหนังสือ เสวนา เวิร์กช็อป รวมถึงกองทัพหนังสือที่เหล่าสำนักพิมพ์นำไปจำหน่ายให้ชาวนักอ่านอย่างจัดเต็มเหมือนครั้งก่อนๆ แล้ว ตัวงานยังย้ายมาจัดในสถานีรถไฟหลักแห่งใหม่ของไทย ทำให้บรรยากาศงานมีความแปลกใหม่กว่าทุกครั้ง แถมเดินทางง่าย ใครที่ยังไม่ได้ไปงานสัปดาห์หนังสือฯ หรือเป็นชาวบ้านไกลที่สั่งหนังสือออนไลน์แล้วสะดวกกว่า เราไปตะลุยเปิดแมปสำรวจจุดที่น่าสนใจในงานให้แล้ว ลง MRT สถานีกลางบางซื่อแล้วตามมาเลย คว้าแผนที่แล้วออกไปตะลุยงานหนังสือกัน ด้วยความที่งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 50ฯ จัดที่สถานีกลางบางซื่อ ทำให้ค่อนข้างสะดวกต่อการเดินทาง มาด้วยขนส่งสาธารณะอย่าง BTS, MRT หรือรถเมล์ก็ได้ หรือจะขับขี่รถส่วนตัวมาก็ไม่มีปัญหา ที่นี่มีพื้นที่รองรับรถกว่าพันคัน แถมยังไม่ต้องตรวจ ATK […]

เหมือนหนัง Sci-fi! Dyson ประกาศเปิดตัวหูฟังตัดเสียงรบกวน-กรองฝุ่นในตัว

หากใครที่คุ้นเคยกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท Dyson บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าจากประเทศอังกฤษอย่างเครื่องดูดฝุ่นหรือไดร์เป่าผมแล้วล่ะก็ วันนี้คุณอาจจะตกตะลึงกับสินค้าในยุคโควิด-19 ชิ้นใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อ 30 มีนาคมที่ผ่านมา นั่นก็คือหูฟังตัดเสียงรบกวนที่เสริมฟังก์ชันด้วยหน้ากากกรองฝุ่นที่ชื่อ ‘Zone’ นั่นเอง Dyson เพิ่งเปิดตัวผลิตภัณฑ์ชิ้นใหม่นี้ไป และได้รับเสียงตอบรับกลับมาเป็นความงุนงงเรื่องดีไซน์ที่แสนจะแหวกแนว จากนักเขียน-นักข่าวสายเทคโนโลยี แต่เรามาดูแนวคิดและเป้าหมายของผลิตภัณฑ์สไตล์ Dyson นี้กันดีกว่าว่ามีอะไรที่น่าสนใจบ้าง  ลองจินตนาการว่าเราใส่หูฟังแบบครอบหูอยู่ แล้วมีเสียงรบกวนจากภายนอก ทำให้เราฟังเพลงหรือได้ยินเสียงจากหูฟังไม่ชัด และในยุคโควิดที่เราต้องใส่หน้ากากไปมาหาสู่กันเพื่อป้องกันโรค แม้กระทั่งต้องใส่หน้ากากเพื่อรักษาตัวเองจากมลพิษในอากาศอย่างฝุ่นละออง อาจจะเรียกได้ว่าปัญหา 2 เรื่องใหญ่ๆ นี่แหละคือเบื้องหลังของการผลิตหูฟัง ‘Zone’ ออกมาเพื่อช่วยผู้สวมใส่เอนจอยกับการใช้ชีวิตโดยไม่ต้องกังวลอะไรมากขึ้น กลไกการทำงานของชุดหูฟัง Zone คือการใส่ระบบกรองอากาศไว้ในชุดหูฟังทั้งสองข้างซึ่งข้างในก็มีระบบการตัดเสียงรบกวนภายนอก และเมื่อระบบดูดอากาศจากภายนอกเข้ามาผ่านชั้นกรองบริเวณครอบหูฟังก็จะส่งอากาศที่ฟอกสะอาดแล้วผ่านไปยังหน้ากากครอบปากและจมูกที่ทาง Dyson เรียกว่า ‘Visor’  แต่สิ่งที่ต่างออกไปจากหน้ากากอนามัยคือ ‘Visor’ จะไม่สัมผัสกับใบหน้าโดยตรง แต่จะเว้นช่องว่างไว้เพื่อสูดอากาศที่ปล่อยออกมาได้อย่างไม่อึดอัด ทางผู้ผลิตยังให้เหตุผลอีกว่า เพื่อช่วยลดการสัมผัสกับหน้ากากที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 อีกต่อหนึ่ง และถ้าใครอยากจะใช้หูฟังเฉยๆ เจ้าตัว ‘Visor’ นี้ก็ยังถอดออกหรือยกขึ้นลงได้อีกเหมือนกัน  และถ้าใครอยากจะป้องกันโควิด-19 เพิ่มอาจจะต้องซื้อตัวกรองไปติดเพิ่มที่ตัว Visor ด้วยนะ  ถึงแม้นักรีวิวอย่าง Chaim Gartenberg จากนิตยสาร The […]

