LATEST
The Bangkok 2040 Summer Olympics ธีสิสพัฒนาท่าเรือคลองเตยให้กลายเป็นฮับใหม่ สำหรับรองรับการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก 2040
นอกจาก ‘กีฬา’ จะเป็นยาวิเศษแล้ว กีฬายังเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างชาติอีกด้วย ที่ผ่านมาประเทศไทยเคยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมกีฬาโอลิมปิกมาแล้วทั้งหมด 2 ครั้ง ทั้งการเสนอเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก ปี 2008 และยูธโอลิมปิก ปี 2010 แต่ก็ต้องคว้าน้ำเหลว เนื่องด้วยความไม่พร้อมในด้านต่างๆ แต่ความหวังยังไม่หมดไป หลายครั้งเราจึงเห็นคนบนโลกออนไลน์ออกมาถกเถียงกันในประเด็นนี้อยู่บ่อยๆ ว่า แล้วเราต้องทำอย่างไร ประเทศไทยถึงจะเป็นเจ้าภาพจัดงานกีฬาของมวลมนุษยชาติกับเขาสักครั้ง เช่นเดียวกับ ‘จอม-ปภัสสร นพไพบูลย์รัตน์’ นิสิตจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มองว่าการจัดมหกรรมกีฬาระดับโลกเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการพัฒนาเมือง ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาและกระตุ้นการพลิกฟื้นของเมืองได้ จนเกิดเป็น ‘The Bangkok 2040 Summer Olympics’ ธีสิสออกแบบวางผังและจัดทำแผนพัฒนาเมืองสู่การเสนอตัวมหกรรมกีฬากรุงเทพฯ โอลิมปิกในปี 2040 กีฬาสร้างคน คนสร้างชาติ จอมเล่าว่า จุดเริ่มต้นที่ทำให้ตนตัดสินใจทำธีสิสในหัวข้อเกี่ยวกับโอลิมปิกเกิดขึ้นเพราะสไลด์วิชาเรียนเกี่ยวกับการออกแบบเมืองในช่วงชั้นปีที่ 4 เพียงสไลด์เดียวที่พูดถึง ‘คน กิจกรรม และเมือง’ “ผมคิดว่าโอลิมปิกเป็นคำตอบสำหรับการพัฒนาเมืองที่เป็นไปได้และอิมแพกต์มากที่สุด เพราะการจัดมหกรรมกีฬาระดับโลกเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาเมืองที่ช่วยแก้ไขปัญหา กระตุ้นการพลิกฟื้นของเมือง และขับเคลื่อนเมืองได้” เมื่อได้หัวข้ออย่างเป็นทางการ และหาข้อมูลไปได้ประมาณหนึ่ง จอมก็พบว่าความจริงแล้ว ประเทศไทยเคยยื่นเป็นเจ้าภาพในการจัดแข่งขันไปแล้วทั้งหมด 2 […]
สั่งสมความรู้รับมือโลกที่เปลี่ยนแปลงใน Learning Fest Bangkok 2024 วันที่ 1 – 4 ส.ค. ที่ TK Park และสถานที่ต่างๆ ทั่ว กทม.
เพราะการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัย แม้จะผ่านพ้นช่วงใส่ชุดนักเรียนหรือชุดนักศึกษา ในวันที่ 1 – 4 สิงหาคมนี้ Urban Creature อยากชวนทุกคนสั่งสมขุมพลังความรู้ให้ตัวเองกับ ‘Learning Fest Bangkok 2024’ เทศกาลส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เทศกาล Learning Fest Bangkok 2024 จัดขึ้นโดยอุทยานการเรียนรู้ TK Park โดยปีนี้จัดในธีม ‘เปลี่ยน.อยู่.คือ – I change, therefore I am’ สะท้อนว่าการเรียนรู้สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้กับร่างกายหรือจิตใจตัวเอง หรือในระดับยิ่งใหญ่อย่างสังคม และการเรียนรู้ยังช่วยเพิ่มพูนต้นทุนให้เราพร้อมรับมือกับโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตลอด 4 วันของเทศกาล ทาง TK Park เตรียมขบวนกิจกรรมที่มากระตุ้นต่อมความใคร่รู้ ทั้งเวิร์กช็อป การแสดง นิทรรศการ หรืองานเสวนา เช่น TK Chat Walk: Ratchaprasong Time Machine งานทัวร์ตามรอยประวัติศาสตร์ย่านราชประสงค์, TK FORUM […]
ผ่าแผนเดินเกมของปารีส โอลิมปิก 2024 เพื่อพิชิตเส้นชัยโอลิมปิกที่รักษ์โลกที่สุด
การจัดงานโอลิมปิกให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ฟังแล้วช่างเหนือจริง เพราะงานโอลิมปิกคือมหกรรมกีฬาระดับโลกที่มีการแข่งขันเกิดขึ้นกว่าหลายร้อยรายการ มีนักกีฬาเข้าร่วมหลักหมื่น มีผู้ชมมาเกาะติดขอบสนามกันหลักล้าน การจัดงานระดับยักษ์แบบนี้ หลีกหนีไม่พ้นต้องเผาผลาญทรัพยากรมหาศาลเพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก รองรับมวลมหาประชาชนที่หลั่งไหลมา แต่เพราะวิกฤตสิ่งแวดล้อมโลกทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน การหันมาใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมเลยเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกต่อไป เมื่อปารีสได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกและพาราลิมปิกฤดูร้อน 2024 เมืองน้ำหอมจึงตั้งปณิธานว่า โอลิมปิกครั้งนี้จะเป็นโอลิมปิกที่เป็นมิตรกับโลกที่สุด มีการประเมินไว้ว่า งานโอลิมปิกในกรุงรีโอเดจาเนโร ปี 2016 และกรุงลอนดอน ปี 2012 ปล่อยคาร์บอนออกมากว่า 3.5 ล้านตัน สำหรับโอลิมปิกครั้งนี้ ปารีสตั้งเป้าสุดทะเยอทะยานไว้ว่าจะหั่นตัวเลขเหลือเพียงครึ่งหนึ่ง คือ 1.75 ล้านตัน น้อยกว่างานโอลิมปิก 2020 ที่โตเกียวซึ่งจัดในช่วงล็อกดาวน์ และปล่อยก๊าซออกมา 1.9 ล้านตันเสียด้วยซ้ำ งานนี้ปารีสพร้อมเดินเกมทุกวิถีทาง ตั้งแต่เรื่องใหญ่อย่างการก่อสร้าง การเดินทาง ไปจนถึงเรื่องเล็กอย่างอาหารการกิน มาเรียนรู้ไปด้วยกันว่าปารีสวางแผนไว้อย่างไร เพื่อพิชิตเส้นชัยการเป็นโอลิมปิกที่รักษ์โลกที่สุด ไม่เน้นสร้างใหม่ เน้นใช้สถานที่เดิม 95 เปอร์เซ็นต์ของการแข่งขันโอลิมปิกทั้งหมดจะจัดขึ้นในสนามกีฬาที่มีอยู่เดิม หรือในแลนด์มาร์กของเมืองที่ได้รับการปรับปรุงขึ้นใหม่ เช่น กีฬาฟันดาบและเทควันโด ที่จะประชันกันในอาคาร Grand Palais ซึ่งสร้างมาตั้งแต่ปี 1897 หรือกีฬาขี่ม้า ปัญจกีฬา […]
