Tarket แพลตฟอร์มของมือสองที่จะทำให้การซื้อขายของใช้แล้วเป็นเรื่องสนุก

เมื่อปัญหาโลกร้อนกลายเป็นกระแสสังคมที่รังแต่จะเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ผู้คนทั่วโลกหรือกระทั่งในบ้านเราเองหันมาใส่ใจและร่วมกันรณรงค์ใช้ชีวิตอย่างนึกถึงโลกใบนี้กันมากขึ้น โดยหนึ่งในวิธีที่มาแรงมากๆ คือการลดการซื้อของใหม่แล้วใช้ของมือสอง ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ ภาดา กาญจนภิญพงศ์ กับเพื่อนๆ จึงร่วมกันคิดแพลตฟอร์มส่งต่อของมือสองรูปแบบใหม่ที่มีชื่อว่า Tarket ซึ่งมีความแตกต่างจากแอปพลิเคชันขายของอื่นๆ ขึ้นมา ความพิเศษคือการเจาะกลุ่มผู้ใช้คนรุ่นใหม่ ทำให้มีการนำเสนอสินค้าที่ตอบโจทย์วัยรุ่นอย่างฟังก์ชันการปัดแบบแอปฯ เดตติ้ง ชอบ-ไม่ชอบชิ้นไหนก็ปัดใช่ปัดชอบได้ มากไปกว่านั้นตัวแพลตฟอร์มยังให้ความสำคัญกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมผ่านการแสดงข้อมูลต่างๆ อีกด้วย “ที่ผ่านมา เรายังไม่เคยเจอแพลตฟอร์มขายของมือสองไทยที่สร้างขึ้นมาเพื่อกลุ่มวัยรุ่นโดยเฉพาะ ก็เลยทำให้คิดว่านี่อาจเป็นอุปสรรคในการซื้อ-ขายของมือสองของคนรุ่นเราด้วยหรือเปล่า เราจึงสร้างแพลตฟอร์มนี้ขึ้นมาพร้อมกับจุดดึงดูดใหม่ๆ ที่ปกติคนไม่น่าจะเคยเห็นกันในตลาดขายของออนไลน์” ตัวอย่างฟีเจอร์ใน Tarket ที่ภาดากับทีมวางแผนดีไซน์ไว้ มีดังนี้ – ให้อิสระกับคนซื้อในการเสนอราคาที่ชอบ และให้โอกาสกับคนขายให้เลือกราคาที่ใช่ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับตัวสินค้า – มี AI เช็กปริมาณคาร์บอนฟุตพรินต์ของสินค้าชิ้นนั้นๆ แล้วเปลี่ยนเป็นแต้มส่วนลดได้ รวมถึงนำเสนอข้อมูลว่าเราช่วยโลกได้ยังไงอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่น เสื้อที่คุณส่งต่อ ช่วยลดมลพิษเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 10 ต้น – มีความปลอดภัยสูง เพราะทุกคนต้องผ่านระบบการยืนยันตัวตนก่อนเข้าใช้ นอกจากนี้ภาดายังเสริมถึงมิชชันระยะยาวของเขาอีกว่าต้องการที่จะเห็นคนรุ่นใหม่เปลี่ยนมายด์เซตเกี่ยวกับของมือสอง โดยหวังว่า Tarket จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างค่านิยมในการส่งต่อและใช้ของมือสองให้กลายเป็นเรื่องปกติ สนุก และไม่ว่าใครก็ทำได้เหมือนการซื้อของใหม่ […]

มาแชร์บุญ ซูเปอร์มาร์เก็ตที่ซื้อของต่ำกว่าราคาและได้เงินทอนเป็นบุญ | วัดชลประทานรังสฤษดิ์ฯ The Series EP2