Guarding The Art นิทรรศการในบัลติมอร์ งานศิลปะที่คัดสรรโดย รปภ. พิพิธภัณฑ์ เปลี่ยนผู้ดูแลงานให้เป็น Curator

ใครไปพิพิธภัณฑ์บ่อยๆ คงเคยสังเกตเห็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่ยืนตามจุดต่างๆ ของพื้นที่จัดแสดง หน้าที่หลักของพวกเขาคือเคลื่อนย้ายและดูแลงานศิลปะที่จัดแสดง รวมไปถึงอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เข้าชม ซึ่งยามรักษาการณ์เหล่านี้ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่คุ้นเคยและใกล้ชิดกับงานศิลปะมากกว่าคนทั่วไป  เพราะเหตุนี้ Baltimore Museum of Art พิพิธภัณฑ์ในเมืองบัลติมอร์ รัฐแมริแลนด์ สหรัฐอเมริกา จึงปิ๊งไอเดียจัดนิทรรศการ ‘Guarding the Art’ เพื่อแสดงงานศิลปะ 25 ชิ้นที่คัดสรรโดย 17 เจ้าหน้าที่จากแผนกรักษาความปลอดภัยของพิพิธภัณฑ์ มีทั้งอดีตเจ้าหน้าที่และคนที่ปัจจุบันยังทำงานอยู่ เจ้าหน้าที่ทั้ง 17 คนได้มีส่วนร่วมรังสรรค์นิทรรศการนี้เกือบทุกขั้นตอน ทั้งกระบวนการคัดเลือกผลงานที่ใช้เวลานานกว่า 2 ปี การออกแบบการจัดวาง (Installation) การผลิตเนื้อหาสำหรับเอกสารและสื่อประเภทอื่นๆ รวมไปถึงการออกแบบทัวร์นิทรรศการสำหรับผู้เข้าชมด้วย ผลงานที่ถูกคัดเลือกจัดแสดงใน Guarding the Art มีความหลากหลาย ทั้งในด้านยุคสมัยของผลงาน ประเภท หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ครอบคลุมประเด็นต่างๆ เช่น การเคลื่อนไหวต่อต้านการเหยียดสีผิวและเชื้อชาติ ‘Black Lives Matter’ การระบาดของโควิด-19 รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่กับงานของพวกเขา Guarding the Art เกิดขึ้นจากไอเดียของเอมี่ เอเลียส […]

เปิดใจ “เอ้ สุชัชวีร์” ไม่มาขายฝัน พร้อมเจ็บ เพื่อเปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้ดีขึ้น l Bangkok Hope EP.2