ชนะโอลิมปิก = ได้หอไอเฟลกลับบ้าน เหรียญโอลิมปิกปารีส 2024 รีไซเคิลได้ ที่ภายในมีชิ้นส่วนจากเศษเหล็กหอไอเฟล
เหรียญรางวัลสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่แสดงถึงความพิเศษและแนวคิดการจัดงานของปีนั้นๆ เช่นเดียวกับ ‘เหรียญโอลิมปิกปารีส 2024’ ที่เปิดตัวได้อย่างน่าสนใจ ด้วยการบรรจุเศษเหล็กขนาดหกเหลี่ยมที่มาจากชิ้นส่วนจริงที่เหลือใช้จากการสร้างหอไอเฟลในปี 1889 ถือเป็นการผสมผสานเหรียญรางวัลเข้ากับสัญลักษณ์ที่โดดเด่นที่สุดของประเทศฝรั่งเศสอย่างหอไอเฟล จากฝีมือการออกแบบของแบรนด์ Chaumet บริษัทอัญมณีและนาฬิกาสุดหรูสัญชาติฝรั่งเศสที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1780 โดยแต่ละมุมของชิ้นส่วนหกเหลี่ยมจากหอไอเฟลจะถูกตรึงไว้ด้วย ‘กรงเล็บ’ (Claw) ด้วยเทคนิคการทำเครื่องประดับแบบดั้งเดิม จนมีรูปร่างออกมาเป็นลวดลาย ‘Clous de Paris’ ที่มักใช้ในงานหน้าปัดนาฬิกา นอกจากนี้ ส่วนรอบนอกของเหรียญรางวัลทั้งในเหรียญทองและเหรียญเงิน ยังทำมาจากโลหะที่ได้รับการรับรองจาก Responsible Jewellery Council (RJC) ว่ารีไซเคิลได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่เหรียญทองแดงจะทำมาจากเศษวัสดุจากการผลิตเหรียญของโรงกษาปณ์ Monnaie de Paris ที่มีอายุมานานกว่าพันปี ถือเป็นอีกหนึ่งส่วนที่ทำให้เห็นว่าโอลิมปิกปารีส 2024 นี้ให้ความสำคัญกับโลก และมุ่งเป้าในการเป็นโอลิมปิกที่ยั่งยืนที่สุด ไม่เว้นแม้กระทั่งตัวเหรียญรางวัลเอง Sources :Dezeen | t.ly/YSLrwOlympics | t.ly/Hwxby, t.ly/3oveD
‘ไทยเด็ด’ โครงการที่พาสินค้าท้องถิ่นเด็ดๆ มาอยู่ใกล้กับทุกคนมากขึ้นที่ PTT Station กว่า 300 สาขาทั่วประเทศ
เราทุกคนต่างรู้กันดีอยู่แล้วว่า บ้านเรามีของดีของเด็ดของแต่ละพื้นที่ซุกซ่อนตัวอยู่ทั่วประเทศ แต่ปัญหาคือรู้แล้วก็ใช่ว่าจะหากินได้ง่ายๆ เพราะการส่งออกสินค้าจากจังหวัดหนึ่งไปสู่จังหวัดหนึ่งอาจเป็นเรื่องยากสำหรับเหล่าผู้ประกอบการรายเล็ก รวมไปถึงผู้บริโภคต่างถิ่นที่อยากสนับสนุนสินค้าจากท้องถิ่น แต่ก็ไม่รู้ว่าจะไปหาแหล่งซื้อขายสินค้าที่ไหน จะสั่งสินค้าโดยตรงก็กลัวต้องใช้เวลาส่งนาน แถมกว่าสินค้าจะมาถึงมือก็ไม่รู้ว่าจะเกิดความเสียหายระหว่างทางอีกไหม ทาง ‘บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ (OR)’ ซึ่งเป็นองค์กรที่เห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของชุมชน ได้นำเอาเพนพอยต์เหล่านี้มาแก้ไข รวมถึงต้องการขยายโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับชุมชนผ่านโครงการ ‘ไทยเด็ด’ เพื่อผลักดันการสร้างเศรษฐกิจของคนในชุมชนทั่วประเทศให้เติบโตอย่างแข็งแรงและยั่งยืน สินค้าจากชุมชนท้องถิ่นไทย หาซื้อง่ายๆ ในโครงการไทยเด็ด โครงการไทยเด็ด เป็นโครงการ CSR ที่เป็นการร่วมมือของ OR กับพันธมิตรอีก 8 หน่วยงานที่เล็งเห็นถึงปัญหาการซื้อขายสินค้าของชุมชนที่หายาก บางอย่างเป็นของเด็ดของดังในชุมชน แต่คนนอกพื้นที่กลับไม่รู้เลยว่าจะอุดหนุนได้จากที่ไหน