ชาวพุทธโดยส่วนใหญ่ล้วนเคยถวายสังฆทาน แต่เราเคยตั้งคำถามกันหรือไม่ว่าถวายแล้วสังฆทานนั้นไปไหนต่อ จากคำบอกเล่าของผู้ที่เคยไปดูงานบางที่ เขากล่าวว่า “สังฆทานวางกองกันเป็นชั้นๆ ขึ้นไป ของบางอย่างใช้ไม่ทันก็เสีย” หากใช้ไม่ได้ เก็บไว้ไม่เป็นระบบ บุญที่เราจะได้จะเป็นบุญได้อย่างไร ในเมื่อบุญนั้นกลายเป็นของเสียไปหมด ในวันที่โลกต่างพูดถึงกระแส Waste Management กันมากขึ้น ที่วัดชลประทานฯ ก็มีการจัดการไม่ให้ของต่างๆ เสียเปล่า โดยใช้ระบบสังฆะ และหนึ่งในผลพลอยได้จากระบบนี้คือร้านที่มีชื่อว่า ‘มาแชร์บุญ’ มาแชร์บุญ คือร้านของชำในวัด แต่ไม่ได้ขายเพื่อมุ่งกำไร ทุกบาททุกสตางค์คือการหยอดลงตู้ค่าน้ำค่าไฟของวัด และราคาที่ขายก็เกินจริง ไม่ใช่แพงเกินจริง แต่ถูกเกินจริงเพราะตั้งราคาต่ำกว่าทุน ของที่ได้มาก็เป็นของที่เหลือจากระบบสังฆะ สิ่งเหล่านี้ทำงานเป็นระบบกันอย่างไร แล้วของจะไม่เสียเปล่าจริงหรือ หาคำตอบได้ใน วัดชลประทานรังสฤษดิ์ฯ The Series EP2 มาแชร์บุญ Superstore #UrbanCreature #CitySurvive #วัดชลประทานรังสฤษดิ์ #มาแชร์บุญ

ไม่ต้องโป๊ก็ลงแข่งได้ สหพันธ์แฮนด์บอลนานาชาติยอมเปลี่ยนกฎ ให้นักกีฬาหญิงใส่กางเกงขาสั้นแทนบิกินี

‘บิกินี’ ซึ่งเป็นยูนิฟอร์มของนักกีฬาแฮนด์บอลหญิงได้กลายเป็นประเด็นถกเถียงตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2021 หลังจากสหพันธ์แฮนด์บอลยุโรป (EHF) สั่งปรับทีมนักกีฬาแฮนด์บอลหญิงนอร์เวย์เป็นเงิน 1,500 ยูโร (ราว 58,000 บาท) เนื่องจากพวกเธอสวมกางเกงขาสั้นแนบเนื้อแทนบิกินีในการแข่งขันแฮนด์บอลชายหาดชิงแชมป์ยุโรปปี 2021 โดยทาง EHF อ้างว่า พวกเธอ ‘แต่งกายไม่เหมาะสม’  กรณีดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก และทำให้หลายฝ่ายตั้งคำถามถึงความจำเป็นที่นักกีฬาหญิงต้องสวมชุดบิกินีระหว่างลงแข่งขัน นอกจากนั้น การลงโทษครั้งนั้นยังถูกตีตราว่าเป็น ‘การแบ่งแยกทางเพศ’ หรือ ‘การเหยียดเพศ’ จนนำไปสู่การเรียกร้องและกดดันให้มีการยกเลิกข้อบังคับดังกล่าวด้วย โดยในเดือนกันยายน 2021 รัฐมนตรีกีฬาของเดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน ได้เรียกร้องให้สหพันธ์แฮนด์บอลนานาชาติ (IHF) ทบทวนข้อกำหนดเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายของนักกีฬาหญิงใหม่ เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมทางเพศ กระแสต่อต้านชุดบิกินีที่ยืดเยื้อส่งผลให้ IHF ตัดสินใจเปลี่ยนระเบียบการแต่งกายสำหรับนักกีฬาในที่สุด โดยเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2021 IHF ได้ออกกฎใหม่ที่ไม่กำหนดให้นักกีฬาหญิงสวมบิกินีระหว่างลงแข่งขัน แต่ระบุว่า นักกีฬาแฮนด์บอลหญิงสามารถสวมใส่ ‘เสื้อกล้ามที่พอดีตัว’ และ ‘กางเกงขาสั้นแนบเนื้อ’ (จากเดิมที่กำหนดให้ใส่เสื้อครอปแขนกุดและกางเกงทรงบิกินี) ส่วนนักกีฬาชายสามารถสวมกางเกงขาสั้นที่ไม่หลวมจนเกินไป แต่กางเกงต้องอยู่เหนือเข่าราว 10 […]