‘เปลี่ยนกรุงเทพฯ เราทำได้’ สโลแกนปลุกใจชาวกรุงของ เอ้-สุชัชวีร์สุวรรณสวัสดิ์แคนดิเดตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจากพรรคประชาธิปัตย์  บางคนอาจรู้จักเขาจากบทบาทอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง บางคนอาจรู้จักเขาจากการเป็นไวรัลทายาทสายตรงไอน์สไตน์ บางคนอาจรู้จักเขาจากป้ายประกาศตามสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ หรือบางคนอาจรู้จักเขาในฐานะเจ้าของบ้านหลังงามที่มีชั้นสะสมฟิกเกอร์ Iron Man แต่ไม่ว่าคุณจะรู้จักเขาในรูปแบบไหน ท้ายที่สุดแล้วเขาคือคนที่อาสาขอเข้ามาเปลี่ยนแปลงเมืองหลวงของประเทศไทยที่เต็มไปด้วยปัญหาหลากหลายมิติ อะไรทำให้เขาเชื่อว่าแนวคิด ‘เปลี่ยนกรุงเทพฯ เราทำได้’ จะเป็นไปได้ กรุงเทพฯ มีโอกาสและความเป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นมากน้อยแค่ไหนในสายตาเขา เราเชิญคุณมาติดตามคำตอบไปพร้อมๆ กัน! . #UrbanCreature #TheProfessional #BangkokHope #ReinventTheWayWeLive #เอ้สุชัชวีร์ #พรรคประชาธิปัตย์ #ผู้ว่ากทม. #เลือกตั้งผู้ว่าฯ #กรุงเทพฯ

ยาคุมกำเนิดเพศชายเตรียมทดลองในคน การทดสอบในหนูได้ผล 99 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่มีผลข้างเคียงที่เห็นได้ชัด

ที่ผ่านมาผู้หญิงตกเป็นจำเลยเมื่อเราพูดถึงการคุมกำเนิด พวกเธอมีตัวเลือกในการคุมกำเนิดเต็มไปหมด ต่างกับผู้ชายที่มีเพียง 2 วิธี คือการใส่ถุงยางอนามัยซึ่งมีสิทธิ์หลุดในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ในขณะที่การทำหมันก็เป็นการตัดสิทธิ์ในการมีบุตรโดยถาวร จึงไม่ได้รับความนิยม ภาระในการคุมกำเนิดจึงถูกผลักให้ฝ่ายหญิงเป็นผู้รับผิดชอบ Freethink บอกว่าตัวเลือกที่มีจำนวนจำกัดสำหรับผู้ชายทำให้ผู้หญิงต้องแบกรับภาระทางการเงินและสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการคุมกำเนิด ยาคุมกำเนิดสำหรับผู้ชายซึ่งเป็นตัวเลือกที่ใช้งานได้ยาวนาน และไม่ปิดโอกาสในการมีบุตรอย่างถาวร อาจช่วยแบ่งเบาภาระของผู้หญิงได้ ในขณะเดียวกันก็ช่วยให้ผู้ชายดูแลเรื่องอนามัยการเจริญพันธุ์ได้ดีขึ้น วิธีการคุมกำเนิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดวิธีหนึ่งสำหรับผู้หญิงคือยาเม็ดคุมกำเนิด เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูง ใช้งานง่าย และสามารถหยุดยาเพื่อฟื้นฟูภาวะเจริญพันธุ์ได้ ทำให้ยาคุมกำเนิดสำหรับผู้ชายอาจได้รับความนิยมสูงเช่นกัน แต่การพัฒนายาดังกล่าวได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่ เพราะยาคุมกำเนิดสำหรับเพศหญิงทำงานด้วยการปิดกั้นการปล่อยไข่หนึ่งฟองทุกเดือน ในขณะที่เพศตรงข้ามจำเป็นต้องหยุดการผลิตสเปิร์มจำนวนหลายล้านทุกวัน จำนวนอสุจิสัมพันธ์กับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนหรือฮอร์โมนเพศชาย ที่ผ่านมาอาสาสมัครผู้ทดลองใช้ยาคุมกำเนิดชายจำนวนมากได้ทดลองลดระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนเพื่อลดภาวะการเจริญพันธุ์ ซึ่งอาจมีผลทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น มีภาวะซึมเศร้า และผลข้างเคียงอื่นๆ ตามมาได้ ข่าวดีคือ นับจากมหาวิทยาลัยมินนิโซตาได้พัฒนายาคุมกำเนิดแบบใหม่สำหรับผู้ชาย ที่ทำหน้าที่ลดโปรตีนที่เชื่อมโยงกับการสร้างสเปิร์ม แทนที่จะลดฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ซึ่งหลังจากหนูทดลองได้รับยาทุกวันเป็นเวลา 4 สัปดาห์ หนูตัวผู้มีจำนวนอสุจิลดลงอย่างมาก รวมถึงในการทดลองผสมพันธุ์ก็พบว่า ยานี้มีประสิทธิภาพสูงถึง 99 เปอร์เซ็นต์ในการป้องกันการตั้งครรภ์ และ 4 – 6 สัปดาห์หลังจากหยุดให้ยา หนูทดลองก็สามารถกลับมามีภาวะเจริญพันธุ์ที่สามารถมีลูกได้อีกครั้ง และไม่มีผลข้างเคียงที่สังเกตได้ชัดเจนตามมา อย่างไรก็ตาม การทดลองในหนูไม่ได้หมายความว่าจะได้ผลลัพธ์เดียวกันในมนุษย์ เพราะมีความเป็นไปได้ที่หนูทดลองจะประสบผลข้างเคียงที่นักวิทยาศาสตร์สังเกตไม่ได้เช่นอาการปวดหัว และเพื่อทดสอบศักยภาพในยาคุมกำเนิดเพศชายอย่างแท้จริง ทีมงานจึงวางแผนที่จะทดลองในมนุษย์ในครึ่งหลังของปีนี้ และหากประสบผลสำเร็จ ยาคุมกำเนิดเพศชายจะออกสู่ตลาดภายใน […]