ไทยเด็ดจึงทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ประกอบการท้องถิ่นและผู้บริโภค ภารกิจของโครงการคือ การเฟ้นหาและคัดสรรผลิตภัณฑ์เด็ดๆ จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องดื่ม เสื้อผ้า และเครื่องประดับ หรือของใช้ต่างๆ เพื่อนำมาเพิ่มช่องทางการจำหน่ายให้สินค้าเหล่านี้กระจายตัวสู่ผู้บริโภคทั่วประเทศได้มากกว่าแค่กระจุกอยู่ในชุมชนเท่านั้น โดยทาง OR จะรับหน้าที่เป็นตัวกลางในการสนับสนุนช่องทางการขายให้กับชุมชน ผ่านการวางขายที่ ‘PTT Station’ หรือ ‘ร้านคาเฟ่อเมซอน’ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งวิธีในการสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการท้องถิ่น และส่งต่อสินค้าให้ถึงผู้บริโภคอย่างสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น […]
‘Bangkok 21xx Olympics’ จะเป็นอย่างไร ถ้ากรุงเทพฯ เป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมกีฬาระดับโลก และใช้พื้นที่เมืองเป็นสเตเดียมแข่งขัน
ในที่สุดก็มาถึงช่วงเวลาที่ทุกคนตั้งตาคอยกับมหกรรมกีฬาระดับโลก ‘Paris 2024 Olympics’ ที่ฝรั่งเศสกลับมาเป็นเจ้าภาพในรอบ 100 ปี ความน่าสนใจของโอลิมปิกครั้งนี้คือ การกำหนดสถานที่สำคัญของฝรั่งเศสให้เป็นสนามกีฬา เช่น หอไอเฟล พระราชวังแวร์ซาย แม่น้ำแซน เป็นต้น นอกจากเป็นฉากหลังที่สวยงามระหว่างการแข่งขันแล้ว ยังอาจช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจท่องเที่ยวได้อีกด้วย แต่จะเป็นอย่างไร ถ้าประเทศไทยของเราได้เป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมกีฬาสุดยิ่งใหญ่นี้บ้าง โดยใช้คอนเซปต์เดียวกันกับฝรั่งเศสอย่างการใช้สถานที่สำคัญสำหรับการแข่งขันในกรุงเทพมหานคร คอลัมน์ Urban Sketch ขอเสนอสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ สำหรับจัดการแข่งขัน ‘Bangkok 21xx Olympics’ ให้พิจารณา เผื่อถึงเวลาเกิดเป็นเจ้าภาพจริงๆ เราอาจจะได้เห็นการแข่งกีฬาตามสถานที่เหล่านี้ก็ได้นะ ตีเทนนิส ตบวอลเลย์บอลชายหาด กลางท้องสนามหลวง ‘ท้องสนามหลวง’ เป็นพื้นที่ลานโล่งใกล้กำแพงพระบรมมหาราชวังและสถานที่สำคัญใจกลางพระนคร ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นพื้นที่สาธารณะให้ผู้คนมาใช้พักผ่อนหย่อนใจ หากจะนำกลับมาใช้งานอีกครั้ง ก็ดูจะเป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การจัดการแข่งขันกีฬากลางแจ้ง โดยจะสร้างสเตเดียมชั่วคราวให้การแข่งขัน ‘เทนนิส’ หรือจะปูสนามทรายสำหรับ ‘วอลเลย์บอลชายหาด’ ก็ได้เหมือนกัน รวมไปถึงการมีฉากหลังเป็นวัดพระแก้วยังช่วยสร้างภาพบรรยากาศที่สวยงามระหว่างการแข่งขันและการถ่ายทอดสดได้อีกด้วย เปิดศึกสังเวียนที่สนามมวยเวทีราชดำเนิน แม้ ‘มวยไทย’ จะยังไม่ถูกบรรจุเป็นกีฬาที่จัดแข่งในโอลิมปิกอย่างเป็นทางการ แต่โอลิมปิกปีนี้เริ่มมีการจัดแข่งขันสาธิตในโปรแกรมเสริมที่กรุงปารีส จึงเป็นไปได้ว่าในอนาคต เราอาจได้เห็นการแข่งกีฬามวยไทยในโอลิมปิกก็เป็นได้ แน่นอนว่าสถานที่ที่เหมาะสำหรับจัดการแข่งมวยไทยในกรุงเทพฯ คงหนีไม่พ้น ‘สนามมวยเวทีราชดำเนิน’ […]