REX เก้าอี้รีไซเคิลจากขยะ ที่ขายคืนได้หลังไม่ใช้งานแล้ว

เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยซื้อเก้าอี้สักตัวมาด้วยความคิดว่าจะใช้ไปนานๆ แต่แล้วเมื่อเวลาผ่านไป เก้าอี้ตัวนั้นอาจหมดความหมาย ถูกทิ้งขว้างกลายเป็นขยะชิ้นโตในบ้าน ครั้นจะนำไปทิ้งก็เสียดาย จะขายต่อก็ไม่ได้ง่ายขนาดนั้น เพราะยึดมั่นในแนวคิดการใช้โปรดักต์อย่างยั่งยืน Ineke Hans ดีไซเนอร์แห่ง Circuform แบรนด์เฟอร์นิเจอร์สัญชาติดัตช์ จึงคิดและออกแบบ REX เก้าอี้รีไซเคิลที่ลูกค้าสามารถนำมาขายคืนหลังใช้งานแล้วเป็นเวลานานได้ ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจาก Hans ต้องการออกแบบเก้าอี้ที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ผ่านการคิดนวัตกรรมที่ครอบคลุมตั้งแต่จุดกำเนิดไปจนถึงจุดสิ้นสุดของวงจรชีวิตโปรดักต์ เพื่อใช้งานมันให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด REX เป็นเก้าอี้ที่ทำด้วยพลาสติกรีไซเคิลจากอวนจับปลา แปรงสีฟัน ส่วนประกอบเก้าอี้สำนักงาน และขยะอุตสาหกรรมอื่นๆ ซึ่งแบรนด์จะคืนเงินมัดจำที่รวมในราคาขาย 20 ยูโรให้ลูกค้าเมื่อส่งคืนเก้าอี้หลังไม่ใช้งานแล้ว โดยจะนำมาซ่อมแซมเพื่อใช้งานอีกครั้ง หรือกระทั่งนำมารีไซเคิลเพื่อสร้างเก้าอี้ตัวใหม่ “มันเป็นเก้าอี้ที่จะอยู่ต่อไปอีกนาน แต่ความจริงแล้วผู้คนไม่ได้ใช้งานมันนานเช่นนั้น บางครั้งพวกเขาอยากใช้งานแค่หกเดือน อย่างงานที่จัดขึ้นชั่วคราวหรืออีเวนต์ต่างๆ” Hans อธิบายและเสริมอีกว่าเธออยากเห็นโลกที่บริหารจัดการกับของมือสองอื่นๆ เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ เก้าอี้ที่เธอออกแบบประกอบด้วยสองส่วนหลัก นั่นคือ ส่วนเบาะนั่งกับขา และพนักพิงแขนที่แยกออกมาโดยสามารถเสียบเข้ากับช่องว่างด้านหลังเบาะ แถมยังเพิ่มที่พักแขนได้ สอดคล้องกับจุดประสงค์ในการเป็นเก้าอี้ที่เหมาะกับทุกคน ขณะเดียวกันตัวบริษัทผู้ผลิตเองก็จัดตั้งสถานีรับคืนเก้าอี้ไว้หลายแห่งทั่วประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อสร้างความสะดวกสบายในการคืนโปรดักต์ให้ลูกค้า ไม่ใช่แค่ออกแบบแล้ววาดฝันกระบวนการขึ้นมาลอยๆ เท่านั้น เรียกว่าคิดมาครบตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำจริงๆ Source : dezeen | https://bit.ly/3nLGnNd