Airbnb เปิดให้พัก ‘บ้านพระพิทักษ์ชินประชา’ มรดกทางวัฒนธรรมภูเก็ตสุดเอ็กซ์คลูซีฟ กระตุ้นการท่องเที่ยวช่วงสงกรานต์ปีนี้

ภูเก็ตคือหนึ่งในจุดหมายปลายทางของประเทศไทยที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวปีละหลายล้านคน ด้วยชื่อเสียงทั้งด้านความสวยงามของธรรมชาติ ชายหาด และมรดกทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นและมีเอกลักษณ์ ทำให้ในปี 2564 ภูเก็ตถูกเลือกเป็นจังหวัดนำร่องเปิดรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ เพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของไทยด้วย ล่าสุดเว็บไซต์จองที่พักชื่อดังอย่าง Airbnb ก็ได้ร่วมโปรโมตการท่องเที่ยวไทยสู่สายตาโลก ผ่านแคมเปญที่พักสุดพิเศษ ‘Only on Airbnb’ ครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จังหวัดภูเก็ตเปิดที่พักสุดเอ็กซ์คลูซีฟ ‘บ้านพระพิทักษ์ชินประชา’ คฤหาสน์หลังใหญ่สถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกีส ให้จองบนแพลตฟอร์ม Airbnb ในช่วงสงกรานต์นี้เท่านั้น โดยแคมเปญนี้ได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยด้วย Only on Airbnb เป็นการนำเสนอการสร้างสรรค์พื้นที่ การให้บริการที่พัก รวมไปถึงการเปิดประสบการณ์ที่สร้างแรงบันดาลใจและเหนือความคาดหมายที่สุดในโลก เฉพาะบนแพลตฟอร์มของ Airbnb เท่านั้น ที่ผ่านมา Airbnb เคยจัดแคมเปญนี้มาแล้วทั่วโลก เช่น พิพิธภัณฑ์ลูฟร์, บ้านจากภาพยนตร์เรื่อง Home Alone, Barbie’s Dreamhouse และพระราชวัง Jaipur City Palace เป็นต้น แคมเปญนี้ถือเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 50 ปี ที่คฤหาสน์หลังนี้เปิดให้คนมาพักค้างคืน และเปิดโอกาสให้จองได้ทั้งคนไทยและนักท่องเที่ยวจากประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางข้ามประเทศและเข้า-ออกประเทศไทยได้ (รายละเอียด : t.ly/SpKJ) […]

สื่อไทยต้องกล้าเปลี่ยน : ‘พัชญ์สิตา ไพบูลย์ศิริ’ สื่อมวลชนที่อยากผลักดันเพศเท่าเทียม