‘Rotating Water Drop Park’ สวนสาธารณะที่คืนประโยชน์ให้กับผู้คนด้วยพื้นที่ที่หน้าตาเหมือนน้ำไหลวน
การปรับปรุงพื้นที่เมืองหลายครั้งอาจไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ อย่างในเมือง Yichang มณฑล Hubei ประเทศจีนเองก็เคยมีโครงการปรับปรุงพื้นที่ แต่กลับไม่ตอบโจทย์ด้านการอยู่อาศัย แถมยังทำให้พื้นที่คนเดินเท้าแออัดกว่าเดิม จึงมีการรื้อถอนอาคารบางส่วนบนหัวมุมถนนในใจกลางเขต Yiling ออกไป เมื่ออาคารถูกรื้อถอนไปแล้ว โจทย์ใหม่ในการปรับปรุงพื้นที่คือการให้ความสำคัญกับผู้คน โดยมองถึงพื้นที่การเดินเท้า พื้นที่ที่ผู้คนสามารถใช้งานได้ และเชื่อมโยงกับการใช้ชีวิตของผู้คนในละแวก ที่ว่างนั้นจึงถูกเปลี่ยนให้เป็น ‘สวนหยดน้ำ’ สวนสาธารณะที่เป็นประโยชน์กับชุมชน สถาปนิกจาก ‘HID Landscape Architecture’ ออกแบบสวนแห่งนี้ให้มีความเชื่อมโยงกับธรรมชาติ เพื่อดึงดูดให้ผู้คนในเมืองออกมาทำกิจกรรมร่วมกันในสวนแห่งนี้ เช่น เป็นพื้นที่พักผ่อน พื้นที่ขายของ พื้นที่เต้นรำของผู้สูงอายุ รวมไปถึงสนามเด็กเล่นของเด็กๆ หากมองจากมุมสูง สวนแห่งนี้จะมีลักษณะเหมือนหยดน้ำที่กำลังหมุนวนรอบบริเวณ จากม้านั่งและสวนดอกไม้รูปหยดน้ำที่วางเรียงกันเป็นวงกลม รวมไปถึงไฟ LED ที่ฝังไว้บนพื้นก็วางเรียงตามแนวเดียวกับหยดน้ำ เป็นลูกเล่นที่ทำให้เกิดความรู้สึกว่าน้ำในสวนแห่งนี้ไหลวนอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าจะเป็นในช่วงกลางคืนก็ตาม ส่วนหลังคาด้านบนที่ช่วยบดบังความร้อนให้กับคนที่เข้ามานั่งพักก็ยังทำหน้าที่เป็นรางน้ำฝน ช่วยเก็บน้ำฝนที่ลาดเอียงจากทิศใต้ไปทิศเหนือ เมื่อฝนตกน้ำจะไหลไปตามหลังคาก่อนจะไหลลงมาสู่แอ่งเก็บน้ำฝนสเตนเลสที่พื้น ด้วยตำแหน่งที่ตั้งและลูกเล่นของสวนที่น่าสนใจ ทำให้พื้นที่ที่เคยเงียบเหงาแห่งนี้กลับมาคึกคักจากการแวะเวียนเข้ามาใช้พื้นที่ในการพักผ่อน รวมไปถึงเสียงหัวเราะจากสนามเด็กเล่นตรงกลางที่ชวนให้เด็กๆ ได้สนุกสนานและเพลิดเพลินกับการใช้พื้นที่กันอย่างเต็มที่ Sources : Designboom | tinyurl.com/4htytzhcGooood | tinyurl.com/4mfrbtwt
The Cursed Land คนต่างแดนที่ถูกสาปด้วยความแตกต่างในพื้นที่ ความเชื่อ วัฒนธรรม และสิ่งเร้นลับของชาวไทยมุสลิมในสายตาชาวไทยพุทธ
ตั้งแต่เริ่มต้น ‘แดนสาป The Cursed Land’ ถือว่าเป็นโปรเจกต์ภาพยนตร์ไทยที่น่าสนใจ ตั้งแต่พลอตเรื่องของพ่อลูกชาวไทยพุทธที่ย้ายเข้าไปอยู่ในชุมชนชาวไทยมุสลิม และถูกคุกคามโดยบางสิ่งบางอย่างที่อยู่เหนือกว่าความเข้าใจของศาสนา เรื่องราวแบบพหุวัฒนธรรมของชาวไทยแบบที่ไม่ค่อยถูกนำเสนอมากนักบนจอภาพยนตร์ นอกจากนี้ แดนสาปยังเป็นผลงานจาก 2 บุคลากรในวงการภาพยนตร์อย่าง ‘ภาณุ อารี’ ผู้อำนวยการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ที่รับบทบาทเป็นผู้กำกับหนังเรื่องนี้ และ ‘ก้อง ฤทธิ์ดี’ ที่ลองข้ามจากดินแดนนักวิจารณ์ภาพยนตร์มาเป็นผู้เขียนบท และยิ่งน่าสนใจขึ้นไปอีกเมื่อทั้งคู่ต่างเป็นชาวไทยมุสลิม