เป็นสิตางศุ์ เป็นนางร้าย เป็นลิซ่า ‘พีทพามานา’ Creator ที่ใช้เสื้อผ้าแม่ทำ Parody วิวหลักล้าน

ท่ามกลางตลาดคอนเทนต์ครีเอเตอร์ในไทยที่บูมขึ้นเรื่อยๆ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการทำคอนเทนต์ให้โดดเด่นและโดนใจคนหมู่มากนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย สิ่งที่ยากกว่าคือการทำคอนเทนต์ใหม่ๆ เพื่อจูงใจให้คนยังกดติดดาว (หรือกระดิ่ง) ช่องเราไว้เสมอ แต่ความชอบคนเราเปลี่ยนไปได้ทุกวัน ครีเอเตอร์หน้าใหม่ก็กลายเป็นไวรัลในชั่วข้ามคืน การจะยืนระยะในวงการนี้ได้นั้นเรียกร้องเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ถูกอกถูกใจคนดู และหนึ่งในครีเอเตอร์ที่ทำแบบนั้นได้คือ ‘พีทพามานา’ แม้ว่าแอ็กเคานต์ติ๊กต็อกและเพจของ พีท-สุทิน โคตะถา จะเปิดมาได้แค่ปีกว่าๆ แต่ครีเอเตอร์วัย 27 ปีคนนี้ก็ขยันปล่อยคอนเทนต์ใหม่ๆ ออกมาให้คนดูได้หัวเราะ (หรืออย่างน้อยก็กระตุกมุมปากยิ้มล่ะ) ไม่ว่าจะเป็นคลิปเลียนเสียงคนดังอย่าง พิม นาคำไฮ หรือ สิตางศุ์ บัวทอง คลิปพาโรดี้ละครไทย ล่าสุดคือคลิปคัฟเวอร์เอ็มวีเพลง LALISA ของ LISA วง BLACKPINK ที่มียอดวิวกว่า 3 ล้านวิวเข้าไปแล้ว! ด้วยยอดคนดูขนาดนี้ ไม่เกินจริงเลยถ้าจะเรียกพีทว่าดาวติ๊กต็อก นอกจากจริตจะก้านการแอ็กติ้งที่ดูแล้วต้องตบเข่าฉาด เหตุผลที่ทำให้หลายคนกดติดตามพีทคือการสร้างคอนเทนต์จาก ‘อะไรง่ายๆ’ ที่อยู่รอบตัวอย่างการหยิบยืมเสื้อผ้าของแม่กับพี่สาวมาใส่ ไหนจะใช้นาข้าวในชนบทของอำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี เป็นฉากหลัง  สิ่งที่หลายคนไม่รู้คือเบื้องหลัง ‘อะไรง่ายๆ’ เหล่านั้นต้องแลกกับอะไรบ้าง คอลัมน์ The Professional คราวนี้ เราจึงอยากชวนไปสำรวจโลกของคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่ไม่ได้ง่ายดายเหมือนใช้ปลายนิ้วไถฟีด เสียงแมงแคงบินว่อน ลมจากเถียงนาพัดเอื่อย อีกฝั่งของวิดีโอคอล พีทในชุดเดรสแหวกอกกับวิกหน้าม้ารอให้คำตอบกับเราแล้ว โตมากับละครไทย […]

ประติมากรรมที่เรียกร้องผู้นำใน COP26 ให้เลิกสนใจการเติบโตของเศรษฐกิจ และหันมาเอาจริงเรื่องโลกร้อนเสียที