กรกฎาคม 2021 Thaipublica.org รายงานว่า ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ไทยผลิตซีรีส์วายมากถึง 40 เรื่อง และในปีเดียวกันนั้น คาดว่าจะมีซีรีส์มากถึง 90 เรื่อง มองเผินๆ คุณคงคิดว่า ประเทศนี้เฟรนด์ลี่กับคนที่มีความหลากหลายทางเพศเอามากๆ แต่เปล่าเลย นี่เป็นเพียงฟิกชันในหนังสือ และสื่อเพื่อเอนเตอร์เทนเมนต์ ไม่ใช่เรื่องจริง  เช่นเดียวกับมายาคติ ‘ไทยคือสรวงสวรรค์ของ LGBTQ+’ ที่ผลิตซ้ำพร่ำเพรื่อ แต่ในชีวิตจริงคือขั้วตรงข้าม คู่รักเพศเดียวกันยังลงเอยทางกฎหมายไม่ได้ มิหนำซ้ำชุมชนเพศหลากหลายยังคงเผชิญอคติ ถูกลิดรอนสิทธิซ้ำๆ โดยไม่มีกฎหมายหรือนโยบายมารองรับสิทธิที่ควรจะเป็น จนทุกวันนี้ สังคมไทยยังสะสมการกดทับนานหลายเจเนอเรชัน มีการเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมประเด็นเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า เมื่อความเท่าเทียมทางเพศไม่มีจริง การเรียกร้องเรื่องซ้ำๆ จึงเป็นสัจธรรมของรัฐแห่งการเพิกเฉย นั่นคือเหตุผลที่ผลักให้ อั้ม-พัชญ์สิตา ไพบูลย์ศิริ สื่อมวลชนรุ่นใหม่ เดินหน้านำเสนอประเด็นซัปพอร์ตสิทธิความเท่าเทียมทางเพศตั้งแต่เธอเรียนจบปริญญาตรีด้านวารสารศาสตร์ อั้มเคยเขียนบทความสิทธิมนุษยชนจากประสบการณ์ส่วนตัวเรื่อง ประเทศไทย : ดินแดนสวรรค์ (หลอกๆ) ที่คนข้ามเพศถูกผลักออกได้ทุกวินาที จนได้รับรางวัล Writers that Matters : นัก (อยาก) เขียน […]

FYI

‘เซ็นทรัล ทำ’ ชวนทุกคนมาทำด้วยกัน ทำด้วยใจ กับภาพยนตร์โฆษณา ‘วงจรชีวิตของการทำ’

ความเหลื่อมล้ำคือหนึ่งในปัญหาใหญ่ที่เรื้อรังของประเทศไทยมาตลอด แน่นอนว่าการจะลดความรุนแรงของปัญหานี้หรือกระทั่งจัดการปัญหาให้หมดไป ต้องมาจากการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง ลดช่องว่างที่ห่างกันระหว่างคนรวย-คนจน ให้ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน แต่อย่างที่รู้กันโดยทั่วไปว่าความเหลื่อมล้ำเป็นโจทย์ใหญ่ ที่ไม่ใช่แค่ใครหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของสังคมจะทำให้สำเร็จได้ ดังนั้น การแก้ปัญหาจึงต้องอาศัยความร่วมมือของภาคเอกชนและสังคม ภายใต้การมีจุดร่วมบางอย่างที่เชื่อมโยงและเห็นตรงกัน เพื่อเดินหน้าไปด้วยกันอย่างเข้าใจ ‘เซ็นทรัล ทำ’ (CENTRAL Tham) โดยกลุ่มเซ็นทรัล คือหนึ่งในตัวอย่างของภาคเอกชนที่ดำเนินธุรกิจและขับเคลื่อนเรื่องชุมชน คน และสิ่งแวดล้อม กับความเชื่อมั่นในแนวคิด ‘การสร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Values)’ ระหว่างธุรกิจและสังคมให้เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน จากพื้นฐานความเชื่อที่ว่า สังคมจะดีขึ้นเพราะการเปลี่ยนแปลงจากการร่วมลงมือทำของทุกคน ทำให้ปี 2022 นี้ ‘เซ็นทรัล ทำ’ เลือกใช้แท็กไลน์ ‘ทำด้วยกัน ทำด้วยใจ’ มาตอกย้ำความมุ่งมั่นตั้งใจ รวมถึงใช้เป็นสารตั้งต้นในการคิดและทำโครงการเพื่อชุมชน โดยมุ่งเน้นส่งเสริมความยั่งยืนจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ ครอบคลุมทั้งการพัฒนาด้านการศึกษา คุณภาพชีวิตที่ดี การลดความเหลื่อมล้ำในสังคม การสร้างอาชีพให้คนพิการ การลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและเพิ่มพื้นที่สีเขียว และการพัฒนาสินค้าชุมชนในหลากหลายแนวทาง นอกจากนี้ ‘เซ็นทรัล ทำ’ ยังมีความตั้งใจอยากชวนทุกคนมาร่วมกันทำให้มากขึ้นและแข็งแรงขึ้น เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคม จึงเลือกสื่อสารออกมาผ่านภาพยนตร์โฆษณาชื่อ ‘วงจรชีวิตของการทำ’ รวมถึงสื่อต่างๆ ด้วยเหตุนี้ เราเลยชวน พิชัย […]