เคยมีผลงานสารคดีเกี่ยวกับชีวิตคนมุสลิมไทยอย่าง มูอัลลัฟ (2008), Baby Arabia (2010) และ กัดดาฟี (2013) ทำให้มีสายตาของชาวไทยเชื้อสายมุสลิมที่จับจ้องเห็นถึงประเด็นความเป็นมุสลิมบางอย่างในสังคมไทยที่จะได้รับการนำเสนอออกมาจากคนใน เพียงแต่คราวนี้มาในรูปแบบของหนังสยองขวัญ แรกเริ่มแม้จะมีดราม่าของการโปรโมตที่ก่อให้เกิดประเด็นอันทำให้หลายคนมองตัวหนังผิดไป แต่เมื่อได้ชมตัวหนังจริง มันเป็นสิ่งที่ต่างจากการโปรโมตในเชิงภาพผีอิสลามอย่างชัดเจน อีกทั้งยังสื่อสารว่าสิ่งที่ทุกคนกำลังจะได้รับชมนี้ไม่ใช่เรื่องราวของผีแต่เป็นความลี้ลับแบบอื่น ไม่ใช่คนในพื้นที่ที่แปลกประหลาด แต่เป็นสายตาอคติของคนภายนอก ‘แดนสาป The Cursed Land’ ถูกระบุเรื่องราวไว้อย่างชัดเจนว่าเกิดขึ้นในย่านหนองจอก ที่ซึ่งถูกเรียกขนานนามว่าเป็น ‘ดงแขก’ เพราะมีชาวไทยมุสลิมอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากเสียยิ่งกว่าชาวไทยพุทธตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษชาวมลายู ย่านนี้กลายเป็นพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรมบริเวณขอบเกือบจะหลุดออกนอกของพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร อันเต็มไปด้วยชุมชนมัสยิดของชาวมุสลิมที่ใช้ชีวิตกันเสมือนยังเป็นชนบทต่างจังหวัดมากกว่าเมืองแบบภาพกรุงเทพฯ ในความคิดของหลายคน เมื่อสืบค้นข้อมูลพื้นที่ดังกล่าวลงไปจะค้นพบว่าเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์อันบอบช้ำในยุคต้นรัตนโกสินทร์ เพราะเชลยศึกจากปัตตานีถูกกวาดต้อนมาใช้เป็นแรงงานในการขุดคลองแสนแสบบริเวณฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบันคือเขตหนองจอก มีนบุรี และคลองสามวา ที่นี่เองคือถิ่นฐานที่สองพ่อลูก […]
ยินดีต้อนรับสู่ดินแดน PiXXiE เมืองในฝันของเหล่า PiXXeL
คุยกับสามสาว @PiXXiE จาก @LIT Entertainment ถึงพัฒนาการในแต่ละช่วงยุคสมัยของวงที่เดินทางควบคู่ไปกับอุตสาหกรรม T-Pop ในเมืองไทย จนมาบรรจบที่หมุดหมายสำคัญกับคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งแรกของพวกเธอ ‘PiXXiE Tales Concert : Welcome to PiXXiE Land’
‘อยู่กันดีๆ ให้ได้ได้ไหม’ จะใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวใหญ่อย่างไรให้สงบสุข ในยุคที่ใครก็ไม่เข้าใจกัน
เวลาพูดถึงจุดร่วมของ ‘สังคมไทย’ หลายครั้งภาพที่ฉายออกมาคือการอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่ ภายในรั้วบ้านหลังคาเดียวกันจะมีสมาชิกอยู่หลากรุ่น หลายเครือญาติ ใครที่มีรูปแบบครอบครัวเช่นนี้ คงจะคุ้นเคยกับความสนุกสนาน การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสนิทสนมอย่างเต็มที่ แต่ในขณะเดียวกัน ความบาดหมางและความเจ็บปวดใจที่เกิดขึ้นจากการสื่อสารในครอบครัวใหญ่ ก็เป็นความทุกข์ที่หลายครั้งเราหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเปี่ยมไปด้วยความรู้สึกมากมายที่ซับซ้อนและตีกันวุ่นไปหมด ยิ่งในช่วงที่ประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมสูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ และเงื่อนไขชีวิตที่หลายคนเลือกมีพื้นที่ของตัวเองด้วยการย้ายออกมาอยู่คนเดียวไม่ได้ จะมีวิธีไหนบ้างที่ช่วยจัดการสภาพจิตใจต่อความกระอักกระอ่วนที่อาจเกิดขึ้นบ่อยๆ ภายในครอบครัว ไม่มีใครเป็นตัวเอก ไม่มีใครเป็นตัวร้าย แต่เราแค่มาจากหนังคนละเรื่องกัน หลายครั้ง ความไม่ลงรอยกันภายในครอบครัวใหญ่ มักเกิดจากความไม่เข้าใจและความไม่พร้อมเปิดใจรับฟัง ทำให้ต่างฝ่ายต่างไม่รู้สึกได้รับการเห็นค่าจากคนที่รัก โดยเฉพาะญาติอาวุโสที่ยิ่งใช้ชีวิตอยู่ในโลกนี้มานานเท่าไหร่ ยิ่งง่ายที่จะยึดมั่นทั้งความเชื่อและแบบแผนการใช้ชีวิตที่พวกเขาเชื่อว่าถูก ผ่านการเลี้ยงดูและคำสอนจากคนรุ่นอาวุโสกว่าพวกเขามาอีกที คุณค่าบางอย่างที่พวกเขาให้ความสำคัญ แม้ไม่ใช่ว่ามันเป็นสิ่งไม่ดี แต่นั่นอาจไม่ได้เป็นสิ่งที่ทุกคนเห็นตรงกันเสมอไป ยกตัวอย่าง กรณีศึกษาที่ผู้เขียนในฐานะนักจิตบำบัดความสัมพันธ์และครอบครัวพบบ่อยในชั่วโมงบำบัด คือการที่คนรุ่นพ่อแม่หรือบางครั้งก็เป็นรุ่นปู่ย่าตายายเลยด้วยซ้ำ พยายามพร่ำบอกให้ลูกหรือหลานตัวเองยึดแนวทางการใช้ชีวิตให้เหมือนเขา เพราะการใช้ชีวิตในรูปแบบนั้นนำพาความสำเร็จและชีวิตที่สุขสบายมาให้ รูปแบบการใช้ชีวิตที่ว่า หนึ่งในนั้นคือ ‘ความอดทน’ ไม่ว่าจะทั้งทางกายหรือใจ การพร่ำบอกให้อดทนต่องานที่ทำ ทำไมถึงบ่นกับเรื่องแค่นี้ ทำไมถึงไม่หาข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพิ่มในเวลาว่าง ทำไมหยุดงานหรือเปลี่ยนงานบ่อยจัง หรือการบอกให้อดทนต่อความรู้สึก เช่น เรื่องแค่นี้ทำไมต้องร้องไห้ เรื่องมันเกิดมานานแล้ว ทำไมยังคิดเล็กคิดน้อยอยู่ได้ ทะเลาะกันแค่นี้ ทำไมเลือกที่จะหย่า ฯลฯ แน่นอนว่าความเจ็บปวดเป็นเรื่องปัจเจก สิ่งที่ทำให้อารมณ์แต่ละคนสั่นสะเทือนล้วนมีหน้าตาต่างกันออกไป ไม่ว่าจะด้วยเจตนาที่ดีหรือไม่ก็ตาม การปฏิเสธความรู้สึกของใครคนหนึ่งยิ่งสร้างความห่างเหินในใจ […]
‘Synthiesis’ รองเท้ามีชีวิตด้วยหมึกพิมพ์จากเซลล์สาหร่าย ที่ช่วยดูดซับคาร์บอนในอากาศได้
รู้หรือไม่ว่า ทุกๆ การซื้อรองเท้าคู่ใหม่ เรากำลังปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยไม่รู้ตัว ในแต่ละปี มีรองเท้าจากทั่วโลกผลิตขึ้นมากถึง 22,000 ล้านคู่ ก่อให้เกิดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมหาศาล ถ้าคิดไวๆ อาจเทียบได้กับการก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกประมาณ 1.5 เปอร์เซ็นต์ของโลกทำให้หลังๆ มานี้เรามักเห็นแบรนด์รองเท้าต่างๆ หันมาให้ความสนใจประเด็นสิ่งแวดล้อม เลือกใช้วัสดุที่ยั่งยืนในการผลิต และมองหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการผลิตที่มากขึ้น ซึ่ง ‘Synthiesis’ คือหนึ่งในนั้น Synthiesis คือรองเท้าที่ได้รับการออกแบบจากฝีมือของ ‘Jessica Thies’ นักออกแบบจากบรุกลิน ที่ใช้งานวิจัยของตนมาช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในภาคอุตสาหกรรมรองเท้า และสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องสิ่งแวดล้อม