บ้านสีแดงสดที่ลอยเท้งเต้งเหนือผิวน้ำ และด้านบนมีคนกำลังดึงเชือกที่มีตัวอักษร COP26 คือ ‘Sinking House’ ประติมากรรมจากบริษัทสถาปัตยกรรม Stride Treglown ที่ติดตั้งอยู่บริเวณสะพานพัลต์นีย์ ที่แม่น้ำเอวอน ในเมืองบาธ ประเทศอังกฤษ ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากปาฐกถาเรื่อง Our house is on fire ของ Greta Thunberg ในปี 2019 ที่งาน World Economic Forum  “เราต้องการให้งานศิลปะชิ้นนี้บอกว่า ‘บ้านของเรา’ กำลังตกอยู่ในสถานการณ์ที่อันตรายมาก อิทธิพลส่วนหนึ่งของงานชิ้นนี้มาจากสถานการณ์น้ำท่วมในยุโรปเมื่อฤดูร้อนที่ผ่านมา ซึ่งเราเห็นผู้คนจำนวนมากติดอยู่บนหลังคาบ้าน เป็นภาพที่ชี้ให้เห็นว่าผลกระทบจากภาวะโลกร้อนอยู่ใกล้ตัวมากแค่ไหน” Rob Delius หัวหน้าฝ่ายความยั่งยืนของ Stride Treglown กล่าวกับ Dezeen  สีของ Sinking House ยังสื่อถึงรายงานของ IPCC ที่คาดว่าอีก 20 ปี โลกจะมีอุณหภูมิร้อนขึ้นอีก 1.5 องศาฯ ซึ่งถือเป็นสัญญาณเตือนภัยสีแดง (Code Red) […]