‘Sensing Taiwan’ ชวนสัมผัสไต้หวันผ่านซีรีส์หนังคลาสสิค ดูออนไลน์ฟรีตลอดเดือนเมษายน 65

หลายคนอาจจะรู้จัก ‘ไต้หวัน’ ผ่านทั้งการท่องเที่ยว วัฒนธรรม อาหารการกิน หรือชานมไข่มุก ไปจนถึงเรื่องราวทางการเมืองในภูมิภาค  วันนี้แม้โควิดจะทำให้เราเดินทางออกนอกประเทศได้ลำบาก เราจึงอยากชวนสัมผัสไต้หวันอีกมุมหนึ่งที่ทุกคนทำได้ผ่านหน้าจอ นั่นคือภาพยนตร์นั่นเอง  ซีรีส์ภาพยนตร์คลาสสิคออนไลน์ ‘Sensing Taiwan’ จัดโดยภาควิชาภาพยนตร์และสื่อจากมหาวิทยาลัยโอคลาโฮมา สหรัฐอเมริกาจะชวนทุกคนสัมผัสไต้หวันผ่านภาพยนตร์คลาสสิคในช่วงทศวรรษ 1960-1990 จำนวน 3 เรื่อง ตั้งแต่วันที่ 8-18 เมษายน 2565 เรื่องแรกคือ ‘The Husband’s Secrets (1960)’ ภาพยนตร์ขาว-ดำสไตล์เมโลดรามาเกี่ยวกับความรักสามเศร้าที่ฉายให้เห็นสภาพสังคม-เศรษฐกิจของไต้หวันในสมัยนั้น เรื่องที่สองคือ ‘Storm over the Yangtze River (1969)’ ภาพยนตร์เกี่ยวกับตัวละครที่เป็นสายลับในสงครามช่วงจักรวรรดิญี่ปุ่นเรืองอำนาจ ความน่าสนใจคือภาพยนตร์เรื่องนี้ฉีกกรอบภาพยนตร์สงครามแบบเดิมๆ ฉายให้เห็นความซับซ้อนของ ‘สงคราม’ ผ่านการปฏิสัมพันธ์ของตัวละคร  เรื่องที่สามคือ ‘Super Citizen Ko (1995)‘ ภาพยนตร์เกี่ยวกับยุคสมัยที่ไต้หวันปกครองด้วยระบอบเผด็จการช่วงทศวรรษ 1950 กลุ่มศึกษาทฤษฎีการเมืองในสมัยนั้นเป็นเรื่องต้องห้าม แต่มีกลุ่มนักเรียนกลุ่มหนึ่งแอบจัด และเมื่อโดนจับได้นั้นเพื่อนคนหนึ่งชื่อ ‘Ko’ ได้เผลอแพร่งพลายความลับของเพื่อนอีกคนให้ตำรวจฟังจนนำไปสู่การประหารชีวิตเพื่อนคนนั้น 30 ปีต่อมา […]