เจสสิกาเลือกใช้วัสดุที่ทำจากโฟมโพลียูรีเทน ซึ่งรีไซเคิลหรือย่อยสลายได้ตามธรรมชาติมาใช้ในการทำพื้นรองเท้า รวมถึงเลือกใช้ผ้าป่านในการขึ้นตัวรองเท้า และพิมพ์ด้วยหมึกชีวภาพที่ผสมเซลล์สาหร่ายทะเลมีชีวิตลงไป ทำให้ Synthiesis กลายเป็นรองเท้าที่มีชีวิต ประโยชน์ของสาหร่ายที่มีชีวิตในรองเท้าเหล่านี้คือ พวกมันสามารถสังเคราะห์แสง เพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศระหว่างสวมใส่ และอาจทำความสะอาดตัวเองได้ด้วย อีกทั้งจากงานวิจัยของเจสสิกายังแสดงให้เห็นว่า สาหร่ายเหล่านี้กินสารอาหารและไซยาโนแบคทีเรียที่ผลิตออกซิเจนได้ โดยใช้วิธีการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์ และมีชีวิตอยู่บนรองเท้าได้นานถึง 1 เดือนโดยไม่ต้องให้สารอาหารเสริม หรืออาจมากกว่านั้นหากได้รับการดูแลอย่างดี โดยจะสังเกตได้จากสีคลอโรฟิลล์ที่ค่อยๆ จางเมื่อสาหร่ายตายลง ปัจจุบัน Synthiesis เป็นนวัตกรรมใหม่ที่หลายคนอาจยังเข้าไม่ถึง แต่เจสสิกาหวังว่า รองเท้าคู่นี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสร้างความตระหนักรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมที่มากขึ้นในอนาคตได้ Sources :Dezeen […]
‘ปารีส’ เมือง 15 นาที ที่อยากให้ผู้คน ‘ใกล้ชิด’ กับ ‘ชีวิตดีๆ’ มากขึ้น
ย้อนไปเมื่อปี 2020 แอนน์ อีดัลโก (Anne Hidalgo) นายกเทศมนตรีแห่งกรุงปารีส ได้เสนอแนวคิดที่จะเปลี่ยนเมืองหลวงของฝรั่งเศสที่แสนจะวุ่นวายและเต็มไปด้วยกิจกรรมคึกคัก ให้กลายเป็น ‘เมือง 15 นาที’ (15-minute City) แนวคิดนี้คือการปรับปรุงและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คน โดยการสร้างเมืองที่ผู้อยู่อาศัยสามารถเข้าถึงสิ่งที่พวกเขาต้องการได้ในระยะเวลา 15 นาทีด้วยการเดินหรือปั่นจักรยาน เพื่อลดการเดินทางจากบ้านไปยังสถานที่ต่างๆ ให้เหลือน้อยที่สุด เช่น สถานที่ทำงาน โรงเรียน โรงพยาบาล สวนสาธารณะ ร้านอาหาร ร้านค้า ฯลฯ ทั้งหมดนี้เป็นไปโดยหวังว่าปารีสโฉมใหม่จะช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนให้คล่องตัว มีสุขภาพดี และยืดหยุ่นมากขึ้น รวมถึงต้องการสร้างสังคมที่โอบรับคนทุกกลุ่มและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านมา 4 ปี มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นกับปารีสบ้าง และมหานครแห่งนี้เข้าใกล้การเป็นเมือง 15 นาทีมากขนาดไหนแล้ว คอลัมน์ City in Focus ขอชวนไปสำรวจและหาคำตอบพร้อมกัน เปลี่ยนจากการขับรถเป็นปั่นจักรยาน เป้าหมายแรกของกรุงปารีสคือการเปลี่ยนให้คนใช้รถยนต์น้อยลง และหันมาปั่นจักรยานมากขึ้น นายกฯ อีดัลโกอธิบายว่า การใช้จักรยานในเมืองจะแสดงให้เห็นว่าชาวปารีสสามารถปรับวิถีชีวิตของตัวเองได้ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กรุงปารีสได้ออกข้อจำกัดเกี่ยวกับการใช้รถยนต์ เช่น กำหนดให้เขตเมืองเป็นเขตควบคุมมลพิษต่ำ และกำหนดให้ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือนเป็นวันปลอดรถยนต์ […]