FYI

PROVIDENCE LANE Ekkamai-Ramintra อนาคตแห่งการอยู่อาศัย ในวันที่โลกหมุนไปไม่หยุด

ปัจจุบันโลกของเรากำลังผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนด้วยอัตราเร่งที่เร็วกว่าครั้งไหน แม้สถานการณ์โลกมีแนวโน้มจะกลับคืนสู่สภาวะปกติ แต่รูปแบบการใช้ชีวิตของเราได้เปลี่ยนไปเรียบร้อยและหน้าตาของที่อยู่อาศัยก็กำลังจะเปลี่ยนตามไปด้วย  บ้านสำหรับอนาคตอาจจะเปรียบได้กับผืนผ้าใบสีขาว ที่พร้อมให้เราแต่งแต้มและสะบัดแนวทางการใช้ชีวิตลงไปเติมเต็มให้สมบูรณ์ PROVIDENCE LANE Ekkamai-Ramintra คือโครงการบ้านระดับลักซูรี ที่นำเสนอความเป็นตัวเองออกมาเป็นอันดับแรก ลดทอนทุกส่วนที่ไม่จำเป็น แต่ในขณะเดียวกันก็เปิดกว้างสำหรับทุกจินตนาการและพร้อมสำหรับทุกความเป็นไปได้ในอนาคต  Translucent Design อนาคตบ้านคือที่ทำงานของเรา  ต้นไม้กระถางเล็กที่มุมโต๊ะไว้เติมสีเขียว ข้างๆ กันมีรูปจากทริปผจญภัยครั้งล่าสุดไว้กระตุ้นความโปรดักทีฟ ถัดไปมีโปสเตอร์หนังโรแมนติก-คอเมดี้ไว้เติมกำลังใจหลังมีตติ้งรอบบ่ายอันหนักหน่วง ก่อนจะต้องฝ่ารถติดออกไปสนทนาภาษาธุรกิจระหว่างมื้อเย็นใจกลางเมือง  ย้อนกลับไปราวสองปีที่แล้วเราคุ้นกับการปรับสภาพโต๊ะทำงานให้เป็นมิตรกับตัวเองมากที่สุด แต่เมื่อเวลาหมุนไปชีวิตก็ไม่ได้ผูกติดอยู่ที่ออฟฟิศอีกแล้ว การทำงานที่บ้านกลายเป็นเรื่องปกติมากขึ้น Work from Home จะเป็นเทรนด์สำคัญในอนาคตที่จะกลายเป็นความปกติใหม่และอยู่กับเราไปอีกนาน  งานวิจัยหลายชิ้นพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าการทำงานอยู่ที่บ้านช่วยกระตุ้นให้กระตือรือร้นและจดจ่อกับงานได้มากขึ้น แต่มีข้อเสียคือทำให้ชีวิตทางสังคมหายไป หลายบริษัทจึงเลือกที่จะทำงานแบบไฮบริด คือเข้าออฟฟิศมาเจอกันบ้างแต่จะอาศัยการทำงานที่บ้านเป็นหลัก ทีนี้เมื่อการทำงานที่บ้านกลายเป็นเรื่องปกติมากขึ้น แทนที่จะแต่งแค่โต๊ะหรือห้องทำงานส่วนตัว เรามีบ้านทั้งหลังไว้คอยรองรับไอเดียที่เอ่อล้นอยู่เต็มหัว บ้านที่ดีจึงต้องพร้อมที่จะตอบรับทุกฟังก์ชันการใช้งานในอนาคตตามไปด้วย  ตอบอีเมลรอบเช้าที่ Café Area กับกาแฟร้อนหอมกรุ่น ประชุมรอบสายในพื้นที่ส่วนตัวเพื่อขับสมาธิให้พุ่งถึงขีดสุด PROVIDENCE LANE ออกแบบอย่างสอดคล้องให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ที่ไม่หยุดนิ่ง แต่ก็ไม่ละทิ้งสุนทรียะของผู้อยู่อาศัย เรียกได้ว่าคุณสามารถปรับสมดุลชีวิตให้คล่องแคล่วไม่ติดขัด และเพลิดเพลินกับการอยู่บ้านไปได้พร้อมกัน  เพราะใช้ปรัชญาการออกแบบที่ลดทอนส่วนที่ไม่จำเป็นออกไปทั้งหมด จนสามารถสร้างสรรค์การใช้งานที่เหมาะกับตัวเองได้ทันที มีพื้นที่การใช้งานที่เชื่อมทะลุถึงกัน เพื่อกระชับมิตรสังคมภายในบ้านให้แน่นแฟ้น แต่ในขณะเดียวกันก็มีพื้นที่มากและเพียงพอสำหรับการแยกกันทำงาน และเปลี่ยนฟังก์ชันการใช้งานได้อย่างอิสระตามคอนเซปต์ Defining Me ที่สะท้อนถึงตัวตนของเราได้ในทุกตารางเมตร  […]