Big Bad Wolf Books มหกรรมหนังสือลดราคาที่ใหญ่สุดในโลก อิมแพ็ค ถึง 3 เม.ย. 65

คนรักหนังสือมีกระเป๋าตังค์สั่นแน่นอน เพราะนอกจากงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 50ฯ กลับมาจัดออนไซต์อย่างยิ่งใหญ่แล้ว มหกรรมหนังสือที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Big Bad Wolf Books ก็กลับมาจัดออนไซต์ในเวลาไล่เลี่ยกันด้วย ครั้งนี้ หมาป่ายอดนักอ่านขนหนังสือมากว่าหลายแสนเล่ม ไม่ว่าจะเป็นหนังสือหายาก วรรณกรรมระดับโลก นิทานเด็ก ตำราอาหาร หนังสือภาพ ไปจนถึงเครื่องเขียนและบอร์ดเกมมากมาย โดยมาพร้อมกับโปรโมชันลดราคาโหดเหมือนโกรธนักอ่านถึง 50 – 95 เปอร์เซ็นต์ เรียกว่ากำแบงก์พันไปสองใบ ก็ยังไหวอยู่ ในงานยังมีกิจกรรมพิเศษ แจกหนังสือเต็มๆ อีกรถเข็นให้ทุกคนขนกลับบ้าน แค่ลงทะเบียนเป็นสมาชิกกับ Big Bad Wolf Books และซื้อหนังสือภายในงานอย่างน้อย 2,000 บาท ก็มีสิทธิ์ลุ้นรางวัลแล้ว ทั้งนี้ ด้วยมาตรการลดโลกร้อนเหมือนปีที่ผ่านๆ มา ภายในงานจะไม่มีการใช้หรือแจกถุงพลาสติก ใครที่ตั้งใจไปร่วมงาน อย่าลืมนำถุงผ้าหรือกระเป๋าส่วนตัวมาขนหนังสือกลับบ้านกันด้วยนะ ถึงจะดีใจที่ Big Bad Wolf Books กลับมาจัดออนไซต์ แต่แอบเสียดายที่ปีนี้งานไม่ได้จัด 24 ชั่วโมงแล้ว ไม่อย่างนั้น เราคงได้เห็นคนมาเข็นรถช้อปหนังสือกันตอนดึกๆ […]

A Model City โปรเจกต์ในเมืองชิซึโอกะ ที่เปลี่ยนสิ่งของให้เป็นโมเดล 1:1 ให้สมกับเป็นเมืองผลิตของเล่น