โบสถ์ในเวลส์จัดงานรำลึกผู้เสียชีวิตโควิด-19 เพื่อส่งต่อความหวังหลังการระบาดใหญ่

5,015,400 คน คือตัวเลขของผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ทั่วโลกตั้งแต่เริ่มระบาดจนถึงปัจจุบัน ซึ่งการเสียชีวิตอย่างกะทันหันทำให้หลายครอบครัวไม่มีเวลาที่จะบอกลาหรือประกอบพิธีกรรมทางศาสนาได้เหมือนการเสียชีวิตด้วยสาเหตุอื่น และเป็นช่วงเวลาที่เศร้าโศกของผู้คนทั่วโลกที่ต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักจากการระบาดใหญ่ครั้งนี้  โบสถ์ Saint Giles ประจำเขตแพริชในเมืองเร็กซ์แฮม ประเทศเวลส์ ซึ่งเป็นโบสถ์เก่าแก่ที่สร้างราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 จึงได้จัด ‘Festival of Angels’ ตกแต่งโบสถ์ด้วยทูตสวรรค์ทำด้วยมือกว่า 6,000 องค์เพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ในเวลส์ ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2021 ไปจนถึงช่วงปีใหม่  Revd Dr Jason Bray บาทหลวงของโบสถ์ Saint Giles กล่าวว่า “สำหรับคริสเตียนหลายคน ทูตสวรรค์เป็นตัวแทนของความหวังและแสงสว่าง ตอนนี้คือช่วงเวลาที่เราโผล่ออกมาจากวันที่มืดมนที่สุดของการระบาดใหญ่ของโควิด-19 แล้ว Festival of Angels จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด ที่เราควรจะส่งต่อและแบ่งปันความหวังของคริสเตียนให้กับโลก” การจัดแสดงทูตสวรรค์เหล่านี้ได้รับแรงบันดาลใจจากทูตสวรรค์ดนตรีสมัยศตวรรษที่ 15 ที่แกะสลักไว้บนหลังคาไม้ของโบสถ์ ซึ่งทูตสวรรค์กว่า 6,000 องค์เหล่านี้เป็นตัวแทนของจำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ทั้งหมด 6,150 คน ในเวลส์นับตั้งแต่มีการระบาดใหญ่ จากรายงานล่าสุดของสาธารณสุขของเวลส์  ทูตสวรรค์เหล่านี้เป็นงานทำมือจากกระดาษ […]

MuvMi รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าเจ้าแรกในไทย ผู้อยู่รอดในสมรภูมิแชร์ริงที่มีแต่คนล้มหายตายจาก

“จะแก้ปัญหารถติดในกรุงเทพฯ ยังไงดี”  คำถามคาใจที่หลายคนคงคิดว่าเป็นเรื่องใหญ่เกินตัว เราเป็นใครถึงจะเข้าไปแก้ไขปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ แต่เชื่อหรือไม่ว่าคำถามเดียวกันนี้เป็นคำถามเดียวกันที่ MuvMi เคยตั้งไว้เป็นโจทย์ในการแก้ไข  เพื่อหา Solution ที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหานี้ จนพบจุดที่น่าสังเกตของกรุงเทพฯ ว่าเป็นเมืองที่มีรถไฟฟ้าก็จริง แต่ผู้คนยังประสบปัญหาการเดินทางไปยังสถานีรถไฟฟ้าอยู่ดี จากคำถามเล็กๆ นี้ได้นำมาสู่การคิดค้นและให้บริการขนส่งสาธารณะรูปแบบรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า ภายใต้แนวคิด Microtransit หรือการขนส่งและบริการขนาดเล็กที่ยืดหยุ่น และกลายเป็นทางเลือกให้คนกรุงเทพฯ ที่ใช้บริการได้ทุกวัน และมีส่วนสำคัญในการคืนชีวิตให้ชุมชน ยกระดับคุณภาพชีวิตให้คนขับรถตุ๊กตุ๊ก รวมถึงยกระดับให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น หลังจากเปิดให้บริการมา 3 ปี MuvMi มียอดการใช้งานไปแล้วมากกว่า 1 ล้านทริปในกรุงเทพฯ และยังอยู่รอดได้ท่ามกลางธุรกิจแชร์ริงที่ล้มหายตายจาก Urban Creature ชวน ตี้-ศุภพงษ์ กิติวัฒนศักดิ์ คุยถึงก้าวต่อไปของผู้ที่ยืนยันว่าตัวเองไม่ใช่ผู้ให้บริการตุ๊กตุ๊ก (ทั้งที่มีรถวิ่งทั่วเมือง) พวกเขาแตกต่างจากผู้ให้บริการประเภทอื่นด้วยอะไร ทำไมถึงตอบโจทย์สำหรับคนกรุง แก้ปัญหารถติดได้หรือยัง และจะมูฟไปทางไหนต่อ มาร่วมหาคำตอบไปพร้อมกันดีกว่าครับ  3 ล้อของ MuvMi MuvMi บอกว่า จริงๆ แล้วปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ เกิดขึ้นจากการเดินทางสาธารณะที่มารองรับการใช้งานขนส่งสาธารณะหลักยังไม่ตอบโจทย์เพียงพอ ไม่เชื่อมต่อและไม่ครอบคลุม พวกเขาจึงอยากเชื่อมคนกับขนส่งสาธารณะหรือการเดินทางไมล์สุดท้าย (First Miles, Last Miles) […]