โมเดลพลาสติกคือหนึ่งในของเล่นสุดฮิตในวัยเด็กที่อยู่ในความทรงจำของทุกๆ คน โดยเฉพาะแบบที่มาเป็นแผงและให้เราแกะชิ้นส่วนทั้งหมดออกมาต่อกันเป็นของเล่น คงสนุกดีเหมือนกันถ้าเรามีโมเดลขนาดเท่าตัวคนจริงๆ ให้เล่นในชีวิตประจำวัน ‘A Model City’ เป็นโปรเจกต์ Installation สนุกๆ ของเมืองชิซึโอกะ ประเทศญี่ปุ่น ที่เปลี่ยนข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ในเมืองให้กลายเป็นโมเดลสเกล 1:1 เท่าตัวคนจริงๆ กระจายอยู่ตามจุดสำคัญต่างๆ ทั่วเมือง ไม่ว่าจะเป็นตู้โทรศัพท์สาธารณะ ตู้ไปรษณีย์ ป้ายบอกทาง ป้ายรถเมล์ ฯลฯ  โมเดลพลาสติกเหล่านี้มีข้อต่อถอดแบบมาจากของเล่นในวัยเด็กแบบเป๊ะๆ แต่ต่างกันตรงที่มีขนาดเท่าคนจริงและใช้งานได้จริงๆ ทำให้ผู้ใช้งานได้มีปฏิสัมพันธ์และเล่นสนุกกับสิ่งคุ้นเคยในชีวิตประจำวันได้ เมืองชิซึโอกะเกี่ยวกับโมเดลพลาสติกอย่างไร?  หลายคนคงคุ้นเคยกับชื่อเมืองชิซึโอกะเพราะเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สวยงามและฮิตในหมู่คนไทยอยู่แล้ว แต่อีกด้านหนึ่งที่หลายคนไม่เคยรู้คือชิซึโอกะเป็นเมืองที่ขึ้นชื่อเรื่องการผลิตพลาสติก โมเดลพลาสติกกว่า 80% ของประเทศญี่ปุ่นผลิตขึ้นที่นี่ และยังส่งออกไปทั่วโลกอีกด้วย จึงเป็นที่มาของไอเดียในการเปลี่ยนข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ให้เป็นโมเดลพลาสติก เพราะต้องการสื่อสารจุดเด่นว่าชิซึโอกะเป็นเมืองผลิตของเล่นนั่นเอง  นอกจากจะได้เล่นและใช้งานตามจุดต่างๆ แล้ว A Model City ยังมี ‘อนุสาวรีย์พลาสติก’ ที่ให้เราไปยืนแกล้งเป็นชิ้นส่วนสำคัญของโมเดลพลาสติกได้ด้วย ตอบโจทย์คนรักของเล่นเป็นที่สุด ญี่ปุ่นเปิดประเทศเมื่อไหร่คนรักโมเดลพลาสติกคงมีจุดหมายใหม่ให้ไปอีกแล้ว (ถ้าเขาไม่พับโครงการไปเสียก่อน)  Sources : Mashable | t.ly/W58u http://www.shizuoka.hakuhodo.co.jp/pla-model-project/

Starbucks จับมือ Volvo นำร่องติดตั้งสถานีชาร์จรถไฟฟ้าในอเมริกา หวังเป็นทางเลือกใหม่ในยุครถยนต์ไฟฟ้า

Starbucks ตั้งเป้าจะติดตั้งสถานีชาร์จรถไฟฟ้าตามร้านกาแฟ 15 แห่งในฤดูร้อนปีนี้ตลอดระยะทางราว 2,100 กิโลเมตร ระหว่างโคโลราโดไปยังวอชิงตัน ซึ่งเป็นโครงการนำร่องที่ทำร่วมกับ Volvo ในการสร้างสเตชันชาร์จแบบ DC ซึ่งเป็นการจ่ายไฟเข้าสู่แบตเตอรี่โดยตรงซึ่งเป็นวิธีการชาร์จไฟที่ไวที่สุดในตอนนี้ ซึ่งค่ายรถยนต์สัญชาติสวีเดนวางแผนจะสร้างสถานี Quick Charge ทุก 160 กิโลเมตรที่ถนนฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกา แฟรนไชส์กาแฟชื่อก้องโลกกำลังเดินหน้าในเกมธุรกิจเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า เพราะมองว่าระหว่างการชาร์จไฟที่ใช้เวลาค่อนข้างนาน แม้จะเป็นสถานีแบบ Quick Charge ก็ต้องใช้เวลาราว 40 นาที เพื่อให้มีไฟมากพอจะเดินทางต่อไปยังจุดหมายถัดไป Starbucks ซึ่งเป็นร้านกาแฟที่ชูจุดเด่นด้าน Third Place ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องความสะดวกสบายในการใช้บริการ ก็หวังจะมาตอบโจทย์ผู้บริโภคตรงนี้ ภายในปี 2030 อาจมีรถยนต์ไฟฟ้าวิ่งอยู่บนถนนของสหรัฐอเมริกามากกว่า 26 ล้านคัน ความต้องการชาร์จจะมากขึ้นกว่าเดิมถึง 10 เท่าตัว และ Starbucks สาขาทั่วแดนลุงแซมถึง 15,000 แห่ง คิดว่าตนเองสามารถช่วยเติมเต็มช่องว่างเหล่านี้ได้ ซึ่ง Volvo และ Starbucks ยังวางแผนที่จะวิเคราะห์พฤติกรรมผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อมองหาความเป็นไปได้ในการขยายโครงการนี้ไปที่อื่นด้วย นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ Starbucks […]

1 182 183 184 185 186 378

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.