นักวิจัยทำฟอนต์ไทยประหยัดพลังงานลดใช้หมึกพิมพ์ 30%

โดยปกติแล้วหน่วยงานราชการในประเทศไทยส่วนใหญ่มักจะนิยมใช้ฟอนต์ TH Sarabun ทำงานเสมอมา แต่ติดตรงที่เจ้าฟอนต์ประเภทนี้น่ะเป็นฟอนต์ที่มีขนาดหนาไปสักหน่อย ซึ่งผลที่ตามมาก็คือการต้องใช้หมึกพรินต์ตัวหนังสือซะเยอะ ส่งผลให้ปีหนึ่งๆ บรรดาหน่วยงานต่างๆ ต้องทุ่มเทค่าใช้จ่ายหรืองบประมาณไปกับการจัดซื้อหมึกสำหรับพิมพ์เอกสารจำนวนมหาศาลกันเลยทีเดียว ดังนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทนงศักดิ์ อิ่มใจ อาจารย์สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ม.วลัยลักษณ์ เลยตัดสินใจจับมือกับ ดร.ชิระวัฒน์ วัฒนพานิช และทีมนักวิจัยสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มวล. ด้วยโจทย์การแก้ไขปัญหาที่ว่า ทำยังไงให้เราลดการใช้หมึกพิมพ์ให้ได้มากที่สุด แต่ขณะเดียวกันก็ต้องคงความคมชัดของตัวอักษรไว้ให้เหมือนเดิมที่สุดด้วยเหมือนกัน คราวนี้ก็เลยตกผลึก ผุดเป็นไอเดียการดีไซน์ชุดตัวอักษรไทยประหยัดพลังงาน หรือที่เรียกกันว่า Thai Eco font ครั้งนี้ ทีมงานไม่ได้เอาฟอนต์พิสดารหรือแหวกแนวจากที่ไหนมาเป็นเรฟเฟอเรนซ์หรอก แต่เป็นการหยิบเอาสิ่งใกล้ตัวอย่าง TH Sarabun มาพัฒนาและต่อยอด ทำออกมาแล้วนำมาทดสอบว่าประหยัดหมึกพรินต์ได้จริงหรือไม่ ซึ่งหลักการของไอเดียนี้ก็คือการลดขนาดพื้นที่ภายในแต่ละตัวอักษรลง และลดปริมาณ Black Pixel ให้มากด้วยวิธีการประมวลผลภาพถ่าย  เมื่อทำกันจริง ทีมวิจัยก็ค้นพบว่า Thai Eco font ให้ผลลัพธ์ด้วยการประหยัดหมึกพรินต์ได้จำนวนถึง 30 เปอร์เซ็นต์ และที่น่าสนใจมากคือตัวหนังสือยังคงชัดแจ๋วเหมือนเดิม แถมสังเกตเห็นการลดลงของขนาดไม่ได้ ที่ขนาดตัวอักษรสูงสุดถึง 18 pt ซะด้วย  […]

สีสันบนแผงลอตเตอรี่

พรุ่งนี้หวยออก ! ถูกหวยหรือถูกแ_กคงแล้วแต่คน
จะรวยจะจนพอหวยงวดนี้จบก็รีบซื้องวดใหม่
ตอนซื้อหวย สะดุดตา ‘รูปหลังแผงหวย’ กันบ้างไหม ?
ขนาดเล็กใหญ่ ลวดลาย สีสันแตกต่างกันออกไป
เห็นแล้วสวยดีแต่ไม่รู้ว่าเสริมโชคคนซื้อ คนขายบ้างหรือเปล่า

1 165 166 167 168 169 331

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.